ความคิดเห็นทั้งหมด : 19

Debate LXVIII: Ethical Issue: Principle of Autonomy


   ผมเคยลงกระทู้ถามทำนองกระดานข่าวเป็นเครื่องมือทดสอบสังคมอย่างหนึ่งได้หรือไม่ มีการอภิปรายพอสมควร ไม่ได้มีข้อสรุป แต่ในบางเหตุการณ์ที่ผ่านมาเกือบปีมานี่ ร่วมกับเราพึ่งจะมีการสัมมนาคุณสมบัติของแพทย์ที่พึงประสงค์ โดยใช้ทั้งหลักการของ WHO และ consortium 13 คณะแพทยศาสตร์ในประเทศไทย ผมคิดว่าน่าจะเป็นโอกาสที่จะปัดฝุ่นออกมาว่ากันอีกรอบ

คนเรา "ทุกคน" ตั้งแต่เกิดมา (หรือ conceived) ก็มีสิทธิติดตัว มีเสรีภาพและหน้าที่ต่อตนเอง "และ" ต่อสังคม (ถ้าใครจะไม่เห็นด้วยตรงไหนสามารถ quote และขัดคอได้เลยนะครับ) จริยศาสตร์นั้นจะมีความหมายสำหรับชุมชน สำหรับสัตว์สังคมเท่านั้น เพราะจะเป็นการศึกษา shared value ของ sentient beings ในชุมชนหนึ่งๆ รายละเอียดปลีกย่อยของแต่ละชุมชนก็จะทำให้มีรายละเอียดของ taboo ของขนบธรรมเนียมเกิดขึ้น แต่นักจริยศาสตร์ "เชื่อ" ว่ายังมีกฏบางกฏ ข้อบางข้อ ที่เป็น "สากล" และสิ่งเหล่านี้มีคุณค่าพอที่มนุษย์ซึ่งเป็นสัตว์ประเสริฐจะแสวงหา จะตั้งเป็นเป้าหมาย หรือเป็นหลักการดำรงชีวิต

คนเราจะมีอะไรให้แก่สังคมได้นั้น จะต้องเริ่มจากเคารพในความเป็นตัวตนของปัจเจกบุคคลก่อน เมื่อมีความเข้าใจตรงจุดนี้ ปัจเจกบุคคลจึงจะมีความหมายเพียงพอที่เราจะคุ้มครอง ปกป้อง รักษา อยากให้พ้นทุกข์ (ซึ่งเป็นรากฐานเบื้องต้นที่สุดของสายอาชีพของเราโดยตรง "แพทย์" นั่นคือความต้องการปกป้อง คุ้มครอง แก้ไขปัจเจกบุคคลให้พ้นทุกข์) หลักการนี้แตกย่อยออกไปเป็นรากฐานของหลายสาขา และเป็นรากฐานที่สำคัญมากที่สุด ไม่ว่าจะกลายเป็นกฏหมายของประเทศ กฏระเบียบของกระทรวง หลักศีลธรรม ขนบธรรมเนียม ฯลฯ การที่เราจะต้องสามารถติดตามย้อนกลับมาถึงรากนี้ให้ได้ เป็นวิธีเดียวที่เราจะมั่นใจว่าไม่ได้ออกนอกลู่นอกทาง หรือการตีความนั้นๆถูก abuse เพียงเพื่อประโยชน์ส่วนตนโดยไม่คำนึงถึงส่วนรวม

การที่ปัจเจกบุคคลท่านใดท่านหนึ่งมีความลำบากในการปรับตัว ผลกระทบก็คือคนรอบข้างจะ "รู้สึก" ได้ สังคมรอบข้างจะเป็นทุกข์ได้ แต่ปฏิกิริยาของสังคมที่เหลือควรจะเป็นอย่างไรจึงจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุดสำหรับชุมชนนั้นๆ? เราควรจะทำโทษให้เข็ดหลาบ? กักขังแยกออกไปจากสังคม? ประณามให้หลาบจำ ขายหน้าไปทั้งตระกูล? หรือเราควรจะคิดถึงขบวนการ rehabilitation เพื่อที่สังคมยังมีโอกาสได้สมาชิกที่พึงประสงค์กลับมา?

