ความคิดเห็นทั้งหมด : 17

รพ.รัตภูมิ กับ ม.อ.เกิดอะไรขึ้น


   ชาวบ้านร้องรักษาโรค 30 บาท ไม่ต่างจาก “โรงฆ่าสัตว์”

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 12 กันยายน 2547 18:22 น.


ชาวบ้านที่จ.สงขลา ร้อง 30 บาทให้บริการแย่ เหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิต ชี้ใช้ยาไม่มีคุณภาพ ไม่สนใจผู้ป่วย เตรียมยื่นหนังสือร้องนายกฯ รมว.สาธารณสุข วอนส่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบหวังได้รับการรักษาที่ดีขึ้น

นางสุดา ยีหวังออง อายุ 30 ปี ชาวบ้านหมู่ 4 ต.เขาพระ อ.รัฐภูมิ จ.สงขลา ได้ร้องเรียนมายังหนังสือพิมพ์ผู้จัดการถึงการปฏิบัติทำหน้าที่ของโรงพยาบาลรัฐภูมิ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลรัฐในโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค ว่า เป็นเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิตเนื่องจากแพทย์ พยาบาล ละเลย ไม่ให้ความสนใจ โดยนางสุดา เล่าว่า เมื่อวันที่ 7 กันยายน ที่ผ่านมา ได้นำบิดา นายเต๊ะ ยีหวังออง อายุ 66 ปี เข้ารักษาตัวที่รพ.รัฐภูมิ เนื่องจากมีอาการปวดท้องไม่ทราบสาเหตุ อาการสาหัส จึงนำตัวส่งโรงพยาบาลเมื่อเวลา 12.30 น. แพทย์ทำการฉีดยาแก้ปวดให้ 1 เข็มพร้อมให้ยาธาตุน้ำแดง ยาพารา และยาแก้กระเพาะ 1 ชุด และบอกกับญาติว่า เป็นแค่อาการปวดท้องธรรมดาจึงให้กลับบ้านไป

หลังจากกลับบ้านแล้วผู้ป่วยก็มีอาการกำเริบอีก จึงรีบนำส่งโรงพยาบาลเมื่อเวลา 20.30 น. วันเดียวกัน แพทย์จึงฉีดยาแก้ปวดให้อีก 2 เข็มและสั่งจ่ายยาเหมือนเดิม พร้อมกันนัดให้มาเอกซเรย์ในวันที่ 8 กันยายน เวลา 8.30 น.แล้วจึงสั่งให้พาผู้ป่วยกลับบ้าน ซึ่งญาติสังเกตว่าผู้ป่วยอาการหนักมากจึงขออนุญาตแพทย์ให้ผู้ป่วยนอนที่โรงพยาบาล แต่แพทย์กลับไม่ยอมโดยให้เหตุผลว่าผู้ป่วยไม่เป็นอะไรมาก รับประทานยาเดี๋ยวก็หาย ญาติจึงขอใบส่งตัวเพื่อนำผู้ป่วยไปรักษาที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ที่มีเครื่องมือที่ทันสมัยดีกว่าแทน เจ้าหน้าที่ก็ไม่ให้ และไล่ให้กลับบ้าน

จนกระทั่งเมื่อเวลา 3.00 น.ของวันที่ 8 กันยายน ญาติได้นำผู้ป่วยส่งที่ รพ.สงขลานครินทร์ (ม.อ. หาดใหญ่) อย่างเร่งด่วน และไม่ใช่บัตรประกันสุขภาพ 30 บาท ซึ่งทางโรงพยาบาลได้รับเป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน แพทย์ได้ทำการผ่าตัดช่วยชีวิต แต่ไม่สามารถช่วยได้ทัน แพทย์วินิจฉัยว่า ผู้ป่วยถุงน้ำดีแตกก่อนหน้าที่จะมาถึงโรงพยาบาลแล้ว พร้อมกับแพทย์ผู้รักษายังบอกด้วยว่า รพ.รัฐภูมิใช้ยาที่เขาไม่ใช้กันแล้วและไม่สมควรใช้ด้วย

