ความคิดเห็นทั้งหมด : 4

สหกรณืออมทรัพย์อีกครั้ง


   เนื่องจากพอทราบข้มมูลเพิ่มเติมจากคนนอกว่าการตั้งสหกรณ์บริการ ต้องมีกม.หรืทบบัญญัติของการสหกรณ์ อะไรทำนองนั้นมาควบคุม อีกอย่างการลงทุนในแง่อสังหาริมทรัพย์ของสหกร์ออมทรัพย์ก็ต้องมีกม.หรือต้องแจ้งกับสมาชิกให้ชัดเจน คงไม่ใช่เอาแค่ความเห็นจากตัวแทนแล้วมาสรุป เกิดการขาดทุน ใครจะรับผิดชอบ หรือยอมรับว่าสมาชิกทุกคนต้องยอมรับ จึงอยากฟังเสียงสมาชิกอื่นๆที่มีความรู้เรื่องหสกรณ์จริงมาให้ข้อมูลบ้าง


เห็นตอนนี้มีการตั้งบริษัทสหกรณ์จัดการหรืออะไรทำนองนี้ เพื่อระดมทุนมาทำการลงทุน เช่นก่อสร้างหอพัก ฯลฯ ซึ่งเราไม่เคยเห็นการแจ้งจากสหกรณืถึงสมาชิก แต่ฟังๆจากคนที่มาหาสมาชิกให้การระดมทุนดังกล่าวแล้ว เขาบอกว่าไม่เกี่ยวกับสหกรณ์จำกัดที่มีเงินค่าหุ้นของสมาชิกอยู่แล้ว อันนี้เป็นคล้ายๆบริษัทต่างหากมาหาทุนไปทำธุรกิจ ถ้าได้ สมาชิกกลุ่มนั้นก็ได้ผลประโยชน์ ส่วนสมาชิกสหกรณ์ไม่เกี่ยว

ดูๆไปเหมือนกับวงแชร์ ระดมทุนจำนวนมาก ทุกคนเห็นแต่ผลที่จะได้ ที่เราคิดว่าไม่ถูกคือ การที่ผู้บริหารบริษัทระดมทุนที่ว่า เป็นผู้บริหารสหกรณ์ เหมือนกับเอาชื่อสหกรณืมาอ้างประมาณนั้น และบรรดาคนที่มาหาทุนก็ลืมคิดถึง วงแชร์ต่างๆที่ได้เงินไปจำนวนมากแล้วล้มแชร์....อยากเตือนนะ....และถ้าใครมีข้อมูลที่ชัดเจน เอามาแลกเปลี่ยนกันบ้างคงดี ที่สำคัยเราไม่แน่ใจว่าไม่ได้เอาทุนจากค่าหุ้นสมาชิกและเงินฝากไปหมุน มันจะเสี่ยงเกินไปหรือไม่

อีกอย่างคืออยากบกอสมาชิกทุกคนว่า เงิน อำนาจ ผลประโยชน์ ไม่เข้าใครออกใคร กรรมการที่อยู่นานๆจะมีปัญหาหรือไม่ ท่านต้องช่วยกัยตรวจสอบและดูแลผลประโยชน์ของพวกท่านด้วยเสมอ....อย่ารอเอาแต่ประโยชน์อย่างเดียว ไม่งั้น ประเทศไทยคงไม่มีคอรับชั่นแล้ว


Posted by : สมาชิกสหกรณ์ , Date : 2004-09-30 , Time : 11:26:40 , From IP : 172.29.1.165

ความคิดเห็นที่ : 1


   สมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ และชาวมอ.ต้องช่วยกันติดตาม ศึกษา และส่งเสียงแล้วหละ ครั้งนี้เขาวางแผนไว้ล้ำลึกมาก

ลองติดตามที่ข้างล่างนะ

http://first.psu.ac.th/webmail/src/download.php?startMessage=1&passed_id=357&mailbox=INBOX&ent_id=2



Posted by : ห่วง , Date : 2004-09-30 , Time : 13:15:15 , From IP : 172.29.3.160

ความคิดเห็นที่ : 2


   สมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ และชาวมอ.ต้องช่วยกันติดตาม ศึกษา และส่งเสียงแล้วหละ ครั้งนี้เขาวางแผนไว้ล้ำลึกมาก

ลองติดตามที่ข้างล่างนะ

สหกรณ์บริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สบ.มอ.) แค่เริ่มก็โชยกลิ่นซะแล้ว

