ความคิดเห็นทั้งหมด : 35

จากเหตุการณ์ไฟดับ 4 วัน ทำให้ท่าน ๆ ทั้งหลายเห็นถึงอะไรบ้าง


   จากเหตุการณ์ไฟฟ้าดับเป็นระยะเวลาถึง 4 วัน ทำให้เราเห็นว่า ระยะการป้องกันเกี่ยวกับไฟฟ้าของโรงพยาบาลยังไม่มีความพร้อมรองรับปัญหาเฉพาะ และที่ทำคัญบุคคลที่จะมารับผิดชอบ ซึ่งนั้นก็คือ วิศวะของคณะ ท่านทั้งหลายทำงานกันอย่างความสามารถแล้วหรือ โรงพยาบาลมั่วแต่พัฒนาระบบการบริการของโรงพยาบาลเป็นสำคัญ ซึ่งนั้นก็ถูก แต่เบื้องหลังความสำเร็จถ้าไม่ส่งเสริมกันอย่างนี้ก็น่าคิดอยู่นะ และที่สำคัญตรงกับช่วงที่คนใหญ่ คนโตมาเยี่ยมเยียนภายในโรงพยาบาลอยู่บ่อย ๆ เนื่องจากรองผู้ว่าปัตตานีมานอนโรงพยาบาลด้วย บอกได้เลยว่าไปกันใหญ่

Posted by : บุคลากร , E-mail : (TOT) ,
Date : 2004-11-25 , Time : 19:17:52 , From IP : 172.29.3.100


ความคิดเห็นที่ : 1


   รองผู้ว่ามาก็น่าคิดเหมือนกันน่ะว่าไหม
คือโจรใต้มันตามมาหรือเปล่าเนี่ย
อาศัยตอนไฟกำลังดับ


Posted by : กล้วๆ จนเผ่นหนี , Date : 2004-11-25 , Time : 19:58:00 , From IP : 172.29.4.57

ความคิดเห็นที่ : 2


   รองผู้ว่ามาก็น่าคิดเหมือนกันน่ะว่าไหม
คือโจรใต้มันตามมาหรือเปล่าเนี่ย
อาศัยตอนไฟกำลังดับ


Posted by : กล้วๆ จนเผ่นหนี , Date : 2004-11-25 , Time : 19:58:01 , From IP : 172.29.4.57

ความคิดเห็นที่ : 3


   จะดับไปจนถึงวันไหนคะ

จะได้เตรียมตัวเตรียมใจถูก

--------------------------------------------

พรุ่งนี้จะเอาพัดเข้าห้องเลคเชอร์ด้วย


Posted by : สาวน้อยร้อยชั่ง , Date : 2004-11-25 , Time : 21:03:12 , From IP : 172.29.4.103

ความคิดเห็นที่ : 4


   ระหว่าง วิดวะ กะ นาง บาน ER ให้เลือกเอาเอง

Posted by : ไฟน้อยๆ , E-mail : (25) ,
Date : 2004-11-25 , Time : 21:20:25 , From IP : 172.29.3.113


ความคิดเห็นที่ : 5


   เหอๆ ที่อื่นดับได้ แต่ร.พ.ถ้าดับเป็นเรื่องใหญ่แหงๆ

Posted by : P|atino , Date : 2004-11-25 , Time : 22:03:22 , From IP : 172.29.4.171

ความคิดเห็นที่ : 6


   ช่วงไฟดับมีผู้ป่วยที่ on respirator arest โดยไม่ทราบสาเหตุ 2 คน
ไม่ทราบเป็นเพราะไฟดับแล้ว respirator ไม่ทำงานหรือไม่
และแปลกใจที่ไฟสำรองของ รพ. ทำงานช้ามาก


Posted by : ... , Date : 2004-11-25 , Time : 22:33:54 , From IP : 172.29.4.238

ความคิดเห็นที่ : 7


   การประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง ข้อความที่ประกาศก็ไม่ชัดเจน ต้องโทรไปถามจึงจะรู้เรื่อง โทรบ่อยๆก็ไม่รับสาย...

Posted by : แมวดำ , Date : 2004-11-26 , Time : 10:06:56 , From IP : 172.29.1.209

ความคิดเห็นที่ : 8


   เสื้อผ้า OR เหม็นมากๆ เหม็นฉุด เหม็นเหงื่ออะ

Posted by : น้ำพริก , Date : 2004-11-26 , Time : 14:30:33 , From IP : 172.29.1.134

ความคิดเห็นที่ : 9


   พอเกิดเหตุการณ์ที วิศวะของร.พ.ก็แก้ไขไม่ได้ ต้องให้ช่างที่อื่นมาซ่อมให้ ช่างม.อ.มีไว้มากๆๆทำไม อญู่เวรบางคนไปเตะบอล ไปเหล่สาว.......สมคาร
โหละออกบ้าง อยู่ไม่มีคูณภาพ


Posted by : 007 , Date : 2004-11-27 , Time : 02:25:01 , From IP : 172.29.1.112

ความคิดเห็นที่ : 10


   เราเรียกระบบ refer ไงล่ะครับ ขนาดคนไข้เรายัง refer เป็นครั้งคราวตามสถานการณ์ความเหมาะสมคงไม่ใช่สาเหตุที่จะโละหมอออกใช่ไหมครับ?



Posted by : Phoenix , Date : 2004-11-27 , Time : 02:39:18 , From IP : 172.29.7.110

ความคิดเห็นที่ : 11


   แต่น่าสังคายนา ระบบวิศวะฯ เหมือนกันนะ เป็นกลุ่มบุคลากรที่สำคัญมาก แต่หาตัวยาก

Posted by : wan , Date : 2004-11-27 , Time : 21:07:44 , From IP : 172.29.7.151

ความคิดเห็นที่ : 12


   อาจารย์ phoenix จะเทียบกับการ refer คนไข้ของแพทย์คงไม่ได้หรอก.. ต้องมองย้อนไปดูก่อนว่าที่ผ่านมา วิศวะ ทำงานได้เหมาะสมเต็มความสามารถแล้วหรือยัง (ยัง ยัง ยัง...)

