ความคิดเห็นทั้งหมด : 17

แพทย์รุ่นใหม่จะได้ฝึกรักษาโรคกับคนไข้เสมือนจริง


   อ่านเจอในผู้จัดการครับ

สำนักข่าวไทย - ในอนาคต แพทย์ใหม่ ๆ อาจจะมีโอกาสฝึกรักษาผู้ป่วยจริง ๆ น้อยลงทุกที เพราะปัจจุบันนี้ มีการนำหุ่นพลาสติก รวมทั้งแผงวงจนคอมพิวเตอร์ มาสร้างเป็นคนไข้เสมือนจริง ให้แพทย์รุ่นใหม่ ๆ ได้ทดลองรักษา เพื่อฝึกการวินิจฉัยให้แม่นยำ ลดโอกาสในการรักษาที่ผิดพลาด

ทั้งนี้ คนไข้เสมือนจริง ที่นำมาใช้ในการฝึกหัดของแพทย์นั้น จะมีรูปร่างและขนาดที่แตกต่างกันไป เพื่อให้ความสมจริงได้มากที่สุด โดยจะมีอวัยวะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นหู เส้นผม หรือเส้นเลือด ที่ให้ฝึกฉีดยา ตา ที่สามารถขยับกลอกไปมาได้ มีแม้กระทั่งชีพจร และระบบการหายใจ จะต่างจากคนไข้จริง ๆ เพียงแค่ว่า เขาไม่เจ็บปวด และไม่ตายเท่านั้น

นอกจากคนไข้เสมือนจริงที่เป็นหุ่นแล้ว ยังมีวิดีโอ และภาพจากคอมพิวเตอร์ เพื่อแสดงถึงการทำงานของอวัยวะภายใน ซึ่ง ดร.สตีเฟ่น มิลเลอร์ อายุรแพทย์ ที่จบจากสถาบันการแพทย์ในสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า สิ่งที่มีขึ้นมานั้น เป็นกระแสสำหรับอนาคต และนับได้ว่า เป็นระบบสำคัญสำหรับวงการแพทย์อย่างไม่ต้องสงสัย

ดร.อีริค ชาง นักศึกษาแพทย์ กล่าวว่า หุ่นคนไข้เสมือนจริงนั้น เป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะช่วยให้แพทย์มีความมั่นใจ และแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้ดี อีกทั้งยังช่วยให้เลือกวิธีการรักษาได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น

อุปกรณ์ไฮเทคเหล่านี้ แม้จะมีราคาแพง โดยอุปกรณ์ชิ้นหนึ่ง อาจจะมีราคาตั้งแต่ 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ ถึง 200,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งหากมีการนำมาใช้เต็มระบบ อาจจะมีค่าใช้จ่ายมากถึง 2.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่บรรดาผู้เชี่ยวชาญก็บอกว่า คุ้มค่า เพราะนอกจากจะช่วยลดความเครียดให้กับแพทย์ฝึกหัด และลดความเสี่ยงให้กับคนไข้แล้ว ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาได้จริง


Posted by : Dhan , Date : 2004-07-19 , Time : 20:42:10 , From IP : 172.29.3.252

ความคิดเห็นที่ : 1


   -สำหรับประเทศไทย ผมมีความเห็นว่ายังไม่จำเป็นต้องพึ่งพาอุปกรณ์เหล่านั้น
การพยายามสอนให้น้องนักศึกษาแพทย์ขวนขวายหาความรู้จากสิ่งที่มีอยู่ในรพ.น่าจะเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับพี่ๆอย่างพวกเรา



Posted by : megumi , Date : 2004-07-19 , Time : 21:17:38 , From IP : 172.29.3.233

ความคิดเห็นที่ : 2


   -สำหรับประเทศไทย ผมมีความเห็นว่ายังไม่จำเป็นต้องพึ่งพาอุปกรณ์เหล่านั้น
การพยายามสอนให้น้องนักศึกษาแพทย์ขวนขวายหาความรู้จากสิ่งที่มีอยู่ในรพ.น่าจะเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับพี่ๆอย่างพวกเรา



