ความคิดเห็นทั้งหมด : 13

ใครมีความเห็นว่าอย่างไร


   เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราชอบเรียนอะไร ผมเรียนมาก็ตั้งหลาย ward แล้วยังค้นหาตัวเองไม่เจอ ผมอยากรู้ว่าบางคนบอกว่าชอบเรียนศัลย์ หรือพี่ๆที่สมัครเรียนศัลย์หรือสาขาอื่นๆ(ตัวอย่าง) อะไรที่ทำให้ชอบ ชอบตรงไหน แล้ว อะไรเป็น point ที่ทำให้สมัครเรียน
ขอบคุณทุกคนที่แสดงความเห็นในเชิงสร้างสรรค์


Posted by : อยากรู้ , Date : 2004-08-26 , Time : 19:32:08 , From IP : 172.29.4.39

ความคิดเห็นที่ : 1


   ผมว่าประเด็นแรกน้องควรจะคิดดูก่อนว่าจะเรียนต่อหรือไม่ ทำไมต้องเรียนต่อ ถ้าตัดสินใจได้ว่าต้องเรียนต่อแน่ๆแล้ว เราค่อยมาคิดว่าตัวเราเหมาะจะเรียนอะไร บางครั้งเพื่อนที่ใกล้ชิดอาจจะบอกเราได้ว่าบุคลิกลักษณะนิสัยอย่างเราน่าจะเรียนอะไร
ตอนนี้ตั้งใจดูคนไข้ไปก่อน บางที่กว่าจะตัดสินใจได้ก็ตอนเป็นExtเลยครับ



Posted by : megumi , Date : 2004-08-26 , Time : 19:58:30 , From IP : 172.29.3.160

ความคิดเห็นที่ : 2


   หมอส่วนใหญ่ในอดีต (และผมคิดว่ายังคงเป็นความจริงในปัจจุบันอยู่) จะออกไปทำงานเป็น general practitioner ก่อน แล้วค่อยเลือกกลับมาเรียนทีหลัง

การตัดสินใจเปนแพทย์ใช้ทุนแล้ว train เลยนั้น ผลดีคือเร็ว แต่ผลเสียก็มีคือบางครั้งมารู้ตัวว่าจริงๆแล้วไม่ได้ชอบงานแบบนี้ ลักษณะงานของแพทย์เฉพาะทางในโรงเรียนแพทย์อาจจะไม่เหมือนลักษณะการทำงานจริงข้างนอก ทั้งระบบ เครื่องไม้เครื่องมือ การเน้นที่งานบริการมากกว่างานที่เป็น academic และประการสำคัญคือการ exposure ของนักศึกษาแพทย์กับงานแพทย์เฉพาะทางนั้นจริงๆแล้วไม่เยอะเท่าไหร่เลย

เพราะเหตุนี้จึงยังเป็น controversy อยู่ (ในความเห็นส่วนตัวของผม) ว่าการตัดสินใจ train เลยหลังจบ พบ. จะเป็นวิธีที่ดีที่สุด

แต่ถ้าน้องอยากจะรู้งานที่แท้จริงของแพทย์เฉพาะทางตั้งแต่ตอนนี้ มีอยู่วิธีเดียวครับ คือเลิกเรียนแล้วก็อยู่เฝ้า ward เฝ้าห้องฉุกเฉิน เฝ้าห้องคลอด ไปดู OPD ห้องเฝือก คลินิก well baby คลินิกฝากครรภ์ เข้า OR อะไรก็ได้ที่เป็น hands-on ของงานอาชีพนั้นๆ เพราะนี่คือส่วนหนึ่งของชีวิตจริง หาเรียนหาอ่านไม่ได้จาก internet หรือตำรา ถ้าหลังจากทำอย่างนี้แล้ว น้องชอบอะไรก็พอจะบอกได้ดีขึ้น ผมไม่คิดด้วยว่าการทำอย่างนี้จะทำให้โอกาสการอ่านหนังสือลดน้อยลง ตรงกันข้าม clinical skill จะดีขึ้น ดีกว่า และตรงกับความต้องการ ความจำเป็น เมื่อน้องจบไปแล้ว กว่าการที่กลับหอ อ่านหนังสือ search internet ซะด้วยซ้ำ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-08-26 , Time : 22:44:16 , From IP : 172.29.3.243

