ความคิดเห็นทั้งหมด : 11

Debate LXXVI: Reach to Recovery: อีกหนทางที่แพทย์พยาบาลช่วยได้


   มีโอกาสเข้าประชุมวิชาการ Reach to Recovery International (RRI) ของ 2nd Asia-Pacific Breast Cancer Support Conference รู้สึกอะไรดีๆ เลยขออนุญาตหยิบมาฝาก

RRI เป็น non-profit organization ที่เชื่อมโยงกับองค์กรต่อต้านมะเร็งนานาชาติ (UICC) ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่สวิสเซอร์แลนด์ องค์กรนี้จัดหาทุน advocate และจัดฝึกอบรม ประสานงาน ประสานข่าว ให้ non-profit organizations ที่ทำงานเกี่ยงวกับการต่อต้านมะเร็ง และ supportive care ทั่วโลกมากกว่า 900 องค์กรระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ประเทศที่มีองค์กรอยู่ใน RRI เฉพาะในส่วนภูมิภาค Asia-Pacific นี้มีตั้งแต่อินเดีย บังคลาเทศ จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงค์โปร์ และออสเตรเลีย ประสานงานกับกลุ่มทวีปอเมริกาเหนือซึ่งมี Susan G Komen Breast Cancer Foundation ซึ่งเป็นกลุ่ม advocacy ที่มีอำนาจทางการผลักดันสูงมาก ระดับนโยบาย

ลักษณะจำเพาะคือ RRI เป็นองค์กรที่ run โดยอาสาสมัคร (ไม่มีเงินเดือน) เป็นหลัก ในหลายๆประเทศที่จัดฝึกอบรมอาสาสมัครประสบพบปัญหาเหมือนกันคือมีอัตราการเข้าและออกสูงมาก และไม่มีปรากฏการณ์ที่กลุ่มอาสาสมัครแต่ละรุ่นสามารถ sustain ในระยะยาวจนทำให้เกิดข่ายงานที่เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้อย่างเต็มที่ แต่ที่ประเทศต่างๆข้างต้นสามารถทำได้ก็เป็นเพราะแรงสนับสนุนงาน volunteers ที่เป็น survivors ของ Breast cancer จริงๆ สัญญลักษณ์ของกลุ่ม breast cancer foundation นี้คือ pink ribbon ดังนั้นเราจะเรียกกลุ่มอาสาสมัครเหล่านี้ว่า lady in pink

จุดกีดขวางข้างต้นที่สำคัญในการที่ breast cancer survivors จะก้าวข้ามอาการเศร้า depression anger worriness frustration loniliness isolation alienation deprivation uncertainty non-guarantee-in-life, etc มาได้นี้คือการยอมรับความเป็นจริงและเปิดสายตา เปิดใจ สู่สังคมใหม่ การยอมรับ "ความแตกต่าง" ของตนเองและก้าวเข้ามาสู่สังคมใหม่เพราะคิดว่า (และรู้ว่า) ตนเองสามารถที่จะ contribute ให้กับสังคมเพิ่มมากขึ้นในระยะเวลาที่เหลืออยู่นี้ต้องอาศัยความกล้าหาญอย่างยิ่ง ยอมรับว่าตนเองไม่เหมือนเดิม และข้อสำคัญคือ "ความแตกต่าง" ที่ตนเองมี และที่คนธรรมดามีต่อตนเองนั้นไม่ใช่เรื่องสำคัญอีกต่อไป เรื่องที่สำคัญที่สุดคือการยังชีวิตอยู่อย่างมีความหมาย มีคุณค่า มากที่สุด

ทุกครั้งที่ lady in pink เหล่านี้ขึ้นมาบรรยายและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในเวทีสาธารณะ ทุกคนจะทำเหมือนกันคือแนะนำชื่อนามสกุล บอกว่าตนเองได้รับวินิจฉัย breast cancer มากี่ปีแล้ว และลงท้ายคำแนะนำตัวว่าเป็น volunteer มากี่ปีแล้ว ความสัมพันธ์ของ lady in pink กับแพทย์ พยาบาล และ senior volunteers นั้นสานเป็นปึกแผ่นแน่นหนาและเป็นกำลังสำคัญอย่างยิ่งในการผลักดันอะไรดีๆหลายๆอย่างให้เกิดขึ้น เช่น การแนะนำการบอกข่าวร้ายโดยยังเคารพต่อ autonomy ของผู้ป่วยและญาติ การให้ความช่วยเหลือต่อสามี ลูก และญาติพี่น้อง ตลอดจนเพื่อนของผู้ป่วย บทบาทของบุคลากรทางการแพทย์ที่จะเสริมสร้างความรู้เรื่องโรค ขั้นตอนความรู้สึกอารมณ์ของการ cope crisis และบรรยากาศโรงพยาบาล การติดต่อระหว่างผู้ป่วยและโรงพยาบาลนั้นสำคัญอย่างยิ่งยวดและเป็นหนึ่งในบรรดารายการที่ผู้ป่วยเหล่านี้ที่มีกำลังใจจะสู้เพื่อตนเอง ต้องการให้แพทย์ที่ดูแลรักษาพวกเธอเข้าใจ และเป็นกำลังในการ support อย่างยิ่งยวด

