เอามาเริ่มต้นใหม่ อยากให้กลุ่ม อาจารย์ นศพ. ร่วมแสดงความคิดเห็น
โพยข้อสอบกับการเรียนรู้
อยากถามความเห็นว่า โพยข้อสอบ มีผลมากน้อยต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ด้านการจัดการศึกษาและด้านพฤติกรรมการเรียนรู้ มากน้อยอย่างไรครับ
Posted by อาจารย์() 2004-09-07 , 13:07:58 , 172.29.3.134
อ่านหนังสือแล้วตก mean
อ่านโพยแล้วผ่าน mean
Posted by V1() 2004-09-07 , 13:42:13 , 172.29.1.213
นศพ สมัยนี้ ยากที่จะเข็นไปใหเด้ดี มีแต่คิด negative เชื่องช้า มาสาย ไร้การคิด ถามคำถามโคตรโง่ ยืนหน้าตาเหมือนเพิ่งกินหญ้อิ่ม น่าสงสารที่สุด
Posted by นศพ() 2004-09-07 , 13:46:17 , 172.29.3.176
ลืมอีกอย่าง ชอบบอกว่าระบบต้องรับผิดกับคว่ามโง่ที่มารดาให้มา
Posted by นศพ() 2004-09-07 , 13:48:18 , 172.29.3.176
การอ่านโพยข้อสอบนั้นน่าจะมีประโยชน์มากกว่าที่จะมีโทษแต่ทั้งนั้นก็คงต้องแล้วแต่ผู้ที่นำมาใช้ ว่าจะนำมาใช้ประโยชน์ในแง่ใด และให้ประโยชน์ได้สูงสุดหรือไม่
ประโยชน์น้อยๆ ก็คงเพียงแค่สอบผ่าน แต่ถ้ามองกลับกัน ข้อสอบในโพยนั้น ถ้านำกลับมาเป็นคำถามแล้วนำมาค้นคว้าหาข้อมูล ก็น่าจะได้ความรู้เพิ่มขึ้น
Posted by kk() 2004-09-07 , 14:05:23 , 172.29.3.73
จะว่าไปแล้วโพยก็ดีตรงที่ว่าเวลาเราอ่านหนังสือแล้วจับจุดสำคัญไม่ค่อยได้ ก็มาลองทำข้อสอบดู ทำให้กลับไปค้นคว้าได้ตรงจุด เห็นการนำข้อมูลไปใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม เพราะว่าความรู้มันช่างมากมายมหาศาล เราไม่สามารถจะอ่านทุกอย่าง จำทุกอย่างของเรื่องนั้นๆได้ โพยจึงเหมือนแบบฝึกหัด แต่จะไม่ดีก็ต่อเมื่อโพย กลายเป็นข้อสอบจริงๆ ครั้งแล้วครั้งเล่า บางทีก็ท้อแท้ใจที่อ่านเองแล้วตก แต่ว่าเห็นบางคนจำแต่โพย เห็นบรรทัดแรกก็ตอบได้แล้วผ่าน สุดท้ายคงต้องโทษตัวเองถ้าหากว่าโพยหรือว่าข้อสอบนั้นเป็นมาตรวัดที่เที่ยงตรงแล้วที่จะคัดคน ก็คงต้องโทษความทึบของตัวเองอยู่ดีจะไปว่าระบบก็ไม่ได้
Posted by KNG() 2004-09-07 , 15:09:51 , 61.19.148.196
นอกจากนี้การออกข้อสอบ ก็มีผลทำให้เกิดการอิงอาศัยการท่องจำโดยปราศจากการคิดวิเคราะห์หรือการค้นคว้าเพิ่มเติม กล่าวคือ การออกข้อสอบอย่างละเอียดถี่ยิบในรายละเอียดของ lect ข้อสอบอาจมาจากส่วนเล็กๆ ตรงมุมๆ ที่อาจารย์ไม่ได้เน้น point หรือ ไม่ได้พูดถึง การออกข้อสอบแต่เฉพาะใน lecture ไม่ได้กระตุ้นให้เกิดกระบวนการต่อยอด การบูรณาการความรู้ในแต่ละส่วนย่อย การค้นคว้า ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็น process สำคัญ อันเป็นเป้าประสงค์ของหลักสูตรฯ
วิถีการเรียนรู้จึงเกิดความแปรผัน คือ
แบบที่ 1 : ตั้งใจเรียนตาม process มีการ SDL เนื้อหาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ Lect อ่านเตรียมสอบอาศัยความเข้าใจ
ผล : ตก MEAN เนื่องจากข้อสอบออกแต่ใน lect โดยไม่ได้วัดจากความเข้าใจ แต่กลับเน้นความจำ
แบบที่ 2 : เอาเวลา SDL ไปนอน+เล่นเกมส์ เมื่อถึงเวลาใกล้สอบ ค่อยมาเคี่ยว lect จำลูกเดียว+อ่านชีทที่เพื่อนแกะ lect แล้ว +โพย (ความรู้ไม่ได้consolidation แต่อยู่ในรูป walking memory )
