ความคิดเห็นทั้งหมด : 11

Debate LXXII: Multiple Intelligences


   เมื่อประมาณ 4-5 เดือนก่อน ได้มีโอกาสไปประชุมแพทยศาสตร์ศึกษาที่กรุงเทพฯ มีหัวข้อ "การคัดเลือกนักศึกษา" ในบรรดาหลายๆหัวข้อที่พูดกันในสามวันนั้น บรรดาผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งส่วนหนึ่ง (หรือส่วนใหญ่) ทำงานเกี่ยวข้องกับระบบการเรียนการสอยแพทยศาสตร์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งและไม่มากก้น้อย มีการแบ่งกลุ่มย่อยอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง

ประเด็นหนึ่งคือการสอบคัดเลือก Entrance ในปัจจุบันนี้นั้น "ทดสอบอะไร" กันแน่ถึงสามารถบอกเราได้ว่าคนที่สมและได้คัดเลือกเข้ามา "สมควร" จะเรียนต่อเป็นแพทย์ และในการสอบคัดเลือกรอบอื่นๆ (มากมายถึง 5 different schemes) นั้น ต่างหรือเหมือนกันอย่างไรจากแต่ละแบบ

ปีหน้าจุฬาฯจะเจริญรอยตามศิริราชคือมีระบบการสอบแยกเป็นของตนเอง (ปมไม่ได้ข่าวว่าประกาศรึยัง ถ้ายังก็แปลว่าอาจจะทำไม่ทัน) ระบบใหม่ที่ศิริราชเป็นหัวหอกนำมีการสอบ emotional quotient นอกเหนือจาก content-based และยัง Introducing psychomotor การฟังและอ่านเพิ่มเข้าไปเป็น performance-based

จะเห็นได้ว่ายกเว้น EQ แล้ว (ซึ่ง accucary and power of discrimation น่าสงสัยพอสมควร) การสอบดังกล่าวก็ยังเป็นพื้นฐานของการสอบ IQ แบบดั้งเดิม คือ Liquistic & Logistic-Mathmatical Intelligences ที่มีการใช้มาหลายสิบปีแล้ว

Howard Gardner บิดาแห่งทฤษฎี multiple intelligences คิดแตกต่างกันออกไป เขาไม่เห็นด้วยว่า linquistic / logistic-mathematical intelligences เป็น intelligence อย่างเดียวที่มนุษย์ทั้งหกพันล้านคนบนโลกนี้ต่างกันแค่มีมากและน้อยแค่นั้น หลังจากที่หนังสือเล่มแรกที่ตีพิมพ์เรื่อง multiple intelligences (ชื่อหนังสือ Frames of Mind) เมื่อปี 1984 จนถึงบัดนี้กล่าวได้ว่า Theory of Multiple Intelligences ได้เปดประตูความเป็นไปได้ของ educators ทั่วโลก ที่จะเลอกบอกนักเรียนว่า "คุณมี IQ ไม่พอที่จะทำอย่างนั้น อย่างนี้" แต่หันไปหาวิธีที่จะนำ curriculum ไปสู่นักเรียนด้วยวิธีต่างๆกัน

เราคิดว่า IQ TEST ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันนั้นเป็นยังไงครับ? และเราเชื่อใคร? เชื่อว่า IQ test นั้นสามารถบอกความแตกต่างของคนทั้งหมดได้ หรือว่าเราต้องการเครื่องมืออื่นๆเพิ่มเติมในการเข้าใจ "ความต่าง" ของมนุษย์ได้ดียิ่งขึ้น?





Posted by : Phoenix , Date : 2004-08-14 , Time : 22:44:43 , From IP : 172.29.3.209

ความคิดเห็นที่ : 1


   ที่ผ่านมาเรามีการคัดกรองต่างๆ ก่อนที่จะให้เข้ามาศึกษา ในคณะ

เรา "จริงจัง" กับ "การคัดกรอง" เหล่านั้นแค่ไหน

หรือไม่แน่ใจว่าเรามีการคัดกรองแล้วจริงหรือ

แต่คงยากที่จะบอกว่ามาตราฐานอยู่ตรงไหน

เราใส่ความ "เห็นใจ" เข้าไปในการคัดกรองนั้นด้วยไหม ระบบการคัดกรองที่เป็นแต้มนั้น คงอันตรายไปนิด ถ้าใช้เดียวๆ การใช้ระบบลูกขุน ก็หาบรรทัดฐานยาก


