ความคิดเห็นทั้งหมด : 14

Debate LXXVIII: "การแพทย์เชิงประจักษ์" คืออะไร? จำเป็นมากน้อยแค่ไหน?


   เคยตั้งกระทู้นี้ไปแล้วครั้งนึง จำไม่ได้และค้นไม่เจอแล้วว่าอยู่ตรงไหน พอดีพึ่งไปประชุมวิชาการเรื่องโรคมะเร็งมา เห็นการอภิปรายหลากหลายรูปแบบปนๆกัน กอปรกับเรากำลังจะมีโครงการให้น้องปีสี่ (รุ่นใหม่) ได้เล่นในปีหน้าเป็นโครงการของฝ่ายแพทยศาสตร์ศึกษา เลยอยากจะซาวด์เสียงเบื้องต้นครับว่า มุมมอง ณ ปัจจุบันเป็นอย่างไร

Be Mature, Be Positive, and Be Civilized



Posted by : Phoenix , Date : 2004-10-26 , Time : 12:29:47 , From IP : 172.29.3.185

ความคิดเห็นที่ : 1


   ใครจะลองไปอ่านที่อภิปรายไปบ้างแล้วในกระทู้ LXVII ก่อนก็ได้นะครับ evidence-based medicine

Posted by : Phoenix , Date : 2004-10-26 , Time : 12:33:35 , From IP : 172.29.3.185

ความคิดเห็นที่ : 2


   ทีแรกกะลองอ่านกระทู้เพราะคุณ Phonenix เขียน จึงมีความชอบส่วนตัวว่าน่าสนใจและต้องมีอะไรใหม่ๆมานำเสนอ พอเห็นประโยค " เรากำลังจะมีโครงการให้น้องปีสี่ (รุ่นใหม่) ได้เล่นในปีหน้าเป็นโครงการของฝ่ายแพทยศาสตร์ศึกษา" จึงรู้สึกว่าเข้าตัว เพราะจะได้ "ของเล่น" หรือถูกเป็นกลุ่ม cohort กลุ่ม control ก็ไม่รู้
ได้ลองอ่านกระทู้ที่คุณแนะนำแล้ว ด้วยความรู้อันน้อยนิด จับความได้แต่เพียงว่า จะมีการเอางานวิจัยมาใช้อ้างอิงหรือเอาผลมาใช้รักษาผู้ป่วย แล้วก็มีบางท่านบอกว่าเราไม่ควรจะไปลอกฝรั่งมังค่าเอามา ควรสร้างฐานการวิจัยในระดับท้องถิ่น ประมาณนี้ สรุปแล้วก็คือ ของเล่นปีหน้า ไม่พ้นค้นคว้า หา สืบ เสาะ ลอก งานวิจัยแล้วเอามา support หรือ เป็น choice ในการรักษาอย่างนั้นหรือเปล่าครับ งงงง
ลองค้น internet ดูเพื่อแก้ความงง ภาษาไทยนี่แหละครับอ่านภาษาอังกฤษเดี๋ยวยิ่งมั่วไปกันใหญ่ ของ นพ.ระพีพล กุญชร ณ อยุธยา http://www.thaiheartweb.com/ebm.htm พอจะจับความว่า คำว่า Evidence Based Medicine เป็นคำฮิตในช่วง 5 ปีนี้ และยังฮิตอยู่ในปัจจุบัน คำนี้หมายความ ว่า แพทย์จะเลือกใช้ยา หรือ เลือกแนวทางการรักษา ที่ได้รับการพิสูจน์โดยการศึกษา วิจัยแล้วว่าได้ประโยชน์จริง หากแพทย์ใช้หลัก Evidence Based Medicine นี้ผลดีย่อมตกกับ ผู้ป่วยแน่นอน อย่างน้อยก็เป็นการลดการได้รับยาที่อาจไม่ได้ประโยชน์ลง ข้อมูลหรือหลักฐานว่ายานั้นๆ หรือ การรักษาแบบนั้นๆ ได้ประโยชน์มาจากหลายแหล่ง ซึ่งอาจจะน่าเชื่อถือบ้าง ไม่น่าเชื่อถือบ้าง ดังนี้
1. ข้อมูลจากการบอกเล่า หรือ ประสบการณ์ส่วนตัว
2.ข้อมูลจากการศึกษาวิจัยแบบ Cohort หรือ Case-control
3. ข้อมูลจากการศึกษาวิจัยแบบ Randomized Double Blind Placebo Controlled Trial
สรุป ในการรักษาโรคแต่ละชนิด แพทย์ควรจะต้องเลือกยาหรือการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยเสมอ แต่ยา ต่างๆมีเป็นจำนวนมาก ยาที่ดีก็ไม่แน่ว่าจะได้ประโยชน์เสมอไป จะทราบได้อย่างไรว่ายา หรือการรักษา นั้นๆ มีโอกาสได้ประโยชน์แก่ผู้ป่วยสูงสุด ก็โดยการเลือกใช้ยาที่อย่างน้อยก็ผ่านการพิสูจน์จากการ ศึกษาวิจัยแล้วว่าได้ประโยชน์ หลักการนี้ก็คือ Evidence Based Medicine นั่นเอง และ แม้ว่า Randomized Double Blind Placebo Controlled Trial จะมีข้อจำกัดอยู่บ้าง แต่ก็ยังเป็น " Evidence " ที่ดีที่สุดในปัจจุบัน

