ความคิดเห็นทั้งหมด : 12

=== ปัญหาใน PBL ซึ่งทั้งผู้เรียน และ facilitator ไม่รู้ว่าที่กำลังนำเสนอนั้นถูกต้องไหม ถ้าไม่มีใครเลยซักคนที่จะรู้ว่าความรู้ที่


   ปัญหาใน PBL ซึ่งทั้งผู้เรียน และ facilitator ไม่รู้ว่าที่กำลังนำเสนอนั้นถูกต้องไหม เชื่อว่าใครก็ตามที่อยู่ในขบวนการนี้ จะต้องรู้ว่ามีเรื่องเช่นนี้เกิดขึ้น แล้วถ้าไม่มีใครเลยซักคนที่จะรู้ว่าความรู้ที่กำลังนำเสนอนั้นผิด
อะไรจะเกิดขึ้น ถ้าตอบผิดตอนสอบ หรือจำผิดๆไปใช้ ใครจะช่วยคิดวิธีปิดช่องโหว่นี้


Posted by : จอม , Date : 2004-10-07 , Time : 11:53:24 , From IP : 172.29.4.91

ความคิดเห็นที่ : 1


   ใช้ อริยสัจ 4 สิครับ

Posted by : แฮะๆ , Date : 2004-10-07 , Time : 12:39:47 , From IP : 203.113.70.13

ความคิดเห็นที่ : 2


   ไปหาคำตอบจาก resources เพิ่มเติมครับ ไม่ว่าจะเป็น human หรือ facilities ก็ได้

ความรู้ทางการแพทย์นั้นต้องได้จากการเรียนซ้ำและตรวจสอบ ดังนั้นอะไรก็ตามที่เราได้ไปค้นมา present ในหนึ่งอาทิตย์นั้น ยังไม่เป็น "บทสรุป" ของเนื้อหาส่วนนั้น ความรู้จะเกิดรากและแตกแขนงก็จากการแลกเปลี่ยนอภิปราย กับเพื่อนในกลุ่มแล้ว กับเพื่อนต่างกลุ่มยิ่งดี กับพี่ๆ กับอาจารย์ กับหนังสือ textbook ฯลฯ

ในความเป็นจริงก็คือ แม้แต่ความรู้ที่ นศพ.และอาจารย์ "รู้" ว่ามันถูกต้อง ณ ขณะนั้น ปีนั้น ก็สามารถเปลี่ยนแปลงทีหลังได้เป็นคนละเรื่อง ดังนั้นสิ่งเหล่านี้เราคงจะเผชิญต่อไปในอนาคต ไม่เพียงแต่จะทราบตอนสอบหรอกนะครับ แต่ตอนจบไปแล้วก็ยังต้องตรวจสอบและทดสอบและพร้อมที่จะ update ตัวเองต่อไปเรื่อยๆ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-10-07 , Time : 17:55:42 , From IP : 203.156.61.171

ความคิดเห็นที่ : 3


   มันทำให้เรารู้สึกinsecureไม่มีความมั่นใจเลยนะ ถ้าความจริงfact หรือความรู้นั้นต้องเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ซึ่งดูเหมือนมันเป็นเรื่องที่ธรรมดาหรือเป็นธรรมชาติของวิชาmedicine ตัวอย่างเช่น ปีนี้ว่าอย่าง ปีหน้าเปลี่ยนอีก เอาเป็นว่าเราจึงต้องมาเน้นเรื่องการพยายามทำให้เราได้updateข้อมูลงัย ก็คงไม่พ้นprocessPBLนั่นแหละที่อาจจะช่วยเราอยู่รอดได้กับcontentที่มันoverloadมากมายอย่างในปัจจุบันนี้มั๊ง

Posted by : pisces , Date : 2004-10-07 , Time : 20:16:56 , From IP : 172.29.7.74

ความคิดเห็นที่ : 4


   ตัวอย่างใกล้ตัวตอนนี้ เช่นโรคไข้หวัดนก เราคงต้อง surveillance ทั้งโรคและทั้งข่าวคราวไปพร้อมๆกัน website คณะแพทย์มี link เรื่องนี้อยู่ ในขณะเดียวกันข่าวหนังสือพิมพ์ก็ลงกันไปพลางๆ เครื่องมืออย่างเดียวที่เรามีและต้องใช้คือความสามารถในการวิเคราะห์จัดการข้อมูลหลากหลายนี่แหละครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-10-07 , Time : 22:35:38 , From IP : 203.156.42.201

