ความคิดเห็นทั้งหมด : 12

คุณคิดว่าจำนวนชั่วโมงทำงานที่เหมาะสมของ พชท/พจบ ควรเป็นเท่าไหร่


   ผมอยากจะรู้ครับว่า น้องๆแพทย์ใช้ทุน และแพทย์ประจำบ้านคิดว่า จำนวนชั่วโมงทำงานที่เหมาะสมควรจะเป็นเท่าไหร่ครับ
ที่ตั้งคำถามอย่างนี้ขึ้นมาเพราะว่า ตอนนี้การ training ทั่วโลกไม่ว่าในสาขาไหนๆก็ตาม มีการกังวลเกี่ยวกับจำนวนชั่วโมงทำงานที่เหมาะสมของ trainee ว่าควรจะเป็นเท่าไหร่ เนื่องจากมีข้อมูลออกมาว่า trainee ทำงานกันหนักเกินไปหรือเปล่า จนทำให้เกิดความเครียด และการเหนื่อยล้า(ฝรั่งเขาใช้คำว่า exhaust) ซึ่งเป็นบ่อเกิดของ treatment error และ off training
เรื่องนี้มี article จำนวนมากโดยเฉพาะจาก surgical residency program มีข้อตกลงใน USA ว่าเวลาทำงานต่อสัปดาห์ของ residentในทุกสาขา ไม่ควรเกิน 80 ชั่วโมง ส่วนทางด้านซีก Europe บอกว่า ไม่ควรเกิน 58 ชั่วโมง และพยายามที่จะลดลงให้เหลือไม่เกิน 48 ชั่วโมงในปี 2009 ผมไม่รู้ว่าจะเป็นไปได้ไหมในทางปฎิบัติในโรงพยาบาลของเรา ผมคิดว่าเราคงต้องมีจำนวน พชท/พจบ มากกว่านี้มั้งครับคงจะเป็นไปได้
พี่ๆ น้องๆ คิดว่าอย่างไรบ้างครับ อยากทราบความเห็นของทุกท่านครับ
...เอ้อ!!!...อาจารย์ Pheonix, อดีตพี่ว่าว(ที่เปลี่ยนเป็น Sho***...something like that) คิดว่างัยครับ
เชิญแสดงความคิดเห็นครับ ร่วมด้วยช่วยกันนะครับ


Posted by : Kangaroo on board , Date : 2004-09-08 , Time : 18:52:23 , From IP : ppp231.ar1.adl1.airn

ความคิดเห็นที่ : 1


   เห็นด้วยครับว่าเราสามารถดัดแปลงความรู้หรือหลักอะไรหลายๆอย่างของต่างประเทศมาพัฒนาการฝึกอบรมของเราได้ดีหลายอย่างทีเดียว

ตอนผมเป็น พชท.ที่นี่ (ก็หลายปีมาแล้วนะครับ) เคยอ่าน journal club ในภาคเรื่อง Effect of Sleep Deprivation on Surgical Trainees รู้สึกจะใน Archieve of Surgery หรือยังไงนี่ล่ะครับ ก็ตรงไปตรงมานะครับ physical fitnesss กับ mind performance สัมพันธ์กัน

ที่นี้ถ้าเราดูการ training ศัลยแพทย์ของอเมริกาแล้วจะมาปรับเข้ากับเราคงจะ pick เป็นส่วนๆไม่ได้ จำนวนชั่วโมงงานนั้น การฝึกอบรมใน programme ที่ดีชั้นหนึ่งจะมีสิ่งหนึ่งที่ห้อยตามไปด้วยคือ full responsibility ของงาน และการประเมินอย่างตรงไปตรงมา เป็น performance-based assessment เช่น ถ้างานที่รับผิดชอบหรือได้รับมอบหมายไม่บรรลุตามเป้าประสงค์ที่ set ไว้ ก็ไม่ผ่าน ดังนั้นเนื้องานแต่ละชั่วโมงจึงเป็นเนื้องาน pureๆ และมีคุณภาพ ถึงเวลาพักผ่อนก้ไม่มีใครมาว่าอะไร

