ความคิดเห็นทั้งหมด : 16

สูบบุหรี่ใน รพ ได้ไหมเอ่ย


   เท่าที่ทราบมา ตามกฎหมาย รพ เขาถือเป็นเขตปลอดบุหรี่
แต่ รพ เราตั้งมุมสูบให้เลยแฮะ ที่ชั้น base ใกล้ร้านเบเกอรรี่หนะ
แย่จัง


Posted by : เหอเหอ , Date : 2004-07-30 , Time : 11:17:56 , From IP : 172.29.3.137

ความคิดเห็นที่ : 1


   จริงๆแล้วโรงพยาบาลเป็นเขตปลอดบุหรี่ตามประกาศของกระทรวงสาธารณะสุข และโรงพยาบาลมอ.กำลังจะเข้าสู่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ HPH เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรมีมุมสูบบุหรี่ คงต้องปรึกษาท่านผู้บริหารช่วยดูแลเรื่องนี้ด้วย

Posted by : t , Date : 2004-07-31 , Time : 19:47:15 , From IP : tproxy6.anet.net.th

ความคิดเห็นที่ : 2


   จริงๆแล้วโรงพยาบาลเป็นเขตปลอดบุหรี่ตามประกาศของกระทรวงสาธารณะสุข และโรงพยาบาลมอ.กำลังจะเข้าสู่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ HPH เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรมีมุมสูบบุหรี่ คงต้องปรึกษาท่านผู้บริหารช่วยดูแลเรื่องนี้ด้วย

Posted by : t , Date : 2004-07-31 , Time : 19:47:37 , From IP : tproxy6.anet.net.th

ความคิดเห็นที่ : 3


   ให้ระวังเรื่องความสมดุลระหว่าง "ไม่สนับสนุน" กับผลกระทบต่อส่วนบุคคลด้วยก็ดี

การสูบบุหรี่ยังจัดเป็น consenting adult นั่นคือเป็นสิทธิส่วนบุคคล (ตราบใดที่ไม่เป็นที่รบกวนผู้อื่น) ปัญหาในขณะนี้ที่เป็น fact ก็คือคนจำนวนมากก็ยังสูบบุหรี่และในจำนวนนั้นก็มีคนที่ติดรวมทั้งญาติผู้ป่วยบางราย การ ban หรือการไม่จัดที่ที่ไม่เป็นที่รบกวนต่อคนอื่นในเขตโรงพยาบาลที่พอจะเดินไปถึงได้นั้นอาจจะเป็นอุปสรรคทำให้ญาติผู้ป่วยบางรายถูกกีดกันไม่ให้มาเยี่ยมผู้ป่วยโดยปริยาย

Campaign อะไรที่เป็นการส่งเสริมเป็นเรื่องที่ดี และดีกว่านั้นคือใช้รัฐศาสตร์มากกว่าใช้นิติศาสตร์ ยิ่งใช้การฑูตยิ่งดี แต่เมื่อไหร่ก็ตามเราทำให้เกิด class differences ขึ้นมาในสังคม การประนีประนอมหรือการเห็นคุณค่าของคนอาจจะลดลงหรือเกิดความเหลื่อมล้ำต่ำสูง จะเป็นอุปสรรคที่จะได้ความร่วมมืออย่างแท้จริงจากทุกกลุ่ม ไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก



Posted by : Phoenix , Date : 2004-08-01 , Time : 13:04:32 , From IP : 172.29.3.104

ความคิดเห็นที่ : 4


   ก็ใครละที่ไปสูบอยู่มุมนั้น , ถ้ามาสูบข้างนอกก็ควรจะพกเงินซัก 2000 บาท , ส่วนห้องนั้นถ้าจะมีควรจะมีระบบการขจัดควันบุหรี่ให้ดี และผู้สูบควรจะจ่ายค่าบำรุงห้องนี้ด้วย , ส่วนผู้สูบบุหรี่ก็ควรสำนึกใว้ด้วยว่านอกจากตัวเองแล้วไม่ควรฆ่าใครด้วยควันบุหรี่