แต่ละที่ แต่ละชุมชน แต่ละองค์กรคงจะมีนโยบายตรงนี้แตกต่างกัน ผมขอเสนอความคิดเห็นส่วนตัวว่า ในฐานะที่เราเป็นแพทย์ และผมมีอาชีพเป็นครู วิธีการข้อสุดท้ายดูจะไปด้วยกันได้กับจรรยาบรรณของทั้งครูและทั้งของแพทย์ ครูมีหน้าที่ช่วยเด็กที่มีปัญหา ไม่ใช่เหยียดหยามหรือคิดว่าเด็กเหล่านี้ทำให้ KPI มันตก เป็นเด็กไม่พึงประสงค์ งานนี้ถึงจะเป็นงานที่ challenge สถาบันครู ไม่ใช่การคัดเด็กที่ใครสอนมันก็ดีทั้งนั้น เอามาเป็นผลงานแล้วบอกว่านี่คือ challenge แพทย์มีหน้าที่ช่วยคนที่มีปัญหาความทุกข์ทั้งทางกายและทางจิตใจ เพราะที่เราดูคือ "คุณภาพชีวิต" ที่ต้องเป็นองค์รวม ได้แก่ กาย ใจ จิตวิญญาณ และสังคม คนที่มีปัญหาเข้ากับสังคม มีปัญหาทางจิตใจนั้น อาจจะเป็นคนที่สังคมรังเกียจ คนทั่วๆไปไม่อยากคบหาสมาคมด้วย แต่ในฐานะแพทย์ พวกเราคงต้องมีอีกมุมมองว่านี่คือโอกาสที่เราควรจะหาวิธีบำบัด หาวิธีที่จะทดสอบหรือช่วยเหลืออย่างไร เราเรียนมาเรื่อง behavioral science มากกว่าชาวบ้าน เราเรียนเรื่องจริยศาสตร์ จริยธรรม ก้เพื่อที่จะเข้าใจว่าทำไมสมาชิกปัจเจกบุคคลทุกคนของสังคมนั้นเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของสังคมที่ healthy และนั่นคือเหตุผลของทุกสิ่งทุกอย่างที่พวกเราในอาชีพนี้เข้ามาอยู่กัน จริงหรือไม่? งานนี้ถึงจะเป็นงานที่ Challenge สถาบันแพทย์

อยากเรียนถามความเห็นสมาชิกของเราว่า เรามีความเห็นเรื่อง autonomy เรื่องสิทธิและคุณค่าของปัจเจกบุคคลอย่างไร และเรื่องนี้มีอะไรเกี่ยวข้องกับอาชีพแพทย์หรือไม่ครับ

Be Mature, be positive, and Be civilized



Posted by : Phoenix , Date : 2004-06-23 , Time : 23:27:36 , From IP : 203.155.183.196

ความคิดเห็นที่ : 1


   ฟังดูก็คือหลักethicทั้งหลายที่เราถูกสอนว่าต้องยึดปฏิบัติต่อผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็น
1การเคารพตัวตนที่เขาเป็นไม่ว่าสิ่งนั้นจะถูกใจเราหรือไม่ก็ตาม
2 การรักษาความลับของเขาเพราะเราคือผู้ที่เขาไว้วางใจจะให้ได้รับรู้ข้อความลับดังกล่าว
3 การไม่ทำให้คนอื่นได้รับความเดือดร้อน
4.................
ดูเหมือนว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราควรยึดถือ นำมาปฏิบัติ และdebateพฤติกรรมของเราที่กระทำต่อผู้อื่นไม่ใช่เพียงแค่ต่อตัวผู้ป่วย แต่มันยังรวมถึงผู้อื่นในสังคมทั่วๆไปทีเราcontactด้วยใช่หรือไม่


Posted by : pisces , Date : 2004-06-24 , Time : 08:46:38 , From IP : 172.29.3.123

ความคิดเห็นที่ : 2


    - เขียนอะไรยาวยืดอ่านไม่รู้เรื่อง คงมีแต่พวกสติปัญญาแบบเดียวกันอ่านได้ ขอโทษด้วยที่อ่านไม่ไหวค่ะ ท่าทางดิชั้นจะโง่ แต่แนะนำนะค่ะ พยายามเป็นคนธรรมดาบ้างก็ดีค่ะ

Posted by : Lover of the Death , Date : 2004-06-24 , Time : 12:50:09 , From IP : 172.29.3.148

ความคิดเห็นที่ : 3


   แนะนำให้อ่านไปทีละน้อยๆเท่าที่จะรับได้ก็ได้ครับ

จริยธรรม จรรยาบรรณแพทย์เป็นเรื่องสำคัญ ผมคิดว่าคุ้มที่จะใช้เวลาสักนิด ความยาวตรงนี้น้อยกว่าข่าวฟุตบอลยูโรซะอีก สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยไม่น่ามีปัญหา

อีกประการเรื่องศีลธรรมเหล่านี้ไม่เกี่ยวกับโง่ฉลาดหรือความเป็นคนไม่ธรรมดาหรอกครับ ผมคิดว่าเป็นคุณสมบัติทั่วๆไปของคนที่ประกอบอาชีพแพทย์ หรืออาชีพไหนๆก็ตาม

ขอแนะนำนะครับ คนธรรมดาก็เข้าใจจริยศาสตร์ เข้าใจเรื่องสิทธิส่วนบุคคลได้ครับ พยายามหน่อยก็ดีครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-06-24 , Time : 13:11:12 , From IP : 172.29.3.106

