ความคิดเห็นทั้งหมด : 18

"""สิ่งที่เกิดขึ้นจริงกับนศพ.มอ.ปัจจุบันป็นอย่างไร......


   
"""สิ่งที่เกิดขึ้นจริงกับนศพ.มอ.ปัจจุบันป็นอย่างไร...... บ่อยครั้งเหลือเกินที่จะได้ยินเพื่อนๆ รวมทั้งตัวผมเองพูดว่า ปีหน้าจะเป็น extern แล้วแต่ยังไม่มีความรู้อะไรเลย ฟังแล้วสงสารนศพ.หรือคนไข้ดีครับ....ลองฟังความคิดของผมดูละกันนะครับ ถูกใจหรือไม่ก็แล้วแต่ใจคุณนะครับ
ในขณะนี้คิดว่า ปัญหาของเรามาจากสามอย่างด้วยกัน ๑. ระบบ ๒.ความแตกต่าง
๓.จุดยืน
๑. ระบบ ธรรมดาที่มักจะเห็นคนใหญ่คนโตในสังคมนำระบบของต่างประเทศมาใช้โดยไม่คิดถึงความแตกต่างของสังคมของบ้านเรา และบ้านเขาที่แตกต่างกันในทุกๆด้าน นักเรียนไทยเรียนแบบครูป้อนมา 12 ปีอยู่ๆวันดีคืนดีจะให้เด็กไปหากินเองคิดดูสิครับว่าจะเป็นอย่างไร........ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลาและเราก็ป้องปรับตัวเพื่อการอยู่รอด.....แต่การเปลี่ยนแปลงที่ดีควรจะค่อยๆเปลี่ยนนะครับ.....หาจุดแข็งของตัวเราเองและมองหาจุดแข็งของคนอื่นแล้วนำมาปรับใช้....น่าจะเป็นทางออกที่ดี....ไม่ใช่จุดแข็งของตัวเองก็ไม่รู้...แล้วไปนำวิธีของต่างชาติมาใช้ในสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง จารคิดว่าโอกาสสำเร็จจะมีเท่าไร?
๒. ความแตกต่าง ยุคสมัยมันเปลี่ยนไปแล้วครับ ยุคสมัยของอาจารย์ ให้นิยามของคำว่าเก่งไว้อย่างไรครับ แล้วคิดว่ายังนำมาใช้ในสมัยนี้ได้มั้ยครับ ที่ผ่านมารู้สึกว่าในยุคที่เต็มไปด้วยข้อมูลอย่างปัจจุบัน หากปล่อยให้นักศึกษากระโดลงไปในมหาสมุทรของข้อมูลข่าวสารแล้ว ผมว่ามันเสียเวลาเหลือเกิน.
ย้อนนึกภาพตอนทำ pbl ตอน preclinic แล้วรู้สึกว่าตัวเองสูญเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์มากมายเหลือเกิน คงนึกภาพออกว่าดูเหมือนนศพ.มีความรู้มากแค่ไหนแต่หลังจากเสร็จ pbl ละ สามารถสรุปนำเอาไปใช้จริงได้แค่ไหน สุดท้ายก็ได้แค่ว่า เรื่องนี้เคยเรียนแล้วแต่จำไม่ได้
อยากระบายต่อแต่ต้องไปแล้วครับถ้ามีเวลาจะมาเขียนต่อ ...ไปละครับ


Posted by iceman() 2004-08-30 , 22:20:00 , 172.29.4.186



Posted by : .... , Date : 2004-09-23 , Time : 22:13:14 , From IP : 221.128.91.44

ความคิดเห็นที่ : 1


    เห็นด้วยกับ iceman ครับ ขอเพิ่มเติมดังนี้
1. เรื่องระบบ ผมว่าไม่มีใครผิดหรอก นั่งเถียงกันทั้งวันก็ไม่จบ แต่อยากเสนอความเห็นดังนี้คือ คิดว่าระบบนี้เป็นระบบที่ดี แต่ไม่เหมาะกับนักศึกษาแพทย์ มอ อย่างพวกผม เนื่องจากนักศึกษาแพทย์เกิน 80 % ไม่ได้อยากเรียนหมอ อาจารย์น่าจะทราบดี โดยเฉพาะอาจารย์ที่อาวุโส อาจารย์ท่านหนึ่งเคยถามนักศึกษาเสมอเวลาออกOPD ว่า ถ้าตอนนี้ให้กลับไปเลือกใหม่ มีใครจะเลือกเรียนหมอบ้าง อย่างกลุ่มผมก็มีแค่ 2 คนจาก 8 คน อาจารย์บอกว่าก็เป็นอย่างนี้มาทุกๆรุ่น บางรุ่นแทบไม่มีใครอยากเลือก ทีนี้มันก็เป็นประเด็นที่ว่า เมื่อเด็กเราเป็นอย่างนี้เนี่ย มาใชระบบนี้ก็มีปัญหาแน่นอน บอกได้เลยว่าความมีอิสระเสรีมันมากขึ้น เรียนสบายขึ้น ว่างมากขึ้น ข้อสอบก็ออกง่ายขึ้น โพยก็มีมาก อาจารย์หลายๆท่านก็เคยเปรยๆว่า ทำไมทั้งที่ออกข้อสอบง่ายขึ้น แต่กลับยังทำกันไม่ได้ ตามมาแก้ตอนปีโตๆ อาจจะยากแล้วมั้งครับ ในเมื่อบางคนเรียนปีสองปีสามมาได้แบบง่ายๆ ไม่ค่อยได้ความรู้ lecture ก็ไม่ต้องเข้า ดูvedio เอาก็ได้ กลางวันก็นอนกันสบาย อ่านกันก็ช่วงสอบไม่กี่วัน เวลา PBL เนี่ยpresent ดีๆ พูดมากๆหน่อย บางคนก็แค่ echolalia เออออห่อหมกกับเพื่อนก็ได้คะแนนแล้ว ก็แค่พูดตามเอกสารที่หามา สังเกตว่าหลายๆครั้งอาจารย์ที่มาคุมก็ตกเป็นเหยื่อได้โดยง่ายๆ ยิ่งเป็น specialist ที่ไม่ได้ตรงกับสาขาของตังเอง ลืมหมดแล้ว อาจจะไม่มันเกมส์ได้นะครับ
มันเลยเป็นเหมือนกับว่าเรียนๆไปเพื่อสอบแล้วก็จบกัน เห็นด้วยกับเพื่อนที่ว่า พอจบ PBL ก็ได้แค่ว่าเรื่องนี้เรียนแล้วแต่จำไรไม่ได้เลย แตกต่างจากตอนพูดในห้องนะ ตอนนั้นเนี่ยพูดกันระดับโมเลกุลเลย


Posted by Edward() 2004-08-31 , 17:04:19 , 172.29.4.219


Posted by : O , Date : 2004-09-23 , Time : 22:14:06 , From IP : 221.128.91.44

ความคิดเห็นที่ : 2


   
การเรียนในชั้น clinic ปัญหาเรื่อง SDL แบบผิดๆก็ยังมีให้เห็นเสมอ แต่ก็ลดลงนะ และก็ไม่น่าจะแก้ยากอาจจะต้องบังคับมีระเบียบกันมากๆ หรือหาอะไรให้ทำเป็นชิ้นเป็นอัน เช่น ต้องเขียน progress note present case กันอย่างเข้มข้น ผมคิดว่าเป็นเรื่องหลักนะ ไม่งั้นก็จะอยู่ไปวันๆบ่นว่าเหนื่อยกับการเรียน แต่จริงๆ ไม่ค่อยได้อะไร ที่ใครเขาบ่นว่าเด็กเราคิดไม่เป็น ดูคนไข้ไม่เป็น ก็เพราะเดี๋ยวนี้ เราได้ทำอะไรกันน้อยลง ไม่ดูคนไข้ ก็จะไม่สงสัยอะไร ความเข้มงวดเราลดลง order อะไรก็ไม่ได้เขียนไม่รู้เรื่อง เดินตามพี่กันไปวันๆ พี่คนไหนไม่สอนก็ซวยไป ไม่ได้ความรู้ จะมาหวังว่าต้องเรียนรู้เอง ซักถาม แต่ถ้าเริ่มต้นจากศูนย์ และก็อยู่มาแบบโง่ๆมาตั้งแต่ปีสองปีสาม ก็คงยากที่จะมาเรียนกับคนไข้

