ความคิดเห็นทั้งหมด : 20

อาจารย์แพทย์ ที่ควรเป็น


   สืบเนื่องจากกระทู้ที่ผ่านมา กล่าวว่า...

"ไม่จริงทุกคน การเป็น staff จะได้ไปเรียนต่อเมืองนอก จบมาใช้ทุนให้มหาลัย แล้วทำงานเอกชน
ได้หลายแสน ไม่ต้องทนกดดันใน รพ.รัฐ สบาย
ไม่ได้มองโลกในแง่ร้ายนะคร้าบ... เพื่อนผมอยู่ข้างๆ ยังเห็นด้วยเลย แถมบอกว่านับคนได้ต่างหาก คนที่มีความเป็นครูแบบที่อาจารย์ว่า"

ผมก็เป็นอาจารย์ แพทย์ คนหนึ่ง ฟังแล้ว ท้อแท้มาก
จากที่ไม่เคยคิดที่จะทำเอกชนเลย (อดมาได้15ปีแล้ว) ร้านก็ไม่ได้เปิด
..ตอนนี้ยังไม่มีบ้านเป็นของตัวเอง
..ลูกไม่ได้เรียน รร.ที่ดี อย่างที่หวัง
..ฯลฯ

อาจารย์แพทย์ มีอะไรดี กว่าแพทย์ทั่วไปหรือ...
พอบอกได้ไหม

ความเสียสละคืออะไร..จำเป็นต้องมีหรือไม่..ควรเสียสละเรื่องอะไร
การหาเงินเพิ่ม นอกเวลา (ย้ำว่า นอกเวลา)
เป็นสิ่งที่ไม่สมควรหรือไม่

ถ้าไม่ได้เป็น สิ่งที่ไม่ดี ..สักวัน ผมคง"ต้อง" ไปทำ!!


Posted by : ถุน , Date : 2004-09-10 , Time : 14:09:05 , From IP : 172.29.3.64

ความคิดเห็นที่ : 1


   ลองถามตัวเองเสียก่อนว่าเป้าหมายชีวิตของการเป็นอาจารย์แพทย์คืออะไร เราต้องการอะไร ใช้อะไรเป็นเกณฑ์มาตรฐานของชีวิต รร.ระดับไหนที่ว่าดี หรือไม่ดี เหตุอยู่ที่เราตั้งเกณฑ์ของเราสูงไปหรือไม่

Posted by : นนน , Date : 2004-09-10 , Time : 14:51:46 , From IP : 172.29.2.98

ความคิดเห็นที่ : 2


   "แพทย์" คนที่เสียสละเวลาของตน ประกอบเป็นหน้าที่เพื่อทำให้คนอื่นพ้นทุกข์จากสุขภาพที่ไม่ดีทางกายและใจ
"ครู" คนที่เสียสละเวลาของตน ประกอบเป็นหน้าที่เพื่อทำให้คนที่ไม่รู้ หรือรู้น้อย พัมฯเป็นรู้ รู้มากขึ้น เป็นคนดียิ่งขึ้น

อาจารย์แพทย์ = แพทย + ครู



Posted by : Phoenix , Date : 2004-09-10 , Time : 18:23:38 , From IP : 172.29.3.237

ความคิดเห็นที่ : 3


   ไปทำเอกชนดีกว่า

Posted by : เหอๆๆ , Date : 2004-09-11 , Time : 01:38:05 , From IP : wwwtrh.moph.go.th

ความคิดเห็นที่ : 4


   ผมเห็นด้วยว่าการทำเอกชนไม่ได้ rule out การเป็นอาจารย์แพทย์ไปครับ ที่จริงมหาวิทยาลัยแพทย์เอกชนดูจะเป็นคำตอบที่ชัดเจน

เป็นหมอ เป็นอาจารย์ เป็นข้าราชการ หรือทำงานเอกชน ผมว่าเราจะจับคู่กันอย่างไร ไม่เห็นจะมี conflict ตรงไหน เพราะสองอย่างแรกเป็นเนื้องาน สองอย่างหลังเป็นสังกัด ฉะนั้นเป็นสิทธิส่วนบุคคลแน่นอนครับว่าที่ใดตนเองอยู่แล้วมีความสุขที่สุด บางครั้งเราลืมไปว่าจะทำงานอาชีพหน้าที่ไหนก็ตาม เขาก็ยังมีชีวิตและครอบครัวส่วนตัวอยู่ด้วย และนั่นน่าจะเป็นความรับผิดชอบเบื้องต้นใช่ไหมครับ

แต่ถ้ามีใครมีเวลาคิดว่า อาจารย์แพทย์ที่เป็นข้าราชการ จริงๆแล้วเขามี Options อื่นแต่เขาไม่ได้เลือก ถ้ามีการแสดงที่เป็นความขอบคุณเล็กๆให้สักนิดอาจจะมีประโยชน์กว่าการจิกด่าเหยียดหยามอยู่บ้าง

รึเปล่าครับ?



