ความคิดเห็นทั้งหมด : 15

A Star Is Born


   อภิปรัชญาว่าถึงผลเสียจากนิวรณ์ ความยึดเหนี่ยว เป็นจุดกำเนิดการเกิดทุกข์ ทว่าบางครั้งทุกข์นั้นเราก็แสวงหาเพื่อความปิติที่สุดสักช่วงหนึ่งของชีวิต แสวงหา "เวลา" ที่ทรงคุณค่า แสวงหาและสร้างความทรงจำเพื่อที่จะกลับมาหวลคำนึงอีกครั้ง อย่างน้อยเมื่อยามเราเหงา เราชรา ที่เหลืออยู่ก็คือความทรงจำเหล่านี้

บ้างอาจมองเป็นแค่ขบวนการทางชีววิทยา บ้างก็ว่าเป็นเรื่องธรรมชาติ บางทีเรา "สามารถ" ทำให้เรื่องบางเรื่องเหตุการณ์บางอย่างมีความหมาย เป็นรอยกำหนดจุดเริ่มต้นแห่งความสัมพันธ์ ความผูกพัน ความรับผิดชอบ และภาระอันหนักหน่วงแต่ทรงเกียรติและเป็นรากกำเนิดแห่งทุกสิ่งที่เรามีอยู่ นั่นคือ "ชีวิต"

เวลาอันทรงคุณค่านั้นติดปีกบินไปอย่างรวดเร็ว ยิ่งกว่าการเผาผลาญเชื้อเพลิงใดๆ เราจะพบว่าเมื่อเรามีความสัมพันธ์ ความผูกพัน ความรับผิดชอบ และภาระที่เราะต้องสานให้สำเร็จ สิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นแรงบันดาลใช้ เสริมสร้างความเชื่อมั่น ความต้องการที่สุด ที่เราจะทำสิ่งที่ดีที่สุดให้เกิดขึ้นให้ได้ เพราะมีสิ่งมีชีวิตที่บริสุทธิ์ที่สุดกำลังจะมาร่วมกิจกรรมของเราเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งชีวิต เวลาที่ติดปีกนั้นทำให้เราคิดว่าเรามิอาจจะประมาท เพิกเฉย ทิ้งไว้ให้เปล่าประโยชน์

มรรคาอันยาวไกลกำลังจะเริ่มต้นอีกหนึ่ง มีการเตรียมตัวเพียงแค่ความบริสุทธิ์ ความไร้เดียงสา ณ ที่นี้ สิ่งธรรมดาๆที่เกิดขึ้นทุกวี่ทุกวัน แต่เป็นสิ่งที่มีความหมายเฉพาะอย่างยิ่งยวดต่อปัจเจก ก็ได้มีขึ้นอีกครั้ง

แต่ไม่ใช่ "แค่" อีกครั้งหนึ่ง



Posted by : Phoenix , Date : 2004-06-27 , Time : 17:09:22 , From IP : l224ppp248.ksc.net.t

ความคิดเห็นที่ : 1


   ขอแสดงความยินดีกับคุณ Phoenix ครับ ที่เพิ่งมี " Another one Princess"
บ้านคงอบอุ่นขึ้นอีกมาก


Posted by : Dhan , Date : 2004-06-28 , Time : 00:19:15 , From IP : 172.29.3.201

ความคิดเห็นที่ : 2


   second staris bornก็คงเหมาะเหมือนกันไหมน๊ะ

Posted by : pisces , Date : 2004-06-28 , Time : 07:14:48 , From IP : 172.29.3.237

ความคิดเห็นที่ : 3


   "เวลา"คือสิ่งที่ผ่านตัวเราไปตลอด.....ไม่มีผู้ใดสามารถที่จะหยุดการเคลื่อนไหวของ"เวลา"ได้"......ตราบใดที่เรายังไม่สามารถย้อน"เวลา"กลับไปได้....มีเพียงเศษเสี้ยวของ"เวลา"....ที่ถูกเรียกว่า"ความทรงจำ"เท่านั้น ที่เราจะเก็บไว้ได้.....เพียงเพื่อวันหนึ่ง ณ ที่ที่"เวลา"ได้ผ่านไปแล้ว.......เราจะได้ชื่นชมกับ"ความทรงจำ"ที่ดีมากมายที่เราได้เก็บเอาได้ตลอด"เวลา"ที่ผ่านมา......

