ผมคิดว่าระบบส่งเวรทีดีกับระบบโรงพยาบาลที่ดีนั้นไปด้วยกัน ในเมืองไทยก็สามารถหาตัวอย่างได้พอสมควร ผมไม่ได้อยู่ moonlight ที่อังกฤษ แต่ขอวิจารณ์จากของที่เราทำกัน และข้อบกพร่องต่างๆก็แล้วกัน
ลักษณะการทำงานจะค่อนข้างสำคัญมากครับ การทำงานของ Med Surgery OBgyn ต่างๆจะมีรายละเอียดและผลกระทบไม่เหมือนกัน การทำงานของศัลย์นั้น จะเป็นลักษณะที่จำเพาะและ customized สำหรับผู้ป่วยแต่ละรายมาก ข้อมูลสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งคือ operative findings นั้นประกอบเป็นหลักฐานข้อมูลที่จะกระทบกระเทือนต่อการตัดสินใจสูงมาก ไม่เพียงแต่เท่านั้น เมื่อลงเอยมาถึงการตัดสินใจ options ต่างๆในการผ่าตัด ยังมีหลากหลายยประเด็นที่เป็น personal preferences ได้อีก เช่น continuous stitching, suture materials, types and sub-type of operation, etc บางอย่างเปรียบเทียบผลการรักษาแบบ evidence-based ยากเพราะเป็น manual skill ซะเยอะ ใครถนัดยังไงก็จะทำยังงั้นดี สวย และได้ผลดี ถ้าให้เปลี่ยนก็จะอาจจะไม่ได้ผลดีเท่ากับการทำอีกแบบ ซึ่งคนอื่นถนัด หรือถ้ายังพยายามจะเลียนแบบก็อาจจะไม่สู้ของที่ตนทำอยู่ทุกวี่วัน
ด้วยเหตุผลข้างต้น บางระบบจึงเป็นการอยู่เวรของสาย คือทีมในสายนั้นๆผลัดกันอยู่เวร เพราะจะรู้ข้อมูลและเหตุผลในการตัดสินใจ โดยทั่วไป chief สายของศัลย์ตามระบบนี้ก็จะมีความหมายโดยนัยว่าอยู่เวรทุกวันนั่นเอง เพราะจะเป็นคนที่รับทราบรายงานจากน้องๆในทีมก่อนตัดสินใจหรือรายงานอาจารย์ทุก case และ staff ก็จะรู้สึก comfortable ที่จะมี final say ถ้าเป็น case ของตนเองมากกว่าที่จะมอบหมายให้ staff ทีมอื่นที่อาจจะอยู่เวรฉุกเฉินของวันนั้นๆ (ซึ่งก็จะไปรับคนไข้ใหม่แทน)
ทำอย่างนี้ความเข้าใจเบื้องต้นอย่างตัวอย่างข้างบนจะไม่เกิดขึ้น จะไม่มีการเข้าใจผิดว่าป้าสายหยุดคือป้าสายฝน ลุงคล้อยกลายเป็นลุงเคลื่อน ซึ่งจะเกิดขึ้นในการ "ส่งเวรข้ามสาย" ผมว่าเป็น common practice อีกอย่างใน case ที่หนัก หรือวิกฤติที่ทีมในสายจะเฝ้าเอง ดูเองจนพ้นวิกฤติ ตรงนี้จะประหยัดเวลาการส่งเวรอย่างมาก ถ้าเราเห็นความหนาของเวชระเบียนของผู้ป่วยบางราย
สรุปแล้วการอยู่เวรเป็นทีมหรือสายดูของสายเป็นระบบหนึ่งที่ช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหา break down in communication ได้ effective ที่สุดอย่างหนึ่ง
Posted by : Phoenix , Date : 2004-09-09 , Time : 16:01:24 , From IP : 172.29.3.62
|