Debate LXXX: "พุทธ" ศาสนาหรือปรัชญา?บทความนี้เป็นการ "แปล" ผนวกกับสอดแทรกวิเคราะห์ของส่วนตัวผมเข้าไปเอง ในส่วนแปล ผมจะให้ cross references ไว้ด้วย เพื่อท่านผู้รู้จะได้ตรวจทาน และแนะนำ ที่เหลือเป็นประเด็นที่จะเชิญชวนผู้สนใจร่วมอภิปรายนะครับ Buddhism เป็นศาสนาหรือปรัชญา? พระพุทธเจ้ากล่าวถึงสิ่งที่ท่านสั่งสอนรวมเป็น "พระธรรมวินัย" (the doctrine and discipline) ซึ่งกระจายอยู่ใน "สามตะกร้า (Tipitaka หรือ พระไตรปิฎก)" คือ พระสูตร พระวินัย และพระอภิธรรม ประกาศเป็นศาสนามากว่าสองพันห้าร้อยกว่าปี มีผู้ศึกษา และผู้นับถือกระจายไปทั่วโลก มีความพยายามจะจัดความหมายหรือปรัชญาของพุทธะเป็นระบบจริยศาสตร์ (ethical system) เป็นวิถีชีวิต (way of life) ซึ่งมีเป้าหมายจำเพาะ จากกระบวนการดังกล่าว ร่วมกับการศึกษาแบบมีโครงสร้าง (structured knowledge) ทำให้เกิดมุมมองเห็นว่าพุทธศาสนานั้นมีทั้งส่วนที่เป็นศาสนาและปรัชญาอยู่ในตัวเองอย่างแยกยาก พุทธศาสนาเป็น "ปรัชญา" พุทธศาสนานั้นมี "แก่น" คือ อริยสัจจสี่ ประเด็นตรงนี้มีลักษณะคล้ายวิชาปรัชญาอื่นๆคือ มีความพยายามในการจัดระบบให้กับความซับซ้อนยุ่งเหยิงของมนุษย์ เพื่อเป็น "หลัก" อธิบายปรากฏการณ์หรืออ้างอิง หรือความมีซึ่ง "ระเบียบ" ของจักรวาล กล่าวได้ว่า "ระบบ" ที่วางไว้ออกมาเป็น "อริยสัจจสี่" นั้นสัมบูรณ์มาก มีความทรมาน (suffering; ทุกข์) ซึ่งมีสาเหตุ (cause; สมุทัย) และทุกข์นี้มีที่สิ้นสุด (an end; นิโรธ) รวมทั้งคำอธิบายที่จะดำเนินไปถึงที่สิ้นสุดนั้นๆ (a way to reach the end; มรรค) ในส่วนเรื่องของกรรมและวิบาก (Karma and Vipaka) เป็นคำอธิบายอย่างเป็นตรรกศาสตร์ถึงระบบ cause-effect ยิ่งถ้าเราพิจารณาลึกซึ้งถึงตอนที่กล่าวถึง cosmology ในมุมมองของพุทธศาสนานั้น ดูเผินๆจะเป็นเสมอนเป็นไปไม่ได้ แต่จริงๆแล้วก็เป็นแค่บทขยายความของกฏแห่งกรรม ซึ่งทางธรรมถือว่าเป็นกฏที่ไม่สั่นคลอนและเป็นสัจจธรรม พุทธศาสนา "ไม่ใช่" ปรัชญา ทว่าพุทธศาสนามีปีระเด็นที่แตกต่างจากวิชาปรัชญาอื่นๆอย่างเห็นได้ชัดเจนที่สุดประการหนึ่งนั่นคือ ความต้องการพื้นฐานที่ผู้ศึกษา "ต้องปฏิบัติด้วยตนเอง" อย่างเพียรพยายามและด้วยศรัทธาเท่านั้นจึงจะเข้าใจ ปรัชญาโดยทั่วๆไปจะเป็นการศึกษาโดยการคาดการณ์ และใช้พลังแห่งตรรกะและเหตุผลเพื่อที่จะนำมาสู่ข้อสรุปที่ถูกต้องตามตรรกศาสตร์ แต่ "เข้าใจและเข้าถึง" พุทธศาสนานั้นไม่สามารถจะทำได้โดยไม่มีการลงมือกระทำ สังเกตผลด้วยตนเอง สั่งสมบารมี ความเข้าใจ และกลไกต่างๆด้วยตนเอง ด้วยปัญญาตนเอง กล่าวได้ว่าการศึกษา "แห้ง" ทางพุทธศาสนานั้น ไม่ได้อยู่ในวิธีการ "ฝึก" ของศาสนาพุทธ ฉะนั้นจะเป็นการศึกษาในห้องเรียน อ่านจากหนังสือ หรือการอภิปรายถกเถียงเรื่องราวทางจิตวิญญาณจะมีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งในการศึกษาพุทธศาสนาในส่วน cognitive (ปัญญาพิสัย) แต่สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถนำผู้ศึกษาไปสู่ "แก่น" หรือ "หัวใจ" ของพุทธศาสนาได้ ธรรมะนั้นจึงไม่ใช่เพียงระบบนามธรรมของความคิด หรือศึกษาเพื่อเสริมสร้างสติปัญญาเพียงโสตเดียวแค่นั้น แต่ธรรมะนั้นเปรียบเสมือน "แผนที่" ที่ผู้ใช้ไม่เพียงต้องอ่านให้เข้าใจ แต่ยังต้อง "เดินทาง" ไปตามแผนที่นั้นด้วย เป้าหมายนั้นคือ "นิพพาน" (nibbana or nirvana) พุทธศานาเป็น "ศาสนา" หัวใจของทุกๆศาสนาหลักคือ transcendent ideal จุดมุ่งหมายปลายทางอันศักดิ์สิทธิ์ บรรลุเกิน "ขอบเขต" จำกัดที่บุคคลทั่วๆไปจะดำเนินไปถึง ถ้าหากผู้ศึกษาและปฏิบัติของศาสนานั้นๆทำตามที่ doctrine หรือ dogma ได้กำหนดไว้ในรูปแบบต่างๆ ดังนั้นของพุทธก็คือ "นิพพาน" สัญญลักษณ์แห่ง "การหยุดแล้ว" ซึ่งเราทุกคนอยู่ในวงจรนั้นๆ (cessation of samsara) ความหมายของนิพพานนั้น นักการศึกษาทั่วไปลงความเห็นว่าเป็นเรื่องเกินกว่าที่ใช้คำบรรยายด้วยภาษาอะไรที่เรามีใช้อยู่ เพราะเป็นสิ่งที่ต้อง "ประสบ" ด้วยตนเองเท่านั้นโดยผู้ที่มีคุณสมบัติเพียงพอ การที่พุทธศาสนามีเป้าหมาย transcendent ในลักษณะนี้จะตรงกับนิยามโดยทั่วไปของ "ศาสนา" พุทธศาสนา "ไม่ใช่" ศาสนา แต่ในขณะเดียวกัน ที่พุทธศาสนาต่างจากศาสนาอื่นๆก็คือ การที่ศาสนาพุทธไม่ได้บูชา "สิ่งศักดิ์สิทธิ์" (Buddhism invokes no divinity) ไม่มี "ผู้สร้าง" (supreme Creator or supreme Self, no Holy Spirit or omniscient loving God to whom we might appeal for salvation) ทางศัพท์เทคนิกศาสนาที่มีลักษณะที่กล่าวมาคือ Thiesm แต่พุทธศาสนาก็ไม่ได้ขัดแย้ง หรือลงความเห็นว่า "ไม่มี " เรื่องดังกล่าว ถ้าจะจัดระบบก็จะเป็น Agnosism คือมีหรือไม่มีก้ได้ ไม่มีนัยต่ออริยสัจจสี่หรือหนทางสู่นิพพาน ทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้เกิดขึ้น กำลังเกิด และจะเกิดต่อตัวเราล้วนแล้วแต่เป็นความรบผิดชอบของตัวเราเองทั้งสิ้น ไม่ต้องไปโทษใครคนอื่นหรือกล่าวว่าถูกกำหนดโดยใคร ฉะนั้นจึงเป็น "หน้าที่" ของตัวเราเองโดยตรงที่จะต้องสั่งสมบารมีต่างๆที่จำเป็นในการดำเนินบนมรรคาไปสู่เป้าหมาย หนทางนี้เราต้องดำเนินด้วยตัวเราเอง แม้แตพระพุทธเจ้าเองก็จะไม่สามารถจะพาเราไปถึงจุดหมายนั้นได้ ไม่มี short cut ไม่มีทางลัด ตัวเราเองตามลำพังที่จะต้องทำงานทั้งหมดที่จำเป็นในการบรรลุวัตถุประสงค์ เราเองเป็นผู้ที่ต้องพิจารณาอุปสรรค เห็นว่าอะไรเป็นอุปสรรค และสลัดตนเองให้หลุดรอดจากอุปสรรคนั้นๆ โดยอาศย "ความเข้าใจและรู้แจ้ง" ซึ่งจะได้โดนการพัฒนา "moral excellence" การฝึกฝนการใช้ปัญญาเพื่อเห็นและเข้าใจ reference มาจาก Access to Insight ขอเรียนถามความเห็นเพิ่มเติมครับ ![]() Posted by : Phoenix , Date : 2004-11-15 , Time : 01:27:35 , From IP : 172.29.7.104 |
คะวะโยลอก Posted by : คะวะโย , E-mail : (โคนามิแมน) , Date : 2005-12-26 , Time : 18:47:18 , From IP : 202.57.159.135.rev-i |
ความเห็นจาก Social Network : Facebook |
|
>>>>> Page loaded: 0.006 seconds. <<<<< |