แต่ดูจากอัตราการเลื่อน journal club, collective review หรือ conferences ต่างๆ คุณภาพของการทำกิจกรรม academic ที่เป็นอยู่ การประเมินความรู้ความสามารถในการวิจัยเบื้องต้นของ พชท.เรา คุณ Kangaroo on board คิดว่าเราพร้อมไหมครับที่จะรับ package นี้มาใช้? ขอฟังความคิดเห็นหน่อยสิครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-09-08 , Time : 20:05:46 , From IP : 203.156.43.83

ความคิดเห็นที่ : 2


   ในฐานะอดีตพชท.ขอมาร่วมแสดงความเห็นครับ

ในเรื่องจำนวนชั่วโมงที่เหมาะสมในการทำงานต่อสัปดาห์ของพชท.นั้น ผมว่าเราคงกำหนดออกมาได้ยากครับ เพราะแต่ละภาควิชามีงานหนักเบาไม่เท่ากัน มีจำนวนวันที่อยู่เวรนอกเวลาราชการไม่เท่ากัน

ผมขอเสนอแบบนี้ครับว่า ให้น้องๆพชท.ทำงานตามปกติในเวลาราชการ แต่อนุญาตให้มีการลาพักผ่อนได้จริงๆ เมื่อมีอาการเครียดหรือล้าจากการทำงาน ให้ไปนอนเล่นแก้กลุ้ม หรือไปเที่ยวต่างจังหวัด เพื่อเป็นการชาร์จพลังน่ะครับ พอหายเหนื่อยก็มาทำงานต่อ โดยกำหนดวันลาพักผ่อนตามจำนวนวันของข้าราชการทั่วไปครับ แต่ขอย้ำครับว่า ขอให้ลาพักผ่อนได้จริงๆ ไม่ต้องโดนโทรตามมาเข้าconference หรือโทรตามมาทำงาน ไม่ใช่แค่มีสิทธิลาได้แค่ให้รับรู้ แต่ลาไม่ได้จริงๆ เหมือนที่ผ่านๆมา

ถ้ามีการพักสมองได้ ผมคิดว่า ไม่น่ามีใครบ่นที่ทำงานหนักนะครับ เพราะถ้าล้านักเราก็พักหน่อย อย่าทำงานหักโหม มัวแต่บำเพ็ญทุกขกริยา เหมือนที่พี่สัปเหร่อทำอยู่ พระพุทธเจ้าท่านยังบอกให้เดินทางสายกลางเลยนี่ครับ ตึงนักก็หย่อนลงนิด



Posted by : กะหลั่วเป็ด evolution , Date : 2004-09-08 , Time : 22:00:40 , From IP : 202.28.6.18

ความคิดเห็นที่ : 3


   โดยทั่วไปตามในการประกันคุณภาพของการจัดการเรียนการสอนมีกฏอยู่แล้วว่าให้มีวันลาพักผ่อนได้ไม่เกิน 10 วันต่อปี ทั้งนี้ในการลาพักผ่อนต้องลาไม่พร้อมกันหรือพูดอีกนัยหนึ่งให้ผลัดกันลา ในต่างประเทศเช่น สหรัฐอเมริกา อาจจะกำหนดวันลาให้เลย เพื่อที่แพทย์ประจำบ้านจะได้มีการวางแผนไว้ล่วงหน้าว่าจะทำอะไร หรือมิฉะนั้นก็คงต้องไปแลกกันเอง สำหรับประเทศไทยเรา มักจะประสบปัญหาที่คนของเราไม่เคยวางแผนล่วงหน้าคิดจะลาก็ลา หรือจะไปก็ไป ดังนั้นเห็นควรที่จะปฏิวัติกันใหม่ เพื่อที่จะได้มีการพักผ่อนอย่างเพียงพอ โดยส่วนตัวเห็นด้วยว่าคงต้องทำงานในเวลาราชการและ การอยู่เวร คงจะต้องมีเวลาวันที่ต้องหยุดพักผ่อนด้วยเช่นกัน แต่ทั้งนี้แพทย์ประจำบ้านต้องปรับวิธีการเรียนเช่นกัน ไม่ใช่ว่าเป็นแบบปัจจุบันที่เรียนแบบเช้าชามเย็นชาม และทำงานไปเหมือนเครื่องจักรกล