......ยินดีด้วยครับ.......:D...:D



Posted by : Death , Date : 2004-06-28 , Time : 17:13:58 , From IP : 172.29.3.187

ความคิดเห็นที่ : 4


   ยินดีกับคุณ phoenix ด้วยครับแต่ขอถามนอกประเด็นหน่อย ความสัมพันธ์ ความผูกพันให้อะไรกับเราบ้าง? จริงอยู่ที่อาจเป็นสุขในช่วงแรก ต่อมากลับกลายเป็นความคาดหวัง ความผิดหวังและทุกความผูกพันลงเอยด้วยการพัดพราก จะเป็นสุขจริงๆจากความผูกพันได้หรือ? จะไม่คาดหวังให้ความผูกพันยืนยาวและไม่ต้องเสียใจเมื่อสูญเสียไปอย่างไร? ช่วยตอบหน่อยครับ

Posted by : mj3 , Date : 2004-06-29 , Time : 12:21:02 , From IP : 172.29.2.148

ความคิดเห็นที่ : 5


   คำถามของคุณ mj3 เป็นคำถามอภิปรัชญาครับ นั่นคือทางที่เราจะพ้นทุกข์อย่างเด็ดขาดต้องทำอย่างไร ถ้าผมตอบตามแบบพุทธศาสนาก็คงหนีไม่พ้น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และมรรคแปด

เพราะสุขกับทุกข์นี่คนละเรื่องกัน ถ้าเราอิงด้าน "สุข" แล้ว เราจะมีปัญหาเกิดขึ้นทันที เพราะทุกอย่าง (รวมทั้งสุข) จะตกอยู่ภายใต้กฏอนิจจัง (impermanence) หรือกฏแห่งความไร้ถาวร ความสุขที่เรา "อิง" จะต้องพลัดพรากอย่างแน่นอน

แต่ก็มีวิธีซ่อนไว้อยู่ ถ้าเราสามารถทำให้การสูญเสียนั้น "ไม่เป็นไร" และสามารถเสพย์สุขนั้นเท่าที่มี แต่สามารถ "ปล่อยวาง" ได้ ตรงนี้จะช่วยได้เยอะครับ มีหลายวิธีที่จะทำ เช่น ทำให้ทุกขณะทุกเวลาที่เรามีความสุขนั้นมันคุ้มค่าอย่างเต็มที่ เพื่อที่เราจะได้ "ไม่เสียดาย" หรืออยากจะย้อนเวลาไปแก้ไข ตรงนี้คือการยังกิจทั้งหลายทั้งปวงโดยถึงพร้อมซึ่งความไม่ประมาท (ปัจฉิมโอวาทพระสมณโคดมก่อนเสด็จปรินิพพาน)

ความผูกพันจะเป็นแรงบันดาลใจให้เราอยากจะให้มีการปลูกฝังสิ่งที่ดีๆต่อๆไป รวมทั้งวิธีการหลีกเลี่ยงการผูกมัดติดพันเกินไป ไม่สามารถปล่อยวางนี้ด้วย กับคนแวดล้อมของเราขณะที่เราเสพย์ความสุขในการอยู่ร่วม ถ้าทุกข์ปล่อยวางได้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นแค่ชั่วครั้งคราว และสักวันหนึ่งมันจะต้องถึงเวลาที่เราสูญเสียไป เราจะอยู่ในสถานการณ์ที่ได้เปรียบ และมีการเตรียมตัวไว้เป็นอย่างดี

การตระหนักและเข้าใจ ของสภาวะ impermanence เป็นวิธีเดียวที่ทำให้เราสามารถทำใจและปล่อยวางได้ เมื่อนั้นความสุขจากความผูกพันจะเป็น here and now จะเหลือไว้หลังจากสูญเสียไปก็คือความทรงจำที่ดีแต่ไม่เสียดาย เพราะเราได้ยังชีวิตและดำเนินชีวิตไว้แล้วโดยไม่ประมาท ไม่ได้เสพย์สุขจากอวิชชา จากกิเลส จากโลภ

ศาสนาหรือปรัชญาอื่นๆก็คงมีวิธี address เรื่องนี้ต่างๆกันไป ขออนุญาตไม่ละลาบละล้วงข้ามไปเรื่องที่มีความรู้น้อยเกินก็แล้วกันนะครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-06-29 , Time : 15:29:43 , From IP : 172.29.3.106

ความคิดเห็นที่ : 6


    ฟังเรื่องศาสนากับการเผชิญหน้ากับความตายมา ได้ข้อมูลมาอาจพอapplyตรงนี้ได้บ้างว่า ความทุกข์ชัดเจนที่สุดคือการยึดติด เมื่อมีเหตุอะไรมากระทบก็ตามและไม่เป็นไปตามที่หวัง มันทำให้ selfของเราไม่ดีเราเลยแย่ เพราะเราคิดว่าตัวตนเป็นของเรา เราต้องการกำหนดและควบคุมเอง และยังมีของแถมลามไปควบคุมตัวตนคนอื่นอีก ถ้าเป็นไปได้เราถือว่าชะตากรรมหรืออะไรก็ตามที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน มีคนอื่นกำหนดให้เป็นไป และต้องเป็นไปตามนั้นจะได้ไหม เพียงแต่เราค่อยๆมีสติเรียนรู้แบบฝึกหัดเหล่านี้ไปเรื่อยๆ
บทสรุปแบบนี้จะเป็นไปได้คงขึ้นกับศรัทธามั้งนะ


