ความคิดเห็นทั้งหมด : 19

Debate LXXIII: Clinical Skill สอนตอนไหน? เรียนตอนไหน? และประเมินตอนไหน?


   มีข่าวล่ามาเร็ว (หรือช้าหว่า?) ว่าถ้าจะมีอะไรที่นักศึกษาแพทย์ มอ. ควรจะปรับปรุง โดยความเห็นของ customers (แพทย์พี่เลี้ยงนักศึกษาแพทย์เวชปฏิบัติโรงพยาบาลสมทบ) หนึ่งในรายการนั้นคือ "การทำงานกับผู้ป่วย" ได้แก่ การซักประวัติ การตรวจร่างกาย และปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วย

จริงอยู่การประเมินเป็นแบบ subjectives และจะว่าไปอาจจะเป็น asystematic และเครื่องมืออาจจะไปได้ validated รวมทั้งผลที่ได้ ต่างจากที่เราเองเป็นคนประเมิน แต่ผลที่ได้ออกมาก็น่าสนใจและน่าจะมีการอภิปรายไม่น้อยลงแต่อย่างใด

เกิดมีคำถามขึ้นมาว่า ด้วยระบบการประเมินปัจจุบัน นักศึกษาของเราจำเป็นต้องมี clinical skill ขนาดไหน จึงจะถูกประเมินว่าผ่านเกณฑ์ (ของ มอ.) เสร็จแล้ว ก็อาจจะเป็นคำถามที่ได้ตั้งไว้ตรงหัวข้อ topic นั่นคือ เราสอนตอนไหน นศพ.เรียนเรื่องนี้ตอนไหนบ้าง (คำถามอย่างไรก็ขอห้อยไปด้วยทั้งคู่) และมีการประเมิน clinical performance เพื่อ ได้-ตก รึเปล่า?

กติกาเดิมครับ Be Mature, Be Positive, and Be Civilized



Posted by : Phoenix , Date : 2004-08-15 , Time : 22:55:40 , From IP : 172.29.3.238

ความคิดเห็นที่ : 1


   ถ้าไม่แน่ใจว่าการประเมินที่เป็นsubjectiveนั้นแม่นหรือไม่ แต่เราคิดว่าเรื่องแบบนี้ไม่ว่าจะเป็นการพุดคุยกับผู้ป่วย หรือการสัมผัสผู้ป่วย เป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นสำหรับการเป็นแพทย์ เราก็หาทางสอนเขา เพิ่มพูน เพิ่มเติมให้เขามากขึ้นไปกว่าเดิมก็คงไม่เสียหายใช่ไหม ไม่น่าจะเหนื่อยเปล่า ถึงแม้นเราไม่เห็นด้วยกับผลประเมินมากนัก
แต่เรื่องสำคัญ เราสอนตอนไหนและจะมีวิธีประเมินอย่างไรให้เม่น
ถ้าสมมุติว่าสภาพการในปัจจุบัน เราเรียนcaseกระดาษกันมากขึ้น round wardน้อยลง เห็นmodelการสัมผัสคนไข้ไม่มากนัก ก็น่าคิดว่าอนาคตเราจะเป็นอย่างไร คงยังไม่ต้องพูดเรื่องการประเมินหรอก
เคยมีคนตั้งถามว่าทำไมเขาต้องหาความรู้ในwardในเมื่อที่ผ่านมาบอกเขามาตลอดว่าเขาสามรถหาความรู้ด้วยตนเองโดยการหาข้อมูลทางnet หรือทางวิถีอื่นๆอีกมากมาย แล้วเขาก็ทำสำเร็จได้รับคำชม สอบผ่าน แล้วแบบนี้ก็ดีแล้วไม่ใช่เหรอซึ่งคล้ายกับว่า เขากำลังมุ่งเน้นเรื่องcognitive แต่ไม่ต้องให้เด่นเรื่องskill นั่นคือความคาดเคลื่อนของความเข้าใจหรือเปล่า ที่อาจไม่ได้รับการบอกกล่าวว่าการเรียนชั้นpreclinic และclinicนั้นต้องต่างกัน ไม่แน่ใจ


Posted by : pisces , Date : 2004-08-15 , Time : 23:30:22 , From IP : 172.29.3.250

ความคิดเห็นที่ : 2


   ผมเคยมีโอกาสคุยกับรุ่นพี่หมอต่างคณะ ต่างมหาวิทยาลัยท่านหนึ่ง ไม่นานมานี้ เลยฉวยโอกาสแลกเปลี่ยนเรื่องประสบการณ์การเรียนการสอน นศพ. เราก็ได้มีการแลกเปลี่ยน case ที่น่าสนใจ แต่ของรุ่นพี่ท่านนั้นค่อนข้างจะซสบซึ้งต่อผมมากคือ มี นศพ.ท่านหนึ่งทำได้ดีตอนชั้น pre-clinic มาโดยตลอด พอขึ้น clinic ได้ไม่กี่เดือนก็มาหาอาจารย์ที่ปรึกษาขอลาออก สาเหตุคือเขาบอกว่าไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะต้องมานั่งพูดคุยอธิบายให้กับชาวบ้านการศึกษาระดับนี้นั้นฟัง เขาทำไม่ได้ และไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร

การเรียนการสอนที่ไม่มีการประเมินนั้นทำได้แน่นอนครับ เพียงแต่เวลามีปัญหาเราจะจับต้องไม่ได้ว่าข้อบกพร่องมันอยู่ที่ไหน การประเมินนั้นไม่เพียงมีประโยชน์บอกว่าได้-ตกแค่นั้น ถ้าออกแบบดีๆ มันจะบอกได้ด้วยว่าบกพร่องตรงไหน severe ขนาดไหน และเป็น epidemic มากน้อยแค่ไหน (เป็นกลุ่ม PBL เป็น block เป็นชั้นปี หรือเป็นทั้งคณะฯ) ผมเห็นด้วยกับเรื่องความ "เร่งด่วน" ถ้า เรื่องนี้เป็นปัญหาจริงๆ แต่ขณะเดียวกันถ้าเราจะแก้ มันมีหลากหลายขั้นตอนในการแก้สำหรับเรื่องนี้เรื่องเดียว จาก resource ทั้งคน ปัจจัย และเวลา เราอาจจะต้องพยายามหลีกเลี่ยงการซ่อมส่วนที่ไม่เสีย และใช้เวลาเรื่อง diagnostic tool มากขึ้นตอนนี้ จะได้ประหยัดเวลาในขั้นต่อไป

ถ้าระบบการประเมินแต่ละ block แต่ละชั้นปี หรือ comprehensive ไม่มีการต้องการให้ นศพ.แสดง clinical skill เลย ตรงนี้ผมว่าก็มีสิทธิจะเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งของผลการประเมินที่เรารับทราบมา

ถ้าระบบการเรียนการสอน ไม่มี mandatory session หรือ assignment ที่จะเกิดผลหรือสัมฤทธิผลได้ต่อเมื่อ นศพ. ต้องสร้าง clinical skill ตรงนี้ก็มีสิทธิจะเป็นสาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่ง

ถ้าระบบการเรียนการสอนที่เน้น SDL แต่ contents ของ scenario ใน PBL หรือ CRT มากมายจนบีบให้ นศพ. ต้องใช้เวลา SDL ทั้งหมดบวกกับส่วนอื่นๆมาทำ act II ให้ทัน เวลาที่อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของ clinical skill ก็จะถูกเชือดไปเป็น content-based

บางทีถ้า attitude เป็นปัญหาหลัก การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอาจจะไม่ใช่การฑูต หรือ รัฐศาสตร์ อาจจะต้องใช้นิติศาสตร์แทน ถึงเวลานั้นอาจจะลงเอยด้วยรูปแบบที่ว่านี้ถ้าจำเป็นจริงๆ




Posted by : Phoenix , Date : 2004-08-15 , Time : 23:50:35 , From IP : 172.29.3.238

