ความคิดเห็นทั้งหมด : 9

กิจกรรม


   เนื่องมาจากการเรียกเรื่องที่ นศพในภาคใต้ไปประชุมแล้ว ให้ นศพ แต่ละจังหวัดไปประชุมเพื่อจัดกิจกรรมเกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่นขึ้นขึ้น โดย นศพ ปี 5 เป็นแกนนำ โดยส่วนตัวผมแล้วผมว่าการทำกิจกรรมเป็นเรื่องดีครับ และช่วยให้เราได้เรียนรู้อะไรหลายอย่าง เช่นการทำงานเป็น team การสื่อสาร มนุษย์สัมพันธ์ การจัดการ และได้เนื้อหาสาระจากกิจกรรมนั้น แต่โดยส่วนตัวแล้ว นะครับผมว่ากิจกรรมนี้ไม่ควรจะให้ปี 5 ลงมือเป็น main ในการทำงานเลยครับ เพราะว่าเมื่อไม่กี่วันก่อน อาจารย์เพิ่งพูดถึงความรู้ของพวกเราว่ายังไม่ดีพอ และต้องปรับปรุงอีกมาก และพวกเราก็เริ่ม in sight แล้ว และถ้าจะให้พวกผมปรับปรุงตัว ผมคิดว่าส่วนหนึ่งอาจารย์ต้องช่วยในหลายเรื่องนอกจากตัวผมช่วยตัวเอง และอย่าเอาเวลาของพวกผมไป (กิจกรรมนี้เอาเวลาพวกผมไป อาจารย์อาจคิดว่าแค่พวกเราจัดเวลาส่วนหนึ่งเท่านั้นเอง แต่โดยส่วนตัวแล้วผมว่าใช้เวลาไน้อยเลยไหนจะต้องคิดเรื่องไหนจะต้องซ้อมอีก) เพราะว่าเวลาปี 5 พวกผมเหลือแค่ 6 เดือนโดยประมาณ ถ้าเป็นจากกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมวิชาการให้พวกผมไปเข้าฟัง น่าจะดีกว่านะครับในความคิดของผม ในสถานะการของ นศพ ปี 5 ที่เนื้อหาของ block ปกติก็อ่านกันไม่ทัน แล้วยังต้องทำกิจกรรมนี้อีก ผมว่า สิ่งที่ต้องการแก้ก็ยังคงไม่ได้แก้ ปีหน้าพวกผมคงเกิดปัญหาแน่ (ในความคิดผมนะครับ priority ที่มาก่อนคือ profesional) ขอทราบความเห็นของอาจารย์ด้วยครับ


Posted by : ttt , Date : 2004-08-17 , Time : 00:21:57 , From IP : 172.29.4.39

ความคิดเห็นที่ : 1


   พี่จะรับไปติดตามเรื่องนี้ดูครับ อีกทางนึงน้องสามารถขอให้ประธานรุ่นลองเรียกประชุมวาระพิเศษดูเพื่อจะได้รับฟังความเห็นของพวกเรา และนำเสนออาจารย์ ถ้าเน้นเรื่องเรียนนี่ พี่ (คิดว่า) อาจารย์เขาน่าจะรับฟังพอสมควรทีเดียวนะครับ

ใจเย็นๆ แล้วจะหาข้อมูลมาเพิ่มให้


Posted by : Aquarius , Date : 2004-08-17 , Time : 00:43:33 , From IP : 172.29.3.219

ความคิดเห็นที่ : 2


   แต่เอ มันเป็นนิมิตหมายที่ดีหรือเปล่านะที่จะทำให้เราได้ฝึกทำหน้าที่เป็นleaderกระจายงาน ฝึกร้องขอความช่วยเหลือจากทีม และฝึกทำอะไรหลายๆอย่างในเวลาที่จำกัด เป็นการจำลองหน้าที่หมอในอนาคตงัย
โดยส่วนตัวพี่เองก็เหมือนน้องแหละ เวลามีงานใหม่เข้ามาจะมีsignal anxietyมาก จนดูเหมือนลน และยิ่งถ้าเป็นพวกต้องใช้เวลาคิดตรึกตรองอะไรมากๆ และต้องการงานที่perfectเหมือนพี่หละก็ ฮึม เครียดง่ายเหมือนกัน แต่สุดท้ายยังงัยก็ต้องมีทีมร่วมคิด มันจะทำให้เราตกตระกอนความคิดเร็วขึ้นหน่อย เราเองไม่ต้องตกใจนะถ้าคิดอย่างไรก็ไม่ได้ข้อสรุบเสียที เพราะอาจจะเหมือนพี่หรือเปล่าไม่รู้จะได้ข้อสรุปเอา2-3วันสุดท้ายที่จะต้องpresentงานทุกที แต่ถ้าเรารู้ตัว พยายามตั้งสติดีเราสามารถทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกันได้ และดีด้วย