ความคิดเห็นที่ : 4


   ไม่รู้เรื่องอยู่ดี

Posted by : doc , Date : 2004-06-24 , Time : 13:53:35 , From IP : 172.29.3.71

ความคิดเห็นที่ : 5


   เห็นด้วยนะว่าได้พยายามอ่านหลายๆรอบแล้ว ทำให้เข้าใจกระจ่างมากกว่าเดิม
สิ่งที่อยากให้รับรู้คือการที่เราประเมินตนเองอย่างมีinsightแล้วพบว่าเราด้อยจริยธรรมด้านไหน ไม่ได้บ่งบอกว่าเราเป็นคนไม่ดี เพราะจริยธรรมคือsuperegoเป็นสิ่งที่พัฒนามาทีหลังIDหรือสันดานดิบ ความอยากได้อยากมี รวมทั้งagression ที่เรามีมาติดตัวตั้งแต่เกิด และsuperegoหรือมโนธรรมเหล่านี้พัฒนามาจากการได้รับหรือถูกสั่งสอน และสั่งสมให้มีในตัว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนา กฏโรงเรียน กฏสังคม ซึ่งก็เพื่อให้เราสามารถยับยั้ง IDรวมทั้งความก้าวร้าวที่มีแต่เกิด เราจะได้ไม่ทำร้ายใคร และถ้าเพื่อนในสังคมเราไม่มีมโนธรรมดังกล่าว หรืออาจมีแบบแหว่ง เว้าไม่สมประกอบ หน้าที่ของคนในสังคมก็คือ หาโอกาสสอนเรื่องsuperegoให้แก่เขา เพราะสิ่งที่เราเชื่อเสมอคือทุกคนมีโอกาสพัฒนาได้ และควรได้รับโอกาสพัฒนา เว้นเสียแต่เราหมดหวังเสียก่อนก็คงต้องปล่อยให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ทางสังคมหรือกฎหมายจัดการ


Posted by : pisces , Date : 2004-06-24 , Time : 21:01:38 , From IP : 172.29.3.209

ความคิดเห็นที่ : 6


   เห็นด้วยนะว่าได้พยายามอ่านหลายๆรอบแล้ว ทำให้เข้าใจกระจ่างมากกว่าเดิม
สิ่งที่อยากให้รับรู้คือการที่เราประเมินตนเองอย่างมีinsightแล้วพบว่าเราด้อยจริยธรรมด้านไหน ไม่ได้บ่งบอกว่าเราเป็นคนไม่ดี เพราะจริยธรรมคือsuperegoเป็นสิ่งที่พัฒนามาทีหลังIDหรือสันดานดิบ ความอยากได้อยากมี รวมทั้งagression ที่เรามีมาติดตัวตั้งแต่เกิด และsuperegoหรือมโนธรรมเหล่านี้พัฒนามาจากการได้รับหรือถูกสั่งสอน และสั่งสมให้มีในตัว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนา กฏโรงเรียน กฏสังคม ซึ่งก็เพื่อให้เราสามารถยับยั้ง IDรวมทั้งความก้าวร้าวที่มีแต่เกิด เราจะได้ไม่ทำร้ายใคร และถ้าเพื่อนในสังคมเราไม่มีมโนธรรมดังกล่าว หรืออาจมีแบบแหว่ง เว้าไม่สมประกอบ หน้าที่ของคนในสังคมก็คือ หาโอกาสสอนเรื่องsuperegoให้แก่เขา เพราะสิ่งที่เราเชื่อเสมอคือทุกคนมีโอกาสพัฒนาได้ และควรได้รับโอกาสพัฒนา เว้นเสียแต่เราหมดหวังเสียก่อนก็คงต้องปล่อยให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ทางสังคมหรือกฎหมายจัดการ


Posted by : pisces , Date : 2004-06-24 , Time : 21:01:39 , From IP : 172.29.3.209