“ถ้าส่งคนป่วยไปรพ.นี้อย่าส่งไปเสียดีกว่า เพราะที่นี่เหมือนโรงฆ่าสัตว์ รักษาโรคขวดบาด ตะปูทิ่ม หวัด หายเท่านั้น ถ้าไม่สบายยอมเสียเงินไปรพ.อื่นดีกว่า ที่ผ่านมาในหมู่บ้านก็มีผู้เสียชีวิตแล้วมากกว่า 10 ราย หมอ พยาบาลไม่เคยให้ความสำคัญ ยิ่งโครงการ 30 บาท ยิ่งแล้วใหญ่ให้แต่ยาพารามากินทั้งๆ ที่คนไข้ป่วยหนักร่อแร่”นางสุดากล่าวพร้อมกับบอกว่าจะนำเรื่องนี้ร้องเรียนไปยังนายกรัฐมนตรีและนางสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ โดยเตรียมส่งจดหมาย เพื่อขอให้ตรวจสอบการทำงานของโรงพยาบาลและเพื่อช่วยให้ชาวบ้านได้รับการบริการที่ดีขึ้น โดยที่ไม่เรียกร้องความเสียหาย เพราะไม่สนใจอยู่แล้ว แต่เป็นห่วงคนอื่นที่มาใช้บริการแล้วจะเจอแบบตน





Posted by : อ่านเจอมา , Date : 2004-09-12 , Time : 21:53:14 , From IP : 202.57.179.134.ppp-1

ความคิดเห็นที่ : 1


   สุดยอด

Posted by : ก็พูดกันไป , Date : 2004-09-12 , Time : 23:24:06 , From IP : p206-rasbkkSP4.C.csl

ความคิดเห็นที่ : 2


   คำพูดของแพทย์นี่แหละครับ ที่จะหวนกลับไปฆ่าแพทย์ด้วยกัน
ขออนุญาตเตือนน้องๆทุกคนนะครับว่า ถ้าเรายังใช้คำพูดที่เชือดเฉือนแพทย์คนอื่นถึงการรักษา สักวันหนึ่งมันจะหวนกลับมาหาเราเองครับ
ผมไม่แน่ใจว่าแพทย์เวร รพ.รัตภูมิเป็นแพทย์ใช้ทุนประสบการณ์น้อยหรือเปล่า ยาที่ใช้แก้ปวดท้องก็คงเป็น buscopan


Posted by : ปานเทพ , Date : 2004-09-13 , Time : 18:23:41 , From IP : 203.150.217.118

ความคิดเห็นที่ : 3


   ถ้าไม่รู้การวินจฉัยหรือรักาไม่ได้ควรรีบส่งต่อ
ไม่ควรปกป้องกันเอง ผลเสียจะตกอยู่กับผู้ป่วย
ถ้าผิดก็ต้องว่าไปอย่างนั้น ถึงจะเป็นแพทยืด้วยกันก็ตาม
จากที่ผ่านๆมา เห็นแต่บอกว่า แพทย์ไม่ควรด่า ว่ากันเอง แล้วไง ไม่มีอะไรดีขึ้น
ยังรักษากันตามีตามเกิด ยังงี้ ผู้ป่วยก็รับไปเต็มๆ
แพทย์รพ.ชุมชนควร update ให้มากกว่านี้ อีกอย่างเห็นด้วยกับ
การต่อใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม


Posted by : ใช้เหตุผล , Date : 2004-09-13 , Time : 19:53:19 , From IP : 172.29.3.210