Posted by Edward() 2004-08-31 , 17:37:21 , 172.29.4.219


Posted by : ... , Date : 2004-09-23 , Time : 22:15:43 , From IP : 221.128.91.44

ความคิดเห็นที่ : 3


   ที่ผ่านมามีใครคิดว่าหลังจากจบ PBL แต่ละเรื่องแล้วสามารถรู้ได้ว่าบรรลุวัตถุประสงค์ถูกต้องครบถ้วน ที่สำคัญคือความรู้นั้นครบสมบูรณ์และถูกต้อง จำเป็นไหมที่ควรจะมี ชั่วโมงสรุปเนื้อหาจากอาจารย์ที่ดูแล PBL เรื่องนี้

Posted by : ร่วมคิด , Date : 2004-09-24 , Time : 08:56:18 , From IP : 172.29.3.147

ความคิดเห็นที่ : 4


   ผมชักสงสัยว่าคนที่เรียนมาในระบบเก่าเก่งอย่างไร และดีอย่างไร เพราะผมก็เห็นไม่แตกต่างจากสมัยนี้เช่นกัน

Posted by : อ , Date : 2004-09-24 , Time : 10:32:20 , From IP : 172.29.3.150

ความคิดเห็นที่ : 5


   สิ่งที่เกิดขึ้นจริงกับนศพ.มอ.ปัจจุบัน? คือความปั่นป่วนของจิตใจนศพ.เองค่ะ...
นี่เป็นความคิดเห็นส่วนตัวเช่นกันนะคะ....
1.ระบบ...การที่เราเรียนไม่เหมือนกับที่อื่นอาจทำให้เราไม่มั่นใจว่าเราจะดีเท่ากับระบบเก่าหรือไม่ แต่โดยส่วนใหญ่ นศพ.ของเราจะคิด negative กับตัวเอง คิดว่าเราอ่อนด้อยอย่างนั้นอย่างนี้ ระบบเก่าดีกว่า แต่ใครจะสามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้ล่ะคะ ในเมื่อเราไม่ได้มีโอกาสสัมผัสกับระบบเก่าเลย มีสักกี่คนที่มั่นใจว่าหากเรียนระบบเก่าแล้วตัวเองจะเก่งกว่านี้แน่นอน? ดังนั้นในเมื่อเรามีระบบการเรียนที่ไม่เหมือนใคร สิ่งที่นศพ.ทุกคนจะสามารถทำได้ก็คือ ทำความเข้าใจกับมันแล้วก็เรียนให้ดีที่สุดดีกว่าไหม.... หากจะพูดกันจริงๆ ระบบนี้ก็มีทั้งส่วนดีและส่วนไม่ดี ส่วนที่ดีก็คือ ฝึกให้มีการคิดเชิงวิเคราะห์ และนำcase ที่พบบ่อยของแต่ละระบบมาเรียน(ซ้ำแล้วซ้ำอีก) แต่จุดอ่อนอย่างมากก็คือ มันเป็นระบบที่ใหม่ซะจน กลายเป็นการเรียนที่ไม่มีมาตรฐาน(อย่างมาก) โดยเฉพาะการเรียน pleclinic ซึ่งคะแนนส่วนใหญ่ มาจาก pbl ประสบการณ์คือการเรียนรู้ของแต่ละ pbl มีปัจจัยมาควบคุมมากเกินไป เช่น กลุ่ม อาจารย์ผู้คุม ....ยิ่งpblมีผลต่อคะแนนมากเท่าไหร่ กระบวนการคิดของนศพ.ก็ถูก block มากขึ้นเท่านั้น.. อย่างไร ขอยกตัวอย่าง...ในact 1 เป็นการทำความเข้าใจกับโจทย์ เป็นชั่วโมงที่นศพ.จะตั้งคำถามกับตัวเอง เอาประสบการณ์มาใช้อธิบายสิ่งต่างๆซึ่งมันไม่จำเป็นต้องถูกต้องเสมอไป แค่ได้ฝึกสมอง เป็นคนช่างสงสัย 2 ชั่วโมงก็คุ้มแสนคุ้มแล้ว แต่ความเป็นจริงคือ เนื่องจากมีผลต่อคะแนน หากไม่รู้อะไร นศพ.ก็กลัวจะถูกว่า ไม่กล้าเสนอความคิดเห็น กลัวอาจารย์...บ่อยครั้งที่ตัวเองมักจะหงุดหงิดกับเหตุการณ์ที่ ไม่ค่อยมีใครยอมพูดในสิ่งที่ตัวเองคิด และ ก็มักจะมีความคิดเห็นว่าไม่รู้อะไรก็ไปหามาเถอะ +_+" .....แล้วมันจะมีค่าใดเล่า คนที่มีความคิดสร้างสรรค์ก็พลอยถูก block ไปด้วย เพราะจะมีใครอยากเป็นเป้าให้คนหมู่มากนินทา ก็ต้องตามน้ำกันไป ดังนั้นการทำpbl act 1 ก็เหมือนเข้าไปในห้อง รับโจทย์ เขียนโจทย์ลงกระดาน มีการพูดความคิดเห็นที่พิสูจน์แล้วว่าจริง(จากโพยพี่) ตั้งวัตถุประสงค์(เหมือนคู่มืออ.เชียว)...ฮึ้มๆๆ ดังนั้นข้อเสนอแนะคือ นศพ.ต้องเข้าใจว่าขณะนี้เรากำลังถูกฝึกให้เป็นคนช่างคิด การเรียนกับปัญญาเพื่อต้องการให้พวกคุณรู้ว่านำเอาทฤษฎีมาใช้กับผู้ป่วยได้จริง(ก็เลยมีการเรียนlecture คู่กับการทำpbl ไงล่ะ ถ้าสังเกตจะพบว่าเรียนอะไรก็จะได้เรียนcase ที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นโดยตรง) และสำหรับ facillitator....คงยากนะคะ แต่หวังว่าเวลาจะทำให้ระบบการเรียนนี้ดีขึ้นเรื่อยๆ
ระบบนี้ดีไม่ดีอย่างไร..การที่มีคนเรียกร้องให้มีการประเมินบัณฑิตที่จบจากระบบนี้เทียบกับรุ่นก่อน..เห็นด้วยอย่างมากเลยค่ะ สำหรับตัวเองคิดว่าปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการเรียนรู้ก็คือตัวนศพ.เอง และที่ถ่วงน้ำหนักรองลงมาคือความใส่ใจและให้ความเป็นกันเอง สนับสนุนการเรียนรู้ให้นศพ.ของอาจารย์แพทย์ สองปัจจัยนี้มีผลมากๆค่ะ
2.ความแตกต่าง..ไม่เข้าใจหัวข้อนี้ iceman ตกลงเรื่องนิยามคนเก่งหรือเรื่องของยุคสมัย
3.จุดยืน....จะมาตอบถ้ามาเขียนต่อนะคะ
สุดท้ายเป็นความคิดรวบยอดของตัวเองต่อการเรียนค่ะ
-การเรียนแพทย์ก็เหมือนกับการเรียนสายวิชาชีพ คิดมากก็รู้มาก ทำมากก็เป็นมาก preclinic สร้างกระบวนการคิด ชั้นclinic ก็ทบทวนความรู้พื้นฐาน หาความรู้ใหม่ และฝึกปรือทักษะ ซึ่งคิดว่าระบบเองก็อยากให้นศพ.เป็นอย่างนี้ แม้ต้องปรับปรุงในอีกหลายจุดมากกกกกกกกกก..ก็ตามที
-เราอาจจะมาไกลกว่าที่จะกลับไปสู่ระบบเก่าแล้วก็ได้....ดังนั้นอยู่กับสิ่งที่มี ไม่ใช่สิ่งที่ฝัน(ซึ่งไม่รู้ว่าจะดีกว่าจริงรึเปล่า) คำพูดนี้อาจฟังน้ำเน่าแต่มันคือfact
-เราไม่สามารถไปลบเส้นของใครให้สั้นลงได้ สิ่งที่ทำได้คือขีดเส้นของตัวเองให้ยาวขึ้น..ด้วยตัวเองค่ะ



Posted by : akira , Date : 2004-09-25 , Time : 00:20:47 , From IP : 172.29.4.64

ความคิดเห็นที่ : 6


   ระบบ PBL นั้น ถ้ามีการ break group process ก็ไม่น่าแปลกใจที่จะเกิดปัญหา แต่การที่เกิดปัญหาเพราะไม่ได้ทำตามหลักการของระบบนั้น ไม่น่าจะแปลได้ว่าระบบไม่ดี

ใช่หรือไม่?