Posted by : แมวดำ , Date : 2004-11-28 , Time : 15:00:42 , From IP : 172.29.7.202

ความคิดเห็นที่ : 13


   วิศวะ ชุดปัจจุบัน ไม่มีใครที่จะเปลี่ยนแปลง หรือ สั่งให้ ปรับปรุง ได้ง่ายๆ ปัญหามันยืดเยี้อมานานแล้ว ระบบภายในก็แปลกๆ เป็นองค์กรที่อาจได้ชื่อว่า อิสระ bigๆ ในคณะก็ไม่สามารถปรับองค์กรนี้ได้ ทั้งๆที่สมควรปรับมานานแล้ว

Posted by : โถ... , Date : 2004-11-28 , Time : 15:19:48 , From IP : 172.29.3.209

ความคิดเห็นที่ : 14


    ผมไปนั่งกินข้าวที่โรงอาหาร คนไข้เขาบ่นใหญ่เลย(กับพยาบาลที่รู้จัก) ว่าอุตส่าห์มาจากต่างจังหว้ด เพราะมีนัดตรวจด้วยเครื่องมือทันสมัยราคาแพง แต่เครื่องมือใช้การไม่ได้ เพราะไฟฟ้ามีปัญหา
พยาบาลคนนั้น ก็ใจดีมากๆ พูดให้กำลังใจ อย่าพึ่งท้อแท้ คนไข้คนนั้นเขาบอกว่าชีวิตเขาเจอมาเยอะแล้ว เขาทำใจได้ ดูเหมือนว่าเขาจะเป็นโรคร้ายแรงพอสมควร
เหตุการณ์ 4 วันที่ผ่านมาคนที่ได้รับความเดือดร้อนมากที่สุดคงเป็นผู้ป่วย โดยเฉพาะที่ ICU รองลงมาคงเป็นเจ้าหน้าที่ที่ต้องทำงานโดยไม่มีแอร์ เช่น ห้องผ่าตัด ส่วนเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานต่างๆคงเดือดร้อนเล็กน้อย
อย่างไรก็ตาม ความเห็นส่วนตัวคิดว่า ถ้ามีระบบบริหารจัดการ มีการเตรียมการที่ดี ไม่น่าจะเกิดเหตุการณ์ยาวถึง 4 วัน
หวังเพียงว่าคงไม่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ซ้ำอีกก็แล้วกัน สงสารคนไข้จริงๆครับ
อ้อ โชคดีอย่างมาก ที่สถาบันรับรองคุณภาพรพ. ไม่ได้มาเยี่ยมตรวจรพ.ของเราในช่วงไฟดับ 4 วัน ไม่นั้นหน้าแตกไปตามๆกัน


Posted by : ร่วมด้วยช่วยกัน , Date : 2004-11-28 , Time : 21:09:09 , From IP : 172.29.7.197

ความคิดเห็นที่ : 15


   อยู่วอร์ดปิด...ร้อนน่ะยังพอทน แต่หายใจไม่ออกด้วยสิคะ..แย่
ระบบโครงสร้างอาคารก็ไม่ได้รองรับสภาพที่ไม่มีแอร์เลย
แทบจะเอาชีวิตไม่รอด ต้องวิ่งไปโผล่หายใจที่หน้าต่างเป็นพักๆ
...กลัวจริงๆค่ะ...


Posted by : nures... , Date : 2004-11-29 , Time : 08:35:46 , From IP : 172.29.1.112

ความคิดเห็นที่ : 16


   เรื่องไฟฟ้าดับที่ผ่านมาสามารถพิสูจน์ว่าเรื่องนี้สามารถมีผลกระทบในวงกว้าง และสามารถเป็นการ Undoing ผลงานคณะฯหรือ รพ.ได้ทีเดียว แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นการด่วนสรุปว่าได้มีหรือไม่มีการดำเนินการแก้ไขหรือไม่ อย่างไร และเต็มความสามารถรึเปล่านั้น ผมว่าพวกเราส่วนใหญ่ในที่นี้มีข้อมูลไม่พอครับที่จะประเมิน

เช่น "ถ้า" ปริมาณไฟที่เราโหมใช้อยู่นี้มันเกินที่ Hardware เราสามารถรับได้สักสามสี่เท่า งบประมาณที่จะเปลี่ยน infrastructure ไม่ถึงหรือไม่ได้อนุมัติหรือไม่มี (เป็นไปได้สูงในสมัยที่เงินคณะฯ short ไปทีละเป็นร้อยๆล้านบาทอย่างหลีกเลี่ยงไม่ออก) การทำงานให้ดีโดยมีแหล่งปัจจัยจำกัดนั้น ผมว่าพวกเราในคณะฯนี้ซาบซึ้งกันดีว่ามันเป็นยังไง ถามหมอ ถามพยาบาล หน่วยงานไหนก็ได้

ลองเอาใจเขามาใส่ใจเราสักนิด ถ้ามีใครมาว่า OPD OR ward ว่าบริการไม่ทันใจ ไม่สุดยอด ทั้งๆที่เราอยากจะทำแต่คนมา fill ตำแหน่งไม่เต็ม คนมาสมัครไม่ถึง หรืองบไม่พอ เราอยากจะตอบโต้คนที่มาท้าวเอวฉอดๆเราว่ายังไงครับ?

