ความคิดเห็นทั้งหมด : 19

เรียนรองคณบดีแพทยศาสตร์ศึกษาที่เคารพยิ่ง


   

ในฐานะของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยแพทย์ มีความหดหู่ใจเกิดขึ้น เนื่องจากระบบการเรียนการสอนของคณะเรา มีอยู่ว่า
1. ระบบการสอนแบบ PBL เป็นระบบที่ดี มีคนบอกว่า PBL ทำให้ระบบการเรียนเสียไป ผมว่าไม่จริงครับ แต่ระบบ SDL ต่างหากที่ทำให้ระบบเสียไป
2. ระบบ PBL เน้นให้ศึกษาได้ดี แต่คิดว่าอย่างไรก็ตามควรให้นักศึกษาแพทย์ เข้าสู่ระบบการ round ward และ attend case ผู้ป่วย เช่นเดิม ตามหลักสูตรของเดิมก่อนที่คณะแพทย์จะเข้าสู่ระบบ PBL ความรู้ที่มากที่สุด และสำคัญที่สุดอยู่บน ward กับผู้ป่วย จะสอนให้นักศึกษาแพทย์รู้และ เข้าใจคำว่า ความรับผิดชอบ บ้าง ไม่ใช่กำหนดให้ round แค่ 3 วัน และหายไปหมด ไม่รับ case ไม่ present case ไม่ติดตาม case และสุดท้ายก็บอกว่า ไม่เคยทำ ไม่มีคนบอก
3. มีนักเรียนแพทย์อยู่กล่มหนึ่งเคยปรารภออกมาว่า SDL = sleep deep and long หรือ survey Diana and Lee-garden หรือ sit down and lay down
4. ระบบนี้ทำให้ขาดความยำเกรงและขาดระบบ seniority อย่างมาก เพราะว่า นักศึกษาแพทย์ไม่รู้จักอาจารย์ ไม่รู้จัก resident รุ่นพี่ ขึ้นไปบน ward แล้วชอบบอกว่า พี่ไม่สอน แต่ความเป็นจริงคือ นักศึกษาไม่คิดจะทำอะไรให้อยากสอน เสมือนกับนกที่คอยอ้าปากรับอาหารเท่านั้น
5. สุดท้ายขอบอกท่านว่า ท่านลองทดสอบดูว่านักศึกษาที่ขึ้น med ย้อม gram stain เป็นไหม ดูผล CBC เป็นไหม นักศึกษาที่ขึ้น sureg suture dressing เป็นไหม ทั้งหมดสำคัญยิ่งกว่าการ นั่งเน้น PBL ที่นักศึกษาทำอยู่

Posted by อาจารย์(kart@yahoo.com) 2004-08-28 , 15:04:37 , 172.29.1.154


Posted by : ความจริง , Date : 2004-09-23 , Time : 22:31:00 , From IP : 221.128.91.44

ความคิดเห็นที่ : 1


    1. ผมว่า SDL ดีนะครับ แต่ PBL ไม่ดี โดยเฉพาะเวลาที่เราอยู่ชั้น clinic แล้ว การทำ PBL หรือ CRT มันแย่มาก(อยากใช้ความว่าห่วยมากกว่า) ไม่ค่อยได้ประโยชน์อย่างแท้จริง วัตถุประสงค์เขียนมาสวยหรูแต่ว่าทำไปทุกครั้งไม่ได้อย่างที่วัตถุประสงค์เขียนไว้เลย เหมือนทำให้มันผ่านๆไปเท่านั้น

SDL ผมว่ามันดี เพียงแต่ตอนนี้ขาดอีกนิดหน่อย ตรงที่ตัวนักศึกษาเองอาจยังไม่รู้ว่าต้องอ่านตรงไหนที่สำคัญ ระหว่างการอ่านเพื่อที่จะเตรียมสอบในอีก 6-10 อาทิตย์ หรืออ่านเพื่อที่จะดูผู้ป่วยบนward ไปในแต่ละวัน (อาจารย์หลายท่านเคยบอกว่าอ่านหากตั้งใจ round ward และดูผู้ป่วยก็ไม่ต้องอ่านหนังสือมากเพราะว่าข้อสอบอยู่ในward ทั้งนั้นอันนี้ผมไม่แน่ใจนักว่าจริง เพราะยังไม่มีใครพิสูจน์ให้เห็นด้วยกับตา)

2. เรื่องการ present ผมสนับสนุนเต็มที่ครับที่จะให้เกิดขึ้นเริ่มจากตอนเป็น ปี4 เลย แต่ว่าในบางครั้ง รุ่นพี่เอง อาจารย์เองเคยสนใจที่จะฟัง ที่จะถามหรือไม่ จะบอกว่าให้น้อง present ถ้าอยากทำ ผมว่าไม่สู้จะดีนัก

ถ้าจะเปรียบการ present เหมือนการแสดงดนตรี คน present เหมือนคนเล่นดนตรีบนเวที ทีนี้คนเล่นดนตรีของเราเพิ่งหัดเล่นดนตรีมาแค่ไม่ถึงปีคนดูก็เป็นผู้ที่แก่กล้าเล่นมานานหลายปี ผมว่าเป็นใครๆก็ปอดนะครับ (ยกเว้นว่าเด็กนั้นเก่งจริง หรือว่าบ้ามาก) ถ้าไม่ได้คนดูคอยให้กำลังใจนักดนตรีคนนั้นกว่าจะมั่นใจกว่าจะเล่นได้ดีก็คงอีกนานหรืออาจจะทำได้ไม่ดีตลอดไปเลยก็ได้

3.เรื่องขำขันเราก็ควรมีบ้างนะครับ:D

4.ระบบนี้ทำให้ขาดความยำเกรงและขาดระบบ seniority อย่างมาก ไม่จริงครับผมว่ามันทำให้สนิทกันน้อยลงมากกว่า ไม่ได้ขาดไปอย่างที่ว่าแน่นอนครับ

5. สุดท้ายขอบอกท่านว่า ท่านลองทดสอบดูว่านักศึกษาที่ขึ้น med ย้อม gram stain เป็นไหม ดูผล CBC เป็นไหม นักศึกษาที่ขึ้น sureg suture dressing เป็นไหม ทั้งหมดสำคัญยิ่งกว่าการ นั่งเน้น PBL ที่นักศึกษาทำอยู่

ก็สอนไปนะครับเรื่อง CBC gram stain suture

Posted by เหอๆๆ() 2004-08-29 , 10:12:38 , wwwtrh.moph.go.th


Posted by : เหอๆๆ() , Date : 2004-09-23 , Time : 22:32:10 , From IP : 221.128.91.44

ความคิดเห็นที่ : 2


   ผมคิดว่าอาจารย์สามารถติดต่อ อ.มยุรีได้โดยตรง อาจจะสามารถคุยได้ใจความครบถ้วนมากกว่าไหมครับ?



