ความคิดเห็นทั้งหมด : 9

กลุ่มไม่ work เกิดจากอะไรครับ?


   ก็ไม่ได้ว่าเองนะ บางทีอาจารย์บอกว่าบางคนพูดน้อยไป มากไป นอกเรื่องบ้าง ไม่เข้าประเด็นบ้าง ไอ้คนไม่ชอบพูดก้อไม่พูดอ่ะ จะให้ทำยังงัยคับ

Posted by : PBL , Date : 2004-08-01 , Time : 05:51:04 , From IP : 172.29.3.196

ความคิดเห็นที่ : 1


   กลุ่มไม่workมันตีความยากเหมือนกันนะ ว่ามันหมายความว่าอะไร เดาว่าคงได้learning objective แต่processไม่ดี คงจะได้ไหมน๊ะ ทีนี้อะไรคือprocessไม่ดี
การที่มีบางคนพูดมากไป บางคนพูดน้อยไป นอกเรื่องบ้าง ไม่น่าจะหมายถึงว่าเขาเหล่านั้นเป็นต้นเหตุที่ทำให้processกลุ่มแย่
ลองเดาอีกนะว่า
คนที่พูดมากไป เป็นไปได้ไหมน๊ะว่า เขาชอกการเรียนแบบกลุ่มdiscussion ชอบdebateหาข้อมูลจากการdiscussคราวนี้การเรียนแบบPBLเลยทำให้มันในอารมณ์สนุกไปเลย discussไม่เลิก แต่พวกนี้มีดีนะทำให้กลุ่มได้มีมุมมองที่สร้างสรรค์ไปได้ไกล แต่ถ้าไปไกลเกินเราต้องหาทางเบรคเขาแบบละมุมละม่อม
คนที่พูดน้อยไป อาจเป็นไปได้ว่าเขาเป็นคนมีความคิดดี แต่ต้องการการคิดการเรียนแบบเป็นระบบ ไม่ชอบการเรียนแบบdiscuss เวลาเพื่อนพูดอะไรมันตามทันยากถ้าพูดกันไม่เป็นstep อีกอย่างที่พบบ่อย คนกลุ่มนี้น่าสงสารนะsocial skillไม่ค่อยดี ความมั่นใจในตนเองอาจน้อยไปนิด ถ้าเขาเคยพูดอะไรออกไปแล้วเกิดเพื่อนๆทำท่าไม่เห็นด้วยเขาจะหมดความมั่นใจเอาได้ง่ายๆ แล้วจะเงียบไปกว่าเดิม ไม่ควรเบรคเขาตรงๆนะ ทางที่ดีหาโอกาสชมเชยหรือสนับสนุนความคิดเขาหน่อยถ้าเราเห็นด้วย และอย่าปล่อยให้คนอื่นหรือกลุ่มรุมยำเขานะ ถ้าเขาเกิดเสนออะไรมา แต่พวกนี้อาจมีดีนะ คมในฝักงัย ลองให้เขานั่งเงียบๆไป แต่กระตุ้นให้มีหน้าที่คอยสรุปเป็นระยะก็อาจจะดีนะ
แล้วคนที่ชอบพูดนอกเรื่องหล่ะ งงหน่อยนะว่านอกเรื่องของใคร ทางที่ดีต้องรู้ก่อนว่า การคิดอะไรก็แล้วแต่มันมีที่มาที่ไป ลองถามเขาสักนิดว่าเขากำลังคิดอะไร แล้วมันโยงกับเรื่องที่เรากำลังคุยกันได้อย่างไร เพราะอาจเป็นไปได้ว่าเขามีการเชื่อมโยงความคิดอะไรภายในสมอง ที่เราโยงไม่ทันและไม่คาดคิดก็ได้เลยคิดว่ามันนอกเรื่อง
ว่าแต่ว่าเราทราบกันหรือยังว่าเราและเพื่อนในกลุ่มมีlearning styleแบบไหน และไม่ทราบว่าได้ร่วมprojectทดสอบlearning styleที่เพิ่งจัดมาไม่กี่วันนี้หรือยังเอ่ย หาอ่านข้อมูลได้เพิ่มในกระดานข่าวหัวข้อของคุณลุงนกไฟได้นะ แล้วอีกอย่างจ้า อีกไม่นานพี่คงจะจัดโปรแกรมให้พวกเราอีก โดยให้แต่ละกลุ่มPBlร่วมด้วยช่วยกันหาทางออกของการอยู่ให้รอด ในแต่ละlearning styleที่อยู่รวมกัน อดใจรอหน่อยนะ ขอเริ่มที่ปี2ก่อนจ้า okไหมคนดี


