ความคิดเห็นทั้งหมด : 13

ปรมัตถธรรม อุดมคติของความเป็นมนุษย์


   ที่ผมนำมานำเสนอไว้นี่ หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ต้องการแนวคิดเรื่องการเป็นมนุษย์ และด้วยเหตุที่หลายท่านมักจะแย้งที่ตัวบุคคล ผมจึงขอนำปาฐกถาส่วนหนึ่งของท่านพุทธทาส อินฺปญฺโญ มาแสดงไว้แทน หวังว่าจะสามารถเสียดแทงใจใครได้หลายคน

......................................................................


คัดจาก มหิดลธรรม โดยพุทธทาสภิกขุ



คัดจาก มหิดลธรรม โดยพุทธทาสภิกขุ


ธรรมบรรยายแก่คณะนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล


ระหว่างวันที่ 28 มีนาคม-25 เมษายน พ.ศ.2517



หน้าที่ระหว่างปรมัตถ์กับคน



หน้าที่ของปรมัตถ์ต่อคนนี้มองได้กว้างขวางมาก เป็นเรื่องลึกซึ้งกว้างขวางมาก


1.หน้าที่ของปรมัตถ์ข้อนี้ ก็อยากจะระบุลงไปว่า ทำเพื่อให้คนรู้วัตถุประสงค์ของการเกิดมา ลำพังความรู้เรื่องศีลธรรมนี้ ยากมากที่จะให้รู้วัตถุประสงค์ของการเกิดมา แล้วก็จะรู้ต่ำๆรู้น้อยๆเสียด้วย.



การที่จะรู้ว่า เราเกิดมาเพื่อบรรลุนิพพานในที่สุด นี้ไม่ใช่เรื่องศีลธรรม แต่เป็นเรื่องของปรมัตถธรรม ซึ่งรู้จักธรรมชาติอันลึกซึ้ง ธรรมชาติอันกว้างขวางที่จะปรุงแต่เปลี่ยนแปลงไป ไหลเวียนไป-ไหลเวียนไป แล้วไปสุดไปจบลงที่ไหน? นั้นคือไปจบลงที่นิพพาน อย่างนี้มันเลยพ้นหน้าที่ของศีลธรรม แต่เป็นหน้าที่ของปรมัตถธรรม ที่จะทำให้คนรู้ว่า เกิดมาทำไม?



ถ้าปล่อยไปตามประสาคนโง่ๆ ปุถุชนคนธรรมดานี้ เกิดมาก็เพื่อมากิน มาเล่น มาบริโภค ทำกามารมณ์ให้สูงสุด จนกว่าจะตายไป อย่างนี้ก็ผิดศีลธรรมแล้ว ไม่ต้องพูดถึงปรมัตถธรรม เกิดมาทำไม? เกิดมาจากอะไร? หรือจะไปอย่างไรกัน? จะไปสวุดจบลงที่ตรงไหน? เหล่านี้เป็นเรื่องของปรมัตถธรรมทั้งนั้น เมื่อเรารู้เรื่องนี้ดี ปรมัตถธรรมเหล่านั้นก็ช่วยให้เรามีอคติถูกต้องอย่างแท้จริง.



2.ชีวิตนี้ต้องมีอุดมคติ แต่คำว่า”อุดมคติ” เดี๋ยวนี้กลายเป็นคำสำหรับล้อเล่นว่า กินไม่ได้ ซื้ออะไรกินไม่ได้ ถ้ามีอุดมคติก็อดตายหรือผอมตาย คนก็เลยไม่มีอุดมคติ . . . ที่จริงก็เป็นเป็นเรื่องเรื่องแก้ตัวที่จะไปหมกมุ่นเหลวไหลในกามารมณ์ แล้วเขาก็เอากามารมณ์นั้นแหละเป็นอุดมคติ….แต่จะสารภาพอย่างนั้นก็ละอาย ก็เลยไล่อุดมคติไปเสีย เลยไม่รู้ว่า เราจะมีอุดมคติในชีวิตจิตใจ ในความเป็นคนไปวันหนึ่งๆนี้ได้อย่างไร