Posted by : Phoenix , Date : 2004-09-23 , Time : 23:33:59 , From IP : 203.156.40.241

ความคิดเห็นที่ : 3


   What does SDL stand for?

Posted by : Med , Date : 2004-09-24 , Time : 07:19:20 , From IP : in-123-243.dhcp-149-

ความคิดเห็นที่ : 4


   การเรียน PBL, SDL หรือ CRT ไม่อาจทดแทนการเรียนกับคนไข้จริงบน ward ได้ นศพ.ปี 4-6 จะต้องให้ความสนใจกับคนไข้และการ round ward มากขึ้น ปัญหาของหลาย ๆ block ตอนนี้ คือ เรามักจะใส่นู่นใส่นี่เข้าไปจนแน่นมาก จนเด็กไม่มีเวลาอยู่กับคนไข้ ไม่มีเวลาเรียนรู้ทักษะในการทำหัตถการต่าง ๆ จากรุ่นพี่ รวมทั้งความสนิทสนมต่าง ๆ และการถ่ายทอดความรู้จากรุ่นต่อรุ่น กำลังจะหดหายไปหมด ตรงนี้ต่างหากที่สำคัญ การเรียนรู้จากคนไข้จริง การได้ตรวจคนไข้จริง ได้เห็นความผิดปกติต่าง ๆ ด้วยตาตัวเอง ทำให้เราจำมันได้ดีกว่าดูจากหนังสือเป็นไหน ๆ ที่น่าตกใจมากตอนนี้ คือ เวลา extern รับคนไข้บน ward แทนที่จะไปหัดซักประวัติ ตรวจร่างกายด้วยตนเอง เพื่อฝึก skills กลายเป็นใช้วิธี copy and paste ประวัติและการตรวจร่างกายที่พชท.หรือ dent พิมพ์ไว้แล้วใน comp ที่ OPD มาใส่ใน admission note แทน แล้วจะได้เรียนรู้อย่างไร มีแต่ทำงานให้มันจบ ๆ ไปก็เท่านั้น พอโดนอ.ถามก็ตอบไม่ได้เพราะไม่ได้ซักประวัติ ตรวจร่างกายเอง ก็จะจำคนไข้ไม่ได้ กระบวนการหัดคิดและแก้ปัญหาที่เคยฝึกมาจาก PBL ก็ไม่ได้เอามาใช้เมื่อขึ้นชั้นคลินิก เพราะนศพ.ไม่ทุ่มเทเวลาให้กับคนไข้อย่างจริงจัง งานอะไรที่ไม่มีคะแนน ไม่มีการประเมิน ก็มักจะไม่สนใจ อยากจะบอกว่าสิ่งที่ นศพ.ปัจจุบันขาดเป็นอย่างยิ่ง คือ จิตวิญญาณของความเป็นแพทย์ที่ต้องการช่วยแก้ปัญหาให้ผู้ป่วย ซึ่งไม่ใช่การเรียนเพื่อให้สอบผ่าน เพื่อให้ได้รับปริญญา

Posted by : อาจารย์ม.อ. , Date : 2004-09-24 , Time : 21:30:38 , From IP : 172.29.3.218

ความคิดเห็นที่ : 5


   อาจาร์ย บางท่านก็สักแต่ว่าสอน ให้ครบๆ ตาม work load เด็กไม่สนใจไม่ใส่ใจ ตอบไม่ได้ ก็ให้ผ่านๆไป ไม่เสียเวลา ยิ่งคิดแต่เรื่อง workload เป็นหลัก ไม่ได้ใส่ใจที่จะสอน ให้เด็กรู้ พอเห็นบางคนไม่กระตือรือล้น ก็หน่ายที่จะจ้ำจี้จ้ำไช เวลาเจอกันก็น้อยๆ ไม่เหมือนระบบเก่า ที่อยู่กันเป็นเดือน เห็นหน้ากันทั้งเช้าทั้งบ่าย เดี๋ยวนี้เห็นแว็บๆ ก็หายไปแล้ว เด็กทนหน้าด้าน ตอบได้ไม่ได้เดี๋ยวก็ลงแล้ว

พอไม่มีความรู้ ใครรับผิดชอบ


Posted by : เดินทางผิดแล้วมั้ง , Date : 2004-09-24 , Time : 23:04:25 , From IP : 172.29.3.219

ความคิดเห็นที่ : 6


   เคยแสดงความเห็นกับคณบดี เพราะรู้สึกว่าการเรียนรูปแบบ PBL น่าจะเหมาะกับปรีคลินิคมากกว่า เพราะชั้นคลินิค ward round ในชีวิตจริง หรือการตรวจคนไข้มันเป็น problem based อยู่แล้ว น่าจะต้องคงแบบเดิมไว้ดีกว่า แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปว่า ตอนนี้รูปแบบมันควรเป็นอย่างไร น่าจะมีเวทีถกปัญหากันบ้าง จะดีไหม

Posted by : อาจารย์อีกคน , Date : 2004-09-24 , Time : 23:33:05 , From IP : 172.29.3.223

ความคิดเห็นที่ : 7


   เอ่ออออ ผมคงไม่พูดไรมากอ่ะนะครับ คนที่อ้งว่าเป็นอาจารย์เนี่ย ถ้าเป็นอาจารย์จริงๆ ทำไมมาโพสต์อะไรอย่างงี้เอ่ย ทำใหดีกว่านี้ได้ไหม หรือว่าไม่กล้าหรือว่าแอบอ้างเอ่ยยยย งุงิๆ

Posted by : หัวเกรียง , Date : 2004-09-24 , Time : 23:37:22 , From IP : 172.29.4.31

ความคิดเห็นที่ : 8


   หากจะพูดไปแล้วการที่นักศึกษาแพทย์เรียนกับคนไข้น้อยลงมีมานานแล้ว ก่อนที่จะมีการเรียนแบบ PBL อีก เพราะนักศึกษาสมัยนี้รักสบาย ดูแพทย์ใช้ทุนแต่ละคนในปัจจุบันเป็นตัวอย่าง ไม่ต้องอ้างโน่นอ้างนี่ เพราะพี่ก็ไม่ทำตัวให้เป็นตัวอย่างและดูคนไข้ก็สักแต่ว่าให้จบไปวันๆ ผมไม่คิดว่าจะเป็นเพราะระบบ โดยเนื้อแท้ระบบดีอยู่แล้วแต่คนที่มาใช้ระบบเป็นคนที่พลิกแพลงให้แย่ลงมากกว่า