ความคิดเห็นที่ : 3


   ที่คุณPhoenix พูดก็มีส่วนจริง ใจจริงผมก็อยากทำนะครับ แต่ในความป็นจริงแล้วถ้าเกิดเราไม่ค่อยมีความรู้เลย มันก็น่าจะแค่ได้แต่ดู??? เพราะเมื่อเอาเวลาหลังเรียนทั้งหมดไปทุ่มตรงนั้น และเมื่อได้แต่ดูมันก็ไม่ค่อยได้ความรู้??? ok. มันก็เป็นอีกหนทางหนึ่งที่เราได้สัมผัสชีวิตที่แท้ตริงของแพทย์ในสาขานั้น เช่นเราอยากรู้ว่าหมอศัลย์มีงานเป็นอย่างไร เราจุ่มชีวิตใน OR ผมก็ว่านะครับบางครั้งเราอาจจะได้แค่ดูจริงก็ได้ เพราะเราดูการผ่าตัดไม่ค่อยรู้เรื่อง สุดท้ายก็รู้แค่ว่าเป็นหมอศัลย์ชีวิตต้องเจออย่างนี้ๆๆ แต่ความรู้ก็ไม่ได้เพิ่มมาเท่าไร เห็นด้วยไหมครับ

Posted by : @- , Date : 2004-08-27 , Time : 00:52:45 , From IP : 172.29.4.39

ความคิดเห็นที่ : 4


   ไม่ทราบว่าเขื่อหรือไม่นะครับ ศัลยแพทย์ทุกท่านเริ่มต้นจากดูอย่างเดียวก่อนทุกคน

ศิลปศาสตร์แขนงที่ต้องมี "ความชำนาญ" ด้วยนั้นนอกเหนือจากทฤษฎีแล้ว ขั้นตอนที่จะปลูกฝังความชำนาญตามลำดับคือ ดู เข้าช่วย ทำโดยถูกคุม ทำโดยถูก observe แล้วจึงจะมาถึงทำเอง ซึ่งทำเองก็ยังต้องทบทวนผ่านขั้นตอนเดิมๆซ้ำแล้วซ้ำอีก

นศพ.ที่เฝ้า ER มี case อะไรที่พี่ตรวจอยู่เข้าไป jam ด้วย ในที่สุดพี่เขาเห็นบ่อยเข้าก็ได้ทำครับ จริงๆแล้วตอนผมลงมาที่ มอ.นี่ยุคแรก นศพ.ปีสี่เข้าช่วยเป็นมือสอง case hyperthyrodism ในห้องผ่าตัดใหญ่ สาเหตุส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะ พช?ใมน้อย แต่ผมว่าสาเหตุหลักก็คือ นศพ.ได้คลุกคลีกับผู้ป่วยมาก จนถงขั้นได้รับอนุญาตให้เข้าช่วย ตอนผมเป็น นศพ. ต้องเก็บ case เย็บแผลที่ er ให้ได้ 15 ราย จับพลัดจับผลูก็ได้เข้าไปช่วย or ใหญ่เวลาเขาเปิดกันหลายๆห้อง ได้เห็น case ตัดต่อ carotid อะไรทำนองนั้น ไม่การันตีหรอกนะครับว่าจะได้เห็น ได้ทำ ได้สัมผัสสดๆแค่ไหน แต่มันเป็นการ "เพิ่ม" และ "สร้าง" โอกาสครับ ถ้าไม่ทำอย่างนี้ อยู่ที่หอ ก็ "รับประกัน" ได้ว่าโอกาสมันจะไม่เกิด ตรงนี้ก็จะการันตีได้ว่าจะไม่เห็น ไม่รับทราบว่างานจริงๆของแต่ละ field นั้นมันเป็นยังไงแน่