อุดมคติของคำว่ามนุษย์นี้อย่างน้อยจะต้องมีใจสูง มีใจสูงอยู่เหนือกิเลส หรือความทุกข์ หรือว่าอย่างน้อย อย่างพูดกันกว้างๆ ก็ว่า เรามีอุดมคติในขอที่ว่า เราจะไม่มีความทุกข์เลย ในการมีชีวิตอยู่นี้….ควรต้องมีอุดมคติอย่างนี้ นี่เขาก็มองไม่เห็น หรือเขาจะเห็นว่า มันไม่มีความทุกข์อยู่แล้ว ได้กิน ได้เล่น ได้ร้องไห้ ได้หัวเราะอยู่ นี่ก็ว่าไม่มีความทุกข์อยู่แล้ว …… แม้จิตใจจะร้อนเป็นไฟ เหมือนกับตกนรกทั้งเป็นอยู่ เขาก็ไม่คิดว่าเป็นความทุกข์เลย นี่เป็นเหตุให้พูดกันไม่รู้เรื่อง



ถ้าใครรู้สึกว่าความร้อนรนเหล่านั้นเป็นความทุกข์ แล้วก็มีอยู่เป็นประจำ อุดมคติของคนเรามันก็ควรจะเป็นไปในทางที่ว่า เราต้องไม่มีสิ่งที่ไม่น่าปรารถนาเหล่านั้น อันได้แก่ความทุกข์ทั้งหลาย แล้วก็จะถือว่า เราไม่ได้เกิดมาเพื่อความทุกข์ นี่ปรมัตถ์เช่นนี้เท่านั้น ถ้าศึกษาอย่างถูกต้องแล้ว จะช่วยให้รู้จักอุดมคติของความเป็นมนุษย์ที่สูงสุด กระทั่งเป็นพระอรหันต์



3.อยากจะพูดอีกอย่างหนึ่งว่า หน้าของปรมัตถธรรมอันแท้จริงนั้น คือ ต้องการจะช่วยให้คนเราอยู่เหนือทุกปัญหา นี่ใช้คำว่าปัญหาดีกว่า ที่ใช้คำว่าความทุกข์ยังแคบไป เราจะมีฐานะอยู่เหนือปัญหาทุกปัญหา ไม่ว่าปัญหาอะไร…………………



คนตามธรรมดาที่เป็นปุถุชนคนโง่นั้น จะมีปัญหาหนักอกหนักใจไปหมด ไม่ว่าอะไร จะทำมาหากิน หรือว่าเจ็บไข้ เงินไม่พอใช้ ล้วนเป็นปัญหาหนักเป็นทุกข์หนัก แต่ถ้าคนสมบูรณ์ด้วยธรรมในชั้นปรมัตถ์แล้ว เขาจะขจัดในส่วนที่มีทุกข์หนัก หรือที่เรียกว่าบีบคั้น กดดันนี้ออกไปได้ แล้วก็จะทำหน้าที่นั้นต่อไปได้อย่างสนุกสนาน สะดวกสบาย นี่เรียกว่าเป็นหน้าที่อย่างสูงสุด ของสิ่งที่เรียกว่า ปรมัตถธรรม คือจะทำให้คนเราอยู่เหนือปัญหาในทุกกรณี……หน้าที่ของคนอีอย่างหนึ่งก็คือจะต้องใช้ปรมัตถธรรมนั้นในกรณีที่ศีลธรรมช่วยแก้ปัญหาไม่ได้



 


 





Posted by : Immanuel Kant , Date : 2003-05-03 , Time : 15:28:56 , From IP : 203.155.144.57

ความคิดเห็นที่ : 1


   ผมมองไม่เห็นว่า "ปรมัตถธรรมเป็น minimal requirement ของปุถุชน" จากบทความนี้นะครับ ผมเข้าใจผิดหรือไม่?



Posted by : Phoenix , Date : 2003-05-03 , Time : 17:57:13 , From IP : 203.107.207.134

ความคิดเห็นที่ : 2


   คิดเราเข้าใจนายบ้าง
เพียงแต่สงสัยว่าทำไมนายไม่บวชละ
ชีวิตฆาราวาสมันมีconflicเยอะจะตาย
การเป็นเป็นสมณเพศน่าจะเหมาะกับนายมากกว่า


Posted by : น้องก้อยหวังดี , Date : 2003-05-03 , Time : 19:24:32 , From IP : 203.107.193.197

ความคิดเห็นที่ : 3


   ผมเคยอธิบายไปคราวหนึ่งแล้วครับ ว่าการบวชนั้นไม่ได้มีรูปแบบที่ผ้าเหลือง

ทุกคนทุกอาชีพสามารถบวชได้ในหน้าที่ของตนนั้น ขอเพียงแต่อาชีพดังกล่าวเป็นประโยชน์แก่สังคม

อาชีพทุกอย่างจำเป็นกับสังคมครับ

คุณจะบอกว่าคนที่ทำอาชีพจะบรรลุอุดมคติไม่ได้เช่นนั้นหรือครับ

ยังดีกว่าบวชในผ้าเหลืองเจ็ดวันแล้วกลับมาเสวยโลกียสุขตามเดิมเสียอีก

การทำอาชีพนั้นไม่เป็นอุปสรรคกับพระนิพพานครับ

คุณลองหาอ่านเพิ่มเติมในเรื่อง"บวชทำไม"ได้ครับ

.....................