คราวนี้ขอแสดงความคิดเห็นบ้างว่า
เห็นด้วยที่จะให้มีการนำเอาเจ้า EBM มาใช้ แต่คณะน่าจะมีการสอนเกียวกับหลักการวิจัย ประมาณว่ามันมีกี่แบบ แบบไหนใช้เครื่องมืออะไร ความน่าเชื่อถือเป็นอย่างไร ก่อนที่เราจะเอามันมาอ้างอิง หรือมาใช้ เพราะสภาพตอนนี้ ไม่ว่าจะเป็นการค้นเพื่อทำ PBL น้อยมากทีใครจะไปหางานวิจัยมา หรือถ้าหามาก็ไม่ได้ดูว่าเป็นลักษณะใด เอามาแต่ผล หรือ abstract จำได้ว่า ตอนเรียน community medicine II ต้อง "ทบทวนวรรณกรรม" เจอะงานวิจัยท่านหนึ่ง ทำเรื่อง สภาพปัญหากล้ามเนื้อ กระดูกและข้อของผู้ทำสวนยางที่จังหวัดตรัง เป็นงานวิจัยแบบ cross sectional study อึ้งไปเลยครับ ต้องไปค้นระบาดวิทยาของอาจารย์สีลม จึงได้รู้ว่า อ๋อ เค้ามีหลักอย่างนี้ ความน่าเชื่อถือระดับนี้ ไม่รับประกันว่าเป็นสาเหตุโดยตรง อย่างน้อยนะครับควรให้นักศึกษา SDL ระบาดวิทยา หรือ หลักของงานวิจัยก่อนลงมือทำ ถ้าจะอ้าง biostatistics ตอนปี 1 เห็นท่าจะไม่รอดเพราะ อ.ท่านสอนเน้นสูตร การทดสอบสมมติฐาน มากกว่าจะมาเป็นงานวิจัยโดยตรงนะครับ

ติดอยู่นิดนึง งานวิจัยส่วนมาก ฝรั่งทำ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเหมาะกับคนไทยแค่ไหน เมื่อไม่กี่วันมานี้ดูข่าวฝรั่งมีการใช้ขดลวดเล็กถ่างหลอดเลือดในผู้ป่วย MI รู้สึกว่าน่าทึ่งมาก เค้าบอกว่าดีกว่า bypass และ bolloon มีศ.นพ.นิธิ มหานนท์ ร่วมวงสนทนาอยู่ด้วย ถ้าผมเป็นหมอจริงๆ ก่อนที่คุณจะเอาเครื่องมือนี้มาใช้กับคนไข้ไทยของผม ผมต้องทำอย่างไรบ้างครับ



Posted by : น้องปีสี่ (รุ่นใหม่) , E-mail : (help_me@yahoo) ,
Date : 2004-10-27 , Time : 10:49:07 , From IP : p118-lirnrtmt1.S.csl


ความคิดเห็นที่ : 3


   ขอบคุณมากครับคุณน้องปีสี่ (รุ่นใหม่) สำหรับความเห็น ถ้าเป็น นศพ. ปีสี่จริงๆ ผมว่า มอ.เราอยู่ในแนวหน้าของประเทศในอีกไม่ช้าแน่นอน

evidence-based medicine หรือการแพทย์เชิงประจักษ์เป็นคำเพิ่งฮิตก็จริง แต่เหมือนๆกับกาลามสูตรแหละครับ มีและทำกันกว่าสองพันห้าร้อยปี มาฮิตก็ตอนเปลี่ยนเป็นภาษาประกิตก่อนนี่เอง