ความคิดเห็นที่ : 7


   ผมมีความเห็นว่าคนเราเมื่อเกิดมาแล้วมีสิทธิที่จะทำอะไรก็ได้ อยากทำอะไรทำ ไม่อยากทำก็ไม่ต้องทำ ผมคิดว่าในเบื้องต้นคงมีเพียงเเค่นี้
แต่เนื่องจากเราอยู่กันเป็นสังคม ดังนั้นการกระทำของเราอาจมีผลต่อผู้อื่น อาจเจตนาหรือไม่เจตนา ผมจึงเพิ่มเงื่อนไขให้การกับการกระทำของผมอีกนิดคือ
1.สิ่งที่ผมทำต้องไม่ทำให้ตัวผมเดือดร้อน
2.สิ่งที่ผมทำต้องไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน
แค่เพิ่มเงื่อนไขการกระทำแค่นี้ การมีชิวิตอยู่ในโลกนี้ก็ยากขึ้นเป็นกอง แต่ผมคิดว่าสามารถทำได้ ถ้าจะให้ง่ายสุดก็คือไปบวช เป็นการลดสิ่งกระตุ้นให้เหลือน้อย การใช้ชิวิตตามเงื่อนไขข้างต้นจะง่ายขึ้น
เนื่องจากผมคิดว่า การบวชอาจทำให้การมีชิวิตในโลกนี้มีค่าหน่อยนึง ผมอยากรู้สึกว่าตัวเองมีค่ามากขึ้น จึงเพิ่มเงื่อนไขเข้าไปอีกคือ ต้องการช่วยให้ผู้อื่นที่เดือดร้อน ผ่านพ้นจากสภาพนั้น ผมเลือกที่จะเเก้ความผิดปกติที่เกิดกับร่างกาย เพราะมองเห็นชัด ประเมินง่าย ผมจึงเลือกเป็นหมอ
มาถึงตอนนี้การมีชีวิตอยู่ของผมก็ยากขึ้นเป็นหลายกอง แต่ผมคิดว่าผมทำได้ ถ้าเมื่อไหร่ทำไม่ได้ ก็ค่อยลดเงื่อนไขที่เคยตั้งไว้ โดยเริ่มจากเลิกเป็นหมอ
ผมคิดว่าการใช้ชีวิตของคุณphoenix คงยากขึ้นกว่าผม คุณกำหนดเงื่อนไขที่มากขึ้นกว่าผม คุณอยู่ในฐานะที่สอนให้คนอื่นคิดเป็น แก้ปัญหาได้ ผมเองยังไม่กล้าที่จะกำหนดเงื่อนไขให้เท่าคุณแต่จะเฝ้าดูและช่วยเชียร์นะครับ



Posted by : megumi , Date : 2004-06-25 , Time : 05:08:39 , From IP : 172.29.3.200

ความคิดเห็นที่ : 8


   ผมมีความเห็นว่าคนเราเมื่อเกิดมาแล้วมีสิทธิที่จะทำอะไรก็ได้ อยากทำอะไรทำ ไม่อยากทำก็ไม่ต้องทำ ผมคิดว่าในเบื้องต้นคงมีเพียงเเค่นี้
แต่เนื่องจากเราอยู่กันเป็นสังคม ดังนั้นการกระทำของเราอาจมีผลต่อผู้อื่น อาจเจตนาหรือไม่เจตนา ผมจึงเพิ่มเงื่อนไขให้การกับการกระทำของผมอีกนิดคือ
1.สิ่งที่ผมทำต้องไม่ทำให้ตัวผมเดือดร้อน
2.สิ่งที่ผมทำต้องไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน
แค่เพิ่มเงื่อนไขการกระทำแค่นี้ การมีชิวิตอยู่ในโลกนี้ก็ยากขึ้นเป็นกอง แต่ผมคิดว่าสามารถทำได้ ถ้าจะให้ง่ายสุดก็คือไปบวช เป็นการลดสิ่งกระตุ้นให้เหลือน้อย การใช้ชิวิตตามเงื่อนไขข้างต้นจะง่ายขึ้น
เนื่องจากผมคิดว่า การบวชอาจทำให้การมีชิวิตในโลกนี้มีค่าหน่อยนึง ผมอยากรู้สึกว่าตัวเองมีค่ามากขึ้น จึงเพิ่มเงื่อนไขเข้าไปอีกคือ ต้องการช่วยให้ผู้อื่นที่เดือดร้อน ผ่านพ้นจากสภาพนั้น ผมเลือกที่จะเเก้ความผิดปกติที่เกิดกับร่างกาย เพราะมองเห็นชัด ประเมินง่าย ผมจึงเลือกเป็นหมอ
มาถึงตอนนี้การมีชีวิตอยู่ของผมก็ยากขึ้นเป็นหลายกอง แต่ผมคิดว่าผมทำได้ ถ้าเมื่อไหร่ทำไม่ได้ ก็ค่อยลดเงื่อนไขที่เคยตั้งไว้ โดยเริ่มจากเลิกเป็นหมอ
ผมคิดว่าการใช้ชีวิตของคุณphoenix คงยากขึ้นกว่าผม คุณกำหนดเงื่อนไขที่มากขึ้นกว่าผม คุณอยู่ในฐานะที่สอนให้คนอื่นคิดเป็น แก้ปัญหาได้ ผมเองยังไม่กล้าที่จะกำหนดเงื่อนไขให้เท่าคุณแต่จะเฝ้าดูและช่วยเชียร์นะครับ



Posted by : megumi , Date : 2004-06-25 , Time : 05:08:47 , From IP : 172.29.3.200

ความคิดเห็นที่ : 9


   การทานอาหารวันละสามมื้อ ตื่นนอนอาบน้ำ แปรงฟันแต่งตัวยากไหมล่ะครับ?

ถ้าไม่ยาก ทำไมถึงไม่ยาก? เพราะว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาๆ ไม่ได้แปลกพิศดาร ไม่ได้ต้องใช้ความพยายามอะไรเป็นพิเศษหรือไม่?

