ความคิดเห็นทั้งหมด : 14

Debate LXX: Learning Styles: Gregorc Style Delineator


   เคยสงสัยบ้างไหมครับว่าการเรียนรู้นี่มันมีซักกี่รูปแบบ กี่สไตล์กันแน่ และข้อสำคัญของเรานั้นมันเป็นแบบไหน?

ทฤษฎีการศึกษามีมากมายหลายโรงเรียน มีการตั้งสมมติฐาน ทดลองทดสอบ และติดตามผลในนักเรียนกลุ่มต่างๆมากมายเป็นเวลาหลายสิบปี วันนี้ขอนำเอาทฤษฎีหนึ่งมาเล่าสู่กันฟังก็แล้วกัน

Anthony F. Gregorc, Ph. D., เป็น phenomenological researcher, lecturer, consultant, author and President of Gregorc Associates, Inc. ได้ให้คำจำกัดความของ Phenomenology ไว้ดังนี้
Pheno = outward appearance หรือที่เราเรียกว่า style
Noumena = invisible driving forces that give rise to style หรือเป็นอะไรที่อยู่เบื้องหลังที่มาผลักดันให้เกิด styles ต่างๆ อาจจะเป็นเชิงคุณภาพ ((qualities) เช่น concreteness, abstractness, sequentialness และ randomness หรือเชิง functions เช่น ความฉลาด (intelligence), อารมณ์, ลางสังหรณ์ (อาจแปลไม่ตรง คำนี้ใช้ intuition) และ instinct
Logos = word, nature of, root of หรือ Cause of Things

ปี 1983, 1984 งานของ Gregorc ที่มีบทบาทสำคัญคือการจัดหมวดรูปแบบ (styles) การเรียนรู้ การรับทราบแปลผลข้อมูลออก โดยใช้สองพิสัยคือ ลักษณะของข้อมูล และลำดับของข้อมูล แต่ละพิสัยแบ่งเป็นสองกลุ่มคือลักษณะที่เป็น concrete หรือ abstract และลำดับที่มาเป็น linear หรือแบบ random เอามารวมเป็นสี่กลุ่มใหญ่ๆของ styles คือ Concrete/Sequential (CS), Abstract/Sequential (AS), Abstract/Random (AR), และ Concrete/Random CR) CS, AS, AR, CR ได้ถูกนำมาดัดแปลงใช้ประกอบทฤษฎีการศึกษา การช่วยเหลือนักเรียน การพัฒนาบุคลิก ภายในโรงเรียน องค์กรรัฐ ภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจ มาถึงในวงการแพทย์และสาธารณสุข

CS ชอบอะไรที่สามารถสัมผัสได้โดยประสาทสัมผัสทั้งห้า และมาเป็นลำดับ
AS ชอบอะไรที่มาเป็นนามธรรม แต่มี structure เชื่อมต่อกันเป็นห่วงสัมพันธ์โดยตรรกะ
AR ชอบอะไรที่เป็นจำพวกความรู้สึกนึกคิด จินตนาการ และงอกงามแบบสุ่ม ไร้ทิศทาง ไร้กระบวนท่า
CR สามารถดึงเอาประเด็นซ่อนเร้นจากกองฟางที่ยุ่งเหยิง ไม่เป็นระเบียบ แต่เป็นประเด็นที่เป็นรูปธรรม

พวกเราคิดว่าความรู้เหล่านี้นำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไรบ้างล่ะครับ?