ผล : ผ่านสบาย ๆ
แต่เมื่อเวลาผ่านไป ความรู้ที่มาจากวิธีการแบบที่ 2 กลับมีค่าครึ่งชีวิตที่สั้นมาก คือ หลังสอบเสร็จไม่นานความรู้เกือบเป็นศูนย์ ไม่สามารถนำความรู้จากblock ก่อนมาช่วยในการทำความเข้าใจ block ถัดไป
อีกทั้งความรู้ที่มาจากวิธีการแบบที่ 2 จะทำให้รู้แต่เฉพาะสิ่งที่ได้เจอ ใน PBL /lect หาก Pt. มาด้วยโรคนอกเหนือจากนั้นจะไม่สามารถ Dx ได้ เพราะไม่เคยหาความรู้นอกเหนือ+หาความรู้นอกเหนือเหล่านั้นไม่เป็น ข้าพเจ้าเชื่อแน่ว่า เกินกว่าครึ่งหนึ่งของ นศพ. เข้าถึงความรู้ต่างๆ โดยผ่านสารสนเทศสำคัญนั่นก็คือ ชีทรุ่นพี่ หรือไม่ก็จาก สรุป comprehensive ซึ่งนอกจากจะสะดวกสบายแล้ว ยังสามารถนำเวลา SDL ไปใช้พักผ่อน +สันทนาการตามอารมณ์ ลองคิดดูซิว่า หาก นศพ.ไม่ต้องใช้เวลาในการค้นคว้าหาข้อมูลแล้ว วันหนึ่งๆ จะว่างแค่ไหน
ไม่ต้อง active อะไร นั่งๆนอนๆ รอให้ถึงวันพฤหัสก็ไป XEROX ชีทเพื่อนมาอ่านตอนกลางคืนใช้เวลาสัก 2-3 ชม. ก็เกินพอ วันรุ่งขึ้นก็ไปทำ minilecture หรือ repeated-lecture ของอาจารย์ ไม่ต้อง discuss อะไรมาก เพราะชีทที่มีก็เหมือนๆ กันทุกคน อ้างอิงไม่ต้องพูดถึง ของพี่X พี่Y Xerox ตกทอดกันมาแต่ครั้งดึกดำบรรพ์ แต่ไม่เคยรู้ว่ามาจากหนังสือเล่มไหน ความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลมีสักเท่าไร พิมพ์มากี่สิบปีแล้ว ความรู้เปลี่ยนแปลงไปแค่ไหน
อันที่จริง สาเหตุก็ไม่ได้มาจากนศพ.เพียงอย่างเดียว การที่แหล่งข้อมูลมีอยู่อย่างจำกัด แต่ความต้องการมีอยู่อย่างไม่จำกัด แล้วจะให้นศพ.ที่ PBL เสร็จช้าไปหาหนังสือที่ไหนอ่าน หลายครั้งพบว่า หนังสือบนshelf หายไปตั้งแต่ยังไม่PิBL actI ด้วยซ้ำ หลายคนอ่าน scene ของพี่ก่อนไป PBL และมายืมหนังสือล่วงหน้า แล้วยังไปฆ่าเพื่อนใน PBL อีก เพื่อนเห็นว่าเขาอ่านมาก่อนก็ไม่การแสดงความคิดเห็นขัดแย้ง อย่างนี้จะเป็นการเสีย Process หรือไม่ ข้าพเจ้าเองพบว่า Facilitator หลายท่านชอบให้นศพ.ศึกษารายละเอียดก่อนมา PBL อะไรคือมาตรฐานที่ทางแพทยศาสตร์ศึกษาต้องการกันแน่
ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น แหล่งข้อมูลยังคงมีอย่างไม่เพียงพอ โดยเฉพาะภาษาไทย ข้าพเจ้าเข้าใจว่าการศึกษาจาก textbook เป็นสิ่งที่ดี แต่ textbook ที่ดี up2date และน่าอ่าน มีอยู่อย่างน้อยนิด การอ่านtextbook ยังต้องใช้เวลามาก ช่วงระยะเวลาสั้นๆ เพียง 3-4 วัน อีกทั้งยังต้องมี lect ,Ethic/เยี่ยมบ้านอีก SDL ของ Lect (ซึ่งไม่รู้จะอ่านไปทำไม ในเมื่อไม่ได้ใช้สอบ) อาจผ่านinternet ซึ่งก็ต้องใช้เวลามาก ถ้าหากเป็นคนทำกิจกรรมด้วยยิ่งไปกันใหญ่ นิสัยเอาแต่ง่ายของนศพ.จึงเกิดขึ้น รวมไปถึงการหยิบฉวย หนังสือ(ยืมจากห้องสมุด)ของเพื่อน ไปโดยไม่บอกกล่าว หลายครั้งสูญหายไปไม่กลับคืน ถ้าจะว่าไปแล้วข้อมูลทาง internet ไม่ต้องพูดถึง ไม่เคยหา+หาไม่เป็น