ที่โรงแรมไดมอนท์ 13.00 น. วันอาทิตย์ที่ 26 ก.ย. 2547 สหกรณ์บริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เริ่มมีการประชุมใหญ่สามัญครั้งแรก ด้วยสมาชิกก่อตั้ง 361 คน แต่มาประชุม 180 กว่าคนคิดเป็น 51% เศษ และลงคะแนนเลือกประธานที่สมัครเพียงคนเดียว คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์
บรรเจิด พฤฒิกิตติ ประธานกรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำกัด
ที่เป็นมาหลายสิบสมัยนั่นเอง ด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น 172 คะแนน และกรรมการดำเนินงานที่ได้มาจากการเลือกตั้ง 7 คน มีคะแนนตั้งแต่ 51 เสียงจนถึง 8 เสียง ก็ได้เป็นแล้ว กรรมการทั้งหมดจะมีจำนวน 15 คน มาจากการแต่งตั้ง 7 คน และเลือกตั้ง 8 คน (รวมประธาน) ซึ่งจะเข้ามาบริหารสินทรัพย์มูลค่าหลายพันล้าน !!!
- โครงการทิ้งทวนก่อนจาก :
ระดับบิ๊ก ๆ ของกรรมการดำเนินงาน สอ.มอ.ที่จำเป็นต้องหมดวาระตาม พรบ. สหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำกัด ใช้โอกาสการประชุมใหญ่วิสามัญฯ ครั้งที่ 1/2547 วันเสาร์ที่ 25 กันยายน 1547 ณ โรงแรมซากุระแกรนด์วิล แก้ไขระเบียบว่าด้วยผู้แทนสมาชิก พ.ศ. 2547 โดยปูทางการกลับคืนสู่อำนาจเบ็ดเสร็จหลังจากพัก 2 ปี แต่มีที่ร่อนลงอย่างนุ่มแถมโรยด้วยกลีบกุหลาบ ก็คือ สหกรณ์บริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สบ.มอ.) ที่เพิ่งจัดตั้งใหม่ในวันที่ 26 กันยายน 2547 นั่นเอง
- ระเบียบวาระการประชุมวิสามัญ สอ.มอ. ถูกแก้ไขวันที่ :
เดิมในรายงานการประชุมกำหนดวันอาทิตย์ 26 กันยายน 2547 แต่มีการแก้ไขเป็นวันเสาร์ที่ 25 กันยายน 2547 และกำหนดให้วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน 2547 เป็นวันประชุมใหญ่ สบ.มอ.แทน ทำไมต้องเร่งรีบปานนั้น อีก3 เดือนเศษ กว่าจะปิดบัญชี ค่อยเรียกประชุม ก็น่าจะทัน (แต่ทางเจ้าหน้าที่อ้างว่า ถ้าไม่รีบโอน สอ.มอ. จะต้องเสียภาษีอากร เพราะมีรายได้จากค่าหอพัก ที่ภูเก็ตประมาณ 5 ล้านบาท
เศษ )
- กำหนดจำนวนสมาชิกแน่นอน :
มีการแก้ไขโดยการกำหนดจำนวนผู้แทนสมาชิกสูงสุดไม่เกิน 300 คน มีการแบ่งกลุ่มสายปฏิบัติงานออกเป็น 3กลุ่ม แบ่งเขตเลือกตั้งตามเขตเลือกตั้งของคณะกรรมการดำเนินการ และให้สมาชิกลงคะแนนเลือกตั้งผู้แทนสมาชิกในสายงานและเขตเลือกตั้งของตน สมาชิกหนึ่งคนมีสิทธิ์ลงคะแนนเลือกผู้แทนสมาชิกได้เพียง 1 คน (one man one vote)
