ทางชีวิตของหมอชนบท...................ยาวไปหน่อย แต่อยากให้อ่านกันนะคะ
ในระบบการศึกษาของประเทศไทย ในปัจจุบัน นักศึกษาแพทย์ เมื่อเรียนจบ จะต้องไป ทำงาน ใช้ทุน ในโรงพยาบาล ของรัฐ ที่ต่างจังหวัด เป็นเวลา สามปี ตามนโยบาย กระจายแพทย์ สู่ชนบท ของกระทรวง สาธารณสุข
.....เคยมีเรื่องเล่าว่า แพทย์รุ่นพี่ คนหนึ่ง กล่าวเตือน รุ่นน้อง ที่ต้องไปทำงาน ใช้ทุน ในพื้นที่ ทุรกันดาร แห่งหนึ่งว่า ที่นั่น "เหงา จนได้ยินเสียง หญ้างอก"
.....และมีเรื่องเล่า จากประสบการณ์ ของอีกหลายๆ คน ที่บอกให้รู้ว่า เส้นทางชีวิต ของหมอชนบทนั้น ไม่ใช่หนทาง ที่ราบรื่น สะดวกสบาย ต้องจากญาติมิตร ไปอยู่แดนไกล พบกับความเงียบเหงา ในท้องถิ่น ชนบท อันทุรกันดาร ซ้ำบางแห่ง ยังเป็น พื้นที่ชายแดน ที่มีอันตราย จากการสู้รบ ต้องทำงานหนัก รับผิดชอบ คนไข้ เป็นจำนวนมาก และรายได้ก็น้อยกว่า แพทย์โรงพยาบาล เอกชน
.....ดังนั้นแพทย์ใช้ทุนส่วนใหญ่ เมื่อทำงานจน ครบกำหนดแล้ว จะทำเรื่อง ขอย้าย เข้าทำงานในเมือง หรือลาศึกษาต่อ เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะทาง เข้าทำงานใน โรงพยาบาลเอกชน ที่ให้ค่าตอบแทนสูง เปิดคลินิกส่วนตัว เพื่อเพิ่มรายได้ และความมั่นคง ของชีวิต
.....ในอดีต ภาคชนบทของประเทศไทย เคยประสบปัญหา ขาดแคลนแพทย์ อย่างรุนแรง แม้ว่าต่อมา กระทรวง สาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พยายาม ใช้หลาย ๆ มาตรการ เพื่อจูงใจแพทย์ ให้ปฏิบัติงาน ในชนบท เช่น เพิ่มอัตราเงินเดือน มีเงินค่าอยู่เวร นอกเวลาราชการ เงินค่าตอบแทน ในการ ไม่เปิด คลินิก ส่วนตัว เหล่านี้ แม้ช่วยให้ สถานการณ์ ดีขึ้นบ้าง แต่ก็ยังพบปัญหา การขาดแคลนแพทย์ อยู่เนือง ๆ มี โรงพยาบาลชุมชน หลายแห่ง ไม่มี แพทย์ประจำ ต้องใช้มาตรการ ในการจัดแพทย์ หมุนเวียน ภายในจังหวัด ไปปฏิบัติแทน แพทย์บางกลุ่ม ขอย้ายจากชนบท หากกระทรวงสาธารณสุข ไม่ให้ย้าย มักจะขอลาออก เช่น ในปี ๒๕๔๐ มีแพทย์ใช้ทุนปีที่ ๑ ขอลาออกถึง ๑๒๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๒ ของแพทย์ใช้ทุน รุ่นเดียวกัน ในกระทรวง สาธารณสุข
ไม่ว่าจะด้วย อุดมคติ หรือความเชื่อส่วนตัวก็ตาม
ภาพชีวิตของหมอ ๓ คน ผู้ซึ่งแสดงให้เห็นถึง การทำงาน ที่มุ่งมั่น เสียสละ และอุทิศตัว เพื่อส่วนรวม ในฐานะของ หมอชนบท
--------------------------------------------------------------------------------
.....๑. นพ. พีร์ คำทอน
.....ในการประชุมใหญ่ ของชมรม แพทย์ชนบท นับตั้งแต่ปี ๒๕๓๑ จนกระทั่งถึง ปัจจุบัน ทางชมรมฯ ได้จัดให้มี ปาฐกถา "พีร์ คำทอน" ต่อเนื่องมา ทุกปี (ยกเว้นปี ๒๕๓๕ เนื่องจาก เกิดเหตุการณ์ พฤกษภาทมิฬ) โดยได้รับเกียรติ จาก ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และเป็นที่ยอมรับ ในวงการ สาธารณสุข ร่วมแสดง ปาฐกถา เพื่อเป็นการ ระลึกถึง นพ. พีร์ คำทอน