ผู้สูบบุหรี่คือฆาตกรร้ายในสังคม ที่ยังลอยนวลอยู่


Posted by : Jua , Date : 2004-08-01 , Time : 13:10:55 , From IP : 202.129.34.200

ความคิดเห็นที่ : 5


   เวลาเราพูดถึงกฏหมาย สิ่งหนึ่งที่ตเองคำนึงถึงตลอดเวลาคือ "ความยุติธรรม" และผลที่จะเกิดออกมาจากกฏหมายนั้นๆ

by-stander smoking ซึ่งเคยมี report ชัดเจนนั้น ปรากฏว่ามันไม่ชัดอย่างที่เคยคิดเมื่อพิจารณาถึง experimental designs ฉะนั้นแม้แต่ในอเมริกาเองที่กฏหมายคุ้มครองสุขภาพเข้มข้นก็ยังไม่สามารถจะประกาศใช้ทั่วประเทศ ใช้อยู่เป็นบางรัฐแค่นั้น

ความยุติธรรมยัง applied ไปถึงการนำมาใช้กับทุกสิ่งทุกอย่าง มิฉะนั้นจะกลายเป็นการ lobby เฉพาะกลุ่ม อาทิเช่นสุรา ซึ่งผลข้างเคียงกับผู้อยู่แวดล้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งอุบัติเหตุจราจรนั้นเด่นชัดมาก หรือการใช้รถท่อไอเสียไม่ดี ที่ส่งผลให้คนเป็นโรคปอดปริมาณเท่าไปไหร่ก็ต้องการข้อมูลมา address ให้ชัดเจน

สิ่งหนึ่งที่แพทย์ควรจะต้องคำนึงอย่างจริงจังคือ autonomy ของผู้ป่วย ของประชาชน อะไรก็ตามที่ทำท่าจะเป็นการริดรอนสิทธิส่วนบุคคล ยกเว้นเราเข้าใจปัญหา หรือเคยผ่านการศึกษาปัญหานั้นๆมาอย่างแจ่มแจ้ง การสรุปและการนำไปใช้ต้องระมัดระวังอย่างมาก ไม่ต้องพูดถึงการดัดแปลงภาษาเป็นแบบ dramatizing หรือ exaggerated เพราะจะเป็นการลด credibility ของสิ่งที่เราวิเคราะห์ไปอย่างน่าเสียดาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อมูลที่ดีนั้นไม่ต้องการ dramatize หรือ sensationalize หรอกครับ เมือ่ไหร่เราทำอย่างนั้น level of evidence-based มันลดลงฮวบฮาบ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-08-01 , Time : 18:37:16 , From IP : 203.156.45.209

ความคิดเห็นที่ : 6


   ก็ถ้าไม่จัดให้มีที่สูบบุหรี่ในโรงพยาบาล คนที่เขาติดบุหรี่ก็เข้าโรงพยาบาลไม่ได้
ก็เป็นแบบได้ฝ่าย เสียฝ่าย

แต่ถ้าจัดที่ทางให้สูบบุหรี่ เราก็สามารถตรวจสอบจำนวนผู้สูบและนำมาใช้ประโยชน์ได้ (เป็นการทำงานเชิงรุกงัยฮะ)
น่าจะได้ประโยชน์มากขึ้นนะฮะ


Posted by : ArLim , Date : 2004-08-01 , Time : 23:31:24 , From IP : ppp-210.86.223.221.r

ความคิดเห็นที่ : 7


   แบบผมเนี่ย ได้ควันบุหรี่เมื่อไหร่ จะเป็นหวัดคัดจมูกมีน้ำมูกทุกครั้ง
แล้วใครจะรับผิดชอบ คนสูบบุหรี่ละเมิดสิทธิผมหรือเปล่า
ชัดเจนอยู่แล้วว่าใน รพ ห้าม ไม่ใช่เหรอ หรือผมเข้าใจผิด
ส่วนที่จะมาเยี่ยมได้หรือไม่ได้ ผมว่าคนละประเด็นมั้ง
แบบว่า ไม่ได้ให้คุณเลิกสูบ แต่ถ้าเข้ามาใน รพ แล้ว งดได้ไหม อะไรแบบเนี้ย
ตอนอยู่บ้านคุณเองก็ตามสบาย ดูดเข้าไป คงไม่มีใครห้าม


Posted by : เซย่า , Date : 2004-08-02 , Time : 09:01:59 , From IP : 172.29.3.137

ความคิดเห็นที่ : 8


   ประเด็นสำคัญที่สุดน่าจะเป็น evidence-based เรื่อง by-stander smoking แหละครับว่ามันจะมีผลเสียหรือไม่ อย่างไร และมากน้อยแค่ไหน (สาม research questions นะครับ)