ปรากฏว่ามีการอภิปรายกันอย่างดุเดือดพอควร สรุปว่า ผู้แทนมีทั้งมาจากการแต่งตั้งและเลือกตั้งอย่างละ 50% ไม่ต้องการแยกสาร ก ข ค และลูกจ้าง พนักงาน ให้เลือกตามหน่วยงานเหมือนเดิม คือ สมาชิก 20 คนต่อผู้แทน 1 คน ให้เลือกตั้งเป็นทีม ไม่เอา 1 คน 1เสียง นับได้ว่าเสียงจากที่ประชุมส่วนใหญ่ ยังคงเสียงประชาธิปไตยเหมือนเดิม ยกเว้นผู้แทนที่มีบางส่วนมาจากการแต่งตั้ง
- การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับว่าด้วยการเลือกตั้งและการดำรงตำแหน่งผู้แทนสมาชิก :
กำหนดจำนวนผู้แทนสมาชิกสูงสุดไม่เกิน 300 คน ดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี เพื่อให้วาระการเป็นผู้แทนสมาชิกสอดคล้องกับวันประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสหกรณ์ ส่วนใหญ่สมาชิกเห็นด้วยกับการแก้ไขครั้งนี้
- รีบร้อนแก้ไข จนเกิดความซับซ้อน สับสน :
ตามข้อ 62 (3) …อนึ่งจำนวนผู้แทน จะมีน้อยกว่าหนึ่งร้อยคนไม่ได้ หลักเกณฑ์และวิธีการในการเลือกตั้ง ผู้แทนสมาชิกให้เป็นไปตามระเบียบที่สหกรณ์กำหนด
แต่ข้อ 64 ย่อหน้า 2 ให้สหกรณ์จัดให้มีการเลือกตั้งผู้แทนตำแหน่งที่ว่างลงเมื่อจำนวนผู้แทน สมาชิก เหลือไม่ถึงสองร้อยคน และให้เลือกตั้งผู้แทนสมาชิกแทนตำแหน่งที่ว่างภายใน 90 วัน ดังนั้น หากการดำเนินการตามข้อบังคับสหกรณ์ สอ.มอ. ที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 64 ใหม่ก็ไม่จำเป็นต้องมีข้อ 62 ตอนท้าย เพราะจำนวนผู้แทนสมาชิกจะไม่มีวันมีน้อยกว่าหนึ่งร้อยคนเป็นเด็ดขาด
- แก้ไขระเบียบฯ ว่าต้องการเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการว่าด้วยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ :
การได้มาของกรรมการดำเนินการที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกิน 2 คน ให้คณะทำงานเลือกตั้งประกอบด้วยตัวแทนกรรมการดำเนินการจำนวน 5 คน และตัวแทนผู้แทนสมาชิกจำนวน 5 คน ทำหน้าที่คัดเลือกสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้มีฐานะเป็นกรรมการดำเนินการด้วยเช่นกัน
เป็นการริดรอนอำนาจของสมาชิกในการคัดเลือกกรรมการดำเนินการเต็ม 100% ตามหลัก
สหกรณ์ ตามหลักประชาธิปไตยด้วย แต่กลายเป็นว่า กรรมการดำเนินการจำนวน 5 คน สามารถเป็นผู้เลือกตั้งโดยตรง ความเกรงใจความรู้บุญคุณย่อมต้องมีแน่นอน และอาจจะเป็นที่มาของความไม่โปร่งใส ดังนั้นที่ถูกต้องเหมาะสมกรรมการดำเนินการทุกคนจะต้องทำการเลือกตั้งในที่ประชุมใหญ่ของสหกรณ์ มิใช่มีการเตรียมการมาก่อน และจะต้องได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากสมาชิกมิใช่ผู้แทน หรือกรรมการดำเนินการด้วยกันเอง