ความคิดเห็นที่ : 3


   คุณphoenixเริ่มต้นด้วยประโยคที่ว่าควรมีการปรับปรุงหรือไม่ ทำให้ผมสงสัยว่า คุณภาพของExt.ที่ออกไปนั้นลดลงหรือเมื่อเทียบกับรุ่นที่เรียนระบบเก่า
ผมจบแพทย์มาด้วยระบบเก่า ผมเห็นด้วยกับระบบการเรียนการสอนที่สอนให้นศพ.รู้จักคิดแก้ปัญหาและเรียนรู้ด้วยตนเอง ความสามารถส่วนนี้ที่ผมได้มามันเพิ่งมาได้ตอนที่ใช้ทุนอยู่ ถ้ามันเกิดขึ้นเร็วก็จะเป็นประโยชน์กับตัวนศพ.เอง
ถ้าถามถึงclinical skillตอนออกไปเป็นExtวันแรก ผมบอกตามตรงว่า ผมไม่เคยใส่tubeสำเร็จด้วยตัวเอง ไม่เคยcut down ไม่เคยใส่ICD ไม่เคยorder IV fluid ไม่เคยorderยา สิ่งที่ผมทำได้คือการซักประวัติ การตรวจร่างกาย การrพิจารณาส่งinvestigationพื้นฐานเช่น X-Ray หัตถการที่ทำได้คือการทำคลอด
สิ่งที่ผมทำได้นั้น เมื่อมาคิดย้อนหลังแล้วมันเกิดจากการทำงานในward พวกเราตามรุ่นพี่round พี่มอบหมายcaseให้ เราต้องมาดูcaseก่อนพี่ present caseให้พี่ฟัง ให้อาจารย์ฟัง การreview caseและเลือกเอาข้อมูลมาpresentเป็นตัวทดสอบได้ว่าเราเข้าใจcaseดีแค่ไหน บางครั้งสิ่งที่เราคิดว่ามีประโยชน์แต่พอพูดไปพี่กับอาจารย์กลับไม่เห็นด้วย ผมขึ้นกองศัลย์เป็นกองเเรก ผมpresent case hand injury ให้พี่ฟังในตอนเช้าว่าcase นี้severe มาก แพทย์เวรเย็บแผลไปเป็นร้อยเข็ม พี่ก็ย้อนกลับมาว่า มึงจะpresentทำไม ถ้ากูไม่ขี้เกียจกูก็เย็บได้เป็นร้อยเข็ม
ส่วนcase medนี่ กว่าจะreviewจนพอรู้เรื่องต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง
สิ่งเหล่านี้คงไม่สามารถเรียนรู้ได้จนperfectในเวลาสั้นๆ ดังนั้นถ้านศพ.คนไหนไม่เคยทำ ตอนเป็นext คุณคงลำบากเพราะstaff จะถามข้อมูลจากคุณ คุณต้องนำstaff round ได้ present caseได้
ส่วนหัตถการนั้นอาจารย์บอกว่าเริ่มจากการดู จากนั้นเข้าช่วยแล้วค่อยทำเองโดยมีผู้มีประสบการณ์ดูแลใกล้ชิด เมื่อเห็นว่าทำได้แล้วค่อยให้ทำเอง
ดังนั้นผมคิดว่าเราควรเริ่มจากการpresent caseนี่แหละ ดูเหมือนจะง่ายแต่ถ้าไม่เคยทำก็คงไม่ง่ายนัก ส่วนหัตถการมันจะมาตามโอกาส ถ้าอยู่ในwardนาน ก็มีโอกาสเจอมันบ่อย




Posted by : megumi , Date : 2004-08-16 , Time : 01:55:29 , From IP : 172.29.3.169

ความคิดเห็นที่ : 4


    พอได้ทราบปัญหาจากอาจารย์แล้ว ต้องยอมรับเลยว่าอนาคตของพวกผมน่ากลัวจริงๆ จะมีอะไรมา garuntee ให้พวกผมว่าจะจบออกไปและมีความรู้เพียงพอต่อการเป็นแพทย์หรือเปล่า ไม่อยากให้อาจารย์มองแต่แนว concept ในการศึกษาเพียงอย่างเดียว แต่อยากให้อาจารย์ได้ลงมาสัมผัสกับนักศึกษาเองจริงๆ มากกว่า หรือไม่ก็ลองให้นักศึกษาแสดงความเห็นแบบเปิดใจ เพราะปัญหาเหล่านี้พวกผมต่างหากที่รับรู้ถึงมันได้มากกว่าอาจารย์ที่คอยดูผลลัพท์จากข้างนอกเพียงทางเดียว ผมไม่เห็นด้วยทั้งหมดว่าระบบการเรียนการสอนของคณะแพทย์ มอ. ที่หลายต่อหลายคนคัดค้านว่า จะผลิตบัณฑิตแพทย์เขางอก หรือเป็นฆาตกรออกไปฆ่าคน เพราะส่วนหนึ่งผมเคยรู้สึกเช่นนั้นเหมือนกัน แต่ตอนนี้ผมก็เห็นว่าข้อมูลบางอย่างมันก็ไม่ได้จริงอย่างที่เค้าว่าๆกันไว้ เพราะตัวผมเองย่อมเป็นคนตัดสินได้เองว่าอะไรที่เหมาะหรือไม่เหมาะกับผม แต่อยากจะบอกอาจารย์ว่า จริงๆ ปัญหาที่อาจารย์ตั้ง topic ไว้ พวกผมรับรู้ถึงความเน่าเละของระบบได้ตั้งแต่ที่เริ่มหัด practice บ้างแล้วครับ โดยเฉพาะวิชา ethics ที่สอนการซักประวัติ และตรวจร่างกาย โดยส่วนตัวผมเล็งเห็นถึงความสำคัญในการฝึกทุกครั้ง เพราะผมคิดว่ายิ่งทำมากก็จะยิ่งได้มาก แต่ไม่ใช่นักศึกษาทุกคนที่คิดเช่นเดียวกับผม บางคนเข้ามาเพื่อให้มันผ่านๆไป จะได้ไปเตรียม pbl act 2 ในวันศุกร์ต่อ ผมไม่ทราบเหมือนกันว่า การจัดตารางการเรียนการสอนวิชา ethics ไว้ในวันพฤหัสบ่าย ใกล้กับ pbl ในวันรุ่งขึ้นจะส่งผลกระทบต่อความสนใจอยากรู้อยากปฏิบัติในชั่วโมงการฝึกหัดบ้างหรือไม่...
อาจารย์ที่มาสอน ต้องยอมรับว่าส่วนหนึ่งท่านเป็น " อาจารย์แพทย์ " จริงๆ ซึ่งผมรู้สึกได้ว่าบางครั้งตนเองโชคดีเหลือเกินที่ได้มาฝึกกับอาจารย์ท่านนี้ แต่อาจารย์บางท่านกลับไม่ทราบด้วยซ้ำว่าวันนี้ต้องมาสอนการตรวจร่างกายนักศึกษา ปล่อยให้นักศึกษานั่งรอเกือบชั่วโมง ต้องให้เจ้าหน้าที่ชั้น 7 โทรตาม ปรากฏว่าอาจารย์กำลังตรวจคนไข้อยู่ และก็ไม่เคยทราบเลยว่าต้องมาสอน.... ปัญหาคืออะไร ? การประสานงานกันระหว่างเจ้าหน้าที่ชั้น 7 กับทางภาควิชา มีประสิทธิภาพแค่ไหน เพียงไร และการมาสอนของอาจารย์บางท่านก็เพียงแต่ อ่านให้ฟัง แล้วก็หัดทำกันเอง ขอย้ำว่าผมก็เคยเจอมาแล้วที่ให้ทำกันเอง .... แล้วถ้าผมทำผิดๆ ไปละ ใครจะทราบ ผมก็จะจำแบบผิดๆนั้นไป แล้วต่อไป ถ้าผมไปทำกับคนไข้จริงๆ ใครจะเชื่อใจไว้ใจผมได้อีก จริงๆแล้วปัญหามันมีอีกมากมายมากๆๆๆ เสียจนเหนื่อย เพราะตัวเองก็ยังไม่เข้าใจเหมือนกันว่า บรรยากาศในการเรียนแพทย์ของที่นี่ ทำไมมันช่างต่างกับที่อื่นอย่างสิ้นเชิง (เพราะผมมีความรักความผูกพันกับที่นี่น้อยมาก)
อยากให้อาจารย์ลองมองปัญหาหลายๆด้านสักนิด โดยควรจะ scope มาที่นักศึกษาซึ่งเป็นผู้เรียนเป็นหลัก เพราะพวกผมเป็นคนที่เรียนเอง.. ไม่ใช่อาจารย์