Posted by : Phoenix , Date : 2004-09-11 , Time : 10:06:27 , From IP : 203.156.49.23

ความคิดเห็นที่ : 5


    เห็นด้วยกับความคิดที่ 2 ค่ะ

น่าจะลองถามตัวเองดูว่า เป้าหมายในชีวิตคืออะไร

แล้วชีวิตที่เป็นอยู่ปัจจุบัน คุณมีความสุขดีมั้ย คุณพอใจในสิ่งที่มี ที่เป็นอยู่ตอนนี้หรือไม่

ชีวิตของเรา จะหยุดนิ่ง หรือไปต่อทางไหน เราเป็นตัวกำหนดค่ะ

ถ้ามองว่าคุณลูกไม่ได้เรียนที่ดีๆ อยากเปลี่ยน คุณก็เปลี่ยนไปสิ

ถ้าคุณมองว่าการเสียสละ ทำให้ชีวิตคุณเสียศูนย์ไปล่ะก็ คุณก็ไม่ได้ทำมันด้วยใจ เดี๋ยวจะกลายเป็นไม่มีความสุขไปอีก

ความเห็นส่วนตัวคิดว่า คนเป็นหมอ ก้อไม่จำเป็นต้องรักคนไข้ตลอดเวลาหรอกค่ะ ในเมื่อบางที คนบางคนยังไม่รักตัวเองเลย


Posted by : angel , E-mail : (i_amyourangle@hotmail.com) ,
Date : 2004-09-11 , Time : 12:26:08 , From IP : 203.150.217.118


ความคิดเห็นที่ : 6


   เมื่อก่อนตอนจบใหม่ๆผมตั้งใจว่าจะไม่เปิด clinic จะไม่รับ job
จนวันหนึ่งมีเหตุการณ์ที่ทำให้ผมต้องเปิด clinic เองนอกเวลาราชการ
ทำให้พบว่าการเป็นหมอที่ดีไม่จำเป็นต้องทำงานเฉพาะราชการ
ชีวิต ฐานะการเงินดีขึ้น
ตอนนี้ในความคิดผม ผมถือว่างานจาก clinic และธุรกิจอื่นเป็นรายได้หลัก
ส่วนการทำงานเป็นหมอในระบบราชการคือการทำตามความฝัน
ผมสามารถจะมีความสุขกับการตรวจคนไข้มากขึ้น เพราะรู้สึกว่างานที่
ทำอยู่คือสิ่งที่เราฝันอยากจะเป็น งานราชการก็สามารถทำได้ดีขึ้น
ผมคิดว่าเราไม่จำเป็นต้องยึดติดว่าการที่ออกไปรับ job เป็นเรื่องที่
ไม่ถูกต้องถ้าเราไม่ได้่ทำให้งานเสียหาย


Posted by : DrWongWang , Date : 2004-09-11 , Time : 21:29:35 , From IP : 203.150.217.114

ความคิดเห็นที่ : 7


   อาจารย์แพทย์ต่างจากแพทย์ทั่วไป คือ ต้องสอนนศพ. พชท. พจบ. และเป็นตัวอย่างที่ดีให้เขาด้วย ส่วนจะหาเงินโดยวิธีอื่น ๆ หรือไม่เป็นสิ่งที่พึงกระทำได้ ถ้าไม่ได้ไปทำให้ใครเดือดร้อน

ปัญหาของคณะแพทย์ในปัจจุบัน คือ มีคนที่เป็นอาจารย์แพทย์เพราะชอบสอนหนังสือจริง ๆ มากน้อยแค่ไหน บางคนเป็นเพราะได้โอกาสไปเรียนต่อต่างประเทศ พอกลับมาทำงานได้ไม่นาน ก็ออกไปอยู่เอกชน เพราะได้เงินเยอะกว่า อาจจะอ้างว่าจำเป็นหรืออะไรก็แล้วแต่ ทำให้คณะแพทย์แห่งนี้ยังประสบปัญหาขาดแคลนอาจารย์แพทย์อยู่ตลอด โดยเฉพาะอาจารย์ที่ดี ๆ ปีที่ผ่านมามีอาจารย์ลาออกเยอะ ส่วนนึงก็สมองไหลไปเอกชนไม่ใช่หรือ อาจารย์ใหม่ที่รับมาแทนก็ต้องใช้เวลาสร้างสมประสบการณ์และความรู้ พอเก่งและเริ่มมีชื่อเสียงก็ได้เวลาออกไปอยู่เอกชนพอดี ส่วนคนที่ยังอึด ทน ๆ กันอยู่ ก็อาจจะเพราะรักที่จะเป็นอาจารย์แพทย์จริง ๆ หรืออาจจะไม่มีที่ไปก็ได้

ถ้าอาจารย์แพทย์บางคนทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน คณะแพทย์น่าจะเจริญกว่านี้


Posted by : อาจารย์แพทย์คนนึง , Date : 2004-09-12 , Time : 00:27:29 , From IP : 172.29.3.250