Notebook อาจจะไม่ใช้เครื่องมือสำคัญในการแสวงหาความรู้ของนศพ. น่าจะเอางบประมาณไปซื้อ personal photocopier น่าจะเหมาะกว่า เพราะ ได้ใช้ประโยชน์มากกว่าเยอะ ความรู้ก็คงมีอยู่เท่าๆเดิมทุกปี ไม่มีการพัฒนา
ที่กล่าวมาทั้งหมด อยากให้เห็นถึงความท้อแท้ใจของนศพ. คนหนึ่งที่พยายามทำตาม process ทุกอย่าง แต่แล้วสิ่งที่ได้ตอบแทยความอุตสาหะ ก็คือ การตก Mean และผลการเรียนที่จะตามมา
สุดท้ายนี้ ขอแสดงความขอบคุณที่ติดตามมาโดยตลอด ชีวิตน้อยๆ ที่กำลังจะดับสูญ กับประเด็นที่ว่า คุ้มแล้วหรือที่คุณจะปฏิบัติตนตามprocess
Posted by Dejavu(nigdejavu@yahoo.com) 2004-09-07 , 16:18:30 , 172.29.2.104
แล้วแต่กระบวนการอ่านโพยมังคะ ถ้าเอาข้อสอบมาหาคำตอบ discus กับเพื่อนก็ได้ความรู้นะ ตรงประเด็นด้วย
อย่างสอบ comprehensive ปี 5 ก็เอาโพยมาช่วยกันเฉลย เอาเนื่อหาความรู้ของข้อนั้มาคุยมาถกกัน บางครั้งต้องถามอาจารย์เพื่อความกระจ่างในเนื้อหา ก็ได้ความรู้จากตรงนั้นมาพอสมควร
Posted by Ext.คะ() 2004-09-07 , 22:21:12 , 172.29.4.170
ขอบคุณ Dejavu ที่ทำให้ผมกระจ่างขึ้นมาก ผมคิดว่าการที่ไม่มีข้อสอบใหม่ที่เพียงพอ (ขอกล่าวโทษอาจารย์ครับ) เป็นเหตุให้โพยยืนหยัดมาจนถึงวันนี้ พฤติกรรมการเรียนก็จะเปลี่ยนไปเพื่อสอบผ่านอย่างที่คุณ Dejavu บอก ข้อสอบ MCQ เป็นข้อสอบที่ออกให้ดียาก และจะรั่วไหลได้ง่าย ข้อดีอีกอย่างคือยุติธรรมในการตรวจ มันอาจจะไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในการประเมินในการเรียนแบบ block ที่ต้องจัดสอบบ่อยๆ ทุกๆ กอง เพราะจะต้องมี pool มาก และการออกข้อสอบในเรื่องเดียวกันก็จะไม่สามารถทำได้มากๆ ที่เคยตรวจข้อสอบ MEQ จะพบว่า แม้ข้อสอบออกซ้ำ ก็ยังมีการกระจายของคะแนนดี คือรู้ข้อสอบก็ยังมีคนที่ทำไม่ได้ จึงน่าจะเป็นทางออกที่น่าจะต้อง weight คะแนนให้มากในการวัดผลของการเรียนแบบ block ของคณะ
ก็ขอให้กำลังใจกับการเรียนของคุ Dejavu ที่จะทำให้คุณมี process ของการเรียนรู้ที่ดี และจะติดตัวไปเป็นรางวัลครับ
ท้ายนี้ก็อยากขอร้องให้อาจารย์ทุกท่านช่วยกันพัฒนาการประเมินผลให้เข้มข้น หากเป็นอยู่อย่างนี้ A ของแพทย์ มอ. จะเป็น A โหล ครับ
Posted by อาจารย์() 2004-09-08 , 08:00:13 , 172.29.3.134
ถึงคุณ Dejavu
ถ้าคุณกำลังรู้สึกท้อแท้ หรือเศร้าใจกับสิ่งที่กำลังทำ
ถามตัวเองก่อนว่า คุณค่าของตัวเราอยู่ที่ไหน และสิ่งที่เราต้องการแท้จริงคืออะไรจากนั้นก็เดินไปตามทางที่ตัวเองกำหนดและเลือกเอง
ถ้าคุณค่าของของเราอยู่ที่เกรดดีๆ คะแนนสวยๆ ก็จงทำทุกอย่างเพื่อจะได้มันมา
จะแคร์ทำไมว่าจะได้มันมาด้วยวิธีไหน โพยพี่ โพยเพื่อน lecture PBL SDL
อะไรก็ตามที่จะพาเราไปสู่ A ในที่สุดมันก็จะพาเราไปเพียงเพราะเราต้องการมัน
ถ้าคุณค่าของเราอยู่ที่ความสามารถในการฝึกฝนตนเองให้เกิดการเรียนรู้
ถามตัวเองว่าเมื่อผ่านแต่ละกระบวนการเราได้เรียนรู้ในสิ่งที่ต้องการหรือไม่
ถ้าใช่
ในที่สุดเราก็ได้สิ่งที่เราต้องการ แล้วจะแคร์ทำไม กับตัวเลข 3 ตัว
จะหวั่นไหวทำไม กับ การที่เส้นทางเดินของเรา จะไม่ซ้อนทับ กับใคร
จะแคร์อะไร ถ้าสิ่งที่เราต้องการในวันนี้จะไม่ใช่สิ่งที่คนอื่นต้องการ