การใช้โพยทำให้ไม่ต้องคิด ดังนั้นเป็นความผิดของใคร? ของคนที่ให้โพย ของคนที่ใช้โพย? ของระบบ? ถ้าทุกคนรู้ว่าการใช้โพยทำให้การเรียนนี้ล้มเหลวแต่ยังยอมใช้เพื่อให้ได้คะแนน ปัญหานี้ควรจะแก้ที่ตรงไหน?

ถูกหรือผิดในเรื่อง cognitive นั้น ต้องมีที่มา ต้องอธิบายได้ ในขณะที่ถูกหรือผิดในเรื่อง abstract หรือสังคมศาสตร์ต้องมีเหตุผลและมีหลักการ ไม่ว่าจะเป็นแบบไหน level of interpretation นั้นต้องเกินระดับ pure memory แน่ๆ ไม่มีใครสามารถท่อง case ตัวอย่างจนครอบคลุม case ทั้งหมดที่จะเจอในอนาคต และไม่มี scenario ไหนที่เหมือนจริงและจะมีทุกอาการ ทุกอาการแสดงมาให้เรียน ดังนั้นนี่คือความสำคัญอย่างยิ่งยวดของการ "ต่อยอด" cognitive knowledge ด้วยตรรกะ ด้วย imagination

เมื่อมาถึงคำว่า imagination หรือ stretch of imagination ความถูกผิดยังตัดสินกันไม่ได้ตอนนี้ ต้องไปค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่ม ดังนั้นการที่มีคนคิดจินตนาการกว้างไกลไม่ใช่เรื่องเสียหาย และการที่คนหมู่มากไม่เห็นด้วยก็ไม่ได้แปลว่าเราผิด

เราเรียนแบบ multiple choices มามากเกินไป ผมว่าทำให้เราไม่สามารถที่จะคิด out of the box ได้ ต้องมีตัวเลือก แล้วถ้าตัวเลือกมันห่วยหมด ทำยังไง? ด้วยปฏิกิริยาที่เป็น reflex เราก็ยังเลือกมันไปอยู่ดี เห็นได้ชัดจากสังคมที่ถูก manipulated โดยโฆษณา ยาแชมพูในตลาดตอนนี้มี growth rate มากกว่า growth rate ของประชากร fake demand ทำให้คนซื้อมือถือมาโดยไร้คงวามจำเป็น ใครใช้บรการ SMS ฟังข่าวฟุตบอกทุกครั้งที่มีการยิงเข้าก็ถูก absorb เงินไปโดยไม่รู้สำนึก ทั้งนี้ผมอยากจะโทษว่าเราเติบโตมาโดยการติ๊ก multiple choices นี่แหละ

เราน่าจะสอบ essay กันมากขึ้น ตรวจยากกว่าจริง แต่ถ้าไม่รู้จริง ไม่มี idea ไม่มี structured thought อยู่ในหัวเลยเราจะ detect ได้ดีกว่าเยอะ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-09-25 , Time : 01:15:31 , From IP : 203.156.41.233

ความคิดเห็นที่ : 7


   เอ่อ คือว่านะครับระบบน่ะมันดีจริงอะ มีจุดประสงค์ที่ดีมาก แต่มันยังไม่เหมาะสมกับนิสัยคนไทย ถ้าจะเริ่มก้อน่าจะเปลี่ยนแบบค่อยๆแทรกเข้ามา ไม่ใช่ชั้นนึกจะเปลี่ยนชั้นก้อเปลี่ยน มันปรับตัวม่ายทันนนนนนน
คือว่าระบบนี้อะนะครับ ไม่ทราบท่านผู้นำระบบไปเข้าใจอะไรผิดๆๆมารึป่าว โดยการเรียนปกติระบบเก่าๆเนี่ยมันก้อมีการไปอ่านความรู้เสริมอยู่แล้ว โดยมีอาจารย์สอน core ของสิ่งที่ครวรรู้ แล้วที่เหลือเนี่ยใครอยากเก่งก้อไปอ่านเอง มันจะรู้สึกว่ามีความรู้ในหัวบ้าง พร้อมสำหรับต่อยอดความรู้ต่อไป but ใน PBL เนี่ยตัดทั้งเลคเชอร์ anatomy and พื้นฐานทั้งหลาย(ซึ่งเป็นพื้นฐานร่างกายมนุษย์ที่แพทย์สมควรรู้เพื่อที่จะนำไปรักษามนุษย์ จะให้เรียนแค่ตับ ปอด หัวใจแล้วจบแค่นั้นเหรอ มันไม่ได้อะ อันนี้ห่วยมาก อาจเป็นเพราะคนที่นำระบบมา ไม่ได้ใช้ความรู้ในด้านนี้ทำงานก้อได้ เช่น hemato psycho............. ถึงคิดว่ามันไม่สำคัญ)พอไม่มีพื้นฐานความรู้ที่แน่น ต่อไปจะไปอ่านอะไรมันก้อยากแล้วววววว รู้ไว้ซะด้วยนะ โปรดเข้าใจผู้เรียนบ้าง คาดว่าต่อไปถ้าระบบนี้สำเร็จ คงจะมีการเรียนแพทย์ทางคอมได้อะนะ


Posted by : คัดค้าน , Date : 2004-09-26 , Time : 01:39:02 , From IP : 172.29.4.214

ความคิดเห็นที่ : 8


   เห็นด้วยว่าการ assumption นั้นจะมีผลกระทบต่อบริบทความคิดที่เหลือตามมาเยอะทีเดียว

นิสัยคนไทยคืออย่างไร?

หมายถึงนิสัยของเราซึ่งเป็นคนไทยคนหนึ่งสามารถจะเป็นตัวแทนของนักเรียนไทยทั้งประเทศ? ของเรากับเพื่อนอีกกลุ่มหนึ่ง? และอย่างไรที่ว่าไม่เหมาะกับคนไทยครับ?

คนไทยไม่สามารถเรียนได้ด้วยตนเอง? คนไทยไม่สามารถรับผิดชอบในหน้าที่การงานหรือมองเห็นสิ่งที่วิชาชีพหลักสูตรต้องการให้ทำได้? คนไทยต้องเรียนโดยมีคนสอนบรรยายเท่านั้น? สิ่งเหล่านี้เป็นสมมติฐานที่น่าสนใจ แต่ผมว่าเราอาจจะพอมองเห็นข้อคัดค้าน ขัดแย้งตั้งแต่ตอนตั้งสมมติฐานแล้ว แค่ลำพังความเห็นบนกระดานนี้แห่งเดียวก็ไม่ตรงกัน ฉะนั้น "คนไทย" นั้นสามารถจะมีความเห็นในเรื่องระบบนี้ว่าเหมาะแค่ไหนต่างกันไปแน่นอน ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะ claim ว่าเป็นตัวแทนของคนไทยคงจะยาก

ไม่ทราบว่าคุณคัดค้านเคยเรียนมากี่ระบบนะครับ ในระบบเก่านั่นชั่วโมงบรรยายจะเรียกว่า "อัด" เนื้อหากันสุดๆ โดยส่วนตัวผมเองการบรรยายที่ลงรายละเอียดของ Krebs cycle หรือคู่มือ lab gross วิชาเดียวเต็มหนึ่งลังนั้น ไม่ตรงกับนิยามของการสอน "core" เท่าไหร่นัก และคงจะไม่มีการเขียนไว้ในคำนำคู่มือปาราสิตวิทยาตั้งแต่หน้าแรกว่า "ตำราป้อนความรู้"

หลายต่อหลายวิชาพื้นฐาน เราจะพบว่ามัน "เยอะ" ครับ แต่ไม่ "ยาก" กล้ามเนื้อมัดหนึ่งมี origin มี insertion มี nerve spply, lymphatic drainage, function อะไรบ้าง ฯลฯ เรียนเหมือนกันหมดทั้งกระดูก 206 ชิ้น ก็ pattern เดียวกันหมด และข้อสำคัญกว่านั้นคือวิชา basic sciences บางวิชาเป็นตรงกันข้ามคือกกำลังอยู่ในยุคที่ความรู้บูมใหม่ เช่น genetics nanobiology เป็นต้น การเข้าใจแค่ concept และ "วิธีการอ่าน" จะเป็นกรมธรรม์ประกันเพียงอย่างเดียวว่าเราจะ cope กับ knowldge expansion ใน fields เหล่านี้ได้

มอ.ลองใช้ระบบ PBL มาทีละน้อยมาเกือบยี่สิบปีแล้วครับ คุณคัดค้านอาจจะเข้าใจผิดคิดว่าเขาเปลี่ยนมาต้อนรับคุณโดยเฉพาะ อีกประการระบบนี้เรียนทาง computer น่าจะยาก เพราะระบบ PBL นั้นเน้นที่กระบวนการกลุ่มครับ กระบวนการที่ฝึกให้นักศึกษา บัณฑิต หรือแพทย์ที่จบออกไปมีความสามารถที่จะสร้างปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์คนอื่นได้ สามารถมีความขัดแย้ง แต่อภิปรายอย่างศิวิไลซ์เขาทำกัน สามารถนำเสนอความเห็นของตนเองในที่ประชุมแบบเปิด เพื่อที่ว่าตอนนี้เราอธิบายให้เพื่อนเราเข้าใจ และอีกหน่อยเราจะได้อธิบายให้ลุงป้าน้าอาที่ไม่ได้มี basic undersanding ของ technical terms ต่างๆได้ ความเชี่ยวชาญด้าน computer นั้นมีประโยชน์ต่อตัวเราเอง แต่ผมว่าความเชี่ยวชาญในการทำงานเป็นกลุ่ม ในการทำงานกับเพื่อนๆมีประโยชน์ต่อคนไข้และสังคม ซึ่งสำคัญทีเดียว

ว่าไหมครับ?