Posted by : Vj , Date : 2004-09-25 , Time : 00:22:31 , From IP : 203.150.217.112

ความคิดเห็นที่ : 9


   โจทย์ที่น่าสนใจ "พอไม่มีความรู้ ใครรับผิดชอบ"

ตรงนี้น่าอภิปรายต่อครับ ผมมีบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่ posted ลงมาซักอาทิตย์ที่แล้ว การเรียนของประเทศอิตาลีเปรียบเทียบกับอังกฤษ มีการกล่าวถึงเรื่องนี้โดยตรง

ปรัชญาการเรียนของอิตาลีตั้งแต่เริ่มต้นนั้น เป็นที่เข้าใจตรงกันตั้งแต่ผู้ปกครอง นักเรียน และโรงเรียนว่า ๑) เรียนเพื่อให้ตนเอง employable ๒) ความสำเร็จเป็นของตนเอง โดยตนเอง และเพื่อตนเอง ครอบครัว และสังคม ต่างจากรัฐบาลหลายๆประเทศที่เป็นพวกฝ่ายซ้ายซึ่งซบเซามาหลายสิบปี แต่มาถึงยุคหนึ่งที่ยุโรปตะวันตกเกือบทั้งหมดเป็นพรรคสังคมนิยมนำรัฐบาลเลยเกิด social engineering ใหม่ขึ้นมา

ระบบสังคมที่รัฐบาลทำตัวเหมือนแม่นม เช่นอังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส อุ้มชู อุปถัมป์กันสุดๆ มี course พ่อแม่ที่ดีโดยนักสังคมทั่วประเทศ มีการปรับเกรดใหม่เพื่อให้เด็กได้คะแนนดีกันหมด มีการบีบกำจัดเอาระบบคัดเลือกของมหาวิทยาลัยชั้นนำออกและให้ใช้ระบบ quota แทน ทำให้ Oxford Cambridge ต้องรับเด็ก quota และเขี่ยเด็กเรียนชั้นหนึ่งออกไป มีการเอาเงินภาษีมาจ่ายค่าเลี้ยงดูให้ unemployed, single-mother, teenage mother และหาบ้านให้ มีการเอากีฬาที่เป็นการแข่งขันออกจากหลักสูตรเพราะกลัวเด็กจะเครียด ฯลฯ ผลที่ได้รับคือเด็กที่ไม่เคยต้อง "รับผิดชอบ" อะไรเลยในชีวิต ทุกอย่างเป็นความผิด ความรับผิดชอบของ "คนอื่น" ทั้งสิ้น

มหาวิทยาลัยนั้นมีเครื่องมือเครื่องไม้ สถานที่ และอาจารย์ ใช้หลักสูตรซึ่ง "การันตี" ว่าหากนักศึกษาใช้ resource ทั้งหมดที่มีให้ ทำงานที่ได้รับ assigned ให้หมดตามเวลา คุณจะจบเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ ไม่มี มหาวิทยาลัยไหนนะครับที่ "การันตี" ว่าเด็กจะจบมาได้ ไม่ว่าจะทำยังไงก็ตาม การที่จะทำให้สำเร็จได้นั้น 100% เป็น achievement ส่วนตัวบุคคล เป็นระบบที่เราเรียกว่า meritocratic system นั่นคือคนขยันได้สิ่งที่ตนลงทุน และใครทำอะไรได้แค่ไหนก้จะได้แค่นั้น เป็นปรัชญาที่พวกซ้ายจัด สังคมนิยมทำยังไงๆก็ไม่เข้าใจ และพอเอาเข้าจริงๆระบบซ้ายจัดก็ไม่สามารถจะทำให้ "เสมอภาค" อย่างปรัชญาตนเอง พวกโปลิตบูโรของรัสเซียก็อ้วนเอาๆ พวก chairman ของรัฐบาลจีนก็มั่งมีเอาๆ ที่เหลือทั้งประเทศก็ได้เจียดเสษที่ผู้นำไม่ต้องการเอามาแบ่งอย่าง equality (ไม่ใช่ equity)

อยากให้น้องๆ นศพ. โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ขึ้นปฏิบัติงานบนคลินิก ลองทุ่มเทเวลาอยู่บนหอผู้ป่วยมากขึ้น มีความมั่นใจในตนเองและมีศรัทธาในสิ่งที่ตนเองค้นคว้าวิเคราะห์มาเองมากขึ้น ยุคนี้เป็นยุคที่เราจะถูกท่วมด้วย information มากมาย หมดสมัยแล้วครับที่เราจะเลือกเชื่อฟังเพียงเพราะมีคนมาบอก แต่เราจะต้องกรองก่อน เชื่อโดยใช้ปัญญา ใช้กาลามสูตร ใช้ methodology แบบเดียวกับอริยสัจสี่

น่าจะดี



Posted by : Phoenix , Date : 2004-09-25 , Time : 00:46:36 , From IP : 203.156.41.233

ความคิดเห็นที่ : 10


   สรุปจากที่อาจารย์ฟีนิกส์บอก สิ่งที่ผมกลัวก็คือ เอาระบบการเรียนแบบอิตาลี่มาใช้ แต่พอตัดเกรดก็เอาแบบอังกฤษฝรั่งเศสมาใช้
นักศึกษาทปีสุดท้ายที่ไปฝึกงานโรงพยาบาลข้างนอก

กลุ่มที่ไปช่วงหกเดือนแรกก็จะเป็นพวกที่ไม่เคยมีประสบการณ์อะไรเลย ที่น่าตระหนกก็คือ บางคนนอกจากไม่มีความรู้แล้ว ยังไม่มีทักษะการเอาตัวรอด ไม่ว่าจะเป็นการเอาตัวรอดในสังคมหรือในกระบวนการเรียนรู้ นักเรียนจะวิจารณ์กันทุกรุ่นว่า ไม่เคยเย็บแผล ไม่เคยทำvenesection ไม่เคยใส่ท่อช่วยหายใจผู้ป่วย ไม่ได้เข้าทำ (หรือช่วยทำ) ไส้ติ่งอักเสบ โดยที่ไม่เคยประเมินตนเองเลยว่าจะทำได้หรือไม่ (ในความเป็นจริง บางคนยังสวมถุงมือโดยปราศจากการปนเปื้อนไม่เป็น) นี่เป็นปัญหาของการเรียนการสอนระบบใหม่หรือเปล่า? คงต้องฝากอาจารย์ฟีนิกส์ช่วยวิเคราะห์ด้วย
ครั้นจะถามเรื่องความรู้พื้นฐานหรือถามแนวทางปฏิบัติในกรณีฉุกเฉินก็อ้ำอึ้ง ตอบไม่ได้ สรุปว่าทฤษฎีอ่อน ปฏิบัติยังไม่พอ
หากเป็นไปได้อยากให้ 1. อาจารย์ผู้ดูแลควรเพิ่มเติมส่วนนี้ให้มากขึ้น ถ้านักเรียนของเราต้องออกไปพบกับสถานการณ์อันโหดร้ายของโลกภายนอก เพียงแค่ให้พวกเขาเรียนรู้แบบที่เป็นอยู่นี้คงไม่พอแน่ครับ 2.นักเรียนชั้นคลีนิกทั้งหลาย หากได้รับทราบข้อมูลนี้ ในฐานะรุ่นพี่คนหนึ่ง อยากให้น้องทั้งหลายตั้งใจใฝ่เรียนให้มาก หัตถการทั้งหลาย หากคิดว่าจบออกไปข้างนอกแล้วต้องทำได้ก็ควรหาโอกาสดูไว้บ้าง แม้ไม่ได้ทำเองหรือไม่ได้ช่วยทำ อย่างน้อยเมื่อได้ปฏิบัติจริงก็จะได้สะดวกขึ้น