ความคิดเห็นที่ : 8


   น่าจะเป็นสมดุลของการบริหารจัดการพอสมควรทีเดียวนะครับ

ว่ากันตั้งแต่คัดเลือก candidate ซึ่งอาจจะหมายตาตั้งแต่ยังเป็น นศพ. แล้วก็เริ่มจับตาดู เสริมศักยภาพ แล้วก็ recruit เนื่องจากเรามีเวลาทำความ "รู้จัก" นานพอสมควร อาจจะช่วยในแง่มีความมั่นใจมากกว่าการ recruit พชท. ซึ่งมีเวลาประมาณ 3-5 ปี ผมเข้าใจว่าศักยภาพบางอย่างสำหรับ นศพ.ที่ mature แล้วเราสามารถ detect ได้ตั้งแต่ชั้นคลินิกตอนต้น ในที่นี้ผมไม่ได้หมายถึงคะแนนเพียงอย่างเดียว แต่รวมทั้ง attitude การทำงานกับผู้ป่วยบน ward ไปจนถึงความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานเช่น พี่ พชท. พยาบาล และบุคลากรอื่นๆ การมี campaign แมวมองที่ว่า เราจะมีเวลารู้จักคนมากขึ้น อีกอย่างหนึ่งคือคนไหนที่ mature แล้ว เขาจะมีแนวโน้มตั้งเป้าหมายชีวิตแต่เนิ่นๆ ฉะนั้นคณะฯมีอะไรดีๆที่จะส่งเสริมบ้างจะได้ให้เขาได้รู้ข้อมูลแต่ต้นๆประกอบการตัดสินใจ และการที่คณะฯมี approach เร็วก็อาจจะช่วยผูกมัดจิตใจได้ดีขึ้น เมื่อเขามีเป้าที่ชัดเจน จะมีผลต่อการทำงานจริงขณะเรียนไปโดยอัตโนมัติ จะได้มีเวลาทำความเข้าใจกับวัฒนธรรมและระบบการเรียนการสอนในแนวลึกระดับปรัชญาแต่เนิ่นๆ จะช่วยมากในการเข้าสู่วงการแพทยศาสตร์ศึกษาตั้งแต่ยังเป็น นศพ.

การที่เราตั้งเป้าหมาย recruit คนที่มีคุณภาพนั้น จะต้องตระหนักว่ามันจะต้องเป็นไปในลักษณะ mutual benefit นั่นคือคนคุณภาพก็จะคาดดหวังว่าจะถูก treated accordingly ทั้งส่วนตัว หน้าที่การงาน และสังคม แน่นอนที่สุดคนที่ mature เป็นผู้ใหญ่นั้น จะมองไม่เพียงแต่งาน แต่จะมองสิ่งแวดล้อม มองความก้าวหน้าของครอบครัวทั้งรูปธรรมและนามธรรม คนที่ไม่ชอบการเมือง ถ้าเขาสังเกตกลิ่นการเมืองเข้มช้นก็จะไม่มา หรือถึงมาก็อยู่ไม่ได้ ในทำนองกลับกันถ้าคนชอบสอน แล้วบรรยากาศมันอำนวยการเรียนการสอนดีเลิศ อย่างอื่นด้อยไปบ้างก็จะทนได้ ไม่เป็นไร

ผมเชื่อว่าผู้บริหารส่วนใหญ่เข้าใจเป็นอย่างดีถึงปัจจัยในการดึงคนคุณภาพให้ทำงานกับเรา มอ.เราเป็นสถาบันผู้นำด้านคุณภาพแห่งหนึ่งในประเทศไทย ฉะนั้นตรงนี้ถ้าจะ assume ไปบ้างก็ไม่น่าจะไกลจากความจริง (หวังว่า) ตัวอย่างทาง business ต่างๆ หนังสือการบริหาร ฯลฯ มากมาย และข้อสำคัญคือการ identify ปัจจัยด้านลบในการช่วยขับไลไสส่งคนออกจากระบบอาจจะเป็นสิ่งที่ concern มากกว่า ถ้าปัจจัยเหล่านี้พร้อม ก็จะเกิดบรรยากาศที่เกิดประโยชน์ทั้งสองฝ่าย คือคณะฯและอาจารย์ แต่ถ้าเมือ่ไหร่ก็ตามที่คนรู้สึกว่าเขา dispensible หรือถูก pressured มาก ทั้งจากงาน และสภาพครอบครัว ตรงนี้คงจะต้องหาทาง compromize เข้าหากัน ไม่ได้ก็จบแค่นั้น



Posted by : Phoenix , Date : 2004-09-12 , Time : 00:48:51 , From IP : 203.156.49.81