Posted by : aries , Date : 2004-08-01 , Time : 16:42:38 , From IP : 172.29.3.249

ความคิดเห็นที่ : 2


   ผ่านประสบการณ์ PBL ไม่ work มาเหมือนกัน ช่วงแรกๆก็ขวางกระแสน่าดู ช่วงหลังๆก็ทำใจ ยอมเรียนรู้ตามแบบเพื่อนๆไป แม้ว่าจะได้ประสิทธิผลไม่ค่อยดีนัก
แต่อย่างน้อยๆถ้ากลุ่มจะไปได้ด้วยดีนั้นก็คงต้องมีความรู้สึกในเรื่องของ PBL ที่พ้องกันเสียก่อน บางคนอาจจะคิดว่า PBL ก็แค่แบ่งๆเรื่องกันไปอ่าน session แรกก็รีบๆบอก Learning objective แล้วแบ่งๆกันไปอ่านมาพูดใน session ที่สอง บางคนก็คิดตรงข้าม มันก็เลยขัดกันไปหมด
ผมก็อยากเห็นตัวอย่างกลุ่มที่ทำ PBL ได้ดีๆเหมือนกันนะ


Posted by : ArLim , Date : 2004-08-01 , Time : 23:38:39 , From IP : ppp-210.86.223.221.r

ความคิดเห็นที่ : 3


   เห็นด้วยนะArLimที่ว่าน่าจะต้องเรียนรู้และรู้จักเพื่อนในทีมกันให้หมดและตกลงอารมณ์ความรู้สึกร่วมกันว่าในกลุ่มเราจะเอากันประมาณไหน กลุ่มจะได้เป็นของทุกคนและสนุก
อีกอย่างอยากเห็นมากที่สุดคือเรื่องการหยั่งรู้ตนเรื่องความถนัดในการเรียน และการเห็นใจเพื่อนที่ถนัดไม่เหมือนเราแบบempathy คือเอาใจเขามาใส่ใจเราแบบนั่งลงกลางใจเขาเลยนะว่าทุกข์สุขกันอย่างไร กับการอยู่ด้วยกันบนความแตกต่างของหลากหลายความถนัดจ้า
คงไม่ทำให้หัวข้อนี้ไขว้เขวไปนะเพราะพี่เป็นพวกที่มีความถนัดเด่นๆเป็นแบบabstract ramdomจ้า ใครเปิดประเด็นไปทางไหนdicussได้หมดถึงแม้นมันอาจเกี่ยวพันกับหัวข้อเพียงนิดหน่อย ไม่มีsequenceหรือเรียงลำดับว่างั้นเถอะ ถึงที่นี้ขอหยุดก่อนที่ความคิดจะบันเจิดไปมากกว่านี้ รอให้พี่ๆที่ถนัดแบบconcreteหรือabstract sequenceมาจัดระบบความคิดให้ไม่กระเจิดกระเจิงต่อดีกว่านะ เห็นไหมจ๊ะว่าเนี่ยต้องรู้ตัว และกำลังยอมรับตัวเองนะคนดี


Posted by : aries , Date : 2004-08-02 , Time : 00:31:17 , From IP : 172.29.3.237

ความคิดเห็นที่ : 4


   วันก่อนมีคนทอยคำๆหนึ่ง ผมว่าสำคัญมาก คือเราต้อง ไม่เป็น judgemental เวลาเรารับฟังเก็บข้อมูลครับ

