ความคิดเห็นทั้งหมด : 19

เรียนรองคณบดีแพทยศาสตร์ศึกษาที่เคารพยิ่ง


   ในฐานะของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยแพทย์ มีความหดหู่ใจเกิดขึ้น เนื่องจากระบบการเรียนการสอนของคณะเรา มีอยู่ว่า
1. ระบบการสอนแบบ PBL เป็นระบบที่ดี มีคนบอกว่า PBL ทำให้ระบบการเรียนเสียไป ผมว่าไม่จริงครับ แต่ระบบ SDL ต่างหากที่ทำให้ระบบเสียไป
2. ระบบ PBL เน้นให้ศึกษาได้ดี แต่คิดว่าอย่างไรก็ตามควรให้นักศึกษาแพทย์ เข้าสู่ระบบการ round ward และ attend case ผู้ป่วย เช่นเดิม ตามหลักสูตรของเดิมก่อนที่คณะแพทย์จะเข้าสู่ระบบ PBL ความรู้ที่มากที่สุด และสำคัญที่สุดอยู่บน ward กับผู้ป่วย จะสอนให้นักศึกษาแพทย์รู้และ เข้าใจคำว่า ความรับผิดชอบ บ้าง ไม่ใช่กำหนดให้ round แค่ 3 วัน และหายไปหมด ไม่รับ case ไม่ present case ไม่ติดตาม case และสุดท้ายก็บอกว่า ไม่เคยทำ ไม่มีคนบอก
3. มีนักเรียนแพทย์อยู่กล่มหนึ่งเคยปรารภออกมาว่า SDL = sleep deep and long หรือ survey Diana and Lee-garden หรือ sit down and lay down
4. ระบบนี้ทำให้ขาดความยำเกรงและขาดระบบ seniority อย่างมาก เพราะว่า นักศึกษาแพทย์ไม่รู้จักอาจารย์ ไม่รู้จัก resident รุ่นพี่ ขึ้นไปบน ward แล้วชอบบอกว่า พี่ไม่สอน แต่ความเป็นจริงคือ นักศึกษาไม่คิดจะทำอะไรให้อยากสอน เสมือนกับนกที่คอยอ้าปากรับอาหารเท่านั้น
5. สุดท้ายขอบอกท่านว่า ท่านลองทดสอบดูว่านักศึกษาที่ขึ้น med ย้อม gram stain เป็นไหม ดูผล CBC เป็นไหม นักศึกษาที่ขึ้น sureg suture dressing เป็นไหม ทั้งหมดสำคัญยิ่งกว่าการ นั่งเน้น PBL ที่นักศึกษาทำอยู่


Posted by : อาจารย์ , E-mail : (kart@yahoo.com) ,
Date : 2004-08-28 , Time : 15:04:37 , From IP : 172.29.1.154


ความคิดเห็นที่ : 1


   ก่อนอื่นในฐานะอาจารย์อีกคนขอเสนอความเห็นว่า อาจารย์คงจะเข้าใจเรื่อง PBL และ SDL ผิดไป เพราะวิธีการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานนั้นมีมานานแล้วเพียงแต่ของเราทำให้เป็นะระบบมากขึ้น ในวิธีการเรียนการสอนแบบใหม่ไม่เคยบอกว่าไม่ต้อง ทำ ward round หรือไม่ต้องตามพี่ ยังคงมีเหมือนเดิม ไม่ได้แตกต่างไปจากแบบก่อน ผมว่าอาจารย์ต่างหากที่ไม่เข้าใจและหลงคิดไปว่าไม่มีการ round เหมือนเดิม เพราะนักศึกษายังคงต้องไปทำงานตามปกติเหมือนเดิม เพียงแต่ว่าการเรียนการสอนเราเน้นที่พื้นฐานทั่วไป ไม่ได้ลงลึกเหมือนที่อาจารย์หลายท่านพยายามทำ การทำ SDL ก็เช่นเดียวกัน ไม่ได้หมายความว่าให้ไปอ่านตามยถากรรม อย่าลืมว่าการทำ SDL นักเรียนจะต้องตั้งวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้เสียก่อน และจากนั้นทำการค้นคว้าศึกษาเพิ่มเติม ไม่ใช่สิ่งที่อาจารย์ไม่ได้สอนก็บอกว่าให้ไปทำ SDL นักศึกษาขณะที่อยู่บน ward ขณะทำ ward round กับพี่ หากพี่ที่สนใจน้องอาจจะตั้งคำถามหรือกระตุ้นนักศึกษาด้วยปัญหาของผู้ป่วย ให้นักศึกษาตอบนักศึกษาที่ดีหากตอบไม่ได้หรือไม่เข้าใจต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของตัวเอง และไปค้นคว้านั่นเป็นสิ่งที่เราต้องการ แต่นักศึกษาแพทย์ที่เรียนชั้นปี ที่ 4 ก็ยังเหมือนเด็กที่เพิ่งจะขึ้นชั้นอนุบาลทางคลินิก คงจะหวังให้นักศึกษามีความสามารถที่จะเรียนรู้ได้เองนั้นเป็นเรื่องยาก เป็นหน้าที่ของอาจารย์ พี่ทั้งหลายที่ต้องคอยกระตุ้นให้นักศึกษาได้เกิดความอยาก เรียนรู้ ความสนใจ ลองย้อนกลับไปมองชีวิตนักศึกษาสมัยก่อนที่เคยเรียนเราจะได้รับการกระตุ้นจากพี่ จากอาจารย์ ลองถามตัวเองก่อนว่าได้ทำขั้นตอนนี้หรือยัง การทำ lab Gram Stain ก็เช่นกัน เปิดโอกาสให้น้องได้ทำหรือไม่ ทำแล้ว ติดตามผลหรือไม่ หรือเพียงสั่งให้ทำ ผมเห็นอาจารย์หลายๆรุ่นก็บ่นเหมือนกันตั้งแต่ไหนแต่ไรมาแล้ว เด็กทำไม่เป็นทำไม่ได้ บ่นทุกปี และบ่นว่าเด็กแย่กว่าเดิมทุกปี เขียนรายงานไม่เป็น แต่สุดท้ายคนที่ถูกบ่นก็กลับมาเป็นคนบ่นรุ่นน้องทุกปี กงเกวียนกำเกวียน ซึ่งเราพี่ๆหรืออาจารย์ต่างหากที่มีหน้าที่ที่จะต้องทำและสานต่อ การบ่นไม่ได้ช่วยให้เด็กดีขึ้น แต่จงร่วมมือกันช่วยกันเพื่อให้รุ่นน้องของเราพัฒนาดีขึ้นจะดีกว่า การเรียนไม่ว่าระบบไหนก็ตาม ระบบมันดีอยู่แล้วเพียงแต่ว่าคนในระบบได้เข้าใจและทำให้ระบบมันดีขึ้นหรือเปล่า

