ความคิดเห็นทั้งหมด : 8

กระทรวงไอซีทีนำร่องเครือข่ายไร้สายในมหาวิทยาลัย


   
กรุงเทพฯ 21 ก.ค.- กระทรวงไอซีทีจับมืออินเทลกระตุ้นการใช้เครือข่ายไร้สายในมหาวิทยาลัยของรัฐ 11 แห่ง เผยหาก ครม.ไฟเขียวเตรียมเข็นโน้ตบุ๊กไอซีทีสำหรับนักศึกษารองรับความต้องการ

นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่างกระทรวง และบริษัทอินเทล เป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันให้มหาวิทยาลัยมีความพร้อมในการเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายเพื่อการศึกษาและการวิจัย โดยเริ่มในมหาวิทยาลัย 11 แห่ง ในส่วนกลางและภูมิภาคที่มีความพร้อมในการพัฒนาเป็นไวร์เลสแคมปัส โดยกระทรวงไอซีทีจะใช้งบประมาณ 66 ล้านบาท เพื่อจัดสรรให้มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ มหาวิทยาลัยละ 6 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการนำร่องติดตั้งจุดเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สาย หรือฮอทสปอร์ตทั่วมหาวิทยาลัย

โครงการดังกล่าวยังเป็นการสนับสนุนให้เกิดการเรียนการสอนด้วยอี-เลิร์นนิง ในมหาวิทยาลัย โดยมุ่งให้นักศึกษาสามารถเข้าถึงข้อมูลจากทุกที่ทุกเวลา อย่างไรก็ดี โครงการดังกล่าวอยู่ระหว่างพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองในเบื้องต้นคาดว่าจะได้รับความเห็นชอบในหลักการเพื่อส่งต่อไปให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติงบประมาณ เพื่อให้เกิดการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ใหม่อย่างสมบรูณ์ กระทรวงไอซีทียังมีแผนที่จะผลักดันโครงการโน้ตบุ๊กราคาถูกสำหรับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยสามารถผ่อนซื้อในราคาและอัตราดอกเบี้ยต่ำ โดยโครงการดังกล่าวจะเป็นทางเลือกให้กับนักศึกษาที่มีความต้องการคอมพิวเตอร์พกพาสามารถจัดหาคอมพิวเตอร์ของตนเองตามความสมัครใจ.


Posted by : garnet , Date : 2004-07-21 , Time : 17:32:42 , From IP : 172.29.1.93

ความคิดเห็นที่ : 1


   อยากทราบความสัมพันธ์ของสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนกับ wireless accessibility ว่ามีมากน้อยแค่ไหนเหมือนกันนะครับ ในอดีตบางประเทศที่มีนักศึกษาจากชาติต่างๆเดินทางไปศึกษาต่อจำนวนมากเขาใช้วิธีมีห้องคอมฯส่วนกลาง และนักศึกษาจัดสรรเวลาไปใช้กันเอง ดูก็เป็นชีวิตที่เรียบง่ายและ effective ไม่เบา



Posted by : Phoenix , Date : 2004-07-21 , Time : 18:09:02 , From IP : 172.29.3.246

ความคิดเห็นที่ : 2


   มันก็คล้ายๆกะคำถามว่า นักศึกษาจำเปนต้องใช้คอมด้วยเหรอ สมัยเมื่อ 10 ปีก่อน ไม่เห็นต้องใช้ก็ยังเรียนจบกันมาได้ ขนาดเปนสถานที่เดียวกันแต่คนละยุคคนละเวลาก็ยังมีคำถาม แล้วถ้าต่างสถานที่กัน เช่นประเทศไทยที่เก็บภาษีนิดเดียว สวัสดิการก็ไม่เพียงพอ เทียบกับต่างประเทศที่ภาษีอื้อซ่า จนคนในชาติถูกมองว่า ขี้เหนียว เพราะต้องเก็บเงินไว้จ่ายภาษี แต่สวัสดิการดี มีเงินใช้เมื่อตกงาน ปัญหาเรื่องการจัดสรร การเข้าถึงทรัพยากร เปนเรื่องน่าปวดหัว ต้องปรับให้เข้ากับกำลังเงินทุนที่เรามี ถ้ามีเหลือก็ทำไปเถอะ ฮอทสปอต หรือถ้าคิดว่าดี ช่วยสนับสนุนศักยภาพเด็กไทยก็ควรทำ