Posted by : Phoenix , Date : 2004-09-26 , Time : 11:35:51 , From IP : 203.156.42.107

ความคิดเห็นที่ : 9


   PBL ปีแรกเริ่มต้นปีการศึกษา 2533 "วิ่งแล้วเหนื่อย" ตามมาด้วย "นายเขียว หอบดี" จากนั้นเป็น "นายซ่า อกโดนเสียบ" ไม่ถึงยี่สิบปีดีนักแต่ก็ใกล้เคียงอย่างที่อาจารย์ฟีนิกส์บอก

ผมอยากจะบอกว่าพวกเราเหมือนอยู่ในช่วงปฏิวัติ ลองนึกถึงประเทศจีนภายใต้ร่มเงาของเหมาเจ๋อตงในช่วงปลายทศวรรษ 1950 เนื่องจากไม่สามารถทดลองปฏิบัติได้เนื่องจากต้องการการก้าวไปข้างหน้าให้ทัดเทียมประเทศทางยุโรปและอเมริกา เหมาได้ใช้ความเป็น "อำนาจเบ็ดเสร็จ" ตั้งโครงการก้าวกระโดดไกลขึ้น สุดท้ายเนื่องจากขาดการประสานงานที่ดี ขาดประสบการณ์ จึงทำให้โครงการนั้นล้มเหลวอย่างถึงที่สุด

จีนต้องการให้มีการผลิตเหล็กกล้าจำนวนมาก เหมาสั่งให้ตั้งเตาถลุงเหล็กหลังบ้าน ( ไม่ทราบว่าเอาไปเปรียบกับ SDL จะได้หรือไม่ ) ปรากฎว่าเหล็กที่ได้ไม่ได้เป็นเหล็กระดับคุณภาพอุตสาหกรรม นำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้

เหมาเริ่มระบบคอมมูน ยกเลิกกรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนตัว ทุกคนทำงานให้คอมมูน มีครัวรวม ร่วมกันใช้ทรัพยากร ร่วมกันทานอาหาร ( ดูแล้วเหมือนกับเรียน PBL กันอยู่ ) สุดท้ายก็มีคนบอกว่าอาหารจากครัวรวมนั้นอร่อยสู้ทำเองที่บ้านไม่ได้ ผลผลิตจากนารวมก็สู้ผลผลิตจากนาส่วนตัวไม่ได้ ( รัฐคอยเก็บเป็นภาษีทีหลัง )

แต่กว่าจะทราบว่านโยบายก้าวกระโดดไกลล้มเหลวก็ต้องรอให้ถึงปลายทศวรรษ 1950 ต่อต้นทศวรรษ 1960 เสียก่อน เมื่อเกิดความแห้งแล้งขึ้นทั่วประเทศ มีความอดอยาก ผลผลิตที่เคยประเมินกันไว้ว่าสูงก็ทำไม่ได้ตามที่เคยโฆษณากันไว้ ถึงตอนนั้นประชาชนจีนก็ได้เสียชีวิตกันไปหลายล้านคน

ที่บอกว่า PBL นั้นค่อยเป็นค่อยไปมาสิบกว่าปีแล้วนั้น หากนับเป็นตัวเลขก็ถึงครับ แต่หากนับการพัฒนาของระบบ ผมว่าก็ไม่ต่างจากนารวมของเหมาเจ๋อตงเท่าใดนัก หลักสูตรและบทเรียนมีการพัฒนาขึ้นไปเรื่อย ๆ แต่ปัจจัยสำคัญคือนักเรียนกลับถูกพัฒนาอย่างไม่เต็มที่ ระบบสอนให้นักเรียนเรียนรู้จากปัญหา เรียนรู้ด้วยตัวเอง แต่ในความเป็นจริงสังคมคาดหวังกับแพทย์ที่จบจากระบบว่าต้องเป็นผู้รู้ปัญหาและผู้แก้ปัญหา ไม่ใช่ผู้ที่จะมาเรียนจากป้ญหาของลูกเมียของเขา ความรู้พื้นฐานที่มาจากการสอนโดยตรงก็ยังต้องมี และเป็นสิ่งสำคัญ จะทอดทิ้งเสียไม่ได้

นักเรียนถูกบอกให้ทิ้งความเป็นส่วนตัวมาทำนาร่วมกัน ทั้งที่ศักยภาพของนักเรียนนั้น คนเดียวอาจทำได้มากกว่าทั้งทีมร่วมกันทำเสียอีก ครั้นพอให้นักเรียนมาทำงานด้วยตัวเอง สร้างเตาถลุงเหล็กหลังบ้าน ก็กลับไม่มีใครชี้แนะ อาจได้จอบได้เสียมมาก็จริง แต่จะเอาไปขุดดินดายหญ้าคงลำบาก

อธิบายให้ลุงป้าน้าอาที่ไม่ได้มี basic undersanding ของ technical terms ต่างๆได้ก็จริง แต่ถ้าอธิบายได้หลังจากลูกหลานเขาตายไปแล้ว เขาก้ไม่ฟังเหมือนกันนะครับ


Posted by : พี่น้องและผองเพือน , Date : 2004-09-27 , Time : 00:06:29 , From IP : 202.129.18.174

ความคิดเห็นที่ : 10


   ข้อมูลสำคัญที่สุดที่กำหนดคงจะเป็นว่าการสาธารณสุข "พื้นฐาน" ของเรานั้นต้องการ general practitioner ที่มีความรู้ความชำนาญระดับไหน

ตรงนี้อาจจะเลยระดับความรับผิดชอบของผม ของคุณพี่น้องฯไปนิดหน่อย เพราะคงต้องใช้ข้อมูลประเทศว่าโรค 80% ที่ต้องการการบริหารจัดการโดย GP ออกมาในรูปแบบไหน ตรงนี้จะไปลอกของประเทศไหนมากคงไม่ได้ ยกตัวอย่างเรามีสถิติคนตายจากอุบัติเหตุมอเตอร์ไซด์มากที่สุดในโลก แต่ burden of diseases ของ CA breast อยู่ลำดับ 18 กลับกันกับของอเมริกา ถ้าเรามี budget จำกัด เราก็คงจะ train นศพ. หรือแพทย์เราให้เน้นเป็นเรื่องๆไป สิ่งที่ลงทุนลงไปจะได้กลับคืนมาตรงเป้า คือ ประชาชนมากที่สุด

ไม่ต้องสงสัยว่าระบบพี่สอนน้องของการแพทย์ไทยนั้นสำคัญเป็นกระดูกสันหลังของวงการก็ว่าได้ และเป็นที่น่าชื่นชมยินดีว่า รพ.สมทบของเราที่หลายๆแห่งกำลัง upgrade เป็นโรงเรียนแพทย์เช่นเดียวกันนั้น ได้พิสูจน์ตนเองว่ามี staff ที่ทุ่มเทสอนน้องอย่าง serious จริงจัง ตรงนี้เป็นความดีอย่างยิ่งยวดที่คำขอบคุณจากคณะฯก็คงจะไม่สามารถตอบแทนได้ทั้งหมด สิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือ collaborations ระหว่างโรงพยาบาลสมทบ แพทย์พี่เลี้ยง กับโรงเรียนแพทย์อย่าง มอ. นั้นสำคัญจริงๆ