- การโอนสิทธิการบริหารหอพักนักศึกษาให้สหกรณ์บริการ มอ. จำกัด
ดำเนินการ : โครงการหอพัก 1,000 ล้านบาท บริหารโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญการบริการการเงิน
สบ. มอ. ?
ปัญหาหอพักนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ไม่เพียงพอกับจำนวนนักศึกษาที่มีเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้มหาวิทยาลัยฯ ต้องหาทางออกโดยการนำเงินของมหาวิทยาลัยจำนวน 1,000 ล้านบาท มาฝากไว้กับสหกรณ์ออมทรัพย์ มอ. จำกัด โดยจ่ายดอกเบี้ย 2.5% ต่อปี และสหกรณ์ออมทรัพย์ ได้จัดสร้างหอพักทุกวิทยาเขต (5 วิทยาเขต หาดใหญ่ ปัตตานี ภูเก็ต ตรังและสุราษฎ์ธานี)
ซึ่งสามารถเปิดดำเนินการได้แล้ว 1 แห่งที่วิทยาเขตภูเก็ต และที่ใกล้เสร็จแล้วอีกแห่งคือที่วิทยาเขตปัตตานี นอกนั้นอยู่ระหว่างก่อสร้าง
ปัญหาที่ควรถกเถียงกัน ณ 25 กันยายน 2547 สบ.มอ. ยังไม่เกิด ไม่มีคณะกรรมการดำเนินงาน แต่กรรมการ สอ.มอ. ก็นำเรื่องการโอนสิทธิ์การบริการหอพักนักศึกษาให้สหกรณ์บริการมอ. จำกัดแล้ว ซึ่งตามกฎหมายการขออนุมัติโอนทรัพย์สินให้องค์กรใด ควรจะมีองค์กรที่เกิดขึ้นแน่ชัดก่อน แม้จะขออนุมัติโดยหลักการก็ไม่สมควร
โดยเฉพาะข้อ 4 ที่กล่าวว่า สอ.มอ. อนุมัติเงินกู้ให้แก่ สบ.มอ. ตามวงเงินในข้อ 3 กำหนดอัตราดอกเบี้ย (สอ.มอ. ต้องได้ค่าตอบแทนในรูปอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไม่น้อยกว่า อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ นำมาฝาก ใน สอ.มอ. เพื่อให้สอ.มอ.นำเงินไปลงทุนสร้างหอพัก) และงวดชำระหนี้ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมและความสามารถในการชำระหนี้ของ สบ.มอ.ด้วย
จากข้อความดังกล่าว พบว่า ผู้ที่มีความเสี่ยงอย่างเต็มที่คือ สอ.มอ. เพราะอนุมัติเงินกู้ไปแล้ว แต่ผู้เป็นลูกหนี้กลับบอกว่า จะส่งคืนเงินให้ ถ้ามีเงินหรือมีความสามารถในการชำระหนี้ พูดง่าย ๆ ถ้าไม่มีความสามารถ ก็ไม่ต้องให้ก็ได้ เพราะไม่มีจะทำอย่างไรได้ (น่าดีใจที่มีเจ้าหนี้ใจดีอย่างนี้) ใครได้เปรียบเสียเปรียบ คิดดูเอาเองก็แล้วกัน
ถ้ามีกำไรจริงในช่วงเดิมเปิดดำเนินการ เป็นการยุติธรรมสำหรับสมาชิก สอ.มอ. หรือไม่ ที่ไม่ได้ปันผลกำไรโดยตรงด้วย แต่ตอนตั้งครรภ์ เลี้ยงลูกจนโต มีคนนำไปเป็นพนักงานของอีกกิจการหนึ่งเลย พูดง่าย ๆ ความเสี่ยงก่อนสร้างหอพักทุก ๆ วิทยาเขตเสร็จ ตกอยู่กับ สอ.มอ. ที่มีสมาชิก6,000 กว่าคน แต่ผลกำไรในการดำเนินงานต่อ กลับตกกับสมาชิก สบ.มอ. ที่มีสมาชิกจำนวน 300 กว่าคนเท่านั้น คุณคิดว่ายุติธรรมไหม !!!!