ถ้า ยังไม่มีที่ว่า เป็นเรื่องที่หมิ่นเหม่ในการ "ละเมิด" ไม่ฝ่ายใดก็ฝ่ายหนึ่งเสมอ กฏหมายนี่ต้องมีรากจาก "ปัจเจก" บุคคลนะครับว่ามีสิทธิอะไรบ้าง และรัฐจะต้องพยายามรักษาสิทธินั้น ไม่ได้แปลว่าสิทธิของคนส่วนใหญ่ มิฉะนั้นแล้ว minority จะถูกกดขี่อย่างเป็นระบบ เช่น คนผิวสี เกย์ คนนับถือศาสนาส่วนน้อย ในที่นี้รวมทั้งคนสูบบุหรี่ด้วย

ทีนี้ interaction จากคนๆหนึ่งสู่คนๆอื่นนี่ยิ่งซับซ้อน ที่คุณเซย่ายกตัวอย่างมานี่เห็นได้ชัด allergen นั้นมีได้มากมายมหาศาลในโลกนี้ บางคนแพ้ไรฝุ่น บางคนแพ้ควัน (ของคุณเซย่าอาจจะต้องศึกษาว่า "อะไร" ในควันบุหรี่ที่เราแพ้ เช่น สารทาร์ นิโคติน หรือ ไฮโดรคาร์บอนที่เผาไหม้ไม่สมบูรณ์) ฉะนั้นบางคนที่แพ้ขนเป็ดอาจจะไม่สามารถฟ้องบริษัทหมอนที่ใช้ขนเป็ดยัดหมอน (ซึ่งแพงกว่าปกติซะอีก) หรือคนแพ้ขนสัตว์ก็ไม่อาจจะยื่นฟ้องไม่ให้คนใส่เสื้อหรือวัสดุที่มีขนสัตว์ปนเปื้อนมาใกล้ตัวเขาได้ บางคนแพ้ควันรถยนต์ยิ่งแล้วใหญ่ เพราะต้องขอให้ให้กฏที่จะคุ้มครองที่ยากขึ้น นี่ผมอาจจะยกตัวอย่างที่เกินจริง แต่เพื่อให้มองเห็นภาพว่าถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่ "กฏหมาย" ออกเป็นแบบ customizable เกินไปปุ๊บมันจะยากมากทันที นั้น "สิทธิ" ของบุคคลที่ "ทุกคน" จริงๆ share เท่านั้นแหละครับที่จะถูกคุ้มครองโดยกฏหมาย ที่เหลือจะเป็น courtesy ของการอยู่ร่วมกันในสังคม

ฉะนั้นคนสูบบุหรี่ที่อาจจะยังมี "สิทธิ" ที่จะปู้ยี่ปู้ยำตนเอง (ซึ่งมี evidence-based ชัดเจนเรียบร้อย) ยังสามารถ exert หรือเรียกร้องความยุติธรรมตรงนี้ได้เพียงเพราะเรายังไม่มี evidence-based มาประกาศว่า by-stander smoking เป็นพิษต่อสุขภาพต่อสาธารณะ แค่นั้นเอง หลายๆอย่างที่เริ่มตกอยู่ใน area of restriction ได้แก่ การดื่มสุราขณะขับรถ การสูบบุหรี่ใน premises เช่น ICU ในห้องผู้ป่วย ในภัตตาคารเป็นต้น ในขณะนี้ผมว่าการที่โรงพยาบาลจัดสถายที่แยกพิเศษสำหรับคนสูบบุหรี่น่าจะเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่จะมีการรบกวน autonomy หรือสิทธิส่วนบุคคลน้อยที่สุด




Posted by : Phoenix , Date : 2004-08-02 , Time : 16:13:29 , From IP : 203.156.46.186