การประพฤติตามจริยธรรม ปฏิบัติตามจริยศาสตร์ ไม่ได้อยู่ที่การรวบรวมท่องจำว่าเราจะต้องทำอะไร ที่ไหน อย่างไร แต่อยู่ที่ว่าเราคิดว่าอะไรดี อะไรชอบ อะไรมีคุณค่า หลังจากนั้นเมื่อไหร่ก็ตามเราได้ดำเนินอยู่บนถนนสายที่เราคิดว่าดีอยู่นานพอ เราก็ไม่ต้องมองถนนมากนักแล้ว แต่ถนนนั้นจะอยู่ใต้เท้าเราเสมอไม่ว่าจะก้าวเท้าไปในทิศทางไหน

นักสังคมสงเคราะห์นั้นยังไม่ได้ทำตาม moral ตราบใดที่เขาคิดว่าจะได้ "อะไร" ตอบแทนจากการกระทำนั้นๆ เช่น ชื่อเสียง ความเคารพนบนอบ ลาภยศสรรเสริญ หาดแต่เมื่ใดที่เขาทำเพียงเพราะน่นเป็นสิ่งที่ควรทำ ทำแล้วชอบ จึงเรียกว่าเป็น moral อย่างแท้จริง เราจะเป็นแพทย์ที่มีความสุขได้เสมอ ก็ต่อเมื่อไม่จำเป็นต้อง "พยายาม" ช่วยเหลือผู้อื่น แต่ทำไปเพราะการกระทำสิ่งนั้นเป็นการกระทำที่ชอบ เป็นสิ่งที่ควรกระทำ สิ่งนั้นจะไม่ใช่ "งาน" อีกต่อไป แต่เป็นแค่ส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวันเหมือนอย่างเช่นการทานอาหารวันละสามมื้อ ตื่นนอนอาบน้ำ แปรงฟันแต่งตัว

ยากไหมล่ะครับ?



Posted by : Phoenix , Date : 2004-06-25 , Time : 20:27:24 , From IP : 203.155.183.204

ความคิดเห็นที่ : 10


    เราเริ่มเรียนรู้เรื่องจริยศาสตร์มาตั้งแต่preschool ageแบบแม่สอน แกมบังคบโดยยังไม่รู้เรื่องเหตุผล ยังคิดไม่เป็น และปฎิบัติตามแบบเป็นเงื่อนไขหรือreflexจนเป็นนิสัย ฟังดูก็ทำได้ง่ายนะ
พอโตขึ้นหน่อยเข้าโรงเรียนก็เป็นหน้าที่ครูสอนต่อ ควบคู่กับที่บ้าน เห็นง่ายๆที่ลูกถูกสอนตอนนี้ก็เช่นเรื่องการไหว้ครู การทำความเคารพ การปฏิบัติตนต่อเพื่อน วินัยโรงเรียน......ก็เป็นการต่อยอดจริยศาสตร์จากที่บ้าน เราก็ทำตามเพราะทำแล้วทุกคนก็ชมว่าดี ดีมาก แล้วก็ทำ ทำจนเป็นนิสัยอีกแล้วนะ ไม่แน่ใจว่าเริ่มคิดเป็นหรือยัง แต่อาจมีคำถามถามครูบ่อยๆว่าทำไมต้องทำด้วย แล้วก็เริ่มได้เหตุผลต่างๆนาๆมาไว้ประกอบให้คิด
พอเป็นวัยรุ่นเริ่มคิดแบบ abstract เป็นคราวนี้แหละที่เราเริ่มdebateพฤติกรรมและความคิดของเราเองว่าอะไรควรไม่ควร ไม่ใช่เพียงแค่ผู้ใหญ่บอกว่าดีแล้วทำตาม ก็คงคิดเหมือนพวกเราตอนนี้ แต่ตัวเราจะออกมาเป็นในรูปแบไหน เป็นคนที่พร้อมทางจริยศาสตร์ได้มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กัยจริยศาสตร์ที่เราเก็บออมมาตั้งแต่ต้นว่ามันมีมากหรือน้อยเพียงใด ถ้าทุนเดิมมีมามากชีวิตตามรูปแบบนี้ก็ทำได้ง่าย ที่จะยากก็เห็นแต่มีพวกที่ไม่มีsuperegoมาเลยหรือมีมาก็แหว่ง เว้า มาน้อยเต็มทีซึ่งก็เป็นโอกาสที่เขาจะต้องมาเรียนรู้เรื่องจริยศาสตร์ ในวัยแบบนี้ในรูปแบบของวัยschool ageมั้ง


Posted by : pisces , Date : 2004-06-26 , Time : 06:01:42 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 11