ผมคิดว่าเราน่าจะมี conference Reach to Recovery ใน มอ.ของเรานี้ฉบับย่อยสักครั้ง ด้วยสาเหตุบางอย่างที่ไม่อาจอธิบายได้สมาชิกในที่นี้อาจจะไม่ได้เข้าร่วม confrence ที่ว่า ผมเลยจะขอย่อความอะไรที่คิดว่าดีมาให้ฟัง ณ ที่นี้ สักสองสามตอน

ถ้าใครมีอะไรจะเสริม หรืออภิปรายเพิ่มเติม ก็ยินดีครับ กติกาเดิม Be Mature, Be Positive, and Be Civilized



Posted by : Phoenix , Date : 2004-09-04 , Time : 22:30:25 , From IP : 203.156.44.123

ความคิดเห็นที่ : 1


   PART II

การประชุมแบ่งออกเป็น pre-congress 4 sessions (ผมเข้าหนึ่ง เพราะมันจัดพร้อมกัน อันที่เข้าคือ How to Support Breast Cancer Patients) และตัว conference อีกสองวันครึ่ง

หัวข้อเรื่องการประชุมมีดังนี้
1st Day
Breast CAncer and the Emotional Roller Coaster
Supporting Women with Breast CAncer in the Asia-Pacific Region
Responsibilities of Veing a Cancer Survivor
Management of Crisis
Having a Baby After Breast CAncer
Menopause and the Role of Hormone
Is your Family at Risk?
Newer Hormonal Treatments in Breast Cancer
Parallel Sessions: Round Table Discussion (various topics) and Presentation of each group

2nd Day
The Role of Reach to Recovery Groups in Enriching Lives
Representatives from Reach to Recovery Groups in Asia-Pacific Region
The Power of Promise-Enriching Lives Through Breast CAncer Advocacy
Breast Cancer - Developed vs Developing Countries
Breast Cancer - The Singapore Scenario
Is Tamoxifen safe?
Running a Breast CAncer Support group
Detection & Treatment of Breast Cancer Recurrence
Breast Reconstruction
Concurrent Workshops (various such as meditation, stress management, laughter therapy, cyclic yoga, breathingSpace Powernapping, Rhythmic Movement, Massage, Poetry therapy, The Magic of flower essence, and Juicing For life)

3rd Day
Dealing with Pain
Breast Cancer and the Single Women
Dealing with the Recurrence
A Husband Perspective
Coping Strategies (talked and shared by family members and friends)

จะเห็นว่าหัวข้อ conference ถึงแม้ว่า Main targets จะเป็น volunteers หรือ breast cancer survivor แต่เนื้อหานั้นแทบจะไม่ต่างจาก academic conference ทางการแพทย์ หรือการพยาบาลเลย อย่างเรื่อง hormonal therapy นั้น ก็มีการพูดถึง aromatase inhibitor (AI) ทั้งสามตัวคือ femara, anastozole, และ aromasene แถม volunteers เหล่านี้ (breast cancer survivors) ยังอภิปรายถึง 3 classical papers คือ ATAC, MA.17, และ IES.031 ที่เปรียบเทียบ AI กับ tamoxifen อย่างกระตือรือร้น บรรยากาศนั้นไม่เชิงวิชาการ แต่ผมว่ามันมีอะไรอยู่ในนั้นมากกว่า มันเป็นการพูดเรื่องที่เกี่ยวกับ life and dead ที่เป็นเรื่อง "ของตนเอง" แต่เป็นการอภิปรายอย่าง objectively ไปในตัว มีการพูดถึงเรื่อง cosmetic surgery และวิจารณ์ผลลัพธ์ที่ยิ่งกว่า Hands-on workshop ไหนๆ มีการวิจารณ์ health products ต่างๆ เช่น prosthesis, bra พิเศษ ที่เต็มไปด้วย "ประสบการณ์" first-hand และเพื่อ "คุณภาพชีวิต อย่างแท้จริง

ยังมีต่อนะครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-09-05 , Time : 10:08:31 , From IP : 172.29.3.238

ความคิดเห็นที่ : 2


   Session แรก Breast Cancer and the Emotional Roller Coaster บรรยายโดย Dr Ronnie Kaye, psychotherapist in private practice และเป็นสมาชิกคณะแพทย์ศาสตร์ที่ UCLA School of Medicine, USA

Dr Ronnie เป็นหนึ่งในบรรดา "survivor" ของ breast cancer ดังนั้นด้วย expertise ของเธอและประสบการณ์ ทำให้เธออยู่ในฐานะที่ unique ที่จะให้คำปรึกษาที่มีน้ำหนัก ทั้งในฐานะของ health care professional และผู้ป่วยเอง