ถึงตอนนั้นถ้าใครยังบอกว่า "นี่หรือคือเต็มความสามารถของมอ." และเยาะเย้ย เราอาจจะรู้สึกเห็นใจคนที่เราเคยโจมตีประณามทันทีที่มีโอกาสหรือไม่?



Posted by : Phoenix , Date : 2004-11-29 , Time : 22:28:57 , From IP : 172.29.7.59

ความคิดเห็นที่ : 17


   เห็นด้วยกับความคิดและเหตุผลของแต่ละท่าน ทางหน่วยวิศวฯควรชี้แจงถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเหตุที่เกิดมาจากสาเหตใด มีการแก้ไขยังไง และการป้องกันยังไง เพื่อให้ผู้รับบริการได้เข้าใจ และได้ช่วยกันร่วมใจเพื่อป้องกันเหตุที่จะเกิดขึ้น

Posted by : toy , Date : 2004-11-30 , Time : 10:47:33 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 18


   เอ้า!....จารุ ชี้แจงหน่อย ..

Posted by : ผอม , Date : 2004-11-30 , Time : 10:53:34 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 19


    ผมเป็นผู้ที่รับผิดชอบเรื่องไฟฟ้าของโรงพยาบาล และคณะแพทยศาสตร์ทั้งหมด ก็อ่านอยู่เหมือนกัน และคิดอยู่ตลอดเวลาว่าจะตอบอย่างไรดี มันถึงจะสามารถทำให้คนเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และก็ไม่ทำให้คนเขาคิดว่าผมแก้ตัว ที่จริงผมก็ยอมรับผิดที่เกิดเหตุการณ์นี้ ขอเล่าเหตุการณ์เป็นฉาก ๆ ก่อนดังนี้
โรงพยาบาลเรา รับไฟฟ้ามาจากสายไฟฟ้าแรงดันไฟฟ้า 33,000 โวลต์ หรือที่เรียกกันว่า 33 กิโลโวลต์ ทางสายไฟฟ้าแบบฝังดิน แล้วเอามาแปลงเป็นไฟฟ้าแรงดัน 380 โวลต์ กับ 220 โวลต์ ใช้ในโรงพยาบาลที่เดียว ซึ่งประกอบด้วยตึกโรงพยาบาล ตึก 100 ปี ฯ(หรือตึกฉุกเฉิน) ตึก ฉบ. ตึกแพทยศาสตร์ ตึกวิจัย ฯ กายอุปกรณ์ และอาคารเรียนรวมและหอสมุดสุขภาพ สายไฟฟ้าชุดนี้ฝังดินเข้าไปที่ตู้ควบคุมไฟฟ้าแรงสูงในห้องที่อยู่หลังห้องทำงาน ของงานวงิศวกรรมซ่อมบำรุง
สายไฟฟ้าแรงสูงอีกเส้นหนึ่งเป็นสายไฟฟ้าที่ลอยในอากาศ มีเสาไฟฟ้าแรงสูง สายไฟชุดนี้จ่ายไฟฟ้าแรงดัน 33 กิโลโวลต์ไปยังหอพักทั้งหมด รวมถึงอาคารบริหารคณะแพทยศาสตร์ และคณะพยาบาล ฯ นอกจากนั้นผมยังได้ต่อสายไฟฟ้าแรงสูงนี้เข้าไปในโรงพยาบาล ฯ เป็นสายไฟฟ้าแรงสูงสำรอง อีกชุดหนึ่ง เพื่อใช้ในกรณีที่สายไฟฟ้าแรงสูงอีกเส้นหนึ่งมีปัญหา (อันนี้ทำเหมือนกับทักษิณราชนิเวศน์)
วันที่เกิดเหตุการณ์นั้น ตอนแรกเกิดเหตุไม่สามารถจ่ายไฟฟ้าแรงสูงจากตู้ควบคุมไฟฟ้าแรงสูงได้ ตอนประมาณตี 2 และได้เดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองจ่ายไฟฟ้าแทนทั้งหมด 5 เครื่อง ช่างที่อยู่เวร ได้พยาบามแก้ไข แล้วแก้ไม่ได้ ขณะเดียวกันมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง 1 เครื่อง เกิดจ่ายไฟไม่ปกติ ช่างเห็นว่าไม่สามารถจ่ายไฟฟ้าจากตู้ควบคุมได้แน่ จึงไปแก้ไขเครื่องกำเนิดไฟฟ้า แต่แก้ไม่ได้ ก็โทรศัพท์ตามผมจากที่บ้านตอนตี 3 ผมมาแก้ปัญหาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอยู่ประมาณครึ่งชั่วโมง ก็สำเร็จ ช่วงนั้นแหละครับ ที่ทำให้การจ่ายไฟไปยัง RCU ไม่ปกติ เครื่องช่วยหายใจจึงต้องพึ่งไฟจากเครื่อง UPS และมีเครื่อง UPS บางเครื่องที่เขาซื้อมาโดยที่ออกสเปคไว้ให้มีแบตเตอรี่ที่สามารถใช้งานได้น้อย ไฟจึงหมดเร็ว ซึ่งอันนี้คงต้องสอบถามจากศูนย์เครื่องมือแพทย์ ว่ามีกี่เครื่อง และจะป้องกันต่อไปอย่างไร