Posted by : ฮอทสปอต , Date : 2004-07-21 , Time : 18:43:39 , From IP : 172.29.2.80

ความคิดเห็นที่ : 3


   ปัญหามันอยู่ที่ "คิดว่าดี" นี่แหละครับ

อีกไม่กี่อาทิตย์ คณะแพทย์จะจัดประชุมวิชาการประจำปี และปีนี้ตั้ง theme คือ "การแพทย์เชิงประจักษ์" Evidence-based medicine เป็นเพราะยุคนี้ "คิดว่า" เฉยๆนั้น อาจจะไม่เพียงพอซะแล้วในหลายๆด้าน ดูเหมือนสังคมจะดีได้ บ้านเมืองเจริญได้เนี่ย มันมีหลายพิสัย หลายเรื่องเหลือเกิน เราเองก็ไม่ได้ร่ำรวยมาจากไหนซะด้วย (ที่จริงไม่เพียงแต่ "เรา" เท่านั้น "ทุกๆประเทศ" เมื่อคำนึงถึง resources แล้ว ก็มีเงินไม่พอสำหรับทุกอย่างเหมือนกัน) ก็ควรจะมีการจัด "ลำดับความสำคัญ" ว่าลงไปตรงไหนจะได้คืนระยะสั้น ระยะยาว เอาไปสมดุลกับต้นทุน เงินต้น ดอกเบี้ย ฯลฯ

เราจะออกกฏหมายให้รถมอเตอร์ไซด์เป็นยานพาหนะประจำชาติ ก็คงจะต้องมั่นใจว่าคนของเราขับรถเป็น ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าสตาร์ทรถได้ ขี่ไม่ล้มแค่นั้น แต่เป็นรู้จักกฏกติกามารยาทและวิธีขี่รถแล้วไม่ตายมากเป็นอันดับหนึ่งของโลกอย่างในขณะนี้ซะก่อน ฉันใดก็ฉันนั้นกับการให้เด็กเรา access Internet เรียนแบบ wireless นั่นแหละครับ คำว่า "พร้อม" คงไม่ได้หมายความว่า log-in เป็น รู้จักคำว่า google แต่จะต้องมีความสามารถในการ cope กับ "ข้อมูล" มีความเข้าใจในความสำคัญของข้อมูล และมี "ethics and etiquette" ในการใช้ข้อมูลซะก่อน ในที่นี้อาจจะรวมถึงการรู้จักใช้ทรัพยากรอย่างสร้างสรรค์ ถูกวัตถุประสงค์ เพราะ Internet accessibility นั้น ไม่ใช่ risk-free facility ผลข้างเคียงอาจจะยิ่งกว่าปัญหาอุบัติเหตุจากรถมอเตอร์ไซค์ซะอีก

ก็เอาใจช่วยอยู่นะครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-07-21 , Time : 21:34:55 , From IP : 172.29.3.224

ความคิดเห็นที่ : 4


   ถ้ามองจากโทรศัพท์มือถือเป็นตัวอย่างละครับ อาจารย์พอจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดทั้งแง่บวกและแง่ลบได้ไหมครับ

เมื่อก่อนเราเห็นเสียงมือถือดังตอน อ. กำลังบรรยาย ต่อไปเราอาจเห็น PDA Aleart MSN ตอน อ. กำลังบรรยายแทน

หรือ เราอาจเห็น คนที่ไม่ได้เข้าห้องเรียน ดูการสอน ของ อ. จาก PDA โดยเพื่อน ใช้ webcam ถ่ายทอดสดมาให้

อีก 5 ปี PDA ที่ Full Function คงราคาเท่า มือถือตอนนี้ , Access Point ถี่กว่า cellsite ของมือถือ หน้าตาสังคมเมืองจะเปลี่ยนไปขนาดไหนเนี่ย ( สังคมชนบทก็คงไม่มีอะไรเปลี่ยนมากหรอกครับ คงไม่ต้องไปห่วงเค้า )


Posted by : superman , Date : 2004-07-21 , Time : 21:48:04 , From IP : 172.29.1.93

ความคิดเห็นที่ : 5


   เรื่องเทคโนโลยีน่าสนใจตรง Frankenstein complex นี่แหละครับ

คือเราสามารถ "จินตนาการ" ได้ไม่มีที่สิ้นสุด ตั้งแต่ฝันร้ายประเภทนรกบนดินจนไปถึงยุคพระศรีอาริยเมตตรัยเห็นอยู่ไรๆตรงขอบฟ้า