คนส่วนใหญ่ รวมทั้งแพทย์เอง บางทีคิดว่าโรคมะเร็งหยุดอยู่ที่โรงพยาบาล ส่วนที่เหลือเป็นการปรับตัว ฟื้นฟูร่างกาย แต่จริงๆแล้ว cancer diagnosis เป็นเสมือนการเดินทางระยะยาวแบบมาราธอน ที่ไม่เพียงแต่คนเดินทางต้องแข็งแกร่งแล้ว ยังต้องการกลุ่มผู้สนับสนุนจำนวนมากเพื่อที่จะให้การเดินทางนี้ทุกข์ทรมานน้อยที่สุด รายการของ emotional impact ร่ายไปตั้งแต่ ความกลัว ความเสียใจ ความโกรธ สับสน เปล่าเปลี่ยว สูญเสียการควบคุมเรื่องราวต่างๆ ละอายในรูปร่างความเป็นตัวตน เศร้าซึม สิ้นหวัง สูญเสียความมั่นใจ สูญเสียคุณค่าของตนเอง และ "ทุกคน" ที่ไดรับการวินิจฉัยจะผ่านรายการดังกล่าวนี้ไม่มากก็น้อย

การที่ผู้ป่วยจะผ่านพ้นภาวะวิกฤติที่ว่า (ทางอารมณ์เพียงแค่โสตเดียว) การได้รับความช่วยเหลือจากภายนอกสามารถมีบทบาทสำคัญที่จะมีผลกระทบต่อไปในระยะยาวอย่างมหาศาล เริ่มตั้งแต่การได้รับข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ (Validation) การได้รับแรงสนับสนุนกำลังใจเสริมสร้างคุณค่าตนเอง (inspiration) และการได้ติดต่อสื่อสารกลับเข้าสู่สังคมใหม่ (communication) โรคมะเร็งเต้านมไม่ได้เป็นโรคที่หายากอีกต่อไป อุบัติการณ์มีแต่จะสูงมากขึ้นในทุกมุมโลก การที่ทีมผู้ให้การรักษาสามารถตระเตรียมการเพื่อให้ผู้ป่วยนอกจากบรรเทาหายจากภาวะวิกฤติในช่วงแรกสุดแล้ว การเตรียมเพื่อการเดินทางอีกยาวไกล (breast cancer ที่ได้รับการวินิจฉัยเนิ่นๆ เรากำลังพูดถึง 20+ years survival) บางครั้งแทบจะไม่แตกต่างจาก normal life expectancy เลย

ปี 2003 ที่ประชุม psychooncology ที่ Canada ผลการวิจัยเบื้องต้นพบว่ามีการทุ่มเงินและ resources ต่างๆในการที่จะ clearing out the patients out of the hospital เป็นจำนวนมากกว่าเงินที่ใช้ในโครงการ psychosocial support ผลระยะสั้นในแง่ burden of hospitalization ดูน่าประทับใจ แต่ burden of society ที่เกิดจาก unprepared หรีอ inadequate preparation ของผู้ป่วยมะเร็งที่ถูกส่งกลับไปเข้าสังคมนั้นเป็นการสูญเสียแฝงที่มากมายมหาศาลกว่าตัวเลขที่ได้บวกมาก (นั่นโดยที่สามารถคำนวณได้เป็นเงินเช่น การหยุดงาน ผลกระทบต่อครอบครัว หรือการต้องลาออกจากงาน ฯลฯ ถ้าเราไม่คิดว่า psychological breakdown ควรจะนัออกมาเป็นเงินก็เป็นอีกเรื่องนึง)

การ "เตรียม" ผู้ป่วย ญาติ ครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามี และลูกของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ไม่ใช่กระบวนการที่เกิดตามธรรมชาติแล้วเกิดผลดีที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในที่ที่ระบบอาสาสมัครระยะยาวยังไม่แข็งแกร่งในหลายๆประเทศ burden ส่วนนี้ถ้าไม่ถูกละเลย ก็กำลังถูก coped อย่าง struggle ทั้งคนช่วยและคนถูกช่วย



Posted by : Phoenix , Date : 2004-09-06 , Time : 00:03:54 , From IP : 203.156.42.239

ความคิดเห็นที่ : 3


   Reach to Recovery International คืออะไร

Posted by : . , Date : 2004-09-06 , Time : 00:34:10 , From IP : 172.29.3.198

ความคิดเห็นที่ : 4


   Reach to Recovery International

เป็น non-profit organization ที่ช่วยเหบือผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-09-06 , Time : 00:53:26 , From IP : 203.156.42.239