ยิ่งถ้าเรารู้ว่าการรับรู้มีหลายรูปแบบ และเปนสมบัติประจำตัวคล้ายๆกับรูปร่าง หน้าตา นิสัยส่วนตัว นามสกุล ฯล เราอาจจะสามารถเพิ่มความระมัดระวังไม่ให้เกิดอาการ "ด่วนสรุป" ด้วยข้อมูลที่เรารับมาแบบ reflex เพราะนั่นมักจะแปลว่าเราใช้ "ความเป็นตัวตนเราเอง" ครับในการสรุปว่าดีไม่ดี ถูกไม่ถูก ซึ่งกลายเป็นว่าต้องขึ้นกับคุณภาพของ diagnostic tool ในที่นี้คือเราตัดสินความดีงามในโลกนี้

แต่ไม่ใช่เรื่องแปลกนะน้อง ที่เวลาต้องทำงานร่วมกับคนที่มี style ไม่เหมือนเรา แม้แต่ AR (abstract random) ที่สามารถรับรู้และเข้าถึงด้านอารมณ์ได้ดีที่สุด ตรงนั้นก็เป็นดาบสองคมถ้าไปเจอ CS (concrete sequential) ดุๆหน่อย ก็จะน้อยอกน้อยใจไปนั่งดูดนิ้วหัวแม่มือตรงมุมห้องได้

การ ไม่ตัดสิน หรือไม่ judgemental จะช่วยได้อย่างไร ผมอาจจะเสริมอีกคำคือบวกกับ optimism คือการมองอะไรในแง่บวกไว้ จะทำให้เรา approach ๘อมูลอย่างบวกไว้ก่อน ว่ามันอาจจะนำเราไปสู่อะไรดีๆได้ล่ะน่า ไหนๆเพื่อนก็แสดงความเห็นออกมาแล้ว ขบวนการคิดนี่ซับซ้อนนะครับ บางทีเราดูเหมือนเพื่อนโพล่งออกมาไม่ได้นึกอะไร จริงๆเขาอาจจะคิดเรื่องนี้อยู่ก่อนมาเป็นชาติแล้วก็ได้ พึ่งมีโอกาสได้พูด

ส่วนเรื่องคนไม่ยอมพูดยอมจานี่ผมว่าเราต้องช่วยกันครับ ปัญหาคือ diagnosis ว่าอะไรคือปัญหานี่แหละ แต่การที่เมื่อไหร่ก็ตาม น้องในกลุ่มสามารถ identify ว่ามีเพื่อนบางคนไม่พูดนี่เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีมากแล้วนะครับ เติมเจตคติของ group process ให้อีกนิด กลุ่มก็จะรู้สึกว่ามันน่าจะดีถ้าให้คนๆนี้พูดบ้าง แสดงความเห็นบ้าง เก็บไอ้พวก Abstract sequential (ซึ่งงานที่ยากที่สุดอย่างหนึ่งของ trait นี้คือการ "ไม่" monopolize การสนทนา) ให้เงียบๆลงไปบ้าง การที่น้องทราบว่ากลุ่มของเราเองมีหลายหลาย และเริ่มดูคุณสมบัติเหล่านี้ เป็นนิมิตหมายที่ดีของการเข้าใจ group process ซึ่งเป็นหัวใจของการเรียนระบบนี้



Posted by : Aquarius , Date : 2004-08-02 , Time : 16:30:48 , From IP : 172.29.3.222

ความคิดเห็นที่ : 5


   วันก่อนมีคนทอยคำๆหนึ่ง ผมว่าสำคัญมาก คือเราต้อง ไม่เป็น judgemental เวลาเรารับฟังเก็บข้อมูลครับ

