ความคิดเห็นทั้งหมด : 16

เรียนgross anatomy เเละ lecture ไม่เข้าใจจะทําอย่างไรดี


   


ได้เข้าห้องกลอสครั้งเเรกตื่นเต้นมากเเละทําได้ยังไม่ดีส่วนวันนี้ที่เรียนไปอ่านสรีวิทยาไม่รู้เรื่องอย่างยิ่งยากมากรู้สึกเริ่มเเย่เเล้วละว่าเรียนลําบากเเล้ว เห็นเพื่อนเราในห้องเดียวกันขยันมากยังสอบได้ไม่ดีเลยรู้สึกท้อใจเหมือนกันไม่คุ้มกับการที่อาจารได้ตั้งใจสอนเลยเเละยิ่งไม่คุ้มกับความเสียสละของท่านอาจารใหญ่ที่อุทิศร่างให้ เราจะเป็นหมอที่ดีได้ปะเนี้ย เราเครียดจริงๆๆๆนะเพื่อนๆกําลังพยายามอยู่ขอพี่ๆอาจารเเนะนําการเรียนปี2ด้วยนะครับลําบากจริงๆ


Posted by : cephalon , Date : 2004-08-24 , Time : 15:48:39 , From IP : 172.29.2.196

ความคิดเห็นที่ : 1


   ไม่รู้ว่าถ้าพี่บอกว่าที่น้องรู้สึก "เป็นเรื่องธรรมดา" จะช่วยรึเปล่านะครับ แต่มันเป็นเรื่องธรรมดาจริงๆ

Scale ของความกว้าง มาก ลึก ของสิ่งที่เคยเจอตอนปีหนึ่ง และมัธยมนั้น ไม่สามารถจะเปรียบได้เลยกับ contents ของวิชาแพทย์ preclinic ไม่ว่าจะเป็นกายวิภาค สรีระ ชีวเคมี histology embryology ฯลฯ ดังนั้นถ้าไม่ genius มาแต่กำเนิ เป็นใครก็จะรู้สึกเหมือนกันคือ "มึน" ไปหมด

แต่อย่างน้อยที่สุดที่น้องมึนนั้น เป็นแววที่ดีครับ เพราะแปลว่าน้องได้ลอง "จุ่ม" หัวลงไปสัมผัสกับมหรรณพห้วงนี้ดูด้วยตนเองแล้ว นั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี อันดับต่อไปคือการ organize แผนการยุทธศาสตร์ของเราที่จะกลืนความรู้มากมายนี้เข้าไปให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

เรื่องของเรื่องคือน้องจะต้องถูกประเมินความส่วนเป็นระยะๆ ตลอดปีการศึกษา (และตลอดการเรียนแพทย์) เราสามารถจะใช้ตรงนี้ในการวางแผน (และเป็นแผนที่ตลอดการศึกษาจนจบ) คือ curriculum mapping หรือ objectives ของแต่ละ block แต่ละ section ว่านั้นคือ "ขอบเขต" ของอะไรที่เราพึงรู้ ต้องรู้ ควรรู้ จะพบว่ามันไม่เยอะอย่างที่เราลองแบกคอน Cunningham Anatomy หรือ Grant Atlas ทั้งเล่ม หลายๆเรื่องที่ต้องใช้เวลาย่อยนาน ลองใช้วิธีจัดสรรแบ่งปันช่วยกันเรียนกับเพื่อนๆในกลุ่ม เฮ้ย ย่อยเสร็จแล้วมาบอกกันบ้างตะ เพื่อนจะช่วย simplify บางบทเรียนและย่นเวลาเรียนของซึ่งกันและกันลงได้

อย่าคิดว่าการติวให้เพื่อนทำให้เราเสียเวลานะครับ การติวทุกครั้ง คนที่ได้ประโยชน์มากที่สุดคือ "คนติว" เอง เพราะการย่อยส่วนที่สำคัญที่สุดคือการ elaborate เนื้อหาที่เราอ่าน ออกเป็นภาษาของเราเอง

ลองคิดดูอีกอย่าง เราก็สิบนิ้วเท่าๆกับหมอรุ่นพี่ ร่นพ่อ รุ่นปู่ เขาทำได้ เราก็ทำได้ เอาฉันทะ วิริยะ จิตตะ มาเป็นตัวตั้ง




Posted by : Phoenix , Date : 2004-08-24 , Time : 16:43:47 , From IP : 172.29.3.228