Posted by : aries , Date : 2004-08-17 , Time : 09:26:04 , From IP : 172.29.3.175

ความคิดเห็นที่ : 3


   สงสัยต้องหา "จุดสมดุล" ครับ

เมื่อไหร่ก็ตามที่เรา "ทุ่ม" พลังงาน 100% ให้แก่กิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง แปลว่าจะเกิดการ "เสียสมดุล" ขึ้น เพราะคนเรานั้นจำเป็นต้องมีกิจกรรมหลายๆด้านจึงจะประคับประคองได้ตลอดรอดฝั่ง ถ้าขอยืม Palliative Care มาใช้ก็ได้ คือ กาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ คนทั่วๆอันสุดท้ายอาจจะไม่เด่นมาก แต่สามอันแรกนั่นต้องการความสมดุลจึงจะมี "ความสุขเบื้องต้น"

ความสำคัญของความชำนาญวิชาชีพที่น้องพูดถึงนั้นมีมากจริง แต่น้องยังต้องจัดสรรเวลามาให้เผื่อ ใจ และ สังคม ด้วย ตรงนี้ถ้าน้องจัดได้และเอากิจกรรมที่ว่านี้สวมเข้าไปให้พอดีจะดีหรือไม่? ก้เป็นทางออกอีกอย่างหนึ่ง

ได้ไม่ได้หรือมีปัญหาอย่างไร พี่อยากฟังเพิ่มเติมนะครับ


Posted by : Aquarius , Date : 2004-08-17 , Time : 11:21:26 , From IP : 172.29.3.62

ความคิดเห็นที่ : 4


   ขอแสดงความเห็นนะครับ สำหนับตัวผมเองเมื่อมองจากที่เจ้าของกระทู้และอาจารย์แสดงความคิดเห็นผมว่า ทั้ง 2 ฝ่ายพูดเรื่องเดียวกันเพียงแต่มองกันคนละมุมและ actionของแต่ละคนในสถานการณ์ที่ประสบเนี้ป็นคนละบทบาท และบทบาทแต่ละคนก็ต่างกัน ดังนั้นความคิดเห็นที่ออกมา จึงเป็นการพูดเรื่องเดียวกันแต่เป็นคนละแง่มุม และดูเหมือนจะไม่ไปด้วยกัน ฝ่ายเจ้าของกระทู้เป็น นศพ. ที่ background แล้วอาจประสบปัญหาเรื่องการเรียน severity จากmildจนไปถึงsevere อาจต้อง admit ICU ในอนาคตผมไม่แน่ใจว่าคนตั้งกระทู้จัดในกลุ่มไหน ในส่วนอาจารย์ที่มี background เป็นอาจารย์ฝ่ายกิจกรรม(ผมคิดว่าชอบทำกิจกรรมด้วย) นศ ต้อง feed กิจกรรมให้ นศ เพื่อที่จะบรรลุวัตถุประสงค์(อาจจะเป็นที่คณะกำหนด???)ที่ตั้งไว้ (ผมไม่ได้หมายความว่าการทำกิจกรรมไม่มีประโยชน์นะครับ) จากเบื้องต้นผมมองว่าแค่ character ของ 2 ฝ่ายต่างกันแล้ว เมื่อมองลงไปที่ ตัวกิจกรรม นศ เป็นฝ่ายทำแต่ อาจาย์เป็นฝ่ายคิดและ feed
ทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายมอง priority ไม่ตรงกัน เช่นถ้าฝ่าน นศพ. มีปัญหาเนื่องการเรียนในระดับ severe (มองจากที่อาจารย์พูดในการเรียกประชุมผมว่าอาจ severe จริง) จึงมองในแง่มุมที่ว่าน่าจะทุ่มให้การเรียนมากกว่าเพราะแค่เรียนธรรมดาดูยังไม่เข้าท่า ถ้าต้องแบ่งเวลาอีกคงตายแน่เพราะไม่ได้ไปซ่อมแซมความรู้ที่ยังบกพร่องอยู่ ส่วนฝ่ายอาจารย์ผมมองว่าอาจารย์คงเป็นฝ่ายกำหนดแผนงานของ กิจการ นศ feed งานให้ นศ (เพื่อให้ นศ พัฒนาตัว นศ ในเรื่องอื่นๆ นอกจากเรื่องรียน จากกิจกรรมที่ได้ทำ) ผมมองว่าทั้ง 2 ฝ่ายมีจุดประสงค์ร่วมกันคือพัฒนา ศักยภาพ นศ แต่ถ้าเราลองกลับบทบาทกัน เปลี่ยนโจทย์เป็น นศ. เรียกร้องให้อาจานรย์มาสอน lecture เรื่อง... ( จะเห็นว่าจุดประสงค์พัฒนาศักยภาพ นศ) แต่คราวนี้อาจาย์ฝ่ายเตรียมงาน (ต้องลงทุนเตรียม lecture นอกเวลาเพื่อที่จะมาสอนทั้งที่ตัวเองมีงานประจำ) ผมว่ามันน่าคิดเหมือนกันว่า oK. ??? เพราะในใจแต่ระคนเรียง priority ไม่เหมือนกัน เพราะหน้าที่เราต่างกัน background เราต่างกัน จนบางครังเราจึงดูเหมือนว่าพูดเรื่องกัน แต่ไม่เคยคุยกันรู้เรื่องสักครั้ง