Posted by : ^^med.student^^ , Date : 2004-08-16 , Time : 11:40:30 , From IP : 203.107.203.29

ความคิดเห็นที่ : 5


   การที่เราจะปรับปรุงคุณภาพบัณฑิตของเรานั้นคงไม่จำเป็นต้องเกิดจากการเปรียบเทียบกับรุ่นไหนๆหรอกครับ คุณ Megumi เราสามารถตั้งเป้าให้สูงขึ้นเตี้ยลงหรือเปลี่ยนแปลงยังไงก็คงขึ้นอยู่กับ "ผู้ใช้" หรือ customers ของมหาวิทยาลัย ในที่นี้คือ ประชาชน ผู้ป่วย และโรงพยาบาลรอบๆพื้นที่ ความต้องการอันนี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามบริบทของสังคมและสิ่งแวดล้อม ณ ขณะใดขณะหนึ่ง

ถ้าเราคิดตามหลักปรัชญา PBL นักศึกษาจะมีความพยายามขวนขวายเพิ่มทักษะความชำนาญที่จะทำปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วยได้ก็ต่อเมื่อขั้นตอนนี้ "จำเป็น" ทีนี้จำเป็นมันมีสองขั้น ขั้นแรกคือจำเป็นตอนเรียน และอีกขั้นคือจำเป็นเมื่อตอนจบแล้ว ผมคิดว่าเรา (มหาวิทยาลัย) คงจะต้องพยายามให้ความจำเป็นทั้งสองขั้นมันใกล้เคียงกันมากที่สุด ก็ต้องมาทบทวนดูว่าระบบการประเมินผ่าน ระบบการเรียนแล้วไปรอดนี่ มันใช้ความชำนาญ ความรู้อย่างที่เมื่อตอนจบแล้วต้องการหรือไม่ ถ้าการณ์ปรากฏว่านักศึกษาสามารถเรียนจบ ได้เกียรตินิยม โดยไม่ต้องมีการแสดงออกด้าน clinical skill เลย ก็อาจจะมีปัญหาว่าเด้กที่เราคิดว่าดี พอไปอยู่ข้างนอกอาจจะไม่ทำให้คนใช้บริการประทับใจอย่างที่เขาทำสำเร็จตอนอยู่กับเรา ตรงนี้น่าจะก่อให้เกิดความเครียดทั้งผู้ใช้บริการ แพทย์พี่เลี้ยง และต่อตัวเด็กเอง ความมั่นใจที่เคยมีอาจจะต้องค่อยๆหดเมื่อพบว่า clinical skill ที่จำเป็นหลายๆอย่างไม่เคยได้สั่งสมไว้



Posted by : Phoenix , Date : 2004-08-16 , Time : 11:40:43 , From IP : 172.29.3.62

ความคิดเห็นที่ : 6


   ที่ผ่านมา เรามีการสอน "ซักประวัติ" "ตรวจร่างกาย" ตั้งแต่ปี 2-3
แต่เมื่อสัมผัสกับนศพ. ในชั้นคลินิค แทบจะไม่เหลือความทรงจำมาก-น้อยเท่าไร

เป็นเพราะ??

ผู้สอน??
-เราสอนเขาไม่ดีพอ ..คงต้องโทษผู้สอนก่อนกระมัง (ว่าไม่ตั้งใจมาสอนบ้าง..ดังcommentของคุณ med student, ไม่มีจิตวิญญาณ ..แรงไปมั๊ง, ไม่ qualify?? เป็นเพราะ.. เราเอาคนไปใช้สอนในสิ่งที่ตัวไม่ถนัดรึเปล่า เค้าเรียกว่าเล่นผิดตำแหน่ง ฯลฯ)

ผู้เรียน
-เราสอนเขาเร็วเกินไปหรือเปล่า (ในยุคที่ผ่านมาบางครั้ง นศพ ชอบมาขอเรียน lecture ของปี่ที่ผ่านมาแล้ว เช่นเราสอนในเรื่องของ emergency ในปี5 เพื่อให้เขนำไปใช้ ในปี6) นี่มาสอนตรวจร่างกายปี2-3 โดยที่ไม่รู้จะไปตรวจใคร ยังไม่มีความรู้สึก กระหายอยากจะเป็นหมอ อยากตรวจคนไข้ เหมือนเราไปสอนคนยิงปืน โดยที่เขาก็ยังไม่รู้จะเอาปืนไปทำอะไร ยังไม่อยากได้ ((แต่เราอยากยัดเยียดให้)

-หรือเขาเรียนรู้ช้าไป เพราะเราสร้าง maturaity ให้เขาช้าไป

-เราสอนเขาไม่ได้เร็วไป แต่เขาไม่ได้ maintain หรือเปล่า .. ก็เช่นเดียวกันกับการเล่นดนตรี การหัดขับรถ..ฯลฯ

-เราไม่ได้ให้ "น้ำหนักความสำคัญ" ของการที่ นศพ เข้าไป"ตรวจคนไข้" แต่เราให้ความสำคัญกับ "เอกสาร" ตรงหน้า ว่า ครบถ้วน ถูกต้อง เพียงไร (แต่ที่มาของข้อมูลก็ไม่ได้สนใจเช่นเดียวกัน copy---paste จนคล่องเกือบทุกคน)

ดีที่สุด ถ้าเรามีอาจารย์ที่สามารถ สอนเขา เมื่อเขา "มีความอยากรู้"ก่อน
แล้วสอน"ตอนนั้น"เลย มันจะทำให้จำได้ติดตาติดใจ
และที่สำคัญ คือ จิตวิญญาณ ที่อยากจะเป็นหมอ อยากแก้ปัญหาให้คนไข้
และเห็นคนไข้ว่า คนไข้ นี้เป็น"ของเรา"
ไม่ใช่ "ของพี่" "ของอาจารย์" จะทำให้เราอยากต้องทำทุกวิถีทางที่จะช่วยแก้ปัญหาให้คนไข้ เราก็จะมีความ"อยากรู้"ไปเอง .. ไม่ต้องมาเขียน คู่มือ how to ให้ยุ่งยากหรอก

แต่ทุกวันนี้ ต่างคน ต่างรู้สึกว่า คนไข้ คนนี้ ไม่ใช่ของตน
ถ้ามาปลูกจิตสำนึก ตรงนี้ได้ อาจจะแก้ปัญหา ทั้งหมดได้ ..แค่พลิกฝ่ามือ
เพราะสิ่งที่ นศพ รุ่นปัจจุบัน กับ รุ่นแรกๆทำ ไม่น่าจะมีความแตกต่างกันมาก
เพียงแต่เป็นการจัดระบบ ระเบียบการเรียนการสอนให้ดูดีมากขึ้น
แต่ ขาด "จิตวิญญาณ" ไปแค่นนั้นเอง


Posted by : 2625000 , Date : 2004-08-16 , Time : 15:43:16 , From IP : 172.29.3.64