ความคิดเห็นที่ : 2


   รู้สึกมั้ยว่าเวลาไม่ค่อยพอน่ะ ไหนจะ lec ไหนจะ pbl
ถ้าอยากรู้อะไรละเอียด หรือนอกเหนือเนื้อหาก็ทำแทบไม่ได้เลย(แค่ที่เรียนก็จะไม่ทันแล้ว....)
พอมาต่อนสอบก็เร่งอ่านกันแค่ที่จะออก รายละเอียดอะไรก็ทิ้งหมด(จริงๆก็จะละเอียดที่ตรงโพย...ถ้าทัน) อย่างบล็อกอิมมูน sdl ไม่ต้องพูดถึงเลยทิ้งกันเกือบหมด อ่านกันแต่โพย พอสอบเสร็จก็ลืมเกือบหมด เรื่องที่จะใช้เวลามาทวนก็คงเป็นก่อนสอบคอมพลีโน่น ถึงตอนนั้นไม่รู้ว่าจะเหลือความรู้เท่าไหร่แล้ว.......ทำไงดี......


Posted by : Um..... , Date : 2004-08-24 , Time : 18:40:47 , From IP : 172.29.2.105

ความคิดเห็นที่ : 3


   ถ้าเป็นคนความจำสั้นแบบพี่ sureแน่นอนไม่เหลืออะไรที่เป็นcontentมากหรอก แต่พี่จะเหลือแกน หรือkey wordสำคัญของแต่ละเรื่องไว้และรู้ว่าที่เหลือนอกเหนือจากนั้นต้องเปิดอ่าน ซึ่งรู้ว่าจะอ่านได้ที่ไหน น้องไม่ต้องตกใจหรอก พี่ยกตัวอย่างง่ายๆในแบบของพี่ ซึ่งอาจเป็นน้องในอนาคตตอนอยู่ชั้นคลินิก พี่จะมีshort note แกนหลักของแต่ละโรคไว้ และแนวการรักษาคร่าวๆมาก แต่พอเจอคนไข้จริงๆในตอนฉุกเฉิน พี่ก็จะมีแกนไว้สำหรับดูแลผู้ป่วยในเบื้องต้นก่อน ส่วนทัพหลังก็เพื่อนพี่เองเป็นคนอ่านข้อมูลเพิ่มเติม แล้วบอกกันเป็นระยะ แบบว่าต้องช่วยกันจริงๆเลย แล้วหลังจากนี้ถ้าเจอcaseแบบเดิมอีกก็สบายแล้วทั้งเราและเพื่อน ที่สำคัญกลุ่มพี่ช่วยกันได้เพราะมันช่วยกันมาตลอดตั้งแต่ชั้นปรีคลินิกแล้วมันเลยช่วยกันตลอดไป
ที่พยายามพูดมาก็เพื่อน้องไม่ต้องกังวลมากว่าถ้าตรงนี้จำอะไรไม่ได้ เรียนอะไรไปแล้วพอสอบผ่านก็ลืมหมด ไม่ได้บอกว่าอนาคตตายแน่ okไหม แล้วค่อยว่ากันต่อนะ


Posted by : pisces , Date : 2004-08-24 , Time : 19:32:39 , From IP : 172.29.3.240

ความคิดเห็นที่ : 4


   น้องเข้าใจถูกต้องที่สุดแล้วครับ ที่ว่าเนื้อหาหลายวิชาในขณะนี้ นักศึกษาจะ "ไม่สามารถ" อ่านรายละเอียดหรือค้นคว้าอะไรที่ updated ให้ทันภายในเวลาที่มีอยู่นี้ได้

ยุคนี้ basic sciences หลายวิชากำลังอยู่ในยุคบูมของความรู้ และเนื้อหา concept หรือ แนวคิดมาตรฐาน ขนาดคนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ หรือ อยู่ในวงการที่ศึกษาแนวลึก ยังพบว่าความรู้ใหม่มันงอกงามรายวัน ฉะนั้น ฟัง conference จะช้ากว่า Updated ประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี อ่าน journal จะล้าหลังกว่า conference ประมาณ 1-2 ปี อ่าน textbook ก็จะล้าหลังประมาณ 3-5 ปี ถ้ารอแปลเป็นไทยก็อาจจะช้ากว่านั้นออกไปอีก