ความคิดเห็นที่ : 9


   ขอโทษครับ ว่ากันเฉพาะ"อาจารย์"
บังเอิญว่ามีโอกาสฟังมงคลชีวิต ในหัวข้อบูชาบุคคลที่ควรบูชา ท่านพูดถึงครูหรืออาจารย์ ว่ามีหน้าที่แนะนำ คือทั้ง "แนะ" และ "นำ"
แนะ = คือ Lecture
นำ = การทำตัวเป็นตัวอย่าง
ก็เลยพอจะแบ่งอาจารย์ได้สามประเภทดังนี้
1) แนะดี นำดี คือ สอนหนังสือก็ดี แถมยังทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับ นักเรียน อย่างนี้เรียกว่า "ครู หรือ อาจารย์" ได้เต็มปากเต็มคำ เป็นบุคคลที่ควรบูชา
2) แนะดี นำไม่ดี คือสอนหนังสือดี แต่ทำตัวเหลวแหลก เอาเป็นตัวอย่าง ไม่ได้ อย่างนี้เขาเรียกว่า "ลูกจ้างสอนหนังสือ"
3) แนะไม่ดี นำไม่ดี อย่างนี้ สอนหนังสือก็ไม่ค่อยรู้เรื่อง แถมยังทำตัวใช้ไม่ได้ อย่างนี้เรียกว่า "โจรปล้นลูกศิทย์ "

ไม่รู้ว่าเอามาเปรียบเทียบกับอาจารย์แพทย์ ได้หรือเปล่า ไม่ได้มี เจตนาโจมตีใครนะครับ บังเอิญเพิ่งได้ฟังมา เห็นช่วงนี้มีแต่กระทู้ นักเรียนแพทย์ พอมี เรื่องอาจารย์บ้างก็เลยอยากเอามาเล่าให้ฟังเฉย ๆ


Posted by : Dhan , Date : 2004-09-12 , Time : 01:06:42 , From IP : 172.29.3.206

ความคิดเห็นที่ : 10


   ผมว่า "แนะดี" มันมีอะไรมากกว่านั้นนะครับ คุณ Dhan

เราจะมีโอกาส "รู้จัก" ท่านผู้รู้ ผู้เคยแนะอะไรต่างๆมาเป็นหมื่นๆปีได้อย่างไร? มีใครรู้จักเจ้าชายสิทธัตถะ อริสโตเติล โสเครติส Kant ฮอปส์ ฯลฯ จริงๆจะได้ให้นำ แต่หลักการที่ได้มีการจารึกจากคำแนะ ของท่านเหล่านี้ก็ยังมีค่า nonetheless จะเรียกว่าลูกจ้างก็ใช้ที่ เพราะท่านแนะฟรี

น่าจะมีกลุ่ม "แนะดี" เฉยๆอีกสักกลุ่ม ไม่ต้องนำไม่ดีได้ไหม? แล้วกลุ่ม "นำดี" แต่ไม่แนะมีนึเปล่า? ที่เขาเรียกว่า lead by example น่ะครับ การนำชีวิตของคนสมถะบางคน เพีงแค่เราไป observe ดูดีๆ ก็อาจจะได้อะไรมีคุณค่าพอจะไปใช้ตลอดชีวิตแล้วก็มีนะ ผมว่า หรือกลุ่ม "นำดี แต่แนะไม่ดี" มีไหม? ประเภทพูดไม่เก่ง พดไม่รู้เรื่อง ต้องไปดูว่าเขาทำอย่างไร กลุ่มนี้พวกศิลปศาสตร์ต้องการเยอะ เช่นสอนวาดรูป สอนวรรณกรรม ฯลฯ

อาจจะ oversimplified ไปนิดนึงครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-09-12 , Time : 01:42:45 , From IP : 203.156.48.119

ความคิดเห็นที่ : 11


   เราไม่จำเป็นต้องรู้จักเป็นการส่วนตัวนี่ครับ
เราเรียนรู้จากชีวประวัติ หรือ พุทธประวัติได้
โดยเฉพาะพระบรมสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ ยิ่งต้องเรียกว่าเป็นบรมครู เพราะนอกจากที่ท่านสั่งสอนแล้ว ท่านยังประพฤติ ปฎิบัติเป็นตัวอย่างให้เห็นอีกด้วย และยังเป็นครูของเหล่าครูอาจารย์ทั้งหลาย ซึ่งก็คือพระภิกษุสงฆ์ สิ่งเหล่านี้เป็นอกาลิโกครับ ไม่ต้องอยู่ร่วมสมัยก็เรียนรู้และปฏิบัติตามได้

ส่วนอีกกลุ่มที่คุณ Phoenix พูดถึง ไม่ต้องมีแนะ แต่ "นำดี" อันนี้ถ้าคิดตามหลักคณิตศาสตร์ Event ที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นได้ = 2x2 = 4 จึงมีกลุ่มที่สี่อย่างที่คุณ Phoenix ยกขึ้นมา แต่ถ้าไม่แนะ หรือไม่สอนเราจะเรียกว่าเป็น ครูได้หรือไม่ อาจเป็นตัวอย่างที่ดีให้เราปฎิบัติตามแต่ในเมื่อไม่สอน ก็ไม่น่าจะเรียกว่าเป็นครู แต่เรียกว่าเป็นคนดีได้

