ความคิดเห็นทั้งหมด : 8

Debate LXIX: Andragogy: การประเมินตนเอง


   Andragogy หรือวิชาว่าด้วยการศึกษาในผู้ใหญ่เป็นรากฐานของปรัชญาการเรียนแบบปัญหาเป็นฐาน (PBL) โดยเรา assume ว่านักศึกษาแพทย์นั้นตกอยู่ในกลุ่ม "ผู้ใหญ่" แล้วมาศึกษาวิชาแพทย์

อะไรก็ตามที่มาจากการ assumption นั้น มันมีความหมายโดยนัยว่าไม่ได้เป็น evidence-based level ที่ดีมาก แปลต่อไปอีกว่ามีโอกาสที่กลุ่มศึกษาที่เรากำลังพูดถึงอาจจะไม่ได้ประโยชน์จากสิ่งที่เราคิดว่าดีแล้วอย่างเต็มที่ ถ้าคุณสมบัติที่จำเป็นบางข้อสูญหายไปหรือไม่สมบูรณ์

การศึกษาของผู้ใหญ่นั้นมีข้อแข็งแกร่งคือความสามารถในการวิเคราะห์ รู้ตนเอง และความรับผิดชอบ (เด็กที่มีคุณสมบัติดังกล่าว ก็สามารถพูดได้ว่า "เป็นผู้ใหญ่" แล้ว ไม่ว่าจะอายุแค่ไหนก็ตาม) ตรงนี้นักศึกษาผู้ใหญ่จะเกิดความสัมฤทธิผลทางการศึกษาได้อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด หรือเป็นไปตามกรอบความสามารถที่แท้จริง ตามความเร็วที่แท้จริงของแต่ละปัจเจกบุคคล เทียบกับระบบของเราก็คือมีการใช้ Self-Directed Learning ได้อย่างมีประโยชน์ที่สุดนั่นเอง

นอกจากนี้ความสามารถในการวิเคราะห์ตนเอง จะเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดในการทำ early diagnostic analysis ของปัญหาต่างๆที่ผู้เรียนกำลังประสบ เช่น ฉันไม่ไหวแล้วต้องพักซะหน่อย หรือฉันถ้าจะเล่นเกมส์มากเกินไปแล้ว งานค้างยังไม่เสร็จเยอะแยะ หรือ contents ส่วนนี้ของเกณฑ์มาตรฐานแพทยสภาตอนกำลังจะลง block pre-op post op ฉันยังไม่ได้เลย ต้องไปบอกพี่บอกอาจารย์ ไม่งั้นแล้วถ้ารออาจารย์มาประเมิน มาถาม มักจะสายเกินแก้ หรือไม่สามารถจะแก้ได้ดีเท่าที่ควร

ว่าแต่ "การประเมินตนเอง" นี่ทำกันอย่างไรครับ?

กติกาเดิม Be Mature, Be Positive, and Be Civilized





Posted by : Phoenix , Date : 2004-07-14 , Time : 13:37:12 , From IP : 172.29.3.106

ความคิดเห็นที่ : 1


   เหมือนที่เคยบอกไว้แล้วว่าคนเรามีสี่ด้านด้านมืดที่เราไม่รู้คนอื่นไม่รู้ ด้านมืดที่เราไม่รู้แต่คนอื่นรู้ด้านสว่างที่เราเห็นคนอื่นเห็น ด้านสว่างที่เราไม่เห็นคนอื่นเห็น การประเมินตนเองถ้าให้แม่นที่สุดคือเรารับรู้ทั้งสี่ด้านของเรา ว่าแต่ถ้าเรารับรู้ด้านสว่างสูงหรือต่ำเกินจริงไป และไม่รับฟังด้านมืดจากคนอื่นก้คงไม่ดี

Posted by : pisces , Date : 2004-07-14 , Time : 18:10:57 , From IP : 172.29.3.245