ความชำนาญนี่เป็นเรื่องแปลกครับ มันงอกเงยโดยเราไม่รู้ตัว ไส้ติ่งเห็นตอนแรกตอนเป็น นศพ.ปีสี่ มันเป็นดุ้น fat อะไรไม่รู้ เห็นพี่ resident กวาดๆควักๆแป๊บเดียวปลิ้นออกมาตัด ตอนเป็น extern ถูกจับมาใส่มือให้ตัด เย็บ pursesting ก็ดูออกตอนนั้นแหละครับว่าเป็นไส้ติ่ง ตอนหาก็ให้พี่หาให้ ตอน train ไส้ติ่งมันค่อยๆชัดขึ้นๆ เรื่อยๆ

ผมคิดว่า ward อื่นๆก็เหมือนกันนะครับ จะเป็นหมอเด็ก ก็น่าจะดูการรับคนไข้เด้ก การคุยกับญาติ การรับเด็กห้องคลอด การดูแลเด็กที่ well-baby clinic จะเป็นหมออายุรกรรมก็น่าจะไปเฝ้า ward รับคนไข้ใหม่ ตอนอยู่เวรตอนกลางคืนนี่แหละโอกาสทอง เพราะคนน้อยแต่พี่ต้องการความช่วยเหลือเยอะ การเรียนการสอนแพทย์ไทยเราใช้ระบบพี่สอนน้องมาแต่ไหนแต่ไร แต่มันต้องสร้างมาจากน้ำใจ ช่วยเหลืองานกันก่อนนะครับ พุทธศาสนาเราเน้นศิษย์เข้าหาครูนะครับ ไม่ใช่ evangelism ที่ครูเที่ยวเสาะแสวงหาคนเรียน จะให้พี่ ersident พี่แพย์ใช้ทุมาเรียนเชิญไปเรียนก็คงจะไม่เกิด



Posted by : Phoenix , Date : 2004-08-27 , Time : 01:14:23 , From IP : 172.29.3.252

ความคิดเห็นที่ : 5


   อืม ที่ว่าไม่มีความรู้นี่ ผมก็ไม่เห็นว่านศพ.คนไหนจะอ่านหนังสือน้อยเลยนะครับ (ยกเว้นผมกับเพื่อนผมอีกสองคน)
เมื่อวันก่อน ฝรั่งจากอังกฤษสองคนที่มา elective ที่นี่ก็บอกว่า นักเรียนที่นี่เรียนหนักมากถึงมากที่สุด

...
ที่กลัวไม่มีความรู้นี่ กลัวถูกอาจารย์ถามหรือเปล่านะ


จริงๆถ้าได้ดู ได้ทำมากขึ้น ผมว่ามันช่วยให้อ่านหนังสือง่ายขึ้นเยอะเลยนะครับ


Posted by : ArLim , Date : 2004-08-27 , Time : 04:55:44 , From IP : ppp-210.86.223.221.r

