ความคิดเห็นทั้งหมด : 0


   Learning Styles: Gregorc Style Delineator

เคยสงสัยบ้างไหมครับว่าการเรียนรู้นี่มันมีซักกี่รูปแบบ กี่สไตล์กันแน่ และข้อสำคัญของเรานั้นมันเป็นแบบไหน?

ทฤษฎีการศึกษามีมากมายหลายโรงเรียน มีการตั้งสมมติฐาน ทดลองทดสอบ และติดตามผลในนักเรียนกลุ่มต่างๆมากมายเป็นเวลาหลายสิบปี วันนี้ขอนำเอาทฤษฎีหนึ่งมาเล่าสู่กันฟังก็แล้วกัน

Anthony F. Gregorc, Ph. D., เป็น phenomenological researcher, lecturer, consultant, author and President of Gregorc Associates, Inc. ได้ให้คำจำกัดความของ Phenomenology ไว้ดังนี้
Pheno = outward appearance หรือที่เราเรียกว่า style
Noumena = invisible driving forces that give rise to style หรือเป็นอะไรที่อยู่เบื้องหลังที่มาผลักดันให้เกิด styles ต่างๆ อาจจะเป็นเชิงคุณภาพ ((qualities) เช่น concreteness, abstractness, sequentialness และ randomness หรือเชิง functions เช่น ความฉลาด (intelligence), อารมณ์, ลางสังหรณ์ (อาจแปลไม่ตรง คำนี้ใช้ intuition) และ instinct
Logos = word, nature of, root of หรือ Cause of Things

ปี 1983, 1984 งานของ Gregorc ที่มีบทบาทสำคัญคือการจัดหมวดรูปแบบ (styles) การเรียนรู้ การรับทราบแปลผลข้อมูลออก โดยใช้สองพิสัยคือ ลักษณะของข้อมูล และลำดับของข้อมูล แต่ละพิสัยแบ่งเป็นสองกลุ่มคือลักษณะที่เป็น concrete หรือ abstract และลำดับที่มาเป็น linear หรือแบบ random เอามารวมเป็นสี่กลุ่มใหญ่ๆของ styles คือ Concrete/Sequential (CS), Abstract/Sequential (AS), Abstract/Random (AR), และ Concrete/Random CR) CS, AS, AR, CR ได้ถูกนำมาดัดแปลงใช้ประกอบทฤษฎีการศึกษา การช่วยเหลือนักเรียน การพัฒนาบุคลิก ภายในโรงเรียน องค์กรรัฐ ภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจ มาถึงในวงการแพทย์และสาธารณสุข

CS ชอบอะไรที่สามารถสัมผัสได้โดยประสาทสัมผัสทั้งห้า และมาเป็นลำดับ
AS ชอบอะไรที่มาเป็นนามธรรม แต่มี structure เชื่อมต่อกันเป็นห่วงสัมพันธ์โดยตรรกะ
AR ชอบอะไรที่เป็นจำพวกความรู้สึกนึกคิด จินตนาการ และงอกงามแบบสุ่ม ไร้ทิศทาง ไร้กระบวนท่า
CR สามารถดึงเอาประเด็นซ่อนเร้นจากกองฟางที่ยุ่งเหยิง ไม่เป็นระเบียบ แต่เป็นประเด็นที่เป็นรูปธรรม

พวกเราคิดว่าความรู้เหล่านี้นำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไรบ้างล่ะครับ?


Posted by : Aqaurius , Date : 2004-10-10 , Time : 11:05:57 , From IP : 172.29.7.47

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.003 seconds. <<<<<