SDL นั้นไม่ได้แปลตามตัวว่า "เรียนด้วยตนเอง" ครับ เพียงแต่ นศพ. เลือก ที่จะทำอะไรที่ตนเองสนใจมากที่สุด กับแหล่ง resources ต่างๆ เช่น ไปอยู่ที่ ER ก็จะถูกสอน ควบคุมโดยพี่ พชท. (เข้าใจว่าตอนนี้หรืออนาคตอันใกล้จะมีอาจารย์ด้วย) ถ้าไปอยู่ที่ห้องเฝือก OR หรือหอผู้ป่วย ก็จะไม่ต่างอะไรกับระบบเก่าที่พวกเราต้องไปปฏิบัติงานกับหมอจริง คนไข้จริง ประเด็นเดียวที่ต่างคือ นศพ. เองเป็นคนเลือกครับว่าเขาจะไปอยู่ที่ดังกล่าว หรือจะนั่งอ่านโพย เล่นเกม surf internet ถ้าดูจากคนที่กำลังรอสอนอยู่ ผมว่าจะเปรียบเป็นโรงงานเหล็กแบบจีนก็คงไม่ตรงทีเดียว เอาเป็นว่าเหมือนโรงงานที่มืออาชีพทำ แต่คนฝึกงานต้องเดินทางไปหาอาจารย์เอง ถ้าแบบหนังกำลังภายในก็คงไปคุกเข่าหน้าประตูสำนัก แต่ของเรานี่ไม่ต้องขนาดนั้นครับ ตอนนี้อาจารย์ก็แทบจะต้องสะกิดเตือน มาขอร้อง ประกาศเรียกตามหอพักให้ไปเรียนกันอยู่แล้ว

แน่นอนที่สุดระบบนี้คนเรียนจะต้อง "รู้ตนเอง" ก่อนถึงการจัดลำดับความสำคัญ รู้ว่าจะเป็นแพทย์ที่ดีนั้นต้องรู้อะไรบ้าง แผนที่คือหลักสูตร เป้าหมายคือเกณฑ์มาตรฐานแพทยสภา แหล่งปัจจัยคือหอผู้ป่วย OR ER ห้องคลอด ห้องเฝือก OPD โดยมี facilitator คือพี่ๆและอาจารย์

เมื่อสองสามปีก่อนเราเปิด club เล็กๆคือกลุ่มอาสาสมัครข้างเตียงมี นศพ. (หลง) เข้าสมัครพอสมควร เราดีใจมาก (และยินดีกับน้องๆที่มาทำงานกับเราด้วยจริงๆครับ) ปีล่าสุดนี้ทำให้เราอึ้งไปพอสมควรเพราะขณะที่ชมรม bridge ได้สามสิบกว่าท่าน ชมรมเราทำสถิติใหม่คือ zero สมาชิก ไปได้จากนักศึกษาพยาบาล คุณลุงสอนนวดจากคณะพยาบาล และชาวบ้านแทนตรงนี้คงไม่ใช่ความผิด เพราะการสมัครชมรมเป็นกิจกรรมนอกหลักสูตร แต่อย่างที่พวกเราทราบ คำว่า นอกเวลาเรียนของ นศพ.นั้นมันเป็น abstract term ทีสมัยก่อนคำนี้เป็น luxury ที่เราไม่สามารถ afford ได้เยอะเท่าไหร่



Posted by : Phoenix , Date : 2004-09-27 , Time : 02:01:43 , From IP : 203.156.42.157

ความคิดเห็นที่ : 11


   ผมว่าระบบและแนวการเรียนดีนะ ดีมากๆเลย
แต่ไม่เหมาะกับเด็กไทย (จากที่อ่านน้องๆเขียนมา)
เพราะระบบการแนะแนวและพื้นฐานของประเทศยังไม่ดี
ไม่มีใครอยากตกงาน มีชีวิตไม่มั่นคงดังนั้นจึงเลือกสิ่งที่น่าจะชัวร์
คือการเรียนหมอทั้งๆที่ อาจไม่ใช่สิ่งที่เค้ารักที่จะทำอย่างแท้จริง
เพราะโอกาสและประสบการณ์ในการตัดสินใจยังเยาว์
ทำให้ PBLซึ่งเรียนจากการแก้ปัญหา กับ SDLซึ่งเปิดให้เรียนในสิ่งที่เราอยากจะรู้
ไม่สามารถทำได้เพราะ ไม่มีความกระหายที่อยากจะรู้ ไม่เห็นปัญหา
และจบลงที่โพย
เพื่อให้ชีวิตผ่านมันไปได้
ผมว่าไม่ใช่ความผิดของเด็กหรือระบบ

ตอนนี้หลังจากจบ ผมเรียนคอร์สความรู้ด้านอื่นๆที่ไม่เกี่ยวกับการแพทย์เลย
แต่เรียนเพราะใจรักอยากจะรู้ เวลาที่ใช้ในการเลคเชอร์กับส่งการบ้านแค่ครึ่งวัน
ที่เหลืออยากรู้อะไรเพิ่มไปเรียนเอง อยากเก่งไปทำการบ้านเอง หาปัญาที่ไม่เข้าใจ มาถามอาจารย์ในห้อง
ผมเรียนอยากคนกระหาย ทำการบ้านอย่างคนตายอดตายอยาก เปล่าไม่มีใครบังคับ ไม่มีการสอบ อาจารย์ประเมินเราและให้เกรดแค่นั้น สุขและสนุก

เพียงแต่ว่า ผมมีต้นทุนของชีวิตแล้วคือกระดาษหนึ่งใบ ดังนั้นผมไม่คิดว่า นศพ.
ที่อายุเท่านี้ และยังไม่มีความมั่นคงใดๆในชีวิตอนาคตจะสามารถทำได้เต็มที่

กับการเรียนแพทย์
ผมว่าวิธีการเข้าเรียนมหาวิทยาลัยน่าจะเปลี่ยน ประเทศไทยไม่จำเป็นต้องรีบผลิตบุคลากรอย่างเร่งด่วนเหมือนสมัยก่อน ให้เด็กจบมัธยมออกไปฝึกงานไปลองงานหลายๆอย่างสักสองสามปี มีเงินเดือนให้เค้าดูแลตัวเองได้ แล้วมีใบประกาศรับรองถึงจะเข้ามหาวิทยาลัยได้ เราจะได้คนที่ตั้งใจเรียน เรียนถูกทาง และมีคุณภาพมีประสิทธิภาพมาพัฒนาประเทศได้
จะได้ไม่เอาแต่ผลิตเหล็กห่วยๆเหมือนคนจีนใช่มั้ยครับ


Posted by : ไอ้ห้อย , Date : 2004-09-27 , Time : 19:06:11 , From IP : 202.57.174.51.ppp-bk

ความคิดเห็นที่ : 12


   อย่าไปสรุปอย่างนั้นสิครับ เดี๋ยวก็กลายเป็นประเด็นระหว่างประเทศไปหรอก ที่ผมยกตัวอย่างนั้นมันสมัยห้าสิบปีที่แล้วนะครับ เปรียบเทียบให้ฟังเฉย ๆ
ถ้านักเรียนของเราคิดได้อย่างที่พี่ห้อยคิดได้ก็จะเป็นสิ่งที่ดีมาก แต่ปัญหาก็คือเราไม่ได้สอนให้นักเรียนไปเรียนรู้อย่างเป็นระบบและอย่างถูกต้อง

ตัวอย่างง่าย ๆ ก็คือ ถ้าผมเป็น staff อยู่โรงพยาบาลสมทบ
สิ่งที่ผมคาดหวังจาก Extern คืออะไร?
Extern ควรมีความรู้อะไรบ้างเมื่อออกไปอยู่โรงพยาบาลสมทบ หรือเมื่อจบไปเป็นแพทย์ (Intern)

สิ่งที่ผมอยากได้ก็คือ extern ต้องมี basic knowledge, คิดและวิเคราะห์เป็น ให้ initial management เป็น
ไม่ควรเป็น extern ที่รู้เฉพาะว่าผู้ป่วยมีปัญหา และแก้ปัญหาของผู้ป่วยด้วยการมอง staff เป็น resource person สำหรับ PBL เรื่องหนึ่ง

ปัญหาใหญ่ที่เผชิญอยู่ก็คือ extern ที่ผ่านจากระบบการเรียนการสอน ไม่รู้จักการคิดเป็นระบบ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไม่เป็น จัดการกรณีฉุกเฉินไม่ถูก
ลองดู progress note ที่ extern เขียนก็จะพอบอกถึงกระบวนการคิดได้ระดับหนึ่ง extern หลายคนไม่เขียน progress note เมื่อถูกบังคับให้เขียน ก็จะมีประโยค " ...consult ....แล้ว บอกว่า ..." หรือ " โทรฯ รายงาน ... แล้ว บอกว่า " ไม่อย่างนั้นก็จะมี vital signs + ผล lab ลอกมาเขียนที่ progress note โดยไม่มีการแสดงออกถึงความคิดและการวิเคราะห์ใด ๆ

สิ่งเหล่านี้ยอมให้เกิดได้ หากกรณีที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ critical case ไม่ใช่ emergency case และไม่ใช่กรณีที่ "ห้ามลืม-ห้ามพลาด" ถ้าปล่อยให้เกิดกรณีอย่างนี้หลุดออกไป จะเป็นเรื่องใหญ่แน่นอน


Posted by : พี่น้องและผองเพื่อน , Date : 2004-09-27 , Time : 22:45:00 , From IP : 202.129.18.132

ความคิดเห็นที่ : 13


   ก็เขายอมให้เราออกมาแบบนี้นิครับ...

