ความคิดเห็นทั้งหมด : 13

Debate XVIII: ข่าวฆาตกรรมให้อะไรกับประชาชน?


   สื่อสารมวลชนเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลมากที่สุดประการหนึ่งต่อความเจริญของประเทศ

ทีวีวิทยุหนังสือพิมพ์ dictate หัวข้อสนทนาของคนทุกระดับตั้งแต่ชาวบ้านทั่วไปจนถึง intelligentsia ข้อมูลมีผลต่อบุคลิก ความคิด และความเชื่อ social norm set teenage idol จนไปถึงค่านิยมเกือบทุกๆอย่าง

บางครั้งเคยรู้สึกซึมเศร้าบ้างไหมที่หนังสือพิมพ์ทั้งฉบับอ่านจบใน 5 นาที? ข่าวยอดฮิตที่เปรอะไปบาหน้าแรกและอื่นๆคือการฆ่าชนิดต่างๆ ใครช่วย educate ผมทีเถอะครับว่าเราได้อะไรจากข่าวเหล่านี้ และอะไรที่เรา "ควร" จะได้จากสื่อมวลชน?




Posted by : Phoenix , Date : 2003-05-03 , Time : 00:58:38 , From IP : 203.107.207.88

ความคิดเห็นที่ : 1


   แนะนำให้ไปอ่านคอลัมน์บีบสิวของซ้อเจ็ดในผู้จัดการออนไลน์ตามลิงค์ข้างล่างนี้ครับ
http://www.manager.co.th/entertainment/EntBrowse.asp?BrowseNewsID=2617




Posted by : กะหลั่วเป็ด , Date : 2003-05-03 , Time : 10:07:54 , From IP : 172.29.1.160

ความคิดเห็นที่ : 2


   ให้เกิดการเลียนแบบ และความคิดที่ว่าฆาตกรรม คือ เรื่องธรรมดาๆในสังคมไทย



Posted by : buf , Date : 2003-05-03 , Time : 11:57:40 , From IP : 172.29.2.149

ความคิดเห็นที่ : 3


   ถ้า "ความคิด" ที่คนส่วนใหญ่ในประเทศถูกวางกรอบได้ ก็คงจะเป็นเพราะ "ข้อมูล" นั่นเอง

เจมส์บอนด์ตอน The World is not Enough (ใช่รึเปล่าหว่า?) ที่ผู้ร้ายเป็น Newspaper Mogul นั้นสะท้อนความจริงทีเดียว เพียงแต่ข่าวที่จะ manipulate คนระดับหนึ่งได้ก็ต้องมีสาระพอสมควร (เช่นสงคราม เศรษฐกิจ) หวนกลับมาคิดข่าวที่จะ manipulate หัวข้อสนทนาแถวๆนี้คือ ฆาตกรรมปิดปาก หรือทอมดี้ตบตีแล้วฆ่า หรือปาฏิหาริย์เด็กหิน ครรภ์ 18 เดือน อะไรทำนองนี้ ทำให้ depress เป็นทวีคูณ Editorial column ที่ต้องเป็นหน้าเป็นตา หรือ Highlight ของหนังสือพิมพ์กลับถูกใช้มาบ่นๆ ไร้สาระ ไร้วิสัยทัศน์ ซะส่วนใหญ่ Highlight กลายเป็นเรื่องย่อละครน้ำเน่าแทนสำหรับหลายๆคนที่ซื้อนสพ.มาอ่าน



Posted by : Phoenix , Date : 2003-05-03 , Time : 12:28:50 , From IP : 203.107.202.36

ความคิดเห็นที่ : 4


   ตัวข่าว ว่าแย่แล้ว แต่ ภาพอันอุจาดตา ยิ่งแย่กว่า แม้แต่คนตายแล้วยังไม่เว้น

ความเห็นส่วนตัว.... ภาพ/ข่าว เหล่านี้ แสดงถึงสังคมที่ขาดวุฒิภาวะ

ถามว่าภาพเหล่านี้ กระตุ้นความรู้สึกผิดชอบชั่วดีให้ออกมาช่วยกันปกป้องผู้อ่อนแอกว่าในสังคม หรือ กระตุ้น ความรู้สึกตื่นเต้นทางเพศ และความรุนแรง



Posted by : ชฏายุ , Date : 2003-05-03 , Time : 19:43:51 , From IP : dial-63.ras-12.bkk.c

