ความคิดเห็นทั้งหมด : 5

---- จุฬา ----- ก็มีปัญหาเรื่อง SDL เหมือนกัน ! !!!!!


   SDL : Self-Directed Learning

ท่านอาจจะคงเคยได้ยินและรู้จักกับว่า Child-centered กันมาบ้างแล้ว ตอนนี้ก็เริ่มมีการใช้กันอย่างแพร่หลายกันมากในหลายระดับชั้นรวมไปถึงชั้นประถมแล้วตอนนี้ ปัญหาของทั้ง Child-centered กับ SDL ก็มีลักษณะคล้ายๆกัน(บางท่านก็บอกว่าคือคำเดียวกัน) ซึ่งผมจะอธิบายถึงลักษณะของ SDL(in ideal) and SDL(in real) ไปพร้อมๆกันดังต่อไปนี้

1. ผู้เรียน เรื่องนี้เป็นปัจจัยแรกที่เราควรที่จะใส่ใจ ที่ต่างประเทศทำได้เพราะที่นั่นผู้เรียนของเขามีความพร้อมในการใช้ระบบนี้ เช่น
a. สถานที่อยู่ ไม่ได้ไกลจากโรงเรียนกล่าวคือ ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางมาเรียนถึงวันหนึ่ง 2-3 ชั่วโมง การพักผ่อนก็ไม่เพียงพอ บางคนต้องปรับตัวเพื่อที่จะได้นอนในรถได้เพื่อพักผ่อนให้มากขึ้น จะได้ทบทวนบทเรียนได้มากขึ้น บางครั้งเพื่อที่ว่าจะได้เรียนในสถาบันที่มีชื่อเสียงถึงกับต้องมาอยู่หอพักห่างไกลความอบอุ่นจากครอบครัวตั้งแต่เยาว์วัย แต่ก็มีข้อดีที่ว่า ลดปัญหาเรื่องของการเดินทางและความอ่อนเพลียและค่าใช้จ่ายจากการเดินทางลดลงไป จะได้มีเวลาไปใช้สอยมากขึ้น แต่การที่มาอยู่หอพัก โอกาสที่จะเสียคนก็มากขึ้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความอบอุ่น สิ่งแวดล้อม คนดูแล ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เป็นเพราะค่านิยมของคนไทยที่จะส่งบุตรหลานเข้าเรียนในสถาบันที่มีชื่อเสียง เพราะคิดและเข้าใจ(ผิด)ว่าจะระบบการเรียนการสอนที่ดีกว่า ซึ่งก็จริงในระดับหนึ่งเพราะว่าสถาบันการศึกษาแต่ละที่ไม่ว่าจะระดับชั้นใดก็มีความเลื่อมล้ำกันอยู่ รัฐบาลยังไม่สามารถทำให้ทุกๆสถาบันคุณภาพ(แย่)เท่าเทียมกันได้

b. ใกล้แห่งค้นคว้า จะพบว่าทุกๆเมืองของเขาจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการศึกษาหาความรู้ไม่ว่าจะเป็นห้องสมุดสาธารณะ หรือห้องสมุดประจำเมือง ประจำรัฐ ที่ไม่ได้รวมถึงห้องสมุดของสถาบันการศึกษาต่างๆแต่อย่างใด ซึ่งมีระบบบริหารการจัดการอย่างคุณภาพ มีหนังสือรองรับอย่างเพียงพอ มากมาย มีระบบสารสนเทศที่ทันสมัยสืบค้นได้อย่างรวดเร็ว แต่ที่เมืองไทยนั้น นอกจากบ้านจะไกลแล้ว สิ่งช่วยเหลือทางด้านนี้ก็ไม่ได้มีให้แต่อย่างใด ห้องสมุดคุณภาพ ก็ไม่ค่อยมี ห้องสมุดธรรมดาก็หายากอยู่ไกล จำเป็นต้องเดินทางมาหาข้อมูลที่โรงเรียน ซึ่งก็ยังไม่มีความพร้อมอีก ไว้ค่อยพิจารณาเรื่องนี้อีกทีหลัง