การบริการมีอายุเป็นเวลา 30 ปี ! :
ระยะเวลาที่ยาวนานขนาดนี้เมื่อเปรียบเทียบกับระยะเวลาคืนทุนประมาณ 12-13 ปี (ข้อมูลผลการศึกษาความเป็นไปได้) พบว่า รายได้ที่ควรตกเป็นของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภายหลังจากคืนทุนเรียบร้อยแล้ว เพื่อนำมาพัฒนาทางด้านการศึกษาและการวิจัย กลับยืดยาวออกไปอีก 17-18 ปี ซึ่งกลายเป็นผลประโยชน์ของสหกรณ์บริการมอ. จำกัด ที่เปรียบเสมือน “เสือนอนกิน” ทั้งคณะกรรมการดำเนินงานและสมาชิกที่ลงทุนน้อย ได้กำไรมาก นับว่าไม่สมควรอย่างยิ่งที่ถูกต้อง สมควร คืนกลับ ให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในฐานะผู้ลงทุนทันที หลังจากคืนทุนเรียบร้อยแล้ว หากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ไม่ดำเนินการให้คล้ายคลึงกับการลงทุนในศูนย์อาหารศรีตรังที่มีอายุเพียง 10 ปี ต้องคืนกลับให้เจ้าของที่ดินดำเนินการต่อไป ก็เท่ากับว่าผู้บริหารมหาวิทยาลัยนำเงิน 1,000 ล้านบาท ไปลงทุนให้ผู้อื่นกินกำไรและไม่ปกป้องผลประโยชน์โดยส่วนรวมและแน่นอนย่อมส่งผลกระทบกระะเทือนถึงคุณภาพ การศึกษาในอนาคตอีกด้วย ในรายการข้อ 7 ในรายละเอียดขั้นตอนต่าง ๆ ของการโอนสิทธิการบริการหอพักนักศึกษาให้สหกรณ์บริการ มอ. จำกัด โดยระบุขอบเขตอย่างกว้างขวางดังนี้ “รายละเอียดอื่น ๆ ให้คณะกรรมทั้งสองสหกรณ์ทำความตกลงกันบนพื้นฐานของการดำเนินธุรกิจ ในลักษณะของสหกรณ์เครือข่ายที่ไม่สามารถแยกการบริหารออกจากกันได้อย่างเด็ดขาด เนื่องจากจะต้องเชื่อมโยงธุรกิจต่อกันตลอดไป”
คำว่า ธุรกิจ หมายถึงการดำเนินการขาดทุนกำไร ผิดหลักสหกรณ์ที่เป็นองค์กร เพื่อการช่วยเหลือระหว่างสมาชิกมิใช่ดำเนินธุรกิจให้ได้กำไรอย่างเอาเป็นเอาตายเช่นนี้
- การเพิ่มงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2547:
โครงการ 5 บรรทัด ขออนุมัติ 366 ล้านบาท !!! ข้อ 7 โครงการก่อสร้างศูนย์บริการนักศึกษาและบุคลากร (University Center) โดยมีรายละเอียด งบประมาณก่อสร้าง 358,350,000 บาท ค่าที่ปรึกษาควบคุมงาน 7,167,000 บาท ค่าใช้จ่ายและค่าตอบแทนกรรมการตรวจการจ้าง 150,000 บาท รวมเป็นเงิน 365,667,000 บาท
เดิมเป็นโครงการก่อสร้างศูนย์อาหาร มอ. วิทยาเขตหาดใหญ่ 1 หลัง (มูลค่าก่อสร้าง 60 ล้านบาท) มีวงเงินในปี 2547 จำนวนเงิน 30,565,000 บาท ต่อมายกเลิกโครงการ และทำงบใหม่มากกว่าเดิม 10 กว่าเท่าตัว เป็น 660 ล้านบาท ไม่มีรายละเอียด ไม่มีรายการใด ๆ และไม่ใช่หน้าที่
สหกรณ์ออมทรัพย์มอ. จำกัด ที่จะรีบเสนอเข้ามาขออนุมัติดำเนินการ โดยอ้างว่าเป็นความต้องการของมหาวิทยาลัยได้กำหนดกิจกรรมเพิ่มขึ้น และเมื่อดูรายละเอียดในโครงการเป็นอาคารสูง 7 ชั้น ภายในอาคารประกอบด้วย โรงแรมขนาด 120 ห้อง ศูนย์ประชุม ศูนย์การค้า ศูนย์อาหาร โถงกิจกรรม ที่จอดรถ สอนบริการ คลีนิดสุขภาพนักศึกษา และสำนักงานศูนย์บริการฯ และจะรองรับกิจกรรมบริการด้านอื่น ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตแถมในที่ประชุมยังมีพูดถึงการจัดตั้งโรงภาพยนต์อีกด้วย
เกิดอะไรขึ้นกับ มอ. หาดใหญ่ ถ้าสมมติว่าอนุมัติโครงการเช่นนี้จริง ๆ เท่ากับว่า ชีวิตคนในวิทยาเขตไม่ต้องเดินทางออกนอกมหาวิทยาลัยก็ได้แล้ว คงมีคำถามตามมาว่าสหกรณ์ออมทรัพย์ มอ. จำกัด จะทำหน้าที่เหมือนธุรกิจทั่วไปหรืออย่างไร และถ้านำเงินมาจากมหาวิทยาลัยอีก 366 ล้านบาท แล้วจะเหลือเงินเท่าไรในการบริการคุณภาพ การศึกษาและวิจัย ตามที่ประกาศไว้ เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยในภาคใต้คงเป็นได้แค่ความฝัน