ความคิดเห็นที่ : 4


   โดยระบบนิติศาสตร์ทั่วๆไป ก่อนที่จะมีการตัดสินผิดถูกนั้นต้องมีการสอบสวนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องก่อน เพราะบ่อยครั้งที่ข้อมูลจากข้างใดข้างหนึ่งอย่างเดียวนั้น มักจะพูดกันคนละแง่มุม นั่นเป็นสาเหตุที่มีคำเตือนก่อนที่เราจะทำการตำหนิเพื่อนร่วมอาชีพ (หรือใครก็ตาม) ถามตนเองก่อนว่าเรารู้เรื่องที่แท้จริงทั้งหมดแล้วหรือไม่

ผมคิดว่าหนังสือพิมพ์ไม่ใช่แหล่งข้อมูลที่ดีที่สุดที่เราจะนำมาใช้ตัดสินจริยธรรมของแพทย์ เราคงจำเหตุการณ์ที่นักหนังสือพิมพ์คนหนึ่งพยายามแค่ไหนในการที่จะโจมตีอาจารย์ของเราท่านหนึ่ง ณ ที่นี้ โดยใช้สื่อของตนเองเป็นเครื่องมือ ไม่ต้องพูดถึงเมื่อมีนักการเมืองที่แสวงหาชื่อเสียงและอยากจะให้ชื่อตนเองตกเป็นข่าวหน้าแรกๆเป็นกำลังหนุน

ต่อเมื่อมีการสอบสวน "อย่างยุติธรรม" (Principle of Justice) เราจึงให้บุคคลเป็นธรรม ทีเป็นกลางไม่มีส่วนได้เสียต่อเรื่องเป็นคนพิจารณาตัดสิน เมือ่ไหร่ก็ตามที่ให้บุคคลในเหตุการณ์ เป็นทั้งผู้กล่าวหา อัยการ ผู้พิพากษา ที่สุดมันก็จะเลยไปเป็นผู้ลงทัณฑ์ตามที่เห็นสมควรในคนๆเดียว ระบบมันก็จะเบี้ยวไป มีโอกาสที่จะเกิดความอยุติธรรมขึ้นง่ายๆ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-09-13 , Time : 21:43:31 , From IP : 203.156.42.21

ความคิดเห็นที่ : 5


   เรื่องนี้สามารถที่จะนำมาใช้เป็นบทเรียนที่ดีครับ
.
คลินิกเอกชน โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลสอน โรงพยาบาลเฉพาะทาง นั้นมีบทบาทในเกมส์ซึ่งทั้งต่างและเหลื่อมกันอยู่กระมังครับ โรงพยาบาลในระดับชุมชนนั้นมีบทบาทที่เข้มแข็งกว่าสถาบันทางการแพทย์ระดับตติยภูมิมากในการดูแลสุขภาพเชิงองค์รวม และเวชกรรมป้องกัน ในขณะที่อย่างหลังนั้นอาจจะเน้นเรื่องการซ่อมแบบเฉพาะจุด การรักษาที่ต้องพึ่งพิงอุปกรณ์ที่ซับซ้อนกว่า ใช้บุคลากรที่ฝึกมาเฉพาะกรณีมากกว่า และรวมศูนย์ (centralized) ทรัพยากรเหล่านี้ไว้เพื่อการประหยัดต่อส่วน
.
ไม่ใช่ใครเก่งกว่าครับ ต่างที่ต่างมีข้อได้เปรียบและข้อจำกัด และต่างต้องพึ่งกันแบบน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า
.
โรงพยาบาลศูนย์ก็ต้องพึ่งโรงพยาบาลท้องถิ่นในเรื่องของการดูแลต่อเนื่อง โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยก็ต้องพึ่งโรงพยาบาลท้องถิ่นในการส่งกรณีป่วยที่น่าสนใจเข้ามา ความสัมพันธ์เหล่านี้พึงรักษาให้แข็งแรงครับ
.
การเป็นผู้รับส่งไม้คนท้าย ๆ แล้วกล่าวโทษผู้ที่ดูแลอยู่ก่อนว่า เพราะเขาวิ่งช้า ทีมจึงไม่ชนะ หรือการไปต่อรอง วางขามกับเขาเมื่อต้องรับการส่งต่อ จึงเป็นการกระทำที่พึงระงับ และสอนให้นักเรียนของเราพึงได้รู้ว่าไม่สมควร เพราะไม่มีกุศลใดเกิดจากวาจกริยานั้น แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือเรื่องที่เราพูดอาจไม่ใช่ความจริงที่เรารู้ทั้งหมด เรื่องที่เรากล่าวอาจทำลายความสัมพันธ์ ทำลายกำลังใจในการทำงานของผู้อื่น หรือทำให้เกิดแบบอย่างที่สักวันหนึ่ง มันอาจย้อนกลับมาทำร้ายเราเองอย่างที่อาจารย์ปานเทพได้ว่าไว้
.
ผมเชื่อว่าหนังสือพิมพ์อาจขยายสิ่งที่เกิดขึ้นไปมาก แต่ก็ไม่อยากให้มิตรบนชุมชนพลาดที่จะถือเรื่องนี้เป็นบทเรียนครับ