Posted by : Phoenix , Date : 2004-07-30 , Time : 23:31:35 , From IP : 172.29.3.212

ความคิดเห็นที่ : 1


    ถ้าเรารู้ว่าจุดถนัดของเราเป็นแบบไหนก็คงจะดี จะได้หยั่งรู้styleที่ตนเองชอบและเอามาใช้ประโยชน์ และยังรู้ว่าจุดด้อยที่ไม่ถนัดคือ อะไร เพื่อจะได้หาโอกาสพัฒนา ฝึกปรือฝีมือด้านที่ไม่ถนัด
คงมีดีอีกอย่างมั้ยนะถ้าเรารู้ว่าเพื่อนร่วมงานเราเป็นในแบบไหนจะได้ไม่ตำหนิ และเห็นใจกันได้งัยเวลาที่เขาทำให้งานกลุ่มป่วนเพราะการdicuss แบบไร้ทิศทางแบบARหรือrigidมากเกินไปแบบASที่คอยcontrol stepต่างๆ
จะยิ่งดีมากๆไหมน๊ะ ถ้าเด่นทั้งสี่ด้านเท่ากัน หรือ อาจหมายถึงไม่เด่นด้านใดเลย ไม่แน่ใจ ?


Posted by : pisces , Date : 2004-07-31 , Time : 19:17:12 , From IP : 172.29.3.215

ความคิดเห็นที่ : 2


   ก่อนอื่นความถนัดหรือ styles ที่ได้ว่าไปเปนแค่ traits เฉยๆ นั่นคือสามารถเปลี่ยนแปลง พัฒนา และควบคุมได้ระดับหนึ่ง

แต่ละ trait จะมีความ "ชอบ ไม่ชอบ" ไม่เหมือนกัน (ผมคิดว่าไม่ใช่เรื่องด้อย เรื่องเด่น เป็นแค่ preferences หรือ รสนิยม อะไรทำนองนั้น) เช่น

Concrete Sequential
ชอบอะไรที่ "นำมาปฏิบัติ" ได้ (practical) จัดเป็นระบบ (organized) ชอบเรื่องประสิทธิภาพประสิทธิผล (นับได้ บวกลบได้ ตระกูล balanced score card) และแจ๋วมากเรื่องทำงานให้เสร็จตามเวลา แต่ที่อาจจะลำบากหรือไม่ชอบก็เช่น ทำงานเป็นกลุ่มใหญ่ หลากหลาย อภิปรายแบบไร้จุดหมาย (หรือแกมองว่าไร้จุดหมาย) ที่ทำงานไม่เป็นระเบียบ คำชี้แจงหรือ protocol ไม่ชัดเจน เพื่อนร่วมงานที่ unpredictable ทำงานบน abstract ideas หรือถูกขอให้ใช้ "จินตนาการ" หรือตอบคำถามประเภทไม่มีถูกผิด

Abstract Sequential
ชอบรวบรวมข้อมูลทั้งหมดก่อนตัดสินใจ วิเคราะห์ความคิด ความเห็น เป็นนักวิจัย ให้คำอธิบายเป็นลักษณะ logical flow ที่ไม่ชอบก็คือถูกบังคับให้ทำงานร่วมกับกลุ่มที่มีความเห็นแตกต่าง เวลาจำกัดเกินกว่าที่จะมีข้อมูลครบ งานซ้ำซากจำเจ งานที่เต็มไปด้วย rules ไม่ชอบความคิดประเภท sentimental หรือใช้อารมณ์เป็นฐาน จะเป็นพวกที่มีความยากลำบากในการแสดงออกของอารมณ์ (ไม่ได้แปลว่าไม่มีอารมณ์นะครับ) ฉะนั้นเล่นละครไม่เป็น ตีโพยตีพายไม่เป็น ที่ชอบมากคือ monopolize conversation คือแย่งพูดคนเดียว (และที่ยากสำหรับตะแกมากๆเหมือนกันคือการพยายามจะไม่ monopolize conversation)