ความคิดเห็นที่ : 7


   ปัญหาของ น้อง นศพ ที่กล่าวถึงนั้นผมพอเข้าใจ อาจารย์บางท่านเองได้หัวข้อการสอนที่ ตนเองไม่ถนัดนักอาจเพราะท่านมีความเป็น specialty จนอาจลืม clinical basic หรือ ไม่คล่องนักและอาจไม่ได้มีเวลาทบทวนก่อนมาสอน
คงต้องแก้ไขในส่วนดังกล่าวนี้ด้วยครับ
นอกจากนั้นในความเห็นส่วนตัวแล้วผมเห็นด้วยนักกับวิธีการเรียนแบบ pbl เนื่องจากว่าเด็กไทยนั้นมีความคิดอ่านไม่เหมือน ต่างประเทศ อาจเพราะขนบ หรือ วัฒนธรรมที่ แตกต่าง เราต้องยอมรับว่าเด็กต่างประเทศมีความคิดเป็นของตนเอง กล้าแสดงออกมาก กล้าที่จะถกเถียงกับผ้ใหญ่หรืออาจารย์ ในขณะเดียวกัน อาจารย์ก็ open mild ไม่ fixed idea ไม่เหมือนกับทางเราที่มีขนบ เคารพผู้ใหญ่ มีบางคนอาจแย้งว่ามันคนละเรื่องกันแต่ลองถามความรู้สึกอย่างลึกๆของตัวเองดูก่อนนะครับว่าจริงหรือไม่
คงต้องยอมรับแล้วครับว่าคุณภาพของ นศพ ในปัจจุบันมีความแตกต่างจากอดีต
ไม่รู้ว่าจะต้อง design study อย่างไรให้เห็นว่ามี significant จำเป็นหรือไม่ถ้าจำเป็นก็ควรทำ
ดูเหมือนว่า ปัจจุบันแพทย์สภาจะ limit หัตถการที่จำเป็นต้องทำได้ลงมามากพอควร แต่เมื่มองออกไปรอบนอกนั้น เรายังต้องการแพทย์ที่มีความสามารถรอบด้านอยู่พอควร เช่นเดียวกัน ผมกังวลว่าในอนาคตเราอาจมีแพทย์ที่ตรวจได้เฉพาะโรคหวัดและท้องร่วงเท่านั้น
อยากให้ทุกอย่างเป็นเหมือนในอดีต มีอาจารย์ที่ทุ่มเทในการสอนไม่ไปทำร้านหรือรับ job มากเกินไปมีตัวอย่างของแพทย์รุ่นพี่ที่ทุ่มเทในการดูแลคนไข้
หากสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นผมคิดว่า ลูกไม้สงขลานครินทร์ของเราย่อมหล่นไม่ไกลต้นแน่นอนครับ


Posted by : radar , Date : 2004-08-16 , Time : 15:57:47 , From IP : 172.29.3.187

ความคิดเห็นที่ : 8


   ระบบ PBL และ SDL ที่เราใช้อยู่นี้มีรากฐานประการหนึ่ง (ผมคิด) คือ assumption ว่านักศึกษาแพทย์ใช้ระบบการเรียนแบบ adult learning system (Andragogy) คือ ๑) เป็นการเรียนแบบ Independent และสามารถบังคับคงบคุมทิศทางด้วยตนเอง ๒) มีการสั่งสมความรู้เดิมและสามารถดึงออกมาใช้แก้สถารการณ์ใหม่ ๓) สนใจให้คุณค่าการเรียนรู้เนื่องจากจะนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ๔) สนใจนำมาแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และ ๕) แรงบันดาลใจในการเรียนมาจากตนเอง ไม่ได้ถูกบังคับหรือใครบอกให้ทำ (Ref: Malcolm Knowles)

ทั้งคุณ 2625000 และคุณ radar ได้ตั้งคำถามคนละรูปแบบแต่ใจความใกล้เคียงกันคือนิยามดังกล่าวข้างบน "ตรงกับ" นักศึกษาแพทย์ของเราหรือไม่?

เป็นคนละคำถามกับเราอยากจะให้เป็นยังไง เพราะถามใคร ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วย อาจารย์ หรือใครก็ตามว่าแพทยควรจะมีคุณลักษณะอย่างไร ประการหนึ่งคงจะหนีไม่พ้นความเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบในหน้าที่บทบาทและเป้าหมายของตนเอง

ทีนี้จากคำตอบของคำถามข้างบนจะนำมาซึ่งคำถามต่อเนื่องอีกมากมาย เช่น ถ้าเกิดไม่ใช่ มหาวิทยาลัยเป็นที่ที่สามารถสอน "ความเป็นผู้ใหญ่" ให้นิสิตนักศึกษาได้หรือไม่ ถ้าเผอิญนักศึกษาไม่ได้พกพาส่วนนี้มาก่อน และถ้าสามารถ เราจะต้องทำอย่างไรในเวลาเดียวกับที่เราต้องสอนทั้ง contents, psychomotor, attitude ทางวิชาชีพแพทย์ไปพร้อมๆกันด้วย ผมคิดว่าเรื่องนี้เรื่องใหญ่ และสำคัญ เพราะถ้านักศึกษาระดับอุดมศึกษาส่วนใหญ่ของเราเกิดไม่สามารถจะเรียนระบบ adult learning system จริงๆ เราน่าจะไปแก้ที่การศึกษาระดับต้นมากกว่าที่จะปรับมหาวิทยาลัยเป็นสถานีสุดท้ายที่จะสอนความเป็นผู้ใหญ่รึเปล่า?



Posted by : Phoenix , Date : 2004-08-16 , Time : 19:52:52 , From IP : 203.156.44.41

ความคิดเห็นที่ : 9


   จากการที่นศพ.ปัจจุบันไม่ค่อยมี skill practice ผมในฐานะนศพ.คนหนึ่งซึ่งเป็นรุ่นระบบ PBL ที่ออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอนของอาจารย์แพทย์บางท่าน ที่คิดว่านศพ.ควรที่จะมีความเป็นผู้ใหญ่ สามารถศึกษาเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง(SDL) ที่คิดว่าก็มีส่วนดี แต่ก็มีข้อเสียเหมือนกันถ้าเปรียบเทียบก็เหมือนกับโครงการ 30 บาท แต่เราเน้นที่ SDL, scenario, ethic มากไปโดยขาดสิ่งสำคัญของวิชาชีพแพทย์ทั้งด้าน Knowledge(ลด lecture มันเข้าไป), Skill practice ที่แทบไม่ค่อยได้สอนก็ว่าได้หรือจะให้ศึกษาเรียนรู้จากใน ward ก็อย่าลืมว่ามีทั้งการรับผู้ป่วยและขอบอกเลยว่าจะให้พี่พชท.ช่วยสอนก็ได้แต่เป็นที่ทราบว่าพชท.แทบไม่ค่อยมีเวลาด้วยซ้ำไหนจะต้องออกตรวจ OPD Service round OR คิดว่าส่วนหนึ่งของปัญหามาจากระบบการเรียนการสอนหลักสูตร PBL ของอาจารย์ที่สร้างขึ้นมาและขณะนี้ก็ได้ลงจากการคุมบังเหียนแล้ว น่าจะมาดูผลงานที่ได้ทำไว้ และดูผลิตผลรุ่นแรกที่จบออกไป

Posted by : PBL , Date : 2004-08-16 , Time : 23:48:58 , From IP : 172.29.4.98

ความคิดเห็นที่ : 10


   ผลการประเมินที่เราได้ทำเองและได้รับจากข้างนอกอาจจะไม่ตรงกับที่คุณ PBL ได้สรุปไว้นิดหน่อยนะครับ พอจะขยายความที่ว่า "แต่เราเน้นที่ SDL, scenario, ethic มากไปโดยขาดสิ่งสำคัญของวิชาชีพแพทย์ทั้งด้าน Knowledge(ลด lecture มันเข้าไป), Skill practice ที่แทบไม่ค่อยได้สอนก็ว่าได้" อีกซักนิดน่าจะดี และอาจจะช่วยขยายอุปมาอุปมัยเรื่อง 30 บาทซักนิดด้วยก็จะเข้าใจได้ดีมากขึ้น

แต่ก็การที่มีข้อสรุปดังกล่าวอาจจะสะท้อนว่าระบบในปัจจุบันนั้นขาดการถ่ายทอดวิธีขั้นตอนไปบ้างรึเปล่า?