Posted by : อาจารย์รุ่นพี่คนหนึ่ง , Date : 2004-08-28 , Time : 15:31:37 , From IP : 203.155.221.253

ความคิดเห็นที่ : 2


   I think you better wake up and look what's really happening at the moment.You obviously never work on the ward with the students.(you who called yourself senior arjan.).....Everybody knows all the principle already, but what's really happening is not what you're dreaming about.
Many students behave in the bad way , and still do not know what they should do......PBL / SDL is good for mature students.Most of ours are not.
......When there are technical problems,those who's just not sitting and dreaming will listen and find the right way to find the ways that's suitable for our students.
Optional Link :



Posted by : S&P , Date : 2004-08-28 , Time : 18:54:12 , From IP : 203.127.72.140

ความคิดเห็นที่ : 3


   Constructive Criticism เป็นจุดเริ่มต้นของการอภิปรายที่ดี เห็นด้วยไหมครับ ถ้าเราเริ่มด้วยการ trading insults ใส่กันและกันอาจจะไม่เหมาะที่เป็นตัวอย่างสำหรับนักศึกษาเท่าไหร่

ปัญหาในการเรียนที่มีการกล่าวถึงนั้น ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าสำคัญ และการจะดำเนินการแก้ไขปัญหานั้นน่าจะมาจาก "ข้อมูลพื้นฐาน" ที่ถูกต้องแม่นยำ เพื่อให้การวินิจฉัย ตั้งสมุฏฐานของโรค จะได้จ่ายยาถูก ผมคิดว่าข้อมูลที่หน่วยแพทยศาสตร์ศึกษา และหน่วยกิจการศึกษาที่มีอยู่ในปัจจุบัน และที่กำลังรวบรวมอยู่ตลอดเวลาในขณะนี้จะเป็นประโยชน์และเป็นจุดเริ่มต้นในการที่เราจะอภิปราย

มี Myth หลายอย่างกำเนิดขึ้น แต่การพิสูจน์นั้น บางคนก็อาจจะ casual บอกว่าสามารถสรุปได้แล้วอยู่ทนโท่ บางคนก็จะบอกว่าน่าจะรวบรวมและวิเคราะห์สังเคราะห์ก่อนที่จะ jump to make conclusions ผมคิดว่าถ้าเราคำนึงถึงผลกระทบ ไม่ว่าจาก action หรือ inaction การหาวิธีที่รู้คำตอบแน่ๆนั้น น่าจะเป็นวิธีที่สถาบันการศึกษาดำเนินการมากกว่า

SDL หรือ self-directed learning นั้น มีมานานและอยู่ในระบบการเรียนแพทย์ (และการเรียนในชั้นอุดมศึกษาวิชาอื่นๆ) เพียงแต่เราไม่ได้เรียกชื่อมันเจาะจงเท่านั้น ฉะนั้นคำว่า "ระบบ SDL" ของเรานั้น อาจจะเป็น term ที่ต้อง defined กันก่อนที่จะอภิปรายต่อ ไม่งั้นอาจจะพูดกันคนละอย่าง ในระบบเก่า เด็กที่ขาดความรับผิดชอบ ไม่สามารถ SDL ตนเองนอกเหนือจากในเวลาเรียนตามปกติ ผมว่าจะ struggle มากทีเดียวที่จะจบแพทย์มาได้ และผมว่า SDL สำคัญกับการเรียน "ทุก" ระบบที่มีอยู่สำหรับชั้นอุดมศึกษา

