ความคิดเห็นทั้งหมด : 10

ขึ้น ชั้นคลีนิก แล้ว ก็ยังต้อง SDL ทักษะการตรวจร่างกาย อย่างถูกๆผิดๆอยู่อีกหรือ แล้วอย่างนี้เราจะจบออกไปเป็นหมอแบบไหนกัน.....


   ขึ้นชั้นคลีนิกแล้ว ก็ยังต้อง SDL ทักษะการตรวจร่างกาย อย่างถูกๆผิดๆอยู่อีกหรือ

แล้วอย่างนี้เราจะจบออกไปเป็นหมอแบบไหนกัน.....

แล้วพวกพี่ๆ ปี 5 ปี 6 รู้สึกยังงัย กับวิธีการเรียนแบบนี้

มีปัญหาในการเรียนอะไรบ้างหรือเปล่า

อยากรู้ไว้จะได้เตรียมตัวเตรียมใจไว้แต่เนิ่นๆ


Posted by : mena , Date : 2004-10-05 , Time : 21:35:36 , From IP : 172.29.4.93

ความคิดเห็นที่ : 1


   ผมว่าปัญหาการเรียน หรือปัญหาอื่น ๆ มันเป็น multifactor ผมเห็นการ post ลงใน webbooard แล้ว รู้สึกเป็นห่วง
สำหรับผม ผมคิดว่า มันมี 2 factors
1 external factor ได้แก่ รุ่นพี่ อาจารย์ ระบบ SDL ที่น้องๆ กล่าวถึง
2 internal factor ได้แก่ ตัวของเราเอง
เมื่อมอง 2 factor ดังข้างต้นจะเห็นได้ว่า internal factor เราสามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่แก้ไขได้ง่ายที่สุด หากเราลงมือปฏิบัติ
ผมจำได้ว่า ตอนที่ผมขึ้นศัลย์ ผมได้ รับคนไข้ที่มี breast mass ผมไปตรวจร่างกายคุณป้าครั้งแรก ผมงงมาก มัน คือ mass ใช่ครับ แต่นอกจากนั้น ผมไม่รู้ว่าต้องได้อะไรมากกว่านี้
หลังจากที่ round ผ่านไปตอนเช้า ผมก็ได้ทราบว่า เราต้อง บรรยาย location shape size consistency border movable tender lymph node แล้วผมก็กลับไปตรวจร่างกายใหม่ ผลปรากฏว่า ผมตรวจได้ไม่ครบตามที่ต้องการ ผมกลับมานั่งคิดดูว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับผม แค่เพียงคลำก้อนทำไมมันยุ่งยากอย่างนี้ ผมก็พบว่า ตนเองยังไม่รู้เลยว่า breast mass คืออะไร มันมีความสำคัญอย่างไร ทำไมเราต้องพยายามบรรยายสิ่งที่เราคลำได้ตั้งมากมาย ผมกลับไปอ่าน approach to breast mass and lymphatic drainage วันรุ่งขึ้นผมเดินขึ้น ward จะไปตรวจร่างกายใหม่ โดยตอนนี้ ผมมีความรู้อยู่ในหัวผมแล้ว แล้วตั้งเป้าหมายว่า ผมจะไป ตรวจ breast mass เพื่อให้ทราบว่า มันน่าจะเป็น benign or malignant หลังจากการตรวจร่างกาย แล้ว สิ่งที่ผมไม่แน่ใจผมก็จะถามรุ่นพี่ เช่น ผมไม่แน่ใจว่า consistency ที่ผมคลำได้ มันเป็น firm or cystic หากพี่ยืนยันว่าเป็น firm ผมก็จะพยายามจำความรู้สึก firm ๆ นั้นไว้ แล้วโอกาสหน้าก็จะพยายามหา case ที่มัน ไม่ใช่ firm consistency แล้วเก็บความรู้สักเดิม ๆ เอามาเปรียบเทียบกัน ผมก็รู้สึกตัวว่า ผมมีความก้าวหน้าอีกขั้นหนึ่งในการตรวจร่างกายที่เกี่ยวกับ mass เห็นไหมครับ มันไม่ยากเลย สิ่งที่ผมกล่าวมาข้างต้นผมพยายามแก้ไข ที่ internal factorเป็นหลัก โดยมี external factor เข้ามาเกี่ยวข้องในส่วนน้อย