Posted by : อลังการ , Date : 2004-09-08 , Time : 23:20:00 , From IP : 203.150.217.115

ความคิดเห็นที่ : 4


    เท่าที่ทราบบางภาควิชาที่รพ.จุฬา กำหนดให้แพทย์ประจำบ้านสามารถลาพักร้อนได้ปีละ 10 วัน โดยวันลานั้นอยู่ในโปรแกรม training เลย ซึ่งกำหนดตั้งแต่ต้นปี ข้อดีคือ มีการจัด rotation ที่มีคนทำงานอย่างเหมาะสม และสามารถวางแผนการลาพักร้อนได้ในระยะยาว แต่ก็นั่นแหละจำนวนแพทย์ประจำบ้านต่อปริมาณงานอาจต่างกัน ถ้าอยากเอามาใช้คงต้องตกลงกันดีๆ และหาระยะเวลาที่เหมาะสมกันเอง

Posted by : 178 , Date : 2004-09-09 , Time : 04:07:12 , From IP : 172.29.3.92

ความคิดเห็นที่ : 5


   ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นครับ
ผมในฐานะที่เคยเป็นอดีต พชท.เช่นกัน แล้วก็ทำงานในสถาบันแห่งนี้ต่อ แต่ไม่ใช่ภาควิชาเดียวกับคุณ Phoenix หรือ อดีตพี่ว่าว พอเริ่มทำงานไปเรื่อยๆ ผมเริ่มมีความรู้สึกว่า กลุ่มคนที่ทำงานหนัก และขาดการดูแลอย่างเต็มที่ และเหมาะสม นอกจากเจ้าหน้าที่พยาบาลแล้ว ก็คงเป็น แพทย์ใช้ทุน(แพทย์ใช้ทน...ที่คนชอบเรียก) หรือ แพทย์ประจำบ้านนี่แหละครับ ผมว่าพวกน้องๆทำงานกันหนักมาก เวลาพักผ่อนน้อย บางคนมาทำงานตั้งแต่ 6โมงเช้า กลับบ้านก็โน่น 2-3 ทุ่ม ไม่มีคนรู้และเห็นครับ เนื่องจากคนประเมิน ก็คือพวกอย่างผม หรือคุณ Phoenix กลับบ้านไปหมดแล้ว น้องๆกลับบ้านเสร็จก็ไม่ได้ทบทวนความรู้ อ่านหนังสือ หรือทบทวนสิ่งที่ได้ทำมาในแต่ละวันว่ามีปัญหา หรือต้องเรียนรู้อะไรบ้าง พอรุ่งเช้าก็ต้องมาทำงานอีก เหมือนเดิมครับ... พอโดนถามตอบไม่ได้ก็โดนว่า โดนอัด... เรากำลัง abuse เขาหรือเปล่าครับ หรือว่าเรามองเขาเป็นคนรับใช้ (ผมไม่รู้ว่าใช้คำแรงไปหรือเปล่า) ไม่ได้มองเขาเป็นผู้ร่วมงานกันหรือเปล่า
ตอนนี้พอดีผมพลัดบ้านพลัดเมือง เพื่อมาติดอาวุธทางความรู้ให้กับตัวเองก่อนกลับไปทำงานต่อ ได้เข้ามาสู่ระบบ training ที่เป็นระบบระเบียบอย่างดี แน่นอนครับเหมือนอย่างที่คุณ Phoenix บอก ทุกคนมีความรับผิดชอบในตนเองอย่างสูง ไม่ว่าในการดูแลรักษา การเข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการต่างๆ หรืองานทางเอกสารของผู้ป่วยที่ต้องรับผิดชอบ ทุกคนมีความเป็นผู้ใหญ่อย่างดีครับ ผมคิดว่า พวกน้องๆของเราก็มีไม่ต่างจากเขาเท่าไหร่ครับ เพียงแต่ว่าเรา abuse