ความคิดเห็นทั้งหมด : 6

.....การไปอ่านเองโดยขาดพื้นฐานจะรู้เรื่องได้อย่างไร การอ่านเรื่องหนึ่งโดยขาดความรู้อีกหลายส่วนที่เกี่ยวข้องจะเป็นไปได้หรือ ....


   น่าเห็นใจผู้ที่มีปัญหา การไปอ่านเองโดยขาดพื้นฐานจะรู้เรื่องได้อย่างไร การอ่านเรื่องหนึ่งโดยขาดความรู้อีกหลายส่วนที่เกี่ยวข้องจะเป็นไปได้หรือ เป็นสิ่งที่ block
manager ต้องกลับดูบทเรียนที่วางไว้ว่ามีจุดใดที่ขาดตกไป ขาดความเชื่อมต่อแม้จะแก้กระบวนการเรียนรู้ส่วนนี้ครบแล้ว อย่าไรก็ตามจะรู้ได้อย่างไรว่า ผู้เรียนได้เรียนรู้ content เหล่านั้นครบถ้วน และมีความถูกต้องเหมาะสม จะรอถึงตอนสอบวัดผลหรือว่าเขาไม่รู้หรือรู้มาผิดๆ จำเป็นต้องมี่ชั่วโมงสรุปหรือไม่ ถ้ามีจะทำอย่างไร เพื่อแก้ปัญหาผู้เรียนไม่ค้นหา แต่จะมาคว้าเอาที่ชั่วโมงสรุป

Posted by ร่วมคิด() 2004-09-30 , 08:46:10 , 172.29.3.147


Posted by : ๖๖๖ , Date : 2004-10-06 , Time : 23:59:09 , From IP : 172.29.4.93

ความคิดเห็นที่ : 1


   เข้าใจว่าขั้นตอนที่ขาดหาย (พื้นฐาน)นี้เกิดจากตอนกำลังอ่านแล้วไม่เข้าใจใช่ไหมครับ?

"พื้นฐาน" นี้ค่อนข้างกว้าง และที่แน่ๆก็คือไม่น่าจะเหมือนกันในแต่ละคน ถามว่า basis เบื้องต้นสุดก็คงเป็นอ่านออกเขียนได้ อีกขั้นหนึงก็คือวิเคราะห์ได้สังเคราะห์ได้ แค่นี้ก็เพียงพอที่จะศึกษาเรื่องราวต่างๆได้เยอะมากแล้ว ทีนี้บางวิชามีความต้องการพื้นฐานจำเพาะ (pre-requisite) เช่น จะอ่าน Gross anatomy ให้รู้เรื่องเราต้องสะสมความจำของกลุ่มคำลาตินกรีกอังกฤษที่ไม่ค่อยใช้บ่อยในภาษาทั่วๆไปก่อน เช่น lateral medial anterior posterior ว่าไปถึงรากคำอวัยวะต่างๆ เช่น heart=cardiac liver=hepatic lung=pulmonary, etc, etc แต่การค้นหาคำตอบเมื่อเจออุปสรรคเหล่านี้ครั้งแรกๆทำอย่างไร? และนักศึกษาสามารถ "หา" คำตอบได้จากไหน?

คำถามที่น่าสนใจคือ
1) อย่างไรก็ตามจะรู้ได้อย่างไรว่า ผู้เรียนได้เรียนรู้ content เหล่านั้นครบถ้วน และมีความถูกต้องเหมาะสม และ
2) จำเป็นต้องมี่ชั่วโมงสรุปหรือไม่ ถ้ามีจะทำอย่างไร เพื่อแก้ปัญหาผู้เรียนไม่ค้นหา แต่จะมาคว้าเอาที่ชั่วโมงสรุป