ความคิดเห็นที่ : 2


   มาว่ากันต่อนะ
ยกตัวอย่างให้เห็นชัดๆก็เรื่องเรียนของเรานี่แหละ เราเรียนเก่งมาตลอดที่หนึ่งมาตลอดใครๆก็ชม การประเมินตนเองที่ผ่านมา ผ่านการรับรู้มาจากด้านสว่างที่ถูกสะท้อนให้เห็นมาตลอดจากตนเองและผู้อื่นก็คือสุดยอด ที่หนึ่งในตองอูเลยแหละ ทีนี้พอมาเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมใหม่ ความจริงก็คือมีคนเก่งกว่าเราอีกมาก เมื่อมาผ่านระบบการแข่งขัน หรือมาสอบเทียบเกรด เทียบชั้นกัน เราเลยแย่ ตกต่ำสุดๆ แต่ก็ยังอาจรับรู้ผิดๆ ต่อไปว่าเรายังเก่งเหมือนเดิม ก็เลยไม่ยอมขอความช่วยเหลือจากใครเลย เพื่อนมองเห็นด้านสว่างของเราที่เราไม่เห็น นั่นก็คือเราเรียนไม่เก่ง แต่ก็ไม่กล้ามาให้ความช่วยเหลือ ผ่านไปนานๆเข้าเราก็เริ่มแย่ลงเรื่อยๆ ความจริงเริ่มชัดเจนขึ้น กระจ่างมากขึ้นเรื่อยๆ จนมีinsight เห็นด้านมืดของความไม่เก่งของตนเองชัดเจนขึ้น ถึงตรงนี้ self ที่เคยพองโตเป็นปลาปักเป้า ก็เหลือเล็กมากเหลือเกิน อาจเป็นเพียงผงฝุ่น ผงทราย ไม่มีแรงจะต่อสู้ปรับปรุงตนเองต่อไป
แต่ที่จริงแล้ว การมองตนเองได้ชัดขึ้นนั่นแหละเป็นเรื่องที่ดี สำหรับการได้รับความช่วยเหลือ และขบวนการpreventionต่างหาก ถ้าเรามองตนเองให้เห็นเสียแต่เนิ่นๆ


Posted by : pisces , Date : 2004-07-14 , Time : 19:18:11 , From IP : 172.29.3.240

ความคิดเห็นที่ : 3


   กิจการหลายๆอย่างจะทำได้ง่ายขึ้นถ้าเรามี "แผนที่"

มีแผนที่อย่างเดียวไม่พอ เราจะต้องรู้ก่อนว่าเราอยู่ "ตรงไหน" และจะ "ไปไหน" ดังนั้นทั้งสามประการคือ แผนที่ เราอยู่ตรงไหน จะไปไหน จะต้องมีครบ กิจการนั้นๆจึงเป็นการกระทำอย่างมีทิศทาง ทำอย่าง "รู้สติ" ไม่ได้ทำไปเรื่อยๆ มีคนบอกซ้าย บอกขวา เดินหน้า ถอยหลังนิดนึง หยุดได้ เอ้า ไปต่อ ฯลฯ

ตรงนี้นำไปใช้ได้กับทุกอย่างที่มี event A และ B บนช่วงเวลา (ถ้าตามทฤษฎีสัมพันธภาพก็คือเกิดบน time & space) แม้แต่ทางปรัชญา ก็มีคนเปรียบเทียบว่าเป็นมรรคา เป็นการเดินทาง และแน่นอนที่สุด "การศึกษา" ก็เป็นการเดินทางที่ยาวไกลอย่างหนึ่ง

ใกล้ตัวที่สุดของนักเรียนแพทย เรามี curriculum map ให้ ขึ้น block นี้ ลง block นั้นก่อนขึ้นคุณจะเป็นยังไง ตอนลงคุณควรจะเป็นยังไง มีตลอดตั้งแต่ปีหนึ่งยันจบ ถามว่า "แผนที่" ฉบับนี้มีคนใช้กี่มากน้อยเอ่ย?

สาเหตุที่ถามเพราะเราสามารถทดสอบ "ทั้งผู้เรียน และผู้สอน" โดยแผนที่ฉบับเดียวกันนี่แหละครับว่า เรา respect มันมากน้อยเพียงไหน เพราะไหนๆเราก็จะต้อง "ประเมิน" ตรงสุดปลายแผนที่ใช่ไหมครับว่าที่ครูอาจารย์ลูกศิษย์นั้นคล้องแขนกันมาถึงจุดมุ่งหมายปลายทางจริงหรือเปล่า หรือว่าคล้องติดมาแต่แขนบ้าง ติดมาแต่หัวบ้าง ที่เหบือหล่นเรี่ยร่ายรายทางไปหมด อาจจะสัมพันธ์กับ "ปัญหา" เวลาเราออกไปรับฟัง extern intern ที่โรงพยาบาลสมทบ เพราะได้เจอกับคนไข้จริง คนทำงานจริง เปลือกไข่ที่หุ้มไว้มันกระเทาะออกมา ความจริงก็ปรากฏ บาดเจ็บกันไปบ้าง

ขอเน้น ทั้งผู้เรียนและผู้สอน reflection ในสิ่งที่เกิดขึ้นควบคู่กับ time frame ที่เรากำหนดไว้น่าจะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง

ตรงนี้จะมอบหมายเป็นงานของอาจารย์ที่ปรึกษาด้วยหรือไม่?