Posted by : Ray , Date : 2004-10-05 , Time : 23:01:27 , From IP : 172.29.4.189

ความคิดเห็นที่ : 2


   จริงๆแล้วคงไม่เพียงแต่ขึ้นชั้นคลินิกหรอกนะครับ ที่เราอยากได้ (และคิดว่าประชาชนอยากได้) คือหมอที่ยังทำ SDL อยู่แม้กระทั่งจบออกมาแล้ว หมอแบบนี้ล่ะครับที่จะจบออกมา




Posted by : Phoenix , Date : 2004-10-06 , Time : 00:33:59 , From IP : 203.156.40.254

ความคิดเห็นที่ : 3


    แล้วมันต้องใช้เวลานานมากไหมอะ กว่าจะรู้แบบพี่...อย่าลืมว่าแต่ละคน get อะไรได้ไม่เหมือนกันนะ ความสนใจก็ต่างกัน ถ้าจะมาปรับที่ external บ้าง จะทำไม่ได้เลยหรือ ขอย้ำ...ทำไม่ได้เลยใช่ไหม อะไรๆก็ internal อย่างเดียว ไม่มากไปหน่อยเหรอครับพี่ อย่างนี้จะเสียค่าเรียนแพงๆมาทำไม ไปเรียนสุโขทัยธรรมาธิราชดีกว่าไหมครับ พี่ชาย

Posted by : Born to be , Date : 2004-10-06 , Time : 00:46:34 , From IP : 172.29.4.221

ความคิดเห็นที่ : 4


   ระบบ SDL นี้ ก็คงต้องการให้นศพ.เรียนกึ่งๆสุโขทัยธรรมาธิราชแล้วล่ะครับ
ผิดแต่ว่า เรามีอาจารย์ มีรุ่นพี่ คอยดูแล คอยเป็นที่ปรึกษาเวลาที่เราต้องการได้

ถ้าใครคิดว่า internal ของตนเองมีปัญหา คงต้องปรึกษาเพื่อน รุ่นพี่ หรืออาจารย์สักหน่อยดีไหมครับ


ตอนนี้ตัวผมเองก็กำลัง modify ตัวเองอยู่ครับ
มันยากจริงๆ แต่เพื่ออนาคตครับ


Posted by : ArLim , Date : 2004-10-06 , Time : 00:56:46 , From IP : ppp-203.144.143.166.

ความคิดเห็นที่ : 5


   เห็นด้วยกับคุณ Ray ทุกประการ

External factors ก็มีส่วนสำคัญ แต่ internal factors ต่างหากที่ทำให้เราฝึกทักษะทางคลินิกได้ดีกว่า การได้เห็นของจริง ได้ฝึกตรวจกับคนไข้จริง ทำให้จดจำไปได้นานกว่าท่องจำมาจากตำรา การหัดคลำก้อน หัดฟังเสียงหัวใจ เสียงการหายใจ การเรียนรู้ทุกอย่างในปัจจุบัน เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต ถึงจบพบ.แล้วก็ต้องฝึก ต้องเพิ่มพูนทักษะอะไรอีกหลายอย่าง แม้กระทั่ง resident หรืออาจารย์เอง ไม่มีใครเก่งได้ถ้าไม่ฝึกฝน ไม่อดทนที่จะเรียนรู้ ยิ่งได้มีโอกาสเห็นคนไข้มาก ได้ฝึกมาก ก็จะเรียนรู้มากขึ้น ตัวเองก็จะพัฒนาขึ้น ตย.น้อง intern ที่เป็น PBL เต็มระบบของม.อ.รุ่นแรกตอนนี้ มีหลายคนที่เก่งมากทั้งความรู้และทักษะทางคลินิก ขยันทำงาน ขยันดูคนไข้ดีมาก นศพ.ควรดูไว้เป็นตย.

นศพ.ที่เรียนมาแบบระบบเก่า ตอนขึ้น ward ใหม่ ๆ ก็มีปัญหาในการซักประวัติและตรวจร่างกายเหมือนกัน วิธีแก้ อยู่ที่กลับไปอ่านหนังสือใหม่แบบที่คุณ Ray ว่า กลับมาหัดตรวจคนไข้ใหม่ ถามรุ่นพี่หรืออาจารย์ให้ช่วยสอน ช่วยทำให้ดู แล้วเรียนรู้เทคนิคต่าง ๆ กลับมาคิด แก้ปัญหา แก้ข้อบกพร่องของเรา แล้วกลับไปเรียนจากคนไข้ใหม่ ข้อดีของคนไข้ไทย คือ คนไข้ไม่ค่อยปฏิเสธนศพ.และให้ความร่วมมือดี แม้จะถูกซักประวัติและตรวจร่างกายหลายครั้ง