ส่วนกลุ่มศิลปศาสตร์นี่ที่คุณ Phoenix บอกว่าพูดไม่เก่ง พูดไม่รู้เรื่อง ผมเข้าใจว่า สอนวาดรูป เขาก็สอนใช่ใหมครับ ไม่จำเป็นต้องสอนโดยการพูดนี่ครับ


Posted by : Dhan , Date : 2004-09-12 , Time : 07:27:28 , From IP : 172.29.3.241

ความคิดเห็นที่ : 12


   "ประวัติศาสตร์" นี่ไม่ใช่ fact นะครับ อย่าสับสน

วิชาหน้าที่พลเมือง (ไม่รู้เดี๋ยวนี้ยังมีอยู่รึเปล่า เมื่อก่อนคู่กับหน้าที่ศีลธรรม) นี่ ใครเป็นคนเขียนคุณ Dhan รู้จักไหมครับ? แล้วปกติก่อนที่จะเชื่อคุณ Dhan อ่านชีวประวัติของเขาก่อนทุกครั้งหรือไม่? แล้วที่เราเชื่อถือยึดนำมาเป็นข้อปฏิบัตินี่คุณ Dhan คิดว่ามีกี่สักกี่มากน้อยที่ขอ confirm อย่างที่ว่า อันนี้เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับ attitude แขนงเดียง ยังไม่นับ "อาจารย์" แผนก cognitive knowledge อีกจำนวนมากมายหลายแขนง เช่น สอนเคมี สอนเลข สอนเรขา ถ้าเราไม่รู้จักท่านเหล่านั้นเป็นการส่วนตัว ตกลงลูกศิษย์คงจะนึกว่าท่านเหล่านี้เป็นแค่ลูกจ้างมาสอนเขาตามหน้าที่เท่านั้นใช่ไหมครับ? ตรงนี้อาจจะอธิบายพฤติกรรม relationship ระหว่าง "ผู้สอน" กับ "ลูกศิษย์" ในปัจจุบันบางส่วนได้

อีกประการ "ดี ไม่ดี" นี่เป็นคุณค่าที่ใครเป็นคนแปลครับ? ครู ลูกศิษย์ หรือ กรรมการมือที่สาม? ประเด็นที่ผมอยากจะเน้นคือ คุณค่า นั้นเป็นสัมพัทธ์บวกประสบการณ์ส่วนบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการแนะหรือการนำ ก่อนที่เราทุกคนจะกำหนดว่าดีหรือไม่ดี เราใช้ประสบการณ์ส่วนตัว ใช้อารมณ์ส่วนตัว ใช้ความรู้ส่วนตัว ใช้พื้นฐานความเชื่อ การเลี้ยงดู ศาสนา มาร่วมแปลทุกครั้ง เช่น คุณค่าของชีวิตทางตะวันตก คุณค่าชีวิตในตะวันออกกลาง ในเผ่าต่างๆ มันไม่ "ดี" เท่าๆกนทุกที่ใช่ไหมครับ

ลองดูอีกทฤษฎีนึงนะครับ

ทฤษฎีทางจริยศาสตร์ต้องการแสวงหา "ความดี" ที่ดีโดยตัวมันเอง (เรียกว่าดีสากล) ไม่ได้ดีเพราะลองใช้แล้วต้องรอผลก่อนนะครับ เป็นดีที่เนื้อ "จิต" เจตนา ยกตัวอย่าง philanthropist จะบริจาคเงินเพื่อส่งเสริมการศึกษานั้น ความดีไม่ได้อยู่ที่คนที่รับบริจาคจะต้องจบมหาวิทยาลัยนะครับ ความดีอยู่ที่ "ถ้า" ตอนที่เขาบรจาคนั้น เขาคิดว่าพฤติกรรมบรจาคนี้เป็นคุณค่าอย่างหนึ่งที่ถูกต้องพึงกระทำ ถ้าหากคิดว่าบริจาคแล้วได้บุญก็ยังไม่ใช่ความดี เพาะนั่นเป็นการบริจาคหวังสิ่งตอบแทน ถ้าบริจาคเพื่อให้ได้สายยศหรืออิสริยาภรณ์ก็ไม่ใช่เหมือนกัน จะเห็นว่าความดีตรงนี้ไม่เกี่ยวกับพฤติกรรม "อื่นๆ" ของคนทำเลยแม้แต่น้อย ฉะนั้นความดีไม่จำเป็นต้องทำโดยคนที่ดี ที่บริสุทธิ์เท่านั้น แม้แต่มหาโจรก็สามารถประกอบกรรมดีได้นับไม่ถ้วนครั้งในชั่วชีวิต เนื่องจากวิบากนั้นแยกแยะเชื่อมโยงกับกรรมของแต่ละอันชัดเจน ดังนั้นสูบบุหรี่ก็จะไม่ไปลบล้างความดีของการช่วยชีวิตเด็ก หรือบริจาคเงินสร้างโจะไม่ลบล้างความชั่วที่ไปข่มขืนเด็กได้