ความคิดเห็นที่ : 6


   พี่อ่านหนังสือมากไม๊ ไม่แน่ใจ คงไม่มากมั้ง แต่ชอบดูคนไข้ ชอบward round แล้วเก็บเกี่ยวความรู้จากการroudทีละเตียง แล้วถ้าไม่รู้ก็ไปอ่านเพิ่มเติมเอา เฉพาะบางpointหรือบางทีลักไก่อ่านไม่ทันก็ให้พี่ๆบอกเลย จำได้ว่าตอนปีสี่คิด ตั้งจุดประสงค์การruondไว้ว่าเราจะมุ่งดูที่ว่าเขาวินิจฉัยคนไข้เราได้อย่างไร พอปีห้าตั้งจุดประสงค์ใหม่ว่าถ้าเราเป็นexternเราจะorderหรือส่งตรวจอะไรให้ ผป เราบ้างถ้าเราวินิจฉัยได้แล้ว ก็จะมุ่งเน้นที่management โดยจดแหลกเวลา round หรือแอบมาจดorderทีหลังในสมุดเล่มเล็กๆเล่มเดิม ต่อยอดจากปีสี่ ทำแบบนี้ก็อุ่นใจหน่อย พอเป็นexternก็มีคัมภีร์ของจริงเอาไว้ใช้งาน เพราะในตำราบางทีไม่มีตัวอย่างorderให้เราเขียนตาม หรือวิธีรักษามันก็ไม่เป็นตามpracticalที่เราเห็นอย่างงัยไม่รู้ แต่ว่าไอ้พวกนี้ออกข้อสอบไหม เหมือนไม่ออกจ้า แต่ไม่เป็นไรมันเป็นสิ่งที่เราได้ใช้ในอนาคตที่workจริงๆพี่ก็ว่าพอแล้ว
มาตัดสินใจว่าชอบอะไรตอนเป็นextern หลังจากเห็นทุกอย่างมามากพอ พี่ใช้วิธีตัดออกทีละอย่าง เอาจากที่ไม่ชอบก่อน ตัดไปเรื่อยๆจนหมดเหลือที่ชอบจริงๆสองอย่างคราวนี้ก็ค่อยมาวิเคราะห์ละเอียดกันอีกทีว่ารักชอบอะไร พอได้ไอเดียนะ
ส่วนเพื่อนพี่อีกคนเรียนจนจบbroadได้ แต่หลังจากนั้นเปลี่ยนfieldที่ตรงกันข้ามเลย พี่ว่าก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร และชีวิตก็happy


Posted by : pisces , Date : 2004-08-27 , Time : 06:24:43 , From IP : 172.29.3.246

ความคิดเห็นที่ : 7


   ฝรั่งปากหวานนะครับ คุณ ArLim และบางครั้งจะติด sarcasm เยอะเหมือนกัน อย่าเชื่อมาก (อาจจะเดาได้จากบริบทขณะพูด เช่น ชมว่าเรียนหนักมากขณะคุณ ArLim กลับไป SDL ที่หอเป็นต้น)

การออกไปทำงานข้างนอกนั้นเพิ่มประสบการณ์ใหญ่ๆสองอย่างคือ หนึ่งการทำงานร่วมกับผู้อื่นในฐานะที่เราเป็นบุคลากรเช่นเดียวกัน ไม่ใช่นักเรียน ผมว่าเป็นก้าวกระโดดที่สำคัญขั้นหนึ่งของชีวิต เพราะนี่คืองานของผู้ใหญ่ เราเป็นคนรับผิดชอบชีวิตเราเอง (และของคนไข้จริงๆ) ตรงความรับผิดชอบที่จะท่วมท้นลงมาบนบ่าของเรานี่แหละครับคือประสบการณ์ที่มีคุณค่า ประการที่สองเราจะเห็น case ที่ตกต่างออกไปจาก tertiary hospital สำหรับ field ที่เราสนใจอยู่จริงๆ แนวโน้มความถี่ ปริมาณ และชนิดของโรคที่จะถูกส่งมาโดยระบบสาธารณสุข เราหวังว่ามันจะมีการเปลี่ยนแปลงชัดเจนยิ่งขึ้น ถึงเวลานั้นการฝึกอบรมแพทย์อาจจะถึงขั้นต้องหา affiliated hospitals สำหรับเสรอมทักษะ ตอนนี้ก็เกือบๆแล้ว เพราะบางวิชามี case ไม่พอ (ไม่ได้หมายถึงไม่เยอะ แต่ว่าไม่ตรงกับปัญหาใหญ่สาธารณสุข)

อื่นๆเช่น จะได้เห็นว่า ER ยุ่ง OPD ยุ่งแบบสาธารณสุขนั้นเป็นอย่างไร มีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร การได้อยู่ในคณะผู้บริหารจริงๆ เราจะมีมุมมองเพิ่มเติม (และอาจจะแตกต่าง) ในการดูปัญหา และวิธีการแก้ไข นอกเหนือจากมองโดยมุมล่างสุดของระบบอย่างตอนอยู่เป็นนักเรียนแพทย์ ปัญหาในการ approach ผู้ป่วยและญาติจริงๆที่มีการฟ้องจริงๆ และอาจจะถึงตัวเราเองจริงๆยิ่งทำให้ความสำคัญด้าน communciation skill ด้านสิทธิผู้ป่วย ด้านจริยศาสตร์ชัดเจนในทางปกิบัติมากยิ่งขึ้น