เขาโทษเราว่าไม่สนใจเอง เราไม่สนใจจริงๆ ความรู้ไม่มีเขาก็ไม่สน ปล่อยเราออกมา เป็นความผิดของเรา ที่ไม่อ่านเองไม่สนใจเอง...

เวลาออกมาขอให้บอกดังๆเลยนะครับว่าจบจาก มอ. รุ่น PBL



เขาสอนผมได้แค่นี้แหละครับ


Posted by : ก้ากๆๆๆๆ , Date : 2004-09-27 , Time : 23:17:50 , From IP : 203.152.2.101

ความคิดเห็นที่ : 14


   อย่างที่เคยว่าไว้ในหลายกระทู้ก่อนหน้านี้ ที่เราต้องการจริงๆคือการประเมิน "ได้ตก" จากส่วน clinical performance อย่างจริงจัง ลดสัดส่วนความสำคัญของ cognitive section ลง และเพิ่มความสำคัญของ clinical skill มากขึ้น และไม่มีระบบโอ๋เด็ก ช่วยให้ผ่านๆ หรือยังไงก็ได้ อีกต่อไป

การประเมินเป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้ามีคนพิสูจน์ให้เห็นเป็นตัวตนว่าฉันไม่ขึ้น ward เลย ฉันก็ได้เกรดดีสุดๆ ฉันโชว์สมุดพก ลายเซ็นก็ถูกประเมินผ่าน ฯลฯ ความ "ศักดิ์สิทธิ์" ของการประเมินก็หมดไป ผลที่น่ากลัวมากคือความศักดิ์สิทธิ์และทรงคุณค่าของ "หลักสูตร" มันก็หมดลงไปพร้อมๆกัน เราก็จะตั้งหน้าตั้งตาผลิตหมอแบบเน้น "จำนวน" เพื่อให้ตัวเลข ratio docor:people สวยๆตามที่รัฐบาลอยากจะโชว์ แต่ขอโทษเวลาเอา mortality rate ไปเปรียบเทียบกับ global report นั่นคงไม่มีคนอยากตีพิมพ์ให้ชาวบ้านรู้เท่าไหร่

ทางหนึ่งที่เป็นไปได้คือซอย summative evaluation ลงเป็นสอบย่อยแบบเอาคะแนนบ่อยครั้งมากขึ้น ไม่ใช่ formative ที่ไม่นับคะแนนนะครับ แต่เป็นสอบเก็บคะแนนเพื่อประเมิน progress แบบ real time จะได้ไม่มีสภาพดินพอกหางหมู ที่สุดท้ายเราใจอ่อนตัดหางหมูทิ้งแล้วปล่อยให้หมูรอดเข้าป่าไป

บางอย่างยืมระบบ social engineering มาใช้ก็ดูจะสื่อได้ดีกับเด้กในยุคปจจุบัน สมัยก่อนใครไม่ขึ้น ward มาทำแผลก่อนราวน์เช้าเจ็ดโมงเช้า chief resident จะได้ล่อเข้าให้ หลักปรัชญาแบบใหม่เราตัดสิ่งเหล่านี้ออก เมื่อทำงานไปๆบางครั้งมันเหนื่อนหน่ายขึ้นมาก็อยากจะหยิบอาวุธเก่าๆมาลองดูอีกสักที แต่ผมว่าหน้าที่หนึ่งของครูก็คือการมองโลกในแง่ดีว่าเด็กพัฒนาได้เป็นหัวใจสำคัญ ตรงนี้คงจะมีขีดเส้นไว้ ณ จุดใดจุดหนึ่งว่าเมื่อไหร่มันจะต้องถึงเวลา curfew กันอีกสักที ก็คงจะขึ้นอยู่กับ นศพ.จะพิสูจน์ตนเองว่าเป็นม้าชนิดต้องการบังเหียนผูกปาก สเปอร์กระตุ้นเดิน หรือว่าเป็น mustang วิ่งในทุ่งกว้างด้วยตนเองโดยไม่ต้องมี rein



Posted by : Phoenix , Date : 2004-09-28 , Time : 00:26:33 , From IP : 172.29.3.237

ความคิดเห็นที่ : 15


   คุณพี่น้องผองเพื่อนครับ ตอนที่คุณเรียนในระบบเก่าคุณก็ไม่ได้ต่างจากนศพ.รุ่นนี้เท่าไรหรอกครับ กว่าคุณจะมาเป็นแบบนี้ได้ผ่านมากี่ปีแล้ว และผมก็ไม่ได้คิดว่าคุณดีกว่าเด็กรุ่นนี้หรอก ลองมองไปข้างหน้าก่อนว่าอนาคตเด็กพวกนี้จะดีอย่างไร แต่ผมก็ยังเชือว่าเด็กทุกคนมีการพัฒนาการที่ก้าวไปอย่างไม่หยุดยั้งเพียงแต่เราอย่ามองในแง่ลบ และเอาไปเปรียบเทียบกับตัวเองในปัจจุบัน เพราะผมไม่คิดว่าเด็กที่จบออกมาแล้วจะทำได้ทุกคน มีแต่เทวดาเท่านั้นครับ อย่าลืมว่าวิชาชีพแพทย์ของเราสร้างให้เด็กไม่รู้จักโต กว่าจะโตก็แก่แล้วคุณลองคิดดูว่าคุณเข้าเรียนปี 1 คุณก็เป็นน้องใหม่ พอขึ้นปรีคลินิก คุณก็ใหม่อีก พอขึ้นปี 4 ก็ยังใหม่อีก (ใหม่ต่อการเรียนแบบคลินิก) พอขึ้นปี 6 ก็ใหม่ในเรื่องภาคปฏิบัติ พออินเทอร์นก็ใหม่อีก พอทำท่าเหมือนจะรู้เรื่องก็ต้องไปเรียนแพทย์ประจำบ้านก็ใหม่อีกเพราะเป็นปี 1 พอจบมาก็ยังเป็นแพทย์เฉพาะทางรุ่นเยาว์ แถมจบมายังมีคนไปเรียนแพทย์เฉพาะเฉพาะทางอีก ยิ่งลึกไปใหญ่ กว่าจะเก่งมาก็แก่ไปมาก หูตาก็ฝ้าฟางอีก แต่สิ่งที่คุณมีก็คือประสบการณ์ และประสบการณืนี่เองที่ทำให้คุณได้ลืมตาอ้าปากและวิจารณ์รุ่นน้องได้ ผมยังเชื่อในศักยภาพของเด็กทุกคน และผมไม่คิดว่าการเรียนระบบเก่าจะเหมาะกับเด็กยุคใหม่ หากจะว่าเด็กรุ่นใหม่นี้ออนกว่ารุ่นเก่า คงต้องมองในบริบทของเด็กรุ่นนี้ว่าเข้ามาเหมือนกันหรือไม่ต้องการเรียนหรือใหม่ พื้นฐานของเด็กเป็นอย่างไร พูดง่ายๆ ก็คือเริ่มต้นที่จะมาเรียนเหมือนกันหรือไม่ บริบทของสังคมต่างกันหรือไม่ คงต้องนำมาเป็น confounding factor ด้วย และการจะวิจารณ์ก็คงต้องมองเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของแพทยศาสตรบัณฑิตด้วยว่าต้องการอะไรกันแน่ และเกณฑ์ขั้นต่ำอย่างไร คนที่บอกว่าเราค่อยๆผลิตคงต้องกลับไปมองดูแล้ว ว่ากระทรวงสาธารณสุขต้องการอย่างนั้นจริงหรือไม่ แพทย์เราพอจริงหรือไม่ทำไมต้องมีการเพิ่มจำนวนแพทย์ อีก เด็กที่เข้ามาเรียนแพทย์ในยุคนี้เป็นอย่างไร บ้าง เราจำเป็นต้องทำหัตถการทุกอย่างได้ จริงหรือ คงจะเอาแนวคิดในอดีตมาใช้กับปัจจุบันไม่ได้ทั้งหมด คงต้องใช้ในบางส่วน และต้องมีการปรับแนวคิดพัฒนาไปเรื่อยๆ