สิ่งที่มีคุณค่าสำหรับเรา ก็คือสิ่งที่เราใช้ประเมินคุณค่าของตัวเราเอง
ซึ่งก็เป็นได้ ที่สิ่งนี้จะไม่ใช่ตัวชี้วัดคุณค่าของคนอื่นเขา
เหมือนสิ่งที่ใช้วัดตัวตนของคนอื่นเขาอาจใช้ไม่ได้กับเรา
เรามีหนทางที่ต่างกัน เรามีความเชื่อ ความศรัทธาในสิ่งที่ต่างกัน
เราแสวงหา ไขว่คว้าในสิ่งที่ต่างกัน
. มากบ้างน้อยบ้าง
แต่ที่สุดของปลายทางเราจะไปเจอกัน ที่ ผลอันควรได้เสียของผู้ป่วย หรือมิใช่
ตั้งใจไปเจอกันที่ปลายทางที่เรามีร่วมกันดีกว่า
อุปสรรคระหว่างทาง ให้ถือเสียว่า เป็นการเรียนรู้
..
การดูถูกเหยียดหยามให้ถือเป็นบททดสอบความตั้งใจและความเข้มแข็ง
จะเหมือนหรือต่างอย่าถือเป็นสาระ
ให้ความสำคัญกับการแบ่งปัน
แลกเปลี่ยน.. และอยู่ร่วมอย่างสันติได้
จะสบายใจขึ้นบ้างไหม
จาก...ผู้ร่วมชะตากรรม(ที่เลือกเอง)
Posted by Hestia() 2004-09-08 , 16:54:31 , 172.29.2.175
ของทุกอย่างมีที่ใช้ทั้งทางที่ถูกหรือที่ผิด และเราคงหาคนที่รับผลแห่งการกระทำนั้นๆได้ ก็คือคนใช้ ไม่ใช่ที่ของสิ่งนั้น
การสอบเป็นการประเมินสิ่งที่ นศพ. รู้ และ/หรือเข้าใจ ชำนาญ และมีเจตคติที่ถูกต้อง สิ่งเหล่านี้เกิดจากประสบการณ์การเรียนรู้ในระหว่างการฝึกอบรม ประสบการณ์ที่ออกแบบมาจากวัตถุประสงค์การเรียน และวัตถุประสงค์การเรียนที่กำหนดมาจากหลักปรัชญาของวิชา ของวิชาชีพนั้นๆ
ของแพทย์คืออะไร? คือการทำให้สุขภาพของประชาชนชาวไทยดีครับ สอดคล้องกับที่ที่มีคนกล่าวถึงมาแล้วนั่นคือพระราชดำรัสของสมเด็จพระราชบิดาฯ และนั่นคือสิ่งที่แพทยสภา และผู้ทรงคุณวุฒิทางสาธารณสุขในเมื่องไทยได้ประชุม สัมมนา และเขียนออกมาเป็นเกณฑ์มาตฐานแพทยสภา กำหนดว่า บัณฑิตแพทย์ไทยควรจะรู้อะไรบ้างเป็นอย่างน้อย
จะเป็น lecture, mini-lecture, PBL, CRT, SDL, etc ทั้งหมดนี้เป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่มี "วัตถุประสงค์ชัดเจนแน่นอน" อาจารย์ประจำ block อาจารย์ประจำรายวิชา อาจารย์เจ้าของ session, virtual classroom, CAI , etc จะต้องเขียนรายละเอียดของ contents และวิธีการที่จะบรรลุ "วัตถุปรสงค์" ที่สอดคล้องกับ curriculum core และ "ครบถ้วน" และเมื่อมาถึงการประเมิน เขาไม่ได้ประเมินโดยการไปออกข้อสอบตามใจชอบหรอกนะครับ ข้อสอบที่ออกมา หรือการประเมินที่เกิดขึ้น "จะต้อง" ทดสอบตามหัวข้อ table of specification ซึ่งเป็นกรอบตามเกณฑ์มาตรฐานฯที่ว่านี้เสมอ ข้อสอบแต่ละชุดจะมี independent panel มาวิจารณ์ และส่งกลับไปแก้ใหม่เพื่อให้ถูกต้องและตรงกับสิ่งที่กำหนดไว้ว่าจะต้องประเมิน
ถ้าโพยคือข้อสอบที่ถูกออกแบบตามนี้มา พอจะพูดได้ว่าโพยจะมีประโยชน์คือเป็นไกด์แนวทางข้อสอบได้ ในข้อสอบชุดหนึ่งๆจะมีสัดส่วนของ "ต้องรู้ ควรรู้ และน่ารู้" ต่างๆตามบริบท เช่น ข้อสอบ formative ที่กระตุ้นความสนใจ ใฝ่รู้ ก็อาจจะมีสัดส่วนของ "น่ารู้" มากนิดนึง แต่ถ้าเป็นข้อสอบเพื่อปรเมิน "ได้ตก" ก็จะต้องมีสัดส่วนของ "ต้องรู้ ควรรู้" มากขึ้นในทำนองเดียวกัน ทีนี้โทย์แต่ละข้อในโพยนั้นเปรียบได้กับเศษเสี้ยวของเนื้อหา spec นั้นๆ ฉะนั้นไม่ได้เป็นตัวการันตีว่าจำข้อนี้ได้ จะสอบผ่าน specficiation นี้แน่นอน เพราะโจทย์สามารถพลิกแพลงได้ จะมีบางกรณีที่ความหลากหลายจำกัด แต่พวกเราชำเลืองดูองค์ความรู้ทางการแพทย์ปัจจุบันก็คงเห็นว่ามัน "เยอะ" ทีเดียว