บริบทในปัจจุบันจะมีส่วนที่ทำให้เรื่องนี้สำคัญเพิ่มมากขึ้น จากการที่เราอยู่ในยุคของข้อมูลข่าวสาร หมดสมัยที่เราไม่มีข้อมูล หรือข้อมูลน้อย แต่กลายเป็นเราถูกท่วมท้นด้วยข้อมูลมากมาย เรื่องของเรื่องคือเราต้องหาวิธีที่เราจะอยู่กับข้อมูลขนาดนี้ที่มีแต่จะเพิ่มมากขึ้นอย่างไร

ประการหนึ่งที่อยากจะเน้นก็คือ evidence-based หรืออะไรต่างๆนั้น เรารับมาและเอาไปใช้ก็เพื่อจะได้สามารถ "ประเมินล่วงหน้า" ว่าผลมันน่าจะเป็นยังไง จากการที่มีคนเคยทำมาแล้วบ้าง ตรงนี้รวมทั้งประสบการณ์ของปัจเจกบุคคลมันก็มีค่า มีความหมายนะครับ อย่าไปดูถูก evidence level 5 ซะเสมอไป ยังไงๆ clinical experience ก็ยังเป็นมาตรการพื้นฐานที่เราใช้ทุกเช้า ทุกวัน ทุกคืน กดยังไงเป็น tender จิ้มยังไงเป็น guarding สัมผัสอย่างไรเป็น rigidity ตรงนี้อ่านมากยังไงๆก็มาทดแทนไม่ได้ ทางที่ดีเราคงต้องหามาทั้งสองกลุ่มทั้ง level 5 and level 1a และหาทางใช้ให้เหมาะสมจึงจะดี

เห็นด้วยครับว่าความรู้พื้นฐานทางการวิจัย รวมทั้งระบาดวิทยา สำคัญและเสริมความเข้าใจได้ดีขึ้น นั่นเป็นเหตุผลหนึ่งที่เราจะ implement evidence base ในชั้นปี clinic หลังจากที่น้องๆได้เรียนภาคทฤษฎีมาบ้างแล้ว

ประเด็นฐานความรู้ของคนไทยนั้นก็สำคัญครับ ว่าแต่ว่าเราจำเป็นต้อง repeat every single study ที่ฝรั่งทำรึเปล่าก่อนจะ implement คิดว่าเราพอจะหาหลักเกณฑ์ยังไงมาประกอบการตัดสินใจดีล่ะครับ?

โยนลูกลงไปให้เล่นต่อ





Posted by : Phoenix , Date : 2004-10-27 , Time : 18:39:11 , From IP : 203.156.42.56

ความคิดเห็นที่ : 4


   ลืมบอกไปว่าของเล่นปีหน้าคืออะไร

พวกเราคิดว่ายังไงครับถ้ามีโปรเจ็คใช้เวลาซักปีนึง เรื่องนึงอะไรก็ได้ ลองตั้งเป็นปัญหาแล้วหาคำตอบ (เท่าที่มีอยูแล้ว) เอามา progress ให้อาจารย์ที่ปรึกษาเป็นระยะๆเพื่อให้ comment เกี่ยวกับกระบวนการตั้งคำถาม การ search การวิเคราะห์ การ appraise journal



Posted by : Phoenix , Date : 2004-10-28 , Time : 17:32:22 , From IP : 203.156.41.246

ความคิดเห็นที่ : 5


   อาจารย์ครับ คืออยากทราบวิธีที่จะวิเคราะห์ นี่แหละว่าจะยึดเกณฑ์ อะไรยังไง
เพราะเท่าที่อ่านจากเวบ(ไทย เหมือนพี่...น้องปีสี่)ก็ไม่ได้บอกกฏเกณฑ์อะไรที่แน่ชัด เพียงแค่บอกถึงระดับความน่าเชื่อถือ ของวิธีการวิจัยรูปแบบต่างๆ แล้วยิ่งที่อาจารย์โยนลูกมาว่าไอ้การวิจัยของฝรั่งเราจะเอามาตัดสินใจยังไง ผมก็ยิ่งงงเข้าไปใหญ่ เพราะยังไงก็ต้องเชื่อเค้า(บ้าง) เนื่องจากไม่มีการทำวิจัยในแถบบ้านเราอย่างกว้างขวางมากนัก
สรุปตามความคิดผม ก็คือต้องนำมาผสมกันทั้งจากที่เราเรียนมาและความรู้ใหม่ๆจากการวิจัยครับ (แต่ถ้ามันไม่ตรงกันล่ะครับ เราจะเชื่อความรู้เดิมซึ่งเรียนมาเมื่อหลายปีก่อนหรือ เชื่อความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยในซีกโลกตะวันตก...แบบนี้อาจารย์หาคำตอบยังไงครับ?????)


