๑) การตรวจร่างกาย ปัญหาคงจะเป็น ratio ระหว่าง นศพ. ต่อ อาจารย์แล้วล่ะครับ เพราะถ้าพูดถึง "ท่าถูกต้อง" นี่จัดเป็น class ได้ครับ แต่เราไม่สามารถจะ standardize ผู้ป่วยที่มี signs and symptoms แบบต่างๆครบถ้วนตาม จน. นศพ.ได้ นั่นคือพอมาถึงการตรวจ case จริงจะเป็น opportunistic จะมีซักกี่เปอร์เซนต์ที่จะได้ demonstrate pansystolic murmur? จะมีซักกี่เปอร์เซนต์ (ของนศพ.) ที่จะได้ตรวจ diastolic rumbling murmur? แต่ถ้าพูดถึงมี case มีปัญหาแล้ว จะหาอาจารย์มา confirm ตรงนี้น่าจะพอหาได้ไหมครับ? ประเด็นก็คือ general practitioner จะต้องวินิจฉัยแยกโรคที่มี pansystolic murmur, diastolic murmur รึเปล่า หรือว่านี่จะเป็น "ความสนใจพิเศษ" ของนักศึกษาเป็นรายๆไป จะเห็นได้ว่าแต่ละ field ที่ต้องเรียนต่ออีก 3-5 ปีนั้น มันมีเหตุผลของมันอยู่ และที่ต้อวเรียนเพิ่มเป็นปีๆนั้น ก็เพราะมันยังมี "ความลึก" ของรายวิชาอีกเยอะ ที่ถ้าเราจะครอบให้ นศพ. หมดทุกคน ผลที่ได้คือมันจะกว้างมาก และเจอปัญหาเดิมอีกคือ เวลาไม่พอ ทั้งคนสอนและคนเรียน
๒) ตรงนี้คงจะเลยมาถึงประเด็นต่อมาเรื่องการตรวจร่างกายทั่วไป บางระบบโดยเฉพาะอย่างยิ่ง orthopaedics, neurology, cardiovascular disease นั้น มี signs พิเศษอีกเยอะมาก ซึ่งไม่แปลกอะไรที่แต่ละ field พี่หมอเขาต้องกลับมาเรียนอีกคนละ 5 ปี และผมเห็นด้วยว่าในหนังสือคู่มือก็ยังรวม signs symptoms เฉพาะทางเหล่านี้ไว้ค่อนข้างเยอะ จะเห็นได้ว่านั่นเป็นเหตุผลส่วนหนึ่งว่าทำไม sub-board หรือ subspecialities ต้องมาเรียนกับ specialists เอาง่ายๆผมว่า general medicine หรือ general surgeons ก็ยังไม่สามารถสอนตรวจและแปลผล sings and symptoms ทั้งหมดของ neurology ได้ ดังนั้นถ้าจะถามครอบรวมว่าถ้ายังงั้นตรวจร่างกายอะไรที่ GP ต้องรู้บ้าง คำตอบที่กำกวมที่สุดที่ตอบได้ในขณะนี้คือการตรวจร่ายที่บอกว่ายัง "ปกติดีอยู่" ส่วน signs พิเศษของ cerebellum, hippocampal, RES, etc นั้น คงจะ spared ไว้ให้คุณหมอนิวโรเป็นผู้ตรวจวินิจฉัย แต่ไม่ต้องสงสัยครับว่า expert สอนจะได้ผลดีกว่าใครก็ได้สอนอย่างแน่นอน แต่เมื่อคำนึงถึง นศพ. 170 คน และจำนวน specialists ที่มีอยู่แต่ละ field (เช่นศัลย์เด็กมีสองคน นิวโรศัลย์ตอนนี้ก็เหลือแค่สามคน เปนต้น) จะต้องใช้เวลากี่อาทิตย์ กี่ชม. จึงจะให้ expert สอนได้หมด? ตรงนี้ผมว่าไม่เกี่ยวกับระบบ lecture ว่าเป็นแบบเก่าแบบใหม่ แต่ psychomotor เป็นเรื่องของ artio ระหว่างอาจารย์หรือคนคุม กับจน.นักศึกษาที่ทุกๆที่จะเจอปัญหาเดียวกัน
๓) กิจกรรมวิชาการของ specialists แผนกต่างๆนั้นจัดตามความสะดวกและสอดคล้องกับงานของแต่ละหน่วย ที่ผู้ฝึกอบรมนอกเหนือจากเรียนแลวยังทำงาน service จำนวนมากด้วย (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการ gain skill) ซึ่งผมไน่ใจว่าเวลาจะ match ตรงกับ นศพ. SDL มากน้อยแค่ไหน แต่ประการหนึ่งคือถ้าใครจะเข้าไป attend ผมว่าไม่มีใครว่าอะไรกระมังครับ เท่าที่ผมทราบเฉพาะของศัลย์อย่างเดียวก็มี grand round neuro วันจัรทร์ journal club neuro วันพฤหัส M&M ของ uro กับ tumour clinic ของ uro วันไหนจำไม่ได้ และเข้าใจว่าศัลย์เด็ก plastic และ CVT ก็มีเหมือนกัน แผนก X-Ray เปิด sessions พิเศษเฉพาะ นศพ. ซะด้วยซ้ำไปที่จะอ่าน film ตรงนี้ผมขออนุญาตแนะนำว่าลองหาข้อมูลที่คุณ Lily สนใจอยากจะเสริมความรู้จากภาควิชาฯ หรือหน่วยที่สนใจได้นะครับว่ามีอะไรบ้าง แต่ผมว่าจะสรุปว่าไม่มีเลย ต้องอ่านเองหมดนั้น น่าจะมีการหายหกตกหล่นไปเยอะเหมือนกัน
จากประสบการณ์ (ส่วนตัว) การแสวงหาและสร้างโอกาสเรียนเพราะ "ตัวเราเอง" สนใจนั้นมันได้ประโยชน์ ยกตัวอย่างถ้าผมไม่ได้เฝ้า ER ไม่ว่าจะอยู่หรือไม่อยู่เวรก็คงไม่ได้เห็นการทำ Schrock Shunt ใน case retro-helatic vena cava tear ที่ศิริราช ไม่ได้เข้า case ตัดต่อ carotid artery เพราะถูกยิงคอทะลุ ของพันนี้มันบอกไม่ได้ครับว่าใครจะได้หรือการันตีว่าจะเห็น แต่เป็นเรื่องของการ สร้างโอกาส ให้มากขึ้น การจัด class ให้โดย fix เวลานั้นเป็นการ rule out propability ของการได้ case (ที่มาแบบ random) ไป ตรงกันข้ามกับยุคที่ผมเป็น extern ที่ถูกสั่งให้ทำ lab กระหน่ำ เช่น cbc u/a stool exam ย้อม gram ฯลฯ จนวันๆไม่มีเวลาอยู่กับคนไข้ ความรู้สึกอยากจะเรียน med หรือ เด้ก ไม่มีอยู่ในหัวแม้แต่นิดเดียว นั่นคือการทำงานแบบ assingment ที่ไม่มีความอยากเหลือเพราะตัวละครสำคัญคือ คนไข้ ไม่อยู่ในบริบทแม้แต่น้อย
Posted by : Phoenix , Date : 2004-10-03 , Time : 23:30:09 , From IP : 203.156.41.47
|