แต่ถ้าเราเกิดจำโจทย์และคำตอบจากโพยได้จะมีผลอย่างไรกับผลลัพธ์? ข้อสอบระดับวิเคราะห์ ก็จะกลายเป็นข้อสอบระดับ "ความจำ"ไป นศพ.ก็จะถูกทดสอบความรู้ cognitive ระดับต่ำสุดแทนที่จะเป็นระดับสูง วิธีแก้คือการทำคลังข้อสอบคุณภาพที่ใหญ่ขึ้น ใหญ่มากขนาดถ้ามี นศพ.จำข้อสอบในโพยทั้งหมด 20000 ข้อได้ ก้ไม่แปลกอะไร เพราะเขาจะเข้าใจเนื้อหากว้างพอตามหลักสูตร แต่ปัญหาคือข้อสอบคุณภาพนั้นมันออกยาก
วิธีแก้
1. ช่วยกันออกเพิ่มอีก
2. สร้าง collaboration กับสถาบันฝึกอบรมอื่น
3. ดัดแปลงจากคลังข้อสอบต่างประเทศ
4. เน้นการประเมิน formative โดยใช้วัตถุดิบบนหอผู้ป่วยและ OPD คือ case จริงมากขึ้น มีการเก็บคะแนนปฏิบัติมากขึ้นกฌจะเป็นการแบ่งเบาปริมาณการสอบ contents ปลายภาคลงแถมยังเพิ่ม clinical performance evaluation มากขึ้น
สำหรับข้อสอง ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์ได้มีการดำเนินการเรียบร้อยแล้ว และเริ่มมีการแลกเปลี่ยนคลังข้อสอบเป็นชุดๆมาเป็นสองรอบ อยู่ในระหว่างการกรองและทดสอบ table of specification และ details content นิดหน่อย ก็ช่วยได้เยอะเหมือนกัน ตรงนี้เป็น initiative จาก ม.ขอนแก่น และมีแนวร่วมจากเกือบทุกสถาบันแพทย์ในเมืองไทย เพื่อเตรียมรับมือกับ National Board Examination ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ฉะนั้นใครที่กังวลว่าเราจะล่าหลัง ไม่ทันอะไรที่ที่อื่นเขาเรียนก็ไม่ต้องกังวลมากนะครับ เรา share หลายๆอย่างด้วยกัน แพวกหมอไม่ทราบเท่านั้นเอง
Posted by Phoenix() 2004-09-08 , 19:54:59 , 203.156.43.83
แบบที่ 1 : ตั้งใจเรียนตาม process มีการ SDL เนื้อหาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ Lect อ่านเตรียมสอบอาศัยความเข้าใจ
ผล : ตก MEAN เนื่องจากข้อสอบออกแต่ใน lect โดยไม่ได้วัดจากความเข้าใจ แต่กลับเน้นความจำ
แบบที่ 2 : เอาเวลา SDL ไปนอน+เล่นเกมส์ เมื่อถึงเวลาใกล้สอบ ค่อยมาเคี่ยว lect จำลูกเดียว+อ่านชีทที่เพื่อนแกะ lect แล้ว +โพย (ความรู้ไม่ได้consolidation แต่อยู่ในรูป walking memory )
ผล : ผ่านสบาย ๆ
ผมว่าน่าจะมีแบบที่ 1.2 ด้วยนะครับ: ตั้งใจเรียนตาม process มีการ SDL เนื้อหาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ Lect อ่านเตรียมสอบอาศัยความเข้าใจ และถึงเวลาใกล้สอบ ค่อยมาเคี่ยว lect จำลูกเดียว+อ่านชีทที่เพื่อนแกะ lect แล้ว +โพย (ความรู้consolidation สุดๆ ไม่มีใครชนะเค้าได้แม้กระทั่งอาจารย์ก็ยังจำยอมให้ AAA กับเค้าครับ)
Posted by เหอๆๆ() 2004-09-08 , 22:38:43 , wwwtrh.moph.go.th
ที่น้อง Dejavu สรุปสาเหตุและผลของการเรียนเป็นสองทางข้างต้นนั้น ไม่ทราบว่ายังมี possibilities อื่นที่จะอธิบายได้อีกหรือไม่?
