ความคิดเห็นทั้งหมด : 1

เกี่ยวกับหนังสือในห้งสมุด


   ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นสักนิด เกี่ยวกับหนังสือในห้องห้องสมุดของคณะ ที่จริงก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไขนานแล้ว เพราะปริมาณหนังสือในห้องสมุดมีไม่เพียงพอต่อการใช้โดยเฉพาะหนังสือภาษาไทย คิดว่าการเรียนในระบบที่มุ่งให้นักศึกษาเรียนด้วยตนเองนี้สื่อการเรียนรู้น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ควรจะเพียงพอและหลากหลาย แต่ทำไมรู้สึกว่าเรื่องพวกนี้ไม่ถูกแก้ไขสักที ที่จริงปัญหานี้ก็คิดว่านักศึกษาพูดกันมากแล้ว ประเมินรายวิชาถูกครั้งก็มีเขียนไปทุกครั้ง แต่ไหนแต่ไรมา หนังสือที่ใช้เสนอในPBLเป็นอันต้องแย่งชิงกันทุกครั้ง สัปดาห์ไหนมีPBLเรื่องอะไรก็อย่าหวังว่าจะเจอหนังสือเรื่องนั้นในชั้นวางอีก และอีกประเด็นหนึ่งก็คือไม่เข้าใจว่าทางคณะไม่สนับสนุนให้นักศึกษาอ่านหนังสือภาษาไทยหรืออย่างไร จึงได้พบแต่หนังสือเก่าๆตั้งแต่ก่อน พ.ศ. 2530 ใช้อ้างอิงอะไรไม่ได้ แถมแต่ละเล่มก็มีไม่กี่copy หรือเป็นเพราะเหตุผลที่ต้องการให้นักศึกษาฝึกทักษะภาษาอังกฤษ?จึงบังคับให้อ่าน text ซึ่งเหตุผลประเภทนี้คงจะไม่คุ้มเท่าใดนักกับโอกาสเรียนรู้ที่ต้องเสียไป อันที่จริงหนังสือภาษาไทยดีๆที่ตีพิมพ์ออกมาใหม่ก็มีเยอะ

คณะแพทย์มีเงินทำอะไรตั้งหลายอย่าง แต่คิดว่าปัญหาส่วนนี้ก็สำคัญเหมือนกัน ไม่รู้ว่าจะเป็นการร้องขอมากเกินไปหรือเปล่า แต่ก็อยากให้กรุณาพิจารณาตรงส่วนนี้ด้วย


Posted by : นักศึกษา , Date : 2004-12-21 , Time : 12:48:05 , From IP : 172.29.4.68

ความคิดเห็นที่ : 1


   คณะฯเรามีนโยบายสนับสนุนการใช้ evidence-based ในการทำ PBL และอื่นๆในการอภิปรายครับ

หนังสือภาษาไทยนั้นมีน้อยในตลาดหนังสือวิชาการแพทย์ สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะในระยะ decade หลังๆ ความรู้ทาง sciences มีความรุดหน้าเร็วมากจนกระทั่งคนอ่าน (ซึ่งเป็นคนแปลด้วย) อาจจะเกิดความลังเลในการลงทุนลงแรงนั่งแปลอยู่ 6-12 เดือน เพื่อที่จะพบว่าหนังสือออกใหม่กลายเป็นความรู้ล้าหลังไปแล้ว

ฐานข้อมูลทางการแพทย์ที่ห้องสมุดเราใช้ ที่คณะฯเราซื้อมาลงทุนปีละเป็นล้านบาทนั้น เป็นการลงทุนที่ค่อนข้างเยอะ และอยากจะให้พวกเราใช้ให้คุ้มค่า มาตรฐานการศึกษาของประเทศเราจะขึ้นอยู่กับการที่บัณฑิตของเราสามารถ "ตามทัน" ความรู้ของอารยประเทศรอบๆข้างได้มากน้อยแค่ไหน เราจะเป็นผู้ซื้อไปตลอดหรือจะข้อเป็นผู้ผลิตผู้ขายบ้างก็ตรงนี้แหละครับ ผมคิดว่าการอ่าน textbook ภาษาอังกฤษได้นั้น เป็น minimal requirement ของบัณฑิตแพทย์แน่นอนอย่างหนึ่ง เราเรียนหกปี นั่นเทียบกับปริญญาโท และมาตรฐานบัณฑิตวิทยาลัยและสภามหาวิทยาลัยกำหนดความรู้ขั้นพื้นฐานรวมการใช้ภาษาต่างประเทศด้วยแน่ๆ

"โอกาส" ในการเรียนรู้จะเสียไปมากกว่าครับ ถ้าเราไม่ตั้งใจมั่นในการพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ ส่วนข้อแนะนำเรื่องซื้อหนังสือภาษาไทยเพิ่ม คณะฯคงจะนำไปพิจารณา แต่ขอให้ตั้งใจและพยายามอ่านภาษาอังกฤษให้ได้ด้วยก็แล้วกัน


Posted by : Aquarius , Date : 2004-12-25 , Time : 17:34:50 , From IP : 172.29.7.232

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.003 seconds. <<<<<