   คิดว่านี่คงเป็นเรื่องการสร้างความเห็นใจกันระหว่างคนในสังคมหรือเปล่าครับ เราควรจะให้โอกาสคนที่ไม่พร้อมที่จะยอมทำตามระบบคุณค่าที่สังคมยอมรับ คงเป็นเรื่องซับซ้อนจริงๆ เคยได้ยินมาว่าวิชาจริยศาสตร์ไม่ใช่วิชาที่สอนให้เป็นคนดีเลย การใช้แต่ความคิดและเหตุผลคงไม่น่าจะลดความอยากได้อยากมีลงได้ แถมเรามักโน้มเอียงไปในเหตุผลที่จะเอื้อประโยชน์ให้กับตัวเองอีกต่างหาก ก็คงจะพูดลำบากหากใครจะเลือกทำความดีอย่าง Hobbism เช่นนั้นต้นเหตุของความเลวร้ายสารพัดก็พร้อมที่จะเกิดขึ้นได้เสมอ มีคนพูดเกี่ยวกับเรื่องของ MQ ว่าไม่ใช่สิ่งที่จะสอนกันได้ง่ายนักแต่ต้องการการปลูกฝังลงในวิถีชีวิตอย่างยาวนานโดยเฉพาะจากครอบครัวและในวัยเด็ก ถึงอย่างไรก็ตามก็มีบ่อยครั้งที่สังคมเองจะสับสนและเขวออกไปจากมาตรฐานที่ควรจะเป็นเสียเองและทิ้งคนอีกกลุ่มหนึ่งให้อยู่ในฐานะ"คนนอก" ก็ในเมื่อเรามักจะตัดสินคนกันง่ายๆในขณะที่ตนเองก็ยังสับสนในหลักที่ใช้ตัดสิน คิดว่าปฏิเสธลำบากนะครับว่าการเลือกที่รักมักที่ชังจะไม่มีอยู่เลยแม้แต่กับครูอาจารย์ก็ตาม มนุษย์มีแนวโน้มที่จะยกตัวเองให้สูงกว่าคนอื่นและกดคนที่ต่ำกว่าลงไป ความพยายามสร้างคุณค่าให้กับตัวเองนี่ทำให้เราต้องตัดสินคนอื่นกันอยู่เสมอจริงหรือเปล่า หลายครั้งที่เราให้การช่วยเหลือผู้อื่นโดยแฝงความรู้สึกดูถูกเขาในขณะที่ให้การยกย่องตัวเอง เจ้าตัวจริยธรรมเองก็มักจะถูกใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินการดังกล่าว คือถูกเอาไปใช้เป็นหน้ากากส่วนใจจริงเป็นอีกแบบ การสร้างแนวคิดทางศีลธรรมคงเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมาก ไม่เช่นนั้นอาจกลายเป็นการสร้างคนจำพวก"มนุษย์สองหน้า"ขึ้นมาโดยไม่รู้ตัว

Autonomy นี่คงไม่ได้หมายถึงสิทธิส่วนบุคคล เพราะautonomyไม่ใช่การเรียกร้อง แต่เป็นความพยายามที่จะอยู่เหนือการเรียกร้อง


Posted by : Delta , Date : 2004-06-26 , Time : 10:50:49 , From IP : 172.29.2.88

ความคิดเห็นที่ : 12


   Autonomy (Right of Self-determination): The right to choose one"s own actions or course of life so long as doing so does not interfere unduly with the lifes and actions of others
จาก Glossary

น่าสนใจที่ยกประเด็น Id Ego และ Superego มาใช้ ซึ่งเป็น model ที่ simple (ซึ่งดี) ของ Sigmund Freud ถึงแม้ว่าผมจะไม่ใช่ big fan ของแกซะทีเดียว จากนิยามข้างต้น (คงจะมีคนใช้ wording ที่ต่างๆไปจากนี้ แต่เท่าที่อ่านดูความหมายไม่ได้ห่างไกลกันเกิน) จะเห็นว่าปัญหาอาจจะเกิดจากบางคนให้น้ำหนักในครึ่งแรกมากเกิน หรือไม่ได้ให้น้ำหนักครึ่งหลังเลย ปัญหาของการตีความว่าอะไรคือดีไม่ดี หรือเป็น guideline ได้นั้น ถูก addressed โดย Hobbs (ไม่ทราบคนเดียวกับที่คุณ Delta พูดถึงหรือไม่ เพราะ ethicist ที่มีชื่อ Hobbs มีหลายคน) ดังนี้

In a field so complex, where individual and social values are yet but ill defined, the desire to play fairly must be given direction and consistency by some rules of the game. These rules should do much more than help the unethical psychologist keep out of trouble; they should be of palpable aid to the ethical psychologist in making daily decisions.
—Hobbs (1948, p. 81)


ผมคิดว่าเหตุผลหรือที่ว่า "ทำไมต้องมีจริยธรรม" นั้นสำคัญที่เราจะต้องพูดถึงกันมากขึ้น ทำให้เป็นเรื่องธรรมดาๆมากขึ้น ไม่ใช่พูดถึงจริยธรรมแล้วคนรู้สึกเราใกล้นิพพานอะไรทำนองนั้น ข้อสำคัญคือการ "อ้าง" จริยธรรมเป็น reference ต้องเป็นทียอมรับในการใช้เหตุผล หรืออย่างน้อยสามารถร่วมในการ define ว่าเป็นอย่างไรในการสนทนาได้ ถ้าแค่เริ่มต้นว่าจะพูดกันเรื่องจริยธรรมก็ยี้ ว้า ขมวดคิ้วนิ่วหน้าย่นจมูก เราก็คงจะมีงานอีกเยอะ