.....นพ. พีร์ คำทอน คือแพทย์ผู้ซึ่ง อุทิศตัวให้กับ การทำงานเพื่อสังคม และส่วนรวม จนกระทั่ง เสียชีวิตจากการ ลอบสังหาร โดยกลุ่มบุคคล ที่เสียผลประโยชน์ เมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๒๘ ในขณะดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลร้อยเอ็ด โดยที่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ไม่สามารถ หาตัว ผู้กระทำผิด มาลงโทษได้แต่อย่างใด
.....นพ. บรรลุ ศิริพานิช อดีตปลัดกระทรวงฯ ผู้ซื่อสัตย์ และเป็นประธาน คณะกรรมการ สอบสวน กรณี การทุจริต จัดซื้อยา และเวชภัณฑ์ ราคาแพง ในกระทรวง สาธารณสุข เมื่อปี ๒๕๔๑ ที่ผ่านมา เป็นผู้ทาบทามให้ นพ. พีร์ ไปรับตำแหน่ง ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลร้อยเอ็ด ในครั้งนั้น ด้วยความมุ่งหมาย จะให้ไป กวาดล้าง การทุจริต ที่กำลังฉาวโฉ่ พร้อมกับ พัฒนา โรงพยาบาลร้อยเอ็ด ให้เจริญก้าวหน้า
.....นพ. เฉลิมชาติ รัตนเทพ เพื่อนสนิทของ นพ. พีร์ ได้บันทึกไว้ ในหนังสือ คิดถึงหมอพีร์ ว่า การย้ายไปรับตำแหน่งของ นพ. พีร์ในครั้งนั้น เป็นการ "หย่อนก้น ลงเก้าอี้ ทับก้นผู้อื่น" ขณะนั้น โรงพยาบาลร้อยเอ็ด มีบุคคล ที่ดำรงตำแหน่งสำคัญ ที่มีอิทธิพลต่อ โรงพยาบาล อยู่หลายคน เมื่อ นพ. พีร์ เริ่มงาน ปรับปรุงสมรรถนะ ด้านต่าง ๆ ของโรงพยาบาล ทั้งด้าน การแพทย์ การเงิน และการบริหาร ก็พบอุปสรรคต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง รวมทั้ง ยังมีการเสนอ ให้ผู้อำนวยการคนใหม่ เซ็นอนุมัติ เอกสาร การซื้อขายบางอย่าง ของทางโรงพยาบาล ที่ไม่โปร่งใส ซึ่ง นพ. พีร์ ได้ปฏิเสธไปทั้งหมด
.....เมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๒๘ หลังจาก ถูกส่งไปรับตำแหน่ง เพียง ๑๐ เดือน นพ. พีร์ คำทอน ถูกคนร้าย ยิงเสียชีวิต ขณะขับรถยนต์ บนถนน สายมหาสารคาม - ร้อยเอ็ด เหลือไว้เพียง คุณความดี ให้คนรุ่นหลัง ได้ระลึกถึง
--------------------------------------------------------------------------------
.....๒. นพ. ไกร ดาบธรรม (คนนี้เป็นรุ่นพี่ จบจากมอ.ด้วยนะคะ)
.....นพ. ไกร ดาบธรรม กล่าวถึง ความตั้งใจของตนเอง ที่จะเป็นหมอชนบทว่า "ผมตั้งใจ ตั้งแต่ ก่อนที่จะ เอนทรานซ์ แล้วว่า ถ้าจบแพทย์ออกมาแล้ว จะเอาความรู้ ไปช่วยคน ด้อยโอกาส ที่อยู่ห่างไกล ผมคิดว่า ในเมือง หมอเยอะอยู่แล้ว คงทำอะไร ไม่ได้เต็มที่ แต่ชนบท ยังขาดแคลนแพทย์ ถ้ามาอยู่ตรงนี้ ชีวิตเรา น่าจะมีคุณค่ากว่า"
.....นพ. ไกร ได้รับรางวัล แพทย์ดีเด่น ในชนบท ปี ๒๕๒๕ ของคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล และแพทย์ดีเด่น ของมูลนิธิ กองทุน นายแพทย์ กนกศักดิ์ พูลเกษร ปี ๒๕๒๗ ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการ โรงพยาบาล แม่อาย จังหวัดเชียงใหม่
.....หลังจาก จบการศึกษา แพทย์ศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา เมื่อปี ๒๕๓๒ นพ. ไกร เลือกมาทำงาน เป็นแพทย์ ใช้ทุนที่ โรงพยาบาล แม่อาย