Posted by : น้องปีสอง , Date : 2004-10-31 , Time : 09:11:22 , From IP : 172.29.4.245

ความคิดเห็นที่ : 6


   ขอบคุณที่สนใจครับ เรามาคุยกันต่อ

เราจะเชื่ออะไรนั้น โดยหลัก evidence-based หรือ "เชิงประจักษ์" ไม่ได้อยู่ที่ "ใครทำ" ครับ อยู่ที่สองอย่างสำคัญๆคือ ๑) คำถามคืออะไร และ ๒) วิธีที่ใช้นั้นเหมาะสมกับการตอบคำถามที่ว่าหรือไม่ ที่เหลือเป็นรายละเอียดปลีกย่อย แต่สองประการนี้สำคัญที่สุด ขออนุญาตยกตัวอย่าง เช่นน้องจะไปซื้แชมพูซักยี่ห้อนึงเพราะคันหัว แชมพูหมดมาหลายวัน น้องเดินเข้าไปในโลตัสก็จะเจอชั้นแชมพูอยู่ประมาณ 50 ยี่ห้อ จะเลือกอะไรดี? เอายี่ห้อที่น้อง paula เป็นนางแบบ รึจะเอาไอ้อันที่มันแถมยาสีฟันดี รึจะเอาอันที่ลดราคากระหน่ำ ฯลฯ คำถามคือ "คันหัว" จะแก้อย่างไร และวิธีการหรือ Product ที่เรากำลังจะซื้อนั้นมันแก้ปัญหาที่เราต้องการได้หรือไม่

ถ้าย้อนกลับมาทางการแพทย์ เรากำลังจะอ่านหรือศึกษางานวิจัยต่างๆมาเพื่ออะไร? เพื่อขยายงานวิจัยต่อไป หรือว่าเพื่อนำมาใช้? ถ้าจะนำมาใช้นั้น อนุมานว่าเรากำลังคิดว่าผลงานวิจัยดังกล่าวสามารถใช้เป็นหลักช่วยในการ "พยากรณ์" ผลเมื่อเรานำมาใช้กับคนไข้เราใช่ไหมครับ เช่น เราอยากจะรู้ว่าคนไข้วินิจฉัยเป็นไส้ติ่งอักเสบจะต้องรักษาอย่างไร มีการศึกษามากมายเช่น เป็นหวัดต้องกินยา เป็นนิ่วต้องเข้าเครื่องสลายนิ่ว เป็นกระเพาะทะลุต้องผ่าตัด ฯลฯ เราก็คงต้องไปหาการศึกษาหรืองานวิจัยที่โจทย์มันคล้ายๆกะของเราที่เราสนใจจะนำมาใช้ ดีที่สุดก็คงเปนการศึกษาการรักษาโรคไส้ติ่งอักเสบในคนที่มีลักษณะคล้ายๆกับคนไข้ของเรา ใช่ไหมครับ? ทำไมต้องคล้ายๆกันด้วย? อายุ เพศ เชื้อชาติ อาชีพ แหล่งที่อยู่อาศัย ฯลฯ ปัจจัยอีกร้อยแปดพันประการ อาจจะ มีผลกระทบต่อผลการรักษาได้ เช่น รักษาในเด็กวิธีนี้รอดเยอะ เอาไปใช้ในผู้ใหญ่อาจจะตายกระหน่ำ รักษาวิธีนี้ในผู้หญิงน่าจะดี เอาไปใช้ในผู้ชายอาจจะเกิดผลข้างเคียง แต่ผลต่างๆเหล่านี้ก็มีน้ำหนักแตกต่างกันออกไปในแต่ละสภาวะ