กลุ่มหลังที่ไปทดแทนกลุ่มแรกก็จะมีความแปลกอีกแบบ บางคนไม่สนใจใฝ่รู้เอาเลย บางคนประกาศตนตั้งแต่ปฐมนิเทศจบว่าจะเป็นแพทย์ใช้ทุนแผนกนั้นแผนกนี้ นัยว่าจะไม่ต้องผ่านความกดดันว่าเหตุใดถึงไม่มีความรู้เรื่องอื่น ๆ เลย บางคนก็เหมือนกับฝึกมาอย่างดี มีวุฒิภาวะ ตัดสินใจเหมาะสม บางครั้งยังนึกเปรียบเทียบกับตัวเองเลยว่าเมื่อเราเป็นนักศึกษาปีสุดท้ายนั้นคงยัง "smart" ไม่ได้เท่านี้

โลกปัจจุบันของวงการสาธารณสุขไทย ไม่เคยเปิดโอกาสให้แพทย์ใช้ problem เป็น base เพื่อ learning
สิ่งที่เป็นจริงคือ เมื่อมี problem ที่ solve ไม่ได้ หรือได้แต่ไม่ทันท่วงทีเนื่องจากยังไปหาข้อมูลไม่ได้ หรือไม่ได้ปรึกษา resource person ก็จะเกิดผลกระทบโดยตรงต่อแพทย์ผู้ทำการรักษา สิ่งที่ผมอยากให้มีติดตัวนักศึกษาของเราไปทุกคนนอกจากความรู้แล้วก็คือทักษะในการมีชีวิตรอดในสังคม

ผมคงไม่กล้าประกาศว่าตัวเองเป็นอาจารย์นะครับ คงถือว่าเป็นเสียงสะท้อนน้อย ๆ จากรุ่นพี่คนหนึ่งเท่านั้นเอง
ท้ายที่สุด ข้อความทั้งหมดนี้เคยส่งผ่านไปทางอาจารย์ที่มาเยี่ยมเยือนนักศึกษาที่โรงพยาบาลแล้วนะครับ ไม่ต้องกังวลว่าจะนำมาพูดในที่นั้แต่เพียงอย่างเดียว


Posted by : พี่น้องและผองเพื่อน , Date : 2004-09-26 , Time : 23:24:15 , From IP : 202.129.18.174

ความคิดเห็นที่ : 11


   ผมเห็นด้วยกับคุณพี่น้องฯว่าความชำนาญวิชาชีพ (หรืออิตาลีสไตล์)กับผลการประเมินการเรียนน่าจะไปด้วยกัน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนทางความต้องการและการดำเนินของทั้งสองกำลังพุ่งเข้าหากัน ณ จุดใดจุดหนึ่งในอนาคต

หัตถการทั้งหมดที่ว่ามานั้นมีหนทางเดียวเท่านั้นแหละครับที่จะเกิด "ความชำนาญ" ขึ้นมาได้คือการลงมือทำ ซึ่งต้องเกิดจาก นศพ.อยู่ใน ณ ที่ที่มีเหตุการณ์หรือหัตถการเช่นนั้นทำอยู่บ่อยๆ และรับรองได้อย่างหนึ่งว่าการเพิ่มชั่วโมงบรรยายนั้นจะทำให้โอกาสที่ว่าสั้นลงไปเรื่อยๆ

psychomotor เป็นอะไรที่คนเรียน "ต้องทุ่มเทเวลา" ให้กับมัน และไม่สามารถจะเรียนจากโพย เรียนจากความทรงจำได้ ต่างจาก cognitive ต่างจาก MCQ และผมเคยคิดว่าระบบที่น่ากลัวมากคือมี นศพ.ที่สามารถจบได้ขนาดเกียรตินิยมแต่ขาดทักษะการทำงานกับผู้ป่วย ขาดเจตคติที่จะคลุกคลีบนหอผู้ป่วย และหายใจเข้าออกเป็นเกรดเพียงอย่างเดียว ขณะที่เรายังสรุปอย่างแน่นอนไม่ได้ เราอาจจะต้องหวนกลับไปดู case มีปัญหาที่เกรดการเรียนกับพฤติกรรมเจตคติไม่ไปด้วยกันนั้นมากน้อยแค่ไหน และบ่อยแค่ไหนที่คนเกรดปานกลางแต่เรามาพบเพชรส่งประกายขึ้นเมื่อเวลาที่วิชาชีพแพทย์จริงๆมันต้องการเรียกร้องขึ้นมา

SDL ที่เราจัดไว้อย่างเดียว "ในเวลาราชการ" นั้นมันน้อยเกินไปแน่ๆครับ เมื่อคำนึงถึงอะไรบ้างที่นักเรียนควรจะเรียนและควรจะรู้ จริงๆหลักสูตรเรียนแพทย์แต่สมัยไหนๆเราเรียนเลยนอกเวลา 9-5 น. อยู่แล้ว ไม่มีใครผ่านศัลย์ที่มีการบังคับเก็บ case เย็บแผล 15 รายโดยไม่ไปนั่งเฝ้าห้องฉุกเฉิน ไม่มีใครผ่านสูติที่ต้อง attend 8 ราย และทำคลอดเอง 15 รายโดยไม่ไปนั่งเฝ้าห้องคลอด และไม่มีใครสามารถเตรียมตัวรับคนไข้ใหม่ของสายอายุรกรรมเมื่อคืนนี้ได้โดยไม่ได้นั่งที่ ward เพื่อเห็นการ manage ตั้งแต่ต้นจนจบ

