ความคิดเห็นทั้งหมด : 4

5 ข้อควรรู้ในการส่ง investigation สำหรับคนไข้ของคุณ


   1. กรุณาส่ง ตรวจ เฉพาะที่ จะมีผลต่อ"การดูแลรักษา" เท่านั้น (อย่าส่งแบบ routine โดยไม่ใช้สมองคิด อะไรก็ตามที่เป็น routine แต่อธิบายเหตุผลไม่ได้ก็อย่าสั่ง)
2. กรณีที่ไม่แน่ใจว่าจะมีประโยชน์ไหม ให้สมมติว่า คุณเป็นคนจ่ายเงินในการตรวจนั้น แล้วคิดใหม่
3. ถ้าผลออกมาแบบ"เกิน" ความคาดหมาย ให้ตรวจซ้ำ หรือ ส่งตัวช่วยอื่น (เช่น CRP for ESR) เชื่อผลนั้นถ้ามันยังยืนยันเหมือนเดิม
4. คนเท่านั้นที่โกหกได้ ยากมากที่ผล lab จะ โกหก คุณหมอต้องรู้จัก lab ที่ใช้ดีๆ ว่ามันจะโกหกเราได้เมื่อไหร่ เพราะส่วนใหญ่มาจากคนมากกว่า
5. มีเหตุผลนับร้อยที่ทำให้ผล lab ผิดพลาดตั้งแต่การติดสลาก จนการลงข้อมูล คุณหมอต้องคิดถึงสิ่งเหล่านี้ด้วยถ้าผลมันออกมาพิกล


Posted by : ญาติคนไข้ที่เป็นหมอ , Date : 2004-10-25 , Time : 07:40:51 , From IP : 172.29.7.110

ความคิดเห็นที่ : 1


   ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ

Posted by : Shonigega , Date : 2004-10-25 , Time : 19:31:34 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 2


   สรุปง่ายก็คือ จะส่งตรวจอะไรก็ขอให้รู้ว่าส่งแล้วมันได้ประโยชน์อะไรด้วย บางคนส่งแล้วยังไม่รู้ว่าผลที่ออกมาแปลว่าอะไร จะดูอะไรยังไม่รู้ เป็นความล้มเหลวทางการศึกษาที่ยิ่งใหญ่

Posted by : อออออออ , Date : 2004-10-26 , Time : 20:50:30 , From IP : 203.150.217.117

ความคิดเห็นที่ : 3


   เห็นด้วยค่ะ แต่บางกรณีที่เค้าอยากเช็คอันอื่นที่อาจจะไม่เกี่ยวกับโรค ณ ขณะนั้น แต่อาจจะอยากเช็ค เช่นมีประวัติครอบครัวโดยที่ตัวเองยังไม่มีอาการ พอดีมาโรงพยาบาลเลยอยากจะเช็คไปด้วย จะทำยังไงดี

Posted by : gossip girl , Date : 2004-10-28 , Time : 11:56:24 , From IP : 172.29.3.170

ความคิดเห็นที่ : 4


   patient-centred ครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-10-31 , Time : 11:30:27 , From IP : 203.156.41.211

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.003 seconds. <<<<<