ความคิดเห็นทั้งหมด : 8

Debate LXXVII: ผลดีและผลเสียของการที่ผู้ป่วยทราบข้อวินิจฉัยจากแพทย์


   หลังจากที่ได้ร่วมเข้าฟัง conference palliative care มาเกือบสองปี และถามผป.ใน ward เรื่องการแจ้งการวินิจฉัยก็ยังเป็น issue หนึ่งที่พบได้ค่อนข้างบ่อย ขอโยนลงมาให้สมาชิกแถวๆนี้ลองให้ความเห็นหน่อยสิครับว่า breaking the bad news หรือการแจ้งข่าวพวกนี้มีและ/หรือไม่มีผลดีและผลเสียอย่างไร

Be Mature, Be Positive, and Be Civilized



Posted by : Phoenix , Date : 2004-10-26 , Time : 12:23:40 , From IP : 172.29.3.185

ความคิดเห็นที่ : 1


   ถ้าเขารู้ว่าทุกสิ่งนั้นมีเกิดขึ้นตั้งอยู่และเสื่อมสลายไป มีมรณะสติ คือคิดถึงความตายอยู่เนืองๆ รู้ว่าความตายเป็นสิ่งเที่ยงแท้แน่นอน การตายนั้นง่าย แต่การมีชีวิตนั่นสิไม่แน่นอน ตื่นขึ้นมาตอนเช้าก็รำพึงกับตัวเองว่า อืมมม เรานี้ มีชีวิต อยู่อีกหนึ่งวันแล้ว ไม่ตายไปเสียแต่เมื่อวาน ต้องเร่งสร้างความดี ไม่ประมาทในการดำรงชีวิต
นั่นแหละเขาเหมาะสมที่สุดแล้วที่จะทราบความจริงทุกอย่าง เพราะทันทีที่เขารู้ พฤติกรรมเขาก็จะไม่เปลี่ยน เขาพร้อมที่จะตายแล้ว ธุระต่างๆก็ทำมาอย่างดีตลอดแล้วไม่มีห่วงมาก จะตายตอนนี้หรืออีก 6 เดือนก็ไม่ต่างกัน

ทีนี้ก็ต้องว่ากันในส่วนของ คนทั่วไป ที่มีมากกว่า ไม่เคยคิดถึงความตายเลย เมื่อคืนยังไปกินเหล้ากับเพื่อนอยู่เลย ถ้ารู้ว่าตัวเองเป็นโรคอะไรแล้วต้องตายเอาง่ายๆในไม่ช้าไม่นาน พฤติกรรมเขาจะเปลี่ยนแปลงอย่างมโหฬาร จะฟูมฟาย ซึมเศร้า กินเหล้านักกว่าเดิม ทำนองขอใช้ชีวิตให้เต็มที่ หรือไม่ก็วิตกกังวลไปหมด งานนั้นก็ไม่เสร็จ งานนี้ก็ค้างอยู่ ลูก4 เมีย 5 จะทำงัยดี ยุ่งวุ่นวายไปหมด



แต่ก็ดีนะถ้าคนเรารู้ว่าเมื่อไหร่จะตายได้ ชีวิตที่เหลือของเขา จะเป็นเวลาที่มีค่าที่สุด ใครที่ "ทำใจได้" ก็จะใช้เวลาช่วงนี้ได้ "ดี" ที่สุด

แต่ถ้าไปปกปิด ปล่อยให้รู้เองตอนที่เอามากๆ เขาคงเสียเวลาที่สำคัญที่เขาอาจอยากทำอะไรไปอีกมากๆเลย


Posted by : ชาวบ้านที่มีญาติเป็นคนไข้ และต , Date : 2004-10-26 , Time : 16:31:53 , From IP : 172.29.1.253

ความคิดเห็นที่ : 2


   ขอบคุณครับคุณชาวบ้านฯ

ที่เราเจอนั้น ส่วนหนึ่งก็ไม่ได้มาจากตัวคนไข้เองหรอกนะครับ เป็นญาติซะเยอะที่บอกว่า คุณพ่อ คุณลุง คุณแม่ คุณป้า ฯลฯ จะรับไม่ได้ อาจจะมีผลเสียเกิดขึ้น เราเลยไม่รู้ว่าผป.คนนั้นเข้าถึงมรณานุสติรึยัง