ความคิดเห็นที่ : 5


   ทำไมต้องเจาะจงแต่มะเร็งเต้านมละ

Posted by : ebola , Date : 2004-09-06 , Time : 15:15:34 , From IP : 172.29.3.227

ความคิดเห็นที่ : 6


   โรคร้ายแต่ละโรคจะมีปัญหาที่เหมือนๆกันส่วนหนึ่ง และจะมีปัญหาที่จำเพาะอีกส่วนหนึ่ง ตรงส่วนหลังนี่ถ้าเราจัดเป็นหมวดหมู่ได้ การทุ่มเทการศึกษาก็จะได้จำแนกปัญหาชัดเจนขึ้นและสามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุดตรงประเด็นมากขึ้นครับ

มะเร็งอื่นๆก็มีชมรม มีกลุ่ม มีองค์กรรองรับสนับสนุนกันเยอะแยะเต็มไปหมดทั่วโลกครับ ไม่ใช่ว่าไม่มี ปัญหาของมะเร็งเต้านมที่ค่อนข้าง unique เพราะหลายปัจจัย ว่าตั้งแต่ โรคนี้สามารถวินิจฉัยได้แต่เนิ่นๆและจะมีชีวิตยืนยาว เราว่ากันตั้งแต่ 40 years survival หรือที่เฉลี่ยประมาณ 20 years survival ดังนั้นระยะเวลาที่ผู้ป่วยต้อง cope กับวิกฤตินั้นจะยาวนาน และอีกโสตหนึ่งก็คือยังมีเวลาอีกมากมายจะให้ทำประโยชน์ และอุทิศคุณค่าของตนให้แก้สังคม กอปรกับมะเร็งเต้านมที่การรักษาส่วนหนึ่งคือการตัดเต้านมออกนั้น ทำให้มีการสูญเสียอวัยวะภายนอก และข้อสำคัญคือเป็นอวัยวะที่มีความ sensitive และเป็นสัญญลักษณ์ของเพศหญิง (ประการหนึ่ง) ยิ่งกระทบต่อ emotional problems มากขึ้นครับ

แล้วจะกลับมาเล่าเรื่อง conference ต่อทีหลังนะครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-09-06 , Time : 23:18:58 , From IP : 203.156.46.28

ความคิดเห็นที่ : 7


   Dr Ronnie ได้สรุป บทเรียน ที่เธอมีและสอนผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมาเกือบสามสิบปีออกเป้น 5 ประการ
1. I am not "my body".
2. I could not do this alone.
3. Learn to borrow power.
4. The people who love me should be worried about me.
5. The challenge of having breast cancer can be a "Transformation"

1. I am not "my body".
การสูยเสียอวัยวะภายนอก มีงานวิจัยสรุปออกมาแล้วว่าจะนำไปสู่การเกิดภาวะ depression ได้อย่างมีนัยยะสำคัญ อวัยวะภายในอย่างเดียวที่มีผลแบบนี้คือการผ่าตัด "หัวใจ" ซึ่งเหตุผลค่อนข้างจะชัด เต้านมเป็นอวัยวะที่ไม่เพียงแต่เกี่ยวข้องกับ function เท่านั้น แต่เป็น "รูปลักษณ์" เป็น "สัญญลักษณ์" ของเพศหญิง และทั้งสองอย่างนั้นอาจจะรวมเป็น self respect หรือ คุณค่าของความเป็นตัวตน และข้อสำคัญที่ Ronnie พูดถึงคือ สำหรับผู้หญิงการสูญเสียเต้านม ไม่ใช่แค่อวัยวะชิ้นหนึ่ง แต่เป็น "self"
ผู้ป่วยที่ติดกับดักนี้จะรู้สึก "ไม่เต็ม" (not-whole) ละอายในรูปลักษณ์ที่ผิดปกติออกไป รู้สึกว่าตนเองเป็น victim
ทางแก้ก็คือ "เจตคติ" หรือทาง psycho-social support ที่จะต้องประคะบประคองทั้งโดยการใช้ตรรกะ และการสร้าง emotional strenght มาแก้ปมให้ได้ ผู้ป่วยที่หลุดจากกับดักได้จะรู้สึก "เต็ม" อีกครั้ง (whole Again) ตระหนักว่าความเป็นผู้หญิง ความเป็นตัวตนนั้นไม่ได้เสียไปเลยกับการตัดเต้านมไป