ทีนี้ถ้าทุกครั้งเราจะเคารพครูบาอาจารย์ที่ "สอน" เรามาแล้วสักวิชาหนึ่ง เราควรหรือไม่ที่จะต้องขอสืบประวัติก่อนว่าคู่ควรที่ฉันจะเรียกมันว่าเป็นครู หรือฉันตั้ง criteria ไว้อย่างนี้ ไม่ใช่เหยียบๆอรหันต์มาสอน ฉันมองเป็นแค่ลูกจ้างมาสอน? ตาม classification ที่ได้ตั้งไว้นั้น คนที่ไม่สมบูรณ์จะไม่ถูกเรียกว่าเป็นอาจารย์หรือครู ผมว่าเรามี pool เหลือน้อยเต็มทน มนุษย์คนไหนที่มี style ชีวิตส่วนตัวสูงสุดเปอร์เฟคบ้าง?

ทางการแพทย์ของเรามีอีกครูหนึ่งซึ่งไม่เคยพูดเลยครับ "อาจารย์ใหญ่" ยังไงล่ะครับ ตรงนี้จะตรงกับนิยามของจริยธรรมข้างต้นที่ได้กล่าวถึง ชาวบ้านธรรมดาๆที่อาจจะมีชีวิตเหลวแหลกยังไงไม่รู้ เสียชีวิต ความคิดหนึ่งที่เหลืออยู่อยากจะอุทิศร่างกายเป็นคุณานุประโยชน์แก่นักเรียนแพทย์เป็นกุศลต่อวงการเรา แก่ปู่หมอ พ่อหมอ แม่หมอ มาเป็นร้อยๆพันๆปี เราสนใจไหมครับว่าเขาเป็นคนดีหรือเปล่า? ตกลงจะให้ท่านเป็น "อาจารย์" ไหมครับ? หรือจะเรียกว่าอะไร? จะขอเวลาสืบประวัติก่อนหรือไม่?

ขอแยกประเด็นเรื่องศิลป์ไปอีกอันนึง



Posted by : Phoenix , Date : 2004-09-12 , Time : 09:34:01 , From IP : 203.156.43.170

ความคิดเห็นที่ : 13


   ที่คุณ Dhan ว่าในย่อหน้าสุดท้าย
ส่วนกลุ่มศิลปศาสตร์นี่ที่คุณ Phoenix บอกว่าพูดไม่เก่ง พูดไม่รู้เรื่อง ผมเข้าใจว่า สอนวาดรูป เขาก็สอนใช่ใหมครับ ไม่จำเป็นต้องสอนโดยการพูดนี่ครับ

สงสัยเราต้องนิยามคำ "แนะ" กับ "นำ" ใหม่ ตกลงแสดงให้ดูเป็นตัวอย่างนี่เป็นแนะหรือนำครับ?

ความรู้จำนวนมากนั้นได้มาจากการดูดซึมสิ่งที่มีการเขียน การแสดง การบอกกล่าว มาตั้งแต่ประวัติศาสตร์เริ่มต้น สายใยความรับผิดชอบและความดีที่ความรู้ต่างๆเหล่านี้เป็นสิ่งที่จรรลงศิวิไลซ์ให้คงมีอยู่และจะมีต่อ และสิ่งที่ผมคิดว่า "ดี" คือการตระหนักถึงคุณความดีของบรรพบุรุษที่ได้เสียเวลาจารึกสิ่งเหล่านี้ไว้ เซอร์ไอแซก นิวตัว เขียนจดหมายถึงเพื่อนเขาตอนที่ท่านกำลังถึงจุดสูงสุดว่า ณ ตำแหน่งที่ท่านยืนอยู่ได้ ณ ปัจจุบันนี้เพียงเพราะท่านเขย่งอยู่บนบ่าของยักษ์ใหญ่แค่นั้น ท่านไม่ได้สูงขนาดนี้โดยลำพังตัวท่านเอง ท่านไม่ได้บอกด้วยนะครับว่าท่านสืบประวัติยักษ์ก่อนที่จะไปยืน แต่ท่านแค่ "ยอมรับ" โดยไม่มีเงือ่นไขว่าท่าน "ได้ความรู้" มาจากบูรพาจารย์ แค่นั้นก็พอแล้วที่จะสำเนียกสำนึกในบุญคุณ

การสร้างเงื่อนไขก่อนที่จะตระหนักในความดีอะไรก็ตาม โดยที่เงื่อนไขนั้นๆไม่เกี่ยวกับตัว "เนื้อความดี" ผมว่าอันตราย และก่อให้เกิดบรรยากาศไม่ดีบน slippery slope ยกตัวอย่าง ถ้ามีพ่อแม่ที่เป็นพ่อบุญธรรม แม่บุญธรรม ส่วนตัวไม่ได้เป็นคนสมบูรณ์แบบ กินเหล้า สูบบุหรี่ แต่ท่านหวังว่าลูกบุญธรรมจะโตเป็นคนดี ไม่กินเหล้า ไม่สูบบุหรี่ก็เลย "แนะ" อย่างนั้น แล้วลูกควรจะกตัญญูหรือไม่? หรือปค่มองว่าเป็น "พ่อแม่สมัครเล่น" แนะอย่างเดียวแต่ไม่นำ?