ความคิดเห็นที่ : 5


   ที่หนักที่สุดคือการ desensitize สังคมด้วยกรรมต่างๆเหล่านี้ ผมว่าเป็นการลงรูปและข่าวที่ไร้ความรับผิดชอบ และมีส่วนโดนตรงต่อความ violence ของสังคมที่กำลังเพิ่มขึ้นทุกวี่ทุกวัน



Posted by : Phoenix , Date : 2003-05-03 , Time : 23:50:33 , From IP : 203.107.206.238

ความคิดเห็นที่ : 6


   ของสิ่งหนึ่งอยู่ที่การมองของเราว่าจะมองในมุมไหน
อยู่ที่การนำเสนอว่าจะเป็น....การสร้างหรือทำลาย
ถ้าใครจะมองว่าตุ๊กตาบาร์บี้ถอดเสื้อ ....ว่าโป๊ก็อาจเป็นได้ อยู่ที่สิ่งแวดล้อมที่อยู่ล้อมข้าง
.....ความจริงเป็นสิ่งที่ทุกคนควรเรียนรู้แต่ควรเป็นการเรียนรู้ให้เหมาะกับวุฒิภาวะ(ควรเป็นไปตามขั้นตอน จากตุ๊กตาบาร์บี้......สู่....หนังสือblack&white)
บางครั้งถ้าสังคมงดงามเกินไปก็สอนให้เด็กกลายเป็นคนอ่อนแอเกินไป ทุกอย่างควรอยู่ใน.....ความพอดี ไม่มากไม่น้อย....แต่ก็ไม่ขาด..... ขลุกขลิก กำลังดี


Posted by : Z e N , E-mail : (golf4u4ever@i-kool.com) ,
Date : 2003-05-04 , Time : 00:45:57 , From IP : dialup226.net32.sama


ความคิดเห็นที่ : 7


   ขนาดปัจจุบันนี่ดีหรือเปล่าครับ?

ถ้าไม่มีรูปและรายละเอียดของข่าวเหล่านี้ สังคมไทยจะอ่อนแอลงหรือ?



Posted by : Phoenix , Date : 2003-05-04 , Time : 00:50:00 , From IP : 203.107.206.238

ความคิดเห็นที่ : 8


   ที่พูดๆกันว่า ข่าวที่ลงตามหนังสือพิมพ์มีผลต่อการสร้างพฤติกรรมความรุนแรงขึ้นในสังคม อยากรู้ว่าจริงๆแล้วมีส่วนแค่ไหน เพราะไม่คิดว่าการอ่านเนื้อหาข่าวแล้วจะสร้างความรู้สึกอยากกระทำตามหรือกระตุ้นสัญชาตญาณโหดขึ้นมาได้
ต่างจากความรู้สึกเมื่อเล่นเกมหรืออ่านนิยาย ที่เมื่อได้เข้าถึงความรู้สึกนั้นแล้ว จะลืมสิ่งรอบตัวไปชั่วขณะ และอาจติดฝังอยู่ในจิตใจได้
ผมไม่ค่อยเห็นด้วยนะครับว่า ข่าวพวกนี้จะกระตุ้นให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น แต่ผมเห็นว่าเป็นการกระตุ้นสังคมให้รู้สึกตื่นตระหนกมากขึ้นมากกว่า ให้รู้จักหวาดกลัวต่อภัยสังคม ทั้งเรื่องยาเสพย์ติด ฆาตกรรม อาชญากรรมทั้งหลาย
รวมทั้งเรื่อง SARS ด้วย ที่ช่วงแรกสื่อประโคมข่าวเสียจนชาวบ้านกลัวกันไปหมด
สำหรับข่าวที่ผมเห็นว่าไร้สาระมากๆ และไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆเลยก็คงเป็นอย่างเช่น ข่าวพาดหัวหน้าหนึ่งไทยรัฐวันนี้ล่ะครับ ถูกลอตเตอรีรางวัลที่หนึ่ง หลังจากที่ซื้อมา 30 ปี... ไม่รู้ว่าเขาคิดอย่างไรจึงลงข่าวนี้พาดหัว
ไม่เข้าใจจริงๆ


Posted by : ArLim , Date : 2003-05-04 , Time : 16:06:48 , From IP : 172.29.2.160

ความคิดเห็นที่ : 9


   เราสามารถให้ข้อมูลเรื่องภัยยาเสพย์ติด หรืออาชญากรรมได้โดยไม่ต้องเอารายละเอียดของรูปต่างเหล่านั้นมาลงหน้าหนึ่งเพื่อเพิ่ม appetite หรอกนะครับ