2. I could not do this alone.
กลุ่มความรู้สึกอีกกลุ่มหนึ่ง หลังจากไดรับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งเต้านมคือ ฉันเป็นตัวประหลาด ฉันเป็นอะไรที่ไม่เหมือนคนอื่น คนอื่นรังเกียจ คนอื่นมองฉันแปลกๆ เป็นเรื่องของ isolation alienation และเกือบทั้งหมดเป็นการ "สะท้อน" มาจากผู้อื่น
ดังนั้นผู้ป่วยที่จะหลุดพ้นการ trap อันนี้ได้ คนรอบข้างจะต้องถูก "เตรียม" มาไม่น้อยกว่าตัวผู้ป่วยเอง สามี ลูก ครอบครัว และเพื่อน การสร้างความ "เข้าใจ" ใน grief process และระยะต่างๆของปฏิกิริยา เพื่อที่จะได้เตรียมตัว และตอบสนองอย่างเข้าใจ การนึกว่าตนเองเข้าใจอย่างงูๆปลาๆไม่ช่วยเท่าไหร่นัก เช่น เพื่อนบางคนแสร้งเป้นไม่มีอะไรเกิดขึ้นเพราะกลัวผู้ป่วยจะสะเทือนใจ เลยชวนไปเที่ยวทะเล ใส่ชุดบิกินนีตอนที่ผู้ป่วยยังไม่เพร้อม หรือบางคนก็มี over sympathy ด้วยการไม่ยอมให้ผู้ป่วยทำอะไรด้วยตนเองเลย เอาใจสุดขีดเหมือนไข่ในหิน ก็ไม่ดีทั้งสิ้น

3. Learn to borrow power.
อีกระยะหนึ่งของการก้าวกลับสู่สังคมคือ การกล้าขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น การเรียกร้องให้ช่วย ว่าตั้งแต่การขอร้องมาช่วยงานบ้าน มาช่วยดูแลครอบครัว ผู้ป่วยต้องยอมรับ deficit และ limitation หลังผ่าตัด หรือระหว่างการได้ยาเคมีบำบัด เรื่องนี้ไปจนถึงการอุทิศตน advocate เพื่อ course ที่ตนเองต้องการ เช่น กฏหมายให้ประกันสุขภาพ cover breast prosthesis เป็นต้น

4. The people who love me should be worried about me.
การมีคนพูดว่าฉันเปนห่วงเธอจังเลย มีผลทางบวกที่มากมาย และบางครั้งครอบครัว ญาติพี่น้องหรือเพื่อนฝูงเราก็ไม่ค่อยเลยที่จะพูดออกมาดังๆ ไม่แปลกอะไรที่เมื่อผู้ป่วยกังวลอะไร เช่น ต้องเจาะเลือดใหม่ ต้อง biopsy อีกครั้ง จะโรไปหาเพื่อนฝูงว่าฉันกังวลจังเลย เธอช่วยกังวลเผื่อฉันด้วยนะ มีคนรู้จักอยู่กี่คนก็โทรไปเถอะ ผลที่ได้ถ้าไม่มีอะไรเกิดขึ้น เราจะมีโอกาสโทรไปบอกเพื่อนฝูงญาติมิตรว่าฉัน OK แล้วนะ ก็จะได้รับคำตอบว่า โอ้โฮ ฉันดีใจด้วย ฉันกังวลเรื่องเธออยู่พอดี ฯลฯ ความรู้สึกเหล่านี้ เราจะยืมมาสร้างกำลังใจ กำลังในการสู้ชีวิตเพื่อเดินทางต่อได้อย่างดีเยี่ยม และเป็นการทำให้เพื่อนฝูง ญาติมิตร ทราบบทบาทของเขาที่เราต้องการ และมันไม่ได้เป็นการขออะไรที่ยากเย็น หรือต้องทุ่มเท แค่ให้แสดงออกว่าเขากังวล เป็นห่วง แค่นั้นเอง

5. The challenge of having breast cancer can be a "Transformation"
หลังจากผ่านพ้นวิกฤติมาได้ ความรู้สึก "เต็ม" จะเปลี่ยนเป็น energy shifting เพื่อต้องการที่จะช่วยเหลือคนอื่นที่ยังอยู่ในกับดักอยู่ มีคำกล่าวว่า "การเดินทางในทะเลทรายนั้นลำบากแสนเข็ย และเราซึ่งรู้ดีว่ามีโอเอซิสอยู่ที่จุดหมายปลายทาง แต่เป็นการดีกว่าที่เรายังจะเดินอยู่ในโอเอซิสนานอีกสักนิด เพื่อที่จะเป็นเพื่อนร่วมทางแก่ผู้ซึ่งยังไม่เห็นหนทางปลายทางอันนั้น" เมื่อไหร่ก็ตามที่ผู้ป่วยสามารถปรับตัวได้ถึงจุดนี้ คุณค่าตนเองบางครั้งจะพบว่ายังยิ่งใหญ่กว่าเมื่อตอนไม่ได้เป็นมะเร็งซะด้วยซ้ำ มองย้อนกลับไปการเจ็บป่วยในครั้งนี้ กลับ "ให้" ความหมายที่แท้จริงของหน้าที่มนุษย์ และความหมายของการเป็นมนุษย์ที่ต้องฟันฝ่าอุปสรรคที่ถกส่งลงมาลองใจ ทดสอบกำลังของเราได้อย่างดีที่สุด




Posted by : Phoenix , Date : 2004-09-07 , Time : 19:13:07 , From IP : 203.156.41.32