ความรู้สึกผมคือ เราไม่ได้จริงจังกับการสอบสัมภาษณ์ หรือการพิจารณา ว่าคนไหนไม่ควรเข้ามาเป็นแพทย์ มากพอ
หรืออย่างที่ท่านบอกไว้ว่า เรายังไม่รู้หรอกว่า อะไรเหมาะสม มาเป็นเกณท์วัด เลยเอาๆเข้ามาไว้ก่อน

และอีกหน่อย นโยบาย การต้องการแพทย์ที่จำนวนมากๆ ไว้ก่อน ท้ายที่สุด วิธีต่างๆก็เปล่าประโยชน์ เมื่อเราต้อง set บรรทัดฐาน ไว้ต่ำๆ

จริงๆประเด็นอยู่ที่
1.วัตถุประสงค์การแบ่งคืออะไร

สมัยหนึ่งเคยคิดว่าต้องเป็นคนเก่ง เป็นหลัก แต่สมัยนี้เห็นเปลี่ยนไป ไม่ต้องเก่งก็ได้ หรืออาจเป็นเพราะ เราไม่เชื่อระบบคะแนน entrance เราจึงให้คะแนนต่ำๆเข้ามาได้ (เน้นจำนวนคน โดยไม่กำหนด ขั้นต่ำ)

2. "ความต่าง" อะไรที่จะเอามาใช้แยก ความฉลาด ความเฉลียว ความมุมานะ ความทะเยอทะยาน ความเห็นแก่ตัว ความปกติ ความผิดปกติ ความอยากหรือไม่อยากเป็นแพทย์ ความเห็นแก่ได้ ความเลว ความรับผิดชอบ ....หรือทุกอย่าง
3. เมื่อเราแยกความต่างของเด็กได้แล้ว (gray scale??) เราต้องการคนที่จะมาเป็นแพทย์ ที่ความเลิศเลอแค่ไหน ที่เราจะไปขีดเส้นไว้ เอาหรือไม่เอา หรือเอาแต่ให้ระวังเป็นพิเศษ ...


ความเห็นผมคือ
1.ยากถ้าจะใช้แบบ crossectional แบบที่เป็นอย่ แล้วจะบอกว่าเขาเป็นแบบนั้นตลอดไป
2.ไม่ว่าจะใช้อะไรแบบไหนก็แล้วแต่ ขอเสนอให้มีระบบ "เอาออกกลางทาง" ไว้ด้วย ไม่ว่าระดับไหน (เปรียบได้กับ prospective หรือ experimental test) ยกตัวอย่างเช่น แพทย์ฝึกหัดผ่า ผ่าแล้วไม่ดูคนไข้ คุณก็เห็น ยังปล่อยไปสอบแล้วจบออกมา ก็เท่ากับคุณทำร้ายสังคม คือผมอยากให้กล้าที่จะบอกว่า คุณนั้นๆ ไม่สมควรเป็นแพทย์ ไม่สมควร ให้ออกมารับผืดชอบชีวิตคนอื่นและให้ไปทำอย่างอื่นดีกว่า (คัดกรองกลางทาง???)





Posted by : วิศวะซ่อมบำรุงห่วยๆ , Date : 2004-08-15 , Time : 05:34:04 , From IP : 172.29.3.253

ความคิดเห็นที่ : 2


   ขอบคุณครับคุณวิศวะซ่อมบำรุง (ทำไมต้องมีห่วยๆด้วยไม่ทราบ แต่ขออนุญาตเรียกย่อว่าคุณวิศวะก็แล้วกัน) ที่เข้ามาร่วมสภากาแฟแห่งนี้

คุณวิศวะถามคำถามมาหลายคำถาม และผมสามารถกล่าวได้ว่าเป็นคำถาม "หัวใจ" ของการคัดเลือกเกือบทั้งสิ้น และหลายอันในนั้น ผมไม่แน่ใจว่าเราจะทุบอก ตอบเสียงดังฟังชัดว่าได้แก้ไปแล้วได้รึเปล่า