ดังนั้นนั่นคือที่มาของการ review literature หรือการทบทวนวรรณกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิทยาศาสตร์พื้นฐานของพยาธิสรีระ พยาธิกำเนิด และพยาธิสภาพของโรคนั้นๆก่อน เราจะได้รู้ว่ามีปัจจัยแวดล้อมอะไรบ้างที่เราต้องคำนึงถึง จะเห็นได้ว่าคำถามแต่ละคำถามจะมีความจำเพาะที่แตกต่างกัน ว่ากันตั้งแต่ลักษณะของ object หรือกลุ่มผู้ป่วย exposure ที่เราสนใจ intervention ที่เรากำลังจะให้ และผลลัพธ์ที่เราจะวัด รวมกันเป็นสี่กลุ่มที่เราใช้ในการตั้งคำถาม ถ้าจากโจทย์เดิม ก็เป็น คนไข้ชายอายุ 60 ปี เป็นไส้ติ่งอักเสบ รักษาด้วยการผ่าตัด จะหายซักกี่เปอร์เซนต์ (object exposure intervention and outcome) เป็นต้น

เราก็จะพบว่าบางทีหรือบ่อยครั้งที่ไม่มีการศึกษาแบบที่เราต้องการเป๊ะๆ ดังนั้นการพยากรณ์ของเราก็จะไม่ใช่ร้อยเปอร์เซนต์ น้ำหนักก็จะลดลง เราต้องไปหาข้อมูลเพิ่มเติมเท่าที่ทำได้ เช่น การศึกษาอาจจะมีแต่ช่วงอายุอื่น เราอาจจะต้องไปค้นว่าคนช่วงอายุเท่านี้เนี่ย ทนการผ่าตัดโดยทั่วๆไปที่มีความรุนแรงหรือความหนักใกล้ๆกะการตัดไส้ติ่งซักเท่าไหร่แล้วเอามาดัดแปลงประกอบการตัดสินใจ

มึนรึยังครับ เขียนแล้วมันดูยาวและซับซ้อน แต่จริงๆมันไม่ได้ยากอะไรมากมายหรอกนะครับ สนใจถามต่อได้นะครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-10-31 , Time : 10:56:35 , From IP : 203.156.41.211

ความคิดเห็นที่ : 7


   ผมมองว่างานวิจัย น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตแพทย์ได้เลยนะครับ เพราะแพทย์ส่วนใหญ่ก็ทำการวิจัยกับผู้ป่วยของตนโดยไม่รู้ตัว อย่างน้อยที่สุดก็เป็นข้อมูลขั้นแรกคือจากการบอกเล่าหรือประสบการณ์ส่วนตัว ซึ่งผมกลับมองว่า แม้ว่ามันจะไม่ได้รับความน่าเชื่อถือเหมือน RCT แต่มันก็เป็นเครื่องมือที่จะให้เราหยิบใช้ได้อย่างทันท่วงที ผมลองนึกเล่นๆ ว่าแพทย์สมัยที่วิทยาการสื่อสารไม่ก้าวหน้าเหมือนทุกวันนี้ ไม่สามารถหางานวิจัยของผู้อื่นมาอ่านได้ง่ายเหมือนปัจจุบัน เขามีหลักในการดูแลผู้ป่วยให้ดีที่สุดได้อย่างไร แต่นั่นก็เป็นวิวัฒนาการทางการแพทย์ใช่ไหมครับ ต้องมีการลองผิดลองถูกเกิดขึ้นก่อน
ผมยังมองภาพของเล่นไม่ค่อยออกครับคุณ Phoenix สมมติเป็นรูปธรรมเลยไหมครับ ผู้ป่วยชายไทยคู่ อายุ 20 ปี มาด้วยอาการปวดแน่นบริเวณลิ้นปี่ ปวดเป็นๆ หายๆ อาการปวดหายไปหลังกินอาหาร
สิ่งที่ผมคิดออกตอนนี้คือ เขาน่าจะเป็นโรคกระเพาะ (แต่อาจจะเป็นนิ่วในถุงน้ำดีหรือ irritable bowel syndrome ก็ไม่แน่) สมมติว่าเป็นโรคกระเพาะ ถ้าเล่นตามแนวทาง evidence-based medicine แพทย์จะเลือกใช้ยา หรือ เลือกแนวทางการรักษา ที่ได้รับการพิสูจน์โดยการศึกษา วิจัยแล้วว่าได้ประโยชน์จริง ก็น่าจะต้องให้ยาพวกยาลดกรด ซึ่งน่าจะเป็นข้อมูลจากประสบการณ์ที่ได้จากการเรียนใช่ไหมครับ เราจำเป็นไหมที่จะต้องไปหางานวิจัยที่เหมาะสมมา support ว่าควรให้ยาลดกรดไปก่อน สำหรับผมคิดว่า EBM น่าจะเหมาะกับโรคที่ค่อนข้างซับซ้อนหรือมีทางรักษาได้หลายแนวทาง สมมติ (อีกแล้ว) ว่าเขากินยาลดกรดแล้วไม่หาย งานวิจัยชื้นหนึ่งบอกว่า ผู้ป่วยที่ทานยาโรคกระเพาะไม่หายส่วนหนึ่งติดเชื้อ H.pylori ต้องให้ยาฆ่าเชื้อ A เราจำเป็นต้อง follow ตามไหมครับ ถ้าเรามียา B ที่ราคาถูกกว่าหน่อย ฤทธิ์ใกล้เคียงกัน จะได้ประหยัดเงิน (แต่มันไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับคนไข้นี่) หรือจะให้ทานสมุนไพรไทย B ที่เป็นคำบอกเล่าแต่ยังไม่มีใครทำวิจัย ตรงนี้ผมมองอีกแง่ว่า บางครั้งการทำวิจัยในระยะหลังมานี้ เป็นตัวเสริมหรือสนับสนุนธุรกิจยาหรือเวชภัณฑ์ ( อ้าว ไปกันใหญ่แล้ว) แค่นี้ก่อนครับ