Posted by : Shonigega , Date : 2004-09-14 , Time : 05:44:57 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 6


   คุณใช้เหตุผลครับ ผมไม่ได้หมายความว่าแพทย์ต้องช่วยปกปิดความผิดกัน แต่การออกความเห็นบางอย่างที่ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่นอน หรือไม่ทราบสถานการณ์ที่แท้จริงเป็นสิ่งที่วิญญูชนมิพึงปฏิบัติ
อาจารย์แพทย์จะสอนนักเรียนแพทย์เสมอว่า ห้ามมิให้ discuss อะไรต่อหน้าผู้ป่วยหรือญาติ เพราะความไม่รู้ หรืออวิชชาอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิด เป็นบ่อเกิดแห่งหายนะครับ
ถ้าคุณใช้เหตุผล เคยไปเฝ้าดูการทำงานของแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนสัก 1 สัปดาห์ คอยติดตามทุกฝีก้าวของแพทย์ แค่ถูกปลุกลุกขึ้นจากที่นอนมาดูคนไข้ทุก 1 ชั่วโมง คุณอาจจะเข้าใจอะไรดีขึ้นครับว่าการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพคงไม่สำคัญเท่ากับการต่ออายุจริยธรรม คุณธรรมและความเสียสละครับ


Posted by : ปานเทพ , Date : 2004-09-14 , Time : 08:43:40 , From IP : 202.129.45.26

ความคิดเห็นที่ : 7


   เห็นด้วยครับ กับ อ ปานเทพ
ถ้า "ถูกปลุกลุกขึ้นจากที่นอนมาดูคนไข้ทุก 1 ชั่วโมง"

ต่อให้"ความรู้ดี"แค่ไหน จะต่อใบอนุญาตซักกี่ใบ
ก็ไม่สามารถแก้ปัญหา ที่จะเกิดจาก"ความอ่อนล้าของร่างกาย"ได้หรอกครับ

แพทย์เรา คนไหนที่ต้องอยู่เวร กลางคืน ตอนเช้า ก็ต้องทำงานต่อ
ต่างจาก อาชีพอื่น เช่น (เท่าที่ทราบ) ตำรวจ ตอนเช้าก็จะมีการออกเวรด้วย
แต่แพทย์เราไม่ใช่อย่างนั้นครับ ทำงานต่อเป็น 24ชม

การทำงานในชุมชน ผมว่ามีหลายปัจจัยมากในการรวบรวมเข้ามาเพื่อบอกว่า อย่างใดอย่างหนึ่งดี-ไม่ดีอย่างไร