เป็นเรื่องบังเอิญหรือไม่ที่สถาบันการสอนของมนุษย์มีหลากหลายวิชา แต่ละมหาวิทยาลัยจะมี colleges, department บางครั้งมากกว่า 50 สาขา แล้วเราคิดว่า IQ อย่างเดียวเป็นคำตอบสำหรับ "ความสำเร็จ" ในการเรียนดังกล่าวแค่นั้นจริงหรือ? ถ้า IQ เป็น single factor ของ so-called "Intelligence" จริง มนุษย์ทุกคนก็จะมี IQ และต่างกันแค่มากหรือน้อยแค่นั้น คนที่มี IQ มาก จะสามารถเรียนอะไรก้ได้ ทำอะไรก็ได้ และดีกว่าคนที่มี IQ น้อย

ที่อื่นไม่ทราบเหมือนกัน แต่ที่มอ.เรานี่ ผมว่าเรา "serious" พอสมควรทีเดียวกับกระบวนการคัดเลือก ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ว่าเราเห็นความสำคัญหรือไม่ แต่ตอนนี้อยู่ที่สองคำถามคือ ๑) เราให้ความสำคัญกับมันมากจริง แต่ "พอแล้วหรือไม่" และ ๒) เราคิดว่าเราตอบคำถามในเรื่องนี้ได้หมดแล้วหรือไม่ ถ้าไม่ คำถามที่เหลือมันสำคัญมากน้อยแค่ไหน? คำถามแรกเป็นเจตคติ คำถามที่สองเป็นขั้นปฏิบัติ

ย่อหน้าสุดท้ายคุณวิศวะว่ามานั้น สรุปปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งของคณะแพทย์ ของเราต่างจากวิศวะที่คณะแพทย์นั้นเข้ายากกว่าแต่ตกหรือ retire ยากเย็น แต่วิศวะนั้นเข้าง่ายกว่าก็จริง (oversimplified term นิดหน่อยนะครับ) แต่ก็ retire ง่ายเหมือนกัน notion นี้เป็นจริงสมัยตอนผมเรียนมหาวิทยาลัยนะครับ เพื่อนวิศวะที่จุฬากับประสานมิตรเคยเปรียบเทียบให้ฟัง ทางแก้เราต้องการสองอย่างเหมือนกัน คือ ๑) diagnostic tool ที่ถูกต้องแม่นยำว่าคนไหนจะเรียนต่อไม่ได้ หรือไม่ควรเรียนต่อจนจบเป็นแพทย์ และ ๒) เจตคติที่ถ้านำเอาเครื่องมือนี้มาใช้และเราจะ "ซื่อตรง" ต่อเครื่องมือนี้หรือไม่



Posted by : Phoenix , Date : 2004-08-15 , Time : 10:38:45 , From IP : 172.29.3.218

ความคิดเห็นที่ : 3


   ซ่อมบำรุงชีวิตอ่ะครับ

Posted by : วิศวฯ , Date : 2004-08-15 , Time : 20:38:19 , From IP : 172.29.3.212

ความคิดเห็นที่ : 4


   ขออนุญาตขยาย idea เรื่อง multiple intelligences ต่ออีกหน่อยก็แล้วกันนะครับ

Howard Gardner ตอนวัยรุ่นนั้นเป็นนักเปียโนที่ serious มากคนหนึ่ง ต่อมาขณะที่เขากำลัง pursue การศึกษาด้าน psychology เขาพบว่าการวัด intelligence ในขณะนั้น ไม่ได้รวม "ความฉลาด" ทางด้านศิลปะไว้เลย จากจุดนี้มุมมองของ Gardner ผ่านเห็น Thomas Jefferson, Jane Austen, Gandhi, etc คำถามกวนใจในเรื่อง classification of intelligences ก็รบกวนสมาธิของ Gardner มาโดยตลอด ออกมาเป็นผลงานอมตะ คือ Frames of Mind ที่ครบรอบ 20 ปีปีนี้ โดยที่ความสนใจและความ popular ของทฤษฎี multiple intelligences มีแต่จะเพิ่มขึ้น และถูก educators ทั่วโลกนำไปดัดแปลงใช้กับ curriculum ของตนเองอย่างแพร่หลาย

ในเล่มแรกเมื่อปี 1984 Gardner แบ่ง Intelligences เป็นเจ็ด domains
1. Linguistic intelligence
2. Logical-mathematical intelligence
3. Musical Intelligence
4. Bodily-kinethetic intelligence
5. Spatial intelligence
6. Interpersonal intelligence
7. Intrapersonal intelligence