สำหรับ individual แล้วมันเป็นไปได้หมดละครับ แต่ผมคิดว่าเรากำลังพูดถึงการลงทุนของประเทศหรือองค์กร ซึ่งมีแหล่งทรัพยากรจำกัด (อย่างมาก เมื่อนึกถึงหนี้ต่อหัวคนทำงาน) ซึ่งเรา "จำเป้น" ต้องคำนึงถึงสภาพเป็นจริงของ "คนส่วนใหญ่" วซึ่งจะเป็นผู้ใช้การลงทุนอย่างที่ว่า

ประเทศไทยก็ติดอันดับต้นๆของผู้มีมือถือเหมือนกัน คุณ superman คิดว่าถ้าคิดว่ามือถือเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญของ telecommunications ประเทศไทยได้รับประโยชน์ทางเศรษฐสังคมมากไหมครับ "เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน"? ผมไม่มีตัวเลขครับ แต่ผมคิดว่าถ้าเราจะประเมินหรือพยายามตอบคำถามที่ว่านั้น เราคงต้องไปหามา

ทีนี้ "สังคม "ชนบทที่ไม่ต้องไปห่วงเค้านี่ มีผลกระทบจากหรือกระทบต่อเราไหมล่ะครับ? ปัญหาสามจังหวัดภาคใต้นี่เกี่ยวกับ discrepancy หรือการขาดการกระจายความเจริญ การศึกษา การคมนาคมหรือไม่? ถ้าเกี่ยว เกี่ยวแค่ไหน? อยู่ในลำดับความสำคัญที่เท่าไหร่ในสายตาของผู้บริหาร? คนใช้มือถือเยอะขึ้น ชีวิตสะดวกสบายรู้ผลบอลทันทีที่ลูกเข้าตาข่าย ถ้านั่นคือ quality of life คนขายมือถือก็ยิ้มครับ เพราะตลาดแข็งแกร่ง ไม่ทราบว่าผู้บริหารประเทศจะยิ้มด้วยหรือไม่?

ผู้บริโภคข้อมูล "โดยเฉลี่ย" มาตรฐานของประเทศไทยนั้น บริโภคข้อมูลที่เป็นลักษณะ last minute break-through หรือไม่? และเป็นปริมาณซักกี่เปอร์เซนต์ นั่นอาจจะ justify การใช้ที่คุณ superman สมมติมา ประเภทผลการทดลอง nanotechnology สำหรับ drug-delivery system attached to the nano-biosensor รุ่นใหม่ออกมาเราต้องทราบเพื่อจะได้ปรับ budget การสั่งยาได้ทันท่วงที นั่นแหละครับที่จะช่วยตอบคำถามคุณ superman



Posted by : Phoenix , Date : 2004-07-21 , Time : 22:07:12 , From IP : 172.29.3.224

ความคิดเห็นที่ : 6


   * * ข่าวต่อเนื่องครับ * *

ไอซีทีอัดงบ 66 ล้านสนับสนุนโครงการเรียนรู้เพื่อการศึกษาผ่านเทคโนโลยีไร้สายของอินเทล (Intel Mobile Initiative for Learning in Education) กระตุ้นการใช้คอมพิวเตอร์ไร้สายในมหาวิทยาลัย 300 แห่งทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยในประเทศไทยมีมหาวิทยาลัยเข้าร่วมโครงการนำร่อง 11 สถาบัน

นายอนันด์ จันทรเคเซอร์ รองประธานและผู้จัดการทั่วไป กลุ่มโมบายล์แพลตฟอร์มของอินเทล คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่าไทยเป็นหนึ่งในประเทศแรก ๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่อินเทลเปิดตัวโครงการดังกล่าว คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กและเทคโนโลยีไร้สายจะช่วยให้นักศึกษา อาจารย์ของมหาวิทยาลัยสามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ภายในมหาวิทยาลัยได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งขณะนี้มีมหาวิทยาลัยในเอเชียแปซิฟิกประมาณ 50 แห่งที่เข้าร่วมโครงการของอินเทล