ยิ่งถ้าเรารู้ว่าการรับรู้มีหลายรูปแบบ และเปนสมบัติประจำตัวคล้ายๆกับรูปร่าง หน้าตา นิสัยส่วนตัว นามสกุล ฯล เราอาจจะสามารถเพิ่มความระมัดระวังไม่ให้เกิดอาการ "ด่วนสรุป" ด้วยข้อมูลที่เรารับมาแบบ reflex เพราะนั่นมักจะแปลว่าเราใช้ "ความเป็นตัวตนเราเอง" ครับในการสรุปว่าดีไม่ดี ถูกไม่ถูก ซึ่งกลายเป็นว่าต้องขึ้นกับคุณภาพของ diagnostic tool ในที่นี้คือเราตัดสินความดีงามในโลกนี้

แต่ไม่ใช่เรื่องแปลกนะน้อง ที่เวลาต้องทำงานร่วมกับคนที่มี style ไม่เหมือนเรา แม้แต่ AR (abstract random) ที่สามารถรับรู้และเข้าถึงด้านอารมณ์ได้ดีที่สุด ตรงนั้นก็เป็นดาบสองคมถ้าไปเจอ CS (concrete sequential) ดุๆหน่อย ก็จะน้อยอกน้อยใจไปนั่งดูดนิ้วหัวแม่มือตรงมุมห้องได้

การ ไม่ตัดสิน หรือไม่ judgemental จะช่วยได้อย่างไร ผมอาจจะเสริมอีกคำคือบวกกับ optimism คือการมองอะไรในแง่บวกไว้ จะทำให้เรา approach ๘อมูลอย่างบวกไว้ก่อน ว่ามันอาจจะนำเราไปสู่อะไรดีๆได้ล่ะน่า ไหนๆเพื่อนก็แสดงความเห็นออกมาแล้ว ขบวนการคิดนี่ซับซ้อนนะครับ บางทีเราดูเหมือนเพื่อนโพล่งออกมาไม่ได้นึกอะไร จริงๆเขาอาจจะคิดเรื่องนี้อยู่ก่อนมาเป็นชาติแล้วก็ได้ พึ่งมีโอกาสได้พูด

ส่วนเรื่องคนไม่ยอมพูดยอมจานี่ผมว่าเราต้องช่วยกันครับ ปัญหาคือ diagnosis ว่าอะไรคือปัญหานี่แหละ แต่การที่เมื่อไหร่ก็ตาม น้องในกลุ่มสามารถ identify ว่ามีเพื่อนบางคนไม่พูดนี่เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีมากแล้วนะครับ เติมเจตคติของ group process ให้อีกนิด กลุ่มก็จะรู้สึกว่ามันน่าจะดีถ้าให้คนๆนี้พูดบ้าง แสดงความเห็นบ้าง เก็บไอ้พวก Abstract sequential (ซึ่งงานที่ยากที่สุดอย่างหนึ่งของ trait นี้คือการ "ไม่" monopolize การสนทนา) ให้เงียบๆลงไปบ้าง การที่น้องทราบว่ากลุ่มของเราเองมีหลายหลาย และเริ่มดูคุณสมบัติเหล่านี้ เป็นนิมิตหมายที่ดีของการเข้าใจ group process ซึ่งเป็นหัวใจของการเรียนระบบนี้



Posted by : Aquarius , Date : 2004-08-02 , Time : 16:31:18 , From IP : 172.29.3.222