ความคิดเห็นที่ : 9


   เรียน อ. นก(ไม่แอร์)
เคยไปตามสนามบิน ของต่างประเทศ ของไทยก็มี
เขาทำเป็น "ห้องกระจก ปิดทึบ" มีพัดลมระบายอากาศอันเล็กๆ (ถ้าไม่มีก็คงเกินไป..) ใครอยากสูบก็ต้องเข้าไปในห้องนี้
คงมีจุดประสงค์หลายอย่าง
-เพื่อไม่ไห้ควันรบกวนผู้อื่น อันนี้น่าจะดีสำหรับการจัดสถานที่ สำหรับผู้สูบ ดีกว่าจัดเป็นที่ "โล่ง" หรือไม่..
-คนที่เข้าไป แค่ยืนเฉยๆ ก็แทบจะหายใจเป็นควัน กันทุกคน ไม่ต้องจุดสูบของตัวเองก็ได้...resource allocation (ฮา)
-ทำเป็น ตู้กระจก ทำให้ผู้ที่เข้าไปยืน รู้สึกเหมือนเราเป็นตัวอะไรซักอย่าง ที่คนเดินผ่านไปมาจ้องเอาๆ .. ไม่ทราบเป็นการ"ลงโทษทางสังคม"อย่างหนึ่งหรือเปล่า (ไม่ฮา..สำหรับคนสูบ)

ผมกับเพื่อนจึงสรุปเอาว่า
-- ทำไมกู กับ มึง ต้องทำชีวิต ให้ลำบากและทุเรศ (ขอโทษ ถ้าไม่สุภาพ)ขนาดนี้ วะ --
(เป็นเหตุการณ์เกือบ 10 ปีที่แล้ว แต่หลังจากนี้ อ phoenix น่าจะตอบได้ ว่าพวกผมกลับไปสูบต่อหรือไม่..)

ถ้าจะคิดให้ทุกอย่างมันเลวร้าย มันก็เป็นทุกข์สำหรับเราเอง
บางครั้งถ้าเปรียบเทียบกับ สุรา...

เราเห็นคนสูบก็ยังพอรู้ตัว (เห็นควัน) ที่จะเดินเลี่ยงได้
แต่คน เมา ที่อยู่บน ท้องถนน ท่านรู้หรือไม่ว่าเขาเมาหรือไม่ มากแค่ไหน
..จะขับรถ เลี่ยงได้อย่างไร จะไปรู้ก็ตอนชนกันแล้ว ว่า ..ไอนี่มันเมานี่หว่า..
แล้วก็จบกัน.. บางคนถึงก็กับให้ "อภัย" เสียด้วยซ้ำ ว่าไม่ถือสา..อีกต่างหาก

ผมเห็นด้วยว่าไม่ควรสูบ บุหรี่ ใน รพ.
แต่ถ้ามันเลี่ยงไม่ได้จริง ก็น่าจะจัด "พื้นที่" ที่เป็นสัดส่วน
หรือไม่ก็จัดเป็น "ห้องกระจก" ดังที่กล่าว
ไม่น่าถือเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล(คนที่สูบ) เพราะเราไม่ได้บังคับ ให้คุณเข้าไป
แต่ถ้าคุณ ไม่เข้าไป แล้วสูบนอกห้องกระจก
เราปรับคุณ แรง...OK มั้ย!!


Posted by : รุ่น 11 , Date : 2004-08-04 , Time : 12:22:30 , From IP : 172.29.3.70

ความคิดเห็นที่ : 10


   เห็นด้วยครับ

ผมว่าที่ผมว่ามาทั้งหมดก่อนหน้านี้นั้นแค่เสนอว่าเรายังไมลงไปถึงขั้น ban แต่น่าจะเป็นการ "จัดที่" มากกว่า

เรื่องลงโทษหรือประณามใครในขณะนี้ หลายคนคงมีความคิดหลากหลาย แต่ผมคิดว่าหลักการที่เราคงพอจะยึดได้คือ principle of autonomy ถ้าใครจะดำเนินชีวิตอย่างไร โดยเป็นผู้ใหญ่กันแล้ว เราจัดที่จัดทางให้เขาไม่รบกวานคนอื่นก็น่าจะพอแล้วหรือไม่ ส่วนการคิด negative หรือสมเพชเวทนาใครนั้นก็เป็นเรื่องส่วนตัวของแต่ละคน ว่าเราจะมีสุขภาพจิตดีขึ้นแค่ไหนในการคิดดังกล่าว