พร้อมกันนี้ยังได้มอบเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กที่ใช้โปรเซสเซอร์อินเทล เซนทริโน จำนวน 11 เครื่องให้แก่สถาบันต่าง ๆ ทั้ง 11 สถาบันที่เข้าร่วมโครงการนำร่องด้วย โดยได้รับความร่วมมือจากบริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ชั้นนำ ได้แก่ ไอบีเอ็ม, โตชิบา, เดลล์, เบลต้า, เอเซอร์, เอสวีโอเอ และHP

น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) กล่าวว่า การใช้คอมพิวเตอร์ของนักศึกษาเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมาก การเปิดให้บริการเครือข่ายไร้สายจะส่งผลดีต่อการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลของนักศึกษาตลอดจนคณาจารย์ในมหาวิทยาลัย เพราะจะสามารถค้นคว้าหาข้อมูลได้ตลอดเวลา ไม่จำกัดอยู่แค่ระยะเวลาการให้บริการห้องสมุดที่เปิดปิดตามกำหนดของทางมหาวิทยาลัย

ไอซีทีได้จัดทำแผนดังกล่าวขึ้นมาใช้งบประมาณ 66 ล้านบาท ให้กับมหาวิทยาลัยนำร่อง 11 แห่ง ซึ่งขณะนี้โครงการดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ และจะทราบผลประมาณปลายเดือนก.ค.นี้ ขณะเดียวกันไอซีทีจะมีแผนมารองรับในส่วนที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กที่ใช้เทคโนโลยีไร้สาย เช่นอาจจะมีการตกลงกับผู้ผลิตให้ผลิตโน้ตบุ๊กราคาประหยัดสำหรับนักศึกษา หรือสถาบันอาจมีนโยบายให้บริการเช่า-ยืมเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ดีคอมพิวเตอร์ราคาประหยัดนั้นจะเป็นการซื้อโดยสมัครใจ หรืออาจให้มีโครงการพิเศษ ผ่อนชำระได้ โดยคอมพิวเตอร์ที่เข้าร่วมโครงการจะมีหลายรุ่น หลายสเปกแตกต่างกัน

สำหรับในส่วนของไอซีทีที่จะดำเนินการต่อไป หากโครงการดังกล่าวผ่านการพิจารณากลั่นกรองจากคณะกรรมการแล้วก็คงเป็นเรื่องของเนื้อหา (Content) และติดตามประเมินผลในโครงการนำร่องทั้ง 11 มหาวิทยาลัย ซึ่งอาจใช้เวลาประมาณ 6 เดือนในการติดตามผล ถ้าหากได้รับการตอบรับเป็นจำนวนมากก็อาจพิจารณาในระดับทั่วประเทศต่อไปด้วย

มหาวิทยาลัยทั้ง 11 แห่งได้แก่ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่,จุฬาลงกรณ์ ,ม.เกษตรศาสตร์ ,ม.มหิดล ,ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สถานบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,ม.ธรรมศาสตร์ ,ม.บูรพา,ม.ขอนแก่นและ ม.เชียงใหม่

นายอนัตต์ เจ่าสกุล รองผู้อำนวยการศูนย์คอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยขอนแก่นกล่าวว่าม.ขอนแก่นได้เปิดให้บริการเครือข่ายไร้สายแล้ว โดยในขณะนี้ให้บริการแบบเปิด ใครมีโน้ตบุ๊กก็สามารถนำเข้ามาใช้ภายในมหาวิทยาลัยได้เลยทันที โดยจะมีการติดตั้งฮอตสปอตไว้ตามจุดต่าง ๆ เช่น โรงอาหาร ห้องสมุด หอพัก อาคารเรียน ซึ่งถือว่านำมาเสริมเข้ากับระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัยช่วยให้การให้บริการเครือข่ายเป็นไปอย่างครอบคลุมมากยิ่งขึ้นด้วย.


Posted by : garnet , Date : 2004-07-23 , Time : 18:35:50 , From IP : 172.29.1.93

ความคิดเห็นที่ : 7


   ที่อื่นเขายังเปิดกว้าง open mine open wide แล้ว คุณ garnet ละครับ

Posted by : passion , Date : 2004-07-27 , Time : 16:19:24 , From IP : 172.29.3.75

ความคิดเห็นที่ : 8


   ไม่เข้าใจคำถามครับ

Posted by : garnet , Date : 2004-07-27 , Time : 17:13:28 , From IP : 172.29.1.93

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.01 seconds. <<<<<