Posted by : ขอแสดงความเห็นด้วยคน , Date : 2004-08-18 , Time : 07:11:15 , From IP : 172.29.4.39

ความคิดเห็นที่ : 5


   คิดว่าอย่างนี้จ้า ที่ผ่านมาคงไม่ได้พูดเพื่อต้องการให้เด็กทำกิจกรรมเพี่อสนองตอบต่อใคร แต่กำลังพูดถึงการจัดการกับanxiety signalที่เกิดขึ้น เมื่อนักศึกษาเผชิญกับความเป็นจริงจนมีinsightแล้วว่าตนเองด้อยเรื่องprofessional skillแล้วทำให้เสียselfจนต้องพยายามตัดทุกอย่างที่เข้ามาในชีวิต โดยเฉพาะเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับวิชาการ
โดยส่วนตัวคิดว่าเรื่องที่เขาต้องpresentมันเป็นเรื่องของตัวตนของเขาที่ถูกหล่อหลอมมาจากคุณค่าของจังหวัดเขาที่มี เป็นไปได้ไหมว่ามันอาจเพิ่มความมั่นใจในเรื่องselfของเขาที่มันกำลังสูญหายไป และอีกอย่างอาจจะยังพูดไม่หมด sessionต่อไปพวกพี่กำลังเตรียมช่วยพัฒนาเรื่องการเรียนของนศ แน่นอน ทำอย่างไรให้เรียนกับคนไข้บนwardได้อย่างมีความสุข คงประมาณกลางเดือนหน้าไม่ใช่ว่าพี่ไม่รู้ว่ากำลังเป็นทุกข์ อดใจรอหน่อยนะ


Posted by : aries , Date : 2004-08-18 , Time : 07:32:35 , From IP : 172.29.3.237

ความคิดเห็นที่ : 6


   ผมเห็นด้วยว่าสาเหตุสำคัญประการหนึ่งของความไม่เห็นด้วยก็คือการยืนมองต่างมุมในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

ถึงแม้ว่าเราจะรู้จุดนี้และมีการฝึกหัดมองกว้างเพียงไร มันก็ยังไม่สามารถมองได้ทั่ว และโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ยากกว่าคือมองได้ลึกในแง่มุมที่เราเองแทบจะไม่เห็นหรือไม่เห็นเลย นั่นก็จะตรงกับคำ severity นั่นแหละครับ

ทีนี้จะทำยังไง

Life goes on ครับ ความกังวลหรือภาระหน้าที่ความรับผิดชอบวันนี้มันไม่ได้ต่างจากเมื่อวานทันทีทันใด และการจะแก้ไขปัญหาก็ไม่ใช่เรื่องที่จะมี magic bullet มาปลุกเสกให้หายไปได้ ตรงนี้กลไกในการ cope กับ stress จึงสำคัญ และเราจะต้องใช้กลไกนี้ไปตลอดทั้งชีวิตครับ

การที่รู้ว่าเราจะต้องพยายาม หรือสร้างประสบการณ์มากขึ้นในการเรียน ไม่ได้แปลว่าเราจะต้องตัดขาดชีวิตด้านอื่น การที่จะมีประสบการณ์นอกหลักสูตรเข้ามา ก็ไม่ได้แปลว่าจะต้องโยนหนังสือทิ้ง การกระจายงาน การแบ่งแยกความหนักเบา จะทำให้เราใช้ชีวิตได้มีสีสันหลากหลาย และเป็นคนมี "มิติ"

ผมแนะนำว่าทั้งสองฝ่ายอย่ามองเป็นฝ่ายเลยครับ เอาโจทย์มาตั้งตรงกลางและเราเดินดูรอบๆทุกมุมด้วยกัน โจทย์ตอนนี้ทีสองเรื่องคือ ๑) clinical performance ของหลักสูตรแพทยศาสตร์ และ ๒) ความสมดุลในการเสริมสร้างบุคิกภาพการเป็นคนที่เต็มตัว เป็นผู้ใหญ่ที่มีความชำนาญชีวิตในด้านต่างๆครบถ้วน มองเลยไปที่ "ผล" ที่เกิดจากการสมดุล ไม่ใช่ผลที่เกิดจากด้านใดด้านหนึ่งด้านเดียว