จลนพิสัย (psychomotor domain) นั้น ภาคทฤษฎีจะเป็นการสอน สอนแสดง video หรือ สื่ออะไรก็ได้ แต่หัวใจของความชำนาญนั้นอยู่ที่การทำซ้ำทำซาก ทำบ่อยที่สุดเท่าที่มีโอกาสอย่างที่คุณ Megumi ได้บรรยายไว้ในตอนต้น การที่แพทย์ใช้ทุนทำงานหนักนั้น อาจจะมองเป็นว่าเขากำลังเรียนรู้ กำลังเสริมสร้างความชำนาญได้หรือไม่? แล้วเราจะเข้าไปช่วยตรวจ ช่วยรับผู้ป่วยพร้อมๆกับพี่ จะได้อะไรขึ้นมาบ้างรึเปล่าก็น่าคิด ระบบ lecture หรือระบบ PBL ก็ตาม ไม่สามารถจะอำนวยให้เกิด "ความชำนาญ" หรือ psychomotor ได้แน่นอนครับ เพียงแต่ว่าในระบบ Lecture แบบเก่านั้น SDL ไม่มี แต่ นศพ.ต้องใช้เวลาตอนเลิกเรียน เลิก round มาหาความชำนาญกันเอาเอง เห็นพี่อยู่ที่ไหน ก็ไปอยู่ด้วย ประจ๋อประแจ๋ไปมาเดี๋ยวก็ได้ทำ ได้เห็น ได้สัมผัสเอง

ปัญญาพิสัย (cognitive domain) นั้น คงขึ้นอยู่กับ learning style กระมังครับ เพราะระบบ PBL หรือ adult learning นั้นคิดว่าถ้า นศพ. เห็น case จริง รับคนไข้เยอะๆ หรือต้องแก้ปัญหาไม่ว่าจะเป็นแห้งหรือสด ก็จะมี direction ไปหาความรู้มาแก้ไขปัญหา แต่เป็นที่เข้าใจดีว่าในระบบเก่าก็มีคนที่ชอบ และชำนาญในการเรียนตาม lecture ตามที่มีโครงสร้างเหมือน textbook เหมือนหนังสือ แต่ผมคิดว่าเรื่อง style การเรียนนี้คงจะไม่เหมือนกันทุกคน บางคนก็ชอบเห็นสัมผัสปัญหาผู้ป่วยจริงๆ สามารถใช้เวลาบนหอผู้ป่วยนานๆ เพราะคิดว่าคนไข้บน ward ก็เป็นแหล่งความรู้ไม่แพ้ internet ที่หอ (หรืออาจจะมากกว่าและจิรงจังกว่าซะด้วยซ้ำ) ถ้าเป็นคนที่ชอบแบบหลังนี่ Internet access จากเตียงนอนก็คงจะไม่ work ไม่สู้ไปเฝ้า ward หรือ เฝ้า ER ดูจะง่ายกว่า ข้อสำคัญคือไม่ว่าชอบ style ไหนก็ตาม เราคง้องมาคิด (อย่างจริงจัง serious) ว่า เวลาเราจบเป็นแพทย์ออกไป เราจะเจอแบบใน textbook หรือจะเจอแบบที่พบบนหอผู้ป่วย ที่ห้องฉุกเฉิน ที่ OPD กันแน่?

โดยส่วนตัวผม ไม่คิดว่าเราได้เน้นเรื่อง ethics จนถึงกับระดับ "มากเกินไป" หรอกนะครับ ยังไม่มี ผอ.ข้างนอกคนไหนบ่นว่า นศพ. หรือ extern เรามีจริยธรรมสูงกว่าปกติ หรือแก่จริยศาสตร์ จริยธรรม ตรงนี้อาจจะช่วยกรุณาอธิบายเพิ่มเติมสักนิดก็จะดี



Posted by : Phoenix , Date : 2004-08-17 , Time : 00:33:22 , From IP : 203.156.49.6

ความคิดเห็นที่ : 11


   อันดับแรกต้องยอมรับว่า pbl มีปัญหาจริง ก่อน กรุณาเปิดใจ บ้างเถอะครับ
ไม่งั้นจะมีนักศึกษาบ่นกันหรือ
ฟังเสียงคนเรียนบ้างเถอะครับ ชอบระบบนี้หรือไม่จะแก้ไขอย่างไรจะลองออกแบบสอบถามดูก็ได้นะครับ
ดีกว่านั่งเทียนคิดว่าเอาแบบต่างชาติแล้วจะดีทุกอย่าง
ปลูกเรือนนะต้องตามใจผู้อยู่นะครับไม่ใช่ตามใจสถาปนิก


Posted by : นศพ , Date : 2004-08-17 , Time : 16:04:43 , From IP : 172.29.3.60

ความคิดเห็นที่ : 12


   PBL มีปัญหาจริงครับ และเป็นที่มองเห็นและยอมรับตั้งแต่แรก ที่เราต้องการในการแก้ไขปัญหาคือกลไกของปัญหาครับ

สาเหตุที่ทราบ นอกเหนือจากนักศึกษาบ่น ส่วนที่สำคัญคือ performance ในการดูแลผู้ป่วยครับ ตรงนี้จะเป็น indicator ที่สำคัญที่สุด และปลูกเรือนในที่นี้ คนอยู่นั้นไม่ใช้ครูอาจารย์ ไม่ใช้นศพ.หรือหมอ แต่เป็นคนใช้บริการคือผู้ป่วย ที่เราทั้งหมดนี้จะต้องตามใจ ผมคิดว่าตรงนี้อาจจะมีความคิดแตกต่างกันของคำ student-centred อยู่บ้าง ระบบการเรียนการสอนของเราสิ่งสำคัญที่สุดคงจะยังเป็น patient-centred อยู่ดี ไม่ใช่ teacher, student, หรือ doctor-centred

ข้อมูลว่าอะไรเป็น burden of diseases ของประเทศ จะต้องนำมาใช้วางหลักสูตรแพทยศาสตร์ และตรงนี้คงไม่เกี่ยวกับการเอาแบบต่างชาติหรือไม่ เพราะ burden ของใครน่าจะเป็นของมัน เช่น breast cancer เป็นปัญหาของเราจริง แต่อาจจะไม่ใหญ่เหมือนของ western countries ตรงกันข้ามถ้าพูดถึง motorcycle accident จาก Population ของเราแต่มียอดการตายสูงที่สุดในโลก กจะพอบอกได้เหมือนกันว่าตรงนี้เรา unique ไม่เหมือนเขา

คำถามของเรื่องวิธีการเรียนนี้ คงจะต้องแจกแจงในรายละเอียดซักนิดนึงแน่นอนครับ ว่ามันอยู่ที่ตรงไหน จริงๆมีคนเสนอมาหลายประเด็นเรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่มีข้อสรุป หรือมีการนำเอา "ข้อมูล" มายืนยันสมมติฐาน เช่นเรื่อง maturity ของนักศึกษาแพทย์ เรื่องการประเมิน performance ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพอย่างแท้จริง

SDL นั้นเป็นแค่ tool เล็กๆอันหนึ่งเท่านั้นเอง จริงๆไม่ต้องมีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษก็ได้ครับ เป็นการใช้เวลาว่างที่ไม่ได้ assigned ให้ของนักศึกษาแพทย์ว่าจะทำอะไรที่ตนเองคิดว่าจะเกิดประโยชน์ในการเรียนมากที่สุด ระบบในอดีตคือ lecture-based นั้น คณะฯเป็นคนบอกว่าตอนนั้นตอนนี้ นศพ.ควรเรียนเรื่องนั้นเรื่องนี้ทั้งหมด และ SDL คือเวลานอกเวลาราชการครับ

ตกลงตอนนี้เรากลับมาที่ข้อมูลนะครับ ว่า 1) system ปัจจุบัน "มี" ปัญหาจริง และ 2) "กลไกอย่างไร" ที่เป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จในการเป็นแพทย์ที่มี clinical performance มี professionalism ทางการแพทย์อยู่ในขณะนี้ ขอให้ช่วยกันระดมความคิดและข้อคิดเห็นประกอบเหตุผลด้วยครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-08-17 , Time : 18:41:54 , From IP : 203.156.44.178