ความคิดเห็นที่ : 6


   หลักสำคัญที่ว่า nonjudgemental คือไม่เป็นคนตัดสินใครหรือเรื่องใดว่าถูกหรือผิดในทุกๆเรื่อง ทุกๆสถานการณ์และกับทุกๆคน และควรเป็นคุณสมบัติที่เราควรมีในการใช้ชีวิตทั่วๆไปเช่นเดียวกัน เพราะตลอดเวลาในชีวิตจะมีความต่างเกิดขึ้นเสมอ เพื่อรอให้เราทำความเข้าใจ แต่บอกตรงๆว่าทำยากมากนะ การไม่ตัดสินคนเนี่ย เผลอทีไรอาจแอบเหน็บไปแล้วนิดนึงหน่ะ หรือทำหน้าเหม็นเบื่อใส่ไปให้เสียแล้ว เฮ้อ.... แต่ของแบบนี้ต้องฝึกนะ จะได้เป็นกลางจ้า
ว่าแต่ตอนนี้เจ้าของกระทู้มึนไปหรือยังจ๊ะ เราตอบกันทำให้รู้สึกเครียดไปหรือเปล่าและไม่รู้ว่าได้คำตอบที่อยากได้ไหม สะท้อนให้ฟังหน่อยนะเพราะอยากจะเข้าใจความทุกข์ที่มีอยู่นะ ที่สำคัญ เป็นกลาง ไม่ตัดสิน และpositive thinking คิดแง่บวกแน่นอนจ้า


Posted by : aries , Date : 2004-08-03 , Time : 06:51:52 , From IP : 172.29.3.239

ความคิดเห็นที่ : 7


   ผมว่าบางทีมันอยู่ที่กระบวนการกลุ่มของแต่ละกลุ่ม และfacilitator แต่ละคน ซึงการทำ pbl ออกมาจะดีหรือไม่นั้น ประธานกลุ่มต้องมีความสามารถในการควบคุมกระบวนการต่างๆ ในกลุ่มให้ได้ พยายามกระตุ้นให้คนที่พูดน้อยแสดงความคิดเห็น ถ้าใครพูดมากไปก้อต้องหยุด facilitator ก้อต้องควบคุมประธานอีกที่ ซึ่งยังมีfacilitator บางคนปล่อยให้กลุ่มดำเนินไปโดยลำพังคือไม่พูดอะไรเลย ไม่แนะนำในสิ่งที่ควรแนะนำ หรือกระตุ้นการเรียนรู้ให้นักศึกษา ทำให้กลุ่มไม่ไปถึงเป้าหมายส่วนบางคนก้อแนะนำจนเกินไปจนทำลายกระบวนการ และfacilitatorแต่ละคนก้อชอบกระบวนการที่ต่างกันทำให้กลุ่มปรับตัวไม่ถูก ดังนั้นควรมีการสร้างมาตรฐานของ facilitatorให้เหมือนกัน ก้อจะช่วยในการทำ pbl ได้

Posted by : Comment , Date : 2004-08-13 , Time : 16:44:05 , From IP : 172.29.4.44

ความคิดเห็นที่ : 8


   ที่คุณ comment ว่ามานั้นมีส่วนสำคัญมากที่เดียวคือ "มาตรฐาน" และอีกประการหนึ่งคือ "บทบาท"

ระบบการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นฐานนี้ คะแนนจะลงไปอยู่ที่ process ค่อนข้างเยอะเมื่อเทียบกับระบบเก่าซึ่งเน้นการสอบรูปแบบต่างๆ และเหตุผลก็คือเราคาดวว่าผู้เรียนจะต้อง "ได้" อะไรมากพอสมควรจากการผ่าน process ที่ถูกต้อง ตั้งแต่ปรัชญาเองหลังและไปจนถึงก่อเกิดความชำนาญ Facilitator ก็มีหน้าที่ที่จะเป็น guadian ผู้คุ้มครองกฏ ผู้เฝ้ากรอบ ให้นักศึกษาได้ดำเนินไป (โดยมีการแทรกแซงที่น้อยที่สุด)

ประเด็นสุดท้ายข้างต้นก่อให้เกิด zone ที่ค่อนข้างไม่ชัดเจนสำหรับทั้งสองฝ่าย และอาจจะเกิดความคิดที่แตกต่างกันในแง่ของ "ความพอดี" ต่อบทบาทของแต่ละคน อย่าลืม assumption อีกประการที่สำคัญมากสำหรับการเรียนแบบ PBL คือ นักศึกษาเป็นผู้เรียนในระบบ Andragogy หรือ การศึกษาของผู้ใหญ่ ซึ่งมีลักษณะเด่นคือการรู้หน้าที่ความรับผิดชอบรวมถึงบทบาทของตนเอง เข้าใจเป้าหมายปลายทางที่ต้องการอย่างชัดเจน