ความคิดเห็นที่ : 8


   แก้คำผิด

การเดินทางในทะเลทรายนั้นลำบากแสนเข็ย และเราซึ่งรู้ดีว่ามีโอเอซิสอยู่ที่จุดหมายปลายทาง แต่เป็นการดีกว่าที่เรายังจะเดินอยู่ในทะเลทรายนานอีกสักนิด เพื่อที่จะเป็นเพื่อนร่วมทางแก่ผู้ซึ่งยังไม่เห็นหนทางปลายทางอันนั้น



Posted by : Phoenix , Date : 2004-09-07 , Time : 19:15:26 , From IP : 203.156.41.32

ความคิดเห็นที่ : 9


   ก่อนอื่น ผมคงจะไม่แปลและถ่ายทอด conference ทั้งหมดลงบนกระดานข่าวนี้หรอกนะครับ ผมจะจัด conference (หรือ workshop ยังไม่ตัดสินใจ) ในนามของทีมสหสาขาวิชาชีพใจและกายที่ดูแล Palliative Care ของภาควิชาศัลยศาสตร์ให้ผู้สนใจเลือกเข้าไปร่วมให้ความเห็นต่างหาก ตรงนี้ขอให้ถือว่าเป็นสินค้าตัวอย่าง และสำหรับผู้ที่จะไม่ได้เข้าร่วม conference ก็แล้วกัน

=============================================
Family Support Group

ต่อเนื่องมาจากกระทู้ล่าสุดข้างบน จะเห็นว่าบทบาทของสมาชิกแวดล้อมตัวผู้ป่วยนั้นสำคัญมาก และจริงๆถ้าจะให้เกิด Holistic Care ก็จะต้องมีการนึกถึง และเกิดกิจกรรมและวิธีการ approach สมาชิกกลุ่มนี้อย่างมีหลักการไม่น้อยกว่าการสร้าง doctor-patient relationship

การดูแลผู้ป่วยนั้นไม่ได้สิ้นสุดตอนที่เราเขียนใบ discharge summary เสมอไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยโรคมะเร็งทุกชนิด คำว่ามะเร็ง ในทันทีที่ผู้ป่วยรับการวินิจฉัยคำนี้ไป ชีวิตทั้งชีวิตจะ "ไม่มีวันเหมือนเดิม" อีกต่อไป ภาพพจน์มันเป็นอย่างนั้นจริงๆในสายตาของประชาชนทั่วไป ตั้งแต่ การผจญฝ่าฝันกับกลุ่มอารมณ์มากมายที่กล่าวไว้ข้างต้น การเผชิญหน้ากับการตัดสินใจสำคัญหลายต่อหลายประการที่ประดังเข้ามา กระทบต่อทั้งสี่พิสัยของ holistic approach ได้แก่ กาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ ในเรื่อง family support นี้จะเน้นที่เรื่อง "ใจ" และ "สังคม"

"ใจ" หรือ อารมณ์ความรู้สึก เป็นส่วนที่อยู่นอกเหนือจากตรรกะ cognitive domain ของการตีความ ของประสบการณ์ ส่วนนี้จะสะท้อนออกมาและมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อพฤติกรรม จากการศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ 24:1 คือสัดส่วนของพฤติที่ trace ย้อนกลับไปหาสิ่งกระตุ้นระหว่าง อารมณ์:ตรรกะ เวลาคนไข้นอนคู้ตัว "กลัวตาย" อยู่ ถ้าหมอเดินมาถึงตรวจวัด vital signs ตรวจระบบต่างๆปกติแล้วสรุปว่า "คุณไม่เห็นเป็นอะไรเลย หมอรับรองว่ายังไม่ตายแน่ๆ ไม่ต้องกลัวหรอก" จะไม่ได้ผลช่วยเหลือแต่อย่างใด เพราะหมอคนนี้พยายามจะใช้ตรรกะไป approach ขณะที่ผู้ป่วยกำลังใช้อารมณ์แปลและแสดงออก ส่วนที่กระทบต่ออารมณ์นี้มีทั้งสองทางคือ intrinsic และ extrinsic ตรงนี้เองที่บทบาทของสมาชิกในครอบครัวจะมีบทบาทสำคัญเข้ามา

เราไม่ควรลืมไปว่าการเดินทางอีกยาวไกลของผู้ป่วยนั้น ก็จะมีผู้ร่วมเดินทางไปด้วยเสมอนั่นคือครอบครัวและเพื่อนญาติพี่น้อง บ่อยครั้งที่ "ข้อมูล" ที่จำเปน สมาชิกกลุ่มนี้รู้น้อยมาก บางคนไม่รู้แม้แต่ diagnosis ของแม่ตนเอง พี่สาวตนเอง หรือลูกตนเอง ไม่รู้พยากรณ์โรค ไม่รู้แผนการรักษา ไม่รู้ผลข้างเคียง ภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่ผู้ป่วยกำลังจะต้องผจญ ความไม่รู้เป็นบ่อเกิดของอะไรๆที่ไม่ดีหลายอย่าง เช่น ความกลัว ความไม่มั่นใจ ความไม่แน่นอน การตัดสินใจที่ผิดพลาด และการไม่ยอมทำอะไรที่เป็นประโยชน์ ดังนั้นครอบครัวที่ใกล้ชิดควรที่จะรับทราบสิ่งต่างๆเหล่านี้ไม่น้อยไปกว่าตัวผู้ป่วยเอง หรือทราบบางอย่างที่ปรับตามบริบทที่สมควร จึงจะสามารถมีบทบาทที่จะเป็นผู้สนับสนุนไปได้ตลอดรอดฝั่ง

