ความคิดเห็นทั้งหมด : 5

Histopathology แปลว่าอะไรค่ะ


   ใครรุช่วยตอบด้วยนะค่ะ ขอบคุนค่ะ

Posted by : ช่วยตอบด้วยนะค่ะ , Date : 2004-08-24 , Time : 00:11:28 , From IP : 202.133.166.48

ความคิดเห็นที่ : 1


   พยาธิวิทยาระดับเนื้อเยื่อ ?

Posted by : มั้ง , Date : 2004-08-24 , Time : 01:54:15 , From IP : 172.29.4.94

ความคิดเห็นที่ : 2


   พยาธิวิทยาจุลกายวิภาค



Posted by : Phoenix , Date : 2004-08-24 , Time : 12:14:04 , From IP : 172.29.3.104

ความคิดเห็นที่ : 3


   เวลาเขียนหนังสือ ผมมักจะใช้คำว่า จุลพยาธิวิทยา หรือ ลักษณะทางจุลพยาธิวิทยา มันอาจจะไม่พ้องนักกับรากศัพท์คำว่า histo-, histology ซึ่งหมายความถึงการศึกษาลักษณะของเนื้อเยื่อ หรือการเรียงตัวของเซลล์ การจัดระเบียบในระดับต่ำกว่าอวัยวะ
.
แต่ก็รู้สึกพ้องความตรงที่ ส่วนใหญ่การศึกษาทางเนื้อเยื่อนั้น อาศัยศึกษาผ่านกล้องจุลทรรศน์
.
จะทำความเข้าใจคำนี้ได้ดีขึ้น ให้พิจารณาจากด้านตรงข้ามของมันคือคำว่า พยาธิวิทยามหภาค หรือ gross pathology ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าตรงกับคำว่า พยาธิวิทยากายวิภาค หรือ anatomical pathology ดังที่อาจารย์วิญญู พยาธิแพทย์อาวุโสของเราท่านใช้เป็นชื่อหนังสือของท่านไหม


Posted by : shonigega , Date : 2004-08-24 , Time : 13:28:17 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 4


   Histo- เป็น Prefix แปลวว่า เนื้อเยื่อ เป็นการศึกษาระดัยเซลล์วิทยา ส่วน Pathology แปลว่า พยาธิวิยา ซึ่งศึกษาในแง่ของพยาธิสภาพต่างๆ ของร่างกาย อาจจะแยกย่อยได้เป็น
1. Gross Pathlogy - เป็นพยาธิวิยาระดับมหภาค ซึ่งดูระดับของอวัยวะ
2. Pathophysiology แปลว่าพยาธิสรีรวิทยา เป็นการศึกษาพยาธิสภาพที่เกี่ยวข้องกับการทำงานทั้งตั้งแค่ระดับเซลล์ เนื้อเนื่อ อวัยวะ และทั้งร้างกาย
3. Histopathology - พยาธิสภาพระดับเนื่อเยื่อ เซลล์
อาจจะมีสาขาแยะกว่านี้ แต่อาจจะไม่รู้ ลองไปหาเอาเองแล้วกัน


Posted by : SMC , Date : 2004-08-25 , Time : 19:57:21 , From IP : 172.29.2.201

ความคิดเห็นที่ : 5


   ดูเหมือนจะมีการ แบ่ง ที่ทำให้แยกออกไปได้อีก จริง ๆ ครับ
.
ปัจจุบันการศึกษาพยาธิสภาพในระดับเซลล์ ซึ่งกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงไปของรูปร่างลักษณะ การเปลี่ยนไปของขนาดเซลล์หรือออร์แกเนล การเปลี่ยนไปขององค์ประกอบบนเยื่อหุ้มเซลล์ ใน cytoplasm ถูกแยกออกมาศึกษาและกล่าวถึงด้วยศัพท์คำว่า
.
cytopathology
.
พัฒนาการศึกษามีรากมาจากการค้นพบปฏิกิริยาที่จำเพาะระหว่าง antigen-antibody และขยายผลมาเป็นเทคนิกการศึกษาโดยการย้อมเซลล์ด้วย specific antibody ที่ติดฉลากสีที่ปกติเรามองไม่เห็นด้วยตาและแสดงผลด้วยกล้องจุลทรรศน์หรือเครื่อง flow cytometry เครื่องมือสองอย่างหลังเมื่อได้รับการผนวกเทคโนโลยีทางเลเซอร์เข้าไป สามารถจ่ายพลังงานแสงที่ความยาวคลื่นจำเพาะไปยังเซลล์ ทำให้เราสามารถตรวจจับการจับของ antibody ได้ด้วยการตรวจวัดการคายสีจากเซลล์ที่ศึกษา
.
บางคนเรียกเทคนิกเทือกนี้ว่า immunocytochemistry ครับ
.
ที่ผมสนใจก็คือ ปัจจุบันเรื่องเหล่านี้สามารถศึกษาหาอ่านได้ใน วารสารทางศัลยศาสตร์ ครับ (ผมเขียนไม่ผิดหรอกครับ)


Posted by : Shonigega , Date : 2004-08-26 , Time : 07:48:43 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.004 seconds. <<<<<