การเรียนแบบอิตาลีนั้นไม่ใช้ "ระบบ" หรอกนะครับ แต่เป็น "วัฒนธรรม" ของประเทศเขาในการเรียน วัฒนธรรมเกิดจากคนชุมชนหนึ่งๆเห็นว่าอะไรดีอะไรควรก็ช่วยกันผลักดันให้เกิด วัฒนธรรมนั้นเปลี่ยนแปลงได้ครับ และวัฒนธรรมที่อ่อนแอกว่า ผลิตผลแย่กว่าก็จะส่งผลให้เห็นอย่างช้าๆแต่ก็ใช้เวลาเป็น generations กว่าที่จะฟื้นตัวได้ ระบบอังกฤษนั้นถ้าไม่มีคนพยายามชะลอสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นก็จะลงเหวไปในอนาคต ซึ่งน่าเสียดายมาก เพราะระบบการศึกษาของเขาดีมากและเป็นผู้นำมาหลายสิบปีตั้งแต่เชอร์ชิลชนะสงคราม

เราคงไม่จำเป็นต้องไปตาม หรือลอกเลียนแบบใคร ประเทศไหนหรอกครับ ที่สุดแล้วเราลองมาคิดกันดูเองว่าบัณฑิตแพทย์ของเรานั้นเราอยากจะเห็นเป็นอย่างไร? key word คำเดียวคือความรับผิดชอบในชีวิตของตนและของคนอื่นในอนาคต และชีวิตของทั้งสองฝ่ายนั้นขึ้นอยู่กับความรู้ ความชำนาญ และเจตคติของวิฃาฃีพแพทย์ ใครเรียนจบไปอย่างง่ายๆนั้นผมว่าคงจะต้องสังหรณ์อะไรบางอย่างว่าเราน่าจะขาดอะไรไปรึเปล่า อาจารย์ปู่ อาจารย์พ่อ อาจารย์แม่อัจฉริยะกว่าเราตั้งเยอะยังใช้เวลามากมายกว่าเราหลายเท่าจึงสำเร็จมาได้

ก็คงต้องเอาใจช่วยครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-09-27 , Time : 01:37:10 , From IP : 203.156.42.157

ความคิดเห็นที่ : 12


   ยังไงก็ต้องย้อนกลับมาตรงที่ PBL และ SDL ไม่สามารถสอนเรื่องความรับผิดชอบต่อชีวิตและวิชาชีพได้แน่นอน
ไม่รู้ว่าผมติดอยู่กับระบบเก่า ๆ หรือเปล่าทีนักเรียแพทย์ต้องตื่นเช้ามาทำแผล มาดูคนไข้ มาเขียน progress note พอลงจากสายก็มี off survice note พอทำอย่างนี้บ่อย ๆ เข้าก็เป็นความเคยชิน เป็นสิ่งที่เหมือนถูกฝังเข้าไปในสมองโดยไม่รู้ตัว ส่วนหนึ่งก็คงเป็นเพราะระบบการดูแลที่ภาควิชามีให้ อย่างที่อาจารย์พีนิกส์บอก มีข้อกำหนด มีระเบียบชัดเจน สมัยผมเย็บแผลก็ต้องลงชื่อผู้ป่วยไว้ด้วย ทำคลอด เจาะหลัง ก็ต้องบันทึกไว้ ทั้งที่บางทีก็รู้ว่าทางคณะหรือภาควิชาคงตามไปตรวจสอบได้ยาก เช่นไปทำคลอดโรงพยาบาลหาดใหญ่เป็นต้น

แต่พอมาเป็นระบบใหม่ เรียนเป็น block วันหนึ่งมีคนดูหลายภาควิชา เช้าอยู่ที่หนึ่ง สาย ๆ ไปอีกที่หนึ่ง บ่าย ๆ SDL อยู่เวรก็น้อยลง
สมัยก่อนถ้าเป็นเวรวันเสาร์-อาทิตย์ ก็เตรียมไปนั่ง ER ได้ตั้งแต่สิบโมงเช้าถึงเที่ยงคืน กลายเป็นว่าระบบรับผิดชอบนักเรียนแพทย์ นักเรียนแพทย์รับผิดชอบตัวเอง แต่ไม่ได้เรียนรู้การรับผิดชอบชีวิตและความเป็นไปของผู้ป่วยเลย

ไม่รู้ว่าอาจารย์ฟีนิกส์เห็นอย่างไรครับ ผมว่ายังไงก็ต้องมีการดูแลผู้ป่วยชนิด case ต่อ case ไม่ใช่ระบบ block อย่างนี้ทั้งหมด 100 %
ระบบจะต้องถูกปรับเปลี่ยนบ้าง เพื่อป้องกันปัญหาซึ่งเราทุกคนก็พออนุมานได้ว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต


Posted by : พี่น้องและผองเพื่อน , Date : 2004-09-27 , Time : 21:45:51 , From IP : 202.129.18.132

ความคิดเห็นที่ : 13


   มีสองทฤษฎีที่เกี่ยวกับ "สมุดพกความดี" ที่ว่านี่ครับ

พวกหนึ่งเชื่อเรื่อง social engineering คือคุณค่าทางนามธรรมสามารถ "สร้างได้" เช่น วินัยเกิดจากการเคยชินในการถูกบังคับ ความรับผิดชอบเกิดจากการถูกทำโทษถ้าไม่ทำตามกฏ ความเป็นผู้ใหญ่เกิดจากความมีข้อด้อยถ้าคงความเป็นเด็ก เป็นคนใจบุญสุนทานโดยการจ่ายภาษี (เพราะรัฐบาลเอาเงินไปลงทุนทำบุญให้) สามารถเลี้ยงลูกให้เป็นคนดีได้โดยเข้า course พิเศษที่รัฐบาลจัดให้ การดัดนิสัยเด้กเหลือขอโดยการส่งเข้าโรงเรียนทหาร ฯลฯ มีตัวอย่างทั้งที่ประสบความสำเร็จและไม่ประสบความสำเร็จ

อีกพวกหนึ่งเชื่อเรื่อง "ความดีเพื่อความดี" เช่น วินัยเกิดจากการเห็นประโยชน์ของระเบียบ ความรับผิดชอบเกิดจากการเติบโตทางจิตใจ ความเป็นผู้ใหญ่เกิดจากการนำเอาประสบการณ์มาใช้ต่อยอด เป็นคนใจบุญเพราะการบริจาคเป็นสิ่งที่สมควร เลี้ยงลูกเป็นคนดีเพราะเราทราบว่าดีคืออะไร ปราบเด็กเหลือขอโดยการป้องกันไม่ให้มีไว้ก่อน ฯลฯ มีตัวอย่างทั้งที่ประสบความสำเร็จและไม่ประสบความสำเร็จ