ในกรณีนี้น้องคงต้องพึ่ง "เกณฑ์ขั้นต่ำ" หรือ "learning objective" ณ เวลานั้นๆ block นั้นๆ ว่า "เอาแค่ไหน" นี่จะเป็น priority นะครับ เอาตรงนี้ให้สำเร็จก่อนเพื่อน หลังจากตรงนี้สำเร็จ ทีนี้ใครจะเก็บรายละเอียดตรงไหน ใครจะหาอ่านนอกเหนือจากที่ assigned ไว้ก้ทำไปเลย แต่ไม่ต้อง guilt หรือเสียใจถ้า set ให้เกินไม่ได้ หรือเก็บรายละเอียดยังไม่ได้ รับรองว่าตอนขึ้น clinic ของพวกนี้จะกลับมาเป็นปัญหาซ้ำๆให้ทบทวนเอง

น้องอาจจะรู้สึกว่า "ปัญหา" ในขณะนี้มันใหม่เยอะมาก เป็นธรรมดาครับ เพราะน้องอยู่ปีสอง นี่เป็นปีแรกของการเรียนเนื้อหาแพทย์ก็ว่าได้ ชีวิตการเรียนแพทย์นั้นยาวเป็นสิบปี ไม่ใช่เพียงแค่ 6 ปี ได้ พบ. แล้วก็จบกัน อีกวิธีที่จะนำมาใช้เป็นแรงบรรดาลใจในการคงความรู้คือ ลองจินตนาการว่าเราหวังจะให้นักศึกษาแพทย์แต่ละคนมีความรู้ความสามารถขนาดไหน พอที่เราจะฝากพ่อ ฝากแม่ ฝากพี่น้องครอบครัวให้ดูแลรักษา ฉันใดก็ฉันนั้น เพื่อนเราก็คงจะหวังอย่างเดียวกับที่เราหวังเช่นกัน



Posted by : Phoenix , Date : 2004-08-24 , Time : 19:33:25 , From IP : 203.156.43.205

ความคิดเห็นที่ : 5


   อดทนน้อง อดทน ถ้ายังไม่มีแนวทางแก้ปัญหาที่ชัดเจนให้ใช้วิธีอดทนสู้กับมันไปก่อน อ่านแล้วจำไม่ได้ก็ลองอดทนอ่านซ้ำ เมื่อได้แนวทางที่คิดว่าอาจแก้ปัญหาได้ก็ลองทำดู ถ้าเห็นว่าดีก็จำไว้ ถ้าไม่ดีหรือไม่เข้ากับตัวเราก็ลองเปลี่ยนดูอีก แต่ส่วนใหญ่แล้วปัญหาในช่วงเรียนpreclinicสามารถแก้ได้ด้วยการอ่านทบทวนหลายรอบ
จำไว้ว่า ความอดทนมีรสขม แต่ผลของความอดทนมีรสหวาน



Posted by : megumi , Date : 2004-08-24 , Time : 22:18:08 , From IP : 172.29.3.226

ความคิดเห็นที่ : 6


   ไม่แปลกครับที่เรียนแล้วจะไม่เข้าใจ (ขืนเข้าใจหมดล่ะก็ ไม่ต้องมาเรียนก็ได้) จากประสบการณ์ของพี่ พี่ก็มึนเลยแหละวันแรกๆ ที่เรียน Gross ไม่รู้ว่าจะจับตรงไหนดี แต่พอเรียนไปซักพับก็จะเริมปรับตัวได้ วิธีทางที่ดีที่สุดคือ ควรจะเข้าเรียน Lecture แล้วตั้งใจฟังอย่างเต็มที่ ดูว่าอาจารย์ต้องการเน้นตรงจุดไหน (ส่วนใหญ่ที่ออกข้อสอบก็ตรงนี้แหละ) เนื่องจากไม่มีใครหรอกที่จำได้หมดทุกเรื่อง (อันนี้ต้องใช้ประสบการณ์ตัวเอง) แล้วก็ไปทำความเข้าใจซะ ส่วนเรื่อง Gross นั้นควรจะอ่านไปด่อนเข้าห้อง ดูว่าในวันนี้ต้องดูอะไรบ้าง มีจุดประสงค์อะไร ส่วนหนังสือ Gross ก็แนะนำให้อ่าน Netter หรือไม่ก็ Grant's ซึ่งเป็นภาพวาดที่ดูแล้วเข้าใจง่าย โดยอ่านพร้อมกับดูภาพ เนื่องจากคนเราสามารถเข้าใจภาพได้ดีกว่าตัวหนังสือน่ะ ไม่ต้องไปเครียดมาก หาเวลาพักผ่อนบ้าง