Posted by : pisces , Date : 2004-06-30 , Time : 07:21:28 , From IP : 172.29.3.220

ความคิดเห็นที่ : 7


   ถ้าเป็นไปได้เราถือว่าชะตากรรมหรืออะไรก็ตามที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน มีคนอื่นกำหนดให้เป็นไป และต้องเป็นไปตามนั้นจะได้ไหม

ตรงนี้ผมมีความคิดที่แตกต่างกันออกไปนิดหน่อย ถ้าตามศาสนาพุทธชะตากรรมหรือสิ่งที่เกิดขึ้น (วิบาก: Vipaka) เป็นผลมาจากกรรมของตัวเราเอง (volitional deed) ไม่ใช่ของผู้อื่น อาจจะเป็นไปได้ที่มี reaction กับของผู้อื่นด้วย แต่กระษัยหลักคือกรรมของเราเอง ตรงนี้ทำให้มีศรัทธาที่ว่าอย่างน้อยที่สุดเราสามารถควบคุมอนาคตของเราบางส่วนด้วยการเพาะ deed ของเราที่เป็น moral excellence เผื่อว่ายังไงๆมันไปผสมกันแล้วหนักจะได้เป็นเบา เบาจะได้หาย รากแห่งการเกิดทุกข์มันจะได้ห่างไกลออกไปที่จะแสดงผล

ด้วยความเชื่อนี้ ผลก็คือ เราน่าจะทำอะไรซักอย่าง here and now ให้ดีที่สุดตัดไอ้พวกรากแห่งความเกลียดชังลงไป พวกนี้เป็นการทำให้จิตใจเศร้าหมอง อย่าคิดว่าการที่เราพูดหรือกระทำให้ร้ายกับคนที่เราไม่ชอบแล้วจะทำให้เราจิตใจสบายขึ้น ความคิดต่างๆแบบนี้มันจะแทรกซึมลงไปกับคนรอบข้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ innocent mind เด็กๆจะโหยหา role model ที่จะอิงจะเลียนแบบ เราอยากจะให้ลูกหลานลูกศิษย์ (เด็กๆ) เป็นอย่างไร ไม่ต้องทำอะไรมาก เอาแค่ทำตัวอย่างที่เราอยากให้เขาเป็นแค่น้นแหละครับ เขาจะเป็นคนที่ compassion หรือเต็มไปด้วย hatred เขาจะเป็นคนที่รู้จักชื่นชมความดีความบริสุทธิ์ หรือรู้จักแต่สิ่งตรงกันข้าม ของเหล่านี้จะเล่นบทบาท karma-vipaka cycle ไปเรื่อยๆตลอดไป

ศรัทธาบางอย่างนั้นพิสูจน์ไม่ได้หรือพิสูจน์ยากว่าดีหรือไม่ แต่บางอย่างเราต้องลองเอง ใจเย็นนิดนึง เราจะพบว่าพิสูจน์ได้ และพิสูจน์มาแล้วกว่า 2500 ปีของประวัติศาสตร์แห่งสันติ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-06-30 , Time : 09:10:57 , From IP : 172.29.3.128

ความคิดเห็นที่ : 8


   ศรัทธานั้นไม่อาจพิสูจน์แบบ reserchใช่หรือไม่ เพราะมันเป็นความเชื่อความคิดที่มีอยู่ภายใน และสาเหตุของความทุกข์ที่เป็นสาเหตุก็มีหลายmoduleโดยที่อาจไม่relateกับoutcomeแบบใดแบบหนึ่งที่เฉพาะเจะจงลงไปได้
แต่ถ้าเราเชื่อว่าคำสอนไม่ว่าแบบใดก็ตาม นำมาชึ่งoutcomeเดียวกัน คือไม่ให้เรายึดติด และต้องการให้เราหลุดพ้นจากความทุกข์ เพียงแต่ใช้tool เครื่องมือหรือวิถีที่ใช้ต่างกัน เพียงเท่านี้แล้วเรายังอยากจะวัดประสิทธิภาพของมันอีกไหม


Posted by : pisces , Date : 2004-06-30 , Time : 12:59:57 , From IP : 172.29.3.182

ความคิดเห็นที่ : 9


   มาฟังต่อฮะ...