Posted by : megumi , Date : 2004-07-19 , Time : 21:17:56 , From IP : 172.29.3.233

ความคิดเห็นที่ : 3


   พี่ไม่ได้ตั้งใจจะมาก่อกวนนะครับ megumi แต่พี่เคยเห็นประโยคอย่างนี้หลายครา (เวลาเหงา ครึ้มใจ และนั่งอ่านกระทู้)

-เมืองไทยเรายังไม่ต้องการอุปกรณ์เหล่านั้น
-งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เมืองไทยเรายังไม่ต้องทำหรอก
-การตรวจสอบประเมินผลงานแบบฝรั่ง เอามาใช้กับเมืองไทยไม่ไหวหรอก
-การทำผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ การผ่าตัดโรคนี้ด้วยกล้อง เมืองไทยเรายังไม่ค่อยได้ใช้ ไม่มีเครื่องมือ ฯลฯ

มันให้ความรู้สึกเหมือนกับว่า ประเทศเรามีความต้อยต่ำ อยู่ในสภาพต้องตามความจำเริญเขา เราในฐานะผู้ให้บริการ คนใข้ในฐานะผู้รับบริการ อยู่ในสภาพจำยอมระดับหนึ่ง พัฒนาการทางการแพทย์แผนปัจจบันของเราจำเป็นต้องตาม และจะตามได้ก็ต่อเมื่อเงื่อนไขทางทรัพยากรพร้อม
.
คุณ megumi มีความเห็นทำนองนี้ไหม ถึงให้ความเห็นเช่นนั้น (พี่เข้าใจที่นายกำลังจะพูด แต่ขอความเห็นเพิ่มหน่อยเถอะ) หรือเห็นต่างไปประการใด


Posted by : Shonigega , Date : 2004-07-19 , Time : 21:37:24 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 4


   ผมมีความภูมิใจในความเป็นไทย ไม่เคยรู้สึกต่ำต้อยหรือด้อยค่าเลย
สิ่งที่ผมอยากบอกคือเราใช้ทรัพยากรที่มีอยู่คุ้มค่าแล้วหรือยัง ทำไมต้องไปหาสิ่งอื่นมาทดแทน คล้ายๆการอ่านหนังสือ ถ้าเพิ่งอ่านได้ไม่กี่หน้าทำไมต้องไปซื้อเล่มอื่นมาอ่านอีก หรือเพราะรู้สึกว่าน่าจะดีกว่าเล่มที่มีอยู่



Posted by : megumi , Date : 2004-07-19 , Time : 21:50:24 , From IP : 172.29.3.233

ความคิดเห็นที่ : 5


   This is interesting! Keep going my brothers



Posted by : Phoenix , Date : 2004-07-19 , Time : 22:06:45 , From IP : 172.29.3.218

ความคิดเห็นที่ : 6


   ต้องให้ไปฟังอ.ปิยะสกลพูดวันนี้สำหรับคุณ megumi

Posted by : สสส , Date : 2004-07-20 , Time : 16:25:11 , From IP : 172.29.1.152

ความคิดเห็นที่ : 7


   เนื่องจากภาระงานที่รัดตัว ทำให้ไม่สามารถเจียดเวลาไปฟังอ.ปิยะสกลได้
ผู้ใดมีโอกาสรับฟังโปรดถ่ายทอด เผื่อจะกระตุ้นความคิดให้ก้าวไกล



Posted by : megumi , Date : 2004-07-20 , Time : 21:33:54 , From IP : 172.29.3.174

ความคิดเห็นที่ : 8


   เรื่องของเรื่องเราอาจจะนำประเด็นหรือวิธี SWOT analysis (Strength Weakness Opportunities and Threat) มาใช้วิเคราะห์ประกอบการนำไปสู่ข้อสรุปว่าเราจะใช้ resource ทั้งบุคคลและปัจจัยอื่นๆอย่างไรจึงจะดี



