ความคิดเห็นทั้งหมด : 5

การรับนักเรียนเข้ามหาวิทยาลัยปี 2549


   นิด้า ๒๗ เม.ย.
-ที่ประชุม ทปอ.มีมติใช้ผลการเรียนร้อยละ ๕๐ บวกคะแนนสอบคัดเลือกร้อยละ ๕๐ เป็นเกณฑ์รับนักเรียนเข้ามหาวิทยาลัยปี ๒๕๔๙ ยึดหลักการทดสอบไม่ทำซ้ำในนักเรียนที่ผ่านการทดสอบมาแล้วและทดสอบสาขาละไม่เกิน ๓ วิชา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังการประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย หรือ ทปอ.ที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า)โดยใช้เวลากว่า ๕ ชั่วโมง นายธัชชัย สุมิตร อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะประธานที่ประชุม กล่าวว่า ที่ประชุมพิจารณาวาระการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ได้ข้อสรุปว่าการคัดเลือกนักเรียนในระดับอุดมศึกษาเข้าศึกษาในปี ๒๕๔๙ จะใช้องค์ประกอบ ๒ อย่างพิจารณา คือ
1. ผลการเรียนร้อยละ ๕๐ ในทุกสาขาวิชา แบ่งเป็น GPA และ PR ร้อยละ ๕
2. และผลการทดสอบร้อยละ ๔๐
นอกจากนี้ใช้คะแนนสอบเพิ่มเติมร้อยละ ๕๐ แบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ1. ทดสอบในวิชาที่ต้องการทักษะเป็นพิเศษ เช่น ภาษาต่างประเทศ
2. ทดสอบศักยภาพและความถนัด เช่น สถาปัตย์และ
3. ทดสอบการปฏิบัติ เช่น ศิลปกรรมศาสตร์
โดยยึดหลักว่าการทดสอบจะไม่ทำซ้ำสำหรับนักเรียนที่ผ่านการทดสอบในวิชานั้นๆ มาแล้ว และทดสอบให้น้อยที่สุด คือสาขาละไม่เกิน ๓ วิชา อย่างไรก็ตามการคัดเลือกโดยองค์ประกอบดังกล่าวผ่านการศึกษาจากคน ๓๐๐,๐๐๐ คน เน้นให้โอกาสทัดเทียมกันตามความสามารถของบุคคล
“เป็นช่วงเปลี่ยนจากระบบเดิมไปสู่ระบบใหม่ ต้องลงลึกในหลักสูตรและการโรงเรียนเป็นประโยชน์กับนักเรียนมากที่สุด โดยเน้นผู้เรียนเป็นหลักการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อจึงต้องอำนวยกับตัวนักเรียนเป็นสำคัญ” นายธัชชัย กล่าวและว่า ขณะนี้มหาวิทยาลัยของรัฐมีขีดความสามารรับนักเรียนได้เพียงร้อยละ ๒๐ ของนักเรียนในระดับอุดมศึกษาทั้งหมด เนื่องจากติดขัดในเรื่องของสถานที่และปัญหาอื่น ๆ” นายธัชชัย กล่าว


Posted by : 00 , Date : 2003-04-27 , Time : 17:41:43 , From IP : 203.113.76.71

ความคิดเห็นที่ : 1


   ขอบคุณนะคะ
แต่ขอละเอียดกว่านี้ได้ไม๊คะ


Posted by : สาวน้อยร้อยชั่ง , Date : 2003-04-27 , Time : 19:03:50 , From IP : 203.113.71.169

ความคิดเห็นที่ : 2


   ปัญหาอยู่ที่ว่าร้อยละ 50 แรก ที่โรงเรียนทำอย่างไร ถ้าแต่ละโรงเรียนไม่มีความ
เ่ท่าเทียมกัน ผลย่อมขาดความน่าเชื่อถือ ถ้าจะให้ดีก็ต้องย้อนกลับไปใช้ข้อสอบ
กลางทั่วประเทศอีก


Posted by : คนช่างคิด , Date : 2003-04-28 , Time : 10:11:54 , From IP : 172.29.3.131

ความคิดเห็นที่ : 3


   และผลการทดสอบร้อยละ ๔๐
นอกจากนี้ใช้คะแนนสอบเพิ่มเติมร้อยละ ๕๐ แบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ1. ทดสอบในวิชาที่ต้องการทักษะเป็นพิเศษ เช่น ภาษาต่างประเทศ
2. ทดสอบศักยภาพและความถนัด เช่น สถาปัตย์และ
3. ทดสอบการปฏิบัติ เช่น ศิลปกรรมศาสตร์
โดยยึดหลักว่าการทดสอบจะไม่ทำซ้ำสำหรับนักเรียนที่ผ่านการทดสอบในวิชานั้นๆ มาแล้ว และทดสอบให้น้อยที่สุด คือสาขาละไม่เกิน ๓ วิชา---->

ถ้าเป็นคณะแพทย์ การคัดเลือกและวิธีทดสอบในขั้นตอนนี้ จะมีวิธีการยังไงคะ
อยากทราบมากค่ะ เพราะมีน้องและรุ่นน้องอีกหลายคน ที่อยากรู้เหมือนกันค่ะ


Posted by : สาวน้อยร้อยชั่ง , Date : 2003-04-28 , Time : 14:02:42 , From IP : 203.113.71.169

ความคิดเห็นที่ : 4


   ขอแสดงความคิดเห็นส่วนตัวดังนี้
คิดว่าถ้าเป็นคณะแพทย์สิ่งสำคัญก็คือการสื่อสาร ดังนั้นน่าจะมีการวัดทักษะในการสื่อสาร การสอบสัมภาษณ์เป็นวิธีหนึ่ง ในการคัดเลือก นอกเหนือจากภาษาอังกฤษ ซึ่งจำเป็นในการศึกษาอ่านตำราภาษาอังกฤษ
วัดการใช้เหตุผล นักศึกษาแพทย์ต้องรู้จักใช้เหตุผลและเหตุผลต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ถูกต้อง และมีคุณธรรม
วิชาชีววิทยา เคมี ไม่ได้เป็นตัวที่จะบอกว่านักศึกษาแพทย์จะมีสัมฤทธิผลของการเรียน น่าจะเป็นฟิสิคส์ และคณิตศาสตร์ มากกว่าเพราะเป็นเรื่องของการใช้เหตุผล


Posted by : นศพ.ปี 5 , Date : 2003-04-29 , Time : 00:16:35 , From IP : 203.113.76.71

ความคิดเห็นที่ : 5


   มีวิชาที่ไม่ใช้เหตุและผลด้วยหรือครับ?



Posted by : Phoenix , Date : 2003-04-29 , Time : 00:45:58 , From IP : 203.155.144.35

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.006 seconds. <<<<<