ต่อมาในปี 1999 Gardner ได้เพิ่มอีกสาม คือ
8. Naturist intelligence
9. Spiritual intelligence
และ 10. Existential intelligence

โดยคาดการณ์ไว้ว่าความพยายามต่อไปในการจำแนก "มนุษย์" มีแต่จะเพิ่ม list นี้ให้ยาวออกไปเรื่อยๆ ความสำเร็จของทฤษฎี multiple intelligences ไม่ได้ปรากฏเด่นชัดใน original field ของ Gardner คือ psychology แต่กลายเป็นว่าลูกค้า (สานุศิษย์) กลุ่มสำคัญคือนักการศึกษา หรือผู้ที่หน้าที่รับผิดชอบในการจัดกหลักสุตร จัดประสบการณ์การเรียนการสอนทั่วโลกแทน



Posted by : Phoenix , Date : 2004-08-16 , Time : 00:17:21 , From IP : 172.29.3.238

ความคิดเห็นที่ : 5


   ไม่ทราบว่าการแบ่งสติปัญญาของมนุษย์ในทางพุทธนั้นเป็นอย่างไร หากคุณ Phoenix ทราบก็ช่วยชี้แนะด้วย (ผมรู้แต่เรื่องดอกบัว 4 เหล่าหรือ 5-6 เหล่าสำหรับ modified bhuddist บางคน)

เรื่องของการคัดกรองนั้น เราพยายามคัดกันตอนสอบเข้า ทำให้มีปัญหาตามมาเมื่อพบว่าภายหลังไม่ได้ทรัพยากรบุคคลอย่างที่หวังไว้ การ"คัดออก"กลางทาง แม้จะใจร้ายไปนิด แต่ก็อาจเป็นการแก้ไขระยะหลังที่เหมาะสม (ถ้าไม่สามารถดึงดัดกลับมาเข้าที่ทางได้)

แล้วเราสามารถพัฒนาอะไรให้เกิดขึ้นในตัวนศ.ที่รับเข้ามาแล้วได้บ้างล่ะครับ
เพราะผมเห็นว่า เราพยายาม add-in ทักษะต่างๆให้กับนศ.ตั้งแต่ปี 1 ไม่ว่าจะเป็นทักษะการสื่อสาร จริยธรรม หรือ maturity ฯลฯ ซึ่งแม้จะไม่มีตอนสอบเข้าแต่ถ้าได้เรียนรู้อย่างดีก่อนจบไป ก็อาจจะเป็นแพทย์ที่ดีไปก็ได้

ว่าแต่ว่า หลักสูตรปี 1 นั้น มันออกจะหน่อมแน้มไปหน่อยนะครับ
ความคิดเห็นผม ควรจะแก้หลักสูตรปี 1 ใหม่หรือไม่ก็เปลี่ยนเป็นเริ่มเรียนรู้ชีวิตแพทย์เสียเนิ่นๆซะเลย (เพื่อเรียนรู้หรือเพื่อคัดออก)

(- - หมายเหตุเนื้อหาปี 1- -)
ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ เรียนไปก็ไม่ได้ใช้ เนื้อหาม.ปลายที่เด็กนร.แย่งกันเรียนพิเศษอยู่ขณะนี้ก็เทียบเท่านศ.ปี 1 เรียนกันแล้วล่ะครับ
คณิตศาสตร์ ผมเรียนกับอ.ประสาท ก็ได้เรียนแนวคิดของอาจารย์มา (ส่วนเนื้อหาคณิตนั้น ผมติด E ต้องแก้ซัมเมอร์กับอาจารย์อีกรอบ และนั่นทำให้ผมได้เรียนรู้อาจารย์มากขึ้น)
communication skill เรียนไปแล้ว ก็ไม่เห็นว่าจะมีดีขึ้นมาเลย (skill เป็นสิ่งที่ต้องฝึกนี่นา)
วิชา social ต่างๆ ... ความรู้รอบตัว(ล่ะมั้ง) นศ.ไม่สนใจเท่าไหร่นะครับ
English lesson ...วิชาเดียวที่ได้ A (แล้วก็ไม่เคยได้อีกเลยจนถึงตอนนี้) อ่อนเกินไปครับ ไม่รู้สึกพัฒนาเท่าไหร่ คนที่อยู่ group c,d ก็ยังไม่มีใครกล้าลง PBL Eng สักคนเดียว...
(ขอบ่นแค่นี้ล่ะครับ ตันใจมาตั้งนานแล้ว)