หลังจากที่แก้ปัญหาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าฉุกเฉินแล้ว ผมได้ไปตรวจสอบสาเหตุของระบบไฟฟ้าแรงสูง พบว่าสายไฟที่ต่อจากการไฟฟ้ามาเข้ากับสายไฟของโรงพยาบาลที่เสามิเตอร์บริเวณหน้าวัดโคกนาวขาด และรับรายงานว่าก่อนหน้านั้นภายในตู้ควบคุมไฟฟ้าแรงสูงมีเสียงผิดปกติ จากอาการที่เห็น และข้อมูลจากช่างที่อยู่เวร ประเมินได้ว่า เราไม่ควรมั่นใจว่าตู้ควบคุมปกติ จะต้องทำการตรวจสอบก่อนจ่ายไฟ (ไฟฟ้าแรงดัน 33 กิโลโวลต์ เวลามันรั่ว มันไม่ช๊อต แต่มันระเบิดอย่างเดียว และถ้ามันช๊อตคน มันไม่แค่ดูดติด แต่คนจะไหม้) การตรวจสอบผมยอมรับว่าไม่มีเครื่องมือเลย และก็ไม่จำเป็นต้องซื้อเครื่องมือตรวจนี้เพราะมันไม่ได้ใช้บ่อย จึงต้องจ้างบริษัท ฯ ที่ขายและติดตั้งตู้นี้ดีกว่า เพราะอย่างไรก็ตามเขาก็ต้องชำนาญกว่าเราอยู่ดีที่ได้ทำบ่อย ๆ เราจะชำนาญเกี่ยวกับไฟฟ้าแรงดันต่ำขนาด 400 โวลต์ลงมา ดังนั้นผมจึงจ่ายไฟจากระบบสายไฟสำรองดังที่กล่าวมาข้างต้น ให้โรงพยาบาลใช้ ปกติการจ่ายไฟจากสายสำรองที่เป็นชุดเดียวกับหอพักนั้น ถ้าผมดับไฟของพักบางส่วนตั้งแต่ตึกบินหลา 3 ,ประสานใจ , เวชคาม ,งามทักษิณ และตึกศรีตรังทั้งหมด โรงพยาบาล ฯ และตึกแพทยศาสตร์ รวมทั้งหอสมุด ฯ ตึก ฉบ. ก็จะสามารถเปิดแอร์ได้ทั้งหมด แต่ผมไม่อยากให้กระทบกันมาก จึงยอม ให้โรงพยาบาลงดใช้แอร์แบบ CHILLER หรือแอร์ระบบ CENTRAL และขอความร่วมมือจากภาควิชา และหน่วยงาน ไม่เปิดแอร์ ยกเว้นการบริการผู้ป่วยที่เป็นแอร์แบบแยกส่วน ทั้งนี้ผมได้ประสานงานกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ทำการตรวจสอบการใช้ไฟของโรงพยาบล และหอพักตลอดเวลา เพื่อป้องกันการใช้ไฟเกินกำลัง
หลังจากจ่ายไฟฟ้าจากสายสำรองในวันจันทร์ ปรากฏว่าจ่ายไฟครึ่งวัน ตู้ควบคุมไฟฟ้าแรงสูงระเบิด ไหม้ แต่เป็นคนละจุดกับที่เกิดวันแรก ขอเรียนว่าตู้ควบคุมไฟฟ้าแรงสูงเราปิดไฟทำการบำรุงรักษาทุกปี ๆ ละ 1 ครั้ง มันปกติมาตลอด แต่พอเกิดมันก็เกิดเวลาใกล้ ๆ กัน ไม่มีการส่ออาการใด ๆ ให้เห็นมาก่อน ไม่มีอาการเตือนความผิดปกติ ทีนี้อุปกรณ์ที่ไหม้ เป็นชุดที่ควบคุมตึก 100 ปี ฯ ทำให้จ่ายไฟไปตึก 100 ปี ฯ ไม่ได้เลย และพบว่าฟิวส์แรงสูงของหม้อแปลงไฟฟ้าตึก 100 ปี ฯ ไหม้ด้วย
จากเหตุที่เกิดขึ้น จึงต้องสั่งอะไหล่จากกรุงเทพ ฯ เพิ่มเติม และถือว่าโชคดีที่มีอะไหล่ โดยไม่ต้องสั่งจากเมืองนอก
เมื่อช่างของบริษัทฯมาถึงในวันที่ 23 พ.ย 2547 ก็เปลี่ยนอะไหล่ ตรวจสอบสายไฟโดยการจ่ายไฟฟ้าแรงดัน 60 กิโลโวลต์ ทดสอบสภาพทุกอย่าง จนมั่นใจว่ามันปกติ โดยตัดสายชุดที่จ่ายตึก 100 ปี ฯ ออกก่อน และขอให้การไฟฟ้าจ่ายไฟเข้าตู้ควบคุม เราจ่ายไฟแช่ไว้ 14 นาที โดยยังไม่ทันจ่ายไฟออก ตู้เกิดระเบิดไหม้อีกในคืนวันที่ 23 พ.ย 2547 เวลาประมาณ 21.15 น. และเมื่อจะจ่ายไฟจากสายสำรองอีกครั้งหนึ่งกลับพบว่ามีอุปกรณ์อีกชุดหนึ่งจ่ายไฟไม่ได้ ต้องใช้เวลาซ่อมถึง ตี 1 จึงจ่ายไฟได้ ยกเว้นตึก 100 ปี ฯ ที่ยังจ่ายไม่ได้ และทุกคนเหนื่อยมากต้องรอซ่อมใหม่วันที่ 24 พ.ย 2547
วันที่ 25 พ.ย 2547 เราก็ไปเอาอะไหล่ที่สั่งเมื่อ 24 พ.ย 2547 ให้ส่งมาด่วนเพิ่มเติมอีก แล้วมาซ่อมจนใช้งานได้ดีตอนประมาณ 20.30 น.
เหตุการณ์ทั้งหมดก็เป็นอย่างนี้แหละครับ
สาเหตุที่พบ และจากการวิเคราะห์ เกิดจากอุปกรณ์ DROP OUT(ชุดฟิวส์แรงสูงทั้งชุด) และ LIGHTNING ARRESTOR(ตัวล่อฟ้าแรงสูง) เสื่อมสภาพ(ติดตั้งมาพร้อมตึก 100 ปี ฯ) โดยที่ไม่แสดงอาการมาก่อน และที่อื่นก็ใช้กันเป็น 20 ปี ก็ไม่เคยเกิดขนาดนี้ เราได้จ้างการไฟฟ้าล้างไปเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา จึงเป็นสิ่งที่นึกไม่ถึงจริง ๆ
มาตรการป้องกัน ต่อไปเราจะทำการตรวจสอบอุปกรณ์เหล่านี้ทุกปี ๆ ละ 1 ครั้ง (ก็ต้องจ้างบริษัท ฯ นะครับ คือจ้างทำทีเดียวพร้อมการบำรุงรักษาตู้ควบคุมเลย จะได้เอาเครื่องมือมาครั้งเดียว)