จริยศาสตร์คงจะไม่ใช่เพียงแค่วิชาที่ว่าด้วยเหตุและผลแค่นั้นกระมังครับ คุณ Delta อันนั้นน่าจะเป็นวิชาตรรกศาสตร์มากกว่า จริยศาสตร์ใช้เครื่องมือเป็นตรรกศาสตร์ก็จริง แต่โดยความหมายมีส่วนที่เป็น "เนื้อหา" ด้วย คำว่า "ความดี" อาจจะแสลงใจนักศึกษาเวลาอภิปราย แต่มีบางที่ใช้คำว่า "shared value" หรือแสวงหา "Virtue of life" แทน คำว่า "Shared" นั้นเพียงพอที่จะเป็นเข็มทิศได้แล้วว่าเราไม่ได้กำลังพูดเรื่องของตนเอง แต่กำลังพูดเรื่องที่สามารถใช้ "ร่วมกัน" ได้



Posted by : Phoenix , Date : 2004-06-26 , Time : 11:30:55 , From IP : 203.155.172.112

ความคิดเห็นที่ : 13


   ขออนุญาตแก้คำผิด

Thomas Hobbes ผู้ประพันธ์ The Leviathan



Posted by : Phoenix , Date : 2004-06-26 , Time : 11:40:57 , From IP : 203.155.172.112

ความคิดเห็นที่ : 14


   ชอบ คนตั้งประเด็น
ชอบ ไอเดีย และ ความตั้งใจ
อยากให้ หาวิธี สื่อสารง่ายๆกับคนโง่ๆอย่างเราบ้าง
เห็นใจเราเถอะนะ อยากตอบ
คิดว่าหลายคนคงเป็น


Posted by : less is more , Date : 2004-06-27 , Time : 23:57:21 , From IP : 172.29.3.223

ความคิดเห็นที่ : 15


   ต้องขออภัยที่การสื่อสารไม่ได้ส่งและไม่ได้รับครับ ต้องปรับปรุง

พฤติกรรมต่อต้านสังคมมีหลายระดับ กลไกทางสังคมที่หมุนกวนและเกิดสมดุลใหม่เรื่องๆนี้คือสิ่งที่เราสามารถเฝ้าระวังและแปลผลไปเรื่อยๆ ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเหตุการณ์จำเพาะ หากแต่หมายถึง "รูปแบบ"

เดี่ยวนี้เราคงจะเห็นด้วยหากจะบอกว่าเด็กรุ่นใหม่มีความสามารถในการแสดงออก (หรือความกล้าแสดงออก) มากขึ้นเยอะ ("เรา" น่าจะหมายถึงคนอายุ 30 up) ตรงนี้เป็นดาบสองคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมองจากมุม "autonomy" เพราะเหตุใด? เป็นเพราะทุกๆคนมี "เขตแดนส่วนตัว" อยู่วงหนึ่ง การแสดงออก ปฏิสัมพันธ์เป็นการอนุญาตให้เขตแดนดังกล่าวซ้อนกันได้ชั่วครั้งคราว ทีนี้ยุคที่ "ทุกคน" แสดงออกนี่ อาจจะเกิดปัญหาเมื่อปฏิสัมพันธ์ของเรามันไม่ได้กลมกลืนมากเท่าที่เราคิด และปัญหายิ่งกว้างมากขึ้นถาเราคิดว่าความเข้ากันได้นั้น "ไม่จำเป็น หรือไม่มีความหมาย" เลยแม้แต่น้อย ประการนี้ (การไม่เห็นผู้อื่นอยู่ในสายตา) แทบจะเป็นนิยามของ anti-social อยู่แล้ว เดี๋ยวนี้เราหยุดคิดน้อยมากก่อนจะทำอะไรลงไปว่าจะมีผลกระทบต่อผู้อื่นอย่างไรบ้าง

การรักษาผู้ป่วยนั้น ขั้นตอนสำคัญที่สุดตอนแรกคือ "รับทราบและเข้าใจ" ปัญหาความทุกข์ของผู้ป่วยให้ได้ ศูนย์รับข้อมูลของแพทย์จะต้องมีความสามารถในการปรับคลื่นได้กว้างขวางเป็นพิเศษ (high bandwidth or broad-band) ปรัชญาการแพทย์นั้นตรงกันข้ามกับ "I do not care" concept การแสดงออกโดยไม่คำนึงถึงจิตใจคนอื่นนั้นเป็น contradiction กับทางเดินของเรา