Posted by : Phoenix , Date : 2004-07-21 , Time : 01:08:26 , From IP : 172.29.3.249

ความคิดเห็นที่ : 9


   ต้องแยกเป็นสามประเด็นนะคับ (ดูเท่ห์ดี)
1 นำหุ่นมาใช้ดีรึเปล่า คำตอบ ดีครับ ดีมากด้วย เพราะคนไข้ไม่ใช่หนูทดลองของเรา ถ้ามีประสบการณ์มาก่อน แม้ว่าจากหุ่นก็ตามน่าจะเพิ่มความมั่นใจ และ เวลาต้องทำกับผู้ป่วยจริงจะได้ทำถูกต้อง
2 เหมาะสมกับบ้านเราไหม คำตอบ เหมาะสมครับถ้าบ้านเรามีตังเยอะ และเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า แต่ในความเป็นจริงเราไม่ได้มีงบประมาณไปซื้อหุ้นแพงๆ เราก็อาจจะประยุกต์ทำขึ้นเองในราคาถูกหน่อย(ไม่รู้ละเมิดลิขสิทธ์เค้าป่าว)
3 ถ้าไม่มีเราจะทำไง คำตอบ ก็ใช้ทรัพยากรที่เรามีให้เป็นประโยชน์ เรามีคนไข้ที่ใจดี และเห็นความสำคัญกับการเรียนการสอนอยู่มาก(จิงป่าวไม่รู้) ทำให้การเรียนการสอนในบางส่วนสามารถฝึกกับผู้ป่วยจริงได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราคงต้องเริ่มเป็นstep เช่น ดูก่อน ต่อมาช่วยทำ ต่อมาทำเองแบบมีคนคุมแจ ต่อมาทำเองแบบมีคนคุมห่างๆ ต่อมาก็ทำได้เอง แต่ที่สำคัญที่ที่สุดคือ ความรู้ ความระมัดระวัง และ สัมพันธภาพอันดีกับผู้ป่วย


Posted by : ร่วมด้วยช่วยกันล่ม , Date : 2004-07-22 , Time : 22:01:43 , From IP : 219.233.225.50

ความคิดเห็นที่ : 10


   เช่นนั้น หากเราคิดว่า ความสัมพันธ์อันดีระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย เป็นทรัพยากรที่มีค่าซึ่งวัฒนธรรมของเรา (อาจ) เอื้ออำนวยให้รักษาไว้ได้ เราสามารถที่จะวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีในการรักษาความสัมพันธ์อันนี้ ให้เป็นจุดแข็งที่ยั่งยืน เพื่อให้การถ่ายทอดความรู้ทางการแพทย์แบบไทย ๆ เป็นแบบไทย ๆ ที่ไม่ได้มีความหมายที่แปลว่า "ด้อยกว่า" แต่เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่พึ่งพิงเทคโนโลยีทางวัตถุน้อยกว่า ยืนบนรากทรัพยากรที่เรามีได้มากกว่า การตระหนักในจุดแข็ง (ความสัมพันธ์ที่ดี วัฒนธรรมของเรา) และปั่นให้แข็งขึ้น เพื่อทดแทนจุดอ่อน (ความจำกัดในเรื่องทรัพยากรหรือตังค์ซื้อหุ่น) ไม่รู้อาจารย์ปิยะสกลท่านว่าไว้ด้วยไหม
.
จะเพ้อฝันไปไหมครับ (เรื่องนี้มิใช่เรื่องหุ่นกับการเรียนการสอนอย่างเดียว คุยฟุ้งต่อไปได้ถึงการพิจารณานำเข้าเทคโนโลยีอื่น ๆ ได้อีกมากครับ)