Posted by : จารุ คัตตพันธ์ , E-mail : (cjahroo@medicine.psu.ac.th) ,
Date : 2004-11-30 , Time : 17:50:46 , From IP : 172.29.1.181


ความคิดเห็นที่ : 20


   ขอบคุณครับที่ช่วยกรุณาสละเวลามาชี้แจง

คนใช้ไฟฟ้า



Posted by : Phoenix , Date : 2004-11-30 , Time : 18:01:40 , From IP : 203.156.40.147

ความคิดเห็นที่ : 21


   ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องของความไม่เข้าใจมากกว่าจริงอยู่ทางวิศวะประชาสัมพันธไม่ถึงแต่พวกคุณที่ว่ามาต้องเข้าใจด้วยว่าพวกช่างก็พยายามซ่อมให้เร็วที่สุดแล้วและต้องไม่ลืมว่ามันมีปัญหาเรื่องไฟแรงสูงช๊อตซึ่งต้องใช้ความระวังอย่างมากกๆในการซ่อมและช่างไฟก็มีไม่กี่คนที่ชำนาญเรื่องไฟแรงสูงและอีกอย่างที่ให้ช่างนอกมาทำเพราะเขาเป็นคนทำไว้รู้ดีกว่าเครื่องมือก็พร้อมพวกคุณๆต้องลองคิดดูว่าพวกช่างวิศวะคอยช่วยและให้คำแนะนำพวกคุณมากี่ปีแล้วกะแค่เรื่องแค่นี้ไม่น่าถึงขั้นไล่ออกมั๊งผมว่าวันนี้แค่นี้ก่อนแล้วกันใครมีปัญหาอะไรอีกมาถามกันก็ได้ที่งานวิศวะok

Posted by : คนนอก , Date : 2004-11-30 , Time : 18:08:38 , From IP : 172.29.7.105

ความคิดเห็นที่ : 22


   อ่านที่คุณจารุชี้แจงแล้ว ก็ยิ่งสรุปได้ว่าการประชาสัมพันธ์ ชี้แจงไม่เพียงพอ ไม่ชัดเจน เพราะวัตถุประสงค์ต้องการให้ปิดแอร์ระบบ central ส่วนแอร์แยกส่วนยังใช้งานได้เท่าที่จำเป็น แต่เมื่อรับฟังประกาศประชาสัมพันธ์แล้ว กลับเป็นว่าทุกคนพยายามปิดแอร์แยกส่วน แม้กระทั่งห้องประชุมที่มีการดำเนินการประชุมอยู่ก็ทนร้อนกันเหงื่อแตกพลั่ก แต่แทบไม่มีหน่วยงานใดปิดสวิทช์แอร์เซ้นทรัลเลย ปล่อยให้เป่าลมร้อนออกมาอย่างนั้น ไม่ทราบนี่เป็นสาเหตุให้การแก้ปัญหาต้องพยายามกันอยู่หลายครั้ง หม้อแปลงระเบิดแล้วระเบิดอีกด้วยหรือไม่ ?

Posted by : แมวดำ , Date : 2004-11-30 , Time : 20:37:32 , From IP : 172.29.7.231

ความคิดเห็นที่ : 23


    อ่านที่คุณจารุชี้แจงแล้ว คงทำให้หลายคนพอเห็นภาพ ว่าวิศวฯเขาก็ทำงานกันด้วยความทุ่มเท เหนื่อยยาก ลำบากเพียงใด เพื่อแก้ปัญหา เขาไม่ได้นิ่งนอนใจแต่อย่างใด ( อาจจะใช้เวลามากไปนิด )
ในฐานะที่ไม่ใช่มนุษย์ไฟฟ่า จึงเข้าใจได้ไม่หมด
ทำไมปัญหาที่ตึก 100 ปี จึงส่งผลกระทบไปยังตึกอื่นๆด้วยครับ มันควรจะเป็นปัญหาตึกใครตึกมันนะครับ เช่น ตึกไหนมีปัญหาตึกนั้นก็ใช้ไฟไม่ได้ ไฟดับเป็นตึกๆไป แต่นี่กลายเป็นว่าปัญหาจากตึก 100 ปี ส่งผลไปทั้งรพ.เลย ถ้าหากระบบมันออกแบบมาแบบนี้ หรือจะต้องเป็นแบบนี้ แสดงว่าระบบไฟฟ้าของรพ.เราเปราะบางมาก มีความเสี่ยงค่อนข้างมากเลยที่เดียว ขนาดตรวจสอบกันประจำยังเสียหายกันขนาดนี้ ดูเหมือนว่าความเสถียรภาพของระบบยังไม่น่าไว้วางใจเท่าทีควร
ไม่รู้นะครับ ผมคิดตามประสาคนไม่รู้เรื่องระบบไฟฟ้าแรงสูง
อย่างไรก็ตาม ต้องขอบคุณที่ผู้เชี่ยวชาญมาชี้แจง ให้ผู้ใช้ไฟฟ้าอย่างพวกเราได้เข้าใจมากขึ้น


Posted by : ร่วมด้วยช่วยกัน , Date : 2004-11-30 , Time : 22:03:15 , From IP : 172.29.7.178

ความคิดเห็นที่ : 24


   ตกลงคุณแมวดำคิดว่าทางวิศวะทำงานได้เหมาะสมเต็มความสามารถแล้วหรือยังครับ? ข้อมูลที่คุณจารุให้มาอยู่ในการประเมินครั้งแรกของคุณด้วยหรือไม่?