- ขออนุมัติจ่าย ค่า K ให้บริษัทรับเหมาก่อสร้างหอพัก ปัตตานี จำนวน 10.5 ล้านบาท !!!!!
เดิมค่าก่อนสร้างของหอพักวิทยาเขตปัตตานีมูลค่าก่อสร้าง 150 ล้านบาท งบเดิม 2547 ขออนุมัติไว้ 100,757,500 บาท ขออนุมัติเพิ่มเติมดังนี้ ค่าK ของการก่อสร้างครั้งที่ 1 จำนวน 4,500,000 บาท ค่า K ของการก่อสร้างครั้งที่ 2 จำนวน 2,500,000 บาท ค่า K ของการก่อสร้างครั้งที่ 3 จำนวน 1,500,000 บาท ( ค่า K คือ ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นของผู้รับเหมาก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น ตามสภาวะเงินเฟ้อ ราคาวัสดุอุปกรณ์ มีมูลค่าสูงขึ้น ) แถมด้วยค่าตู้เย็นจำนวน 2,000,000 บาท รวมเป็นงบที่ขออนุมัติเพิ่มเติม 10,500,000 บาท โดยให้เหตุผลว่า เนื่องจากค่าวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นสูงมาก ทำให้ต้องจ่ายค่าชดเชย (ค่าก่อสร้าง) ให้บริษัทเพิ่มเติมตามสัญญา และจะต้องเพิ่มตู้เย็นในหอพักนักศึกษาเพิ่มเติม (เดิมไม่ได้กำหนดให้มีตู้เย็น แต่ภายหลังให้กำหนดให้มีเผื่ออำนวยความสะดวกผู้เข้าพัก)
เหตุผลที่เขียนมาให้สมาชิกรับทราบก็ดูดี แต่เพราะเหตุใดสหกรณ์ออมทรัพย์ มอ. จำกัดจึงไปทำสัญญาเสียเปรียบโดยที่ประธานฯ แจ้งว่าสัญญาแบบนี้มี 2 แห่ง คือ ที่วิทยาเขตภูเก็ต และวิทยาเขตปัตตานี แต่ภูเก็ต ส่งมอบเรียบร้อยแล้ว และมีรายได้ค่าเช่าหอพักเข้ามาประมาณ 5 ล้านบาทแล้ว ที่พร้อมจะโอนเข้าสหกรณ์บริการ จำกัด ภายในสิ้นปีนี้ ทำไมไม่มีมีการอนุมัติ ค่า K ของการก่อสร้าง แต่ขออนุมัติเฉพาะที่วิทยาเขตปัตตานีถึง 10.5 ล้านบาท โดยสมาชิกบางคนที่รู้ข้อมูลกล่าวว่า ค่า K จริง ๆ ประมาณ 5 ล้านบาทเศษเท่านั้น แต่เพราะเหตุใด จึงขอเกินถึง 10.5 ล้านบาท !!!!!!
ปัญหาค้างคาใจ ทำไมสัญญาก่อสร้าง 5 วิทยาเขตออกแบบคราวเดียวกัน ประมูลงานใกล้เคียงกันรวมแล้ว 8-9 ตึก คิดเป็นเงินประมาณ 1,000 ล้านบาท แต่ทำไม มี 2 วิทยาเขตเท่านั้นที่มีค่า K ในการก่อสร้างโดยสมาชิกไม่รู้และศึกษารายละเอียดมาก่อนเลย และสหกรณ์ออมทรัพย์มอ. จำกัด
มิได้มีการแจ้งให้สมาชิกทราบว่าบริษัทใด ประมูลในราคาเท่าใด งานก่อสร้างไปถึงไหนแล้ว รวมทั้งค่าออกแบบที่มูลค่าค่าก่อสร้างต่ำกว่าแต่กลับกลายเป็นว่ามีค่าออกแบบสูงกว่าตึกอีกวิทยาเขตหนึ่งที่มีมูลค่าสูงกว่า ซึ่งสมาชิกถามประธานฯ ก็ได้รับคำตอบว่าเรื่องได้ดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้ว ไม่ควรมาซักไซ้ในประเด็นดังกล่าวอีก น่าแปลกไหม !!!
- ทีมบริหารระดับคีร์แมนของ สอ.มอ. ย้ายไป สบ.มอ.ทั้งชุด :
ตาม พรบ. สหกรณ์ให้ทีมงาน สอ.มอ. บางคนต้องพ้นวาระเป็นเวลา 2 ปี ดังนั้น พวกเขาจึงจำเป็นต้องจัดตั้ง สบ.มอ. อย่างเร่งด่วน เพื่อเป็นการรองรับให้ไม่ต้องตกงาน การเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน สบ.มอ. จำนวน 7 คน ยกเว้นประธานซึ่งมีคนสมัครเพียง 1 คน และเป็นผู้เริ่มก่อตั้งสบ.มอ ตามธรรมเนียมไทย ๆ เราย่อมต้องได้เป็นอยู่แล้ว หลังจากเป็นประธานสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มานับสิบปี
ผู้ไดรับการแต่งตั้งโวยความผิดปกติของคะแนน :
คณะกรรมการคนหนึ่งที่ได้รับเลือกซึ่งได้เพียง 9 คะแนนเสียง และคะแนนตามลงมาอีก 2 คน ได้ 8 เสียงเท่ากัน แต่ผู้ที่ได้อันดับที่ 1 ได้รับ 51 เสียง 27 เสียง และ 18 เสียงตามลำดับ โดยกล่าวหาว่ามีการขนคนมาลงคะแนนให้ผู้ที่ได้คะแนนมากกว่า โดยไม่ได้อยู่ในที่ประชุมต่อเนื่องตลอดเวลา
ข้อบกพร่องนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการไม่กำหนดกฎระเบียบการ ประชุมคัดเลือกการดำเนินงานให้เรียบร้อยก่อนจะดำเนินการ ทำให้มีช่องโหว่มากตาม รวมทั้งการลงมติให้ 1 คน มี 1 คะแนนเสียง ทำให้คะแนนนิยมสามารถไปโป่งที่ผู้หนึ่งผู้ใดก็ได้ และคนที่ได้รับเลือกจัดอันดับท้าย ๆ จะได้คะแนนเพียงร้อยละ 4 กว่า ๆ เท่านั้นเอง (ได้ 8 คะแนนจากผู้ลงคะแนน 180 กว่าคน ) โดยอันดับที่ 1 ได้ 51คะแนน คิดเป็นร้อยละ 28