Posted by : Shonigega , Date : 2004-07-23 , Time : 15:54:20 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 11


   อะไรทำนองนั้นครับ

บางทีเราอาจจะต้องมาคิดกันใหม่ ดูกันใหม่ว่าที่เรา stereotype "คนไทย" ไว้ซะสวยหรูว่าลักษณะจุดแข็งของเราคือเป็นคนเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มนุษยสัมพันธ์ดีเป็นสยามเมืองยิ้ม นั้น ยังเป็นความจริงอยู่หรือไม่? เพื่อที่จะมี SWOT ที่เป็นเชิงประจักษ์จริงๆด้วย ส่วนที่เราจะมี resource เพื่อที่จะไป compete เรื่อง molecular research กับเจ้าของตลาดในตอนนี้นั้นก็ฝันได้ครับ แต่อาจจะไม่ใช่จุดแข็งที่สุด น่าจะตกอยู่ในหมวด opportunity อยู่

สมมตินะครับ เราได้ข้อสรุปว่า "จุดแข็ง" ของคนไทยคือเรา "พอใจ" ในสิ่งที่ตนเองมีอยู่แล้ว ตรงนี้เราอาจจะ exaggerate ไปจนถึงเราเริ่มสงสัยตัวเองว่าจะดิ้นรนมีชีวิตอยู่ต่อไปอีกนานเท่านานนั้นดีหรือไม่ จริงรึเปล่า วงการแพทย์ไทยอาจจะเปลี่ยน paradigm จาก "วิธีการรักษา" ที่ทันสมัย ราคาแพง มาเป็น "วิธีการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพทั้งทางกายและจิตใจ" แทน ไม่เถียงว่า Health promotion and maintenance ก็ราคาแพง แต่เราอาจจะเห็นด้วยตรงที่ว่าแพงเบื้องต้นจริง แต่ถ้าประสิทธิผลมันเป็นอย่างที่เราต้องการ มันคุ้มสุดคุ้ม ถามว่านี่มันเป็นโลกอุดมคติไหม คำตอบก็คงว่า "เป็น" แต่ขอบเขตของความน่าจะเป็นไปได้นั้นยังสามารถจะถูกดึงดันฉุดถ่างไปให้ใกล้ความเป็นอุดมคตินั้นได้อีกเยอะ ในวงเล็บ (ถ้าคิดว่าเรื่องนี้คุ้ม)

คำถามหลายคำถามที่นักวิจัยปัจจุบันกำลังหน้าดำคร่ำเครียด หรือตื่นเต้นค้นหาอยู่ในปัจจุบัน ผมสงสัยเหมือนกันว่าถ้านำคำถามเดียวกันนี้ไปถามมหาบุรุษท่านหนึ่งในอดีต ปฏิกิรกยาที่ได้อาจจะเป็นนิ่งเฉยเสียเหมือนกับบางคำถาม เช่น อะไรเป็นจุดกำเนิดของทุกสิ่ง สำเร็จนิพพานแล้วไปไหน ทำอะไรปาฏิหาริย์ได้บ้าง มีเทพเจ้าเทวดาอะไรจริงไหม ฯลฯ เหล่านี้จัดเป็น imponderable questions (คำถามที่ไม่สามารถ ไม่บังควรทุ่มเทเวลาไปไตร่ตรอง เพราะคำตอบไม่มีนัยสำคัญต่อการดำเนินมรรคาแห่งการพ้นทุกข์) ถ้าภาษาวิจัยก็เป็นว่าคำถามมัน "น่าสนใจ" ครับ แต่อาจะไม่มี clinical relevance และไอ้ตัว "clinical relevance" นี่มันแปรตามคุณค่าอุดมคติของสังคมนั้นๆใช่ไหมครับ พูดง่ายๆหมออาจจะตกงานถ้าประชาชนทั้งหมดคิดว่า "ชีวิตนั้นสิ้นสุดได้ เมื่อไหร่ก็ได้ ไม่เป็นไรเพราะถูกกำหนดไว้แล้ว หรือฉันได้บรรลุทุกอย่าง ยังกิจทั้งหลายทั้งปวงอย่างรอบคอบ ไม่ประมาทแล้ว" งานที่เหลือก็แค่รักษาอาการทกข์ทรมานต่างๆแทน เราอาจจะไม่จำเป็นต้องดันไปถึงขั้นนั้น แต่ดันไปได้แค่ไหน demand มันก็จะลดลงแค่นั้น