ขอความเห็นเพิ่มเติมครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-10-26 , Time : 18:15:46 , From IP : 203.156.40.226

ความคิดเห็นที่ : 3


   ผลดีในการแจ้งข่าวร้าย ในแง่ที่เกิดกับตัวหมอ ก็อาจจะเป็นได้ว่าสบายใจไม่ต้องมาทำตัวลับๆล่อๆ อึดๆอัดๆ เลี่ยงที่จะไม่พูดเวลาคนไข้ถามเรื่องโรคที่เป็น ร่วมกันเผชิญโรคกับคนไข้ได้ในแบบที่เป็นrealityมากขึ้น

ถ้าในแง่ผูป่วย คงมีข้อดีที่จะได้วางแผนชีวิตที่เหลืออยู่ได้ถูก แม่นยำขึ้น เป็นจริง เป็นรูปธรรมมากขึ้น เช่นทำพินัยกรรม....หรือ ได้ทำสิ่งที่หวัง หรือที่คิดไว้นานแล้วว่าอยากทำ ก่อนที่จะหมดโอกาส หรืออาจเป็นงานชิ้นสุดท้ายในชีวิต ก็แบบที่คนไทยว่าๆกันงัยว่าจะได้ไม่มีอะไรติดค้างกันไปชาติไหนอีก แล้วก็นอนตายตาหลับงัย แต่เรื่องแบบนี้คุณค่ามันคืออะไร เพราะมันวัดไม่ได้ในเชิงปริมาณนะ จับต้องก็ยากด้วย เข้าใจก็ยาก

ส่วนเรื่องข้อเสีย ในมุมของหมอ การแจ้งข่าวร้ายมันลำบากอยู่นะ เดี๋ยว คนไข้ช้อค ตกใจ โกรธ มีreactionที่รุนแรงใส่หมอตอนบอก ร้องไห้บ้าง จะฆ่าตัวตายบ้าง โอ๊ย ปัญหาร้อยแปดที่จะตามมาอีกมากให้หมอแก้ไข มันคาดเดายาก ทำให้หมอยิ่งอึดอัดกันไปใหญ่ เพราะไม่ได้อยู่ในสถานะการณ์ที่จะควบคุมได้ด้วยตนเอง เมื่อมันเป็นเสียแบบนี้ ยอมไม่แจ้งข่าวร้ายดีกว่า เราจะได้เป็นคนควบคุมเรื่องทั้งหมด ว่าแต่ว่า แบบนี้ก็ไม่ใช้patient centerนะ กลายเป็นdocter centerแทน

ส่วนข้อเสียที่เป็นในแง่ของผู้ป่วยถ้าทราบข่าวร้าย ตอนนี้ยังคิดไม่ออก แบบว่าเหมือนเชียร์กันสุดโต่งให้แจ้งข่าร้ายกับคนไข้ คือว่า คิดว่าอย่างนี้นะ reactionอะไรที่แสดงออกมามันเป็นเรื่องของธรรมชาติของอารมณ์ที่responseกับเรื่องข่าวร้าย จะprojectมันออกมาใส่คนอื่น โกรธ ไม่พูดด้วย หรือintrojectใส่ตนเอง โทษตนเอง อยากตาย นั่นก็เป็นธรรมชาติของอารมณ์ที่ต้องปลดปล่อย และให้หมอช่วยเหลือ ให้มันได้drainออกให้เหมาะสมมากว่า เทียบแล้วคงเหมือนการdrainหนองงัย เจอที่ไหนต้องเอามันออก เก็บไว้ก็มีแต่ทำร้ายเจ้าของเปล่าๆ
แต่ทั้งหมดนี้มันจะออกมาดี สวยหรู หรือแย่ มันขึ้นอยู่กับจังหวะการบอกข่าวร้าย การรับฟัง การอยู่ร่วมเผชิญอารมณ์กับผู้ป่วย และความสัมพันธ์ระหว่างหมอกับคนไข้ที่มีกันมาอยู่เก่าด้วยนะ
แล้วคนอื่นว่างัยกันบ้าง อยากรู้จัง


Posted by : pisces , Date : 2004-10-27 , Time : 06:32:20 , From IP : 172.29.7.131

ความคิดเห็นที่ : 4


   อีกประเด็นคือเราใช้สิทธิหรืออำนาจใดในการไม่ให้ข้อมูลเรื่อง "ของผู้ป่วย" แก่ผู้ป่วยทราบ?