ผมจะกล่าวถึงบทบาทของสามีและลูกในบทความแยกเพื่อความกระทัดรัด



Posted by : Phoenix , Date : 2004-09-07 , Time : 20:55:18 , From IP : 203.156.41.32

ความคิดเห็นที่ : 10


   Men Support Group

สำหรับมะเร็งเต้านม ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นในผู้หญิงที่มีครอบครัวแล้ว ซึ่งประกอบด้วยสามีและบางครั้งรวมไปถึงลูกอายุต่างๆกันออกไป สำหรับกรณีมะเร็งเต้านมในผู้หญิงโสดนั้นก็จะมีกรณีพิเศษที่ต้องพูดต่างหากจะไม่ขอกล่าวในที่นี้

เมื่อภรรยาถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม ผู้ชายหรือสามีจะรู้สึกอย่างไร? มีปฏิกิริยาอย่างไร? อารมณ์เมื่อได้รับข่าวร้ายของทั้งสองเพศคงไม่แตกต่างกัน ได้แก่ กลัว โกรธ เสียใจ ไม่แน่ใจ กังวล ฯลฯ แต่ผู้ชายเกือบทุกเชื้อชาติสัญชาติ จะมี handicap อยู่อย่างหนึ่งคือการถูก assume บทบาทของผู้นำ ผู้ทรงความเข้มแข็งในครอบครัว ดังนั้น การแสดงออกทางอารมณ์บางอย่างกลับถูกกดเอาไว้ เช่น อยากจะร้องไห้ออกมาดังๆก็ดูกระไรอยู่ร้องไม่ได้ อยากจะทรุดตัวลงกับพื้น หรือร้องของความช่วยเหลือ บอกว่าทำอะไรไม่ถูกก็ทำไม่ได้ ใครๆ หรือชาวบ้านไม่ได้คาดว่าจะเห็น "ผู้นำครอบครัว" ทำอย่างนั้น

จริงหรือ?

ผู้ชายก็มีสิทธิ์ที่จะแสดงอารมณ์ (และแน่นอนว่าก็ "มีอารมณ์" เหมือนๆกับผู้หญิงเช่นกัน) การเก็บกดอารมณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอารมณ์ที่รุนแรง ไม่ระบายออกมานั้น ไม่ต้องเป็นหมอจิตเวชก็คงจะบอกได้ว่ามันไม่ดีต่อสุขภาพจิต ในความไม่แน่ใจเหล่านี้ บวกกับความ "ไม่รู้เรื่อง" โรคมะเร็งเต้านม (ผู้ชายมักจะมองมะเร็งเต้านมว่าเรื่องของ "อีกเพศนึง" ไม่เกี่ยวกับตู อาจจะพอๆกับมะเร็งต่อมลูกหมากในทำนองกลับกันนั่นแหละครับ) ทำให้การแสดงออกของพฤติกรรมของสามีนั้น มีโอกาสสูงที่มันจะแปลกๆ ไม่ appropriate ตกลงเขาควรจะแสดงความเห็นใจ ร้องไห้ด้วยไหมเวลาภรรยาร้อง (แถมร้องบ่อยซะด้วย) หรือควรจะบอกภรรยาว่าไม่เป็นไรหรอกโรคนี้ เอ... มันไม่เป็นไรจริงรึเปล่าหว่า ผลข้างเคียงจากเคมีบำบัด อืม... มันอะไรนะ ผมร่วงเเหรอ เธอจะใส่วิกไหม ใส่ทรงไหน ดีไม่ดี ไปถึงความไม่แน่ใจในเรื่อง sexual life ต่อจากนี้ไป

สามีนั้นอยู่ในสถานการณ์ที่อิหลักอิเหลื่อมากเพราะความไม่รู้เหล่านี้ บวกกับบทบาททางสังคม "ที่ตนเองคิดว่าต้องคงไว้" จนบางครั้ง commitment ต่อภรรยาที่ต้องการความช่วยเหลือมากที่สุดนี้ถูกรบกวน และหย่อนความสำคัญไปอย่างน่าเสียดาย และน่าเศร้าใจ

