ความคิดเห็นทั้งหมด : 4

Debate LXXV: อาสาสมัครข้างเตียงผู้ป่วย เขาทำอะไรกัน?


   วันนี้มีโอกาสเข้าฝึกอบรมอาสาสมัครข้างเตียงผู้ป่วยของ มอ. เกิดความสงสัยว่า นศพ. หรือแพทย์ พยาบาลส่าวนใหญ่ทราบไหมครับว่า เขาเหล่านี้ หรือโครงการนี้มีไว้ทำไม

ปีก่อนๆ เรามีนักศึกษาแพทย์ชั้นปรีคลินิกมาสมัครเยอะพอสมควร ปีนี้ตอนเปิดโครงการก็ทำ promotion ได้ถูกใจกรรมการอย่างยิ่ง แต่ปรากฏว่ามันไม่ in-trend ยังไงก็ไม่รู้ ปีนี้เลยไม่มี นศพ.แม้แต่ท่านเดียวสนใจโครงการนี้ มีแต่น้องนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ประมาณ 60-70% ที่เหลือก็เป็นรุ่นพี่พยาบาลบ้าง PT บ้าง

พวกเราคิดว่างานตรงนี้มีส่วนเกี่ยวข้องยังไงกับการเรียนการสอน และการบริการบ้างครับ?



Posted by : Phoenix , Date : 2004-08-28 , Time : 12:16:40 , From IP : 172.29.3.104

ความคิดเห็นที่ : 1


   วั้นนี้ก็มีอาสาสมัครมาคุยกับคนไข้ที่ ward เห็นมาประมาณครึ่งชม.คุยเสร็จก็กลับ
อยากทราบเหมือนกันค่ะว่าโครงการนี้ทำทำไม


Posted by : ตม , Date : 2004-08-28 , Time : 19:52:30 , From IP : 172.29.3.131

ความคิดเห็นที่ : 2


   มาตรฐานการพูดคุยกันเพื่อให้ได้ความสัมพันธ์ที่ดี ต้องคุยกันนานเท่าไหน??ตัววัดอยู่ที่เวลาใช่หรือไม่?? ถ้าการสื่อสารที่ไปด้วยกันได้ดีทั้งสองฝ่ายจะต้องจบลงภายในครึ่ง ชม ก็ไม่น่าจะเสียหาย เพราะเท่าที่ฟังนี่เป็นเพียงsessionเริ่มต้นของการเจอกันกับคนสองคนที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน น่าคิดนะ ถ้าเราเจอคนมาพูดคุยกับเราครั้งแรกที่นานเกิน45นาที สติเราคงแตก สมาธิคงกระเจิงแน่ๆ เหนื่อยกันทั้สองฝ่ายและคงไม่อยากเจอกันอีกแล้ว กลัวกันไปเลย ที่แน่ๆ หลักการสนทนาเท่าที่รู้มา ไม่ควรเกิน45-60นาทีจ้า
ว่าแต่ว่า ผป ของเราก็กำลังอ่อนเพลีย หรือไม่พร้อมที่จะคุยด้วยหรือเปล่า หรืออาจมีsocial skillไม่ค่อยดี พูดไม่ค่อยเก่ง เลยขอterminateบทสนทนาก่อนเวลาที่เราคิดว่าควรจะเป็น ก็อาจเป็นไปได้นา
อย่างไรก็เป็นกำลังใจให้อาสาสมัครที่อุตส่าห์สละความสุขส่วนตัวมาทำประโยชน์คือมาเป็นเพื่อน ผป ที่ไม่มีญาติมาคอยดูแลพูดคุยนะจ๊ะ แบบนี้เป็นการช่วยแบ่งเบางานการดูแลด้านจิตใจของทีมการรักษาพยาบาลที่ลำพังดูแลด้านร่างกายก็แทบจะไม่ไหวกันอยู่แล้วได้อยู่เหมือนกันนา ถึงแม้นมันจะทดแทนกันไม่ได้หมด ว่างั้นมั้ย
ว่าแต่อาสาสมัครเขาก็อาจจะยังมีประสบการณ์น้อย เราก็ช่วยๆเขากันหน่อยนะ คนดีๆจะได้ไม่เสียกำลังใจและมีมากขึ้นเรื่อยๆในสังคมเรา จะดีมั้ย