Posted by : Phoenix , Date : 2004-10-28 , Time : 08:55:39 , From IP : 172.29.3.62

ความคิดเห็นที่ : 5


   ไม่รู้ดีกว่า ไม่เครียด ญาติไม่ต้องเป็นกังวล รู้ไปก็แค่นั้นถ้าแก้ไขอะไรไม่ได้ (แก้ไม่ได้100%) ส่วนประเด็นที่ว่าจะได้ใช้เวลาที่เหลือให้คุ้ม ก็การที่ไม่เครียด ไม่เป็นกังวลนั่นแหละคือการใช้เวลาให้คุ้ม มาถึงขั้นนี้แล้วควรให้ความสำคัญกับเรื่องของจิตวิญญาณมากกว่าเรื่องของการไม่ได้ทำพินัยกรรม หรืออะไรที่มันเป็นเรื่องของทางโลก เราควรคำนึงถึงตัวคนไข้มากกว่า จะได้จากไปอย่างสงบ ส่วนเรื่องของทางโลก ญาติควรจะรับไปแก้ไขเอง เคยได้ยินคำว่า คนเราอยู่ได้ด้วยความหวังไหม นี่แหละคือคำตอบ

Posted by : เราเอง , Date : 2004-10-30 , Time : 10:06:45 , From IP : 172.29.7.251

ความคิดเห็นที่ : 6


   โจทย์ของเราคงยึด "ตัวผู้ป่วย" เป็นสำคัญที่สุดใช่ไหมครับ หลักจริยศาสตร์ข้อที่หนึ่งคือ principle of autonomy เป็นรากฐานของการตัดสินใจในเรื่องนี้

เวลาที่คนเราเกิดภาวะเครียด หรืออยู่ใน crisis เช่น อกหัก สอบตก ตกงาน เงินหมด ฯลฯ นอกเหนือจากพฤติกรรมภายนอกที่ต้องปรับแก้ไขปัญหานั้นๆ อีกประการที่สำคัญมากคือภาวะจิตใจของเรา เราจะสร้างมุมมองของปัญหานั้นๆออกมาเป็น theme เป็นเรื่อง หรือเป็นนิยายเรื่องนึง make sense กับเรื่องนี้ แล้วก็จะมีผลต่อพฤติกรรมของเราที่จะทำตามเหตุและผลของเราที่สร้างขึ้นมา ถ้าเหตุและผลหรือ theme ที่เราสร้างขึ้นมาใกล้เยงกับความเป็นจริงมากที่สุด เราก็จะได้วิการแก้ไขปัญหาที่น่าจะตรงที่สุดใช่ไหมครับ? ถ้าเกิด theme ที่เราสร้างมันวางอยู่บนจินตนาการหรืออะไรที่มันห่างไกลจากความจรงที่เกิดขึ้น โอกาสที่การแก้ไขจะล้มเหลวก็จะสูง

ขออนุญาตยกตัวอย่าง เช่น นศพ.สอบตก mean (ขออภัยยกอันนี้ มันง่ายดี) ก็เริ่มเดือดร้อน กังวล เกิด crisis ขึ้น เขาจะแก้ไขหรือมีพฤติกรรมอย่างก็จะขึ้นกับ theme ที่เขาสร้างมาอธิบายว่าทำไมถึงตก mean ถ้าคิดว่าตกเพราะท้องเสีย ไปกินบะหมี่ปูที่ฉื่อฉาง วิธีแก้ก็โดยการไปกินหอยทอดแทน ถ้าคิดว่าตกเพราะนอนดึก คราวหน้าก็นอนมันให้มันเร็วขึ้น ถ้าคิดว่าตกเพราะเล่นเกมมากไปหน่อยก็ลดลงซะ แต่วิธีต่างๆนี้จะไม่ได้ผลเลยถ้าเหตุผลที่แท้จริงเป็นเพราะเขาไม่ได้อ่านหนังสือ ต่อให้ไปกินหอย นอนหัวค่ำ งดเล่นเกม คราวหน้าก็ยังมีโอกาสสูงที่จะตก Mean อยู่ดี