Posted by : น้องปรีคลินิก , Date : 2004-10-31 , Time : 12:29:23 , From IP : p106-lirnrtmt1.S.csl

ความคิดเห็นที่ : 8


   อืม เจอกระทู้อันนึงพอดีเกี่ยวกับ peptic ulcer วิเคราะห์กันตามแนว EBM ได้ไหมครับ
น.พ.อุดม คชินทร ประธานกลุ่มวิจัยโรคกระเพาะอาหาร สมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหาร แห่งประเทศไทย กล่าวถึงสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไข้ที่เป็นแผลในกระเพาะไม่ หายขาด เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า H-pylori ที่ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร และมักเป็นการอักเสบเรื้อรัง จนเกิดเป็นแผลขึ้น เชื้อตัวนี้ยังทำให้เกิดเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้ ด้วย ที่ผ่านมาการรักษาใช้เพียงยาเคลือบกระเพาะ แต่ไม่หายขาด เพราะเชื้อยังไม่ถูกกำจัด ปัจจุบันมีการค้นพบแนวทางการรักษาใหม่ โดยใช้ยา 3 ตัว คือ ยาลดการหลั่งกรด 1 ตัว ร่วมกับยาปฏิชีวนะ 2 ตัว ซึ่งเหตุที่ต้องให้ยาปฏิชีวนะถึง 2 ตัว เพราะเชื้อตัวนี้ดื้อยาง่าย การให้ยาตัวเดียวไม่ได้ผล และเหตุที่ต้องให้ยาลดการหลั่งกรดเพิ่มเพราะยาปฏิ ชีวนะ จะถูกทำลายโดยกรด ทำให้ประสิทธิ ภาพด้อยลง ซึ่งยาลดการหลั่งกรดจะ ทำให้กรดน้อยลง ส่งผลให้ยาปฏิชีวนะทำงานดีขึ้น และกำจัดเชื้อได้ดีขึ้น อีกประการหนึ่งคือ ยาลดการหลั่งกรดจะช่วยลดการปวดท้องได้ดี ในช่วงที่เชื้อยังไม่ถูกฆ่าตาย เพราะกว่าเชื้อจะถูกฆ่าต้องใช้เวลาเกิน 7 วันขึ้น ไป หลังจากนั้นคนไข้จะหายเป็นปกติ และเมื่อลองติดตามไป 1 ปี พบว่าโอกาสที่เชื้อจะกลับมาเป็นซ้ำน้อยมาก ไม่ถึง5-10%

ความคิดเห็นเพิ่มเติม :antibiotic ที่ว่าให้ตัวไหนดีครับ
โดยคุณ :หมอจุ๊บ - [25 ม.ค. 2542 09:20:07] ------------------------------------------------------------------------