ข้อหนึ่งนั่นต้องใช้วิธีการ "ประเมิน" แน่นอน การประเมินเกิดขึ้นได้ต่างกรรมต่างวาระและโดยหลายบุคคล คนแรกสุดที่จะบอกว่าเรา "จำได้แล้ว หรือเข้าใจแล้ว หรือรู้แล้ว" ก็คือผู้อ่านผู้ค้นคว้าเอง ซึ่งก็เป็นไปตาม levels of recognition ในกลุ่ม cognitive domain ในทำนองเดียวกันกับหมวดที่เป็น "ความชำนาญ" เราก็จะเริ่มจาก "เคยเห็น เคยช่วย เคยทำโดยมีคนคุม เคยทำเอง ในที่สุดก็เคยสอนเคยคุมคนอื่น" การประเมินระหว่างเรียนเรียกว่า formative evaluation นั้นสามารถทำโดยตัวนักศึกษาเองและโดยอาจารย์ สามารถทำโดย Informal (เช่นราวน์ๆอยู่ก็ถูกถาม ถูกขอให้แสดงความคิดเห็น หรือเพื่อนๆลอง challenge กันเอง) และ formal (เช่นมี session formative test) ความรู้นั้นยิ่งมีการ challenge หรือทดสอบว่ารู้จริงบ่อยแค่ไหนยิ่งดี ทีนี้ใครเป็นคนที่จะบอกได้ดีที่สุดว่าวันนี้ วันพรุ่งนี้เราน่าจะประเมินความรู้เรื่องอะไร? และแน่นอนที่สุดครับเมื่อสิ้นสุดแต่ละ block ก็จะมีการประเมินเป็นทางการแน่ๆ ถามว่าในระหกว่าง block นั้นพวกเราเคยถูก challenge ความรู้แต่ละส่วนอย่างไรบ้างและโดยใครบ้าง? มีการอภิปรายความรู้ที่เสาะแสวงหามาภายในกลุ่มหรือไม่?

สำหรับข้อสองปัญหานี้คือ outcome ของการเรียนที่การเตรียมตัวหย่อนจากที่ควรจะเป็น ซึ่งก็ตรงไปตรงมาครับก็คือจะทำให้ไม่สามารถรับได้เต็มที่ บางเรื่องควรจะอ่านและกรองมาสักคืนนึง แต่ต้องมาเก็บมาฟังย่อแค่ 10-15 นาที ผลกระทบอื่นๆคือยิ่งถ้าไม่ได้เตรียมในส่วนที่เราเองรับผิดชอบให้ดี และเราเป็นคนเดียวที่ได้รับ assigned ให้หาเรื่องนั้นมา กลุ่มก็อาจจะ suffer ไปด้วย นี่เป็นปัญหาความรับผิดชอบของปัจเจกบุคคล ทางแก้ก็คงจะเริ่มจากปัจเจกบุคคล ส่วนกลุ่มเองหลังจากรู้ปัญหานี้ก็สามารถมีวิธีแก้ได้หลายวิธีตามที่ที่ศิวิไลซ์เขาทำกัน เช่นเตือนเพื่อนว่าหย่อนความรับผิดชอบแล้วนา ไปจนถึงการแก้ไปพลางๆ เช่น assign เนื้อหาแต่ละเรื่องไม่แค่คนๆเดียว แต่ควรจะมีซักสองสามคนต่อหัวข้อจะได้มีการอภิปราย และอุดรู้รั่ว (ไม่ใช่พอมีหลายคนก็กเยงกันอีกก็เลเหมือนกัน) ปัญหาการไม่เตรียมตัวมาก่อนเกิดขึ้นได้ทุกระบบครับ แม้แต่ระบบ lecture เร่องบางเรื่องถ้าไม่อ่านมาก่อนก็จะ blur สุด และทำนองกลับกันเรื่องบางเรื่องถ้าอ่านมาแล้ว ไม่ต้องเข้าฟังบรรยายก็ยังได้ และเรื่องบางเรื่องอ่านมาแล้วเราเป้นคนติวคนสอนเองก็ยังได้



Posted by : Phoenix , Date : 2004-10-07 , Time : 07:01:43 , From IP : 203.156.61.251