และถ้าพิจารณาจากทฤษฎีการศึกษามากกว่า 50 theories (หาได้ไม่ยากนะครับ เคาะ Google สองสามครั้งก็ออก) สิ่งหนึ่งที่เราจะพบเหมือนกันหมดก็คือ วิธีการเรียน และความถนัดในการเรียนนั้นมีหลายวิธี แต่ละวิธีจะมีบางคนที่ถนัดมาก กลุ่มหนึ่งจะพอไปไหว และมีบางคนที่ไม่ถนัด distribution ตามหลักทั่วๆไปก็น่าจะเป็น normal curve (ถ้าทฤษฎีการศึกษานั้นๆ categorized โดย factors analysis ในกลุ่มประชากรตัวอย่างที่ representative population) ถ้าเป็นจริงอย่างที่ว่า เราอาจจะหันไปดูว่าแบบไหนที่เหมาะกับ prototype ของแพทย์ที่เราต้องการมากที่สุด และ optimize ให้คนที่มีศักยภาพอย่างที่ว่า

ในความเห็นของผม Andragogy (Knowles) นั้นน่าจะเป็น assumption ของกลุ่มเป้าหมายที่จะประสบความสำเร็จในการเรียนและเป็นแพทย์ที่พึงประสงค์ (ตามนิยามของ World Health Organization) มากที่สุด ประเด็นสำคัญที่มีการพูดถึงค่อนข้างบ่อยคือ Maturity ของนักศึกษาว่าตกลงเด็กของเราโดยภาพรวมเป็นยังไง เท่าที่ทราบจากข้อมูลของหน่วยกิจการฯ เรายังไม่ได้ systematic review เรื่องนี้ แต่โดยความเห็นของอาจารย์แพทย์ แพทย์รุ่นพี่ ถ้าถามใหม่ว่าเคยเจอเด็กที่มีปัญหาการเรียนและคิดว่าเนื่องมาจาก Maturity ไม่พอหรือไม่ คำตอบคงจะเป็นว่ามี หรือเคยเจอ

ทว่าการสำรวจแบบ casual และเป็น subjective assessment นั้น มีปัญหาคือ เราจะ detect สิ่งไม่พึงประสงค์มากกว่าสิ่งที่ควรเป็น เพราะมันจะเตะตา และสร้างความรำคาญได้มากกว่าโดยไม่ต้องทุ่มเทการค้นหาหรือมองหามากนัก แต่ถ้าจะให้แฟร์ มีนักศึกษาที่ผมพบว่ามี maturity ดีมาก ที่ก้มหน้าก้มตาทำงานและมีความรับผิดชอบในเกณฑ์ดีมากอยู่ในกลุ่มนักเรียนเราไม่น้อย ฉะนั้นการวินิจฉัยสภาวะ epidemic of immaturity ในหมู่นักศึกษาแพทย์ตรงนี้น่าจะต้องการ evidence ที่มี methodology ดีกว่าความเห็นส่วนตัวของผมเอง

สุดท้าย ถ้าถามผมว่าต้องการยังไงสำหรับแพทย์ที่จบจาก มอ. ผมว่าเราน่าจะ treat เขาเหมือนเป็นผู้ใหญ่ครับ ผมคิดว่าการที่คนเราจะ mature หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับวิธีที่เรา treat เขา วิธที่เราคุย วิธีที่เราโอ๋ วิธีที่เราไกวเปลให้นักศึกษานี่แหละครับ และถ้าจะมีคุณค่าอย่างที่ระบบเก่ากับระบบไหนๆก็ตามจะ "ต้อง" ไม่ลดหย่อนลง ผมคิดว่าก็น่าจะเป็น maturity responsibility ของบัณฑิตแพทย์นี่แหละครับ




Posted by : Phoenix , Date : 2004-08-28 , Time : 22:16:20 , From IP : 203.156.48.251

ความคิดเห็นที่ : 4


   ในบานะใช้ทุนขอบบอกว่า นศพ.ไม่มา round 1 สัปดาห์ + เพราะได้รับการ
อนุญาต จากทาง๕ระที่กำหนดหลักสูตรจริง แต่บางคนก็อ้าง SDL ไม่อยู่ ward เช่นกัน ทางแก้
กำหนดเลย ว่าต้อง ward work กี่โมง น่าจะ 7.30-8.30 เป็นต้น และเหมือนเดิมถ้าโดด round ไม่ดูคนไข้ของตัวเอง สมควรตก


Posted by : พชท , Date : 2004-08-28 , Time : 23:22:13 , From IP : 172.29.3.76

ความคิดเห็นที่ : 5


   น่าจะมีตก 5% แบบคัดออก 5% ของรัฐบาลนะ

Posted by : .... , Date : 2004-08-28 , Time : 23:39:29 , From IP : wwwtrh.moph.go.th

ความคิดเห็นที่ : 6


   ในฐานะแพทย์ใช้ทุนขอบอกว่านศพ.กองศัลย์ที่เคยอยู่กับผมมาround6.45-7.00น.ทุกวัน ผมคิดว่าไม่ควรไปบังคับว่าต้องมาroundกี่โมง ขอให้ดูให้เสร็จก่อนพี่มาก็น่าจะเพียงพอ




Posted by : megumi , Date : 2004-08-28 , Time : 23:41:42 , From IP : 172.29.3.241

ความคิดเห็นที่ : 7


   ผมเห็นด้วยในประเด็นที่ว่าเราน่าจะมีระบบประเมินที่สามารถตรวจสอบ clinical skill นศพ. ชนิดได้ตกอย่างแท้จริง