แต่ผมอยากให้น้องๆที่อยู่ชุมชน..
ถ้า"ไม่แน่ใจการวินิจฉัย" หรือ"นอกเหนือความสามารถ" ให้ refer เถอะครับ
เพราะ ถ้าถามว่า การ refer ใน case ที่เราไม่แน่ใจ ใคร ได้-เสีย
ซึ่ง ไม่มีหรอกครับ เพียงแต่บางครั้ง เราชอบคิดไปเองก่อน
เช่น 30บาท การประหยัด ในบางเรื่อง รัฐบาลไม่เสียหายมากหรอกครับ
แต่เราผู้ปฏิบัติงาน เจ็บตัวเป็นคนแรกทุกที และไม่เคยเห็นรัฐบาล(ที่เป็นคนสั่งให้เราประหยัด) ออกมาช่วยปกป้องเมื่อเกิดเรื่อง เลยสักครั้ง
(พูดอย่างนี้ ไม่ได้หมายความว่ายุให้เราฟุ่มเฟือยนะครับ แต่อยากให้เราใช้ทุกอย่างให้เหมาะสม ถ้ามี indication ต้องทำ ก็ต้องทำครับ อย่าประหยัดเกินเหตุ)


Posted by : หมอถุน , Date : 2004-09-14 , Time : 09:49:03 , From IP : 172.29.3.64

ความคิดเห็นที่ : 8


   ผมว่าเวลาดูคนไข้มัน Dynamic นะ ณ เวลาหนึ่งๆ อาการแสดง ของคนไข้ไม่เหมือนกันนะคับ เวลาเรามอง Retrospective มันง่าย แต่เวลามอง Prospective มันยาก ผมว่าที่สำคัญคือ clinical ที่สามารถแยกแยะ ความรุนแรง รวมถึงการให้ข้อมูลกับคนไข้นะครับ เรื่อฃนี้ก็ปล่อยให้ระบบสืบสวน เค้าทำหน้าที่ไปเถอะครับ
ถ้าจะDiscuss ขอให้อยู่ในเชิงสร้างสรร จะได้เป็นประโยชน์กับแพทย์ พยาบาล และบุคคลากรทุกคนนะคับ


Posted by : araidae , Date : 2004-09-14 , Time : 10:55:33 , From IP : 172.29.1.165

ความคิดเห็นที่ : 9


   สอนให้รู้ว่า ddx ของ epigastrim pain นอกจาก กลุ่ม pu แล้วยังมี biliary system ด้วย

Posted by : คนทำงาน , Date : 2004-09-14 , Time : 17:25:23 , From IP : p211-lirylamt1.S.csl

ความคิดเห็นที่ : 10


   พูดในสิ่งไม่รู้ บอกในสิ่งไม่เห็น หยุดเถิดครับ...
ทุกคนไม่ยากให้เกิดความผิดพลาด ทุกคนไม่ต้องการทำผิด
เมื่อผิดแล้วมาช่วยกันแก้ไม่ดีกว่าหรือ


Posted by : คนทำงาน , Date : 2004-09-15 , Time : 13:13:27 , From IP : 172.29.1.91

ความคิดเห็นที่ : 11


   ผมเห็นด้วยกับพี่sho..และอ.ปานเทพ
อยากให้น้องๆทุกคนอ่าน


Posted by : สุนทร , Date : 2004-09-15 , Time : 14:15:31 , From IP : 203.157.254.1

ความคิดเห็นที่ : 12


    Sometimes and someplaces most common disease is GAD.

and when doctor work hard and so tired maybe it will difficult to make decision.


Posted by : angel , Date : 2004-09-15 , Time : 18:13:16 , From IP : 203.150.217.113

ความคิดเห็นที่ : 13


    Sometimes and someplaces most common disease is GAD.

and when doctor work hard and so tired maybe it will difficult to make decision.