ความจริงอาจจะเป็นเรื่องเครียด แต่มันจะทำให้นำไปสู่การเผชิญ consequences หรือ events ต่างๆที่จะตามมาเป็นระยะๆได้อย่างถูกต้อง ถ้าคนไข้เกิดมีบริบทว่าที่เขาปวดท้องนี่ไม่มีอะไร หรือเกิดจากโรคกระเพาะ แต่จริงๆแล้วเป็น recurrent cancer of stomach มันจะมีปัญหาเยอะครับ เช่น ทำไมชั้นกินยาโรคกระเพาะแลเวก็ยังปวดอยู่ งดของเผ็ด รสจัด กินตามเวลาก็ยังผอมลง ทรุดโทรมอยู่ แล้วทำไมโรคกระเพาะมันทำให้หอบเหนื่อย ทำให้ท้องมาน ทำให้ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต ฯลฯ เหตุการณ์ต่างๆที่ตามมามันจะอธิบายไม่ได้ crisis จะไม่เคยถูกแก้ทั้งทางพฤติกรรมและทางจิตใจ

ที่นี่เราสามารถจะ "หลอกตนเอง" ให้มีใจสงบได้หรือไม่ ผมว่าเรื่องหรือ theme ที่เราสร้างมันต้องดีพอที่จะเข้ากันได้กับสิ่งที่เกิดขึ้นแหละครับ สรุปแล้วถ้าเราจะหลอกตนเองว่าไม่เป็นมะเร็ง เราก็คงต้องหาภาวะอื่น หรือโรคอื่นที่ทำให้เราอเป็นเหลือด มีน้ำท่วมปอดเป็นระยะๆ มี bone pains ที่กระดูกสันหลัง ที่กระดูกสะโพก ที่ทำให้เราต้องขอยาแก้ปวดทุกๆชั่วโมง เพราะการคิดเฉยๆว่าเราไม่ได้เป็นอะไร ความทรมานต่างๆเหล่านี้ก็ยังเกิดขึ้นต่อไป ผลเสียก็คือเราอาจจะไม่ได้รักการบรรเทาอย่างถูกต้องถ้าเราปฏเสธความจริง มีผู้ป่วยจริงที่ญาติไม่ให้บอกความจริง และข้าใจคิดว่า bone metastasis เป็นแค่กล้ามเนื้ออักเสบ หมอจะให้ฉายแสงบรรเทาอาการปวดก็ไม่ยอม จนแทบจะมีเรื่องกัน แต่พอตอนหลังเข้าใจว่าเป็นมะเร็งกำเริบ คนไข้ก็พูดออกมาเองว่าก็ถ้าเป็นมะเร็งกำเริบก็ต้องยอมรักษาซิครับ

ความหวังนั้นไม่ใช่เรื่องเสียหายครับ เราสามารถจะสร้างความหวัง
"แม้ว่า" เราจะรู้ความจริงก็ตาม จากการที่เราทำแบบสอบถามในทีม palliative care ของศัลยกรรม เราบอกคนไข้ทุกคนว่าเป็นโรคอะไร และถามว่าเขาอยากจะได้อะไรมากที่สุดสามอย่าง หนึ่งในสิ่งที่ผู้ป่วยทุกคนทั้งๆที่ทราบความจริงว่าเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายบอกมาก็ยังเป็น "อยากหาย" เพราะฉะนั้น hope นั้นไม่ได้สาบสูญไปจากการทราบความจริงหรอกครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-10-31 , Time : 11:21:24 , From IP : 203.156.41.211