เช่น คนที่ได้เหนือ mean ทุกคนเรียนแบบท่องจำ หรือแกะโพยจริงหรือไม่? คนที่ได้ต่ำกว่า mean ทุกคนเรียนแบบทำความเข้าใจจริงหรือไม่? ถ้าไม่ใช่ แสดงว่าสมมติฐานอาจจะยังไม่สมบูรณ์ มีสาเหตอื่น contaminated อยู่
ขออนุญาตยกตัวอย่างสาเหตุที่เกิดอุปสรรคในการเรียนรู้ นั่นคือ learning styles ที่เราแบ่งเป็นสี่อย่างคือ concrete/sequence abstract/sequence abstract/random และ concrete/random
ในสี่อย่างนี้คนที่เรียนแบบ abstract/random จะเกลียดการท่องจำ ชอบอะไรที่มีมีความน่าจะเป้นเยอะๆ และจะเป็นกลุ่มที่ทำคะแนน MCQ ยากที่สุด แต่จะชอบกิจกรรม PBL มาก เพราะได้พูดเยอะ (ถ้าไม่ถูก break แรงๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งจาก concrete/sequence หรือกลุ่มถูก dominated โดย abstract/sequence ที่ผมยกตัวอย่างนี้ขึ้นมา ก็เพราะว่าถ้าสาเหตุของการตก mean เป็นเพราะ learning style จริง เรามีวิธีแก้ โดยไม่ต้องไปเปลี่ยนระบบให้มันยุ่งยาก อย่าลืมว่าเวลาตก mean แค่ 1sd นั้น ยังไม่มีผลร้ายแรงเท่าไหร่ แต่ถ้าตก 2sd นั่นแปลว่าเราอยู่ในกลุ่มแค่ 2.5% ของชั้น งั้นไม่ใช่ระบบแล้วครับที่เป็นปัญหา แต่เป็นตัวเราเอง การทำ self assessment จึงสำคัญมาก
Posted by Phoenix() 2004-09-08 , 22:57:34 , 203.156.43.83
เคยลองสังเกตผลคะแนนสอบของกองหนึ่งที่ผ่านมา จะไม่เป็น normal curve คะแนนจะเบ้ขวามาก จึงสงสัยว่าคนสอบมีความรู้มากใกล้เคียงกัน? หรือ..ข้อสอบไม่สามารถแยกแยะผู้เรียน และเคยตรวจสอบโพยที่ นศพ. มีหลังจากสอบกองหนึ่ง พบว่าเหมือนที่กำลังสอบเดี๊ยะประมาณ 50 % ไม่ทราบว่าจะอธิบายสมมติฐานของ อ.Phนenix ได้หรือไม่
ใจจริงอยากให้ข้อสอบมีแบบ open book บ้าง
Posted by อาจารย์() 2004-09-09 , 08:46:13 , 172.29.3.134
โพยกับการเรียนรู้
ในความคิดผม มันคนละเรื่องกัน ผมอ่านโพยเพื่อสอบให้ผ่าน แต่ความรู้ที่จะไปใช้ในการเป็นแพทย์ผมได้จากการปฏิบัติงานใน Ward เสียส่วนใหญ่ เช่น ซักประวัติ ตรวจร่างกาย
ข้อสอบไม่ได้วัดว่าคุณเป็นแพทย์ได้หรือไม่ หรือดีเพียงใด ใครๆ ก็สอบผ่านไ้ด้ครับเพราะโพย
ไม่จำเป็นต้องเรียนแพทย์ ก็สามารถทำ MCQ ได้เกิน 50% แค่อ่านโพย
ใครจะอ่านโพยทำข้อสอบผมคิดว่าไม่สำคัญ แต่ขอให้คุณจบไป โดยมีความความรู้ ความสามารถที่จะรักษาผู้ป่วยได้ ไม่เช่นนั้น สังคมจะลงโทษคุณ จนน้ำตาตกใน
ขอแสดงความเห็นเท่านี้ ครับ
Posted by Xylem() 2004-09-09 , 12:15:22 , 172.29.2.76