เขาจนเกินไปมั้งครับ จนทำให้ไม่มีเวลาให้ในส่วนอื่นๆนอกจากการทำงานที่หนัก ผมอยากเล่าให้ฟังว่า ที่นี่ทำงานหนักครับ แต่ว่าเขายอมรับ และให้เกียรติในสิทธิส่วนบุคคลที่พึงมี และพึงได้ครับ ไม่อยากให้เกิดการ abuse เกิดขึ้น เขามองทุกคนเป็นผู้ร่วมงานมากกว่า boss-employee มีครั้งหนึ่ง director of unit ที่ผมทำงานอยู่เห็นผมทำงานอยู่ตอนนั้นประมาณ บ่ายสองแล้วมั้งครับ และผมก็ยังไม่ได้กินข้าวเที่ยงเลย เขาเดินเข้ามาถามผมว่า ผมกินข้าวหรือยัง ผมตอบว่ายังแต่อยากทำงานให้เสร็จก่อนแล้วผมจะไป เขาบอกให้ผมหยุด แล้วก็เข้ามาทำงานที่ผมทำอยู่แทนครับ เขาบอกมว่าที่นี่เขามี lunch break ให้ ผมควรจะมีเวลาพักผ่อนบ้างไม่อย่างนั้นผมจะ burn out
มีอีกครั้งหนึ่งที่ผมต้องพาคนไข้ไป MRI scan ทั้งที่อีกประมาณ 5 นาทีผมจะเลิกงานอยู่แล้ว ผมก็คงต้องไปจริงไหมครับ แต่อีก 10 นาทีต่อมาเขาส่งคนที่อยู่เวรมาเปลี่ยนให้ผมกลับบ้านครับ เขาเคารพเวลาของแต่ละคนมากครับ อีกอย่างถ้าเราทำงานเกินเวลาที่กำหนด เขาบอกให้ผมเขียน time sheet และให้ overtime pay อีกด้วย เขาเคารพสิทธิส่วนบุคคลกันอย่างมากครับ
สำหรับเรื่องที่คุณอลังการแสดงความคิดเห็นนั้น ผมเห็นด้วยครับว่าเราไม่มีการวางแผนที่จะลาพักผ่อน ผมว่าเรื่องนี้แก้กันได้มั้งครับ ขอให้แจ้งสิทธิให้ทุกคนทราบ และไม่มีการต่อว่าต่างๆนานา จากผู้ร่วมงานท่านอื่นๆ เรื่องเหล่านี้เป็นสิทธิส่วนบุคคลที่ทุกคนพึงมีพึงได้ครับ ตามรัฐธรรมนูญ
เขียนมานานชักเมื่อยมือแล้วครับ ผมว่าเรื่องเหล่านี้น่าจะเป็นจริงได้ครับ เราเป็นสถาบันฝึกอบรมแห่งเดียวในภาคใต้ และนโยบายสี่ปีของท่านคณบดีก็เน้นเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญเหมือนกันครับ ผมว่าเกิดได้ครับคุณ Phoenix เพียงแต่เราต้องร่วมกันทำให้มันเกิดครับ อาจารย์อย่างพวกเราคงต้องมานั่งพิจารณากันว่า เราดูแลน้องๆเหล่านั้นน้อยเกินไปไหม เราคิดว่าเขาเป็นผู้ร่วมงานที่มีเกียรติหรือเปล่า และที่สำคัญคือ น้องๆของเราจะต้องมีความรับผิดชอบในตนเองให้มาก และแสดงถึงความ maturity ของตนเองออกมาครับ
ผมไม่อยากจะเห็นน้องๆบ่นเข้าหูผมว่า วันนี้ต้องตื่นมาไถนาคนละแปลง สองแปลกอีกแล้ว พอตกเย็นเดินกลับบ้านหันไปมองหัวไหล่ตัวเอง อ้าว...ทำไมมีนกเอี้ยงมาเกาะ เฮ้อ....
คุณพี่Phoenix ว่ายังไงครับ พี่คิดว่าเราจะทำได้ไหม