c. ลักษณะนิสัย ไม่ได้หมายความว่าเขานิสัยดีกว่าแต่อย่างใด แต่หมายความว่าการเลี้ยงดู สิ่งแวดล้อมสังคมต่างหล่อหลอมมาให้พวกเขามีวิญญาณแห่งนักสงสัยเพื่อแสวงหาคำตอบ ประกอบกับการเรียนการสอนแบบนี้ได้เขาไปเป็นส่วนหนึ่งของพวกเขาอย่างเคยชิน เพราะว่าเขาก็ได้รับการเรียนแบบนี้มาตั้งแต่สมัยเป็นเด็กๆแล้ว ซึ่งในเรื่องของสังคมการหล่อหลอมนั้น เป็นเรื่องที่เมืองไทยยากที่จะเปลี่ยนเป็นเช่นนั้นได้ ดังจะเห็นได้จากการที่เด็กไทยจะไม่ค่อยกล้าแสดงความคิดเห็น หากเด็กคนใดกล้าแสดงความคิดเห็น ผู้ใหญ่ไทยก็กลับไม่กล้าที่จะยอมรับ รับฟังความคิดเห็นไม่ว่าจะดี(ซึ่งควรสนับสนุน) หรือไม่ดี(ซึ่งก็ควรสนับสนุนให้คิดที่ดีมากขึ้น เพราะเขากล้าอยู่แล้ว) แม้ปัจจุบันผู้ใหญ่หลายท่านก็ได้บอกว่าท่านใจกว้างพอ แต่แท้จริงแล้วลึกๆก็ยังไม่ 100% อยู่ดี เด็กคนใดโต้แย้งท่านมากๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ทรงความรู้ต่างๆ ท่านผู้ที่มี ego อยู่ในตัวเองสูงๆ ก็จะไม่ยอมรับฟัง และจะมองไปว่าเด็กคนนั้นก้าวร้าว ไม่มีสัมมาคารวะไปในทันที ส่วนในเรื่องระบบการเรียนนั้นปัจจุบันก็ได้มีการริเริ่มใช้ระบบนี้ในการเรียนการสอนของชั้นประถมอนุบาลบ้างแล้ว ก็นับว่าเป็นสิ่งที่ดีน่าสนับสนุนให้เริ่มใช้กันอย่างถูกต้อง

2. ผู้สอน ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน กล่าวคือ
a. ความรู้ ผู้สอนหรือผู้ควบคุมดูแลควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่ผู้เรียนกำลังเรียนรู้เป็นอย่างดี ควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจิตวิทยาการศึกษาพื้นฐาน และมีความรู้อย่างเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนการสอนทั้ง แบบปกติ และ SDL แต่ปัจจุบันในบางครั้ง ผู้ที่มาดูแล กลับไม่ได้มีความรู้ในเรื่องที่จะให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียนแต่อย่างใด มานั่งเป็น Observer ตามคำสั่งที่ตนได้รับมอบหมายมา ก็เพียงเท่านั้น บางครั้งมีผู้เรียนถามคำถามที่เกี่ยวเนื่องในวิชาเรียนก็ไม่สามารถตอบได้ เพราะว่าตนเองเพียงแค่มาคุม ไม่ได้เชี่ยวชาญทางนี้ ส่วนบางคนก็ไม่ได้มีความรู้เรื่องจิตวิทยาการศึกษาแต่อย่างใด ส่วนใหญ่ก็มักจะไม่เข้าใจวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบ SDL อย่างแท้จริง (จะกล่าวในทีหลัง)

..........

จากคุณ: จาก ไผ่สิงโต วัน / เวลา: [13 ก.ย. 2547 / 15:51:12
http://cumic.md.chula.ac.th/


Posted by : oPP , Date : 2004-10-06 , Time : 22:05:30 , From IP : 172.29.4.93

ความคิดเห็นที่ : 1


   ผู้สอนไม่ได้ทำการ wrap up ให้แก่ผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนมักไม่ได้องค์ความรู้ครบถ้วน ตามที่ควรจะได้ เนื่องด้วยปัจจัยต่างๆที่ได้กล่าวไปแล้ว คุณภาพของนักเรียนที่ควรจะดีขึ้นจากการเรียนแบบ SDL กลับลดลง แล้วทำให้มีผู้เรียนรู้สึกว่าไม่ได้อะไรจากการเรียนแบบนี้ ทำให้ผู้เรียนไม่ชอบและไม่กระตือรือร้นที่จะค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองอีกเลย

ผู้เรียน ส่วนมากนักเรียนไทยจะไม่เคยชินต่อการเรียนการสอนแบบ SDL เมื่อมีการเรียนแบบนี้จึงต้องปรับตัวกันพอสมควร การแบ่งงานเป็นกลุ่มทำให้มีคนที่อู้งานไม่ทำการค้นคว้าหรือช่วยเหลืองานอยู่จำนวนหนึ่ง ส่วนคนที่ทำงานก็หน้าเดิมๆ เมื่อมีโอกาสเปิดให้ผู้เรียนซักถามในห้องเรียนใหญ่ เนื่องด้วยความเคยชินทั่วไป จึงไม่กล้าที่จะถามออกมาตรงๆ บางคนพอมีเวลาให้ศึกษามากขึ้นก็ไม่สนใจที่จะหาข้อมูลเพิ่มเติม นำไปใช้ไร้สาระอย่างอื่นแทน ประกอบกับปัญหาต่างๆข้างต้นทำให้ การเรียนแบบนี้ไม่มีประสิทธิภาพ