ขอขอบคุณทุกความคิดเห็นที่ได้ให้มา ก่อนอื่นข้าพเจ้าต้องขอบอกก่อนว่า สิ่งที่ข้าพเจ้าสรุปไว้นั้นมาจากเพื่อนๆลายคนที่เคยตกmean(ด้วยวิธีที่1) แลวหันมาใช้วิธีที่2แล้วผ่าน ทำให้หลายคนเริ่มหันมาใช้วิธีนี้กันมาก แต่ข้าพเจ้ายังคงเห็นว่าวิธีแรก น่าจะเหมาะสมกว่าอย่างที่หลายท่านได้กล่าวไว้ หากเราต้องการเรียนเพื่อที่จะเป็นแพทย์ที่ดี เพื่อผู้ป่วยอย่างแท้จริง เราคงต้องอดทนอุตสาหะต่อไป แต่สิ่งที่ต้องจริง คืออยากให้ระบบมันsupport กว่านี้เพื่อ เราจะได้สามารถ do my best ได้อย่างเต็มที่ จริงอยู่ที่ว่าผลคะแนนไม่สามารถวัดความสามารถได้อย่างชัดแจ้ง แต่ความรู้สึกของตอนที่มาอยู่ตรงนั้นก็รู้สึกไม่ดีนัก
อีกประเด็นหนึ่งก็คือ หากเห็นว่าโพยมีประโยชน์ในการเป็นแนวทางการอ่านหนังสือ ทำไมถึงไม่สรุปโพยขึ้นมา เป็นลักษณะของตัวอย่างข้อสอบ เพื่อให้ทุกคนที่ยังไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ของlecturer (ที่หลายข้อเขียนแล้ว อ่านไม่ค่อยเข้าใจ) และเกิดความเท่าเทียมกัน ชี้ให้เห็นว่าข้อสอบข้อนั้นๆ ต้องการให้เรารู้เรื่องอะไรบ้าง( บอกตามตรงเลยว่า หลายครั้งที่จำไปเลยโดยไม่เข้าใจความประสงค์ของผู้ออก)
Posted by Dejavu(nigdejavu@yahoo.com) 2004-09-09 , 15:04:48 , 172.29.5.120
ส่วนใหญ่ของนศพ.ตอนนี้ เหมือนกับที่ Dejavu บอกว่าในข้อ2 คือ
แบบที่ 2 : เอาเวลา SDL ไปนอน+เล่นเกมส์ เมื่อถึงเวลาใกล้สอบ ค่อยมาเคี่ยว lect จำลูกเดียว+อ่านชีทที่เพื่อนแกะ lect แล้ว +โพย (ความรู้ไม่ได้consolidation แต่อยู่ในรูป walking memory )
ผล : ผ่านสบาย ๆ
ได้ยินเพื่อนๆหลายคน บอกว่า ถ้าขึ้นคลีนิกแล้ว คงจะไม่มีเวลา-นอนกลางวัน-เหมือนเดิม
เฮ้อ...
Posted by ...() 2004-09-09 , 19:37:10 , ppp-210.86.223.225.r
ถ้ารูปคะแนนมันกระทบ mean ไม่ว่าเบ้ซ้าย เบ้ขวา (ผมลืมไปแล้ว คุ้นๆทางสถิตินี่เขานับเหมือนเราหันหน้าออกจาก chart) แต่แสดงถึง systemic error คืออคติเป็นระบบ เกิดได้หลายสาเหตุ (แต่ต้องเป็นระบบ) เช่น ง่ายมากเกิน ยากมากเกิน ถ้าเกิดจากโพย ก็ต้องเป็นโพยที่ Leak ให้คนส่วนใหญ่ได้ เพราะ chart ที่ skew หรือมีหางยาวแบนนี่เกิดจากมีคนกลุ่มน้อยไม่เข้าพวกและห่างออกไปจาก mean กว่าปกติ เช่นมีก๊กนึง (ใหญ่พอประมาณ) โดดเรียนชั่วโมงที่อาจารย์เฉลยข้อสอบ ก๊กนี้ก็จะดึงหางไกลกว่า 2 SD ได้ เอามา plot stem-and-leaf chart ก็จะเห็น outliers (ห่างกว่าสอง SD) ชัด และเห็นว่ามีจำนวนเท่าไหร่ ส่วนถ้าโพยตรงกับข้อสอบ 50% up นั้น ก็ต้องโทษระบบครับ ว่าตั้งแต่ basic คือ ข้อสอบไม่พอ จนไปถึงระบบการวนข้อสอบซ้ำ ไม่ได้คำนึงถึงข้อสอบชุดก่อนหน้านี้
=============================================
ผมเห็นด้วยกัยคุณ xylem ครับว่าบนหอผู้ป่วยนั้นแหละคือแหล่าที่มาความรู้ที่เราจะนำไปใช้จริง มันจะไม่มีประโยชน์เลยถ้าเรารู้จักคำ melena แต่พอเจอต่อหน้าไม่ทราบว่านี่แหละคือ melena ท่องว่าไส้ติ่งปวดท้องรอบสะดือ ก็ต้องไปเห็นส่าเวลาคนไข้ทำมือวนๆนั้นมันวนได้แค่ไหนก็ยังเรียกว่า "รอบสะดือ" อยู่