Posted by : angel , Date : 2004-09-15 , Time : 18:15:07 , From IP : 203.150.217.114

ความคิดเห็นที่ : 14


   ประเด็นของเรื่องนี้ คือ การที่หมอวินิจฉัยโรคไม่ได้ เกิดจากอะไร ถ้าเป็นเพราะ signs and symptoms ไม่ชัดเจน ใคร ๆ ก็วินิจฉัยไม่ได้ ก็จะไม่ผิด ดังนั้นการทบทวนข้อมูลผู้ป่วยจากเวชระเบียนจะมีความสำคัญมาก กรรมการแพทยสภามี 2 ชุด ชุดแรกคือชุดจริยธรรม จะขอเวชระเบียนไปดูก่อนและอาจจะเรียกหมอที่เกี่ยวข้องไปสอบถามเพื่อพิจารณาว่า คดีมีมูลหรือไม่ ถ้าไม่มีมูลก็ยกข้อกล่าวหาไป แต่ถ้ามีมูล จะส่งเรื่องให้กรรมการสอบสวนต่อไป ซึ่งจะมีการหาข้อมูลจากหลาย ๆ ด้าน รวมทั้งอาจจะมีการสอบถามไปยังราชวิทยาลัยศัลย์ด้วยว่า การดูแลรักษาผู้ป่วยรายนี้เหมาะสมหรือได้มาตรฐานหรือไม่ จากนั้นจะเป็นการสรุปประเด็นต่าง ๆ ตัดสิน เสนอการลงโทษ แล้วส่งเรื่องไปให้กรรมการบริหารของแพทยสภาตัดสินขั้นสุดท้ายอีกที หากถูกลงโทษจะมีการลงประกาศในแพทยสภาสารด้วย

สิ่งที่ไม่เหมาะสม คือ แพทย์ที่รับดูแลคนไข้ต่อมา ไม่ควรวิพากษ์วิจารณ์การรักษาของแพทย์ท่านอื่นต่อหน้าคนไข้หรือญาติ จะทำให้เกิดปัญหามาก เพราะบางครั้งคุณอาจจะไม่ทราบสภาพของคนไข้ก่อนหน้านี้ หรือไม่ทราบข้อมูลทั้งหมด อันนี้เป็นจริยธรรมต่อผู้ร่วมงานที่สำคัญ

ความโชคร้ายของกรณีนี้ คือ หมอที่ดูแลคนไข้จะถูกตัดสินเป็นจำเลยของสังคมไปแล้ว จากสื่อที่ลงข่าวและมีการดึงเรื่อง 30 บาทเข้าไปเกี่ยวข้อง ท่านรมต.สธ.คงจะสั่งให้มีการสอบสวนไปเรียบร้อยแล้ว

ถ้าอยากรู้ว่าคนทั่ว ๆ ไป ที่ไม่ใช่หมอ เขาวิจารณ์กันยังไง ก็ลองเข้าไปอ่านในข่าวของ www.manager.co.th แล้วจะตกใจ การเป็นหมอในยุคนี้ ค่อนข้างลำบากมาก


Posted by : อาจารย์ม.อ. , Date : 2004-09-15 , Time : 23:20:05 , From IP : 172.29.3.206

ความคิดเห็นที่ : 15


   อย่างที่ อาจารย์ มอ. ว่าครับ
medical record เป็นสิ่งที่สำคัญมากครับ

แต่หัวใจอยู่ที่ว่า
-ไม่เขียน คือ ไม่ทำ
- เขียน แล้ว ทำจริง หรือไม่ ต้องมาว่ากัน อีกที

อยากให้ พวกเราลง medical record ให้ครบถ้วน และชัดเจน ครับ
ยอมเสียเวลา ตอนนั้นดีกว่า ไปเสียเวลาที่ศาล ครับ

แต่อย่างว่าครับ ในความเป็นจริง ถ้าคนไข้มาก
เวลาคุยยังไม่มีเลย .. จะไปมีเวลาลง record ได้อย่างไร
เพราะ work load มันเยอะกว่า จำนวนแพทย์ครับ