แต่ผมยังไม่แน่ใจว่าวิธีการจัดตารางให้เรียนนั้นสัมพันธ์กับการแสดงความรับผิดชอบตนเองหรือไม่ เมื่อเปรียบเทียบกับการให้ นศพ.บังคับตนเองให้ขึ้นดูคนไข้บน ward เพราะ "มันเป็นสิ่งที่สมควรทำ" ไม่ใช่เพราะว่ามันเกี่ยวกับการเช็คชื่อ ที่สุดแล้วเราต้องการให้บัณฑิตแพทย์มีความชำนาญตรงนี้ แต่เขาจะได้ตอน 9-16 น. ตอน 6.30-7.30 หรือ 21.00-24.00 น. หรือตอน SDL 13.00-16.00 น.ก็น่าจะอยู่ในดุลยพินิจของนักศึกษาผู้ใหญ่เอง SDL ที่มีการกำหนดว่าคุณจะต้อง self-directed ไปอยู่ ณ ที่นี้ ที่นั้น ตอนเวลากี่โมงถึงกี่โมง ต้องทำอะไรบ้าง เก็บ check list ให้หมดแล้วเอามาส่ง ก็คงไม่ต้องเรียกมันว่า SDL ให้หรูหราเกินไป

ตรงนี้มันก็ย้อนกลับไปที่ความต้องการในเรื่อง Maturity กับกลวิธีที่ทำให้มันเกิดขึ้น โดยความเห็นของผม ผู้ใหญ่นั้นจะมีความสามารถในการควบคุมตนเองให้ดำเนินไปตามทิศทางที่ตนเองมีความรับผิดชอบอยู่ ซึ่งตารางปฏิบัติงานนั้นจะมีส่วนด้านไหนบ้างก็น่าสนใจ

การประเมิน clinical performance หรือ Outcomes ปลายอย่างตรงไปตรงมา โดยใช้เครื่องมือที่ถูกต้องแม่นยำจะเป็นคำตอบของการทำให้นักศึกษาต้องขวนขวายเพิ่มพูน clinical performance ของตนเองรึเปล่า จะดีไหมครับ?



Posted by : Phoenix , Date : 2004-08-28 , Time : 23:53:53 , From IP : 172.29.3.220

ความคิดเห็นที่ : 8


   1. ผมว่า SDL ดีนะครับ แต่ PBL ไม่ดี โดยเฉพาะเวลาที่เราอยู่ชั้น clinic แล้ว การทำ PBL หรือ CRT มันแย่มาก(อยากใช้ความว่าห่วยมากกว่า) ไม่ค่อยได้ประโยชน์อย่างแท้จริง วัตถุประสงค์เขียนมาสวยหรูแต่ว่าทำไปทุกครั้งไม่ได้อย่างที่วัตถุประสงค์เขียนไว้เลย เหมือนทำให้มันผ่านๆไปเท่านั้น

SDL ผมว่ามันดี เพียงแต่ตอนนี้ขาดอีกนิดหน่อย ตรงที่ตัวนักศึกษาเองอาจยังไม่รู้ว่าต้องอ่านตรงไหนที่สำคัญ ระหว่างการอ่านเพื่อที่จะเตรียมสอบในอีก 6-10 อาทิตย์ หรืออ่านเพื่อที่จะดูผู้ป่วยบนward ไปในแต่ละวัน (อาจารย์หลายท่านเคยบอกว่าอ่านหากตั้งใจ round ward และดูผู้ป่วยก็ไม่ต้องอ่านหนังสือมากเพราะว่าข้อสอบอยู่ในward ทั้งนั้นอันนี้ผมไม่แน่ใจนักว่าจริง เพราะยังไม่มีใครพิสูจน์ให้เห็นด้วยกับตา)

2. เรื่องการ present ผมสนับสนุนเต็มที่ครับที่จะให้เกิดขึ้นเริ่มจากตอนเป็น ปี4 เลย แต่ว่าในบางครั้ง รุ่นพี่เอง อาจารย์เองเคยสนใจที่จะฟัง ที่จะถามหรือไม่ จะบอกว่าให้น้อง present ถ้าอยากทำ ผมว่าไม่สู้จะดีนัก

ถ้าจะเปรียบการ present เหมือนการแสดงดนตรี คน present เหมือนคนเล่นดนตรีบนเวที ทีนี้คนเล่นดนตรีของเราเพิ่งหัดเล่นดนตรีมาแค่ไม่ถึงปีคนดูก็เป็นผู้ที่แก่กล้าเล่นมานานหลายปี ผมว่าเป็นใครๆก็ปอดนะครับ (ยกเว้นว่าเด็กนั้นเก่งจริง หรือว่าบ้ามาก) ถ้าไม่ได้คนดูคอยให้กำลังใจนักดนตรีคนนั้นกว่าจะมั่นใจกว่าจะเล่นได้ดีก็คงอีกนานหรืออาจจะทำได้ไม่ดีตลอดไปเลยก็ได้

3.เรื่องขำขันเราก็ควรมีบ้างนะครับ:D

4.ระบบนี้ทำให้ขาดความยำเกรงและขาดระบบ seniority อย่างมาก ไม่จริงครับผมว่ามันทำให้สนิทกันน้อยลงมากกว่า ไม่ได้ขาดไปอย่างที่ว่าแน่นอนครับ