Posted by : สานฝัน , Date : 2004-09-28 , Time : 01:04:24 , From IP : 203.150.217.113

ความคิดเห็นที่ : 16


   คงต้องขอแสดงความขออภัยเป็นอย่างสูงที่ทำให้คุณสานฝันเข้าใจไปว่าผมมองตัวเองเก่งกว่าเด็กรุ่นปัจจุบัน อันที่จริงเด็กสมัย pbl นี้ผมต้องยกนิ้วให้ในเรื่องการจัดการการเรียนการสอน แต่สิ่งที่ต้องให้การดูแลให้มากก็คือนักเรียนในระบบ ถ้าจะย้อนไปสมัยผมเป็นนักเรียนปีสุดท้าย
BK amputation, ectopic pregnancy ต้องทำเองหมดครับ แต่เดี๋ยวนี้เขาไม่ให้ทำกันแล้ว สมัยนั้นถ้าเราไม่ทำก็ไม่มีใครมาทำครับ
ถ้าเป็นเดี๋ยวนี้โดนฟ้องกันยกโรงพยาบาลแน่ ...นั่นเป็นภาพสมัยที่นักเรียนปีสุดท้ายยังไม่มีใครมาดูแล

แต่ปัจจุบัน ระบบถูกจัดให้พัฒนานักเรียนโดยเน้นไปที่การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สอนให้พวกเขาได้เรียนรู้ต่อไปในภาคหน้าเมื่อจบการศึกษาแล้ว ความเห็นส่วนตัวของผม ถึงแม้จะมีระบบ PBL SDL หรือระบบที่เน้นการเรียนรู้ด้วยตัวเองอย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่นักเรียนจะต้องมีเมื่อออกไปพบกับสถานการณ์จริงที่ต้องอาศัยการตัดสินใจโดยเฉียบพลันก็คือความรู้พื้นฐานที่จำเป็น ดังที่ผมได้กล่าวมาก่อนว่าเป็นทักษะในการอยู่รอด ซึ่งไม่สามารถฝึกฝนได้เฉพาะเมื่อเป็น extern หรือ intern แต่ต้องปลูกฝังมาตั้งแต่เริ่มตั้งไข่ เริ่มหัดเดินแล้ว นักเรียนปีสุดท้ายในโรงพยาบาล มอ. ไม่ถูกฝึกให้ใช้ศักยภาพของตนเองที่มี (หรือในบางกรณีอาจกลายเป็น ...ไม่ถูกฝึกให้ทราบถึงศักยภาพของตนเองว่ามีมากน้อยเพียงใด) ในขณะที่นักเรียนส่วนหนึ่งมองโรงพยาบาลสมทบเป็นที่ฝึกหัตถการ (ทั้งที่บางคนยังสวมถุงมือให้ sterile ไม่เป็น)

ความเหมาะสมของกรณีนี้น่าจะเป็นจุดที่อยู่ตรงกลางของทั้งสองขั้ว ไม่ใช่ว่าผมจะมองว่ารุ่นผมเก่งกว่ารุ่นใหม่ หรือรุ่นใหม่มีความแตกต่างจากรุ่นก่อนโดยบริบท หรือบทบาทที่ถูกกำหนด (โดยแพทยสภา)ในเมื่อความคาดหวังของสังคมยังเท่าเดิม แต่คนที่เราผลิตออกมานั้นถูกปรับเปลี่ยนบทบาทไป บางเรื่องอาจน้อย บางเรื่องอาจมากกว่าเดิม ผู้ผลิตซึ่งในที่นี้คือมหาวิทยาลัย-คณะแพทยศาสตร์-ภาควิชา-แผนก-อาจารย์-โรงพยาบาลสมทบ ก็คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าเราคงต้องผลิตสินค้าให้เป็นที่ยอมรับของตลาด (ขออนุญาตเปรียบกับสินค้านะครับ จะเห็นภาพได้ชัด ไม่ได้ตั้งใจจะว่าแพทย์เป็นสินค้า)


"ต้องมองในบริบทของเด็กรุ่นนี้ว่าเข้ามาเหมือนกันหรือไม ่ต้องการเรียนหรือใหม่
พื้นฐานของเด็กเป็นอย่างไร
พูดง่ายๆ ก็คือเริ่มต้นที่จะมาเรียนเหมือนกันหรือไม่
บริบทของสังคมต่างกันหรือไม่"
-----สังคมไม่ได้มองส่วนนี้เลย ทั้งที่เป็นส่วนสำคัญไม่แพ้ความรู้ทางการแพทย์ก็ตาม คงไม่ปฏิเสธนะครับ เมื่อคนไข้ตายคนหนึ่งหรือมีปัญหาขึ้นมารายหนึ่ง จะไม่มีใครมองว่าหมอคนนี้ตั้งใจทำงานหรือไม่ เป็นคนทำงานรับใช้อุดมการณ์หรือไม่ ตอนสอบสัมภาษณ์นั้นอาจารย์ได้คัดกรองเอาคนที่ไม่อยากเรียนออกไปหรือไม่
ไม่รู้ว่านี่จะตอบคำถามได้หรือไม่...

"การจะวิจารณ์ก็คงต้องมองเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของแพทยศาสตรบัณฑิตด้วยว่าต้องการอะไรกันแน่
และเกณฑ์ขั้นต่ำอย่างไร
คนที่บอกว่าเราค่อยๆผลิตคงต้องกลับไปมองดูแล้วว่ากระทรวงสาธารณสุขต้องการอย่างนั้นจริงหรือไม"
-----กระทรวงต้องการอะไรไม่ใช่ประเด็นสำคัญที่สุด เกณฑ์ขั้นต่ำที่แพทยสภาตั้งขึ้นนั้น แพทย์เราก็ยังไม่รู้ทั้งหมดเลยด้วยซ้ำ และบางอย่างที่เกณฑ์ขั้นต่ำกำหนดไว้ แพทย์ก็ยังทำไม่ได้ หากผมจะบอกว่ากระทรวงต้องการจำนวนแพทย์ที่เข้าไปสู่มวลชนระดับพื้นฐาน เพื่อรองรับความต้องการของสังคมและปรับเปลี่ยนอัตราส่วนระหว่างแพทย์กับจำนวนประชากรในชนบท โดยสนใจเรื่องคุณภาพเป็นอันดับรองลงมา แต่คนที่จะมาจัดการเรื่องคุณภาพก็คือคณะแพทยศาสตร์นั่นเอง ไม่ใช่หน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขแต่อย่างใด และคุณภาพอันนี้ คนที่จะบอกว่า *ได้คุณภาพ* คือแพทยสภาที่กำหนดบทบาท แต่คนที่บอกว่า *ไม่ได้คุณภาพ* คือการวิพากษ์ของสังคม
ไม่ทราบว่านี่เพียงพอที่จะทำให้เราต้องพัฒนาระบบให้ดีขึ้นหรือไม่

"แพทย์เราพอจริงหรือไม่ทำไมต้องมีการเพิ่มจำนวนแพทย์อีก
เด็กที่เข้ามาเรียนแพทย์ในยุคนี้เป็นอย่างไรบ้าง
เราจำเป็นต้องทำหัตถการทุกอย่างได้จริงหรือ"
----- :) คงตอบได้จากสองคำตอบข้างต้นนะครับ

บทล่าสุดของอาจารย์ฟีนิกส์นั้น เห็นด้วยทุกประการครับ ไม่ทราบว่าตอนนี้ภาควิชาเปลี่ยนจาก formative เป็น summative หรือยังครับ ผมว่าจะช่วย detect ปัญหาได้เร็วขึ้นจริง เนื่องจากในระบบปัจจุบัน นักเรียนไม่ได้ถูกผูกโยงกับ "สาย" หรือ "พี่" ที่จะเห็นพัฒนาการเราได้เหมือนก่อน ถ้าเป็นได้จริงและได้ผล ขอปรบมือให้ครับ


Posted by : พี่น้องและผองเพื่อน , Date : 2004-09-29 , Time : 20:45:36 , From IP : 202.129.18.132

ความคิดเห็นที่ : 17


   "ถ้า" เกณฑ์มาตรฐานแพทยสภาเบี้ยวจาก "แพทย์ที่สังคมพึงประสงค์" ประเด็นนี้จะเป็นประเด็นที่ serious มากที่สุด