ที่ว่าเพิ่มความรุนแรงนั้น เห็นจะเป็นโดยกลไกแห่งความเคยชินครับ ฆ่ากันไม่เว้นตะละวัน กลายเป็นเรื่องธรรมดา พอๆกับข่าววงในดารา ฆาตกรรมนั้นเป็นความล้มเหลวของคนต่อสังคมและของสังคมต่อคน เหมือนกับการที่เห็นคนขี่จักรยานยนต์ถอดหมวกตะเบ๊ะยามทุกวันนี้แหละครับ อะไรที่มันทำเป็น norm ไปจากผิดกฏก็กลายเป็นเรื่องปกติ การแซงคิวหน้าลิฟท์หรือที่เคาเตอร์จ่ายเงินก็เหมือนกัน แทนที่จะเห็นแถวคิวกลับเห็นวงล้อมเป็นครึ่งวงกลมรอบๆจุด แล้วดูเหลี่ยมกันว่าใครใจถึงเสือกของของตนไปให้เช็ค หรือเบี่ยงตัวเข้าลิฟท์ได้ก่อนกัน (บางทีก็เห็นเทคนิคดันหัวลูกตัวเล็กแทรกเข้าก่อนแล้วผู้ใหญ่จับเอวตามก้นกันไปสามสี่คนก็มี)

สังคมที่ตื่นตระหนกนั้นน่าจะมีประโยชน์น้อยกว่าสังคมที่ educated โดยข้อมูลที่กลั่นกรองโดยมีวัตถุประสงค์ที่ดี บางข่าวเป็นการส่ง message ว่าข้าคือจ้าวพ่อ ตบหัวพยานในศาลได้ ข้าออกมาแล้ว เห็นมั้ยๆ บางข่าวบอกว่าดูซิใครขัดขืนข้าแล้วผลเป็นยังงัย อย่างนี้ไม่มีประโยชน์หรอกครับ เป็นการโฆษณาเพิ่มค่าตัวให้มือปืนรับจ้างว่ามัน work และมีผลงานลง publication ทุกๆวันแค่นั้นเอง



Posted by : Phoenix , Date : 2003-05-05 , Time : 00:01:43 , From IP : 203.107.212.226

ความคิดเห็นที่ : 10


   คือถ้าจะให้ ตอบแบบ evidence based ว่า ภาพอันสยดสยอง ข่าวอันน่าสะพึงกลัว
มีผล ทําให้เพิ่มความรุนแรงหรือปล่าว..... ตอบไม่ได้

แต่คุณ Arlim ครับ ... เนื่องจากตัวผมเองนั้น เป็นคนนิสัยดี ไม่ชอบยุ่งเรื่องชาวบ้าน จึงชอบ ไปแอบดูปฏิกริยา สีหน้า แววตา ของคนอ่านหนังสือพิมพ์ ตามที่สาธารณะต่าง ๆ ... ทํามานานมากแล้ว ตั้งแต่เป็นเด็กมัธยม

คุณเชื่อ มั้ย ...แววตาของผู้ชาย ที่ยืนดูรูป ศพผู้หญิง หรือ เด็กที่ถูกข่มขืน มันทําให้ผมหนาวไปถึงไขสันหลัง ความตื่นเต้นที่ผมเห็น มันทําให้ผมกังวล

แน่ล่ะ ไม่ได้เป็นซะทุกคน....คงโชคร้าย ที่ไปเจอเอาคน " หลายคน " แบบนั้น....แต่ความโชคร้ายเพียงครั้งเดียวของคน บางคน ก็รุนแรงพอที่จะทําให้เขาเจ็บปวด เสียศักศรี และอาจตายได้ด้วยวิธีที่สยดสยองอย่างที่สุด วิธีหนึ่งทีเดียว


Posted by : ชฏายุ , Date : 2003-05-05 , Time : 19:49:23 , From IP : dial-144.ras-6.bkk.c

ความคิดเห็นที่ : 11


   ฆ่ากันที่ลงใน นสพ. นั้นไม่ใช้วิธีแก้ปัญหาที่เราอยากจะให้เป็น option ต้นๆหรอกนะครับ แล้วก็ไม่ค่อยๆได้มีข่าวเลยที่ว่ามือปืนหรือคนจ้าวฆ่าจะถูกจับหรือทำโทษอย่างไร กลายเป็นถ้าคนพกปืนไว้ในรถ หมั่นไส้หรือเหม็นหน้ ใครตักหน้รถฉันก็อาจจะเปรี้ยงปร้างกันได้ง่ายๆ อ้าว..ติดคุกเป็นความกันหรอกเหรอเนี่ย ไม่เห็นเผนแพร่มาก่อนเลยว่าฆ่ากันมันมำให้ยุ่งเหยิงขนาดนี้