Posted by : Phoenix , Date : 2004-12-01 , Time : 04:31:48 , From IP : 172.29.7.138

ความคิดเห็นที่ : 25


   ทีมวิศวะน่าจะลองไปศึกษาดูระบบการควบคุมไฟฟ้าจากการไฟฟ้าแห่งประเทศไทยนะ(กฟผ.) ว่าเขามีระบบบำรุงรักษาและควบคุมกันอย่างไร มีเทคโนโลยีใดที่เราพอจะนำมาใช้ได้ (หรือว่าได้เคยไปแล้ว) ร.พ.เป็นหน่วยงานที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับชีวิตผู้ป่วยที่ต้องพึ่งพาไฟฟ้า จึงควรให้ความสำคัญทั้งในเรื่องของคุณภาพบุคลากรและระบบรองรับ แต่เหตุการณ์ครั้งนี้ก็ต้องเข้าใจว่าส่วนหนึ่งมาจากสิ่งที่เหนือความคาดหมายและส่วนหนึ่งก็มาจาก ........

บุคลากรในหน่วยงานนี้ควรจะมีความรู้และก้าวทันเทคโนโลยีเช่นกัน เพราะที่ผ่านๆมาก็เกิดไฟฟ้าดับอยู่เนืองๆโดยเฉพาะเวลาฝนตก ไม่รู้ว่ามีการบันทึกกันหรือไม่ว่าในแต่ละปีไฟฟ้าดับบ่อยแค่ไหน เกินมาตรฐานการดับที่พึงจะรับได้หรือไม่ ?


Posted by : ขอคิดด้วยคน , Date : 2004-12-01 , Time : 08:50:12 , From IP : 172.29.1.98

ความคิดเห็นที่ : 26


   อยากรู้จักคุณแมวดำจัง เห็นรู้มากกว่าวิศวะอีกแถมเรื่องมากอีกต่างหากหุบปากซะบ้างคงดีไม่น้อยแล้วทำงานของคุณไป

Posted by : คนนอก , Date : 2004-12-01 , Time : 14:43:18 , From IP : 172.29.7.59

ความคิดเห็นที่ : 27


   คุณแมวดำ ผมว่าคุณหยุดได้แล้ว ผมเป็นห่วงสวัสดิภาพคุณได้ยินบ่นมาหลายคนแล้วว่า อยากจะถลกหนังแมวเต็มทีแล้ว

Posted by : เจอรี่ , Date : 2004-12-01 , Time : 14:52:11 , From IP : 172.29.7.59

ความคิดเห็นที่ : 28


    กรณีที่คุณ wan เสนอให้มีการสังคายนาระบบวิศวฯนั้น น่าสนใจมากครับ อยู่ที่ว่าผู้บริหารจะไหวทันหรือไม่เท่านั้น เพราะมีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารรพ.มาหลายคนแล้ว แต่หน่วยงานวิศวฯก็ดูเหมือนยังให้บริการได้ในระดับหนึ่ง ยังไม่สามารถสร้างความประทับใจแก่คนส่วนใหญ่ได้
อยากให้ผู้บริหารรพ.หาเวลาไปเจาะลึกองค์กรนี้ให้ได้ครับ ไปยกเครื่องใหม่เลย ไปสัมภาษณ์พนักงงานเป็นรายคน(ในห้องส่วนตัว)ได้น่าจะดี คิดว่าจะทำให้ได้ข้อมูลดีๆมากมาย
จะได้รู้ว่าปัญหามันอยู่ที่ไหน จะได้แก้ให้ถูกจุด


Posted by : ร่วมด้วยช่วยกัน , Date : 2004-12-01 , Time : 22:06:15 , From IP : 172.29.7.43

ความคิดเห็นที่ : 29


   เวลาที่เราสรุปว่า "คนส่วนใหญ่" รู้สึกอย่างไรนี่ ใช้วิธีอะไรนะครับ?



Posted by : Phoenix , Date : 2004-12-02 , Time : 01:34:15 , From IP : 172.29.7.209

ความคิดเห็นที่ : 30


   เห็นด้วยกับการเสอนให้เปลี่ยนหัวหน้าวิศวฯ

Posted by : คนในคณะแพทย์ , Date : 2004-12-02 , Time : 08:45:00 , From IP : 172.29.7.215