บทความนี้กล่าวไว้ชัดครับว่าชีวิตต้องมีอุดมคติ

คุณไม่ีสิทธิจะปฏิเสธอุดมคติได้เลย

เพราะนั่นเท่ากับสร้างข้ออ้างให้แก่ตนเอง ที่จะสร้างกรรมต่อไป

ชีวิตคนต้องมีจุดหมายทุกคนครับ

ชีวิตที่ไม่มีจุดหมายนั้นพร้อมจะสร้างข้ออ้างเพื่อประโยชน์ตนเองเสมอครับ



Posted by : Immanuel Kant , Date : 2003-05-03 , Time : 21:22:32 , From IP : 203.155.144.54

ความคิดเห็นที่ : 4


   คุณอย่ามัวมาแบ่งเลยครับว่าปุถุชนหรือพระอรหันต์

คำว่าปุถุชนนั้นเหมาะที่เดียวสำหรับจะเป็นข้ออ้างสำหรับตนเอง

"ก็เป็นเพียงปุถุชนนี่นา ก็ต้องมีเลวบ้างชั่วบ้าง"

"ไหนๆเป็นปุถุชนอยู่แล้วชั่วอีกนิดจะเป็นไรไป"

"ก็ไม่ต้องการเป็นพระอรหันต์นี่ ยังไงๆก็ต้องมีกามารมณ์บ้างอยู่แล้ว"

"นิพพานอะไรกัน อยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ ไกลเกินเอื้อม อย่าัมัวไปสนใจเลย ชาตินี้คงไม่ถึงหรอก"

นิพพาน ที่นี่ และ เดี๋ยวนี้ ครับ



Posted by : Immanuel Kant , Date : 2003-05-03 , Time : 22:23:01 , From IP : 203.155.144.54

ความคิดเห็นที่ : 5


   อะไรคือ "ไม่มีสิทธิ์" ครับ ช่วยขยายความสักนิด



Posted by : Phoenix , Date : 2003-05-03 , Time : 22:33:55 , From IP : 203.107.206.238

ความคิดเห็นที่ : 6


   ไม่มีสิทธิ์นั้นก็คือ หากคุณรู้แล้วว่าสิ่งใดผิด คุณจะต้องพยายาม"ไม่ทำ" คุณจะเอาความเป็นปถุชนมาอ้างไม่ได้ เพราะนั่นเป็นการอ้างของกิเลส

Posted by : Immanuel Kant , Date : 2003-05-03 , Time : 22:37:16 , From IP : 203.155.144.54

ความคิดเห็นที่ : 7


   อันนั้นไม่เห็นจะเป็น "ไม่มีสิทธิ์" ตรงไหนเลยครับ มีมากมายที่เขาก็ยัง "มีสิทธิ์" ที่จะทำอะไรอยู่ดี เช่น ครูที่ขี้เกียจ ไม่ยอมเปลียนแปลงวิธีการสอน ไม่ยอมติดตามผลการสอน ก็ยังอยู่เต็มบ้านเต็มเมือง

ทุกคนทุกอาชีพสามารถบวชได้ในหน้าที่ของตนนั้น ขอเพียงแต่อาชีพดังกล่าวเป็นประโยชน์แก่สังคม
อาชีพทุกอย่างจำเป็นกับสังคมครับ


อันนี้ฟังแล้วสับสนเล็กน้อย สรุปก็คืออาชีพทุกอย่างจำเป็นต่อสังคม คนที่ไม่ประกอบอาชีพนี่เป็นอย่างไรในสายตาของ absolute moralist ครับ? ประโยคอรกดูจะบอกว่าบางอาชีพเท่านั้นที่มีจริยธรรม (ที่มีประโยชน์) แต่ประโยคต่อมาบอกว่าทุกอาชีพจำเป็นต่อสังคม ช่วยขยายความ หรือเรียบเรียงอีกสักเกล็กน้อยได้ไหมครับ?