5. สุดท้ายขอบอกท่านว่า ท่านลองทดสอบดูว่านักศึกษาที่ขึ้น med ย้อม gram stain เป็นไหม ดูผล CBC เป็นไหม นักศึกษาที่ขึ้น sureg suture dressing เป็นไหม ทั้งหมดสำคัญยิ่งกว่าการ นั่งเน้น PBL ที่นักศึกษาทำอยู่

ก็สอนไปนะครับเรื่อง CBC gram stain suture


Posted by : เหอๆๆ , Date : 2004-08-29 , Time : 10:12:38 , From IP : wwwtrh.moph.go.th

ความคิดเห็นที่ : 9


   ที่จริงแล้วเราควรจะ discuss เรื่องนี้มาตั้งแต่เมื่อ 6-7 ปีที่แล้วก่อนการเปลี่ยนแปลง เริ่มช้าดีกว่าไม่ได้เริ่มเลยนะครับ ผมคิดว่าแก่นแท้ของวัตถุประสงค์การเรียนการสอนไม่ได้เปลี่ยนไป ที่เปลี่ยนไปคือวิธีการ แบบใหม่นี้ต้องการความเข้าใจระบบของทั้งผู้เรียนและผู้สอน (นอกจากรายละเอียดในเนื้อหาวิชาชีพแพทย์) ที่ต้องทำความเข้าใจก็เพราะเป็นของใหม่สำหรับบ้านเรา ที่อาจจะเก่ามาจากที่อื่นแล้ว ซึ่งแม้มาจนถึงขณะนี้ความเข้าใจระบบดังกล่าวอาจจะยังแทบจะไม่เกิดขึ้น ถ้าเข้าใจกันดีแล้วก็คงไม่ต้องมาตั้งเป็นกระทู้ discuss กัน ผมเสนอว่าเราควรจัดสัมนาในระดับคณะอย่างจริงจัง ไม่ใช่จัดสัมนาเพียงเพื่อจะบอกว่าคุณต้องทำอะไร ฟังความคิดเห็นให้มากขึ้น วิเคราะห์ปัญหาร่วมกัน และหาทางปรับแก้ไขในส่วนที่ยังบกพร่องไม่สมบูรณ์ น่าจะดีกว่ามาเขียนลง webboard กันแบบนี้ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนนะครับ

Posted by : vk0kipN , Date : 2004-08-29 , Time : 10:22:00 , From IP : 172.29.1.155

ความคิดเห็นที่ : 10


   ที่จริงตอนขึ้น clinic นี่ การเรียน "แบบ" PBL น่าจะมาเป็นธรรมชาติและเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุดจากระบบเก่านะครับ

เพราะตอนรับคนไข้ ได้ case มานี่ จะเสมือนโจทย์ scenario ต่างกันตรงเป็น case จริงๆ ตอนนี้ CRT ในหลายๆ block กำลังจะแปรจาก scenario แห้งๆ เป็นการใช้ case ผู้ป่วยจริงๆ ตอนนี้ผมเข้าใจว่าจัดเป็น opportunistic อยู่ เพราะบางครั้ง case ที่พบบ่อยๆเกิดไม่มีติด ward หรือเอา case opd ก็ยังไม่ประสานกันแนบเนียนนักกับเวลากลับบ้านของคนไข้ แต่เท่าที่ทราบหลักการเอา case จริงมาเรียนลงมาเป็น main strategy ของ CRT ชั้นคลินิกมาหลายอาทิตย์แล้ว

แต่ถ้าเป็นการทำ CRT โดยไม่ได้วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ หรือทำผ่านๆอย่างที่คุณเหอๆๆว่าจริงๆ มีปัญหาแน่นอนครับ และเห็นด้วยว่าเป็นปัญหา serious ของทั้งคนทำและ facilitator เลยทีเดียว เพราะนั่นมันผิดหลักการของ PBL แตแรกเริ่ม ที่ต้องเป็นการเรียนที่มี direction ชัดเจนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ที่จริงตอนจบ act II ก้ควรจะมีการ review learnign objectives ว่านศพ.ได้ครบหรือไม่ OK บางครั้งก็ review ไว้ตั้งแต่ตอน set ใน act I แต่ตอนจบมาพูดกันอีกรอบ นศพ.อาจจะได้สรุปได้ว่าตนเองได้จริงๆ ถ้าเกิดเดินออกจาก act II แล้วไม่ได้อะไรเลยนี่ ผมว่าทั้งกลุ่มรวมทั้ง facilitator ด้วยคงจะเข้าใจ "กระบวนการ PBL" คลาดเคลื่อนอยู่



Posted by : Phoenix , Date : 2004-08-29 , Time : 10:45:24 , From IP : 203.156.46.229