Posted by : ArLim , Date : 2004-08-21 , Time : 05:45:59 , From IP : ppp-210.86.223.221.r

ความคิดเห็นที่ : 6


   คำถามคุณ ArLim กว้างไปนิดนึง พระไตรปิฏกกล่าวถึงปัญญาไว้หลายที่

มหาเวทัลลสูตร เป็นพระมหาโกฏฐิตะไปหาพระสารีบุตรเพื่อถามคำถามต่างๆ ได้ตอบชีhแจงเรื่องนี้ว่า "ผู้มีปัญญาทราม คือผู้ไม่รู้อริยสัจจ์ ๔ ตามเป็นจริง และผู้มีปัญญาคือผู้รู้อริยศัจจ์ ๔ ตามเป็นจริง ปัญญาและวิญญาณเป็นธรรมปนกัน ยากที่จะแยกบัญญัติทำให้ต่างกัน จะต่างกันก็ตรงที่ว่า ปัญญาควรเจริญ (ทำให้มี) และวิญญาควรกำหนดรู้"

ในติกนิบาต หรือชุมนุมธรรมะที่มี ๓ ข้อ พระพุทธเจ้าทรงแสดงบุคคล ๓ ประเภท คือ ๑) ผู้มีปัญญาเหมือนหม้อคว่ำที่กรอกน้ำไม่ลง ได้แก่คนที่ไม่สนใจฟังธรรมทั้งในขณะแสดงและขณะที่ตนลุกไปแล้ว ๒) คนมีปัญญาเหมือนชายพกที่ใส่ของไว้ เวลาลุกขึ้นก็หล่นเรี่ยราด ได้แก่ คนที่สนใจธรรมะขณะแสดง ลุกขึ้นแล้วก็ไม่สนใจ และ ๓) คนมีปัญญาหนาแน่นเหมือนหม้อน้ำหงายเปิดฝากรอกน้ำลงไปได้ไม่หก ได้แก่คนที่สนใจฟังธรรม ลุกไปแล้วก็ยังสนใจ ยึดปฏิบัติอยู่

นอกจากนี้ยังมีปลีกย่อยและหมวดอื่นๆ เกรงว่าหนักไปทางนึงเกิน เช่นปัญญาขันธ์ ปัญญาจักษุ ปัญญาวิมุติ ปัญญาวิสุทธิ ปัญญาวุฑฒิ และปัญญาสัมปทา อาจจะไม่ตรงกับคำถามเท่าไหร่ ขออนุญาตแค่เอ่ยถึงชื่อก็พอ

(Ref: พระไตรปิฏกฉบับสำหรับประชาชน พิพม์ครั้งที่ 16/2539)

หลักสูตรปีหนึ่งนั้นคงจะเห็นประโยชน์ชัดๆยากครับ เหมือนกับ basic sciences ทั่วๆไป วิชาประเภท Physics กับ Mathematic นี่เป็น aptitude test for logistic and mathematical intelligences ได้แก่ การมองเห็นความสัมพันธ์รูปแบบต่างๆของเรื่องราวต่างๆ ตรรกศาสตร์ "เป็นส่วนหนึ่ง" ของเครื่องมือชิ้นนี้ Basic Sciences มีความจำเป็นถ้าเราจะมี Innovation ใหม่ๆเกิดขึ้นครับ ถ้าไม่เข้าใจ basic science เราจะไม่เคยที่จะสร้าง ผลิต คิดค้นอะไรใหม่ๆได้เลย ต้องเป็นคนซื้อความรู้เขาตลอด แต่ถ้าพูดถึง effectiveness ของการเรียน basic science ของหลักสูตรบ้านเราแล้ว เปรียบเทียบกับ performance ที่เราคาดว่าน่าจะได้จากการเรียนพวกนี้ ก็ค่อนข้าง... อืม..น้อยกว่าที่ควรจะเป็น คนเข้าใจว่า basic science ต้อวเรียนโดยการท่อง แต่ถ้าเรียนแบบนั้นมันไม่ช่วย เราต้องการให้ basic science เสริมความเข้าใจในกลไกต่างๆ นั่นแปลว่าต้องเรียนด้วยความเข้าใจ ไม่ใช่จำ วิจารณ์ตามเนื้อผ้า อาจจะเป็น waste of time อย่างที่คุณ ArLim ว่าจริงๆสำหรับเท่าที่เรามองเห็นในขณะนี้