ถ้าหากสามีได้รับความช่วยเหลือที่ถูกต้อง ได้รับข้อมูลที่จำเป็น ทั้งที่เกี่ยวกับโรคที่ภรรยากำลังเป็นอยู่ และเกี่ยวกับบทบาทที่เขาสามารถช่วยเหลือภรรยาต่อแต่นี้ต่อไป ช่วยเหลือลูกต่อแต่นี้ต่อไปในการที่ต้อง replace งานบางอย่างของภรรยาต่อลูก ชีวิตของครอบครัวนี้ก็จะถูก rescue ได้อย่างแท้จริง



Posted by : Phoenix , Date : 2004-09-07 , Time : 21:28:14 , From IP : 203.156.41.32

ความคิดเห็นที่ : 11


   Children Support Group

ตรงนี้มาถึงที่ยากกว่าที่กล่าวมาแล้ว การบอกข่าว การให้ข้อมูลแก่ลูกของผ้ป่วยมะเร็งเต้านม

ความแตกต่างเริ่มตั้งแต่อายุของลูก ตั้งแต่เป็นผู้ใหญ่แล้ว (ซึ่งปัญหาอาจจะไม่มาก) วัยรุ่น และเด็ก ในที่ประชุมสัมมนาหลายกลุ่ม "ไม่มีข้อสรุป" แต่มีความเห็นตรงกันคือ ข้อมูลส่วนหนึ่งว่าเกิดอะไรขึ้น และอะไรกำลังจะเกิดขึ้น จำเป็นต้องได้รับการถ่ายทอดให้ทราบเช่นกัน เพื่อที่ scneario และ theme ของเหตุการณ์ต่างๆอยู่ในความคาดหมายและความเป็นจริง ข้อเสนอแนะอย่างหนึ่งคือให้มืออาชีพด้านนี้มาช่วยแนะนำหรือแม้กระทั่งเป็นคนบอก ได้แก่ นักจิตวิทยาเด้ก จิตแพทย์เด็ก หรือ นักสังคมฯที่มีประสบการณ์ในก่ารดูแลเด็กมากๆ

กรณ๊นี้เป็นกรณีที่ sensitive มาก เมื่อพูดถึงเต้านมเปนอวัยวะส่วนหนึ่งที่แสดงออกถึงความเป็นเพศหญิง บทบาทของเพศหญิงโดยนัยนั้นครอบคลุมความเป็นภรรยา และความเป็นแม่ ซึ่งมีความหมายในทางนามธรรมและรูปธรรมที่ยิ่งลึกซึ้งขึ้นไปอีก ถ้าหากผู้ป่วยเองมี vulnerable ในปมนี้อยู่อาจจะทำให้ relationship หรือ role กระทบกระเทือน ในที่ประชุมเขาเชิญ session ที่ญาติพี่น้อง เพื่อน ว่าเล่าให้ฟังว่า cope กันยังไง มีแม่ลูกคู่นึงมาร่วม ตอนที่ลูกแสดงความรู้สึกออกมากยังควบคุมอารมณ์ยากมาก และในที่สุดก็ร้องไห้ออกมากลางงาน ต้งให้แม่ซึ่งเป็นคนไข้มะเร็งปลอบอยู่บนเวที ฉะนั้น frustration upset และ vulnerability เหล่านี้ต่อเด็ก ต่อวัยรุ่น ต่อลูกนั้นเป็นเรื่องจริง นอกเหนือต่อความกลัว ความไม่แน่ใจ ความไม่แน่นอนในอนาคตต่างๆ ยังมีความไม่แน่ใจในบทบาทของตนเองต่อนี้ไปว่าตนควรจะทำยังไง จิตแพทย์ท่านหนึ่งในงานย้ำว่าจะอย่างไรก็ตาม อย่าให้ลูกเข้าใจว่าที่แม่เป็นนี่เป็น "ความผิดของเขา" เป็นอันขาด ไม่ว่าการทำให้แม่ทรุดลงเพราะต้องช่วยทำงานบ้าน การที่แม่หงุดหงิดเพราะม่สามารถดูแลพวกเขาไดอย่างเต็มที่ เพราะเด้กอาจจะมี defence mechanism ที่ไม่ควรสมบูรณ์ และอาจจะเกิด scar ทางใจได้ ถ้าไม่มีการปรับความเข้าใจ ปรับข้อมูลที่มีให้ดี การ probe ความรู้สึกต่างๆเหล่านี้อาจจะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญมาช่วยเหบือเป็นกรณีๆไป

รายละเอียดยังมีอีกมาก เอาเป็นว่าสินค้าตัวอย่างขอจบเพียงแค่นี้ก็แล้วกันนะครับ เมื่อได้กำหนดการ Knowledge Translation conference อันนี้แน่นอนเมื่อไหร่ จะมา Update ณ ที่นี้อีกครั้งหนึ่ง



Posted by : Phoenix , Date : 2004-09-07 , Time : 23:34:31 , From IP : 203.156.40.64

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.008 seconds. <<<<<