ความคิดเห็นที่ : 11


   สิ่งที่คณะ.เน้นและให้ปรับปรุงอยู่เสมอคือหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอนแต่ไม่เคยมองเลยว่าจริงๆแล้วต้องแก้ไขอะไร น่าจะให้นักศึกษาไปหาวิธีในการปรับปรุงตัวเองมาบ้างแล้วสร้างแผนเลย เขียนแผนเองเลยว่าจะทำอย่างไรในการเรียนและปรับปรุงคุณภาพนักศึกษาเองบ้าง ....เราต้องการoutcomeคือ นักศึกษาแพทย์ที่ดี แต่คณะกลับไปมองที่หลักสูตรและผู้สอน(ปรับปรุงอยู่ได้ทุกปี จริงๆไม่ต้องปรับปรุงแล้ว เพราะ มอ. ดีอยู่แล้ว แต่เด็กเรายังไม่ปรับตามอาจารย์และแผนการสอนเอง) สรุปคือ ไม่ว่าจะเรียนระบบไหนถ้าผู้เรียนเดินถอยหลัง ไม่พัฒนาไปด้วยกันก็ไม่มีทางบรรลุวัตถุประสงค์ไปได้ .............. ถ้าเข้าใจตรงนี้คิดว่าทุกท่านคงทำใจรับสภาพกับสิ่งที่เด็กเราสร้าง outcome แบบนี้

Posted by : Surgery , Date : 2004-08-29 , Time : 11:02:13 , From IP : 172.29.2.210

ความคิดเห็นที่ : 12


   ไม่เบื่อกันบ้างเหรอครับ... discuss เรื่องนี้หลายครั้งแล้วในบอร์ดนี้ ไม่เห็นจะได้มักกะลีผลอะไร (ยืมอาจารย์มาหน่อย ฮิฮิ)

Posted by : เพื่อนเหอๆ , Date : 2004-08-29 , Time : 11:21:18 , From IP : 172.29.4.155

ความคิดเห็นที่ : 13


   คุณ Surgery หมายความว่าตอนนี้บทบาทการปรับปรุงน่าจะเป็นของตัวนักศึกษาเองรึเปล่าครับ? ผมสนใจเรื่องการให้นักศึกษาไปหาวิธีปรับปรุงตัวเองพอสมควรทีเดียว

ที่จริงนักศึกษาแต่ละคนโดยธรรมชาติต้องหาวิธีในการปรับปรุงหรือปรับตัวอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่ได้ pack เป็นทีมเท่านั้น อาทิตย์ที่แล้วประชุมนักศึกษากลุ่มประมาณ 30 คน ปรากฏว่ามีครบทุก learning styles เลยทีเดียว ตอนสมัยผมเรียนนั้น นศพ. 180 คน ถ้าจะให้สรุปวิธีการเรียนก็คงจะตีกันตาย เพราะหลากหลาย (ไม่นับว่าบางคนไม่รู้ว่าตนเองชอบ styles ไหน จนเรียนจบบ้าง ไม่จบบ้างตามระหว่างทาง) ปัญหาคือ เราสามารถที่จะ customize วิธีการเรียนให้เหมาะแก่ทุกๆ individual หรือไม่ resources คงจะต้องเยอะมากกว่านี้ และหลักสูตรก็คงต้องปรับกันเป็นปีๆหรือไม่ เพราะความถนัดความชอบของนักเรียนไม่เหมือนกันทุกปี ที่เราหวังไว้ก็คือถ้า นศพ. สามารถปรับตัวเองให้มี maturity ได้ทันภายในปีแรกๆ ความเป็นผู้ใหญ่จะขยายขอบเขตความสามารถในการปรับตัวได้เยอะ (ผู้ใหญ่จะต้องอยู่ใน "สังคม" จริงๆซึ่งยิ่งมี diversity of rules and laws มากกว่าวิธีการเรียน) และสามารถอยู่ได้โดย ปรับตัวเข้าระบบ มากกว่าที่จะให้ระบบปรับเข้าหาตนเอง

ผมมีความคิดแตกต่างจากคุณ Surgery ในประเด็นที่ว่าคณะ "ไม่เคยมองว่าจริงๆต้องแก้ไขอะไรบ้าง" นะครับสาเหตุอาจจะเป็นเพราะข้อมูลที่เราใช้ในการสรุปไม่ตรงกัน อาจารย์ของเราที่เข้ามาทำงานแพทยศาสตร์ศึกษาทุกท่าน ผมว่าท่านได้ทุ่มเท ใช้ข้อมูล และข้อความเห็นจากหลากหลาย resources กว่าจะออกมาเป็น versions ต่างๆ ถ้าคุณ Surgery shares ข้อมูลที่นำมาสู่การสรุปที่แตกต่าง เราจะยิ่งมีความสมบูรณ์ของข้อมูลมากขึ้นหรือไม่ครับ?



Posted by : Phoenix , Date : 2004-08-29 , Time : 11:36:54 , From IP : 172.29.3.230

ความคิดเห็นที่ : 14


   ผมว่าระบบมันก็ดีแล้วแหละครับ มันไม่มีที่คนปฏิบัติต่างหาก
อาจารย์ทำให้เด็กได้ใจ อย่างไร? เช่น เวลา round เช้า- พานักเรียนไป bed side, เวลา round เย็นพานักเรียนไป lecture or CRT จนแพทย์ใช้ทุนไม่กล้าใช้น้อง ไม่กล้าแตะ เพราะน้องจะอ้างอาจารย์ และแพทย์ใช้ทุนก็กลัวอาจารย์จนหัวหด
นี่คือเรื่องจริงที่ผมประสบในฐานะแพทย์ใช้ทุน และเป็น PBL รุ่น 1


