ความคิดเห็นทั้งหมด : 3

supportive & palliative care(treatment?) ต่างกันอย่างไร


   1. supportive & palliative care(treatment?) ต่างกันอย่างไร
ภาษาไทยใช้คำว่าอะไร
(เนื่องจากอ่านตำราเล่มหนึ่งแล้วเกิดความสับสนขึ้นมา)

2. การแจ้งข่าวร้ายนั้น ญาติมีสิทธิรับรู้ก่อน หรือ พร้อมกับผู้ป่วยหรือไม่

ขอความกรุณาให้ความกระจ่างด้วย... ขอขอบคุณล่วงหน้าค่ะ


Posted by : brace , Date : 2004-11-24 , Time : 21:06:37 , From IP : 203.172.71.211

ความคิดเห็นที่ : 1


   Definition

“The active total care of patients whose disease is not responsive to curative treatrment. Control of pain, of other symptoms, and of psychological, social, and spiritual problems is paramount. The goal of palliative care is achievement of the best quality of life for patients and their families”.

Reference: World Health Organization. Cancer pain relief and palliative care. Technical Report Series 804. Geneva: World Health Organization, 1990

ผมไม่แน่ใจใน term supportive care ว่าเป็นคำเฉพาะหรือไม่ แต่ Palliative care นั้นมีนิยาม และปรับแต่งโดย WHO มาสองสามครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้าน "กลุ่มเป้าหมาย" และ "ขอบเขตของสิ่งที่จะทำ" รวมทั้งเป้าหมายหลักคือ Best Possible Quality of Life ซึ่งมีความหมายโดยนัยถึง fully customized caer for an individual

ภาษาไทยอาจจะใช้ "การรักษาแบบประคับประคอง" ถ้าแปลตามตัว แต่อาจจะมีคนให้ความหมายตาม "วิธีการ" เช่น "การรักษาแบบองค์รวม หรือครบองค์ (Holistic Care)" อาจจะให้ความรู้สึกที่ชัดเจนกว่านิดหน่อย

Supportive Care ตามตัวอักษร คงจะเป็นการรักษาเสริมจากการรักษา Definitive treatment เช่นบรรดา symptomatic treatment ต่างๆ

==============================================
การแจ้งข่าวร้าย

ตรงนี้ผมคิดว่าน่าจะเป็นศาสตร์ผสมศิลป์ทีเดียว อาจจะไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว การรักษา Palliative care และ holistic approach นั้น เน้นที่การสนองความต้องการผู้ป่วยโดยใช้หลักการทางจริยศาสตร์ คิอ Principle of Autonomy, Non-maleficence, Beneficence, and Justice ซึ่งตามหลักการข้อแรกนั้นจะไม่ได้ใช้ universal rule มาครอบใช้กับผู้ป่วยทุกคน แต่จะใช้การประเมินตัวปัจเจกบุคคลเป็นสำคัญ

ทีนี้ในความเป็นจริง หลายครั้งที่แพทย์ต้องเผชิญหน้าไม่เพียงแตวผู้ป่วย แต่กับญาติของผู้ป่วยด้วย ถึงแม้ว่าโดยหลักการทั่วไปเราจะยึดผ้ป่วยเป็นหลักสำคัญที่สุด การ approach ญาตินั้นบางครั้งจะต้องกระทำโดยความนุ่มนวล sensitive และ เมตตากรุณา เข้าใจถึงสภาพจิตใจและความต้องการของแต่ละฝ่ายให้ได้มากที่สุด บางครั้งผู้ป่วยเองอาจจะต้องการมีบทบาทในการกำหนดว่าจะให้ใครรู้เรื่องความเจ็บป่วยของตนเองบ้าง บางครั้งญาติบางคนที่มีความรับผิดชอบพิเศษก็อาจจะต้องการทราบข้อมูลที่สำคัญๆเพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจบ้าง ตรงนี้คงจะเป็นศิลปที่ต้องศึกษาพอสมควรในการทำให้เกิดสมดุลหรือ win-win situation ให้ได้

อยากเรียนถามความเห็นของผู้ส่งกระทู้ ลองแลกเปลี่ยนกันดูดีไหมครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-11-24 , Time : 23:12:02 , From IP : 172.29.7.66

ความคิดเห็นที่ : 2


   คุณ brace ทำ PBL เรื่องนี้ใช่ไหม เหมือนผมเลย
และให้เดา ความสับสนน่าจะมาจาก ตำราอายุรศาสตร์จุฬา ใช่ป่าว
การรักษาเพื่อทุเลาอาการ (palliative intent) การรักษาแบบประคับประคอง (supportive care) อ้าว แล้วกัน

"เมื่อใดก็ตามที่การรักษาพยาบาลไม่บรรลุผล จะพยายามบรรเทาความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยและจะคำนึงว่า การตายอย่างสมศักดิ์ศรีเป็นเกียรติภูมิของมนุษย์ (dignified death) เป็นเป้าหมายของชีวิตทุกคน" ข้อความข้างต้นเป็นคำปฏิญาณของฮิปโปเครติส.....อาจรู้จักกันในนามของ palliative care หรือ hospice care หรือ supportive care (palliative care วิถีแห่งการคลายทุกข์ นพ.วิรัช, นพ.เต็มศักดิ์, สิรินทร์)

งงกับภาษาครับ


Posted by : ร้อย , Date : 2004-11-25 , Time : 01:36:49 , From IP : 172.29.4.191

ความคิดเห็นที่ : 3


   ตำรากล่าวไว้ตามที่ว่าไว้ก็จริง แต่ว่าในpractical ที่round wardกันอยู่ทุกวันเราเคยเห็นการดูแลคนไข้แบบpalliative กันบ้างหรือเปล่าจ๊ะ แล้วมันต่างหรือเหมือนกับตำราว่าไว้ไหม ลองแลกเปลี่ยนกันหน่อยสิ เพราะเมื่อก่อนตอนที่เป็นนศพ ก็รู้แต่definitionตามตำรา แต่ก็ทำไม่เป็นเหมือนกัน

Posted by : pisces , Date : 2004-11-25 , Time : 14:53:37 , From IP : 172.29.3.73

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.004 seconds. <<<<<