ความคิดเห็นเพิ่มเติม :มีมาตั้งนานแล้วครับ เรียกว่า triple therapy มีหลาย regimen นะเช่น อันนี้แพงที่สุด
1. Metronidazole 400 mg วันละ 3 ครั้ง
2. Amoxycillin 500 mg วันละ 3 ครั้ง
3. Omeprazole 40 mg วันละครั้ง
โดยคุณ : เภสัชกร - [25 ม.ค. 2542 21:20:12] ------------------------------------------------------------------------

ความคิดเห็นเพิ่มเติม : triple therapy มีหลากหลายสูตรขึ้นอยู่กับผู้วิจัย ยังไม่มีสูตรไหน 100 % ราคาแตกต่างกัน แพงทีสุดคงไม่ใช่สูตรที่แนะนำ ถ้าใช้ Clarithromycin น่าจะแพงกว่า แต่ในช่วงเศรษฐกิจอย่างนี้ ผมว่าควรใช้สูตรยาที่ถูกแต่ได้ผลมากกว่า เพราะประสิทธิภาพ ก็ไม่แตกต่างกันมากนัก และสูตรยา 3 ตัวนี้ไม่ใช่เป็นยาแพทย์สั่งทันทีในผู้ป่วยปวดท้อง แน่นท้อง ท้องอืด เพราะอย่างน้อยควรมีหลักฐานว่าเป็นแผลในกระเพาะอาหารหรือแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น จากประวัติอย่างเดียวระบุไม่ได้ว่าเป็นแผลกระเพาะอาหารจริง อาจต้องมีการตรวจหาก่อนว่า มีเชื้อ H. pylori จริง เช่นถ้ารักษาไม่หายจะได้รู้ว่าเชื้อดื้อยาหรือไม่ หรือเป็นซ้ำใหม่ ถ้าผู้ป่วยไม่ได้เป็นแผลกระเพาะอาหารก็ไม่มีประโยชน์ที่ใช้ยาสูตรนี้
โดยคุณ :ช่วยตอบ - [27 ม.ค. 2542 19:24:16] ------------------------------------------------------------------------

คุณช่วยตอบ เอาหลัก EBM โดยเอางานวิจัย+ประสบการณ์+ความเห็นส่วนตัว มาใช้ treat น่าจะดีกว่าการอ้างงานวิจัยอย่างเดียวนะครับ 2 ส่วนหลังนี่ ฝึกกันนานไหมครับ



Posted by : น้องปรีคลินิก , Date : 2004-10-31 , Time : 12:42:20 , From IP : p106-lirnrtmt1.S.csl

ความคิดเห็นที่ : 9


   ยังไม่ตรงทีเดียว เดี๋ยวว่ากันไปทีละเรื่อง

เรื่องของเล่นปีหน้า ยังไม่ได้วางแผนการขั้นดำเนินการ ออกมาอยู่ที่ขั้นหลักการเฉยๆ ฉะนั้นผมว่ายังไม่จำเป็นต้อง Imagine มากเกินไปขณะที่เรายังไม่ทราบว่าจะเป็นแบบไหน

เรื่อง evidence-based ที่ว่าเป็นการรับรอง "กระบวนความคิด" แต่ขั้นตอนการปฏิบัติยังต้องมีขั้นตอนอื่นๆอีกครับ เช่น ก่อนจะให้การรักษาผู้ป่วย จะต้องมีการวินิจฉัยก่อน กลุ่มอาการและอาการแสดงแบบไหนจะต้องมีวินิจฉัยและหรือการวินิจฉัยแยกโรคอย่างไรกเป็นอีกส่วนหนึ่ง ก่อนที่จะเริ่มการรักษา

ฉะนั้นการรักษาโดย "อุบัติการณ์" ว่าปวดท้องแล้วเป็นโรคกระเพาะกี่เปอร์เซนต์นั้น โดยความหมายก็คือมันจะไม่ใช่ร้อยเปอร์เซนต์ครับ การใช้ข้อมูลแค่หนึ่งหรนือสองอย่างมาเป็น criteria การวินิจฉัยอาจจะทำให้มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้ และบางครั้งก็อันตรายมาก ใน post อันหลังนั้นฟังดูเหใอนว่าเรารู้แน่ๆว่าผู้ป่วยเป็นโรคแผลในกระเพาะเรียบร้อยแล้ว และเรากำลังอภิปรายว่ามีหลักฐานเชิงประจักษ์ไหมว่าอะไรดีแค่ไหน เท่าไหร่ แต่ใน Post ก่อนหน้านี้เป็นการให้การรักษาโดยยังไม่ได้มีการยืนยันว่าเป็นโรคอะไร ใช้แค่อุบัติการณ์อย่างเดียว ตรงนี้อาจจะไม่เป็น practice ในอุดมคตินัก ผมว่าเราคงต้องย้อนกลับไปที่ใช้ข้อมูลจากผู้ป่วยตรงหน้าเราให้ได้มากที่สุด เสร็จแล้วจึงไปพึ่งข้อมูล remote หรือ evidence-based มาประกอบ