Posted by : Phoenix , Date : 2004-08-21 , Time : 10:19:09 , From IP : 172.29.3.220

ความคิดเห็นที่ : 7


   อืม ก็น่าจะต้องตีความว่าปัญญาล่ะครับ ว่าเราจะพูดถึงปัญญาแบบไหน

. . .
ปี 1 นั่นน่าจะให้เลือกเรียนวิชาได้เองนะฮะ เพราะ 90 % เป็นวิชาบังคับทั้งนั้นเลย
(เช้านี้ขอพิมพ์สั้นๆ ถ้าไม่กระจ่าง จะค่อยมาว่ากันต่อฮะ
แต่ไม่รู้เมื่อไหร่เหมือนกัน)


Posted by : ArLim , Date : 2004-08-26 , Time : 05:51:19 , From IP : ppp-210.86.223.221.r

ความคิดเห็นที่ : 8


   วิชาเลือก 10% ยังไม่พออีกหรือครับ?



Posted by : Phoenix , Date : 2004-08-26 , Time : 07:24:32 , From IP : 172.29.3.250

ความคิดเห็นที่ : 9


   ที่จำได้ จริงๆก็แค่สองวิชาล่ะครับ จากในสองเทอมของปี 1
เป็นวิชากีฬา 1 ที่ต้องเลือกกีฬาที่อยากเรียน
และอีก 1 เป็นวิชาทั่วไป ซึ่งตามความเป็นจริง(ในตอนที่ผมเรียน ตอนนี้ไม่รู้เปลี่ยนหรือยัง) คนส่วนใหญ่จะเลือกเรียนวิชา ประชากรศาสตร์ กันครับ
เหตุผลเพราะรุ่นพี่แนะนำมา จะได้นำมาใช้ใน commed (จริงหรือ ?)
ผมกับเพื่อนนั้นเลือกเรียนวิชา economic ส่วนบางคนก็เรียน psycho หรือปรัชญา
เพื่อนอีกคนเรียน western music ก็เลยมีปัญหาเรื่องหน่วยกิจ
ยุ่งเป็นยุงตีกันเลย กะแค่เลือกวิชาเดียว


Posted by : ArLim , Date : 2004-08-27 , Time : 05:22:55 , From IP : ppp-210.86.223.221.r

ความคิดเห็นที่ : 10


   เอ้อ แล้วก็ basic science ที่เรียนตอนปี 1 นั้น จะนับว่าเป็น basic ที่เราเอามาต่อยอดต่อได้หรือเปล่า
เพราะเราเอาอะไรมาตัดสินล่ะครับ ว่าวิชานี้เป็น basic science ที่ควรเรียน
(วิชาของอ.ประสาท ผมว่าเป็น basic science ที่ควรเรียนนะครับ แต่หลังจากปีของผม คอร์สของแกก็โดนตัดออก สงสัยจะมีนศพ.ตกมากเกินไป ...)


Posted by : ArLim , Date : 2004-08-27 , Time : 05:27:45 , From IP : ppp-210.86.223.221.r

ความคิดเห็นที่ : 11


   ผมเข้าใจว่า math กับ Physics ยังถือว่าเป็นวิชาที่เป็นสากล ที่สามารถงอกเงยไปเป็นอะไรก็ได้ จะสังเกตว่า generic IQ TEST จะมีส่วนนี้ปนๆอยู่ ถ้ามองย้อนไปในพิสัยของ intelligence ก็จะเป็น aptitude test for logical-mathematical intelligence

ส่วน organic chemistry and biology นั่นตรงไปตรงมาสำหรับสายวิทยาศาสตร์ชีวภาพนะครับ

มีวิชาอะไรอีกหว่า? ลืมไปแล้วแฮะ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-08-27 , Time : 07:09:21 , From IP : 172.29.3.211

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.007 seconds. <<<<<