ความคิดเห็นที่ : 31


    ขอขอบคุณทุกท่านที่แสดงความเห็นครับ ครังนี้เป็นบทเรียนราคาแพงสำหรับหน่วยไฟฟ้าของเราครับ ยกตัวอย่าง หลังจากซ่อมเสร็จได้ 2 วัน ก็เกิดระเบิดที่ระบบไฟฟ้าแรงสูงที่จ่ายไฟให้แก่หอพัก ครั้งนี้ตึกเวชคามเดือดร้อนมากที่สุดครับ ในที่สุดพบว่าสาเหตุเกิดจาก DROP OUT FUSE HOLDER ของหม้อแปลงตึกเวชคามเสื่อมสภาพ ระเบิดไป 2 เฟส(2 ชุด) มีผลทำให้ DROP OUT FUSE HOLDER ของระบบสายไฟหอพักที่เสาต้นมิเตอร์ของการไฟฟ้าระเบิดไป 2 ชุดด้วย ซึ่งก็ต้องใช้เวลาซ่อมนานหลายชั่วโมงเหมือนกัน ชุด DROP OUT นี้ก็เพิ่งจ้างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคทำการฉีดล้างเมื่อเดือนสิงหาคม 2547 นี้เช่นกัน สำหรับตึกเวชคามก่อนหน้านี้มักจะเสียที่ชุดฟิวส์แรงต่ำที่ออกจากหม้อแปลงไหม้ปีละครั้ง ส่วนครั้งนี้เกิดที่แรงสูง
มีท่านถามว่า ทำไมอุปกรณ์เสื่อมที่ตึก 100 ปี ฯ แล้วโรงพยาบาล ฯ ดับด้วย น่าจะแยกจากกัน .. อันนี้ขอตอบตามหลักการออกแบบ เหมือนบ้านท่านหนึ่งหลัง(ใหญ่หน่อย) รับไฟจากการไฟฟ้ามาชุดเดียวผ่านมิเตอร์ เข้ามาที่ตู้ควบคุมไฟฟ้าใหญ่ประจำบ้าน แล้วจากตู้ควบคุมไฟฟ้าใหญ่ก็แจกย่อยไปจ่ายแผงไฟประจำชั้น 1 ชั้น 2 ถ้าไฟชั้น 2 มีปัญหาไม่รุนแรง อุปกรณ์ป้องกันก็จะตัดวงจรเฉพาะแผงไฟประจำชั้น 2 ออก ส่วนชั้น 1 ยังใช้ไฟได้อยู่ แต่ถ้าอาการมันรุนแรงจนทำให้อุปกรณ์ในตู้ควบคุมใหญ่ที่รับไฟจากการไฟฟ้าเสียด้วย ไฟก็จะดับทั้งบ้าน ทีนี้ ถ้าเราไม่มีอะไหล่สำหรับซ่อมตัวควบคุมการจ่ายไฟของชั้น 2 เราก็ต้องหาทางให้สามารถจ่ายไฟสำหรับชั้น 1 ก่อน ส่วนชั้น 2 ต้องตัดสาย หรือปิดไว้ชั่วคราว จนกว่าจะหาอะไหล่มาซ่อมเสร็จ .. นี่คือการออกแบบที่ดีทางวิศวกรรมไฟฟ้ากำลังครับ มีการป้องกันตามลำดับชั้น ลดหลั่นกันไป
การไฟฟ้า เคยเกิดการระเบิดของอุปกรณ์ เช่นลูกถ้วย ,DROP OUT ฯลฯ เหมือนกันครับ แต่เขาไม่ได้ประกาศ และผลของการระเบิดก็กระทบกับประชาชนน้อย เพราะเข้าเป็น SOURSE การที่เขาจะนำ SOURSE หลาย ชุด มาต่อขนานเข้าด้วยกันเพื่อจ่ายไฟฟ้า เขาจะต้อง TEST แต่ละ SOURSE ก่อน การ TEST ก็ไม่ได้เป็นการจ่ายไฟจริง การเสียก่อนจ่ายจริง จึงไม่กระทบกับประชาชน ที่จริงการไปดูงานก็ดีเหมือนกันนะครับ จะได้เห็นวิทยาการใหม่ ๆ บ้าง แต่จะเอามาประยุกต์ใช้กับของเราได้แค่ไหนก็ยังไม่รู้เหมือนกัน
อย่างที่อเมริกา ไฟดับไปหลายเมืองเป็นเวลานานเมื่อปีที่แล้ว ขนาดเขาเป็นประเทศที่เป็นต้นแบบให้เรา มีประสบการณ์เกิดที่อังกฤษแล้ว ยังพลาดจนได้ แต่นี่ไม่ใช่แก้ตัวว่าผมไม่ผิดนะครับ แต่มันก็เป็นอะไรที่ทำให้เราที่ว่ามั่นใจ ก็ต้องระวังเหมือนกัน
ผมดูแลเรื่องไฟฟ้าของคณะแพทยศาสตร์มากว่า 20 ปี ก็เพิ่งเกิดนี่แหละครับ และก็จะจำและหาทางป้องกันให้รัดกุมขึ้น (ผมไม่ใช่หัวหน้างานวิศวกรรมซ่อมบำรุง)
ขออภัยในสิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้หลาย ๆ ท่านเดือดร้อน และขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือในการปิดแอร์ รวมทั้งขอขอบคุณในคำแนะนำและวิจารณ์ทั้งหมดครับ


Posted by : จารุ คัตตพันธ์ , E-mail : (cjahroo@medicine.psu.ac.th) ,
Date : 2004-12-02 , Time : 16:18:37 , From IP : 172.29.1.181


ความคิดเห็นที่ : 32


   ดีคับ ดีๆๆ ได้อ่านแล้วรู้สึกว่า มีหลายแนวคิดแตกต่างกันไปดี

Posted by : P|atino , Date : 2004-12-03 , Time : 00:52:50 , From IP : 172.29.4.171