ความคิดเห็นที่ : 13


   นักศึกษาเรารู้น้อยลง แบบ ทันทีทันใด
ถามว่าจุดเปลี่ยนที่ชัดเจนที่สุด คือ อะไรระบบการคัดเลือกเหรอ (รุ่นผม med27 ก็ยัง ent แบบเก่า ส่วนใหญ่ใช้คะแนนสอบกลาง คนที่เข้ามาก็คะแนน ไล่เลี่ยกับปีก่อนๆ ไม่ต่างจากพวกพี่ๆมากนัก ดังนั้นจะมาโทษว่าได้เด็กโง่ เด็กไม่ตั้งใจเรียนมาเรียน ไม่อยากรู้ ไม่กระตือรือร้น ก็ใจแคบไปหน่อย) อีกส่วนคือระบบการศึกษา รุ่นผมเป็นรุ่นสองที่ PBL แต่เริ่ม preclinic ด้วยการตัด lecture มากสุด แถมด้วยเอาเนื้อหา (anatomy + phamaco + patho + physio +...ปนกันมั่วหมด) มาปนกันหมดแล้วให้มาอธิบายมั่วๆ โดยไม่มีคำตอบที่ถูกต้องให้รู้ ----> ไอนั่นยังไม่มั่วเท่ากับ clinic ---> block Pre-Post op ตอนปี 4 มีทั้ง gen sur. otho. (เฉพาะที่ผ่า) anesth (ที่เรียนเฉพาะพฤหัส อยู่ 2 วัน) + หรือ med ที่เอาจิตเวชมารวมเป็น Block เดียวกัน (แต่ตอนอยู่จิตเวช อาจารย์ไม่ยอมให้มา conf ของ med ก็ไม่รู้ว่า block เดียวกันทำไม) ----> หรือ ambu ที่อาจารย์พยายามสอนที่สุดแล้ว แต่จัดมาได้ยังไงมีทั้ง Eye ENT Otho (OPD แยกมาอีกแล้ว) Skin มารวมกัน โห... อ่านสลับภาคกันเป็นวันๆเลย ปัญหาวันนี้ผมไม่สามารถอ่านให้ clear ได้ เพราะผมต้องเตรียมตัวสำหรับวันพรุ่งนี้ (ของภาคอื่น) --> ไม่รู้เรื่อง
- การ contect กับอาจารย์น้อยมาก นักศึกษาหมุนเร็วมาก กองเดียวกันนั่นแหละ อาจารย์เองก็รู้....เวลาประเมินนักศึกษาน่ะ จำหน้าได้ไม่ถึงครึ่งหรอก (แล้วจะประเมินตกได้ยังไง ใครมาใครไปไม่รู้ เปลี่ยนเร็วเกิน) แล้วจะมากะเกณฑ์อะไร จะให้ practise ดียังงั้น ยังงี้...(ข้อนี้ขอยกเว้นภาคสูติครับ ดีมั่กๆ อยู่ประจำสายตลอดการเรียน เหตุผลอย่างนึงที่ใครๆอาจจะลืม คือ สูติ ไม่ได้ไปปน Block กับภาคไหน อยู่สูติ สบายใจ ไม่ต้องอ่าน anesth หรือศัลย์) อ้าว นี้มีคำถามอีกว่าสูติก็ผ่า ทำไมไม่รวมกับ pre post op....)(ผมคิดว่าชื่อ block นี้มันผิดนะครับ ตั้งว่า prepost op เพราะมันกว้างไป ภาคอื่นๆก็ผ่าหมดอ่ะ ยกเว้น เด็ก med....) เอากลับมาเป็นศัลย์ เถอะครับ แล้วก็เรียน anesth ให้เป็นเรื่องเป็นราว...(ออกไปอยู่ข้างนอกนี่พยาบาลวิสัญญีจิกหัวจะตายอยู่แล้ว...)
- อาจารย์(บางคน) พูดแต่หลักการมากไปหรือเปล่าครับ อย่างเรื่องไส้ติ่ง ก็ discuss กันว่า Extern ไม่ควรทำ Intern ไม่น่าทำ เพราะยังไม่เก่ง ยังไม่จบจริงๆ แต่พอออกข้างนอกมันได้ทำจริงๆ อ้าว+++แบบนี้มีสักวันที่อาจารย์มาสอนผ่าไส้ติ่งไปเลยดีมั้ยครับ...วันเดียวเอง...ดีกว่าให้เด็กออกไปทำมั่วๆ (อย่าบอกว่าไม่ควรทำ เพราะสุดท้ายก็ได้ทำอยู่ดี)
- ตอนนี้สูติมี admission round ตอน 7.30-8.30 ให้ Extern เอา case ที่ admit กลางคืน ที่อยู่เวรมา present กันเองโดยอาจารย์ก็สอนว่า ควรทำอย่างไร manage ยังไง...ตามประสบกาณ์และที่ถูกต้อง ดีมากเลยนะครับ...ภาคอื่น เอ้ย (block) อื่นน่าจะมีบ้าง...
- จุดสำคัญ อย่างนึงที่ถูกมองข้ามไป คือ ความสนุกครับ ในเมื่อไม่มีความรู้ อ่านมาก็ไม่ตรง ไม่มีใครสอน ถามไปก็ถูกถามกลับ มันน่าสนุกตรงไหน ---> ทนๆไปเดี๋ยวก็เปลี่ยนกอง ---> ความรู้คู่กับความสนุกนะครับ เหอะๆ
-----> ผมคงไม่ได้เสนอประเด็นอะไรที่สร้างสรรค์ เพียงแต่แสดงความรู้สึก (not be mature) ของ นศพ.คนนึง


Posted by : ว้าว , Date : 2004-08-17 , Time : 19:21:44 , From IP : 172.29.4.155

ความคิดเห็นที่ : 14


    เห็นน้องนศพ.บางท่านบอกว่า พชท. ไม่มีเวลาสอนน้อง พี่ๆพร้อมสอนตรวจร่างกาย+discuss case ตอนว่างๆ (บ่าย เย็น วันหยุดตอนสายๆ) อยู่แล้วแต่ มองไปก็หานศพ.ไม่เจอ SDL ที่หอ วันหยุดไม่มา ชื่อคนไข้กับเตียงยังไม่ทราบ ไม่ดูคนไข้ก่อน ( ขนาดกำลังจะ round ถึงแล้ว chartยังไม่ถือเลย) บน ward มี case มี event+หัตถการตลอด ถ้าน้องสนใจ การไม่มี lecture ไม่ได้ทำให้น้องโง่ลง เพราะมีหนังสือหรือ lecture xerox เก่าให้อ่านแต่น้องมาแบบว่างเปล่ามาก ดังนั้น ประเด็นต่างๆข้างต้นผมคิดว่าเป็นจะตัว OLR เป็นหลักมากกว่าระบบไม่ดี
ถ้าจะว่าระบบไม่ดีก็คือเปิดช่องให้กลับหอง่ายขึ้น ระบบอัดแบบเดิมทำให้ต้องอยู่ติด ward ต้องรู้ case ไม่งั้นโดนด่า เวลา round ต้อง present ทำให้ดูคนไข้ได้ไปเองอัตโนมัติ
พอระบบใหม่เปิดช่อง นศพ.ก็ไม่สนใจ หาคนตั้งใจมา round น้อยเต็มที ลองมองตัวเองใหม่ อยู่ ward มากๆ หัดpresent กับพี่ๆ ก็จะมีคนช่วย correct ให้เองและหัตถการก็จะเป็นไปเอง.
สรุปว่าต้องปรับทั้ง 2 ฝ่ายดีที่สุด


Posted by : พชท. med , Date : 2004-08-18 , Time : 22:37:03 , From IP : 172.29.3.225

ความคิดเห็นที่ : 15


   ระหว่างที่เรากำลังอภิปรายหาเหตุผล สาเหตุ และวิธีการที่ควรจะเป็นอยู่ สิ่งหนึ่งที่เราน่าจะทำไปพร้อมๆกันคือ HERE AND NOW เราจะทำกันอย่างไร

เนื่องจากการแก้ไขระบบ ไม่สามารถทำได้ปุบปับเมื่อเปิดสวิทช์ PBL เริ่มแฝงลงมาในมอ.เป็นสิบปีกว่าที่จะเห็น implement ในปัจจุบัน และหลักส๖รนั้นจะต้องเขียนในสอดคล้องทั้งหกปี ฉะนั้นการปรับเปลี่ยนอะไร (รวมทั้งการประเมินอะไร) เราจะต้องเดินถอยออกมาดูมุมกว้าง

ทีนี้ที่ทำได้เลยมีอะไรบ้าง?