สิ่งเหล่านี้ผมว่าสำคัญสำหรับเวลาเลือกเรียนต่อ หรือทำงานเหมือนกัน




Posted by : Phoenix , Date : 2004-08-27 , Time : 07:24:42 , From IP : 172.29.3.211

ความคิดเห็นที่ : 8


   ในความรู้สึก นศพ. บางครั้งการที่ไปอยู่ ER บางครั้งรู้สึกว่าตัวเองไม่มีความรู้ เช่น บังเอิญไปเจอ case ที่เราไม่เคยเลยที่อ่านหนังสือ เรื่องนี้มา สามุติว่าเป็น case มาด้วยอาการปวดหลัง ถ้าเราอยากดู case เราควรจะเข้าไปซักประวัติและตรวจร่างกายถูกไหมครับ แต่เราไม่มีความรู้นี่ เราจะเข้าไปทำอะไร พออีก case หนึ่งมามาด้วยเรื่องที่เราไม่รู้อีก เราจะรู้สึกตัวเอง กลายเป็น Observer แบะมันทำให้เรารู้สึกว่าตัวเอง ไม่มีความรู้และมันก็ไม่สนุกจริงๆ ใครมีข้อเสนอแนะไหม หรือ ใครมีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง

Posted by : นศพ. , Date : 2004-08-27 , Time : 16:39:26 , From IP : 172.29.4.39

ความคิดเห็นที่ : 9


   ไม่ค่อยเกี่ยวกับกระทู้นี้แต่อยาก POST


ในสมัยหนึ่งมี นร. ม5. มาบอกผมว่า เรียนไม่รู้เรื่องเลย อาจารย์สอนไม่ดี อาจารย์ส่วนใหญ่เป็นอาจารย์สอนมัธยมต้น ที่โรงเรียนพึ่งเปิดสอน ม. ปลายปีผมเป็นปีแรก ผมถามน้องคนั้นได้เกรดเท่าไร เขาบอกว่าได้เกรด ประมาณ 2.30 ผมเขาว่าวันหนึ่งเขาทำอะไรบ้างที่โรงเรียน เขาบอกผมว่าช่วงเรียนก็ก็เรียนตามปกติ ช่วงพักก็เล่นบอลกับเพื่อน หลังเลิกเรียน ก็เล่นบอลต่อ พอ 19.00 น. ก็กลับบ้านมาเหนื่อย กินข้าวเสร็จแล้วก็เนื่องจากเหนื่อยแล้ว ก็หลับไปโดยไม่รู้ตัว สาเหตุที่ทำให้ผลการเรียน ของเด็กคนนี้แย่อยู่ตรงไหน อยู่ที่โรงเรียนที่เพิ่งเปิดใหม่ หรืออยู่ที่ความไม่ maturity ของเด็กคนนี้


Posted by : kenta , Date : 2004-08-27 , Time : 16:58:19 , From IP : 172.29.4.39

ความคิดเห็นที่ : 10


   เป็นความรู้สึกที่ถูกต้องครับ เพราะนศพ.ที่จริงก็คือคนทั่วๆไปธรรมดา ยังไม่มีใครทราบว่าจะต้องรักษาผู้ป่วยยังไง

ดังนั้นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่การไป observe อย่างที่น้องว่าที่ห้องฉุกเฉินก็คือ เราจะได้ทราบว่า cases ที่เราไม่รู้ว่าจะทำยังไงเหล่านี้แหละ ที่เรากำลังจะเป็นคนรักษาเองในอนาคต ตื่นเต้นไหมครับ!