ความคิดเห็นที่ : 5


   คุณแน่ใจได้อย่างไรว่าสิ่งที่อาจารย์พูดให้คุณฟังนั้นถูกต้องไปหมด อะไรเป็นตัวบอกว่าสิ่งนั้นถูก อยู่ที่ตัวคุณเองต้องกลั่นกรอง คุณต้องอ่านและต้องวิเคราะห์สังเคราะห์ด้วยตัวคุณเอง วิทยาการก้าวหน้าไปมาก ทำให้คนที่มัวแต่รอคำตอบล้าหลังไปได้ ปัจจุบันเราต้องอ้างอิงด้วยหลักฐานทั้งสิ้น

Posted by : อน , Date : 2004-10-08 , Time : 00:49:23 , From IP : 203.113.76.12

ความคิดเห็นที่ : 6


   ดีใจที่หลายๆคนรู้ว่า ความรู้นั้นต้อง update ไปเรื่อยๆ แต่ในสถานการณ์ขณะที่เรียนอยู่ในห้องนั้นได้รับข้อมูลที่ไม่รู้ว่าถูกหรือผิด แล้วยังต้องกลับมาหาอ่านว่าที่ได้รับการถ่ายทอดในชั้นเรียนนัน้ถูกไหม ช่างสนุกจริง ต้องใช้เวลาเพิ่มอีกเท่าไร

Posted by : ร่วมคิด , Date : 2004-10-08 , Time : 09:24:19 , From IP : 172.29.3.147

ความคิดเห็นที่ : 7


   ใช่

ต้องใช้เวลาอีกเท่าไหร่

ด้วยเวลาที่มีจำกัดในแต่ละ block ทำให้ไม่มีเวลามาเช็คความถูกต้องของข้อมูลได้ทุกอย่างที่อยากรู้หรอก

ยิ่งเรียนชั้นสูงๆ ยิ่งมีอะไรให้ทำมากขึ้น ในขณะที่ Basic science ยังไม่ดี จะไปอ่านอะไรก็ลำบาก ติดๆขัดๆไปหมด
แต่ถ้ามีคนสอน ก็จะทำให้ได้เรียนรู้ได้ครบ(Basic science) ตามที่ควรรู้

เบื่อที่นี่มากๆๆๆๆๆๆๆ


Posted by : 666 , Date : 2004-10-08 , Time : 10:19:01 , From IP : 172.29.4.158

ความคิดเห็นที่ : 8


   ข่าวดีคือเราจะได้ทราบแต่เนิ่นๆว่านี่คือชีวิตแพทย์จริงๆหลังจบออกไปไงล่ะครับ ว่าเราได้ commit กับผู้ป่วยประชาชนไว้ยังไงบ้าง การเรียนรู้เพิ่มเติมไม่ได้สิ้นสุดแค่ได้ พบ.แค่นั้น (ไม่ต้องพูดถึงแค่สิ้นสุด block) ประกอบการตัดสินใจและการตั้งเข็มทิศได้ดีขึ้น



Posted by : Phoenix , Date : 2004-10-08 , Time : 17:53:51 , From IP : 203.156.42.32

ความคิดเห็นที่ : 9


   หมายถึงว่าถ้าไม่อยากมีlong life learningการลาออกตอนนี้ก็ยังทันเหรอ แล้วจะไปเรียนอะไรที่เรียนแล้วจบกันไปเลยตลอดชีวิตดีหล่ะ

Posted by : pisces , Date : 2004-10-08 , Time : 21:40:25 , From IP : 172.29.7.112

ความคิดเห็นที่ : 10


   คณะแพทย์มีข้อผิดพลาดตรงหนึ่งคือ ไม่มี retire นศ.
(ที่บ่นๆว่าเบื่อหรือพัฒนาตัวเองไปกับวิธี SDL ไม่ได้ก็ลองคิดๆดูนะครับ)


จากเนื้อหาของหัวข้อ
แสดงถึงความกังวลของความถูกต้องของเนื้อหาที่เรียนหรือที่หามา
ช่วงแรกผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกันกับความถูกต้องของเนื้อหา
แต่นั่นแสดงว่าเราจับแกนหลักของเนื้อหาไม่ได้เลยมากกว่า

เนื้อหา basic science มักจะไม่มีอะไรต่างกันมากนัก ถ้าหาเนื้อหามาจากหนังสือที่เป็น reference text book อย่างน้อยก็ใช้เรียนเหมือนๆกัน(ไม่ใช่ search จาก google เอาง่ายๆแล้วไม่รู้ว่า reference น่าเชื่อถือแค่ไหน)

แต่ข้อมูลประเภท update หรือ evidence base medicine อาจจะต้องมีความรู้ในการอ่านและพิจารณาเนื้อหาของข้อมูลนั้น ซึ่งต้องอาศัยความเข้าใจเรื่อง EBM และการฝึกฝน (และเนื้อหาส่วนใหญ่มักไม่ใช่ basic science ที่ระดับ preclinic เรียนกันหรือพูดกันใน PBL)
นี่เป็นประสบการณ์ส่วนตัวนะครับ ในมุมมองอาจารย์น่าจะเข้าใจมากกว่าผม


อยากกลับไปเรียน pre-clinic ใหม่จัง ...