โปรดสังเกตว่าที่โรงพยาบาลข้างนอก feedback เข้ามานั้น ไม่ใช่เรื่อง contents เป็นหลักนะครับ (มีบ้าง แต่ที่ชดเชยกันคือ compliment เรื่องการอภิปราย ใช้เหตุผล) แต่เป็น clinical performance โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เน้นมาคือ "การทำงานกับผู้ป่วย" ตรงนี้ resource บนหอผู้ป่วยมีอยู่เป็นจำนวนมากอยู่แล้ว ร่วมกับบรรดาพี่ๆและอาจารย์เดินราวนด์เช้าเย็นอยู่นั้น พวกเราคิดว่าพอจะนับเป็น "โอกาส" ได้ไหมล่ะครับ ที่พอจะปรับปรุงอะไรในส่วนนี้ขึ้นมาบ้าง โดยที่ระบบใหญ่ยังไม่ลงไปแตะต้อง (ในขณะนี้)?

ยกตัวอย่างเช่น ไม่ต้องมีเวร ward นศพ.ก็ไปนั่งเขียนรายงาน ซักประวัติตรวจร่างกายผู้ป่วยที่หอผู้ป่วย ที่ ER ได้นะครับ ผมคิดว่าคนที่เห็นจะยิ่งเอ็นดูและน่าจะมีคนอยากจะสอนอยู่บ้างล่ะน่า บางสายผมเห็นกว่าอาจารย์บางท่าน round เสร็จก็สองสามทุ่มก็มี แต่ละ block ให้เขียนรายงานประวัติตรวจร่างกายหนึ่งหรือสองฉบับ แต่ถ้าเราอยากจะเขียนเยออะกว่านั้น ดูคนไข้เยอะกว่านั้น ไปซักประวัติผู้ป่วยรายไหนๆบน ward ก็ไม่น่าจะมีใครห้ามอะไร ถ้าใครคิดว่าทำอย่างนี้เพิ่มเติม ไม่หนักมากเกินไป และได้รับสิ่งที่ยังไม่ชำนาญขึ้นมาได้ ก็น่าจะลองดูไหมครับ?

สิ่งหนึ่งที่ผมอยากจะแสดงความเห็นก็คือ ข้อมูลใน internet นั่นมันไม่หายไปไหนหรอกนะครับ ถ้าเราเริ่มมีความมั่นใจว่าสามารถ "หาได้" เมื่อต้องการ ทีนี้อย่าติดลม ยิ่งหาเยอะ ยิ่งมัน เพราะเวลาที่หมดไป สั้นไปเรื่อยๆ คือเวลาความเป็นนักเรียนของเราครับ พอเราจบแล้ว เป็นหมอแล้ว ทีนี้จะไปนั่ง search internet นานแค่ไหนก็คงไม่เป็นไร แต่ตอนนี้เรากำลังจะต้องสร้าง stable pool of clinical examples ให้มากที่สุด จะได้แปล crepitation ในหนังสือนั้นเสียงมันเป็นยังไงแน่ ไอ้ที่ว่า PR แล้ว warm หรือมี rectal shelf นั้นเป็นยังไงแน่ ยังไงๆก็มีคนสอน คนบอก คนตอบเวลาถาม แต่ข้างนอกนั่นหมอจะใหญ่สุด จะหาคนมาสอนยากขึ้นเรื่อยๆ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-08-19 , Time : 01:07:58 , From IP : 172.29.3.200

ความคิดเห็นที่ : 16


   here and now ก็คือ ให้นศพ.ทุกคนตระหนักถึงหน้าที่ของตนเอง และจุดอ่อนของการเรียนแบบที่เป็นๆอยู่ในปัจจุบัน

แต่ผมก็ยังเห็นว่าปัญหามันก็ต่อเนื่องมาจากหลายๆเรื่องที่เราเคย discuss กันไว้ ทั้งเรื่อง maturity ของนศ. ความสามารถในการประเมินตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่อาจจะแก้ไขได้ในเวลาปัจจุบัน

แค่เรื่องเขียนรายงาน เท่าที่เห็นๆ ก็ลอกรายงานฉบับเก่าๆกัน ไม่รู้ได้ตรวจไดดูคนไข้กันแค่ไหน พอส่งๆไปเท่านั้น
ไม่ได้หมายความถึงทุกคนนะครับ ใครที่ทำดีแล้วก็ดีไป

ไม่รู้สินะครับ บางทีอาจารย์ก็ต้องประเมินกลับมาด้วยว่าพวกเรานศพ.ขาดตกบกพร่องอะไรกันอีก ทั้งเรื่องวิธีการเรียน เรื่องการปฏิบัติตัว


นศพ.กับอาจารย์อาจจะขาดสายสัมพันธ์บางอย่างไปก็ได้นะครับ


Posted by : ArLim , Date : 2004-08-20 , Time : 05:47:38 , From IP : ppp-210.86.223.221.r

ความคิดเห็นที่ : 17


   ในสมัยหนึ่งการเรียนระดับหลังปริญญาโทเชื่อว่าอัตราส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษาน่าจะเป็นประมาณไม่เกิน 1 ต่อ 5 นั่นนานมาแล้วล่ะครับ

คุณ ArLim ได้ identify fear-factor อีกประการของการศึกษาปัจจุบันคือ การขยายตัวของอาจารย์และลูกศิษย์มันคล้ายๆ dead rate versus birth rate คือยิ่งบานออกไปเรื่อยๆ ปัจจัยนี้กระทบต่อการเรียนทุกระบบครับ ไม่ว่าระบบเก่าใหม่ ที่น่าจะต่างที่สุดคือ PBL นี่อาจจะมีเวลากลุ่มย่อยสัมพันธ์มากกว่าระบบ Lecture เดิม (ตอนผมเรียนคือ 1:184 สัดส่วนในห้องบรรยาย คนนั่นหลังมีบรรยากาศเหมือนดูทีวีไกลๆอยู่กับบ้าน) แต่ความสัมพันธ์อาจารย์ลูกศิษย์อาจจะไม่ขึ้นอยู่กับจำนวนสัดส่วนเพียงอย่างเดียว (ถึงแม้จะถูกกระทบโดยตรงก็ตาม) น่าจะขึ้นอยู่กับ "คุณภาพ" ด้วยไหมครับ?

คุณภาพในที่นี้ ผมอยากจะเน้นถึงคุณภาพของความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์และการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลครับ ความสัมพันธ์ของอาจารย์ลูกศิษย์ก็ต้องใช้ความสามารถด้านนี้เหมือนๆกับที่เราจะสร้างกับคนไข้ นั่นคือมันเป็นความชำนาญที่ต้องพัฒนาจากการทำจริง ฝึกจริง อ้อ...ถึงตรงนี้อุปสรรคอีกอย่างในปัจจุบันคือเราอาศัยอยู่ใน virtual world มากเกินไปรึเปล่า การที่เราติด internet ค้นหาอะไรๆก็ internet พูดคุยก็ต้องผ่านห้อง chat หรือ email จริงอยู่ส่วนหนึ่งเพราะ time restrain แต่ผมว่าเจตคติที่เราจะเลือกวิธีไหนใช้ก็สำคัญ

ในฐานะคนเข้าวัยกลางคน ก็อยากจะตั้งข้อสังเกตนิดนึงว่า สังคมปัจจุบันมีปฏิสัมพันธ์ที่รุนแรงขึ้น virtual world ทำให้คนมีการแสดงออกหลายๆอย่างที่ในสภาวะ face-to-face ไม่มีใครทำกัน การใช้ภาษากเฬวราก การทำโจมตีบุคคลที่สามลับหลัง (ในที่เปิดเผยด้วย ตะก่อนมีแต่พวกหนังสือพิมพ์ทำกัน เดี๋ยวนี้ใครเคาะแป้นพิมพ์ได้ก็ทำได้) การขาด conscience ที่จะแยกแยะผิดชอบชั่วดี มีการแสดงออกที่ break superego มากขึ้นเรื่อยๆ สิ่งเหล่านี้ผมว่ามีส่วนกระทบต่อ social skill ของคนในปัจจุบัน (ซึ่งคนในอดีตอย่างพวกผมก็ต้องปรับตัวไปด้วย)