Posted by : ArLim , Date : 2004-06-30 , Time : 15:11:10 , From IP : ppp-210.86.223.221.r

ความคิดเห็นที่ : 10


   ถ้าเป็น "ศรัทธา" ก็ "ไม่จำเป็น" ต้องพิสูจน์ เรามักจะพูดถึง "ทดสอบ" มากกว่า

เป็นเพราะ outcome ของสิ่งที่ใช้ระบบศรัทธานั้นก็มักจะต้องอาศัยศรัทธาเป็นตัววัดเช่นเดียวกัน เช่น ทำดีแล้วขึ้นสวรรค์ ทำชั่วตกนรก ทำบุญตักบาตรแล้วชาติหน้าจะหล่อจะสวยจะรวย ทดสอบที่ผมพูดถึงคือการที่คนเราจะยึกอยู่กับศรัทธาที่ว่าโดยผ่าน preliminary outcome ที่เป็นตัวอุปสรรคต่างๆได้ดีแค่ไหน เช่น promote ethics แล้วถูกหาว่าบ้า หาว่าผิดปกติมนุษย์ หรือเข้าคิวขึ้นลิฟท์แล้วถูกมองว่าโง่ ทึ่ม เซ่อ นี่คือการ "ทดสอบ" ศรัทธาว่าเรามีมากน้อยหนักแน่นขนาดไหน

สิ่งที่เป็น uniqueness ของระบบ "ศรัทธา" ทางพุทธคือเรา challenge ให้คนมาทดสอบ และให้เวลาสักหน่อย และจะ "เห็นเอง" ว่า "วิถีพ้นทุกข์" นั้นก็เป็นตัวเลือกอีกทางหนึ่งนอกเหนือจาก "วิถีแสวงสุข" การแสวงหานั้นยากที่จะ define แต่การปลดภาระ ปลดแอก ปลดสิ่งที่ถืออยู่นั้นสามารถมองเห็นและทดลองดูได้ (ยากง่ายเป็นอีกเรื่องนึง)

ที่น่าสนใจคือเคยสนทนากับนักศึกษา inter-religion เขาพบว่าจุดต่างของแต่ละศาสนานั้นยังไม่น่าสนใจเท่า "จุดร่วม" ซึ่งใกล้เคียงกับ core value ของแต่ละศาสนาอย่างน่าพิศวง นัก ethicists ที่เชื่อในทฤษฎีว่ามนุษย์นั้นมี universal shared value ก็คงไมแปลกใจ แต่นักมานุษยวิทยาอาจจะอึ้ง และนัก behavioral scientists คงจะทำใจยาก ส่วนนัก biologists คงไม่เชื่อ

แล้วพวกเราคิดว่าอย่างไรกับ universal shared value ล่ะครับ? มีหรือไม่? และคืออะไรถ้ามี?




Posted by : Phoenix , Date : 2004-06-30 , Time : 18:56:01 , From IP : 203.155.226.0

ความคิดเห็นที่ : 11


    ความเป็นหนึ่งเดียวกับความว่าง
เป็นผู้อยู่ในอ้อมกอดของพระเจ้า
แนบสนิทร่างกับผืนดิน
โบยบินไปในสายลมแสงแดด
เมื่อชีวิตนี้สิ้นสุดลง เรา คือ ธรรมชาติ เรา คืน สู่ธรรมชาติ
จากความมี สู่ความไร้ตัวตน สู่ธรรมชาติ สู่อ้อมแขนของพระผุ้เป้นเจ้า universal shared value อาจ คือ จากไปอย่างไร้อาลัย วางใจสิ่งที่ไม่รู้จัก
ส่วนวิธีการ รู้ เห็น คงแตกต่างกันไป ตามวัฒนธรรม วิถีชีวิต ความเชื่อ
ของแต่ละกลุ่มชน .


Posted by : true love ? , Date : 2004-07-01 , Time : 02:36:10 , From IP : 172.29.3.224

ความคิดเห็นที่ : 12


   ขอแสดงความดีใจด้วยครับคุณ Phoenix

Posted by : ลิงน้อยก้นแดง , Date : 2004-07-03 , Time : 14:44:04 , From IP : 172.29.5.99

ความคิดเห็นที่ : 13


   ขอบคุณครับ







Posted by : Phoenix , Date : 2004-07-03 , Time : 17:10:11 , From IP : 172.29.3.237

ความคิดเห็นที่ : 14


   เป็นนิมิตหมายที่ดีจริงๆ ที่ทำให้เราเห็นคุณphoenixในอีกมุมของอารมณ์ที่แตกต่างไปจากเคย ดูน่ารักดีนะ

Posted by : pisces , Date : 2004-07-03 , Time : 20:38:15 , From IP : 172.29.3.202

ความคิดเห็นที่ : 15


   








Posted by : Phoenix , Date : 2004-07-03 , Time : 21:20:55 , From IP : 172.29.3.203

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.008 seconds. <<<<<