เห็นด้วยกับคุณ อ.มอ. ตรงประเด็นการสอบให้ตรงกับสิ่งที่เราจะวัด และการ standardize ครับ
ตัวอย่างที่ยกมานั้นคงไม่ใช่การสอบในอุดมคติ และใช้เวลาเตรียมทั้งสองฝ่ายค่อนข้างจำกัดเกินกว่าที่เราจะสรุปถึงความแม่นยำ ความยุติธรรม หรืออะไรมากไปกว่าขั้นตอนที่ต้องการสัมฤทธิผลในเวลาจำกัดที่มีอยู่ จริงๆผมเคยชวนอภิปรายเรื่องการสอบ comprehensive หรือ long case นี่ครั้งนึง กับคุณพี่น้องและผองเพื่อน ในกระทู้เกี่ยวกับแพทยศาสตร์ศึกษา แต่ไม่ได้ explore เยอะมาก
Long case น่าจะดีในการสอบลักษณะ comprehensive "ภายหลัง" การสอบอื่นๆอย่าง exhaustive แล้ว ให้ครบทั้งสามพิสัย แล้วตรงนี้จะเป็นคล้ายๆการ integrate เข้าหากัน เช่น cognitive tests โดย MCQ, MEQ, short assay, assay, open book, tripple jump และ psychomotor โดย OSCE, Observation, formatve, log-book, short case physical examination และ attitude test โดย observation, log book, portfolio, and interview นัยว่าต้องมีกระบวนการ standardize ที่ดีมากพอสมควรทีเดียว ในการที่จะสอบ longcase สำหรับ externs ทุกคน
การสอบ FRCS ของอังกฤษ จะว่าไปมี concept จางๆของ Long case นิดหน่อย เช่น โจทย์ถามสั้นๆว่า "จงอธิบาย pancreatic tumour" แล้วให้กระดาษคำตอบมาให้เขียน 30 แผ่น คือ ผู้สอบยังไงๆก็ต้องเตรียมมาหมดทุกอย่าง และต้องเตรียมขนาดเขียนออกมาเป็นฉากๆได้เลย เก็งคงจะยาก โพยมีให้เพียบ แต่โจทย์พลิกแพลงได้ร้อยแปดพันประการ ทีทำยังงี้ได้เพราะนี่เป็นระดับ postgraduate ที่ความหลากหลายของเนื้อหามันเยอะมาก ไม่ได้จำกัดแค่ใน Learning objective แต่เป็น professional body ที่เน้น tough มากๆ ของเราถ้าจะลองเลียนแบบ อาจจะมี pool อาจารย์ที่จะสอบ long case ของ major field สัก 20 ท่าน ให้ extern จับฉลากมา 4-8 คนโดยไม่ทราบว่าจะได้สอบกับใครและ case อะไร อาจารย์ทุกท่านจะต้องเตรียม standardized patients ไว้อยู่แล้ว แล้วก็พาไปสอบเลย ยังงี้ก็จะใช้โพย เตรียมกั๊ก อะไรไม่ได้ แต่ข้อเสียก็ยังเป็น subjective test อยู่ดี และการให้คะแนนแบบ Integration นั้นไม่ง่ายเลย แม้แต่ระบบ viva voce ของอังกฤษก็เป็นที่รู้กันว่ามันมีโอกาส "ซวย" ได้ถ้าเจอ examiners บางท่าน
Posted by : Phoenix , Date : 2004-11-28 , Time : 17:18:35 , From IP : 203.156.40.189
|