อย่าลืมว่าสูบบุหรี่ กินเหล้า เป็นเกย์ ฯลฯ เป็นแคกิจกรรมหนึ่งๆในหลายร้อยแปดพันประการของชีวิตคนๆหนึ่ง คุณค่าที่เราจะรู้สึกอย่างไรหรือตัดสินแค่ไหนกับเขานั้น อาจจะยังไม่ถึงเวลารึเปล่าครับ ถ้าจะมาตัดสินโดยกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งเหล่านี้ ยุคสมัยก่อนครั้งหนึ่งที่โทษของบุหรี่ยังไม่ชัดเจน การสูบบุหรี่เป็นที่ยอมรับ เราก็มี generation ของคนดีจำนวนมากที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ ต่อครอบครัว ต่อลูกศิษย์ลูกหา คนเหล่านั้นเราจะมองอย่างไรล่ะครับถ้าเราเจอเวลาเขาสูบบุหรี่ในขณะนี้?

หรือชาวบ้านรรมดาที่เขายังไม่ได้ access ต่อข้อมูล internet สูบบุหรี่ใบจากมาแต่อ้อนแต่ออก บางคนก็มีลูกหลานเป็นหมอ เป็นพยาบาล เขาจะรู้สึกอย่างไรที่เราจะ ban ไม่ให้เข้าโรงพยาบาล หรือถูกมองอย่างสัตว์ประหลาด (หรือที่ว่า "ถูกลงโทษทางสังคม" อย่างที่ว่า) การที่เราโชคดีพอที่จะรู้ข่าวสารข้อมูลเหล่านี้ทำให้เรา "เหนือกว่า" หรือ "ดีกว่า" พ่อเฒ่าแม่แก่เหล่านี้จริงหรือ?

ไม่ทราบเหมือนกัน



Posted by : Phoenix , Date : 2004-08-04 , Time : 18:14:08 , From IP : 203.147.0.42

ความคิดเห็นที่ : 11


   เห็นด้วยครับ ว่าเรื่องบางเรื่องโยงกันไม่ได้
เช่น (ไม่)สูบบุหรี่ <<-->>เป็นคน(ไม่)ดี<<--->> (ไม่)กินเหล้า<<--->>(ไม่)มีประโยชน์ต่อสังคม<<-->>ฯลฯ

ไม่เห็นจะไปด้วยกันเลย..

และการที่"คนเรา"จะว่าอะไรดีไม่ดี ชอบเอา "ตัวเอง" เป็นมาตรฐาน
ก็"อาจจะ" ถูกมองว่าเป็นคน "ไม่ดี" ได้เช่นเดียวกัน (จากคนไม่ดี"กว่า"..)

จริงๆ แล้ว ..ขอให้ในตัว"แต่ละบุคคลนั้น" เป็น คนดี--มีมากกว่า--ไม่ดี ก็น่าจะเพียงพอ และพอใจแล้ว มิใช่หรือ..


Posted by : หมอถุน , Date : 2004-08-05 , Time : 15:13:51 , From IP : 172.29.3.70

ความคิดเห็นที่ : 12


   จริงครับ คุณหมอถุน

ขออนุญาตอ้างอิงพุทธศาสนาหน่อยก็แล้วกันนะครับ การประเมินวิเคราะห์ตนเองเพื่อบำเพ็ญสั่งสมคุณธรรม (moral excellence) นั้นเป็นแก่นของพุทธศาสนานิกายมหายาน (จริงๆก็ทุกอันแหละครับ แต่ methodology ของมหายานที่จะต้องทำ Bodhisattava vow หรือการปวารณาตนต่อการปฏบัติธรรมตามวิถีโพธิสัตว์นั้นเด่นชัดพอๆกับพิธีการบวช การศึกษาไตรปิฎกของหินยาน และการอภิปรายปริศนาธรรม (Koan) ของวัชรยานนั่นทีเดียว)

ประเมินตนเอง และปฏิบัติด้วยตนเอง นั้นเป็นแก่นของทุกๆ lineage แต่ในขณะเดียวกันระบบกัลยาณมิตร ระบบอุปัชฌาย์ เป็น supporting system ที่ช่วยได้มาก จะเห็นว่าไม่มีข้อไหนนะครับที่แนะนำให้เราประเมิน "ใครคนอื่น" การประเมินข้อด้อยของคนอื่นจะมีที่ใช้ก็เพื่อการปรับตนเองแค่นั้น ไม่ใช่ทำเพื่อเราดูดีขึ้น หรือดูสูงขึ้น และไม่ใช่เพื่อจะประณามใคร ทำโทษใครแน่ๆ