Posted by : Phoenix , Date : 2004-07-14 , Time : 22:03:07 , From IP : 172.29.3.240

ความคิดเห็นที่ : 4


   เป็น debate หนึ่งที่อยากร่วมวงด้วยมาก
เพราะผมยังไม่เป็นผู้ใหญ่
จึงต้องตื่นมาหา evidence base กับ SDL~ เอาเวลานี้
. . .
ผ่านวันนี้แล้วจะมาร่วมวงด้วยครับ


Posted by : ArLim , Date : 2004-07-15 , Time : 03:42:31 , From IP : ppp-210.86.223.221.r

ความคิดเห็นที่ : 5


   เมื่อคืนนั่งดูVCDหนังสิงคโปร์ เรื่องผมไม่โง่ I not stupid เป็นเรื่องเกี่ยวกับเด็กสามคนที่เรียนด้อย และถูกสังคมตัดสินเรียบร้อยว่าเป็นเด็กเรียนไม่ดีเพราะอ่อนเลข ภาษา รวมทั้งมารดาก็คาดหวังกับการเรียนมาก เลยพยามยามเขี่ยวเข็ญทุกวิถีทั้งดุด่า และตี แล้วก็ละเลยที่จะประเมินศักยภาพด้านอื่นของเด็กที่แฝงมาให้เห็นอย่างชัดเจนไม่ว่าจะเป็นเรื่องศิลปะ และที่ดีที่สุดคือ ความดี จริยธรรมที่มีอยู่ ความเสียสละ ที่เราเองก็มักจะลืม หรือละเลยที่จะประเมินกัน แต่สุดท้ายหนังเรื่องนี้มันเศร้า ความรู้ไม่ใช่คำตอบ ความเป็นคนนั้นดีสุด และเรียกน้ำตาได้อีกแล้ว

Posted by : pisces , Date : 2004-07-15 , Time : 06:54:28 , From IP : 172.29.3.251

ความคิดเห็นที่ : 6


   การเรียนแบบ passive มาเรื่อยๆเหนื่อยก็พักนั้นทำกันมานานมากจนเป็นธรรมเนียม เราน่าจะลองหันมาดูว่าเรียนแบบผู้ใหญ่นั้นมันต่างกันออกไปอย่างไร

บทบาทของพ่อแม่เราต่อการเรียนของเรานั้น นอกเหนือจากเป็น supporting system แล้ว บางทีตรงนี้เราอาจจะต้องแสวงหาความเป็นอิสระและเพื่อที่จะ "ตัดสินใจ" มากขึ้น ไหนๆ "ชีวิต" ที่เหลืออยู่ของเรามีสิทธิ์ถูกกำหนดโดยการเรียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับอุดมศึกษานี่ไม่น้อย ถ้าเราไม่ได้เลือกไปประกอบอาชีพทันทีที่จบ ม.6 หันมาเข้ารั้วมหาวิทยาลัย เราคงจะไม่ได้เรียนไปโก้ๆ ยิ่งบางภาคฯบางคณะเรียนเป็นสี่ห้าหกปีก็มี บางวิชายังต่อยอดอีกห้าหกเจ็ดแปดปีก็มี อายุคนเรียนก็ปาเข้าไปเกือบกลางคนแล้ว คงหมดวัยถามพ่อถามแม่แล้วหรือยังว่าเอาไงดี (OK ยกเว้นอยู่ในสายอาชีพการงานเดียวกัน หรือในแง่ประสบการณ์ทั่วๆไป)

การเรียนแบบผู้ใหญ่ไม่ได้หมายความว่าไม่ต้องปรึกษา ไม่ต้องถาม แต่เป็นปรึกษาหรือถามโดยมีความรับผิดชอบและมีเป้าหมายในชีวิต นักศึกษาบางคนไม่เคยต้องปรึกษาใครเลยก็ออกมาได้สวยพอสมควร นักศึกษาบางคนก็มีวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปจากการได้รับฟังความเห็นของผู้ที่มีประสบการณืมากกว่ามาเล่าอะไรๆให้ฟัง ไม่มีการเปรียบเทียบว่าใครเก่งไม่เก่ง ใครสำเร็จไม่สำเร็จโดยปรึกษาไม่ปรึกษา ตรงนี้ The end might justify the mean ขึ้นอยู่กับ end product ออกมาดีก็แล้วกัน