อัตราส่วนอาจารย์ นศพ. ปัจจุบัน อาจจะต้องอาศัยการเข้าหาโดยฝ่ายหลังเพิ่มขึ้นกระมังครับ หน่วยอาจารย์ที่ปรึกษาทีกำลังพยายามเข้าหา นศพ. แต่ด้วยอัตราหนึ่งต่อหลายร้อยคงไม่ค่อย work เท่าไหร่อย่างที่หวังไว้



Posted by : Phoenix , Date : 2004-08-20 , Time : 07:38:15 , From IP : 172.29.3.234

ความคิดเห็นที่ : 18


   virtual world คงไม่น่าเป็น 1 ในอุปสรรคหรอกครับ เพราะ internet ที่ใช้กันในหมู่นศ.นั้นน่าจะเป็นการติดต่อกันระหว่างบุคคลไกลกันมากกว่าระหว่างบุคคลในคณะ หรือแม้แต่การพูดคุยกันใน webboard เราก็ยังไม่รู้จำนวนแน่ชัดว่ามีผู้ใช้งานเท่าไหร่ (แต่คิดว่าคงเป็นส่วนน้อยเท่านั้นที่เปิด webboard อ่าน เพราะจากที่เห็นหลายๆอย่าง)

ถ้ามุ่งมาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์และลูกศิษย์ เราก็มีอาจารย์ที่สอนและมีอาจารย์ที่ปรึกษาประจำสายรหัสอีก(1 ต่อ 6) ก็คงจะเป็นเรื่องของคุณภาพอย่างที่ว่า การ contact กันระหว่างอาจารย์และนศ.ก็ยังคงน้อยอยู่ดี
สาเหตุไม่น่าเกิดจาก virtual world แต่น่าจะมีเรื่องของ study style เกี่ยวข้องด้วย ไม่รู้ว่าอ่านจากความคิดเห็นของใครแล้วที่ว่า หอพักนั้นอาจจะอยู่ใกล้ที่เรียนเกินไป จึงกลายเป็นว่า เมื่อจบเลคเชอร์ นศพ.ก็กลับหอใช้เวลา SDL ทำอย่างอื่นกัน (แถมเลคเชอร์สำหรับพรีคลินิกยังมีแค่ช่วงเช้าเท่านั้นอีกด้วย จะมาเรียนหรือไม่มาก็ได้) ชีวิตพรีคลินิคก็เลยลอยๆอย่างไรไม่ทราบ
ส่วนอ.ที่ปรึกษานั้น ปีนึงเจอครั้งเดียวครับ เจอในวันไหว้ครู (บางคนไม่เจออีกต่างหาก) เมื่อหลายๆเดือนก่อน อ.จารุรินทร์ ถามผมว่าอยากให้อ.ที่ปรึกษา มีบทบาทหรือช่วยอะไรให้บ้าง ถึงตอนนี้ผมก็ยังไม่มีคำตอบให้เลยล่ะครับ เพราะบทบาทของอ.ที่ปรึกษา(ที่ว่างจะคุยกับผมเสมอ)ก็ให้ได้แต่คำปรึกษาล่ะครับ แต่ถ้าไม่รู้ปัญหา ก็แก้ไขอะไรไม่ได้
แถมอีกเรื่องที่คุณ med student ว่าไว้ เรื่องการเรียนวิชา ethics ผมก็ไม่รู้ว่าทางคณะเอาจริงกับวิชานี้แค่ไหน เหมือนวิชาจับฉ่ายเล็กน้อย มีเรียนเรื่องจริยธรรม การซักประวัติตรวจร่างกาย(ที่เรียนแล้วก็ไม่ได้ปฏิบัติ) และการเยี่ยมบ้านรวมเข้าไปด้วย(รึเปล่า ผมชักลืมๆแล้ว) แต่น้อยนศพ.นักที่จะใส่ใจถึงความสำคัญนี้ เพราะอะไร ก็คงเพราะขาดแก่นสารให้จับและยึดเป้าหมายน่ะฮะ (มีสอบ ethics 1 ครั้ง ผมจำได้)


Posted by : ArLim , Date : 2004-08-21 , Time : 05:16:04 , From IP : ppp-210.86.223.221.r

ความคิดเห็นที่ : 19


   เคยมีคนกล่าวว่าเมื่อไหร่ก็ตามมีการใช้คำ "เสียเวลา" นั้นแปลว่าคนใช้กำลังประเมินและสรุปว่าเขามีอะไรที่ "น่าทำกว่า" สิ่งที่ทำอยู่หรือสิ่งที่เขาเรียกว่าเสียเวลานั่น

วันๆหนึ่งเวลามันก็มีอยู่แค่นั้น 24 ชั่วโมงนิดๆ สมมติฐานอธิบาบพฤติกรรมการใช้ SDL ของ นศพ. อาจจะต้องการอะไรนอกเหนือจากความใกล้ของหอพักกับที่เรียน เพราะ options อื่น ไม่ว่าจะเป็นหอผู้ป่วย OP ER ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องสมุด ทุกอย่างใกล้กว่าหอพักหรือระยะทางพอๆกันทั้งสิ้น ถ้าผมจะใช้ทฤษฎีที่ตั้งไว้บรรทัดแรก ก็น่าจะแปลว่าในสายตาของ นศพ. จะใช้การประเมินแล้วว่า ณ ชั่วโมง SDL ต่างๆนั้น เขาน่าจะทำอะไรมากที่สุด ทีนี้เวลามันเป็นอะไรที่ใช้แล้วใช้เลย หมดไปเรื่อยๆ เผลอแป๊บเดียวก็จะจบกันหมดแล้ว ตรงนี้ skill อะไรบางอย่างที่ยังไม่มี ยังไม่ได้ฝึก ก็อาจจะเกิดอาการ panic ขึ้น เช่น ฉันยังไม่เคยเห็น haemorrhoids เลย ฉันยังไม่เคยคลำ prostate gland ปกติเลย ฉันยังไม่เคยตรวจ hernia มาก่อน ฉันยังไม่เคย attend คลอดมาก่อน ไม่เคย PV ไม่เคย.... ฯลฯ สรุปแล้วถ้าพิจารณาดูดีๆหลักสตรนี้มันต้องเรียน full-time ในที่นี้คือเกือบตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง เกือบทุกวันมันถึงจะพอ ลำพัง 9-5 มาเช้าเย็นกลับไม่น่าจะสำเร็จ ไม่ต้องพูดถึงมาเช้ากลับบ่ายนะครับ

ชั่วโมงจริยศาสตร์นั้นเน้นที่ "เจตคติ" ดังนั้นความจริงจังของวิชานี้คงจะขึ้นอยู่ที่ทั้งสองฝ่าย แก่นสาระของจริยศาสตร์จะเกิดขึ้นต่อเมื่อเราตั้งใจมองเองครับ อาจจะมีคนบอกให้มองได้บ้าง แต่ "วิญญาณ" มันยังไมเกิดตราบใดที่เรายังไม่เชื่อมโยงความสำคัญของวิชานี้กับรากฐานของวิชาชีพเราได้ การสอบมากขึ้นอาจจะช่วย cognitive ได้ว่า นศพ.จำหลักการต่างๆได้หรือไม่ แต่มันมีอยู่แค่สี่ข้อแค่นั้นเองนี่ครับ ความสำเร็จของวิชาจริยศาสตร์จะไปอยู่ตอนที่เรา apply ใช้กับเหตุการณ์ต่างๆ (ซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำทุกวันบนหอผู้ป่วย ที่ OPD อยู่แล้ว)



Posted by : Phoenix , Date : 2004-08-21 , Time : 09:49:47 , From IP : 172.29.3.238

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.011 seconds. <<<<<