Posted by : pisces , Date : 2004-08-28 , Time : 21:29:41 , From IP : 172.29.3.228

ความคิดเห็นที่ : 3


   ถ้ายังงั้นผมขออนุญาตแนะนำว่าอาสาสมัครของเราคือใครก่อนดีไหมครับ

เคยมีคำพูดถึงกลุ่มคน "บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาผู้ป่วย" กันต่างกรรม ต่างวาระ บุคคลพวกนี้หมายถึงใครครับ?

เฉลย ทุกคน เลยครับ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาคนเจ็บไข้ได้ป่วย

เดี๋ยวนี้คนเราอายุยืนนาน ทุกบ้ายผมว่าจะเจอหรือกำลังมี หรือเคยมีคนเจ็บไข้ได้ป่วยอยู่ในบ้านมาก่อนทั้งสิ้น และผมเดาว่าบ่อยครั้งที่ตรงนี้จะเกิดเป้น "ภาระ" นอกเหนือจากกิจวัตรประจำวันที่บ้านนั้นๆกำลังทำอยู่ใช่ไหมครับ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ disability ที่เกิดจากการเจ็บป่วยนั้นๆ ที่ทำให้มี demand มากขึ้น ช่วยเหลือตนเองยากมากขึ้น และอีกส่วนหนึ่งก็คือการที่คนเจ็บเหล่านี้ "ต้องการ" การ support ทางจิตใจ หรือพูดง่ายๆว่า "อ้อน" มากขึ้น เพราะ status ที่ vulnerable ขณะที่ป่วยนั้นเอง

คนไข้บน ward ก็เหมือนกันครับ ไม่แตกต่างกับคนที่บ้านเรา หรือที่เราเคยเห็น แต่เขาอาจจะป่วยหนักกว่าจนต้องนอนโรงพยาบาล ทีนี้ภาระหน้าที่งานที่พยาบาลและหมอทำอยู่บน ward นั้น อาจจะจำกัดเวลาที่สามารถจะมา share อยู่กับผู้ป่วยทุกเตียง เวลาที่จะมาพูดคุย เวลาที่จะมาถามไถ่ทุกข์สุข พวกเราก็อาจจะเคยเห็นคนไข้ตาม ward ต่างๆนั่งเหม่อลอยบนเตียงตนเอง บางครั้งพูดได้ว่า "เหงา" ทั้งๆที่อยู่ท่ามกลางคนเป็น 50-60 คนเดินไปเดินมา

ประจวบเหมาะกัยที่เรามีคนที่เกิดคิดขึ้นมาถึงความเป็น บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาผู้ป่วย" ตามนิยามที่ว่าไว้ และคิดว่าสามารถจัดสรรเวลาว่างส่วนหนึ่งมาทำอะไรสักอย่างให้ผู้ป่วยของเราบน ward ตามกำลัง ตามเวลาที่เขาพอจะมี นั่นเป็นที่มาของอาสาสมัครข้างเตียงโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ครับ

พอจะเดาวัตถุประสงค์ได้รึยังครับ?



Posted by : Phoenix , Date : 2004-08-28 , Time : 22:30:26 , From IP : 203.156.48.251

ความคิดเห็นที่ : 4


   รบกวนถามหน่อยน่ะค่ะ....ว่าโครงการนี้ยังเปิดรับสมัครอยู่หรือเปล่าค่ะ ??? แล้วคุณสมบัติของผู้สมัครล่ะคะ ??ต้องเป็นอย่างไรบ้างค่ะ ??
ขอบคุณค่ะ


Posted by : Maroon 5 , Date : 2004-08-30 , Time : 12:27:23 , From IP : px2ar.ed.shawcable.n

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.004 seconds. <<<<<