ตรงนี้ขอเลยไปสัมผัส category สุดท้ายของบทความล่าสุด (ไม่ได้ว่าเป็น "ของ" คุณ Dhan ครับ เพราะเข้าใจว่าฟังมาอีกต่อ) สอนไม่ค่อยรู้เรื่อง ทำตัวก็ไม่ค่อยดี" ตรงนี้ผมว่าอาจจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้มโหฬารเมื่อปัจเจกบุคคลจะนำไปใช้ สอนไม่ค่อยรู้เรื่องนี่เป็น subjective evaluation แน่ๆ ขึ้นอยู่กับคนสอน สื่อการสอน และผู้รับ บวกบริบท เหมือนๆกับ communication ทั่วๆไป ก่อนที่จะสรุปว่าเป็นเพราะคนสอน ทุกๆปัจจัยต้องมากลั่นกรองก่อน ถ้านักเรียนในปัจจุบันเรียนไม่รู้เรื่องปุ๊บ อ้าวครูก็ไม่ได้เป็นพระอรหันต์ อย่างนี้ตามนิยามคือโจรปล้นลูกศิษย์ ผมว่ามันจะไปกันใหญ่

การตีความนั้นมันมีสองแง่ สองด้าน หรือมากกว่าอยู่เสมอครับ เราอาจจะจำเป็นต้องคำนึงถึง consequences โดยเฉพาะอย่างยิ่ง consequences ที่ไม่ดี คำนึงถึงผู้ฟังว่าจะมี background อย่างไร เข้าใจไปทางไหน เรื่องที่เราหวังให้เป็นมงคล มันอาจจะกลายเป็นกาลกิณีได้ง่ายๆครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-09-12 , Time : 09:56:14 , From IP : 203.156.43.170

ความคิดเห็นที่ : 14


   555 กลายเป็นเรื่องใหญ่ไปแล้ว
ก่อนอื่นผมไม่ได้บอกว่าอะไรถูกอะไรผิด บังเอิญว่าได้มีโอกาสฟังมา ก็เลยมาเล่าให้ฟัง

ในทัศนะของผม ผมไม่สามารถเข้าใจอะไรซับซ้อนอย่างนั้นได้
แพทย์ เป็นวิชาชีพที่ผม "ศรัทธา"
ครู เป็นผู้ที่มีพระคุณ สำหรับผม

ยิ่งถ้าเป็นครูแพทย์ ที่พร่ำสอนผมมาและในขนะเดียวกันก็ปฎิบัติหน้าที่แพทย์ได้อย่างดีนั้น ผมขอเรียนตามตรงครับว่า ใน"ความเชื่อ" ของผม ผมคิดว่าบุคคลเหล่านี้มีตัวตนอยู่จริง สัมผัสได้ เห็น ๆ เดินไปมาในรพ.ก็มีอยู่เยอะ เขาเป็นคนธรรมดาเหมือนเราท่านทั้งหลายนี่แหละ มีรัก โลภ โกรธ หลง เดินดิน กินข้าว ขี้เหม็น ไม่ต้องเข้าใจอะไรมาก เรารับรู้ได้โดยไม่ต้องนิยาม ไม่ต้องพยายามพิสูจน์ ไม่ต้องเอาชนะ แค่รับรู้ถึงความมีตัวตนของท่านเหล่านั้น จนเป็นแบบอย่างให้เราประพฤติปฎิบัติตามได้ก็พอแล้ว ที่เหลือ ไม่รู้

ไม่น่าแตะต้องของสูงเลยเรา เจ็บตัวอีกแล้ว


Posted by : Dhan , Date : 2004-09-12 , Time : 15:19:47 , From IP : 172.29.3.245

ความคิดเห็นที่ : 15


   ขออภัยที่ทำให้รู้สึกอย่างนั้นครับ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นอย่างนั้นเลย ผมก็ได้บอกแล้วว่าเข้าใจว่าคุณ Dhan quoted มาให้ดู เราเพียงแค่นำมาวิเคราะห์แบบ objective ทำไมจะต้องมี Personal hurt ด้วยล่ะครับ?

สิ่งที่เราควรจะหัดทำให้มากขึ้นคือการอภิปรายเพื่อการกระจายเพิ่มความคิดเห็นในแต่ละเรื่องให้งอกงามทางความคิด เมื่อหัวข้อหนึ่งๆเปรียบเสมือนเมล็ด ได้งอกงามเป็นกระทู้ กระพี้ ลำต้น กิ่งก้านใบ ผลิดอกออกผล คนที่ช่วยกันรดน้ำพรวนดินก็เก็บเกี่ยวส่วนที่ตนชอบไป บางคนชอบดอก บางคนชอบใบ บางคนชอบผล บางคนชอบดู ฯลฯ การเก็บเกี่ยวจะเป็น Phase ส่วนตัวที่แต่ละท่านทำกันเองภายในหัวตนเอง สามารถทำได้อย่างนิ่มนวล ไม่มีการเอาตะกร้อมาเคาะหัวเพื่อน หรือเอากรรไตรมาทิ่มพุงกัน