การเรียนแพทย์เป็นงานที่หนักและต้องปรับตัวอยู่ตลอด ต้องใช้ความอดทนสูง โดยเฉพาะการเรียนชั้นคลินิก รวมทั้งจบออกมาทำงานแล้วก็ตาม


Posted by : อาจารย์ม.อ. , Date : 2004-10-06 , Time : 02:12:22 , From IP : 172.29.7.24

ความคิดเห็นที่ : 6


   ตอนอยู่ปี 2 ปี3 เขาระดมกันมาจัดสอนนศพ.ซักประวัติ-ตรวจร่างกาย ระดมอาจารย์กันมาเพียบ มีกี่คนที่ศึกษาคู่มือมาและฝึกซ้อม จ้างคนมาเป็นผู้ป่วยจำลองก็มี แล้วพอขึ้นคลินิคจะมาบ่นได้ไง ก่อนดูคนไข้ ซักประวัติเขา ตรวจร่างกายเขา เตรียมตัวมาบ้างหรือเปล่า อ่านหนังสือมาบ้างหรือเปล่า ไปดูบ้างไหมว่าในห้องสมุดมีหนังสือที่มีภาพประกอบแนะนำการตรวจร่างกายกี่เล่ม มีกี่คนทำ บางคนไม่ทำแต่เขารับสภาพตนเองดีว่า เป็นจากที่การสั่งสมที่ไม่รอบรอบสมบูรณ์ในชั้นปี 2-3 แต่บางคนไม่ทำ ไม่ศึกษา ไม่เตรียมตัว ไม่แสวงหา แล้วคอยแต่โวยวาย แม้มีคนมาคอยสอนข้างตัว พวกนี้ก็ยังโวยวายอยู่อีกนั่นแหละ

โตเสียที


Posted by : เฮ้อ , Date : 2004-10-06 , Time : 07:37:46 , From IP : 172.29.3.115

ความคิดเห็นที่ : 7


   "จริงๆแล้วคงไม่เพียงแต่ขึ้นชั้นคลินิกหรอกนะครับ ที่เราอยากได้ (และคิดว่าประชาชนอยากได้) คือหมอที่ยังทำ SDL อยู่แม้กระทั่งจบออกมาแล้ว หมอแบบนี้ล่ะครับที่จะจบออกมา "

จริงหรือครับ อาจารย์ เห็นคนไข้ส่วนใหญ่ทำหน้าอีหลักอีเหลือกเหลือเกินเวลาผมจำ Dose ยาเด็กไม่ได้แล้ว ขออนุญาตเปิดหนังสือ ทั้งๆที่ทำเพื่อความชัวร์จะได้ไม่ Tx มั่วๆ ไป คนไข้ส่วนใหญ่เขาคาดหวังให้หมอเก่งมาเลยนะครับ ไม่ใช่เรียนเหมือนไม่จบ


Posted by : เฮ้ย , Date : 2004-10-06 , Time : 12:43:06 , From IP : 203.113.70.76

ความคิดเห็นที่ : 8


   อาจจะมีการเข้าใจคลาดเคลื่อนรหว่างการมี clinical competence และสามารถศึกษาค้นคว้าต่อเนื่องได้นะครับ

การที่หมอทำ sdl เพราะว่าความรู้ในอนาคตนั้นมันมากมายกว้างขวางนัก ของที่ถูกตอนนี้ในอนาคตอาจจะเป็นของที่ไม่ดีที่สุดก็เป็นไปได้ เช่น penicillin ในปัจจุบันก็เลย phase breakthrough มาได้หลายสิบปีแล้ว จะต่างจากกรณีที่หมอขาดความมั่นใจใน basic clinical competence

SDL ไม่ได้เป็นข้ออ้างของการไม่มี basic clinical competency แต่เป็นความชำนาญเบื้องต้นอย่างเดียวที่จะเป็นหลักประกันว่าเราสามารถที่จะขวนขวายหาสิ่งที่ดีที่สุดเท่าที่ข้อมูลอำนวยมาให้แก้ผ้ป่วยของเรา โดยส่วนตัวของผมคิดว่าการที่หมอจะเปิดตำราหรือคู่มือเพื่อตรวจสอบตัวเลขในการสั่งการรักษานั้น ไม่ใช่เรื่องน่าละอาย และความเป็นจริงก็คือเราทำไปโดยไม่มั่วหรือแสร้งทำเป็นรู้หมดทุกอย่าง เรื่องความม่นใจในตนเองใส่งที่เรากระทำคงจะขึ้นอยู่กับมโนสำนึกของเรากระมังครับว่า ถ้าสิ่งที่เราทำนั้นเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วย ไม่ใช่เพื่อรักษาฟอร์มหมอ คนไข้แต่ละคนจะคิดอย่างไรก็คงไม่สำคัญเท่า

