คิดเห็น อย่างไร กับ บทบาท ของ4 วิชาชีพน้อง ๆ คิดอย่างไรกันบ้างเกี่ยว กับ บทบาท ของ แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล ในปัจจุบัน และ อนาคตที่น้องอยากให้เป็น หากน้องติดตามข่าว จะเห็นได้ว่า มีปัญหากันบ่อยครั้ง อาทิเช่น พรบ.ยา ที่จะออกใหม่ พวกเราว่าที่คุณหมอคิดอย่างไรกันกับขอบเขตบทบาทของเราและ เพื่อนร่วมวิชาชีพทางสาธารณสุข เห็นด้วยไหมครับ ว่าเรายังไม่มี TEAM WORK ที่ดี มีคนเห็นแก่ตัวเห็นแก่ได้กันมากขึ้น ระบบสาธารณสุขไทยจึงไม่สามารถพัฒนาทัดเทียมอารยประเทศได้ เป็นห่วงอนาคต และอยากทราบความเห็นน้องๆ Posted by : พี่ศิษย์เก่า มอ. , E-mail : (***) , Date : 2003-04-28 , Time : 16:33:22 , From IP : netturbo5.cscoms.com |
แบบว่ายังเรียนอยู่ไม่ค่อยรู้เรื่องอะไรมากเลยครับ พี่ลองเขียนๆๆ แต่ละข่าวแต่ละประเด็นให้ทราบ ด้วยได้มั้ยครับ Posted by : โจ , Date : 2003-04-28 , Time : 16:39:05 , From IP : 203.107.196.199 |
ขอยกตัวอย่าง ข่าวที่เรามีปัญหากับทางเพื่อนเภสัช เกี่ยวกับ พรบ.ยานะครับ แพทยสภา และกลุ่มแพทย์ออกโรงคัดค้านร่าง พ.ร.บ.ยา หลัง อย.เสนอแก้ห้ามหมอจ่ายยาในคลินิก ทำได้เพียงเขียนใบสั่งยา ให้คนไข้ไปซื้อเอง ชี้ชาวบ้านเตรียมรับผลกระทบค่ายาแพงขึ้น "หมอ" สั่งจ่ายแต่ยานอก หวังรักษาหายเร็วเพื่อชื่อเสียง ขณะที่ร้านยาข้ามชาติเท่านั้นที่อยู่ได้ ชี้ใครรับผิดชอบชีวิตคนไข้ หากร้านยาจ่ายยาผิด เมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2546 แพทยสภาและแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยจัดสัมมนา รับฟังความคิดเห็นระหว่างองค์กรวิชาชีพแพย์ต่างๆ เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ยา พ.ศ. . และพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ น.พ.สมศักดิ์ โลห์เลขา นายกแพทยสภาเปิดเผยว่า แพทยสภาไม่เห็นด้วยกับร่างที่คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กำลังปรับปรุงแก้ไขโดยเฉพาะมาตรา 14 (3) ที่ได้เพิ่มเนื้อหาว่า "ห้ามให้แพทย์จ่ายยาได้ในคลินิก" ซึ่งกรณีนี้กลุ่มแพทย์ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ซึ่งเหตุผลในการขอแก้ไขนั้น เนื่องจากคลินิกนับเป็นหน่วยบริการทางการแพทย์ขนาดเล็กที่สุด และถือเป็นหน่วยปฐมภูมิที่เป็นด่านแรกสำหรับการให้บริการตรวจ-รักษา มีลักษณะเป็นการให้บริการทางการแพทย์ครบวงจรอย่างเบ็ดเสร็จหรือ (one stop service) คือมีทั้งการตรวจวินิจฉัย จ่ายยา ทำแผล ตลอดถึงการทำผ่าตัดเล็ก ซึ่งการให้บริการแบบนี้อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน และเป็นที่พึ่งของประชาชนจนไม่สามารถแยกออกจากสังคมไทย การที่ประชาชนเลือกมาใช้บริการที่คลินิกนั้นเป็นเพราะสะดวก รวดเร็ว ค่าบริการเหมาจ่ายเบ็ดเสร็จไม่แพง ประชาชนได้รับยาตามข้อวินิจฉัยของแพทย์โดยตรง และยังทำให้สามารถเข้าถึงแพทย์ได้ง่าย คลินิกในสังคมไทยโดยทั่วไป มิได้ประกอบกิจการไปในเชิงธุรกิจเช่นเดียวกับการค้าทั่วไป ตรงกันข้ามการประกอบกิจการของแพทย์ส่วนมากเป็นไปในเชิงช่วยเหลือผู้ป่วย ค่าบริการที่คิดจากผู้ป่วยคือค่ายา ไม่ได้มีค่าแพทย์เช่นใน รพ.เอกชน ซึ่งประชาชนไม่คุ้นเคยกับแพทย์จะคิดค่าตรวจ หรือที่เรียกว่าค่าแพทย์ ดังนั้นการที่ร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับนี้ พยายามผลักดันห้ามแพทย์ที่ประกอบกิจการคลินิก ขายยา แบ่งบรรจุยา ผสมยา ฯลฯ แม้เป็นเพียงกระทำเพื่อผู้ป่วยของตนนั้น จะก่อให้เกิดผลเสียต่อประชาชนที่มารับบริการอย่างแน่นอน น.พ.สมศักดิ์ กล่าว นายกแพทยสภา กล่าวอีกว่าการห้ามแพทย์จ่ายยาในคลินิก ตามกฎหมายนี้ยังเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการสูญเสียชีวิตของผู้ป่วย เช่น กรณีที่ผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วนมารับบริการที่คลินิก และผู้ป่วยอยู่ในอาการช็อกหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ความดันโลหิตสูง หอบหืดรุนแรง ได้รับพิษจากแมลงและสัตว์กัดต่อย ผู้ป่วยเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลเบื้องต้นอย่างเร่งด่วน และจำเป็นจะต้องให้ยาทั้งชนิดฉีด ยาพ่น ยาอมใต้ลิ้น หรือน้ำเกลือ เพื่อช่วยชีวิตได้ทัน หากร่างกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ แพทย์จะไม่สามารถมียาไว้ได้ที่คลินิก จะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงการสูญเสียของผู้ป่วยอย่างแน่นอน ซึ่งหากเกิดความสูญเสียขึ้นใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ น.พ.สมศักดิ์ กล่าวด้วยว่า เมื่อแพทย์เขียนใบสั่งยาแล้วให้คนไข้ไปซื้อยาตามร้านขายยานั้น จะแน่ใจได้อย่างไรว่าผู้ป่วยจะได้รับยาตรงตามที่เขียนไว้ในใบสั่งยา เพราะทุกวันนี้ ร้านขายยาทุกแห่งคงไม่มียาครบในร้านอย่างแน่นอน โดยเฉพาะร้านขายยาขนาดเล็ก และคงไม่เปิดตลอด 24 ชั่วโมงอย่างแน่นอน เช่น ยากลุ่มรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น บางกรณีอาจได้รับยาคนละความแรง หรือมีส่วนประกอบของตัวยาไม่ครบ เช่น ยารักษาโรคผิวหนังต่างๆ หรืออาจได้ยาตัวเดียวกันตามใบสั่งแพทย์แต่เป็นยาเลียนแบบที่ไม่ไช่ยาต้นแบบ ตามใบสั่งแพทย์ หากร่างฯ ดังกล่าวออกมาจะมีปัญหา และประชาชนจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบทั้งหมดแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคเฉพาะที่ต้องได้รับยาเฉพาะทาง ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยโรคหัวใจ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคกระดูกและข้อ ผู้ป่วยโรคทางเดินสมองและระบบประสาท ผู้ป่วยทางสูตินรีเวช หรือผู้ป่วยเด็กที่ต้องได้รับยาเฉพาะกลุ่ม" นายกแพทยสภา ยังระบุด้วยว่า กฎหมายมาตราดังกล่าวจะส่งผลให้ร้านขายยาจากต่างชาติฉวยโอกาสเข้ามาแสวงหากำไรมากขึ้น ***** "ร้านขายยาในบ้านเราส่วนมากไม่ได้เปิดตลอด 24 ชั่วโมง แต่ที่จะเปิดตลอดจะเป็นร้านขายยาตามห้างสรรพสินค้า เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วร้านขายยาก็จะเป็นเหมือนร้านโชวห่วยที่ห้างสรรพสินค้าดังๆ เข้ามาเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง ทำให้ร้านขายยาจากต่างชาติเข้ามาแสวงหากำไรมากขึ้น รวมไปถึงแพทย์ที่เขียนใบสั่งยาก็จะไม่คำนึงแล้วว่าจะต้องให้ยาอย่างประหยัดก็หันไปสั่งยานำเข้าจากต่างประเทศเพื่อให้โรคหายเร็ว ซึ่งก็จะทำให้มีผู้ป่วยมาใช้บริการมากขึ้นเพราะสั่งจ่ายยาหายเร็ว ผิดกับสมัยก่อนที่จะต้องคำนึงถึงราคาไม่แพงและจ่ายยาที่มีในประเทศเพราะคำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่ตามมา เมื่อเป็นเช่นนี้ก็เหมือนกับ รพ.เอกชนที่จะต้องสั่งจ่ายยาราคาแพงเพื่อให้ผู้ป่วยหายเร็วจะได้กลับมาใช้บริการอีก ***** น.พ.สมศักดิ์ กล่าวว่า ความสัมพันธ์ของคนไข้กับแพทย์ก็จะหมดไป แทนที่จะมาขอรับคำปรึกษาฟรีเช่นปัจจุบัน ก็จะกลายเป็นว่าถ้าผู้ป่วยมาขอรับคำปรึกษาก็จะคิดเงินคิดทอง ความสัมพันธ์ก็หมดไปอย่างสิ้นเชิง ดังนั้นมาตราดังกล่าวไม่ควรมีใน พ.ร.บ.ยาอย่างเด็ดขาด น.พ.สมศักดิ์ กล่าวว่าประชาชนที่ใช้สิทธิบัตรประกันสังคมจะไม่สามารถไปใช้บริการที่คลินิกได้ โดยเฉพาะคลินิกประกันสังคมที่เป็นเครือข่ายของ รพ.ต่างๆ ซึ่งรัฐเป็นผู้ให้การสนับสนุนนั้น เป็นหน่วยบริการปฐมภูมิที่ผู้ประกันตนได้รับความสะดวกในการเข้ารับบริการทางการแพทย์มาช้านาน และยังเป็นการลดปริมาณผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่ รพ. โดยการคัดกรองจากแพทย์ที่คลินิกอย่างเหมาะสม หากร่าง พ.ร.บ.นี้ออกมา เชื่อได้แน่นอนว่าจะไม่มีผู้ประกันตนคนใดเข้ารับบริการตรวจโรคที่คลินิกเพียงเพื่อรับใบสั่งยา แล้วกลับไปรับยาที่ รพ.และ รพ.ก็จะเต็มไปด้วยผู้ป่วยที่ความจริงแล้วสามารถให้บริการรักษาได้ที่คลินิกเครือข่ายก็ได้ ร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับนี้แทนที่จะปรับปรุงให้ดีขึ้นกับเป็นการถอยหลังมากขึ้น น.พ.สมศักดิ์ กล่าว น.พ.ฐานปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ ประธานชมรมแพทย์เพื่อวิชาชีพแพทย์ และกรรมการแพทยสภา กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับ พ.ร.บ.ยาที่กำลังแก้ไขเพราะจะทำให้ประชาชนเดือดร้อน และที่ผ่านมาได้ล่ารายชื่อคัดค้านจากแพทย์ประมาณ 3,000 รายชื่อ ส่งให้กับนางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการสาธารณสุขตั้งแต่ช่วงปีใหม่ จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้รับความคืบหน้า พ.ญ.มาลินี สุขเวชกิจ รองประธานกรรมาธิการสาธารณสุข วุฒิสภา กล่าวว่า พ.ร.บ.ยาที่กำลังแก้ไขนั้นให้แพทย์เขียนใบสั่งยาแล้วไปซื้อยาในร้านขายยา ซึ่งร้านขายยาในประเทศไทยนั้นไม่ได้เปิดตลอด 24 ชั่วโมง เท่ากับจะเป็นการส่งเสริมให้ร้านขายยาที่เปิดตลอด 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะเป็นร้านขายยาที่เป็นห้างจากต่างประเทศเท่ากับเป็นการส่งเสริมต่างประเทศมากกว่า ขณะเดียวกัน หากคนไข้ใช้ยาแล้วเกิดเป็นพิษใครจะรับผิดชอบ "ถ้าออกกฎหมายแล้วมาบีบวิชาชีพทั้งแพทย์ ทันตแพทย์ มากขึ้นก็จะทำให้เด็กรุ่นใหม่ไม่อยากจะมาเรียน ดังนั้นการปรับปรุงกฎหมายนั้นควรดูให้ละเอียดและครบถ้วนไม่ใช่บีบบังคับเพราะสุดท้ายแล้วผลกระทบจะตกที่ประชาชน ควรไปแก้ไขร่างเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยกับเหตุการณ์ปัจจุบันจะดีกว่าเพราะไม่ต้องมานั่งวุ่นวายเช่นนี้ รองประธานกรรมาธิการฯ กล่าว (คม ชัด ลึก วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2546) ท่านคิดเห็นอย่างไรบ้างครับ Posted by : พี่ครับ , E-mail : (***) , Date : 2003-04-28 , Time : 17:15:12 , From IP : netturbo5.cscoms.com |
หมอหน่อยรีบแก้ปัญหา อย่าเอาแต่ออกงานเอาหน้า อย่าโกหก Posted by : ้harry , Date : 2003-04-28 , Time : 19:00:46 , From IP : 172.29.1.153 |
ควรจะมีการประชุมกันแพทย์ และเภสัช หาทางออก และก็ไม่เข้าใจว่าที่ต่อว่ากันไปต่อว่ากันมานี่มันจะมีประโยชน์อะไร บางเรื่องคุณก็ต้องอาศัยวิชาชีพอื่นเหมือนกัน บางเรื่องคุณอาจไม่รู้อะไรเลยในขณะที่บางคนเขาเก่งกว่ามาก เราต้องทำงานร่วมกันอยู่คนเดียวไม่ได้หรอกครับ ก่อนจะเขียนอะไรลงมาคิดสักนิดครับ ไม่อยากให้สองวิชาชีพนี้ทะเลาะกันเองพวกเรามาทะเลาะกันแบบนี้แต่ไอ้ตัวต้นคิ ดล่ะครับตอนนี้มันก็ไม่ได้รู้สึกอะไรหรอกก็เหมือนกับโครงการ 30 บาทนั่นแหละ ตอนนี้คงต้องยอมรับนะว่ามีประชาชนมากมายมีความเห็นที่ไม่ดีกับหมอ ทั้งๆ ที่โครงการนี้มันเป็นความผิดของ..........แล้วมีใครด่าเค้าบ้างมีประชาขนคนไ หนด่าบ้าง ตัวต้นเหตุไม่โดนแต่คนปฎิบัติงานกลับโดน เราควรจะมีความสามัคคีกันให้มากกว่านี้นะ มีอะไรไม่เข้าใจกันก็ควรจะปรับความเข้าใจ ไม่ใช่มาต่อว่าอีกฝ่ายโจมตีกันอย่างนี้ แล้วคิดเหรอครับว่าถ้ามีคนอื่นมาอ่านแล้ววิชาชีพเราจะสูงขึ้นเหรอครับ ไม่หรอก ทั้งหมอทั้งเภสัชแหละ Posted by : หมอคนนึงเหมือนกัน , E-mail : (*********) , Date : 2003-04-30 , Time : 21:16:04 , From IP : netturbo2.cscoms.com |