ที่สุดแล้วเราจะมาอยู่ในชุมชนเดียวกัน เป็นเพื่อนร่วมอาชีพกันอยู่ดีแหละครับ


Posted by : Aquarius , Date : 2004-08-18 , Time : 08:59:01 , From IP : 172.29.3.216

ความคิดเห็นที่ : 7


   หนูtttจ๊ะ responseหน่อยสิว่า เวลาผ่านไป2วันแล้ว ซึ่งดูเหมือนสั้น แต่จริงๆในความรู้สึก ที่รับรู้ มันคือช่วงเวลาแห่งความทุกข์ที่ยาวนานเหลือเกินมันผ่านไปในสภาพการณ์ไหนแล้ว และตอนนี้ anxietyลดลงหรือยังหรือยังคงอึมครึมเป็นทุกข์อยู่เหมือนเดิม แล้วเราจะอดทนรอเวลาให้ช่วงวิกฤติแห่งอารมณ์นี้หายไปไหวไหม ยังงัยมันก็ต้องไหวนะ เป็นกำลังใจให้ สู้ๆๆๆๆๆๆจ้า

Posted by : aries , Date : 2004-08-18 , Time : 10:25:54 , From IP : 172.29.3.175

ความคิดเห็นที่ : 8


   ความรู้สึกตอนนี้ คงรู้สึกเหมือนตัวเองไม่ค่อยมีความรู้สักเท่าไร พยายามผ่านไปให้ได้ครับ ถ้าถามผมว่ามี anxiety ไหมผมว่าคงมีครับแต่ถ้าคิดว่ามันเป็นแรงกระตุ้นให้ผมอ่านหนังสือก็คงดีครับ ตอนนี้ผมพยายามหาวิธีเรียนให้สนุก แต่ยังค้นพบไม่เจอ ซึ่งผมคิดว่าเรื่องนี้คงต้องช่วยตัวเองครับ ขอบคุณครับอาจารย์

Posted by : ttt , Date : 2004-08-19 , Time : 17:30:17 , From IP : 172.29.4.39

ความคิดเห็นที่ : 9


   มีอาจารย์ท่านหนึ่งบอกกับพี่ว่า การเปิดหาอ่านความรู้จากหนังสือ หรือinternetนั้นง่ายจะเปิดเมื่อไหร่ก็ได้ไม่มีการขัดขืน แต่การค้นหาข้อมูลความจริงเพื่อมาแปลงเป็นความรู้จากคนไข้เนี่ยสิ ท้าทายกว่าเยอะ เราเชื่อไหม
เพราะมันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย บางครั้งที่พวกเราเจอออกบ่อย ใช่ไหม ก็คือพยายามบังคับให้คนไข้เปิด (เหมือนเปิดหนังสืองัย) ให้เล่าเรื่องราวข้อมูลต่างๆ แต่ไม่ได้รับความร่วมมือ ขัดขืน อือ มันก็ทำให้เรารู้สึกแย่ เสียself ท้อถอยได้เหมือนกัน ว่ามั้ย แล้วสุดท้ายเราก็ไม่สนุก ก็กลับไปอ่านหนังสือเอาเองดีกว่าเพราะง่ายกว่าเยอะ แต่ว่าความทุกข์มันก็จะตามมาอีกจนได้ว่ามั้ย เพราะperformanceไม่ผ่าน นึกว่าอ่านหนังสือทราบหลักการ เห็นแบบคนอื่นทำแล้วไม่น่ายาก แต่พอตนเองทำเอาเข้าจริงๆ มึนไปเหมือนกันแบบพูดไม่ค่อยเก่งไปเลย
ความรู้จากตำราเนี่ยแหละของตาย ไม่ดิ้นหนีไปไหน มีvariationน้อย อ่านเมื่อไหร่ก็ได้ แต่จากคนไข้เนี่ยสิสำคัญที่สุด หนูtttต้องมีแรงกระตุ้นจากanxietyที่มีให้ผมพยายามเรียนรู้จากคนไข้ด้วยนะ
ว่าแต่ เราค่อยเจอกันต่อดีไหม ว่าจะเรียนกับคนไข้ให้สนุกได้อย่างไร และยอมเปิดประตูคุยกับเราและเราจะแปลงข้อมูลจากคนไข้ที่ได้เป็นความรู้ยังงัยดีนะ okนะจ๊ะคนดี


Posted by : aries , Date : 2004-08-20 , Time : 07:17:32 , From IP : 172.29.3.217

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.006 seconds. <<<<<