ไม่ว่างไปฟังอาจารย์ปิยะสกลเหมือนกัน เลยไม่รู้ว่าท่านว่าอย่างไรบ้าง



Posted by : Phoenix , Date : 2004-07-23 , Time : 23:28:33 , From IP : 203.155.183.143

ความคิดเห็นที่ : 12


   คนละครึ่งครับ

เรามีสัมพันธภาพที่ดีกับคนไข้ ไม่ได้หมายความว่าเราจะเอามาใช้เพื่อปีนป่ายบันไดแห่ง Learning curve เหมือนอย่างยุคก่อน เราสามารถเรียนรู้จากสิ่งอื่นได้ ผมเข้าใจว่ายุคสมัยที่เขาเริ่มหัดผ่าตัดหัวใจกันก็เริ่มในสุนัขใช่ใหมครับ ที่นี้จะมากจะน้อยสัตว์ก็มีชีวิตใช่ใหมครับ ฉนั้นตอนนี้ถ้าเรามีทางเลือกอื่นก็คงต้องเผื่อใจไว้บ้าง อย่างตอนที่เราเรียน Anastomosis workshop เรามี"ของเทียม"ที่ทำจากยางพารา ซึ่งเป็นงานวิจัยจาก ม.เกษตร ใช่ใหมครับ เขาก็กำลังพยายามพัฒนาอยู่เหมือนกัน ถึงแม้ไม่ใกล้เคียงกับของนอกแต่ก็คงดีกว่ากระโดดไปทำในคนจริงเลยใช่ใหมครับ ทีนี้ถ้า รัฐจะวางวนโยบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็ควรเป็นการส่งเสริมการพัฒนาวัสดุเหล่านั้นมากกว่าการพยายามซื้อของสำเร็จรูปจากเมืองนอกใช่ใหม
คล้าย ๆ กับที่รัฐมนตรีบางท่านที่อาจหาญจะตั้งประเทศไทยเป็น ฮับของเอเซีย แต่เรามีปัญญาสร้างเทคโนโลยีเหล่านั้นเองได้มากน้อยแค่ใหน หรือใช้งบประมาณอันมีจำกัดของเรากว้านซื้อเทคโนโลยีมาติดตั้งแล้วบอกชาวบ้านว่าข้าเป็นฮับแห่งเอเชีย อายเขาครับ


Posted by : Dhan , Date : 2004-07-23 , Time : 23:46:53 , From IP : 172.29.3.246

ความคิดเห็นที่ : 13


   ตรงนี้แล้วแต่นิยามของรัฐบุรุษแต่ละท่านครับคุณ Dhan ว่า "สำเร็จ" คืออะไร

ปัญหามันอยู่ตรงที่เผอิญผู้คนที่ท่านปกครองก็จะได้อานิสงค์จากนิยามนั้นๆด้วย เราจะเป็นฮับ (ฟังดูหอบหืดอย่างไรชอบกล) นั้น พวกเราอาจจะคิดไปถึง Americans แห่กันจัด tour มาใช้บริการ มีเด็กอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน เดินทางมาดูงานหรือเรียนต่อที่นี่ แต่จริงๆแล้วท่านอาจจะหมายความอย่างที่พูดจริงๆคือมีแต่ "ฮับ" เราก็ได้เป็นฮับแห่งเอชียเรียบร้อยแล้ว ฉะนั้น ไม่มีปัญหาครับ project นี้ก็แค่ซื้อฮับมาก็เสร็จ