.....อำเภอแม่อาย อยู่ห่างจาก ตัวจังหวัดเชียงใหม่ ๑๗๙ กิโลเมตร และอยู่ห่างจาก ชายแดนไทยพม่า เพียง ๓-๔ กิโลเมตร ประชากร มีทั้งชาวพื้นราบ และชาวเขา เผ่าต่าง ๆ บ่อยครั้งที่ นพ. ไกร ต้องถูกตามตัว กะทันหัน เพื่อรักษา ชนกลุ่มน้อย ชาวพม่า ที่บาดเจ็บ จากการสู้รบ ต้องออก หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ไปรักษาชาวเขา ถึงหมู่บ้าน บางครั้ง ต้องเดินเท้า ขึ้นภูเขาสูงชัน เพราะไม่มีถนน ขึ้นไปถึง เผชิญกับ โรคติดต่อ ที่มีอยู่ ชุกชุม เช่น มาลาเรีย วัณโรค รวมทั้ง พบอุปสรรคที่ ชาวเขา มีความเชื่อ ในการรักษาโรค กับหมอผี มากกว่า การแพทย์ แผนปัจจุบัน
.....นอกจาก งานด้านการแพทย์แล้ว นพ. ไกร ยังจัดทำโครงการ สงเคราะห์ ผู้ด้อยโอกาส ขึ้นใน โรงพยาบาล แม่อาย เช่น โครงการ ศูนย์เด็กเล็ก โครงการ สงเคราะห์ เด็กกำพร้า และผู้สูงอายุ ตั้งชมรม สำหรับ ผู้ติดเชื้อเอดส์ อำเภอแม่อาย
.....นพ. ไกร กล่าวว่า สิ่งที่ได้จาก การทำงาน เป็นหมอชนบท มาตลอด สิบปี ก็คือ ความภาคภูมิใจ ที่สามารถ ทำความฝันของตน ให้เป็นจริง และความสุขใจ ที่สามารถ เปลี่ยนแววตา เศร้าหมอง ของคนป่วย และผู้ด้อยโอกาส ให้กลับสดใส อีกครั้ง
--------------------------------------------------------------------------------
.....๓. นพ. อภิสิทธิ์ ธำรงวรางกูร
.....นพ. อภิสิทธิ์ ธำรงวรางกูร สำเร็จการศึกษา จากคณะ แพทยศาสตร์ โรงพยาบาล รามาธิบดี มหาวิทยาลัย มหิดล เมื่อปี ๒๕๒๗ เคยทำงานที่ โรงพยาบาลขอนแก่น และโรงพยาบาล น้ำพอง ก่อนย้ายมารับตำแหน่ง ผู้อำนวยการ โรงพยาบาล อุบลรัตน์ ตั้งแต่ปี ๒๕๒๙ จนกระทั่งปัจจุบัน
.....นอกจาก ทุ่มเททำงาน ด้านการแพทย์ นพ. อภิสิทธิ์ ยังสนใจ และทำงาน พัฒนาชนบท อย่างจริงจัง เพราะมี แนวความคิดว่า หากชุมชน เข้มแข็ง ชาวบ้าน ก็จะ มีสุขภาพดี แต่ถ้าชาวบ้าน มีปัญหา ทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม หรือคุณภาพชีวิต ในที่สุด จะทำให้ เกิดความ เจ็บป่วย ตามมา และมองว่า วิกฤติสำคัญ อย่างหนึ่ง ของท้องถิ่น ในขณะนี้คือ เรื่องการปลูกพืช เชิงเดี่ยว เพราะชาวบ้าน ทำเท่าไหร่ ก็ขาดทุน ซ้ำยังต้องคอย พึ่งพา กลไกการตลาด จากภายนอก
.....เมื่อปี ๒๕๓๘ นพ. อภิสิทธิ์ และทีมงาน ร่วมกันตั้ง มูลนิธิ พัฒนาชุมชน อย่างยั่งยืน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี จังหวัด ขอนแก่น ขึ้นมา รองรับการทำงาน แนวทาง ดำเนินงาน ของมูลนิธิก็คือ เผยแพร่ การทำเกษตร แบบผสมผสาน เพราะได้เห็น ตัวอย่างจาก เกษตรกร บางราย ที่ทำแล้ว ประสบความสำเร็จ และส่งเสริม การรวมกลุ่ม ของชาวบ้าน รวบรวม ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างองค์ความรู้ จนปัจจุบัน สามารถสร้าง เครือข่าย ชาวบ้าน ร่วมแนวทาง ได้นับหมื่นครอบครัวแล้ว
.....รางวัล แพทย์ดีเด่น ในชนบทปี ๒๕๓๘ ของคณะ แพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล คือผลตอบแทน สำหรับ คุณงามความดี ของหมอชนบทผู้นี้
Posted by : สาวน้อยร้อยชั่ง , Date : 2003-04-29 , Time : 18:37:14 , From IP : 203.113.71.169
|