Abstract Random
มีความสามารถในการ "รับฟัง" ผู้อื่น เป็นเครื่องรับคลื่นอารมณ์ ความรู้สึกเดินได้ สนใจจับประเด็นความคิด อยู่ในกลุ่มค่อนข้าง happy สามารถสร้าง relationship กับทุกคนได้ดีเป็นพิเศษ สามารถรับรู้และสามารถตอบสนอง emotional needs of others ปัญหาคืออธิบายไม่ได้นะครับว่าเป็นยังงัยมายังงัย เกลียดบรรยากาศ competition (ใครแน่กว่าใคร ของเอ็ง ของข้า) ทำใจทำงานกับพวก dictatorial, authoritarian personalities ไม่ได้ ทำงานใน restrictive environment ไม่ได้ ให้ทำสมาธิกับเรื่องเรื่องเดียวเก๊าะม่ายด้ายเหมียนกัน ให้อธิบายงานหรือรายละเอียดการทำงานออกมาเป๊ะให้เข้าใจก็ฝันไปเถอะ ที่เกลียดมากคือ critcism แม้แต่ positive criticism ก็ตาม (ขี้ใจน้อยแฮะ พวกนี้)

Concrete RAndom
พวกนี้ดูแล้วจะเหมือน gifted นะครับ ไม่มีใครรู้ว่าแกเก่งได้ยังงัย มีความสามารถในการ Inspire คนอื่นให้ทำงาน จับจุดได้เร็วกว่าคนอื่น มองปร๊าดเห็น options solutions เต็มไปหมด ความเห็นแต่ละอย่างแปลกๆ (เพราะไม่มีที่มาชัดเจน แต่ฟังง่าย เข้าประเด็น จับต้องได้) เป็นพวกที่ทำให้คนอื่นสามารถ visualize future ได้ ถ้าติดตรงไหนกับวิธีเก่าๆอยากได้วิธีใหม่ๆก็ถามแกเถอะ คิดเร็วมาก และอาจจะเพราะเหตุนี้ดูเหมือนแกจะชอบ take risk (จริงๆแกอาจจะเห็นอะไรของแกคนเดียวก็ได้) ปัญหาคือเกลียดกฏเกณฑ์ หรือ limitations ต่างๆ การเขียนรายงานแบบ formal อะไรที่เป็น routines ทำซ้ำทำซาก บันทึกรายละเอียดต่างๆ (ให้สรุป chart แกจะบึ้งไปสิบวัน) หรือถูกใครขอให้อธิบายว่าแกตอบมาได้ยังไงแกก็ไม่ชอบ (เพราะแกก้ไม่รู้ที่มาเหมือนกัน) หรือใครขอ one best answer ก็ไม่ชอบ (ก็ตูเห็นความเป็นไปได้เต็มไปหมด) หรือให้ทำอะไรตาม protocol ไม่มี alternatives

เอ้า ใครคิดว่าตัวเองเป็นยังไง เข้าพวกไหนบ้างครับ?




Posted by : Phoenix , Date : 2004-07-31 , Time : 19:51:43 , From IP : 203.156.43.103

ความคิดเห็นที่ : 3


   อ่านๆแล้วคงเข้ากับอันสุดท้ายมากที่สุดล่ะครับ
หรือเพราะว่าไม่มีดีสักอย่าง ก็เลยใช้ instinct เป็นหลัก
แย่แฮะ


Posted by : ArLim , Date : 2004-08-01 , Time : 04:42:33 , From IP : ppp-210.86.223.221.r

ความคิดเห็นที่ : 4


   ลืมบอกไป เรามีแบบสอบถาม 15 ข้อ (ภาษาไทย) ที่สามารถทดสอบและบอกได้ครับว่าจริงๆแล้วเราถนัดอะไรแบบไหน ปีสองส่วนใหญ่และปีสามบางส่วนได้ทำกันไปแล้ว

ใครสนใจติดต่อได้ที่ อ.วรพงศ์ (ศลัยศาสตร์) หรือ อ.จารุรินทร์ (จิตเวชศาสตร์) ได้นะครับ นัดมาเป็นกลุ่มก็ได้ จะได้แปลผลให้ได้เลยทีเดียว



Posted by : Phoenix , Date : 2004-08-01 , Time : 05:44:39 , From IP : 203.156.43.96

ความคิดเห็นที่ : 5


   คิดว่าarlimน่าจะมี ARปะปนอยู่ด้วยนา

Posted by : pisces , Date : 2004-08-01 , Time : 05:47:03 , From IP : 172.29.3.199