ส่วนการจะใช้วิธีอะไร เช่น RCT meta-analysis systemic review หรือแม้กระทั่ง cohort, case-controlled หรือ กรณีผู้ป่วยตัวอย่าง นั้นขึ้นอยู่กับ research questions และการออกแบบงานวิจัยยังมีจริยศาสตร์มาเกี่ยวข้อง เช่น เราสงสัยว่าสูบบุหรี่วันละสามซองทำให้อุบัติการมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นเท่าไหร่แค่ไหน เราก็ไม่สามารถจะ experiment ให้ชาวบ้านสูบบุหรี่วันละสามซองไปสิบปีเพื่อมานับว่าเป็นมะเร็งหรือตายไปกี่คน ฉะนั้นอย่าติดอยู่ที่คำ systemic review, meta-analysis หรือ RCT ครับ ต้องดู holistic เป็นมุมกว้าง วันก่อนผม review เอกสารการใช้ยาแก้หอบหืดใหม่ มีคนให้ placebo (ยาหลอก) เป็นกลุ่มควบคุม ถูกต้องตาม methodology ทุกอย่าง ผลมีคนตายในกลุ่ม control มากกว่า เพราะ respiratory failure ยังมีหน้ามาลง journal ได้ ไม่ทราบว่าเขสอธิบายกับญาติคนที่ตายเพราะได้ placebo อย่างไรเหมือนกัน



Posted by : Phoenix , Date : 2004-10-31 , Time : 13:15:06 , From IP : 203.156.41.211

ความคิดเห็นที่ : 10


   ขอเบี่ยงประเด็น นิดหน่อยนะ
คือว่าใช้คำว่า เป็นของเล่นใหม่ อึม มันแฝงmeaningไว้ได้ทั้งnegative และpositiveนะเนี่ย ฟังแล้วมันหวาดเสียว เกิดเรื่องนี้เป็นจริง ซึ่งน่าจะเป็นจริงแน่นอน เด็กๆจะเป็นกันอย่างไรจ๊ะ แล้วอาจารย์หล่ะ มองว่าเป็นของเล่นไหม
ถ้าเป็นเด็กมากๆๆๆ เค้าว่าของเล่น และการเล่นเป็นเรื่องที่ดี เทียบเท่าหรือเหมือนกับการทำงานของผู้ใหญ่ ให้เด็กเล่นมากๆๆอนาคตเจริญ แต่ว่าต้องมีผู้ใหญ่มาเล่นด้วยแบบชี้แนะเสริมจินตนาการ แบบนี้พอเป็นเหตุผลที่ดีให้ได้เล่นของเล่นใหม่นี้ได้ไหม


Posted by : pisces , Date : 2004-11-04 , Time : 06:28:02 , From IP : 172.29.7.51

ความคิดเห็นที่ : 11


   Learning while playing is workable even for adult.



Posted by : Phoenix , Date : 2004-11-04 , Time : 07:14:23 , From IP : 203.156.40.78

ความคิดเห็นที่ : 12


   พิมพ์เร็วไป จน even ตกตัว t ไปหรือเปล่าเดี๋ยวเป็น อี-เวร แย่เลยนะ หรือเพิ่งตื่นนอนจ๊ะ

Posted by : pisces , Date : 2004-11-04 , Time : 10:02:46 , From IP : 172.29.3.91

ความคิดเห็นที่ : 13


   even = "แม้แต่" ครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-11-05 , Time : 23:14:11 , From IP : 203.155.172.57

ความคิดเห็นที่ : 14


   ขอบคุณนะ

Posted by : pisces , Date : 2004-11-06 , Time : 06:16:47 , From IP : 172.29.7.247

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.011 seconds. <<<<<