Posted by : Kangaroo on board , Date : 2004-09-09 , Time : 07:38:02 , From IP : 202.174.35.123

ความคิดเห็นที่ : 6


   ผมอยากให้ลองเข้าไปดูระบบระเบียบ เกี่ยวกับ The European Working Time Directive -ของ Junior Doctor Committee ใน www.bma.org.uk/ewtd ครับ ผมทำ link ไม่เป็นครับขอโทษทีครับ

Posted by : Kangaroo on board , Date : 2004-09-09 , Time : 07:46:11 , From IP : 202.174.35.123

ความคิดเห็นที่ : 7


    ผมขออนุญาติแสดงความคิดเห็นครับ ผมคิดว่าประเด็นนี้น่าสนใจมากครับเพราะเรากำลังต่อสู้กันระหว่างความรับผิดชอบของการเป็นแพทย์ซึ่งในประเทศไทยยังถือว่าหนักมากกับเวลาที่ใช้ในการทำงาน ผมไม่แน่ใจว่าจะไปด้วยกันได้หรือไม่ครับ อย่างไรก็ตามเราคงต้องมีเวลาพักผ่อนครับ เนื่องจากเราก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งที่ต้องมีเวลาทำกิจวัตรบ้างครับ ผมคิดว่าเราคงต้องคิดถึงคนไข้เป็นสิ่งแรกตามที่พระราชบิดาของพวกเราได้เขียนไว้ใช่หรือไม่ครับ

Posted by : free bird , Date : 2004-09-09 , Time : 18:21:59 , From IP : p57-nasskalf1.S.cslo

ความคิดเห็นที่ : 8


   เห็นด้วยกับคุณ Kangaroo (ขอย่อแค่นี้นะครับ ถ้าทางจะเรียกอีกหลายครั้ง ) หลายประเด็น และอยากจะขยายความอีกนิดหน่อย

ถ้าพูดถึงการ treat คนเหมือนกับเป็นผู้ใหญ่นั้น เท่าที่ทราบทางตะวันตก (อเมริกา อังกฤษ เยอรมัน และอิตาลีที่เคยสัมผัส) เขาทำกันตั้งแต่สมัยชั้นอุดมศึกษาแล้ว และลึกซึ้งไปกว่านั้นคือแทรกซึมไปนอกสถาบันการศึกษาด้วย นั่นคือพอพ้นวัยเด็ก (หมายถึง 15-16 ปี) ก็กลายเป็นผู้ใหญ่เกือบเต็มที่แล้ว ผมอยากจะตั้งสมมติฐานว่านี่เป็นปัจจัยสำคัญของ maturity ผมอยากจะคิดว่า Maturity ประกอบด้วยสองทิศทางช่วยกัน คือการมองตนเองและการที่คนอื่นมองมาหา ดังนั้นความประพฤติของเราจะถูกกระทบทั้งการที่เราเคารพนับือตนเองแค่ไหน บวกกับการที่สังคมภายนอกคิดถึงเรา ปฏิบัติต่อเราอย่างไร แหละนั่นเป็นเหตุผลที่ผมไม่เห็นด้วยกับระบบอะไรก็ตามที่คิดว่านักศึกษาอุดมศึกษายังเป็นไข่ในหิน ต้องประคับประคอง แล้วยังหวังว่าปุบปับพอสัมผัสกับใบปริญญาบัตรเขาจะเติบใหญ่ทันตาเห็นแบบนั้น

ในบรรดาองค์ประกอบของ maturation นั้นมีหลายประเด็น แต่ประเด็นที่สำคัญมากลำดับต้นๆคือการคิด การแสดงออกทางด้านความรับผิดชอบ เริ่มตั้งแต่รับผิดชอบตนเอง ต่อคนรอบข้าง ไปจนถึงสังคมโดยรวม