ความคิดเห็นที่ : 2


   ขอขอบคุณที่คุณ ๖๖๖ นำความคิดเห็นนี้มาโพสต์อีกที ปัญหาที่โพสต์ไม่ได้อยู่ที่การเรียนการสอนที่มีผู้สอนเป็นผู้ที่รู้ content อย่างในขณะ bedside round แต่เป็นปัญหาที่นำเสนอเป็นปัญหาใน PBL ซึ่งทั้งผู้เรียน และ facilitator ไม่รู้ว่าที่กำลังนำเสนอนั้นถูกต้องไหม แล้วคะแนนที่ fa ให้จะมี validity หรือ เชื่อว่าใครก็ตามที่อยู่ในขบวนการนี้ จะต้องรู้ว่ามีเรื่องเช่นนี้เกิดขึ้น แล้วถ้าไม่มีใครเลยซักคนที่จะรู้ว่าความรู้ที่กำลังนำเสนอนั้นผิด
อะไรจะเกิดขึ้น ถ้าตอบผิดตอนสอบ หรือจำผิดๆไปใช้ ใครจะช่วยคิดวิธีปิดช่องโหว่นี้ เตรียม content ให้ facilitator อ่านหรือ.......................


Posted by : ร่วมคิด , Date : 2004-10-07 , Time : 08:42:40 , From IP : 172.29.3.147

ความคิดเห็นที่ : 3


   ดูเหมือนว่าพวกเราจะลืมไปแล้วว่าอายุเท่าไร การเรียนในมหาวิทยาลัยตั้งแต่ปีแรกจนถึงชั้นคลินิคก็ใช้เวลาหลายปี ไม่นานพอที่จะให้บรรดา "ว่าที่บันฑิต"เหล่านี้มีวุฒิภาวะมากพอที่จะหาความรู้ด้วยตนเอง และสรุปบทเรียนด้วยตนเองเชียวหรือ หรือจะต้องรอให้คนอื่นเขามา ป้อนความรู้, ย่อย และถ่ายกากให้ด้วย

Posted by : เศร้าใจจัง , Date : 2004-10-07 , Time : 11:06:21 , From IP : 172.29.3.94

ความคิดเห็นที่ : 4


   โจทย์เป็นเรื่อง "การอ่านที่ขาดพื้นฐาน" ไม่ได้พูดถึงการเรียนและการสอนซะด้วยซ้ำ ผมคิดว่าการนำเสนออาจจะต้อง fix ประเด็นหรือมีการ clarify ประเด็นมากกว่านี้อีกสักนิดนึง



Posted by : Phoenix , Date : 2004-10-07 , Time : 18:01:05 , From IP : 203.156.61.171

ความคิดเห็นที่ : 5


   ที่บ่นๆกันพอจะสรุปได้ว่าไม่อยากอ่านอยากให้คนมาอ่านให้ฟังหรือป้อนให้ทั้งหมด ก็พยายามโพสกันไปเรื่อยๆนะน่าสมเพชจัง

Posted by : aaa , Date : 2004-10-08 , Time : 00:53:42 , From IP : 203.113.76.12

ความคิดเห็นที่ : 6


   วิธีการอ่านหนังสือให้เข้าใจ ก็มีแต่ต้องพยายามล่ะครับ
อ่านเองไม่เข้าใจ ก็ต้องถามเพื่อน ไม่เข้าใจ ก็ถามอาจารย์
แล้วก็ประเมินความรู้ตัวเองซ้ำจากการอ่านซ้ำอีกครั้ง
(วิธีนี้สำหรับถ้าอ่านของคุณ Phoenix แล้วยังจนหนทางนะครับ)

ถ้าขาดพื้นฐาน ก็ต้องไปหาพื้นฐานมาใส่ล่ะครับ
ลัดขั้นตอนแล้วอาจจะพัง


Posted by : ArLim , Date : 2004-10-09 , Time : 02:50:27 , From IP : ppp-203.144.143.165.

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.004 seconds. <<<<<