ความคิดเห็นที่ : 6


   แต่ผมไม่ขี้น้อยใจนะฮะ ถ้า MR ก็ว่าไปอย่าง แล้วคุณ pisces กับคุณ phoenix เป็นแบบไหนล่ะฮะ

Posted by : ArLim , Date : 2004-08-01 , Time : 16:11:37 , From IP : ppp-210.86.223.221.r

ความคิดเห็นที่ : 7


   คุณ ARLIM ลองเดาดูสิครับ ผมว่าเราค่อนข้างจะ typical ออก extreme เล็กๆซะด้วยซ้ำ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-08-01 , Time : 18:24:14 , From IP : 203.156.45.209

ความคิดเห็นที่ : 8


   ผมรู้สึกว่าสี่แบบนี่มันน้อยและไม่ครอบคลุมเพียงพอนะฮะ
ถ้าให้ผมว่าอย่างคุณ Phoenix ก็น่าจะเป็น Concrete Random ผสม Abstract sequential หน่อยๆนะครับ
ส่วนของคุณ pisces นี่ยังจับไม่ได้ฮะ
ผมว่ามันยังน้อยไปอยู่ดี


Posted by : ArLim , Date : 2004-08-01 , Time : 23:28:47 , From IP : ppp-210.86.223.221.r

ความคิดเห็นที่ : 9


   ไร้ทิศทาง มีหลากหลายกระบวนท่า ร่วมคุยกับคนได้ทุกตอนไม่ว่าจะดึงหัวข้อไปทางไหน ทำไปคิดไปเรื่อยๆ และชอบวิถีการร่วมคิดจึงจะแตกฉาน ไม่มีข้อสรุปของงานที่ชัดเจนในช่วงแรก เพราะยังคิดไม่เสร็จ และมันก็จะคิดไม่เสร็จเสียที จนถึงวันกำหนดที่จะต้องมีactionนั่นแหละ ถึงคิดเสร็จ ทำเป็นcocreteได้
อืมน่าจะเป็นแบบไหนเนี่ย และไม่รู้ว่าขี้น้อยใจไหม ก็ไม่อยากยอมรับแบบArLimเหมือนกันนะ แต่ถ้าคุยกับใคร เขาชอบร้องไห้ด้วย สงสัยจับจุดอ่อนคนได้ง่ายมั้ง และถ้าชวนเพื่อนมาช่วยคิดอะไรแล้วเพื่อนไม่ร่วมdiscussด้วยอาจเต้นกระทืบเท้าเล็กๆเอาได้ง่ายๆ เมื่อรู้ตัวและไม่อยากเสียใจ เลยต้องไปชวนพวกชอบdebateมาคุยด้วยงัยจ๊ะ


Posted by : pisces , Date : 2004-08-02 , Time : 00:50:14 , From IP : 172.29.3.237

ความคิดเห็นที่ : 10


   ถึงกับร้องไห้เลยหรือครับ
การคุยกันหรือการ discuss ก็ต้องสนใจคู่สนทนาหน่อยนึงนะฮะ ว่าเขาเริ่ม react อย่างไร
บางทีเราก็ไม่อยากเสียคู่สนทนาหรือเพื่อนร่วมงานล่ะนะ


Posted by : ArLim , Date : 2004-08-02 , Time : 02:23:18 , From IP : ppp-210.86.223.221.r

ความคิดเห็นที่ : 11


   ข้อเสียของความคิดที่ไร้กระบวน หรือลำดับ คืออาจทำให้คนอื่นงงได้ง่ายๆจากการที่ข้อมูลจะรับเข้ามาและส่งออกฉับไว แบบrandom
คือว่า ไม่ใช่discussกันจนบาดเจ็บปางตายจนต้องร้องไห้ แต่ที่สื่อหมายถึงการจับอารมณ์คู่สนทนาได้ไว และสามารถทำให้เขาไว้วางใจกล้าเปิดใจน่ะจ้า แบบนี้ถือว่าไม่ได้เสียคู่สนทนา ใช่เปล่าจ๊ะ
ว่างๆอาจจะลองฝึกคิดแบบCSหรือASดูบ้างน่าจะดี แต่ไม่ลองเป็นแบบMRแน่ๆ เหมือนArLimว่าไว้งัย