Concrete evidence ของความรับผิดชอบคือระบบที่มี consequence จากกระกระทำของปัจเจกบุคคลที่แน่นอนครับ ถ้าเราทำได้แค่นี้ เราได้แค่นี้ ถ้าเราไม่ทำอย่างนี้ ก็จะไม่ได้อย่างที่คนอื่นเขาทำ ตรงนี้จะเลยไปถึงความสำคัญของอีกสองสามคำ ได้แก่ assignment rules requirement ซึ่งเป็น concrete evaluation ของ attitude (ซึ่งเป็นนามธรรม) สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษานั้นจะการันตีว่าถ้าคุณทำตาม assignment คุณก็จะได้ปริญญา และเขาการันตีว่ามี facilities ที่เพียงพอที่คุณจะทำ assignment นั้นๆให้สำเร็จ แต่ไม่มีการการันตีเลยนะครับว่าคุณจะสำเร็จ สถาบันแค่ "อำนวย" เท่านั้น ความสำเร็จเป็นของปัจเจกบุคคล และขึ้นอยู่กับสิ่งที่เขาได้ทำ ได้รู้ จริงๆเท่านั้น ตรงนี้เมื่อจบปริญญามาแล้ว คนเขาถึงได้มีความภาคภูมิใจในสถาบัน ใน achivement ของตนเอง ในความรับผิดชอบ เพราะเขาทำได้ด้วยตัวของเขาเองจริงๆ

พอบัณฑิตจบออกมาทำงาน เขาจะจบมาพร้อมกับความรับผิดชอบเหล่านี้อย่างเต็มตัว เมื่อมีเหตุการณ์ต่างๆ เขาจะไม่ลำบากใจมากที่จะพูด I am sorry it is my fault. เพราะเหตุนี้เมื่อเข้าสู่สังคมเขาจะรู้ "หน้าที่" และรู้ "ความรับผิดชอบ" ที่สังคม คนรอบข้างจะคาดหวังจากตัวเขา เช่น สังคมทั่วๆไปจะคาดว่าเขารู้จักการเข้าคิว คาดว่าเขาจะรู้จักกฏจราจร คาดว่าเขาจะรู้จักระบบการ feedback รู้จักการยอมรับ criticism อย่างเป็น outcome-oriented จริงๆ ซึ่งสำคัญมากในวงการ academic ที่จะต้องมอง criticism อย่าง objective ให้ได้ องค์กรอะไรก็ตามที่เขาไปทำงานจะชี้แจง job description และเป็นหน้าที่ของ individual ที่จะต้องสืบค้นเพิ่มเติมเองด้วยว่าเขาไม่ต้องการอะไร เขาไม่อยากจะทำอะไร แล้วสิ่งเหล่านี้มันอยู่ใน package ด้วยหรือไม่ เพราะเดี๋ยวนี้ใบสมัครงาน generic มันรอบคอบ (เพราะคนหัวหมอเยอะขึ้น) โดยมี small prints ห้อยท้ายในหน้าที่ว่า and reasonable request as part of organization pursuing the objectives เวลาขอให้ยกของ ชงกาแฟอะไรจะได้ไม่เกี่ยงกันเกินไป ดังนั้นคนที่ก้าวเข้ามาทำงานตอนจบแล้ว จะเต็มไปด้วย expectation เรียบร้อยแล้วว่าจะมาทำอะไร งานที่ทำมันเกี่ยวโยงอะไรบ้าง หนักมากน้อยแค่ไหน และเขาก้จะมีสิทธิอย่างเต็มที่จะคาดหวังกลับจากองค์กร เพื่อนร่วมงาน นาย หัวหน้า ว่าเขาควรได้รับการดูแลอย่างไร เหมือนกันหมดว่ากันตั้งแต่คนเข็นเปล นักการ ไปถึงนายใหญ่ จะมีสิทธิเบื้องต้นเหมือนกัน และเป็นอย่างที่คุณ Kangaroo ว่าจริงๆ คือเวลาส่วนตัวปุ๊บ เขาจะไม่แตะเลย หรือถ้าแตะจะมีคำขอโทษนำมาหน้า profused ไปหมด หมด 5.00 PM ใครไปสั่งไปแตะอะไรตอนนั้นจะต้องมีเหตุผลที่ดีมากๆ และเตรียมใจว่าอาจจะถูกปฏิเสธ ตรงนี้มันก็คงขึ้นอยู่กับลักษณะงานแต่ละอย่างด้วยนะครับ Immunologist ต้องรอผล culture 18 ชม. ถ้าคุณ set วันศุกร์ แล้วดันบอกว่าวันเสาร์ฉันไม่ทำงาน เซลล์ของคุณตายเรียบคุณก็เด้งเหมือนกัน