- การขออนุมัติค่าใช้จ่ายดำเนินงานไม่เกิน1ล้านบาท :
ประธาน สบ.มอ. ที่ได้รับการเลือกตั้งใหม่ ขออนุมัติใช้เงินภายใน 3 เดือนเศษ ในวงเงินไม่เกิน 1 ล้านบาท ซึ่งค่าใช้จ่ายเป็นการจ้างพนักงานใหม่ 3-4 คน และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
ในที่ประชุมมิได้มีการลงมติอนุมัติในวงเงินดังกล่าว เพราะไม่มีรายละเอียดรายการต่าง ๆ แจ้งให้กับสมาชิก แต่ประธานฯ ขอความเห็นชอบให้ ผู้ตรวจสอบกิจการของ สบ.มอ. เป็นผู้กำหนดกรอบของวงเงินให้คณะกรรมการ สบ.มอ.ดำเนินการ
ข้อสรุปดังกล่าว ผิดหลักการบริหารสถาบันการเงินแบบธรรมาภิบาล ( Good Governance ) คือ ผู้ตรวจสอบกิจการไม่สมควรเป็นผู้มีส่วนได้เสีย หรือมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการของ สบ.มอ. เพราะจะทำให้เป็นที่ครหาได้
- การยุบสหกรณ์ร้านค้ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ใครอนุมัติ ???
ในที่ประชุมแจ้งว่า ได้ทำการยุบสหกรณ์ร้านค้ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รวมเข้ากับ
สหกรณ์บริการ ที่เพิ่งจัดตั้งใหม่ เรียบร้อยแล้ว โดยจะมีการโอนกำไร จากปั๊มน้ำมันบางจาก ประมาณ
600,000 บาทให้กับ สหกรณ์บริการด้วย อยากถามว่าใครเป็นคนอนุญาตให้ยุบสหกรณ์ร้านค้า เพราะมีสมาชิกสหกรณ์ร้านค้า มอ. ตั้งมากมายที่ไม่รับรู้เรื่องดังกล่าว ทุกคนทั้งคณาจารย์ เจ้าหน้าที่
นักศึกษาที่ได้ถือหุ้น จำนวน 60 บาทต่อหุ้น จะต้องทำอย่างไรกับพวกเขา และการเอากำไรของ
สหกรณ์ร้านค้าโอนให้สหกรณ์บริการ โดยที่มีสมาชิกแค่ 360 กว่าคนแบ่งกัน คิดว่ายุติธรรมหรือ ทางที่ดีที่สุดต้องเรียกประชุมใหญ่สมาชิกสหกรณ์ร้านค้า มาสอบถามความเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย และเงินกำไรทั้งหมดควรเป็นของสมาชิกสหกรณ์ร้านค้ามากกว่า เพราะทุนดำเนินการได้มาจากเงินของพวกเขาเหล่านั้น ทำไมประธานสหกรณ์ร้านค้าไม่ทำตาม พรบ. สหกรณ์ ต้องมีการเรียกประชุมโดยด่วน !!!
- การเลือกตั้งผู้ตรวจสอบกิจการ คะแนนน้อยมากไม่ถึง 2/3 ของผู้เข้าประชุม :
ผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานผู้ตรวจสอบกิจการ ได้รับคะแนน 39 คะแนนเท่านั้น ซึ่งโดยระเบียบสหกรณ์โดยทั่วไป จะต้องได้รับคะแนนเสียง 2/3 ของผู้เข้าประชุม 180 คนเศษเท่ากับ 120 คะแนน ดังนั้นย่อมเป็นการไม่ถูกต้องที่ผู้ตรวจสอบกิจการระดับหลายพันล้านบาท ได้รับการเลือกตั้งเพียง 39 คะแนน ถ้าคิดจากสมาชิกทั้งหมด 361 คน ก็ย่อมมีอัตราส่วนน้อยลงไปอีก รวมทั้งคุณสมบัติที่ไม่ชัดเจน และอาจจะไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้ตรวจสอบภายใน ก็ถูกละเลย จากข้อสรุปทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น เป็นที่น่าแปลกใจว่า สถาบันการเงินหลักแห่งใหม่ ทำไมไม่ได้รับการเอาใจใส่จากสมาชิกทั้งมวลโดยปล่อยให้คนไม่ถึง 20 คน มาบริหารเงิน 1,000 กว่าล้านบาท โดยที่สมาชิกส่วนใหญ่ นอนหลับทับสิทธิ์ มิได้ไปเลือกตั้ง คณะดำเนินงาน ของ สบ.มอ. ที่มีผลประโยชน์มากมายมหาศาลในอนาคตอันใกล้นี้