Posted by : PBL รุ่น 1 , Date : 2004-08-30 , Time : 00:02:18 , From IP : 172.29.3.106

ความคิดเห็นที่ : 15


   เห็นด้วยกับคุณ PBL 1 เรื่องนี้นะครับ

มีการรายงานการพบ นศพ. ไม่อยู่ในที่ที่ไม่ควรจะอยู่ (นอกเหนือจาก sdl) หลายครั้ง ต่างกรรมต่างวาระ มีการอ้างเหตุผลต่างๆนานา โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาศัยระบบการหมุนที่ค่อนข้างจะ "หมุน" จริงๆ ทำให้กระบวนการประเมิน attending ทำได้ยาก

เนื่องจาก พชท. มีบทบาทที่สำคัญมากในการช่วยสอน ช่วยสื่อเหตุผลที่มาต่างๆของการรักษา และโดยที่มีความใกล้ชิดกับ นศพ. (ควรจะใกล้ชิดกว่า...ตามทฤษฎี) ผมเชื่อว่าตั้งแต่สมัยไหนๆแล้วที่ residents และ พชท. เป็นกำลังส่วนหนึ่งที่ทำให้ leanring objectives ของ นศพ. สำเร็จ การแก้ปัญหาตรงนี้น่าจะเป็นให้ พชท. (หรืออย่างน้อยที่สุด ก็ chief residents ไม่ทราบระบบของภาควิชาอื่นนะครับ) ทราบ rotation ของ นศพ. ที่ปฏิบัติงานด้วยกันในสายอย่างละเอียด และมีส่วนร่วมในการประเมิน นศพ.ด้วย (อาจจะไม่ถึงกับให้คะแนน แต่น่าจะมีส่วนในการให้ข้อมูล) เพราะจริงๆแล้วจากที่เห็นใน block pre-post operative care ชั่วโมง SDL หรือ CRT ตามปกติจะไม่ตีกันการราวนด์เช้าเย็นได้ จะเกิดต่อเมื่อมีการเลื่อนเกิดขึ้น ตรงนี้นักวิชาการประจำ block อาจจะต้องช่วยประสานให้แก่ทาง chief resident ที่ดูแล นศพ. ด้วยรับทราบเป็นกรณีๆไป แต่ผมเข้าใจว่าตั้งแต่จัดแบ่งการ round และ activities อื่นใหม่ใน block pre- post operarive ครั้งล่าสุดนี่แล้ว ยังมีปัญหานี้เกิดขึ้นอีกหรือไม่ (อ้างตำแหน่งที่อยู่ โดยไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง) ส่วน block อื่นาจจะมีวิธีประสานกับแพทย์ใช้ทุนที่จะต้องช่วยดูแล นศพ.ด้วยนี่ตามวิธีที่เห็นสมควร เพื่อไม่ให้มีช่องโหว่ตรงนี้



Posted by : Phoenix , Date : 2004-08-30 , Time : 00:34:01 , From IP : 203.156.48.178

ความคิดเห็นที่ : 16


   "เวลา round เย็นพานักเรียนไป lecture or CRT จนแพทย์ใช้ทุนไม่กล้าใช้น้อง "

เรื่องนี้ผมว่าน่าจะมีทางแก้ที่ดีขึ้นได้เล็กน้อยครับ

1.ต้องถามก่อนว่าพี่จะใช้น้องเรื่องอะไร จำเป็นต้องใช้ไหม(หมายถึงถ้าใช้แล้วจะเกิดประโยชน์อะไรกับน้องหรือไม่ ผมเอาเรื่องของประโยชน์ของน้องเป็นที่ตั้งเพราะว่าถึงแม้พี่ไม่ใช้น้องก็ไม่ได้เสียประโยชน์อะไรกับพี่ที่จะใช้อยู่ดี) ถ้าหากว่าการใช้ที่พี่ว่านั้นมีประโยชน์กับน้องจริงๆ ผมว่าก็น่าจะให้น้องทำนะครับ

แต่

2.คำถามต่อไปคือ การที่จะให้น้องทำนั้นต้องมีคนคุมหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นงานอะไร ถ้าไม่ต้องมีคนคุมก็เป็นเรื่องง่าย เพราะฝากให้ผู้เกี่ยวข้องตามน้องมาทำก็น่าจะได้(แต่ผมเข้าใจว่าการตาม นศพ.ปี 4,5 เป็นงานที่ยากมากเหมือนกัน แต่ผมว่าน่าจะมีการตามหัวหน้ากลุ่มของน้องแทนได้นะครับ โดยเฉพาะถ้าคณะจะลงทุนตรงนี้เพื่อนักศึกษา)


3.รีบขนาดไหนที่จะทำ ถ้ารอได้ก็ควรรอโดยเฉพาะงานที่พี่ไม่ต้องคุมเอง ก็รอให้น้องเค้ามาทำนะครับ แต่ถ้าต้องคุมเอง ถ้าพี่ยินดีที่จะเสียสละนัดเวลาน้องมาเพื่อจะมาทำงานด้วยกันก็จะเป็นพี่ที่ประเสริฐที่สุดที่น้องเคยเจอทีเดียว