Trainees ในทุกๆที่ถือเป็น asset ที่มีค่ายิ่งของสถาบันการฝึกอบรม ยิ่งเป็นระดับ postgraduate เพราะถือว่าพวกนี้เป็นชนชั้น brainy ทั้งสิ้น สิทธิ welfare ต่างๆ เหมือนกับส่วนหนึ่งของผู้ร่วมงานในสถาบัน และลักษณะงานก็เป็นเช่นนั้นจริงๆครับ ยิ่ง postdoctoral นี่ก็คือ step ที่จะกลายเป็น junior consultant, senior scientist, co-director หรือ director ทีหลัง เนื่องจาก Ph.D. นั้นพิสูจน์อย่างเป็นรูปธรรมถึงความสามารถและประโยชน์ต่อองค์กรไปเรียบร้อยแล้ว วุฒิบัตรที่เราทำๆกันอยู่นี่ จริงๆนับระยะเวลาแล้วก็เท่าๆกับดุษฎีบัณฑิตเหมือนกัน แต่การที่สถาบันมองว่าเป็น asset ที่มีค่านั้น แปลว่าความคาดหวังผลงานจากบุคคลเหล่านี้ก็จะสูงเป็นเงาตามตัว

ประเด็นอยู่ที่ว่า สิทธิที่เราเรียกร้องนั้นมันเป็น mutual relationship กับสิ่งที่เราต้องให้กับองค์กรเหมือนกัน Quid pro quo system ครับ หมูไปไก่มา สิ่งที่ขอต่างๆเหล่านี้ เนื่องจากเป็นสิทธิที่พึงได้ ฉะนั้นเวทีการเรียกร้องคือเวทีที่เปิดเผยครับ ตรงนี้คงเป็น barrier อยู่กระมัง? มี Myth อย่างหนึ่งว่าคลื่นใต้น้ำ คลื่นใต้ดินที่นี่อาจจะทำให้คนหายสาบสูญอะไรทำนองนั้นถ้าอะไรเปิดเผยถูกต้อง มีไม่มีหลักฐานไม่ทราบได้

ตกลงคำถามห้อยท้ายของคุณ Kangaroo นั้น ผมตอบง่ายๆว่าทำได้แน่นอนครับ ยากง่ายเป็นอีกเรื่อง ยากอยู่ตรงที่บางอย่างเป็น culture เป็นความเชื่อ ตรงนี้ต้องใช้ bahavioral scientist มาวิเคราะห์ ง่ายอยู่ตรงที่ของที่เราต้องการเพื่อทำให้สำเร็จนั้นไม่ใช่เรื่องลึกลับอะไร แค่ maturity คำเดียวแค่นั้น



Posted by : Phoenix , Date : 2004-09-09 , Time : 19:29:20 , From IP : 172.29.3.213

ความคิดเห็นที่ : 9


   อืม ผมไม่ค่อยแน่ใจนะครับ ว่าน้องๆพชท.รู้กันหรือเปล่าว่าเค้าสามารถลาพักผ่อนได้ และสามารถทำได้จริง เพราะสมัยผมเป็นพชท. ได้ยินพชท.บางภาคบอกไว้ว่า เค้าเขียนไว้ให้รู้ว่ามีสิทธินี้อยู่จริงเท่านั้น แต่ไม่ให้ลาจริงๆ