ผมยังสงสัยว่ามีเรื่องที่ "สูงเกินไป" จนอภิปรายไมได้จริงหรือ OK ในที่สาธารณะคงจะมีบางเรื่องที่กฏหมายกำหนดไว้ แต่จริงๆแล้วผมว่าเราอภิปรายกันได้หมดทุกเรื่องครับ และผมเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าการ "ไม่" พูดจาหรืออภิปรายกันต่างหากที่เป็นรากเหง้าบ่อเกิดการขัดแย้งที่หมักหมมสะสม

ผมมั่นใจในความสามารถของคุณ Dhan เต็มที่ว่าสามารถทำความเข้าใจอะไรก็ได้ที่อยากทำ อย่าให้ gift อันนี้ถูก inhibited โดยความเชื่ออะไรประเภืเจ็บตัวเพราะอภิปรายทำนองนั้นเลยครับ ศักยภาพเรามีก็ควรจะนำมาใช้อย่างเต็มที่



Posted by : Phoenix , Date : 2004-09-12 , Time : 21:04:29 , From IP : 203.156.44.227

ความคิดเห็นที่ : 16


   คุณค่าของคน อยู่ที่ผลของงาน(หรือเงิน????) เป็นอาจารย์น่าจะมีคุณค่าในตัว หาเงินข้างนอกอีกเล็กน้อยเพื่อฐานะและอนาคตของครอบครัว + ให้เวลากับครอบครัวด้วยน่าจะลงตัวนะ (แต่เหมือนจะโลภในแง่ว่าเอาดีมันทุกอย่างทุกอย่างต้องการความสำเร็จทุกด้าน ก็ต้องเหนื่อยมากหน่อย)

Posted by : ร่วมแจม , Date : 2004-09-12 , Time : 23:40:16 , From IP : 172.29.3.225

ความคิดเห็นที่ : 17


   ประทับใจการโพสต์ของหมอ Dhan อีกแล้ว
สาธุ ครับ ท่านกล่าวได้ชอบแล้ว

สำหรับผมคงไม่วิจารณ์กระทู้นี้ครับ สูงเกินไป

อาจารย์ผมทุกคนไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ผมให้ความเคารพหมด เพราะเขาให้ความรู้ผม แต่ผมจะเป็นอย่างอาจารย์หรือเปล่า ก็อีกเรื่องหนึ่ง


Posted by : munich , Date : 2004-09-13 , Time : 17:49:32 , From IP : 172.29.3.176

ความคิดเห็นที่ : 18


   I always love you Phoenix!!!!
Keep walking my HERO.


Posted by : lucifer , Date : 2004-09-14 , Time : 23:41:05 , From IP : 172.29.5.113

ความคิดเห็นที่ : 19


   เอ่อ...ขออภัยค่ะ
post ผิดกระทู้ อาจารย์Phoenix ตามไปอ่านใหม่ที่
กระทู้ "ชมกันเข้าไปนะคะ......"


Posted by : lucifer , Date : 2004-09-15 , Time : 00:13:09 , From IP : 172.29.5.113

ความคิดเห็นที่ : 20


   เพื่อนของพี่สาวหนู เขาก็เป็นหมอเหมือนกัน แต่เวลานอกราชการ เขาไปขายกาแฟ + เบเกอร์รี่ค่ะ (เปิดร้านเอง) แล้วเขาก็ทำพายบลูเบอร์รี่อร่อยมากด้วยค่ะ
อย่างนี้ผิดหรือเปล่าคะ ประเทศไทยมีหมอที่ทำเบเกอร์รี่อร่อย..น่าภูใจดีออก..(ดีกว่าปล่อยให้หมอ(บางคน) ใช้เวลานอกราชการ..ก่ออาชญากรรม อย่างที่เคยเป็นข่าว).หนูก็ไม่เห็นว่ามีนจะไม่ดีตรงไหนเลยค่ะ....(แล้วหนูเองก็ไม่ได้มีอาชีพหลักเป็นคนล้างถ้วยกาแฟ แต่หนูก็ยังเคยใช้เวลานอกงาน(ไม่ได้รับราชการ) ไปช่วยเขาล้างถ้วยกาแฟเลย... แล้วถ้าเป็นตำรวจ/ ทหารละคะ... ต้องจับผู้ร้ายกันทั้งวันหรือเปล่า หนูยังเคยเห็นในทีวี.เลย เป็นตำรวจแล้วเวลานอกราชการ มาขายก๋วยเตี๋ยว...ไม่ได้เป็นพระนี่คะ...ถ้าเป็นพระแล้วออกเทปเพลงร๊อค...อย่างนี้สิ...อาบัติชัวร์ๆค่ะ


Posted by : มดตะนอย , Date : 2006-11-21 , Time : 08:36:34 , From IP : ppp-124.120.34.109.r

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.009 seconds. <<<<<