นักศึกษา 12-14 คนของแต่ละกลุ่มจะมี l;earning style ที่แตกต่างกัน และข้อสำคัญ Facilitator เอง ก็มีความถนัดในการรับจำแนกและตอบสนองต่อข้อมูลไม่เหมือนกัน ฉะนั้นความพอดีหรือความเหมาะสมอาจจะปรับรายละเอียดให้ตรงกันได้ยาก เราคงต้องเอาแค่ concept ใหญ่ๆของ PBL ให้เหมือนกันก็พอ

ดีใจที่คุณ comment ยกประเด็นบทบาทของ chairman และสมาชิกออกมา เป็นการแสดงให้เห็นว่าคุณ comment มีความเข้าใจในกระบวนการ Process PBL ที่เริ่ม "In" แล้ว ตรงนี้ไม่ต้องใจร้อนครับ ค่อยๆปรับ ข่อสำคัญคือในฐานะสมาชิกกลุ่ม เราสามารถช่วยประธานในด้าน group process ได้เหมือนกัน ไม่ต้องปล่อยให้ประธานทำคนเดียวทั้งหมด เพราะประธานต้องคุม time schedule และทิศทางการอภิปรายต่างๆอยู่แล้ว งานที่เหบือเพื่อนๆในกลุ่มอาจจะสามารถช่วยกันทำได้ด้วยนะครับ

เอาใจช่วยครับ



Posted by : Aquarius , Date : 2004-08-13 , Time : 23:19:39 , From IP : 172.29.3.215

ความคิดเห็นที่ : 9


   facilitatorแบบนั่งเงียบไม่แทรกแซง หรือ no response ตลอดsessionก็ดูเหมือนว่าจะดี? ถ้า processของกลุ่มแม่นก็okไป แต่อาจทำให้กลุ่มรู้สึกinsecureไม่ปลอดภัยว่ามีอะไรขาดตกบกพร่องไปไหม discussกันได้คลอบคลุมไหม ที่สำคัญที่คงเป็นห่วงกันนักหนาก็คือ ว่าได้learing objective ครบไหม แต่ถ้าได้facilitatorเป็นแบบdominate ชี้นำ แทรกแซงหล่ะก็ไม่ต้องพูดถึง ถ้าเด็กไม่กล้าจริง ก็คง หยุดคิด หยุด create และที่สำคัญ facilitatorดังกล่าวคงต้องเปลี่ยนชื่อ มาเป็นประธานแทน
น่าคิดนะ ที่จริงคิดว่าเราไม่ควรเอา LO เป็นที่ตั้ง แต่อาจเอามาเป็นกรอบที่แคบที่สุด สำหรับการdiscuss มากกว่า และควรดีใจถ้ากลุ่มเรามี การdiscussตั้งobjectiveได้มากกว่ากรอบที่LOกำหนด และที่สำคัญไม่อยากให้กลุ่มattackว่าเพื่อนที่คิดนอกกรอบนั้น ว่าไร้สาระ เพราะคนเราควรมองให้กว้าง แต่ ของแบบนี้ต้องฝึกกันหน่อยนะ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่ถ้าเราทำได้ อนาคตเราจะเป็นคนที่เปิดกว้างทางความคิดแน่นอนทีเดียว เติบโตแน่นอน
ส่วนเรื่องfacilitatorที่หลากหลาย ???บุคลิกคนเราเปลี่ยนได้ง่ายเพียงแค่ได้รับอบรมบทบาทของfacilitatorที่เหมาะสมตามมาตรฐานก็ดีสิ และนี่คงเป็นงานหนักอีกชิ้นหนึ่งแน่นอนทีเดียว


Posted by : aries , Date : 2004-08-14 , Time : 20:48:09 , From IP : 172.29.3.226

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.006 seconds. <<<<<