อย่างไรก็ตามที่เรารู้ๆว่าบุหรี่เป็นภัยต่อคนสูบเองแน่ๆ เราก็คงจะต้องมีมาตรการปกป้องคนอื่นๆ พอๆกับการที่เรามีกฏหมายห้ามขับรถดื่มสุรานั่นแหละ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-08-05 , Time : 18:06:46 , From IP : 203.156.44.134

ความคิดเห็นที่ : 13


   สำหรับที่พอจะปฏิบัติได้ตอนนี้คือ
ให้ไปใช้ห้องสูบบุหรี่ที่เป็นกระจกปิดมิดชิดแบบรมควันเลยแหละ ที่จัดไว้สำหรับผู้ป่วยจิตเวชที่หอผูป่วยจิตเวชไปพรางๆก่อนก็คงดีนะ เพราะนอกจากจะไม่ดูประหลาดแล้ว อาจได้ทำบุญเพราะคงมีคนมาร่วมแจม ขอสูบด้วยคนนะคุณพี่ ก็ไม่เหงาดีนะ ว่าแต่กล้าไหมหล่ะ


Posted by : pisces , Date : 2004-08-06 , Time : 05:42:16 , From IP : 172.29.3.200

ความคิดเห็นที่ : 14


    ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการสูบบุหรี่ในรพ.
ปัจจุบันที่เป็นอยู่ มีการสูบกันในที่สาธารณะของรพ. เช่น
บริเวณที่นั่งหิน ขอบทางเดินโอพีดี ชั้น 1 , บริเวณเก้าอี้พักคอยหน้ารพ. , บริเวณชั้นเบสเมนต์แถวห้องอาหารใกล้สนามหญ้า
เนื่องจากมีที่เขี่ยบุหรี่ให้ในบางจุด จึงเข้าใจว่ารพ.อนุญาติให้สูบได้
ขอเสนอว่า
ควรใช้ประชาสัมพันธ์ประกาศทางเสียง เป็นระยะๆ ว่าพื้นที่รพ. เป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่ ขอความกรุณางดเว้นการสูบ ฯลฯ
คำประกาศคงต้องให้ผู้เชี่ยวชาญขัดเกลาให้ดีด้วยครับ
ผมว่าน่าจะเป็นทางออกที่ประหยัด และได้ผลดีอย่างมาก


Posted by : ร่วมด้วยช่วยกัน , Date : 2004-08-06 , Time : 08:47:45 , From IP : 172.29.1.143

ความคิดเห็นที่ : 15


   ตัวอย่างคำประกาศประชาสัมพันธ์
เนื่องจากโรงพยาบาลเป็นสถานที่ในการรักษาพยาบาล และทำหน้าที่ให้ความรู้ดูแลรักษาสุขภาพประชาชนด้วย เพื่อสุขภาพของตัวท่านเองและบุคคลรอบข้าง จึงขอความร่วมมือมายังทุกท่านในการงดสูบบุหรี่และยาเส้นในทุกพื้นที่ของโรงพยาบาล
ท่านสามารถรับคำปรึกษาวิธีการเลิกสูบบุหรี่ได้ที่คลีนิคเลิกบุหรี่
ขอบคุณค่ะ



ให้ประกาศทุกๆ 30 นาทีครับ


Posted by : ร่วมด้วยช่วยกัน , Date : 2004-08-06 , Time : 12:15:17 , From IP : 172.29.1.143

ความคิดเห็นที่ : 16


   เรียน ใครก็จำไม่ได้
ผมไม่คิดว่าการสูบบุหรี่นอกตัวตึก แต่ยังเป็นที่ที่คนเดินไปมามากมาย โดยเฉพาะในโรงพยาบาลจะเป็นสิทธิส่วนบุคคล เพราะคนที่เดินไปเดินมาก็มีสิทธิของเขาเช่นเดียวกัน การจะทำเช่นนั้นแต่กระทบต่อคนจำนวนมาก (ชุมชน) ไม่น่าจะถูกต้อง ผมยังเห็นด้วยกับการจัดสถานที่มิดชิดให้คนเหล่านั้นเข้าไปสูบ รมกันเอง


Posted by : คนไม่สูบบุหรี่ , Date : 2004-08-16 , Time : 16:57:30 , From IP : 172.29.3.64

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.008 seconds. <<<<<