ส่วนภาควิชาผมเองก็ไม่เห็นมีใครกล้าลาซักคน เห็นบ่นๆกันว่ากลัวโดนไม่ให้สอบ หรือไม่ให้ไป elective กรุงเทพฯ 3 เดือน หรือจะโดนลดเวลา elective อะไรเนี่ยแหละครับแหะๆ



Posted by : กะหลั่วเป็ด evolution , Date : 2004-09-09 , Time : 22:10:52 , From IP : 202.28.6.18

ความคิดเห็นที่ : 10


   คุณกะหลั่วเป็ดคิดว่าวิธีแก้ไขความกลัวที่ว่า จะแนะนำให้บัณฑิตระดับ postgraduate เราทำแบบไหนให้เดป็นตัวอย่างแก่น้องๆ นศพ.ดูดีล่ะครับ?



Posted by : Phoenix , Date : 2004-09-09 , Time : 22:20:14 , From IP : 172.29.3.236

ความคิดเห็นที่ : 11


   ผมตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาเพื่ออยากจะให้ น้อง พชท./พจบ. แสดงความคิดเห็นร่วมกันนะครับ แต่ไม่เห็นมีน้องๆมาตอบกันเลย ไม่ต้องกลัวครับ ไม่มีผลใดๆต่อน้องๆครับ ร่วมด้วยช่วยกัน ผมอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงครับ

Posted by : Kangaroo on board , Date : 2004-09-10 , Time : 13:08:27 , From IP : ppp184.ar1.adl1.airn

ความคิดเห็นที่ : 12


   1. อยากไปเที่ยวบ้าง อยากมีเวลาพักผ่อนได้ทำอะไรตามใจบ้าง คือสรุปแล้วอยากลามากกกกกกก..................คุณภาพชีวิตคงดีกว่านี้ (เพราะเคยลา เอ้ย! แอบไปเที่ยว กลับมาทำงานแล้วมันรู้สึกมีพลังขึ้นเยอะ)---> ตอนลาก็ไม่ได้เสียงานนะ ฝากคนอื่นทำแทนน่ะ 2. ถ้ามีการกำหนดชั่วโมงทำงานจริงๆก็ดีสิ รับรองว่าคุณภาพงานต้องดีขึ้นมากๆ (เดิมก็ดีอยู่แล้ว) คือสรุปแล้วอยากให้รับแพทย์เพิ่มมากมากกกกก....................ก...................จะได้มีคนสวยๆหล่อๆให้ดูเยอะกว่าเดิม เอ้ย! จะได้อยู่เวรน้อยลง ได้เอาเวลาตอนเย็นๆ ไปออกกำลังกาย ทำให้สุขภาพกาย สุขภาพใจดีขึ้นบ้าง เมื่อตนเองสุขภาพดีแล้ว ก็ย่อมทำให้การงาน การcontact. กับผู้ร่วมงานและPt.ดีขึ้นแน่ๆ ที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ไม่ได้ไปไหนเลย อยู่เวรแทบทุกวัน ไม่ได้อยู่เวรก็เลิกดึก กลับห้องก็ยังต้องทำงาน present , reserch , +++++ , ect. ไม่ว่างเว้น แล้วไหนจะต้องอ่านหนังสืออีก (ไม่ต้องสงสัยว่าทำไมมีเวลามาตอบกระทู้ ก็วันนี้อยู่เวรน่ะสิเว้ย ตอนนี้มันยังไม่ตาม)
3. ไว้พิมพ์ต่อวันหลัง วันนี้หมดอารมณ์ ต้องรีบ serch หา topic อีก


Posted by : w,j , Date : 2004-09-10 , Time : 19:18:40 , From IP : 172.29.3.75

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.007 seconds. <<<<<