Posted by : SMC Med29 , Date : 2004-08-25 , Time : 20:09:18 , From IP : 172.29.2.201

ความคิดเห็นที่ : 7


   สมัยก่อนตอนผมเรียนปีสอง Gross Anatomy เป็นวิชาที่เรียนทั้ง lectures and lab "ตลอดปี" สอง แซมกับวิชา basic อื่นๆ เช่น สรีรวิทยา ชีวเคมี embryo histology ทั้งหมดมีสอบ ฉะนั้นหลังจากประมาณหนึ่งเดือนแรก เราจะมีการสอบไม่วิชาใดก็วิชาหนึ่งทุกอาทิตย์ เป็นปีที่ผม upgrade coffee จาก 1 ช้อน เป็น สอง สาม สี่ จนกระทั่ง initial dosage มาค้างอยู่ที่ 6 ช้อนต่อถ้วย และต้อง maintenance อีก 3 ทุกๆประมาณ 6 ชม. อันนี้ไม่ใช่ recommended solution สำหรับคำถามของน้องนะครับ เอาเป็นเวลาเนื้อหามันเยอะ และเป็น pure memory ก็ว่าได้ (ไม่ต้องไปหาเหตุผลว่าใครเป็นคนตั้งชื่อ medulla oblongata หรือทำไมตรงถึงเรียก colliculus จำไปตอบเวลามีไม้จิ้มฟันปักให้ identify ให้ได้ก้แล้วกัน)

ทีนี้ memory management นั้นมีหลาย styles ครับ บางคนเปลี่ยนเป็นภาพ เป็น diagram ก่อน บางคนใช้วิธีต้องจด Lecture เองจึงจำได้ (พวกนี้เป็นที่พึ่งต่อเพื่อนๆ อย่างอนันตคุณ) บางคนขอฟังเวลาเพื่อนทวนดังๆ บางคนท่องซ้ำแล้วซ้ำอีก บางคนลอก lecture ของตัวเองใหม่อีกรอบ บางคนก็เน้น Lab เน้น dissecion เพราะคิดว่า hand-on จะช่วยให้จำได้ดีขึ้น ไม่การันตีครัว่าแบบไหนดีกว่าแบบไหน ผมว่ามันเป็น preferences ส่วนบุคคล

เดี๋ยวนี้อย่างนอยผมเข้าใจว่ามันมีบริบทประกอบเป็น case เช่นมีดจิ้มหน้าอกใต้ราวนมซ้ายไป คนไข้บิดตัวเจ็บ หายใจขัดๆ หน้าเขียวๆ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ผมว่ามันก็น่าสนใจดี

การหาตำราภาษาไทยอ่านก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีครับ ผมว่าพวกเราส่วนใหญ่ ยังไงๆก็อ่านไทยเร็วกว่าอ่านอังกฤษ ฉะนั้นใน crisis ที่เกี่ยวเนื่องกับ "เวลาจำกัด" อะไรที่เพิ่ม speed ได้ก็จะช่วย แต่ทั้งนี้เราก็ต้องเห็นความสำคัญ (อย่างยิ่งยวด) ที่จะต้องอ่านอังกฤษ และเพิ่มความเร็วในการเอาความรู้จากภาษาอังกฤษให้ได้ เพราะในระยะยาวเราจะหาหนังสือตำราภาษาไทยที่ทันสมัยยากขึ้นเรื่อยๆ (มันไม่คุ้มที่จะแปลบางวิชา เพราะมันจะล้าสมัยเกินตอนแปลเสร็จ)

ช่วยกันอ่านแล้วมาย่อให้ฟังก็เป็นกลยุทธประหยัดเวลาอีกวิธีนึง หา prototype lecture ที่ลายมือสวยๆ จดครบทุกคำพูดก็จะเสริมพวกที่มีปัญหาจดไม่ทัน บางวิชาก็ใช้ซ้ำของรุ่นพี่ได้นะครับ เพราะอย่างกายวิภาคนี่ มันไม่มีอะไรค้นพบใหม่ๆหรือเปลี่ยนรวดเร็วทุกปี (เหมือนอย่าง immunology, genetics) ที่ร้าน Photocopy ท่าน้ำศิริราชมีต้นฉบับ Lecture ของวิชาต่างๆจากเพื่อนในชั้นปีผมสองฉบับคือของแซม กับของมด สำหรับทุกวิชาครับ เพื่อนๆเวลาไป xerox ไม่ต้องยืมบ่อยๆ เพราะที่ร้านมี copies อยู่แล้ว แค่ไปบอกว่าจะเอา lower limb ขอแซมชุดนึง กะ histology of spleen ของมดชุดนึงก็ได้แล้ว เป็นความภาคภูมิใจของเพื่อนๆในรุ่นมาก