ถ้าเริ่มตื่นเต้นแล้ว ทำใจให้เย็นลง นั่ง observe ต่อไปอีกสักพัก หรือสักวันสองวัน น้องจะเริ่มจับได้ว่า cases ที่มาบ่อยๆน่ะมันมีอะไรบ้าง cases แปลกๆที่น่าสนใจมันมีอะไรบ้าง ทีนี้เราก็ใช้หลัก PBL ไงล่ะครับ เอามาเป็นโจทย์จริง scenario จริง ไปค้นคสว้ หาอ่านก่อน ไอ้พวกที่พบบ่อย หรือน่าสนใจนี่แหละ ยิ่งถ้าอ่านมาบ้าง เช่น ฉันพึ่งไป review สองเรื่องคือ URI กะ ท้องร่วงในเด็ก ลองไปนั่งฟังพร้อมพี่ extern พี่ พชท. ดูว่าเค้าซักประวัติเหมือนที่เราอยากจะรู้ไหม สุดท้ายก็เค้าสั่งการรักษาเหมือนที่เราสั่งในใจไหม ความมั่นใจและความภาคภูมิใจที่บังเกิดเวลาเราทำได้ full case มันเป็นความรู้สึกที่ดีจริงๆนะครับ เดินกลับหอด้วยความรู้สึกได้รางวัล

แต่ถ้าเราปล่อยให้ความรู้สึก "ไม่รู้" มันท่วมท้นจนไม่รู้จะทำยังไงต่อก็คงซึมเศร้า และจะยิ่งเป็นมากขึ้นตอนกำลังจะกลายเป็น extern ถ้า state of not-knowing ยังไม่พัฒนาหรือเปลี่ยนแปลง

ขอให้พิจารณาว่า WARD OR ER คลินิกเหล่านี้แหละครับคือ "ที่ทำงานจริง" ในอนาคต ไม่ใช่ห้องสอบ MCQ MEQ OSCE ซึ่งจะเจอก็แต่ตอนเป็นนักเรียนแพทย์เท่านั้น เก่งในห้องสอบเหล่านี้มันไม่ได้สะท้อน performance ที่เราจะต้องทำงานจริงๆเลย ขอให้ใช้ความรู้สึก "ไม่รู้" ตอนเห็น case ที่ ER OPD เป็นแรงบันดาลในการค้นคว้า อ่านหนังสือ หาความชำนาญต่อไปเถอะครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-08-27 , Time : 20:31:54 , From IP : 172.29.3.227

ความคิดเห็นที่ : 11


   เห็นด้วยกับอาจารย์นกไฟค่ะ เพราะว่าตอนที่ไป รพช ได้ไปเฝ้าสังเกตการณ์ที่ ER ก็รู้สึกตื่นเต้นค่ะ ตอนนั้นไม่มีความรู้อะไรซักอย่าง อาศัยว่าได้เห็น case ที่ซ้ำๆกัน ดูการ manage ของพี่ และอาศัยว่าพก pocket book ไปช่วยแก้ความสงสัยในตอนนั้นแล้วค่อยกลับมาดูรายละเอียดทีหลัง หากสิ่งที่เราอ่านได้จากหนังสือตรงกับประสบการณ์ที่เราได้เห็นจะทำให้เราจำได้มากขึ้น หากไม่ตรงกันก็จะทำให้เราได้เรียนรู้ความแตกต่าง เหตุผลของการรักษาคนไข้ในแบบต่างๆ เพียงได้เข้าใจเหตุ-ผล ของสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง แค่นี้ก็รู้สึกว่าสนุกแล้วค่ะ

Posted by : ปี 4 , Date : 2004-08-28 , Time : 02:45:31 , From IP : 203.148.180.7

ความคิดเห็นที่ : 12


   การเรียนโดย "บริบท" จริงนั้นสำคัญที่สุดของการฝึกอบรมเป็นแพทย์

เรายังอยู่ห่างจากยุคที่รักษาผ่านโทรศัพท์ หรือ virtual clinic อีกพอสมควร (และไม่ได้หมายความอยากให้มียังงั้นด้วย) ฉะนั้น Hands-on นี่สำคัญมากครับ guarding rigidity ท่องไปเท่าไหร่ก็ไม่มีความหมายถ้าเราไม่รู้ว่าจริงๆแล้วจะเห็นเป็นเช่นไร สุดท้ายก้สั่ง CT scan เพื่อวินิจฉัย peritonitis ถ้าไม่มี CT ก็เสร็จ