ความคิดเห็นที่ : 33


   เราคิดว่าสิ่งที่งานวิศวะ (ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ฯลฯ) ขาดตลอดมา คือ"แผนการบำรุงรักษา" มักจะมาแก้ไขเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้น ไม่ว่าคุณจะแก้ตัวอย่างไร ความจริงก็คือความจริง เราคิดว่าเรื่องนี้ พยาบาลปฏิบัติการซึ่งมีอยู่จำนวนมากและเป็นผู้ที่ทราบผลกระทบโดยตรงรู้ดี ผลทีเกิดขึ้น แน่นอนกระทบงานบริการผป.โดยตรง
ถ้าคุณใจกว้างพอ ในฐานะผู้ใช้บริการ จำได้ว่าเคยมีการสำรวจการทำงานของงานวิศวะเมื่อ 2-3 ปีก่อนมั๊ง ยังชมว่า อ้อ เริ่มคิดพัฒนาแล้วหรือ ผลเป็นอย่างไรล่ะ ที่เรารู้มันถูกเก็บเข้ากล่องเพราะไม่ยอมรับว่าเป็นเช่นนั้น จริงหรือไม่ไม่ทราบเพราะ เราไม่เห็นกับตานะ แต่ทราบมาเช่นนั้น น่าจะเปิดเผยข้อมูลบ้าง เพราะนั่นคือความจริง ไม่ใช่กล่าวหาว่าถูกใส่ร้าย เพราะการสำรวจจากผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ คงเป็นไปไม่ได้กระมัง ที่คนส่วนใหญ่รวมหัวกันใส่ร้าย คงไม่ต้องอ้างว่าคนไม่พอ เพราะถ้าคุณมีผลงานชัดเจนคงขอคนได้ หรือถ้ามีแผนงานที่แสดงต่อผู้กบริหารได้ เขาคงยินดีลงทุนให้ว่าจ้างเป็นครั้งคราวในการ "บำรุงรักษา" ซึ่งเราคิดว่าถ้ามีแผนดีและปฏิบัติ ความเสียหายที่เกิดขึ้นน่าจะใช้ค่าใช้จ่ายน้อยกว่าที่เป็นอยู่ เรายกตัวอย่างงานง่ายๆ ราวผ้าม่านตามเตียงผป. หลุดกะรุ่งกะริ่ง มีการแจ้งกันเป็นเดือนๆก็ไม่มีคนไปทำ อย่างนี้เป็นต้น มันเป็นงานยากจนทำไม่ได้หรือ ถ้าเช่นนั้นมีงานวิศวะไว้ทำไม
ก็หวังว่าคราวนี้เรื่องใหญ่คงทำให้ทั้งผู้บริหารเห็นปัญหาและง่านวิศวะเองจะมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นนะ


Posted by : บุคลากร , Date : 2004-12-04 , Time : 07:20:16 , From IP : 172.29.7.227

ความคิดเห็นที่ : 34


    ตอบอาจารย์ฟีนิกซ์ ผมอาจจะเอาความรู้สึกส่วนตัวมาใช้มากเกินไป จึงเขียนว่าคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยพอใจต่อการให้บริการของงานวิศวฯ ซึ่งมันอาจจะจริงหรือไม่จริงก็ได้ อันนี้ก็เดายากอยู่ครับ
สงสัยต้องเปิดกระทู้ใหม่ว่า "คุณมีความรู้สึกต่อการให้บริการของงานวิศวฯอย่างไร" เพื่อหยั่งเสียงมหาชน
สำหรับคุณคนในคณะแพทย์ที่เสนอให้เปลี่ยนหัวหน้านั้น คงต้องรอให้ท่านเกษียรไปก่อน จุดนี้ก็เป็นจุดอ่อนของระบบราชการจุดหนึ่ง เนื่องจากทราบมาว่าหัวหน้าท่านปัจจุบัน มาก่อนมีสิทธิ์ก่อน จึงได้เป็นหัวหน้า การทำงานก็ประัคับประคองไปเรื่อยๆ ถ้าเป็นนักกอฟท์ ก็ประเภทเล่นไม่ให้เสียโบกี้ (ปลอดภัยไว้ก่อน)แค่นั้นเอง โอกาสที่จะชนะหรือได้แชมป์จึงแทบไม่มี
การปล่อยให้หัวหน้าอยู่ในตำแหน่งจนเกษียรผมว่าระบบเอกชนเขาไม่ทำกัน เขาจะดูจากฝีมือและผลงานเป็นหลัก ตรงนี้แหละที่มีส่วนทำให้ระบบราชการตามหลังเอกชนอย่างมาก


Posted by : ร่วมด้วยช่วยกัน , Date : 2004-12-05 , Time : 22:20:57 , From IP : 172.29.7.202

ความคิดเห็นที่ : 35


   เปิดกระทู้ vote จะ work ต่อเมื่อเป็นระบบ register for posting ครับ นั่นคือหนึ่งคน หนึ่งเสียง ตาม id ของคนที่เกี่ยวข้อง (ได้แก่บุคลากรคณะแพทย์ทุกคนได้รับแจก email address เพื่อลงทะเบียนและสามารถส่งกระทู้ได้) ไม่งั้นอย่างที่เราเห็นมาไม่นานมานี้ หนึ่งคนสามารถนั่งปั่นกระทู้ออกมาได้ 10-20 กระทู้ในหนึ่ง ชม. เท่านั้นเอง มีสักสิบคนก็ได้เป็นร้อยๆพันๆในเวลาอันสั้น

กระดานกระทู้แบบเปิดของเราจึงมีประโยชน์แค่ "ความหลากหลายของความคิด" และยิ่งมากขึ้นถ้าเป็นความคิดที่สร้างสรรค์ การเปลี่ยนบุคลกรจะ work ต่อเมื่อกระบวนการคัดคนมาเป็นหรือรับตำแหน่งมันต้องดีด้วย ไม่งั้นเลือกกี่ครั้งก็ยังไม่ได้เท่าที่ลักษณะงานต้องการ ดังนั้นการอภิปรายขับไล่ไสส่งมันฟังดูเป็น personal conflict มากกว่าการทำเพราะเห็นว่าคนใหม่มีประสิทธิภาพสูงกว่าแน่ๆ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-12-06 , Time : 10:17:44 , From IP : 172.29.2.186

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.015 seconds. <<<<<