Posted by : Phoenix , Date : 2004-08-25 , Time : 21:58:06 , From IP : 172.29.3.211

ความคิดเห็นที่ : 8


   ตอนนี้ยังมี lecture แซมกะมด ให้xerox มั้ยครับ เออ แต่เรื่องมันนานมาแล้ว

Posted by : นศพ.ปี 5 , Date : 2004-08-26 , Time : 16:19:25 , From IP : 172.29.4.219

ความคิดเห็นที่ : 9


   ประมาณ 21 ปีมาแล้วครับ ไม่คิดว่าเหลือ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-08-26 , Time : 17:07:00 , From IP : 172.29.3.216

ความคิดเห็นที่ : 10


   ตอนเข้าห้องGross พวกเราในกลุ่มต่างมากหน้ากันแล้วคิดว่า
เราจะต้องหาอะไรบ้างละเนี่ย ในหนังสือLABเองก็บรรยายContentไว้ไม่ค่อยละเอียด ความรู้อีกมากมายที่อาจารย์เอามาเพิ่มในช่วงTalk Labเพียง20-30นาที ซึ่งพวกเราก็จำกันได้ไม่หมด...รู้สึกว่ามันยากจิงๆอ่ะครับ


Posted by : เด็กปีสอง , Date : 2004-08-26 , Time : 20:07:50 , From IP : 172.29.2.199

ความคิดเห็นที่ : 11


   จากประสบการณ์ เนื่องจากตอนเรียน Gross anatomy ผมได้มีโอกาสเป็นมือ dissect ของกลุ่ม รู้สึกสนุกที่ได้ที่ได้มีโอกาสค้นหาสิ่งที่หนังสือคู่มือต้องการให้หา ทำให้รู้สึกประทับใจ และจำ anatomy ได้เยอะพอสมควร โชคดีที่เพื่อนร่วมกลุ่มเป็นคนเก่งด้วย เขาไม่ชอบ dissect แต่ค้นคว้าข้อมูลมาเยอะ อ่านหนังสือมาละเอียด อธิบายให้เพื่อทราบ anatomy ได้ เพราะ ท่องมาก่อนแล้ว อืมม คิดดูแล้วโชคดีหลายอย่างแฮะ แบ่งงานกันลงตัว ผมก็ลงมือ dissect ไป เขาก็อธิบายไป เพื่อนๆในกลุ่มก็ดูไป อิอิ แต่ผมไม่ได้ผูกขาดคนเดียวนะครับ ก็แบ่งๆกันไป เธอลองหา nerve นั้น ลองหา artery นี้ แต่ climax ทีไรได้ทำทุกที เช่น ตอนยกปอดตัด main bronchus ,เปิด heart ,หา phrenic nerve ,เปิด abdomen , หา SMA IMA , dissect perineal ฯลฯ อูยยย สนุกจัง
...
ตอนเรียนใน lecture ก็ใช้วิธีวาดภาพไป ทำความเข้าใจไป แล้วก็ลองท่องแบบไม่ใช้หนังสือ จินตนาการในใจ ก็จำได้ดีครับ อ่อ แล้วไปเช็คด้วยว่าจำถูกแล้วยัง วิธีจำอีกอย่าง ที่พอ get จากวิชานี้ คือส่วนใหญ่ anatomy ของสิ่งบริเวณเดียวกันมักมีชื่อเดียวกัน ลองจำอะไรให้ได้ซักอย่างจะจำ content ของสิ่งที่อยู่บริเวณนั้นได้ เช่น กระดุกไหปลาร้า เราเรียกว่า Clavicle เส้นเลือดดำที่อยู่ใต้ไหปลาร้า ก็เรียกว่า Sub(-)clavian vein , ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่เหนือไหปลาร้า ก็เรียก Supra(-)clavicular lymph node ดังนั้น ทักษะการใช้ prefix และ subfix จึงสำคัญมากครับ ส่วนอะไรที่มีชื่อเฉพาะ มีอยู่น้อยนะครับ ผมว่า ชื่อพวกนี้ก็จำๆเป็นทีๆไป