ความคิดเห็นที่ : 7


   คุณเราเอง เอา ใครเป็นcenter ในการดูแล ผป นะ เราและเขา หมอ หรือ ผป หรือญาติ ไม่มีใคร คิดเหมือนกันแน่นอน แล้วเราควรตามใคร เดาเอาดีไหม ว่า ผป ต้องการอะไร แต่ถ้าเรา ญาติ คนอื่นๆ เดาใจ ผป คนเดียวกันไม่ตรงกันหละ บทสรุป จะเชื่อความคิดใคร เราเอง?
ถ้าอย่านั้น ฟัง ผป คิดเรื่องของเขาเอง บนความจริงทั้งหมดที่เขาควรรู้ไม่ดีกว่าหรือ คนไข้มีสิทธิที่จะรู้เรื่องของตนเอง และมีสิทธิที่จะไม่อยากรู้ได้ แต่นั่นหมายถึงว่า ผป ใช้สิทธินั้นเอง ไม่ใช่เราไปตัดสิทธิเขานะตั้งแต่ต้นเลย โดยการไม่แจ้งข่าวร้าย


Posted by : pisces , Date : 2004-10-31 , Time : 20:20:48 , From IP : 172.29.7.144

ความคิดเห็นที่ : 8


   ผมคิดว่าเราทุกคนคงเคยสร้างโลกจินตนาการและบางทีก็อยากจะอยู่ในโลกนั้นนานๆ เพราะมันดูสงบสุข ไม่เป็นกังวล และเหมือนกับมีความสุขที่แท้จริง

แต่ที่สุดแล้วยังไงๆเราก็ยังต้องตื่นขึ้นกลับมาสู่โลกแห่งความเป็นจริงอีกครั้งจนได้ บางทีลูกก็ร้องจะกิน จะอึ (หรืออึแล้ว เรียกไปเช็ดก้นให้หน่อยค่ะ) จะให้อุ้ม ฯลฯ sanctuary ที่เราสร้างขึ้นก็ pop หายไปในพริบตา บางทีเราอยากจะ "ลืม" ปัญหา แล้วหวังว่าเมื่อเรากลับมาอีกครั้งปัญหาจะหายไปแล้ว แต่ความจริงไม่ใช่ยังงั้นใช่ไหมครับ

มีคนเสพย์ยาเสพติดมากมาย ที่คิดว่าช่วงเวลาดังกล่าวสามารถให้ความสุขที่แท้จริงเพราะหลุดจากโลก สภาพแวดล้อมต่างๆไปได้ แต่การ "หลุด" ที่ว่ามันไม่ยั่งยืน มันไม่เสถียร reality มันคอยจะกลับมา haunt เราตลอดเวลา งานที่หมักหมมเอาไว้ที่สุดก็ดำเนินมาถึง deadline คำสัญญาที่ให้ไว้ที่สุดก็มีคนมาทวง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหัวข้อที่เราพูดถึง "ความตาย" นั้นเป็นสิ่งที่ยั่งยืน ถาวร และเสถียรที่สุดแล้ว ในบรรดาประสบการณ์ทั้งหมดที่พวกเราทุกคนจะต้องเผชิญ ไม่วันใดก็วันหนึ่ง

มรณนุสติ เป็นการปฏิบัติที่มีประโยชน์ และเป็นแก่นหนึ่งของทางพุทธศาสนาก็ว่าได้ หากเราจะ "ยึด" อะไรสักอย่าง (ทั้งๆที่ส่วนใหญ่เราจะบอกให้วาง) มรณนุสติเป็นสิ่งที่เรายึด เราทำความเข้าใจ ก่อนที่เราจะได้วางไปอย่างมั่นใจ และปราศจากข้อสงสัย

ที่สุดแล้ว dead with dignity อาจจะเป็น bless สิ่งสุดท้ายที่ทุกคนปราถนาก็ได้ มีใครไม่อยากเสียชีวิตอย่างสงบ จากไปอย่างมั่นใจว่าคนที่เหลืออยู่เข้าใจและมั่นใจว่าได้กระทำกับเราอย่างที่เราต้องการอย่างแท้จริงบ้าง?



Posted by : Phoenix , Date : 2004-10-31 , Time : 23:01:50 , From IP : 203.156.42.202

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.006 seconds. <<<<<