Posted by : pisces , Date : 2004-08-02 , Time : 02:54:35 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 12


   จับอารมณ์คู่ได้เก่งขนาดนั้นก็ดีนะเป็นแบบ AR เลย
ผมมัน ADHD น่ะ ไม่ใช่ MR หรอก
เฮ้อ


Posted by : ArLim , Date : 2004-08-02 , Time : 03:22:07 , From IP : ppp-210.86.223.221.r

ความคิดเห็นที่ : 13


   ประเด็นของการรู้ "ความชอบ" (ไม่ใช่ความถนัดนะครับ) ในการรับรู้ของเราคือโอกาสในการปรับตัวครับ

เมื่อคำนึงถึง "การทดสอบ" ว่าเราเป็นแบบไหนนั้น จะเห็นว่าไม่ได้เกี่ยวกับความถนัดเลย เพราะ คำถามจะแค่ถามเราว่าเรา "คิดว่า" เราเข้ากันได้กับแบบไหนมากที่สุด เป็นไปได้เหมือนกันที่เราอาจจะเผลอตอบสิ่งที่เรา "อยากเป็น" ไปมากกว่าสิ่งที่เราเป็นจริงๆ

สี่อย่างนี่น่าจะครอบคลุมนะครับคุณ ArLim เรื่องราวต่างๆถ้าไม่เป็นนามธรรมก็เป็นรูปธรรม ลำดับขั้นตอนที่มาหาเราไม่เป็นแบบมีรูปแบบก็ไร้รูปแบบ ฉะนั้นเราสามารถแบ่เป็น dichotomus keys ได้เรื่อยๆ ถ้าเติม Domain คู่อื่นๆมาอีกเราก็จะได้ 8 รูปแบบ หรือ 16 รูปแบบ ถ้ามี 3 หรือ 4 Domains ของ characteristics

การที่คู่สนทนาร้องไห้นั้น ไม่จำเป็นต้องแปลว่าเราจะเสียเขาไปเสมอไปหรอกนะครับ เจตนารมณ์กับบริบทที่นำไปสู่ปฏิกิรกยาคือร้องไห้นั้นมีหลากหลาย ที่แน่ๆคือมีการ touch จุดเปราะบางทาง emotion เกิดขึ้น หลุดรอดรูปแบบเกราะกำบังของ logic ไปได้ เพราะเหตุนี้เราอาจจะกำลังเผชิญหน้ากับ "บุคลิกความรู้สึก" ที่แท้จริงของคู่สนทนาก็ได้ ไม่ใช่คนที่กำลังอยู่ข้างหลังกำแพงแห่ง superego อย่างสุดๆ

อืม... ผม concrete random หรือ? น่ากลัวแฮะจะถามต่อว่าเพราะอะไรก็เกรงใจ ลองวิเคราะห์เพิ่มเติมได้ไหมครับ รับรองไม่มีถูกผิด แต่มีประโยชน์เสมอเวลามีการมองต่างมุมสู่เรื่องเดียวกัน

นะครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-08-02 , Time : 15:47:34 , From IP : 203.156.46.186

ความคิดเห็นที่ : 14


   เรียน...อ.วรพงศ์ (ศลัยศาสตร์) หรือ อ.จารุรินทร์ (จิตเวชศาสตร์)

อยากได้แบบทดสอบ 15 ข้อนี้จากท่านอาจารย์ทั้งสองเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการทำวิทยานิพนธ์จะต้องทำอย่างไรคะ

รบกวนตอบด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ

จาก..นิสิตป.โท koong_nk@hotmail.com


Posted by : ขอความช่วยเหลือ , Date : 2005-11-02 , Time : 13:15:53 , From IP : kuwin-134-29.kuwin.k

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.005 seconds. <<<<<