ถ้าน้องมีโอกาสเปรียบเทียบ short note โรคต่างๆในการ approach ในการรักษา ในการสั่ง investigation จะพบว่ามีรายละเอียดมากมายที่พี่ทำ ที่อาจารย์ทำ ที่ไม่ได้มีการพูดถึงไว้ในชั่วโมงบรรยาย ตอนสอนสัมภาษณ์ผู้ป่วย ไม่มีใครบอกว่าอยู่ๆผู้ป่วยร้องไห้โฮมาจะต้องทำยังไง หรือผู้ป่วยโกรธหมอ ทะเลาะกับหมอแล้วต้องทำยังไง หรือเวลาที่พ่อแม่พึ่งสูญเสียลูกจากอุบัติเหตุ เราควรจะทำยังไง หรือเวลาผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาของหมอ เราจะแจ้งข่าวให้ทราบอย่างไร การเป็นแพทย์นั้นต้องการมากกว่า contents และต้องการการพัฒนาส่วนการรับรู้ของอารมณ์ความรู้สึกอย่างมาก virtual reality หรือโลก internet อาจจะไม่ใช่เวทีที่ดีที่สุดที่เราจะพัฒนาความชำนาญตรงนี้ให้เกิดขึ้น

หอพักนั้นอุ่นสบาย relax มี internet ทำรายงานสะดวกก็จริง แต่บริบทส่วนที่สำคัญที่สุด what going on that relevant นั้นมันเกิดขึ้นที่อื่นครับ ใกล้ๆกับหอนี่แหละ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-08-28 , Time : 12:10:26 , From IP : 172.29.3.104

ความคิดเห็นที่ : 13


    ประเด็นของน้องอยู่ที่ว่าจะรู้ได้อย่างไรว่าเราชอบเรียนแพทย์สาขาไหน และจะเลือกเรียนต่อสาขาใด
ตอบยากเหมือนกันครับ โดยเฉพาะถ้าการตัดสินใจนั้นเป็นสิ่งสำคัญเป็นเรื่องใหญ่ในชีวิตเรา
และจนกว่าเราจะได้สัมผัสกับสิ่งนั้น ได้พบกับสิ่งที่ดีและสิ่งที่ไม่ดีที่มีอยู่ในสิ่งนั้น แล้วเราจะให้คำตอบได้ว่าเราชอบสิ่งนั้นหรือเปล่า....
ถ้ายังไม่แน่ใจ การออกไปทำงานก่อนแล้วค่อยกลับมาเรียนต่อก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้สายตาเรากว้างขึ้น รู้จักตนเอง รู้จักคนอื่น รู้จักสังคมมากขึ้น เวลา 3ปี สำหรับการใช้ทุนจะเป็นช่วงที่เราจะพักหลังจากตรากตรำมาอย่างหนัก 6 ปี เป็นช่วงการเก็บเงินและจะได้เรียนรู้เรื่องชีวิตมากขึ้น
ต้นไม้จะให้ดอกที่สวยงามได้ก็ต้องอาศัยเวลา ต้องเป็นไปตามขั้นตอน ตามธรรมชาติของมันเมื่อถึงเวลาก็ให้ดอกที่สวยงาม ชีวิตคนก็เช่นกัน ...
ถ้ามั่นใจและมีเป้าหมายที่ชัดเจนก็เลือกไปเลยครับ ไม่เสียเวลา ไม่เสียโอกาส ถ้าไม่แน่ใจลองไปเป็นหมอใหญ่ที่โรงพยาบาลเล็กๆดูก็จะได้อะไรมากเช่นกันครับ


Posted by : อดีตหมอบ้านนอก , Date : 2004-08-28 , Time : 16:53:13 , From IP : 172.29.3.253

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.007 seconds. <<<<<