เนื่องจากผมไม่ได้นั่งอยู่ในที่ประชุมตอนตั้งเกณฑ์มาตรฐานแพทยสภาขึ้นมาด้วยตนเอง ข้อมูลจึงเป็นตั้งแต่ terrtiary จนไปถึงระดับ speculation levels (โดยนัยคือ อาจจะถูกหรือผิด) กระบวนการตั้งเกณฑ์มาตรฐานแพทย์นั้น "น่าจะ" ใช้ข้อมูลดังต่อไปนี้
๑) Burden of diseases in Thailand เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่สำคัญมาก เพื่อที่เราจะได้วางแผนว่าโรคอะไร ภาวะอะไร ที่เราเจอ "เยอะ" สูญเสีย "เยอะ" วิธีวัดมีมาตรฐานอย่แล้วตาม WHO (Murrey and Lopez) และข้อมูลนี้ของเมืองไทยก็ "มีแล้ว" ครับ download ได้จาก website ของกระทรวงสาธารณสุข
๒) จากข้อมูลเบื้องต้นดังกล่าวก็มากระจายดูว่า OPD และ IPD ของเราจะเจออะไร มากน้อยแค่ไหน โรคที่ร้ายๆอาจจะไม่พบบ่อยแต่ต้องการผู้เชี่ยวชาญ ฌรคไม่ร้ายพบบ่อย โรคไม่ร้าย ไม่พบบ่อย โรคร้ายพบค่อนข้างบ่อย โรคที่เป็นไม่มีทางหาย โรคที่เป็นแล้วหายขาด ฯลฯ ตัวเลขตรงนี้ก็จะมาจากเวชระเบียนผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก และใช้รหัส ICD นี่แหละครับจำแนก ICD เป็นการจำแนกกลุ่มโดยลักษณะความต้องการ resource of treatment ซึ่งใช้สำหรับ "บริหาร" (ดังนั้นเวลาเราจะนำไปใช้อย่างอื่น เช่น วิจัยเชิง diseases มันถึงได้ไม่ effective มากนัก)
๓) เสร็จแล้วคนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข (คนถือข้อมูล customer) รัฐบาลหรือกระทรวงคลัง (คนถือเงินและงบประมาณ) และคนรับผิดชอบผลิตแหล่งปัจจัยทั้งคนและของ (มหาวิทยาลัยแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัช กายภาพบำบัด เทคนิกการแพทย์ พยาบาลศาสตร์ ฯลฯ) ก็เอาข้อมูลพวกนี้มานั่งดู ดูว่าตกลงในระดับต่างๆ เช่น ของแพทย์กมี 6 ปี พบ. 3-5 ปีแพทยเฉพาะทาง นี่เราจะ "ผลิต" บุคคลที่มีความรู้ความชำนาญครอบคลุมอะไรได้บ้าง ขนาดไหน และปริมาณเท่าไหร่

อันนี้เป็นคร่าวๆ แต่ประเด็นที่ต้องการจะสื่อคือ เรา "ไม่" สามารถเอา feedback จากปัจเจกบุคคล ปัจเจกหมู่บ้าน หรือแม้กระทั่งปัจเจกจังหวัดมา generalize แล้วกำหนดนโยบายระดับ "มหภาค" ได้อย่างแม่นยำ ฉะนั้น "เกณฑ์มาตรฐาน"นี้จะเป็นของกลางจริงๆ ทั้งนี้แหละทั้งนั้นแต่ละมหาวิทยาลัยแพทย์สามารถกำหนดเพิ่มอะไรก็ได้ "นอกเหนือ" จากเกณฑ์มาตรฐานที่ว่านี้ อาจจะโดยใช้ข้อมูล regional หรือข้อมูลพิเศษอื่นๆ แต่อย่างน้อยที่สุดต้องได้ตามเกณฑ์นั่นก่อน อ้อ.. หมอทั่วไปคงไม่จำเปนต้องติดตามเกณฑ์มาตรฐานใกล้ชิดมากครับ แม้แต่อาจารย์แพทย์ทุกคนก็อาจจะไม่ต้องเข้า "ลึก" มาก แต่ที่แน่ๆก็คือคนเขียนหลักสูตรจะต้องมี bird-eye view เห็นกระบวนการทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับนักเรียนนักศึกษาและทราบว่าเขากำลังเดินอยู่ในกรอบกว้างๆนี้ถูกต้อง

ประเด็นข้างบนนี้ก็มีการเข้าใจผิด เปลี่ยนการตีความเป็นว่า นศพ. ไม่ต้องทำโน่นทำนี่แล้วคือห้ามทำ หรือถ้าใครอยากเรียนแล้วห้ามสอน ห้ามแตะต้อง อะไรนี่ทั้งหมด จะเห็นได้ว่ามีคนสรุปออกมาเรียบร้อยว่าชาตินี้จบ พบ. ออกไปจะ refer ลูกเดียว ซึ่งนับว่าเป็นการ Loss in communication อย่างมโหฬาร

ระบบ SDL (ไม่ว่าจะแทรกอยู่ในระบบไหนก็ตาม) จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า ตามศักยภาพ มากที่สุด การเรียนโดยถูก "สั่ง" ว่า 7-17 น. คุณ "ต้อง" ทำอะไรบ้างนั้นเป็นระบบที่ไม่ได้ "ตามศักยภาพ" ของปัจเจกนักเรียนแน่ๆ การที่กรอบ "กว้าง" ทำให้นักศึกษาสามารถมีเวลาและจัดสรรเวลาไป explore สิ่งที่สนใจ คนที่สนใจ appendix ก็สามรถไปนั่งอยู่ที่ ER เฝ้าไปเถอะน่าจะได้เห็นเข้าโดยโอกาส ไม่เห็นไส้ติ่ง ก็เห็นโรคอะไรที่ "พบบ่อย" ก็จะได้ตรงนั้นไป เรียนในระบบเก่าก็ทำอย่างเดียวกัน แต่ต้องเป็นหลังเวลาราชการแล้วเท่านั้น ฉะนั้น SDL เป็นสิ่งที่มีมาก่อนแล้วเพียงแต่ไม่มีชื่อเรียกเป็นภาษาประกิดเท่านั้นเอง

วิพากษ์สังคมนั้น เราคงต้องดูกระมังว่า "สังคม" ที่กำลังวิพากษ์เป็น representative หรือเป็นอะไร เป็นเสียงของชุมชน หรือเป็นเสียงของ columnists เป็นเสียงประชาพิจารณ์หรือเร่องของหนังสือพิมพ์ที่ต้องการขายข่าว



Posted by : Phoenix , Date : 2004-09-29 , Time : 22:01:06 , From IP : 203.156.40.49

ความคิดเห็นที่ : 18


   สำหรับเรื่อง formative summative evaluation นั้น ผมยังไม่แน่ใจว่าที่ว่าไปเป็นระบบที่ดีที่สุด หรือดีกว่าชัดเจน

อย่างที่เรียนให้ทราบ ผมอยู่ในค่าย "ความดีเพื่อความดี" และค่อนข้างจะขอ "ลังเลไว้ก่อน" เมื่อมาถึงการตัดสินใจใช้คะแนนเป็นตัวล่อตัวผลัก ผมเรียกพวกนี้ว่าเป็น fake incentive คือไม่ตรงกับสิ่งที่เราอยากจะให้เกิดจริงๆ ข้อดียอมรับว่ามีเยอะครับ เดี๋ยวนี้การตลาดเลิกการ survey ไปแล้วครับว่าต้องการอะไร แต่เน้นการ create false demand ขึ้นมาแทน ซึ่งได้ผลดีกว่าเยอะ เห็นได้จาก direct sale ที่เบิกบานหยั่งกะดอกเห็ด

ตอนนี้ภาคศัลย์มีระบบ formative อยู่แล้ว และเราก็ได้ feedback ไปพอสมควร ยัง confine อยู่ที่ OSCE ที่เป็นรูปแบบ ดังนั้นยังขาด cognitive ที่เรา assume ว่าเกิดขึ้นขณะราวน์ (ภาษาเดิมเรียก"การอัด"รายวัน นั่นแหละครับ) ผลที่ได้รับ ถึงแม้ว่ายังไม่มีการประเมินตรงนี้เป็นรูปธรรม แต่ผมว่ายังห่างจากเสียงปรบมืออยู่พอสมควร ฉะนั้นเอาเป็นว่าที่ว่างตรงนี้เชิญชวนให้เฝ้าดูต่อไปก่อน



Posted by : Phoenix , Date : 2004-09-29 , Time : 22:09:36 , From IP : 203.156.40.49

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.006 seconds. <<<<<