แต่สังคมลงโทษหมอน้ำตาตกในนั้น มักจะแฝงด้วยชีวิตและน้ำตาครอบครัวคนไข้หลายต่อหลายครอบครัวที่ตกทั้งในและนอกด้วยเสมอ อย่าลืมตรงนี้ด้วย
==============================================
คุณ Dejavu ครับ
อืม... แค่ออกข้อสอบอาจารย์ก็แย่แล้วครับ ถ้าพอออกเสร็จแล้วพิมพ์แจกเลย ก็น่าเกลียดไปหน่อยไหมครับ? รู้สึกคุณ Dejavu จะพึงพา หรือ passive ไปสักนิดนึงไหม? ในการเรียนของตนเอง
ทำไมเราต้อง "เท่าเทียม" กันด้วยล่ะครับ เรามีสิทธิเบื้องต้นเท่าเทียมกันจริง แต่ที่สุดแล้วคนเราไม่เหมือนกัน และไม่เท่ากันหรอกครับ นั่นคือระบบ meritocracy (merit คือ ผลงานชอบธรรมของเรา) เราไม่สนคนอื่นได้ไหมครับ สนแต่ว่าเราทำไปเพื่อความรู้ความสามรรถในการดูแลคนไข้ อาจารย์ไม่เห็น แต่ผีฟ้าเทพยดาเห็นนะครับ พวกนี้ถึงคะแนนไมดีแต่มักจะมีอะไรมาดลใจให้อาจารย์ช่วยกันพูดช่วยให้ผ่านจบออกไปได้ สงสัยมีพรายกระซิบ (ดังนั้นจึงไม่เสียหายที่จะทำดีกับผีพราย คือ พี่ๆ พชท.ทำงานงกๆบน ward นั่นไว้บ้างนะครับ)
Posted by Phoenix() 2004-09-09 , 20:03:47 , 203.156.48.248
การสอบมีวัตถุประสงค์คือ ต้องการวัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน และเป็นตัวสะท้อนถึงกระบวนการสอนและถ้าเป็นการสอบแบบ formative ก็จะมีประโยชน์มากในการที่จะรู้ว่า ผู้เรียนมีข้อบกพร่อง มีความรู้ตามที่เราหวังหรือไม่ ถ้าไม่มีความรู้ตามวัตถุประสงค์ของบทเรียน ครูก็จะต้องมีหน้าที่ที่จะเติมให้เต็ม ซึ่งผมจะชอบมากสำหรับวิธีนี้ แต่คณะของเราก็ไม่มีการนำมาใช้อย่างจริงจัง เราไปวัดตรงปลายทางเลย คือสอบ summative ซึ่งน่าจะเป็นการพิพากษาการเรียนของผู้เรียน ผู้เรียนจึงต้องทำทุกอย่างเพื่อที่ผ่านตรงนี้ให้ได้ และใน ideal ถ้าทำการประเมินตรงนี้ได้ดีคือสามารถวัดความรู้ได้จริง(ต้องไม่ตรงโพย)ก็จะใช้เป็นเครื่องมือที่จะบอกคุณภาพว่าผู้ที่เรียนจบไปมี่ความรู้มากน้อยแค่ไหนได้ และผลอ้อมๆคือ reward ของผู้เรียนที่สำคัญไม่น้อยเช่นกัน แต่เมื่อมาดูของเราอย่างที่ผมเคยพบว่า ข้อสอบ MCQ ตรงโพย 50 % ก็น่าจะไม่สามารถวัดผลสัมฤทธิ์ได้ ถ้าผู้เรียนคนไหนหลงว่า คะแนนหรือเกรดที่สอบเป็นตัวสะท้อนจริงๆ ซึ่งน่าจะเป็นเช่นนี้ (เช่น คุณจะรู้สึกเช่นไรถ้าเรียนเก่งมาก แต่ได้เกรดต่ำกว่าคนที่ดูแล้วไม่น่าจะได้มากกว่าคุณ) ก็อาจจะหลงทางที่ไม่ต้องขวนขวาย ก็สอบผ่าน ทำให้ไม่ได้ความรู้อย่างแท้จริง และเจ้าคะแนนนี้ก็จะส่งผลไปถึงอนาคต ที่จะไปเรียนต่อ ทำงานและอีกหลายอย่าง คณะเราน่าจะเอาจริงเอาจังในการประเมินผลให้มากกว่านี้ ซึ่งผมยังคิดว่าจะส่งผลให้คนหมู่มากเรียนเพื่อรู้ และอาจารย์ก็จะใส่ใจในกระบวนการเรียนการสอนเพราะการสอบคือกระจกสะท้อนการจัดการเรียนการสอนของคณะ
Posted by : อาจารย์ , Date : 2004-09-10 , Time : 08:52:46 , From IP : 172.29.3.134
|