ความคิดเห็นทั้งหมด : 0

Roacutane รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม


   Roaccutane มีตัวยาสำคัญคือ Isotretinoin (อนุพันธ์ของกรดวิตามินเอ) สำหรับการนำมาใช้ในการรักษาสิวอักเสบนั้น ยามีกลไกการออกฤทธิ์ คือ รบกวนกระบวนการสร้างเคราตินของผิวหนัง จึงสามารถรักษาภาวะที่มีการสร้างเคราตินมากผิดปกติได้ ทำให้โครงสร้างของผิวหนังปกติเสียไปและผิวหนังจะบางลง อย่างไรก็ตาม เมื่อใช้ยาเป็นเวลานานผิวหนังก็จะมีการปรับตัวโดยการสร้างสารตั้งต้นต่าง ๆ ที่จำเป็นในการสร้างผิวหนัง ผลของยาจึงลดลง ตัวยาออกฤทธิ์ลดการสร้างไขมันที่ผิวหนัง (sebum) โดยผลนี้ขึ้นกับขนาดยา ซึ่งขนาดยาต่ำสุดที่ยังให้ผลการรักษาและมีผลข้างเคียงต่ำ คือ 0.05 mg/กิโลกรัม/วัน ผลการลด sebum ได้ประมาณ 30-80% ในผู้ใช้ยาบางรายอาจคงอยู่นานถึง 80 เดือนหลังหยุดใช้ยา ผลในการลดการเกิดสิวอาจอยู่ได้นานถึง 30 เดือน ภายหลังการใช้ยาติดต่อกันนาน 3-4 เดือน แม้ในรายที่ การสร้าง sebum กลับสู่ปกติ
ผลข้างเคียงในการใช้ยา คือการเกิดขุย หรือสะเก็ดที่ผิวหนัง ดังนั้น จึงเหมาะกับการใช้รักษาสิวตุ่ม (cystic acne) นอกจากนี้ ยังพบการหลุดลอกของผิวหนังบริเวณอื่น ๆ ด้วย จึงมีการนำยา isotretinoin มาใช้รักษาโรคสะเก็ดเงิน ผลข้างเคียงขึ้นกับขนาดความแรงของยาและจะหายไปเมื่อหยุดใช้ยา พบว่า isotretinoin ไม่มีพิษและไม่เกิดการสะสมในตับ ซึ่งแตกต่างจากวิตามิน
ข้อบ่งใช้ของ Roaccutane ได้แก่ สิวตุ่มแดงอักเสบรุนแรง (รวมทั้งสิวที่ดื้อต่อการรักษาอื่น ๆ) สิว comedone เป็นต้น

กรณีต้องการเลิกรับประทานยา Roaccutane ก็สามารถเลือกรูปแบบยาทาแทนได้ แต่หากต้องการเปลี่ยนยารักษาสิวที่มีฤทธิ์ลดหน้ามัน ยาที่ได้ผลดี คือ ยารับประทานฮอร์โมนที่มีฤทธิ์ต้านแอนโดรเจน สำหรับสตรี อย่างไรก็ตาม การปรับเปลี่ยนยาควรได้รับการแนะนำโดยแพทย์หรือเภสัชกร

เอกสารอ้างอิง
1. Plewig G, Wagner A, Nikolowski J et al: Treatment of severe acne, gram-negative folliculitis, and rosacea with 13-cis-retinoic acid. In Scientific Exhib, Am Acad Dermatol Meet, New York, NY, USA, 6-11 Dec, 1980.
2. Strauss JS & Stranieri AM: Changes in long-term sebum production from isotretinoin therapy. J Am Acad Dermatol 1982; 6:751-755.
3. Farrell LN, Strauss JS & Stranieri AM: The treatment of severe cystic acne with 13-cis-retinoic acid. Evaluation of sebum production and the clinical response in a multiple-dose trial. J Am Acad Dermatol 1980; 3:602-611.
4. Peck GL, Olsen TG, Butkus D et al: Isotretinoin versus placebo in the treatment of cystic acne. J Am Acad Dermatol 1982; 6:735-745.
5. Windhorst DB & Nigra T: General clinical toxicology of oral retinoids. J Am Acad Dermatol 1982; 6:675-682.
6. Dicken CH & Connolly SM: Systemic retinoids in dermatology. Mayo Clin Proc 1982; 57:51-57.
http://drug.pharmacy.psu.ac.th/Question.asp?ID=3999&gid=1


Posted by : ใช้อยู่เหมือนกัน , Date : 2004-09-03 , Time : 20:01:34 , From IP : 172.29.2.187

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.003 seconds. <<<<<