Posted by : oPP , Date : 2004-10-06 , Time : 22:06:44 , From IP : 172.29.4.93

ความคิดเห็นที่ : 2


   ถึงตอนนี้บางคนอาจจะสงสัยว่าต้องแปลว่าเราจะต้องรวยก่อน หรือมีระบบอำนวยความสะดวกพร้อมสรรพก่อนแล้วค่อยใช้วิธีการเรียนการสอนแบบนี้หรืออย่างไร จริงๆแล้วไม่ใช่ เพราะว่าหากเรายังไม่พร้อมสำหรับการเรียนการสอนแบบนี้ เราก็ควรเริ่มที่จะมีอย่างค่อยเป็นค่อยไป พร้อมๆกับการเตรียมความพร้อมในด้านอื่นๆ ไม่ใช่เป็นในลักษณะก้าวกระโดดหรือไม่สมดุลกัน ดังเช่นตัวอย่างข้างต้น ประกอบกันกับ การเรียนการสอนในเมืองไทยไม่ว่าสาขาวิชาใดก็ตาม มักจะมีเนื้อหามากเกินความจำเป็น ทำให้การเรียนจึงจำเป็นต้องเร่งรัดเวลาในการศึกษาด้วยตนเองก็ลดลง กลับมา lecture แบบ Passive (Chalk and Talk or PPT and Talk) กันอย่างเดียว จึงควรพัฒนาเนื้อหาหลักสูตรควบคู่ไปด้วย

ประกอบกับเมืองไทยยังไม่ได้ให้ความสนใจกับการพัฒนาการศึกษาอย่างจริงจังและถูกต้อง งบประมาณมหาศาลไม่ได้ถูกจัดสรรมาใช้อย่างถูกจุด การคอรัปชั่นมากมายทำให้เงินไม่ถึงสถานศึกษาอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ระบบราชการและบริหารงานที่ล่าช้าทำให้กว่าจะอนุมัติอะไรสักอย่างเกิดขึ้นอย่างไม่ทันความเปลี่ยนแปลงของโลกบุคลากรก็ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ Technology ใหม่ๆ ทำให้ไม่สามารถใช้สิ่งเหล่านั้นได้อย่างถูกวิธี


ผมก็ขอจบแต่เพียงเท่านี้ละกันครับ ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ตั้งใจอ่าน และอ่านจนจบ ผมไม่ได้มีเจตนาที่จะต่อว่าเพื่อความสะใจของผมหรือของใครแต่อย่างใด แต่ผมรักประเทศไทยของเราครับ และผมก็อยากที่จะให้ประเทศของเราพัฒนาไปในทางที่ถูกต้อง ก็เท่านั้นเอง ขอบคุณอีกครั้งครับ

มาช่วยกันพัฒนาการศึกษาของเรากันเถอะ



Posted by : oPP , Date : 2004-10-06 , Time : 22:07:37 , From IP : 172.29.4.93

ความคิดเห็นที่ : 3


    ดีจัง ... เปิดโลกทัศน์ได้เยอะมาก ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย !!!

Posted by : FON , Date : 2004-10-07 , Time : 01:05:18 , From IP : 172.29.4.221

ความคิดเห็นที่ : 4


   ผมเข้าใจว่าบทความข้างบนเป็น analytical self opinion ซึ่งถูกต้องครับสามารถเปิดโลกทัศน์ได้ดี พวกเราทุกคนน่าจะลองได้ทำกันบ่อยๆ แต่เป็น "ความจริง" แค่ไหน ครอบคลุมใช้ได้กับทุกนหรือบางคนนั้น มี "บริบท" มาเกี่ยวข้องด้วยใช่ไหมครับ?



Posted by : Phoenix , Date : 2004-10-07 , Time : 07:05:15 , From IP : 203.156.61.251

ความคิดเห็นที่ : 5


   จุฬา สุดยอด กว่า มอ. เยอะครับ

Posted by : เด็กจุฬา , Date : 2004-10-16 , Time : 17:44:35 , From IP : 203.150.217.120

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.003 seconds. <<<<<