หากข่าวที่ว่านี้มีผลเพิ่มความมีประสิทธิภาพในการควบคุมยาเสพย์ติดแล้วล่ะก็ น่ากลัวมากครับ เพราะมันก็ยังเป็นการเพิ่มมากขึ้นอยู่ดี ข่าวยา E ก็กลายเป็นข่าวดาราดังๆ ถูกจับในคลับหรูๆ ราคาเม็ดละแพงๆ ไม่แน่ใจนะครับว่าอย่างนั้นเป็นการโฆษณาทางอ้อมหรือเปล่า



Posted by : Phoenix , Date : 2003-05-05 , Time : 22:17:17 , From IP : 172.29.3.203

ความคิดเห็นที่ : 12


   ก็คงจะเป็นอย่างนั้นล่ะครับ
...
บางทีการลงภาพ ลงเนื้อหาข่าวที่นักนสพ.เขียนให้อ่านแล้วเกิดอารมณ์ร่วมนั้น ก็รุนแรงและน่าตกใจเหมือนกัน
แต่เท่าที่อ่าน นสพ.หลายฉบับ วิธีการนำเสนอข่าวจะต่างกัน และเนื้อหาสาระในนสพ.ก็ต่างกันมากเสียด้วย

เรื่องอย่างนี้คงต้องให้เป็นวิจารณญานของผู้ปกครองในการรับนสพ.ให้เด็กอ่านแล้วล่ะครับ
คนโตๆมีการศึกษาแล้วนี่ ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรเหมือนกัน
(เห็นอ่านกันแต่ สยามสปอร์ต สตาร์ซอคเกอร์ ... อย่างนี้คงไม่มีพิษมีภัยล่ะมั้ง)


Posted by : ArLim , Date : 2003-05-06 , Time : 02:31:47 , From IP : maliwan.psu.ac.th

ความคิดเห็นที่ : 13


    ผมขออนุญาติแสดงความคิดเห็นครับ ผมคิดว่าเราคงต้องเข้าใจผู้เขียนข่าวด้วยนะครับ เพราะต้องการให้หนังสือขายได้ดังนั้นคงต้องเน้นหรือทำให้ข่าวเด่น อย่างไรก็ตามผู้อ่านข่าวอย่างพวกเราคงต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนด้วยครับว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร (สังเกตุได้จากข่าวของหนังสือพิมพ์คนละฉบับจะไม่เหมือนกัน) ถ้าถามว่าได้อะไรจากข่าวเหล่านี้บ้าง ผมคงตอบว่าได้ทั้งในส่วนดีและไม่ดีครับ ส่วนดีคือได้รู้ว่าในชีวิตจริงยังมีเหตุการณ์ที่เราอาจไม่คิดว่าจะเกิดขึ้นได้ ส่วนที่ไม่ดีคือทำไมยังมีเหตุการณ์รุนแรงเช่นนี้เกิดขึ้นได้ ยังไงก็ดีเราคงต้องพิจารณาถึงข้อเท็จจริงหรือความจริงด้วยครับ เราไม่มีทางรู้หรอกครับว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริงตามข่าวหรือไม่ สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งคือทำอย่างไรให้ประชาชนที่อ่านหนังสือพิมพ์จะเข้าใจว่าข่าวให้อะไรแก่เราโดยไม่คิดจะนำไปปฏิบัติจริงๆ ผมคิดว่าคงอยู่ที่พื้นฐานทางความคิดซึ่งอาจขึ้นอยู่กับพื้นฐานของครอบครัวด้วยส่วนหนึ่งครับ อีกประเด็นหนึ่งคือทำอย่างไรที่จะทำให้ประชาชนที่อ่านข่าวดังกล่าวเข้าใจว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นได้ และเพราะอะไร ถ้าเป็นไปได้ก็คงคิดต่อว่าจะทำอย่างไรไม่ให้เกิดขึ้นอีก (อันหลังน่าจะยากมากครับ)

Posted by : free bird , Date : 2003-05-11 , Time : 18:24:36 , From IP : 203.156.46.75

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.009 seconds. <<<<<