Posted by : Phoenix , Date : 2003-05-03 , Time : 23:27:28 , From IP : 203.107.206.238

ความคิดเห็นที่ : 8


   ถ้่คุณจะหมายความว่าอย่างนั้น สิทธิ์ที่ว่าก็เป็นสิทธิ์ของคนเลวครับ หากใครพยายามจะทำตนเป็นคนดี เขาก็ไม่มีสิทธิ์เอาความเป็นปุถุชนมาอ้าง

ชาวนาจำเป็นหรือเปล่าครับ

แล้วชาวนานี่จำเป็นต้องเป็นคนชั่วหรือ

พระอรหันต์จะมาขุดดินปลูกผักไม่ได้หรือครับ

อาชีพไม่ได้มีส่วนกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมครับ


Posted by : Immanel Kant , Date : 2003-05-03 , Time : 23:33:34 , From IP : 203.155.144.54

ความคิดเห็นที่ : 9


   Exactly มีสิทธิ์ไม่มีสิทธิ์ในที่นี้ถูก labelled เป็นสิทธิ์ของคนเลวคนชั่วไป เพราะจริงๆแล้วคำว่า "ไม่มีสิทธิ์" ลอยๆนั้นไม่มีความหมายทั้งสิ้น

แต่ทีนี้ "ไม่มีสิทธิ์เอาความเป็นปุถุชนมาอ้าง" นี่ฟังดูแปลกๆนะครับ เพราะคนส่วนใหญ่เป็นปุถุชน หากเขาเป็นอะไร แต่"ไม่มีสิทธิ์" อ้างเอาสถานะนั้นแล้วจะให้เขาอ้างเอาสถานะที่เขาไม่ได้เป็นหรืออย่างไรครับ?

อุปมาของคุณ Kant เรื่องชาวนาทำผมอึ้งเลยครับ ไม่ทราบที่มาที่ไป เอาอย่างสำหรับคนโง่ลงมาหน่อยหนึ่งได้ไหมครับ ผมคิดว่ายังไม่เคยมีใคร imply ว่าอาชีพมีส่วนกำหนดมาตรฐานจริยธรรมในกระทู้ไหนก็ตามในระยะ 6 เดือนที่ผ่านมา เลยชักงงๆที่มาเล็กน้อย





Posted by : Phoenix , Date : 2003-05-03 , Time : 23:48:37 , From IP : 203.107.206.238

ความคิดเห็นที่ : 10


   มาอ่านแล้วงงครับ เถียงกันเรื่องอะไรหรือ
(อ่านของท่านพุทธทาสข้างบนแล้วไม่เห็นงงเท่ากับอ่านที่ตุยกันเลย)


Posted by : ArLim , Date : 2003-05-04 , Time : 16:09:31 , From IP : 172.29.2.160

ความคิดเห็นที่ : 11


   อาลิ้มเข้ามาแล้วเล่นเอาผมกระจ่างเลยครับ

งงเหมือนกัน


Posted by : เหอๆๆ , Date : 2003-05-04 , Time : 17:42:56 , From IP : 172.29.2.149

ความคิดเห็นที่ : 12


   ชาวนาจำเป็นหรือเปล่าครับ

แล้วชาวนานี่จำเป็นต้องเป็นคนชั่วหรือ

พระอรหันต์จะมาขุดดินปลูกผักไม่ได้หรือครับ

อย่าลืมนะครับว่าเราทำสิ่งเหล่านี้ไปเพื่ออะไร ถ้าเราไม่ได้ทำไปเพื่อนิพพานล่ะก็ สิ่งนั้นเป็นสิ่งเลวทั้งหมดครับ


Posted by : 111 , Date : 2003-05-09 , Time : 18:44:16 , From IP : 172.29.2.161

ความคิดเห็นที่ : 13


   ผมว่า ถ้าปฏิบัติแล้วเทียบเข้ากันได้กับมรรคแปดหรือศิล สมาธิปัญญา ถือว่าเดินตามที่พระพุธเจ้าบอก เพื่อให้เกิดปัญญาเห็น ปรมัตถธรรม ซึ่งเป็นธรรมที่ไม่ใช่สมมุติบัญญัติ ซึ่ง ศิลสมาธิ ปัญญา ยังเป็น สมมุติบัญญัติ หรือเป็นเพียงทางเดินเท่านั้น ยังไม่ใช่จุดหมายครับ

Posted by : ปรมัตถธรรม , E-mail : (owen45@hotmail.com) ,
Date : 2007-01-18 , Time : 23:45:14 , From IP : public02.gprs.ais.co


ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.013 seconds. <<<<<