ดังนั้นการประเมินตนเองเป็นการ early detection ปัญหาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เราคาดหวังว่าถ้าหมอเป็นโรคอะไรซักอย่างหนึ่ง ก็น่าจะมา early กว่าชาวบ้าน ปัญหาสุขภาพมันก็อีหรอบเดียวกับปัญหาการเรียน ปัญหาสุขภาพจิตเหมือนกัน และการรักษาแก้ไขป้องกันแต่เนิ่นๆก็ได้ผลดีกว่าเหมือนๆกับ early detection โรคต่างๆเช่นกันด้วย



Posted by : Phoenix , Date : 2004-07-15 , Time : 15:29:05 , From IP : 172.29.3.128

ความคิดเห็นที่ : 7


   การประเมินตัวเอง จึงน่าจะขึ้นกับแผนการที่วางไว้ให้ถึงเป้าหมาย และผู้ประเมินจะได้รู้ว่าตัวเองนั้นเป็นอย่างไร
พูดแคบลงในวงเรื่องการเรียนแบบผู้ใหญ่ ก็ต้องดูอีกว่าหลักสูตรการเรียนและเป้าหมายนั้นใครเป็นผู้วาง ผู้เรียนนั้นมีเป้าหมายเดียวกันและมีความตั้งใจให้ถึงเป้าหมายนั่นหรือไม่
เกณฑ์แพทยสภาต้องการให้หมอจบใหม่สามารถรักษาโรคในกลุ่มที่ 1 และรู้จักโรคในกลุ่มที่สองและสาม
แต่นศพ.มีเป้าหมายเพียงแค่สอบ compre ผ่าน
เป้าหมายที่ได้ก็ไม่ตรงกัน เมื่อผู้วางหลักสูตรประเมิน ก็อาจจะเห็นว่าได้ไม่เต็มที่ และคิดว่าผู้เรียนไม่ประเมินตัวเองอย่างเพียงพอ

...
นี่คือการเรียนของนศพ.ที่ผมเจอนะครับ


Posted by : ArLim , Date : 2004-07-29 , Time : 01:29:50 , From IP : ppp-210.86.223.221.r

ความคิดเห็นที่ : 8


   ประเด็นที่คุณ ArLim ชี้มานี่สำคัญมาก

วิธีที่ช่วยก็คือ Comprehensive examination จะต้องสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานแพทยสภา

ทำไมไม่ปรับเกณฑ์มาตรฐานแพทยสภาให้เข้ากับผู้เรียนล่ะ? ไหนว่า student-centred งัย? น่าจะเป็นเพราะการฝึกอบรมแพทย์ของประเทศเรามีวัตถุประสงค์สำคัญที่ชัดเจนคือเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาสาธารณสุข เท่าที่ทราบที่ประชุมแพทยสภาซึ่งมีผู้แทนจากทั้งสาธารณสุขและตัวแทนมหาวิทยาลัยแพทย์เอาข้อมูลพื้นฐานของ health burdens ของประเทศไทยเป็นโจทย์ และผลลัพธ์คืองานอะไรบ้างที่แพทย์ไทยอย่างน้อยที่สุดต้องสามารถช่วยได้ กลายมาเป็นเกณฑ์มาตรฐานแพทยสภา

จากตรงนี้ ผมอยากจะเชื้อเชิญ นศพ.ของเราสำรวจ learning objectives หรือ curriculum map ที่ทางคณะฯได้ออกมาเป็นคู่มือนักศึกษาให้ดี ทางที่ดีสำรวจตัวเองทุกครั้งที่ลงจากแต่ละ block ว่าได้เรียนรู้หมดที่ควรจะรู้แล้วรึยัง ถ้ามากกว่าที่กำหนดไว้ก็ไม่เป็นไรครับ ดีแล้ว แต่ถ้าน้อยกว่าเยอะ อาจจะต้องรีบแก้ก่อนที่จะพอกหางหนู หางหมู ไปถึง extern จะลำบาก

Comprehensive นั้นเป็น summative คือประเมินได้ตก ผ่านไม่ผ่าน ดังนั้นไม่ใช่เครื่องมือที่จะนำมาใช้ในระหว่างการเรียนรู้ ต้องไปดูพวก formative ครับ ได้แก่ การสอบลงกอง block ต่างๆ เอาตรงนี้มาประเมินตนเอง ข้อสำคัญคือประเมินอย่างตรงไปตรงมา และ mature พอที่วิเคราะห์หาทางแก้ไขปัญหาแต่เนิ่นๆ ถ้าหาทางออกไม่ได้ หรือไม่แน่ใจก็ใช้ระบบอาจารย์ที่ปรึกษาของคณะฯให้เป็นประโยชน์



Posted by : Phoenix , Date : 2004-07-29 , Time : 18:32:02 , From IP : 172.29.3.210

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.004 seconds. <<<<<