ที่ผมเสนอไปนั้นก็จะสร้างปัญหาต่างๆให้แก้ตามมาอีกมากมาย

แต่สมองน้อยๆของผมก็คิดฝันเฟื่องได้เท่านี้ล่ะครับ


Posted by : เหอๆๆ , Date : 2004-08-30 , Time : 15:53:40 , From IP : 203.113.71.196

ความคิดเห็นที่ : 17


   ในสิ่งที่ได้เจอมา น่าจะดูเป็นรายคนเพราะเท่าที่ได้ contact น้องๆ มีหลายคนที่น่ารักและเอาใจใส่คนไข้ แต่บางคนก็ไม่เป็นเช่นนั้น เรื่องนี้คงเหมารวมไม่ได้
บางครั้ง นศพ ก็ขยันกว่าแพทย์ใช้ทุนบางคนอีก เปิดแผลทำแผลเรียบร้อย ต่วงกับแพทย์ใช้ทุนที่ขนาดเป็นแค่ intern หรือปีต้นๆยังไม่ทำแผลเองเลย แถมยังไปสั่ง น้องๆๆทำแผล แต่บางสถาณการณ์ที่ไม่เคยเจอก็เกิดขึ้นได้ แบบว่ามีนัดกับแฟนแต่ยัง round ไม่เสร็จก็กล้าขอไปได้ ..น่าคิดจริงๆๆ


Posted by : memo , Date : 2004-08-30 , Time : 22:11:19 , From IP : 172.29.3.99

ความคิดเห็นที่ : 18


   ส่วนเรื่อง gram stain ,cbc plt สอนกันได้เรื่องแบบนี้
แต่ก่อนที่คิดว่าจะให้น้องทำ ถามตัวเองก่อนว่าตัวเองยังทำเป็นอยู่หรือ? ดูเองเป็น?


Posted by : memo , Date : 2004-08-30 , Time : 22:16:40 , From IP : 172.29.3.99

ความคิดเห็นที่ : 19


   สวัสดีครับ
ผมก็เป็นคนหนึ่งที่เคยเรียนระบบ PBL มาก่อนแม้จะไม่ได้จบจากมอ.ก็ตาม
ที่สถาบันที่ผมจบมาก็มีระบบนี้มานานแล้วมีการโต้แย้ง ถกเถียงกันมากถึงข้อดี ข้อเสีย ตอนนั้นเป็นนสพ.ไม่ค่อยจะเข้าใจเท่าไรโดยเฉพาะช่วงปี 2,3 ซึ่งเป็นชั้น pre-clinic ค่อย ๆ เข้าใจมากอีกนิดตอนเรียนชั้น clinic แต่ก็ยังไม่ทราบซึ้งกับคำว่า Problem base learning มากมาย เพราะเป็นนักเรียนยังไม่ต้องแบกรับความรับผิดชอบใดๆกับคนไข้ จะมีความรู้หรือไม่ก็ไม่ค่อยมีผลใดๆกับการรักษา จึงยังรู้สึกเฉยๆ และก็ไม่ได้ขยันมากมายนัก แต่การขึ้นไปเรียนบนวอร์ดอาจารย์และพี่ๆได้สอนอะไรผมมากมาย ความรู้ก็ได้ หัตถการก็ได้ แต่ความรู้สักพักก็ลืม สอบเสร็จพอไม่ได้ใช้แล้วก็ลืม แต่สิ่งที่ผมซึมซับมาได้ไม่ลืมคือความรับผิดชอบ การปฏิบัติต่อคนไข้ ต่อเพื่อนๆร่วมวิชาชีพ และวิธีการที่จะแก้ปัญหาต่อ
เมื่อจบมาใหม่ๆ ผมรู้สึกกลัวมากกับความรู้ที่มีน้อยนิดเมือเทียบกับโรคภัยไข้เจ็บสารพัน ออกไปอยู่รพช.เป็นหมอใหญ่ที่ต้องตัดสินใจ รับผิดชอบทุกอย่างเอง
จึงต้องขนขวายหาความรู้อย่างมาก ต้องอ่านหนังสือติดตามคนไข้ทุกวัน
บางครั้งไม่แน่ใจก็ต้องใช้วิธี follow up อ่านหนังสือ ถามพี่แล้วมารักษาคนไข้ต่อ
ผมพบว่าผมทำอย่างนี้ได้ผมต้องขอบคุณพี่ๆ อาจารย์ที่ได้ปลูกฝัง เจตคติ วิธีการดูคนไข้ การสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน กับญาติคนไข้
ผมอยากจะเสนอว่า PBL เป็นระบบที่ดี และต้องมีหนึ่งแม่พิมพ์ที่ดี และที่ดีต้องมีเวลาที่จะให้กับน้องๆที่จะถ่ายทอดเจตคติที่ดีให้กับน้องๆ ให้กำลังใจและชี้แนะว่าต้องเรียนอย่างไรที่จะเข้าใจคนไข้ของตน สองสร้างระบบที่ปลูกฝังความรับผิดชอบให้นักเรียน สามมีการสอนการสื่อสารและการทำงานเป็นทีมให้กับน้องๆ
และสุดท้ายสร้างความรู้สึกภาคภูมิใจในวิชาชีพใความเป็นแพทย์
สิ่งเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานให้น้องนำไปใช้ต่อไปครับ


Posted by : PJ , Date : 2004-09-10 , Time : 23:32:57 , From IP : 172.29.3.209

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.006 seconds. <<<<<