Posted by : Botsumu , Date : 2004-08-27 , Time : 00:57:30 , From IP : wwwtrh.moph.go.th

ความคิดเห็นที่ : 12


   Gross Anatomy นี่เป็น pure memory จริงครับ และใครที่ไม่ถนัดท่องจำล่ะก็คงมีปัญหา

CS (concrete sequential) คงไม่มีปัญหามาก เพราะเข้า style (กระนั้น memory card ของแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน ฉะนั้น contents ขนาด gross anatomy นี่ค่อนข้างท้าทายแม้แต่คนที่ถนัดท่องจำก็ตาม) แต่พวก abstract นี่คงจะขลุกขลักทีเดียว วิธีเรียนอย่างนึงก็คือ Hands-on ครับ การทำ lab gross นี่แหละที่จะช่วย เพราะมันเกิด "บริบท" มาสนับสนุนเนื้อหา

เดี๋ยวนี้ยังมีการเสริม clinical application ลงไปด้วย ผมจำโจทย์ PBL เก่าๆ (ประมารณ 10 ปีที่แล้ว) เช่น มีดจิ้มอกใต้ราวนมข้างซ้าย เกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอก หายใจตื้นเร็ว หน้าเขียว ความดันต่ำ ทำให้ นศพ.เอาไปทำ cross section ดูว่า เอ...ไอ้ใต้ราวนมซ้ายนี่ ลึกลงไปมันมีอะไรบ้างหนอ ข้อสำคัญเกิดเห็นความสำคัญขึ้นมาว่าการรู้ anatomy นี่เกี่ยวโยงกับการวินิจฉัยโรคอย่างแยกไม่ออก เพราะฉะนั้นถึงเยอะก็เป็นสิ่งจำเป็น

นอกจากการใช้บริบทแล้ว ก้คงไม่มีอะไรดีกว่าการทำซ้ำซาก การพูดถึงซ้ำซากที่จะช่วย memory นะครับ อย่าใช้ lab talk มาเป้นกุญแจหลักในการศึกษากายวิภาคเลยครับ เพราะถ้าไม่อ่านมาก่อน ยกเว้นอัจฉริยะเท่านั้นที่จะเข้าใจกายวิภาคแต่ละ region ภายในครึ่งชั่วโมง อาจารย์หัวหน้าภาคกายวิภาคตอนผมเรียน ท่านทำมา 30-40 ปีแล้ว วันหยุดท่านยังมา dissect อาจารย์ใหญ่อยู่เลย เตรียมให้ลูกหลายศิษย์น่ะครับ อันที่ยากๆก็ทำไว้ให้เพราะท่านรู้ว่ามันต้องใช้เวลา เราเป็นลูกศิษย์ก็คงต้องไม่ยอมให้อาจารย์ขยันกว่าใช่ไหมครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-08-28 , Time : 12:29:31 , From IP : 172.29.3.104