Posted by : หมอถุน , Date : 2004-09-16 , Time : 15:35:29 , From IP : 172.29.3.64

ความคิดเห็นที่ : 16


   ปัญหาอีกอย่างหนึ่งก็คือ ระบบของโครงการ 30 บาท บีบทางอ้อมในการส่งต่อ
ผู้ป่วย รัฐควรจะแก้ไขด้วย


Posted by : md , Date : 2004-09-19 , Time : 23:29:18 , From IP : 172.29.3.249

ความคิดเห็นที่ : 17


   สิ่งหนึ่งที่พวกเรา "บุคลากรทางการแพทย์" ไม่เคียเรียกร้องก็คือ "สิทธิของผู้ให้บริการรักษาพยาบาล" พวกเราควรจะเรียกร้องสิทธินี้ให้มากขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องไปทะเลาะถกเถียงกับ "สิทธิของผู้ป่วย" แต่อย่างใด เพราะจะเจ็บตัวแต่อย่างเดียว เราน่าจะชี้แจงให้สังคมเข้าใจและเห็นว่า พวกเราควรได้รับสิทธิในการคุ้มครองแรงงานของพวกเราอย่างไรบ้าง เช่น จะต้องมีการจัดสัดส่วนผู้ให้บริการต่อผู้ป่วยอย่างเหมาะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ จนได้มาตรฐานในอนาคต จะต้องมีการจัดสวัสดิการ เวลาพักระหว่างทำงาน และระหว่างเวรต่าง ๆ ให้ถูกต้องตามความสามารถและประสิทธิภาพของร่างกาย สติปัญญา ที่ "มนุษย์ปุถุชน" ควรจะเป็น ไม่ใช่ทำงานเหมือนหุ่นยนต์ หรือ เครื่องจักร ไม่รู้จักหยุดหย่อน จะต้องเรียกร้องสิทธิของผู้ที่มีความรู้น้อยให้สามารถทำงาน ปฏิบัติหน้าที่ตามความรู้ที่มีและสมควรรับผิดชอบเท่านั้น ถ้ายากไปกว่านั้นจะต้องเรียกร้องระบบการส่งต่อที่เป็นธรรมมากขึ้น พวกเราจึงจะไม่ถูกกล่าวหา ฟ้องร้อง กันอย่างไม่เป็นธรรม เพราะชาวบ้านว่าฝ่ายเดียว โดยที่ไม่เคยมองสิทธิของเราเลย
ผมคิดว่าถ้าเราบอกชาวบ้านว่า เราเป็นแพทย์ (ธรรมดา) ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญนะ ทำได้แค่นี้ เครื่องมือมีแค่นี้ จำนวนหมอหรือพยาบาลมีเท่านี้ สังคมจะต้องรับฟังและยอมรับเพื่อหาทางออก ผมคิดว่าถ้าคนไข้เข้าใจว่าเรามีขีดความสามารถแค่ไหนก็ไม่น่าจะมาเรียกร้องสิ่งที่เราทำไม่ได้ ถ้าคนไข้รู้ว่าเราไม่ได้นอนมา 2 คืนแล้วเขาก็คงไม่อยากมาตรวจกับเราในวันนี้ ในขณะที่เราขาดสติสัมปชัญญะไปหลายส่วน ถ้าชาวบ้านรู้ว่ารัฐประมาณให้มาเท่าไร เงินของโรงพยาบาลเหลือเท่าไร ไม่เพียงพออย่างไร เขาก็คงจะต้องไปเรียกร้องเอากับรัฐบาล แต่ในความเป็นจริงเราไม่เคยให้ข้อมูล เราตั้งรับเต็ม ๆ โดยไม่เคยให้ข้อมูลสิ่งเหล่านี้กับสังคมเลย (ดัง ๆ ด้วย ไม่ใช่พูดกันเพียงไม่กี่คนเท่านั้น)


Posted by : หมอที่เป็น "คน" , Date : 2004-09-29 , Time : 02:23:16 , From IP : 172.29.3.210

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.006 seconds. <<<<<