Psychomotor นั้นต้องทำเยอะ และสงสัยอยู่เหมือนกันว่า phase model นั้นต้องนานแค่ไหนจึงจะเหมาะที่สุด ข้อสำคัญคือเท่าที่มีอยู่นี่แล้วน่ะ มีอัตราการใช้สักกี่มากน้อยก่อนที่จะดิ้นรนหาซื้อหรือผลิตเพิ่ม (คล้ายๆกับเรื่อง wireless ICT นั่นแหละครับ เอาแค่มีศูนย์คอมฯนี่แหละ มีอัตราการใช้งานที่เป็น academic ถึง 100% แล้วรึยังก่อนที่จะตั้ง spot ให้เด็กติดเกมส์มากขึ้นกว่านี้) ทีนี้ถ้าทำเองได้ก็ดีที่สุด เพราะสุดท้ายถึงสุรุ่ยสุร่ายหรือเกิดไม่คุ้มขึ้นมาเบี้ยก็หล่นเรี่ยร่ายอยู่แถวนี้

วันก่อนมี extern บอกว่าออก OPD อาจารย์ใช้หนู PV อย่างเดียวเลยค่ะ หนูเลยไม่ได้ซักประวัติอะไรเลย แล้วก็ไม่รู้ PV ไปทำพรื้อไร บรรดาอาจารย์ที่ไปตรวจอึ้งไปพัก นึกภาพโรงงานมีสายพานลำเลียงคนไข้ขึ้นขาหยั่งใน extern PV ไปเรื่อยๆ ถามดูปรากฏว่าไม่ใช่ ก็ทำทีละคนนี่แหละ คนไข้ก็ปีนขึ้น ปีนลง เปลี่ยนผ้าตรงนั้นแหละแต่เผอิญไม่มีใครสั่งให้ถามประวัติ ตรวจร่างกายอย่างอื่นก่อน PV หนูเลยไม่ได้ทำนะจ๊ะ ตรงนี้ก็ลำบากเหมือนกัน

คณะเราก็กำลังจะ go international แล้วนะครับ เราอาจจะต้องมาดูกันว่านิยามคืออะไร อะไรคือ key performance indicator ที่บอกว่าเรา international แล้ว ผมว่าเราน่าจะนับที่เราส่ง resident ไปสิงค์โปร์ด้วยก็ดีนะครับ มันจะมาดูถูกเราไม่ได้อีกต่อไปหลังจากเจอ creme de la creme จาก มอ.

สู้เขา Tiger!!



Posted by : Phoenix , Date : 2004-07-24 , Time : 00:58:09 , From IP : 203.155.183.143

ความคิดเห็นที่ : 14


   -คุณคือความหวัง TIGERRRRRRRRR


Posted by : megumi , Date : 2004-07-25 , Time : 00:52:24 , From IP : 172.29.3.133

ความคิดเห็นที่ : 15


   เอ.... SWOT นี่แปลว่าไรครับ ภาษาอังกฤษผมไม่ค่อยเข้มแข็ง แปลว่า สวาท หรือ งูสวัด รึเปล่า ช่วยแถลงไขด้วยค้าบ

Posted by : ร่วมด้วยช่วยกันล่ม , Date : 2004-07-26 , Time : 14:39:38 , From IP : proxy-mu2.mahidol.ac

ความคิดเห็นที่ : 16


   แปลไว้เรียบร้อยตั้งแต่กล่าวถึงครั้งแรกแล้วครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-07-26 , Time : 20:52:57 , From IP : 203.155.183.228

ความคิดเห็นที่ : 17


   My hospital is so better than the NUH where not being used wireless order as PSU!!! But they can take are everyone whom had problems very very well.

Posted by : Tiger , Date : 2004-08-08 , Time : 09:26:31 , From IP : 203.127.72.140

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.007 seconds. <<<<<