บางคนอาจจะเห็นว่าแบบแรกทำได้ในทางปฏิบัติมากกว่า แบบหลังค่อนข้างเป็นอุดมคติ แต่ใครถูกใครผิดคงบอกยาก แต่ที่แน่ๆคือความเชื่อตรงนี้จะเกลาพฤติกรรมออกมาไม่เหมือนกัน เกลาความคิดออกมาไม่เหมือนกัน

คนขยันที่เรียนระบบเก่าจะเห็น "รางวัล" ไม่นานนักหลังจากที่เริ่มคลุกคลีกับ "ระบบ" ที่บอกว่า "ต้องทำ" อย่างโน้น อย่างนี้ ต้องเย็บแผลนะ ต้องทำคลอดนะ ต้อง ฯลฯ ไม่นานก็รู้สึกว่างานที่ทำมันง่าย รายงานก็ใช้เวลาน้อยลงในการเขียน การพูดคุยกับคนไข้กลายเป็นเรื่องธรรมชาติ ไม่ต้องตัวเย็นเท้าเย็น ดังนั้นผมว่ามันไม่ต่างกันหรอกครับ เพราะในระบบใหม่รางวัลที่ว่านี้ก้จะได้เช่นเดียวกัน เพียงต่แรงบันดาลใจเป็น intrinsic ไม่ใช่ extrinsic แค่นั้น อย่างไหนดีกว่ากัน? บอกยาก

นักศึกาแพทย์ที่ "รับผิดชอบตนเอง" ตามหลักปรัชญาการเรียนของสมเด็จพระราชบิดาฯ จะไม่ออกนอกลู่นอกทางไปจากการรับผิดชอบผู้ป่วย ชีวิตผู้ป่วยหรอกครับ เพราะจริงๆแล้วมันเปนเรื่องเดียวกัน แต่ใจผมคิดว่าพวก fake targets ต่างหากที่เป็นอันตรายที่ว่าอาจจะมีคนมองเห็นว่าการเฝ้าคนไข้ การขยันอยู่บน ward ฯลฯ เป็นเพียงเพื่อจะได้จารึกลงไปในสมุดพกความดีแค่นั้น คนที่ "รับผิดชอบ" แบบไม่ตรงกับหลักปรัชญา หลักนามธรรมตรงนี้ ผมว่ามันโน้มไปทางพวกที่เป็น artificial goodness มากกว่าคนที่อยากทำเพราะเห็นว่ามันเป็นสิ่ง "ควร" ทำจิรงๆ

เรื่องเรียนเป้น block ขอแยกออกไปต่างหาก



Posted by : Phoenix , Date : 2004-09-28 , Time : 00:06:18 , From IP : 172.29.3.237

ความคิดเห็นที่ : 14


   ยังเหลือประเด็นที่ยังไม่ได้ตอบ ขออนุญาตนำโจทย์ของคุณพี่น้องฯ มาลงต่อตรงนี้นะครับ เรื่องการเรียนเป็น block ขอชะลอไปอีกอัน

ยังไงก็ต้องย้อนกลับมาตรงที่ PBL และ SDL ไม่สามารถสอนเรื่องความรับผิดชอบต่อชีวิตและวิชาชีพได้แน่นอน

ตรงนี้อยากจะขอการขยายความอีกสักนิดนึงจะได้ไหมครับ เพราะเมือ่ไหร่ก็ตามที่เรามีความมั่นใจขนาดหนึ่งแล้ว น่าจะมีที่มาหรือเรื่องราวเบื้องหลังพอสมควร

SDL (Self-Directed Learning) โดยชื่อซึ่งบ่งบอกถึงหลักการชัดเจนในตัวเองคือ การรับผิดชอบตนเองว่าเราจะทำอะไรให้เกิดการเรียนรู้ในวันนี้ดี ระหว่างอันนี้กับการที่มีครูอาจารย์บอกว่าวันนี้เราควรจะรู้ biochemistry กับสรีระวิทยาเรื่อง nerve and muscle ฯลฯ ไปเรื่อยๆจนจบหลักสูตร อย่างไหน ต้องการการฝึกรับผิดชอบตนเองมากกว่ากัน?

การสอนให้ "รับผิดชอบต่อชีวิต" นั้นเราควรจะทำอย่างไร?
๑) บอกให้จำว่าเรา "ต้อง" รับผิดชอบต่อชีวิต ถ้าไม่ทำจะมีการทำโทษ เรียนไม่ผ่าน ... หรือ
๒) สอนให้รู้ว่า "ชีวิต" นั้นมีค่ามีความหมาย และจากความรู้ตรงนี้กลายเป็นสิ่งที่ "ควร" รับผิดชอบโดยสายอาชีพ

อย่างที่ผมเขียนในกระท้ข้างบน ถ้าคนเรียนระบบเก่า ไม่รู้สึกรู้สมต่อ "รางวัล" ที่ว่าไว้นั้นจนจบ ก็จะน่าเสียดายอย่างยิ่ง เพราะกลายเป็นเขาเรียนโดย และเรียนเพื่อสมุดพกความดีแค่นั้น แมอ่ไหร่กตามที่เขาเอารางวัลตรงนี้ (clinical skill) เป็นตัวนำแทนการบันทึกสมุดพกความดี ตั้งแต่นี้ต่อไปเขาก็จะสามารถ self directed walking running eating etc รวมไปถึง learning โดยมีจุดมุ่งหมายที่ถูกต้องจริงๆ

นั่นเป็นความคิดของผม ดังนั้นจึงอยากจะเรียนรู้มุมมองของคุณพี่น้องฯในมุมกลับบ้างครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-09-28 , Time : 00:53:33 , From IP : 172.29.3.237

ความคิดเห็นที่ : 15


   การเรียนเป็น block

ก่อนอื่นผมสามารถบอกได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่าผมก็ไม่ค่อยเข้าใจลึกซึ้งในเรื่องการเรียนเป็น block นี่เท่าไหร่ และไม่สามารถบอกได้ด้วยว่าระบบ block ที่ optimal นี่เป้นอย่างไร ดังนั้นต่อไปนี้จะเป็นกระท่อนกระแท่นในความเห็นของผมเท่านั้น

คำว่า บูรณาการ แวบเข้ามาตรงนี้ ว่าเราควรจะเรียนแบบประสานความรู้ อะไรที่มันมีปฏิสัมพันธ์กัน ก็จะได้เห็นว่ามันมีปฏิสัมพันธ์กันจริงๆ เช่นผ่าตัดมันเกี่ยวกับดมยาก็เลยมาอยู่ใน block เดียวกัน แต่ตรงนี้เส้นแบ่ง เส้นจำแนกค่อนข้างจะไม่ชัดเจนทีเดียว เช่น สูติ ENT eye ก็มีผ่าตัด แต่แยกออกไปต่างหาก โดยส่วนตัวของผมยังไม่เห็น "จุดแข็ง" ของการเรียนเป็น block คงจะมีความรู้ไม่พอ