แต่คงจะต่างกันนิดหน่อยกับการที่คนไข้เห็นหมอหมุนหูฟังอยู่สี่ห้ารอบเพราะไม่รู้ว่าจะใส่ด้านไหน (สมัยก่อน หนังไทยน้อยเรื่องมากที่จะใส่หูฟังถูกด้าน) นิยามของหมอเก่งของคนไข้นั้นแปรไปตามแต่ละคน แต่เราใช้มาตรฐานของสถาบันวิชาชีพของเราวัดว่าอะไรคืออะไร



Posted by : Phoenix , Date : 2004-10-06 , Time : 16:46:22 , From IP : 172.29.1.188

ความคิดเห็นที่ : 9


   ความไม่รู้นั้นจะไม่น่ากลัว ถ้าเราตระหนักรู้ว่าในขณะนั้นเราไม่รู้อยู่และไม่อยากมั่วเพราะมันจะทำร้ายคนไข้
สิ่งที่เราควรจะต้องฝึกเพิ่มนอกเหนือจากความรู้นั่นอาจต้องเป็น ศิลปะในการทำอย่างไรให้เราสามารถหาข้อมูลconfrimความรู้ที่มันไม่แน่ใจของตนเองโดยที่ไม่ให้มันน่าเกลียดเกินไปนักในสายตาผู้ป่วย จะได้ไม่เสื่อมศรัทธาในตัวเราเสียก่อน เคยเห็นเพื่อนๆ.. รุ่นพี่ ...นั้นใช้หลายวิธีมากเลย ก็ตัวอย่างเช่น ขอไปเข้าห้องน้ำ ขอไปโทรศัพท์ แอบถามเพื่อนห้องข้างๆที่กำลังตรวจอยู่ ทำประมาณว่าเม้ากัน แกล้งทำเป็นเปิดหนังสือเปิดไปเปิดมา แบบสมัยก่อนก็ทำเป็นเหมือนเปิดTIMSหน่ะ แล้วก็อ้างกับคนไข้ว่าไม่แน่ใจว่ายาตัวที่จะสั่งให้นี้ยังมีอยู่ในห้องยาอีกไหม หรือแอบโทรบอกเพื่อนๆให้อ่านหาข้อมูลไปพลาง แล้วโทรกลับมาบอก คือเล่นกันแบบteam workหน่ะ......อีกมากมาย ที่เราต้องหาให้เหมาะกับตัวเรา
แต่สิ่งสำคัญที่สุดนอกเหนือจาก การตระหนักรู้ว่าไม่รู้แล้วก็คือ การพยายามอย่าให้ความไม่รู้นั้นเกิดซ้ำซาก เราต้องพัฒนาความไม่รู้นั้นให้ลดน้อยลงไปเรื่อยๆ ด้วยการเห็นให้มาก ทำให้มากจนชำนาญ นั่นแหล่ะคงดีสุดจ้า


Posted by : pisces , Date : 2004-10-06 , Time : 20:35:59 , From IP : 172.29.7.205

ความคิดเห็นที่ : 10


   การเรียนในหลักสูตรเก่านั้น แม้รูปแบบและเวลาที่สอนจะต่างกัน นศพ.ก็ยังจะไม่สามารถตรวจร่างกายได้ถูกต้องทันที สิ่งที่ต้องทำคือ ต้องเรียนรู้ด้วยตัวเองจาก manual ต่างๆ แล้วจับคู่ฝึกตรวจกันเอง เรียนรู้จากพี่ๆ รบกวนให้ตรวจให้ดู และสังเกตจากการตรวจของอาจารย์ รวมทั้งเรียนรู้จากผู้ป่วยที่เรารับ การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การสั่งสมประสบการณ์ที่ถูกต้องในที่สุดเราก็จะตรวจได้ดี อย่างมีศิลป

Posted by : ศิษย์เก่า , Date : 2004-10-07 , Time : 08:53:18 , From IP : 172.29.3.147

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.004 seconds. <<<<<