เรื่องนี้เป็นเรื่อง sensitive แต่น่าสนใจ
ขึ้นอยู่กับผู้อภิปรายจะมองจากมุมไหน จากมุมนักการศึกษาศาสนศาสตร์ จากมุมนักบวชของศาสนาหนึ่งๆ จากมุมคนธรรมดาๆทั่วไปที่นับถือ (บ้าง) ศาสนาต่างๆ ซึ่งบริบทจะเปิดโอกาสให้แสดงความเห็นหรือทำให้เกิดความเชื่อในเรื่องนี้แตกต่างกันไป
ศาสนามีองค์ประกอบหลายประการที่ช่วยแยกออกจาก "ปรัชญา" มีหนังสือหลายเล่ม และวิทยานิพนธ์มากมากพูดถึงเรื่องนี้ไว้แล้ว รายละเอียดหาไม่ยาก ยกตัวอย่างเช่น ศาสนาจะมีผู้ถ่ายทอดคำสั่งสอน ศาสนาจะมีพิธีการ ศาสนาจะมี scripture ฯลฯ นั่นเป็น "โครงสร้าง" ร่วม ถ้าแยกตาม Ultimate Being หรือ Entity ก็อาจจะแยกเป็น Thiest, Athiest, และ Agnostic (เชื่อในพระเจ้า, ไม่เชื่อในพระเจ้า, และพระเจ้าไม่ได้อยู่ในคำสอน ไม่ได้เจาะจงว่ามีหรือไม่มี) ศาสนาที่มี God เช่น คริสต์ อิสลาม ยิววิช ฮินดู ส่วนพวก Atheist ได้แก่ Church of Scientology, Anarchist และกลุ่ม Agnostic (ในความเห็นของผม) ได้แก่ศาสนาพุทธ ทุกศาสนาที่มีการพูดถึงสิ่งร่วมคือ Virtue หรือ คุณค่าความดีความถูกต้องของ "beings" (บางศาสนาจำเพาะมนุษย์ หรือ sentient beings หรือ ทุก "ชีวิต") ที่มีการพูดถึงอีกอย่างคือ Purpose of life และวัฏสังสาร (พูดแบบง่ายๆแต่ไม่ตรงทีเดียวคือ "ตายแล้วไปไหน")
ทีนี้นอกเหนือจากนั้นคงเป็นรายละเอียดในคัมภีร์ของแต่ละศาสนา ซึ่งไม่มีถูกผิด รายละเอียดเหล่านี้ค่อนข้าง sensitive และไม่ควรพูดในลักษณะเปรียบเทียบคุณค่า (อาจจะพูดในลักษณะเปรียบเทียบ "ความต่าง ความเหมือน" แค่นั้น) เนื่องจากส่วนหนึ่งที่เป็นส่วนสำคัญของ (แทบ) ทุกศาสนาคือ "ศรัทธา" (Faith) ตรงนี้ปิดประเด็นตรรกศาสตร์ไป แต่ส่วนนี่เองที่อาจจะตอบคำถามของผู้ตั้งกระทู้ นั่นคือถ้าหากมีการบ่งบอกว่า "ต้องไม่" นับถือศาสนาอื่น" ก็จบ ไม่ต้องอภิปรายว่าควร ไม่ควรต่อไป โดยส่วนใหญ่แล้วตรงนี้จะไม่กระทบกระเทือนถึง core value ในแง่ของการสั่งสอนพฤติกรรม ความดี ความถูกต้อง
ศาสนาที่เป็น Agnostic จะไม่มีข้อห้ามแบบนี้มากนัก พุทธศาสนาในส่วนของ "ปรัชญา" เอง ก็เปิดกว้าง และไม่เน้นท่องจำหรือการ declaration ว่าใครจะเป็นหรือไม่เป็นพุทธมามกะ สิ่งเหล่านี้ไม่ relevance ต่อทางเดินหรือมรรคา ใครจะเห็นดีเห็นชอบหรืออยากจะลองส่วนไหน เอาไปประกอบ ไปบูรณาการกับบุคลิกภาพส่วนตัวก็เป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลนั้นๆ เนื่องจากกฏที่ใช้เป็น action-reaction หรือ chain reaction of Karma-Vipaka (กรรม-วิบาก) ดังนั้นที่สุดแล้วแต่ละคนจะเป็นนายของตนเองที่จะบงการว่าเรา "จะได้" อะไรในอนาคต อย่าลืมว่านี่คือส่วน "ปรัชญา" ของพุทธศาสนา ไม่ได้พูดถึงส่วนพิธีการ ซึ่งวชิรญาน (Tibetan Buddhism) มหายาน (Mahayana Buddhism) และเถรวาท หรือหินยาน(Theravadin or Hinayana Buddhism) ก็จะแตกต่างออกไปในรายละเอียด เช่น สีจีวร คำสวด สังฆกรรม ต่างๆ ซึ่งจะมี "กฏ" อยู่ไม่น้อย แต่มองในฐานะนักศึกษาศาสนศาสตร์ ก็จะแยกส่วนนี้ออกจากส่วนปรัชญา อภิธรรม หรืออะไรที่อยู่ใน "ตะกร้าสามใบ" (ไตรปิฏก Pali-Canon or Tipitaka) ออกต่างหาก
Posted by : Phoenix , Date : 2004-07-06 , Time : 09:53:21 , From IP : 172.29.3.106
|