คิดว่ามันคงไม่เกี่ยวกับ holistic care ด้วย คือการดูแลรักษาผู้ป่วยแบบองค์รวม ซึ่งตรงนี้ไม่สามารถแบ่งเป็น block ได้ เหมือนๆกับอีกสองสาม topics เช่น Palliative care, evidence-based, และ Ethics ซึ่งเรากำลังจะสอดแทรกเข้ามาในหลักสูตรอย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น ตรงนี้คงต้องแทรกไปหมดอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่ว่าใช้ evidence-based เฉพาะตอนอยู่ pre- and post-operative care แล้วไปใช้ Ethics เฉพาะตอนอยู่ block adult แบบนั้นไม่น่าจะ work

ในความเห็นของผมถ้ามัน integrate กันยากนักก็ไม่ต้อง integrate ไม่งั้นก็กลายเป็น integrate แต่คงสภาพความเป็นขนมชั้นอยู่ในแต่ละ block แต่เห็นด้วยว่าถ้า integrate แล้วกลายเป็นต้มยำกุ้ง หรือแกงเขียวหวานก็คงจะเข้าท่าดีกว่ากินเป็นส่วนๆ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-09-28 , Time : 14:44:36 , From IP : 172.29.3.75

ความคิดเห็นที่ : 16


   ประเด็นสมุดพกความดีก่อนนะครับ ผมขอใช้คำ "แบบเก่า" กับ "แบบใหม่" นะครับ หวังว่าคงไม่ทำให้สับสน

ในแบบเก่า สิ่งหนึ่งที่ระบบสามารถรับประกันได้ก็คือผลผลิตที่ออกไปได้มาตรฐานในขณะนั้น แต่ไมรับประกันมาตรฐานในอนาคต
ในแบบใหม่ ระบบสามารถสร้างผลผลิตที่มีโอกาสพัฒนาตัวเองต่อไปในอนาคตได้

แบบเก่า ผมว่าเน้นไปทั้ง reward + punishment ไม่ได้เน้นการเสริมแรงเพียงอย่างเดียว ไม่ทำ ไม่ส่ง ไม่ดู ไม่เขียน ก็ตก
แต่ผมว่า reward นั้นมันจะมาเองโดยไม่จำเป็นต้องกำหนด ผู้เรียนจะได้ทักษะ ได้ความรู้ มาโดยระบบตีกรอบให้ บางครั้งยังอาจได้เจตคติที่ดีติดมาด้วย

แบบใหม่ ผมว่าเน้นไปทาง reward มากจนเกินไป เรียนเองได้เอง ไม่เรียนไม่ได้ ไม่มีใครลงโทษ
ผมเคยเห็นนักเรียน SDL คนหนึ่งไปนั่งห้องฉุกเฉิน แต่อาจเนื่องจากไม่แสดงตน หรืออะไรก็ตาม ปรากฎว่าไม่มีใครให้ความสนใจ นักเรียนก็เดินตามคนที่อาวุโสกว่าไป observe การทำงาน แต่พอหมดช่วงเวลานั้นแล้วก็ให้เจ้าหน้าที่อีกท่านหนึ่งช่วยลงบันทึกว่าได้มา SDL แล้ว
มองในแง่ดี ผมว่าเขาได้ความรู้ ได้ทักษะในการสื่อสารโดยการสังเกต และในอีกไม่ช้า เขาอาจได้ความกล้าแสดงตนเพื่อตักตวงความรู้ให้มากขึ้น

แต่ถึงอย่างไรก็คงไม่ได้เป็นเครื่องหมายรับประกันคุณภาพสินค้าได้แน่ หากนักเรียน "แบบเก่า" มีความใฝ่รู้ มีการพัมนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ ผมว่าเผลอ ๆ นักเรียน "แบบใหม่" ยังสู้ไม่ได้เสียอีก


สรุป เห็นด้วยกับอาจารย์ฟีนิกส์ครับ แต่อยากฝากเรื่องการกระตุ้นความกระหายใฝ่รู้ และความรับผิดชอบของนักเรียนให้มากด้วยครับ

วันนี้คงต้องสั้น ๆ อย่างนี้ก่อนนะครับ ผมต่อสายมาจากข้างนอก เวลา internet ใกล้จะหมด โอกาสหน้าจะมา discuss กันต่อครับ ขอไปเติมเงินก่อนครับ


Posted by : พี่น้องและผองเพื่อน , Date : 2004-09-29 , Time : 21:25:04 , From IP : 202.129.18.132

ความคิดเห็นที่ : 17


   เห็นด้วยกับ "ระบบเก่า" หรือ ระบบสมุดพกความดีอย่างนึง ลักษณะสำคัญของการเป็นผู้ใหญ่ (maturity) คือการที่เราจะต้องเผชิญกับ "consequences" ของสิ่งที่เราทำ

ตรงนี้คือความต่างที่ชัดเจนที่สุดประการหนึ่งระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก (ไม่เกี่ยวกับหนวดเครา secondary sexual characteristics, etc ) ตราบใดที่เรายังถูก exempted จากการเผชิญหน้ากับ consequences ของสิ่งที่เราเองทำลงไป แปลว่าเราไม่ได้อยู่ใน "ระบบ" ที่เอื้อความเป็นความผู้ใหญ่ (ไม่ได้แปลว่าการ exempted ทำให้เรา "ไม่เป็น" ผู้ใหญ่นะครับ คนบางคนมี sense of responsibility installed by default อยู่ใน mode of thought)

ดังนั้นผมมีคำถามที่โยนลงไปเสมอๆว่า ระบบการประเมินของเราการันตีหรือไม่ว่าจะกรองคนที่ยังไม่มี clinical skill ตามที่เราต้องการได้ ตรงนี้ไม่เกี่ยวกับ learning activities หรือการเรียนระบบไหนๆ และผมคิดว่าสำคัญสำหรับระบบการเรียน "ทุกระบบ" ที่เราจะต้องมี quality assurance ใน products ของเราให้ได้ one way or another



Posted by : Phoenix , Date : 2004-09-29 , Time : 22:27:46 , From IP : 203.156.40.49

ความคิดเห็นที่ : 18


   สำหรับย่อหน้าสุดท้ายของอาจารย์ฟีนิกส์...