จริงๆเภสัชส่วนใหญ่ก็สนับสนุน พรบ.ยาเกือบทุกคนแหละครับโดยหลักการพวกเราเพียงแต่คิดว่า พรบ.ยาจะช่วยเพิ่มความสำคัญของวิชาชีพพวกเราในวงการยาได้บ้าง แต่โดยทางปฏิบัติแล้วผมเห็นด้วยกับแพทย์ ครับว่าเราควรจัดการร้านยาให้ได้มาตรฐานเสียก่อนให้ร้านขายยาขายยาโดยมีเภสั ชกรจริงๆ ที่ผมกลัวที่สุดคือไม่อยากให้แพทย์เกลียดเภสัช อย่างที่ผมกำลังรู้สึกว่ามันกำลังจะเป็นอย่างนั้น ไม่ต้องรีบร้อนออก พรบ.ก็ได้ แต่ขอให้ใช้กฎหมายเดิมที่มีอยู่แล้วมีผลบังคับใช้จริงๆ ทุกวันนี้ที่ร้านผมไม่มีวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ไม่มีโคเดอีน เพราะถ้าโดนขึ้นมาจะมองหน้าใครได้ แต่ร้าน ขย.2 เขากล้าทำ ตอนนี้บางร้านขุดเอาคลอแรมขึ้นมาขายด้วยซ้ำ เพราะการตรวจเข้มเริ่มซาไปแล้ว ส่วนกรณีศึกษาที่ยกตัวอย่างความผิดพลาดของร้านยามา ก็ขอร้องเถิดครับ ทุกวงการมีทั้งดีชั่ว คลีนิคหมอจ่ายยาชุดลดความอ้วน หมอเด็กจ่ายยาผิดให้PARA drop 5 cc.แทนที่จะเป็น0.5cc. รีคอนซัลท์แพทย์แต่ละครั้งเภสัชรุ่นพี่เขาจะสอนรุ่นน้องๆกันเลยนะครับ เทคนิคการพูดยังไงไม่ให้หมอโกรธ ถ้าหมอไม่ผิดโดนด่าเปิง หมอผิด ขอบคุณสักคำก็ไม่มี แต่ส่วนน้อยครับ หมอส่วนมากนิสัยดี น่ารัก เพราะถ้าเราพูดคุยกันสนิทสนมกันเข้าใจกันเรื่องแบบนี้ก็ง่าย แต่ถ้าแตกแยกกันไม่เข้าใจกัน เรื่องนิดเดียวก็เป็นเรื่องชวนให้ทะเลาะกัน ผมไม่ชอบให้เภสัชหรือใครที่ไหนมาว่าแพทย์แบบเหมารวมอย่างกระทู้ที่ผ่านมา และก็ไม่ชอบให้ใครมาว่าวิชาชีพของผมแบบเหมารวมเหมือนกัน ไม่ต้องแกล้งทำเป็นเห็นใจว่าเภสัชมันกำลังจะอดตายหรอกครับ เพราะคนลองเรียนมาได้ขนาดนี้แล้วถ้าไม่โลภมากผมว่าพวกเราก็พออยู่พอกินเลี้ย งตัวเองได้ ไม่ต้องห่วงครับ ว่าจะไม่พูดแล้วเชียว เรื่องนี้มันอ่อนไหวน่ะครับ Posted by : เภสัชกร , E-mail : (00000) , Date : 2003-04-30 , Time : 21:19:07 , From IP : netturbo2.cscoms.com |
เห็นด้วยร้อยเปอร์เซนต์ ขอให้บนกระดานข่าวแห่งนี้มีแต่เรื่องสร้างสรรค์แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้นครับ Posted by : Phoenix , Date : 2003-05-01 , Time : 01:35:03 , From IP : 172.29.3.214 |
ความเห็นจาก Social Network : Facebook |
|
>>>>> Page loaded: 0.005 seconds. <<<<< |