ล้อเล่นน่ะครับ สู้ตอนนี้ก็ยังทัน



Posted by : ArLim , Date : 2004-10-09 , Time : 02:35:34 , From IP : ppp-203.144.143.165.

ความคิดเห็นที่ : 11


   การเรียนรู้และเข้าใจตนเองนั้นสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ว่าเรากำลังจะลงมือทำอะไรสักอย่างต่อๆไปอีกยาวนานหลายสิบปี การตัดสินใจที่ถูกต้องจะช่วยได้หลายอย่าง ตั้งแต่ประหยัดเวลา ลดความทรมาน (ของตนเองและของคนที่จะทำงานด้วยในอนาคต รวมทั้งลูกค้า) และความสุขในการทำงาน

แต่ละอาชีพจะมีลักษณะไม่เหมือนกันและน่าจะคุ้มในการที่เราจะมองไกลเกินวันรับปริญญา หรือวันสอบลงกองไปหน่อยนึง จะได้ตระหนักว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ วิชาชีพแพทย์นั้นมีความคาดหวังสูงจากลูกค้า (หรือประชาชน) และมีพิสัยของการจะถูกยอมรับความผิดพลาดแคบ (ตั้งแต่อาจจะทำให้คนตาย หรือผิดพลาดแล้วจะถูกฟ้องร้อง) ทั้งสองประการนี้มีแต่จะเพิ่มมากขึ้นและมีการตอบสนองหรือปฏิกิริยาที่ aggressive มากยิ่งขึ้น เกราะป้องกันตนเองของบุคลากรในอาชีพนี้สรุปรวมแล้วเหลือแค่สองประการคือ ๑) Doctor-patient relationship และ ๒) ความรู้ความสามารรถที่แท้จริง

แต่เดิมประการแรกค่อนข้างศักดิ์สิทธิ์มากในบ้านเรา จนบางทีผมคิดว่ามากเกินไป จนอาจจะทำให้เกิดความ arrogance ได้ว่าเราเป็นอาชีพที่ untouchable แต่ยุคปัจจุบันมีหลายอาชีพที่สูญเสีย privilege ตรงนี้ไปเรื่อยๆ เช่น หมอ ครู พระ องค์สาเหตุหลักเป็นจากสองประการคือสังคมที่ข้อมูลชัดเจนยิ่งขึ้นทำให้คนรู้สิทธิ์ของตนเองและคาดหวังมากขึ้น กับอีกประการหนึ่งคือการวางตัวที่อาจจะก่อความหมั่นไส้ (และผลทำให้ชาวบ้านเกิดความสะใจถ้าได้ล่อเข้าให้บ้าง) จาก privilege เดิมอันเคยชิน ฉะนั้นถึงแม้เกราะอันแรกนี่ยังใช้ได้ระดับหนึ่ง แต่ power and tolerance กำลังจะเริ่ม wear thinning ไปเรื่อยๆ

การเปลี่ยนแปลงอันนี้ผมว่าคนที่กำลังจะเรียนหมอ กำลังจะเป็นหมอ พึงตระหนักไว้อยู่ตลอดเวลา และเมื่อประสานกับหลักปรัชญาของวิชาชีพของเราที่สมเด็จพระราชบิดาฯ ทรงพระดำรัสไว้ คืออาชีพเรานั้นเพื่อคนไข้สำคัญที่สุด ความรู้ที่สายงานของเรามันเข้า phase breakthrough แทบจะทุกๆสี่ห้าปีทำให้การศึกษาต่อเนื่องเพิ่มความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ความชำนาญในการจัดการกับข้อมูลจำนวนมากจำเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ตรงนี้ต้องการการทุ่มเททั้ง physical และ attitude ที่ถูกต้อง

ถ้าไม่ชอบลักษณะอย่างที่ว่านี้ เปลี่ยนใจแต่เนิ่นๆจะช่วยทั้งตนเองและคนไข้ในอนาคต



Posted by : Phoenix , Date : 2004-10-09 , Time : 12:05:44 , From IP : 203.156.41.38

ความคิดเห็นที่ : 12


   test


Posted by : hh , Date : 2004-10-21 , Time : 22:15:57 , From IP : dial-71.ras-1.kri.c.

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.004 seconds. <<<<<