***************************************************





Posted by : ห่วง , Date : 2004-09-30 , Time : 13:16:52 , From IP : 172.29.3.160

ความคิดเห็นที่ : 3


   ใครช่วยดูตามระเบียบข้อบังคับของสอ.มอ.ว่าผู้แทนสมาชิกมีอำนาจในการตัดสินใจงานนี้หรือเปล่า ถ้าไม่ได้ก็ต้องฟ้องให้เป็นโมฆะในการดำเนินการทั้งหมด แต่ถ้าได้ช่วยกันดูหน่อยว่าจะสมาชิกจะคัดค้านกันได้อย่างไร ระหว่างนี้ก็อยากให้ช่วยกันอย่าร่วมสังฆกรรมกับกิจการนี้ เพราะก็สงสัยอยู่แล้วว่าต้องการระดมทุน
ทั้งให้ซื้อหุ้นเพิ่มทุน ทั้งเพิ่มการฝากเงินสินทวี อีกทั้งยังจะมีซื้อหุ้นสหกรณืบริการอีก ใครที่คิดจะเอาเงินเข้ามาระวังกันหน่อย มนุษย์เราน้อยคนมากที่จะไม่ทำอะไรเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง น่าคิดมากๆที่คิดแผนนี้ออกมาเพื่อใคร


Posted by : ร่วมคิด , Date : 2004-10-01 , Time : 08:57:12 , From IP : 172.29.3.147

ความคิดเห็นที่ : 4


   ข่าว สหกรณ์บริการเงียบจนไม่รู้ว่าปีนี้ได้มีการบริหารงานแนวไหน กำไรจะมีตามเป้าหมายหรือเปล่า เพราะทราบข่าวว่าประธานสหกรณ์บริการ หาเสียงจะรับเป็นคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ คาดว่าคงสมหวังเร็ว ๆ นี้ จะบริหาร 2 แห่งหรือไม่ หรือจะลงสมัครเป็นประธานสอ.มอ.อีกหรือเปล่า ห่วงจังจะบริหารหลายแห่งหรือเปล่า จะไวหรือ

Posted by : ห่วงอีกคน , Date : 2006-06-27 , Time : 13:01:55 , From IP : 172.29.2.106

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.006 seconds. <<<<<