อาจารย์ลองไปดู checklist เรื่องการใส่ foley catheter ดูเป็นตัวอย่างนะครับ ในนั้นไม่มีข้อที่ว่า หากใคร inflate balloon ผิดช่อง(คือใส่น้ำเข้าไปทางที่ควรจะมี urine ออกมา ไม่ใช่ใส่ในช่องที่ควรจะเป็น) จะหักคะแนนหรือให้ตก (อันที่จริง มีเฉพาะ ...หากไม่ inflate balloon จะไม่ได้คะแนน)

ที checklist มีเท่านี้คงเป็นเพราะว่าโดยสามัญสำนึก คงไม่มีใครใส่น้ำลงไปทางช่องที่มี urine ออกมา แต่เชื่อไหมว่าที่สถาบันแห่งหนึ่ง ในการสอบ comprehensive มีนักเรียนพยายามใส่น้ำลงไปทางช่องใหญ่ (ที่เป็นทางออกของ urine) ผู้คุมสอบก็ไม่สามารถหักคะแนนหรือให้ตกได้ ทั้งที่ในความเห็นส่วนตัวของหลายคนถือว่านี่เป็น critical error แต่ในที่ประชุมแผนกสรุปว่าเป็น error ที่ไม่ถือเป็น critical error เนื่องจากอาจมีการตื่นเต้นขณะสอบ และในความเป็นจริง ช่องทางนั้นควรจะมี urine ออกมา ประกอบกับความไม่เหมาะสมกันของปลาย syringe และทางออกของ urine ใครก็ตามที่พยายามใส่น้ำลงไปทางนั้น ไม่สามารถทำได้ ... สรุปว่านักเรียนผ่าน chicklist นั้นไม่จำเป็นต้องแก้ไข


ก่อนหน้านี้มีนักเรียนออกมาบอกใน webboard นี้ว่าไม่เห็นด้วยกับการมีโพย แต่ในภาควิชา การสอบ formative นั้นเป็นยิ่งกว่าโพยเสียอีก แต่ก็ยังมีนักเรียนแบบที่ยกตัวอย่างข้างบนหลุดมาให้เห็นอีกเป็นระยะ ผมว่าที่อาจารย์ฟีนิกส์บอก ถ้าเป็นความเห็นส่วนตัวแล้ว ผมว่าในปัจจุบัน ระบบการคัดกรองเรื่อง clinical skill ยังต้องได้รับการพัฒนาต่อไปครับ ปัจจุบันนี้คงเป็นเหมือนเครื่องมือช่วยสอนหรือกระตุ้นคนเรียนว่า "คุณต้องทำหัตถการนี้ให้เป็นนะ" ซึ่งหากนักเรียนมีความขยันและใฝ่ศึกษา ก็จะช่วยได้มาก

ไม่รู้ว่าเดี๋ยวนี้ยังมีคนเอาด้านสีน้ำเงินของ ICD ใส่เข้ากล่อง (หุ่นจำลอง) อีกหรือเปล่าครับอาจารย์


Posted by : พี่น้องและผองเพื่อน , Date : 2004-10-01 , Time : 20:57:45 , From IP : 202.129.18.132

ความคิดเห็นที่ : 19


   เดี๋ยวนี้ผมเข้าใจว่ามีการปรับ checklist OSCE มาหลายครั้งแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแค่รอบสองปีที่ผ่านมา ฉะนั้นถ้านับตั้งแต่คุณผ่านมาฯเห็น checklist ครั้งสุดท้ายก็คงหลายครั้งน่าดู

ที่เพิ่มมาคือ critical error และการปรับ objective checklist การทำ checklist ของ OSCE, MEQ นี่ไม่ง่ายนัก นศพ.เราสามารถจะ surprise คนตรวจได้อย่างไม่มีจำกัดทั้งด้านดีน่าทึ่ง และด้านแปลกใจหนักใจปวดใจ (ว่าคิดออกมาได้อย่างไร) การปรับ critical error มีการพิจารณาไปถึงว่าหักคะแนนเท่าไหร่ดี หลักกว้างๆคงจะดูว่าหัตถการนั้นๆสำเร็จตามวัตถุประสงค์โดยไม่มีอันตรายจะเกิดแก่คนไข้หรือไม่ การปรับหักคะแนนก็มีตั้งแต่ตกทั้งข้อ (ได้ศูนย์) หักบางส่วน (เช่นหักตั้งแต่ sterile technique broken จนจบ เพราะถือว่าตั้งแต่จุดนั้นไม่ work) และอื่นๆอีกมากมาย

เครื่องมือกระตุ้นที่ดีที่สุดที่จะบอก นศพ. ว่าหัตถการนี้ฉันต้องทำเป็นนะ ผมยังเชื่อว่าไม่ใช่เพราะมันอยู่ใน OSCE station แต่เป็นจากที่ นศพ.อยู่บน ward, OPD, ER แล้วเห็นว่าหัตถการเหล่านี้ถูกทำ day-in day-out เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย ผมยังค่อนข้าง sceptic กับกลยุทธคะแนนคือตัวนำตัวล่อตัวดึงตังผลักอยู่ดี

จริงๆผมคิดว่าหัตถการหลายๆอย่างเราสามารถสอบได้ตั้งแตอนปฏิบัติการทำงานจริง มันจะธรรมชาติกว่าและเหมือนจริงกว่า นศพ.เฝ้า ER ได้เย็บแผลจริงซักห้ารายสิบรายก็คงไม่ต้องไปนั่งสอบ OSCE เย็บท่อนยาง นศพ.ใส่เสื้อกาวน์เข้า case ก็คงไม่ต้องเข้าไปสอบใส่เสื้อในห้องแคบๆให้ชกผนังชกประตูเล่นๆ นศพ.ล้างแผลที่ห้องุกเฉินสักห้ารายสิบรายก็ไม่ต้องมาละเลงน้ำสีบนแผ่นโฟม ผมไม่ทราบว่า case เล็กๆน้อยๆเหล่านี้ที่ ER มีซักกี่มากน้อยในปัจจุบันแต่ถ้าพอ เราอาจจะประหยัด OSCE station ได้หลายห้องหรือเพิ่มอย่างอื่นเข้าไปแทน หรือการสอบให้คำแนะนำผู้ป่วยจำลองที่ท่องบทมานั้นอาจจะ "ยาก" ที่ได้การประเมินที่ตรงหรือแม่นยำ

แต่ที่อยากจะสื่อก็คือความคิดเห็นเหล่านี้เราไม่ได้จากใครคนใดคนหนึ่งเท่านั้น แต่เป็นจากการระดมความคิดของฝ่ายวิชาการ block ต่างๆ และก็ยังเห็นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา



Posted by : Phoenix , Date : 2004-10-02 , Time : 20:18:59 , From IP : 203.156.40.37

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.01 seconds. <<<<<