ความคิดเห็นที่ : 13


   ผมไม่เคยมีปัญหาในการเรียน Gross anatomy หรือ วิชาอื่นๆ แม้ผมจะไม่ได้ top วิชาต่างๆก็ตามแต่ ผมก็เรียนแบบสบายๆ ก่อนอื่นต้องบอกว่าบางครั้งก็เป็นเรื่องความสามารถส่วนตัว ในการจด lecture ที่ได้ชื่อว่าพออาจารย์ขยับปากเราก็ขยับมือ และมักจะจดได้หมด รวมทั้งอ่านออกเพราะลายมือดี แต่ที่สำคัญคือต้องมีเทคนิคในการย่อเรื่องที่สำคัญ เอาไว้ เราไม่จำเป็นต้องจดทุกคำพูด (แม้ว่าผมจะจดได้เกือบหมดก็ตาม) เพราะจดเฉพาะประเด็นสำคัญ ข้อสำคัญคำไหนทีใช้บ่อยต้องมีคำย่อไว้ในใจ ซึ่งส่วนใหญ่ทุกคนจะมี จดมาแล้วกลับมาอ่านจะเข้าใจได้ดีขึ้น เพราะการฟังคำบรรยาย อาจารย์จะสรุปมาแล้ว
การอ่าน text เพิ่มเติมก็ต้องสรุปเรื่องที่สำคัญเอาไว้อ่าน เอาแต่หัวข้อ แต่หัวข้อที่เราจดเราต้องนึกเนื้อหาที่สำคัญในนั้นได้ ไม่ใช่จดแต่หัวข้อจำได้แต่หัวข้อ ซึ่งก็อาจจะไม่พอ ผมนิยมใช้ card เล็กๆ และจดเอาไว้ เก็บไว้ทบทวนตอนสอบอีกครั้ง พอขึ้นขั้นก็ยกให้รุ่นน้องไปหมด ลองทำดูครับ
ส่วนการเรียน lab gross ต้องบอกก่อนว่าเราตั้งวัตถุประสงค์ในการเรียนอย่างไร ขอให้ทำให้ได้อย่างนั้น อย่าคิดว่าเข้าไปทำ lab เพราะอยากทำ เห็นว่าเรียนแพทย์ก็เลยต้องทำ ต้องรู้ว่ากำลังทำอะไร เข่น เคยเรียนเรื่อง axillary nerve ตอน dissect ก็ต้องรู้เนื้อหาบ้างอ่าน จาก Cunningham ฉบับย่อ บ้าง ดูรูปบ้าง และ ทำกับมือ ดูกับตา จับต้อง ตามทฏษฏี จะจำได้แม่น แทบไม่ต้องท่องเพราะจะนึกภาพออก ทั้งหมด
ผมเข้าใจว่าเนื่อหามากแต่นักศึกษาแต่ละคนจะมี learning style ที่แตกต่างกันต้องพยายามปรับให้เข้ากับวิถึขีวิตของเรา จะได้ไม่เครียดและสนุกกับการเรียน
คิดว่าอาจจะไม่ช่วยให้น้องๆมากนักแต่อาจจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยครับ


Posted by : พี่คนหนึ่ง , Date : 2004-08-28 , Time : 15:51:37 , From IP : 203.155.221.253

ความคิดเห็นที่ : 14


   มันยาก
ส่วนใหญ่ฉันก็แค่สอบเอาผ่าน
พอจบมาไปเรียนอย่างอื่นดู
ก็พบว่าเรียนหมอสามปีแรกมันเป็นวิชาที่ยากจริงๆ หนักและจำโดยไม่มีเหตุผล
จนกว่าจะขึ้นward
ถ้าอดทนแล้วคิดว่าไม่ไหวจริง ไปเรียนคณะอื่นที่ถนัดกว่าจะไม่ยากเลยละ


Posted by : อืม , Date : 2004-08-29 , Time : 00:44:22 , From IP : p119-rasbkkSP3.C.csl

ความคิดเห็นที่ : 15


   ข้อสำคัญการวินิจฉัยตนเองว่า "ถนัด" อะไรก็คงต้องปรับปรุง เพราะตอนมาเข้าแพทย์ก็คงคิด คงประเมินว่าถนัดเรียนแพทย์มาแล้วครั้งนึงใช่ไหมครับ? ถ้ายังวิเคราะห์ได้ไม่ต่างจากเดิมก็อาจจะลงเอยต้องลองเปลี่ยนใหม่ไปเรื่อยๆ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-08-29 , Time : 02:40:43 , From IP : 172.29.3.221

ความคิดเห็นที่ : 16


   ผมไม่แน่ใจว่าเดี๋ยวนี้ น้องๆ ยังต้อง dissect gross anatomy กันอยู่หรือ เปล่า การได้ dissect กับมือ เห็นกับตา มันทำให้จำง่ายกว่า จินตนาการตามตัวหนังสือ หน่ะ
และอีกอย่างการใช้รูปวาด การเขียนไดอะแกรม คืออ่านแล้ว เขียนหน่ะครับ ก้อ ทำให้จำง่ายด้วยเหมือนกัน ..
หรือไม่ก็นั่ง ดู แกรนท์แอตลาส แล้ว พยายามจำ แล้ว เอามาวาด ในแบบที่เราถนัด อันนี้ก้อ น่าจะช่วยได้
แล้ว แต่ชอบวิธีใหน นี่เป็นวิธีหนึ่ง ทีขอแนะนำ ครับ


Posted by : munich , Date : 2004-08-30 , Time : 18:10:31 , From IP : 172.29.3.99

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.008 seconds. <<<<<