ข้อสำคัญเราไม่ควรคิดว่าข้อปฏิบัติเหล่านี้จะอยู่แต่เฉพาะในโรงพยาบาล ในคลินิกเท่านั้น แต่ถ้าจะให้มัน work จริงๆ เราต้องทำอยู่ตลอดเวลา ไม่ต้องคิด ไม่ต้องตั้งใจ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-06-28 , Time : 18:25:59 , From IP : 203.155.183.165

ความคิดเห็นที่ : 16


   less is moreคุณไม่ได้โง่เลย ไม่อยากให้ตีค่าตนเองต่ำแบบนั้น แต่คุณเป็นคนที่อยากพยายามจะเข้าใจ แม้นฟังดูเหมือนเรื่องดังกล่าวมันยากและไม่อยู่ในfieldที่คุณจะเข้าใจได้ แค่นี้ก็คุณก็น่านับถือแล้ว และคิดว่าน่าจะพัฒนาได้ เพราะเรื่องจริยธรรมเป็นเรื่องที่ทุกคนฟังแล้วจะต้องตั้งguard และรู้สึกเบื่อหน่าย ขอหนีไปให้ไกลก่อน แค่เราเริ่มอยากclose upก็เป็นนิมิตหมายดีแล้วหล่ะ

Posted by : pisces , Date : 2004-06-28 , Time : 19:42:17 , From IP : 172.29.3.245

ความคิดเห็นที่ : 17


   มีหลายครั้งที่กระดานข่าวเป็นสถานที่ที่คนมาแสดงความไม่พึงพอใจต่อระบบบ้าง ต่อความเป็นอยู่ของตนเองบ้าง แต่ที่พบค่อยข้างบ่อยคือต่อบุคคลอื่น

ตรงนี้อาจจะเป็นข้อมูลที่ช่วยยืนยันว่าการกระทบกระแทกกันจากการแสดงออกนั้นมีอยู่จริง และโดยคุณภาพที่มากพอที่จะนำมากล่าวในที่สาธารณะ ปัญหาคือการทำดังกล่าวจะมี consequence อย่างไรบ้างนั้น เคยอยู่ในความคิดคำนึงของผู้แสดงความเห็นหรือไม่?

เราเคยได้ยินคนพูดให้คนไข้ฟังว่าที่คุณได้รับผลไม่ดีเพราะมาช้าบ้าง ไปหาหมออื่นที่รักษาไม่ทันท่วงทีบ้าง มีแม้กระทั่งพูดกับคนไข้ที่เคยมาแล้วครั้งหนึ่งแต่ปฏิเสธการรักษาในครั้งแรกทำนอง "แล้วเป็นไง เหมือนอย่างที่บอกไว้ไหม" เรานำมาวิเคราะห์วิจารณ์แล้วพบว่านั่นเป็นสิ่งที่ไม่ควรจะทำ หน้าที่หมอไม่ได้รวมการประชดประชันหรือซ้ำเติมผู้ที่ประสบเคราะห์กรรมอยู่ให้หนักขึ้นหรือแย่ไปกว่าเดิม

หลักทำนองเดียวกันนี้ควรจะนำมาใช้กับผู้ร่วมงานของเราเหมือนกัน ใช้กับคนรอบๆข้างเราเหมือนกัน คนทุกคนมีโอกาสพัฒนาและควรจะได้โอกาสนั้นๆ เราต้องการสมาชิกที่มีคุณภาพเพิ่มในสังคม เราน่าจะทำโดยเสริมสร้าง ไม่ใช่ตัดออก เอาไปซ่อน หรือเหยียบซ้ำ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-06-29 , Time : 10:56:15 , From IP : 172.29.3.128

ความคิดเห็นที่ : 18


    ในเรื่องจริยธรรมใช่ว่าทุกคนพัฒนาได้เสมอไป บางคนทำเท่าไหร่ก็อาจจะอยู่เท่าเดิม บางคนพัฒนาแล้วสามารถปรับเปลี่ยนไปได้มาก ขึ้นอยู่กับresoureของsuperegoที่มีมาตั้งแต่แรก แต่สิ่งสำคัญน่าจะอยู่ที่เราให้โอกาสที่เขาจะพัฒนา
มันยากอยู่เหมือนกันสำหรับคนที่ได้รับผลกระทบจากคนด้อยsuperegoที่จะทำใจให้อภัย หรือให้โอกาส คนที่เราไม่ชอบ และนั่นก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติอะไร แต่ที่สำคัญเราต้องรู้ตัว และควรพยายามควบคุมactionของเราด้วยego และsuperego หรือมโนธรรมที่มีอยู่ในตัวของเรา ไม่ให้เราแสดงactionตามidที่ก้าวร้าว และอยากทำลายล้างเขา น่าจะเหมาะสมกว่า แล้วรอเวลาให้emotionลง จะได้ให้อภัยเขาได้ และนั่นจะเป็นตัวบ่งบอกว่าเรามีมโนธรรมหรือgood superegoและเป็นผู้ชนะจะดีกว่าไหม


Posted by : pisces , Date : 2004-06-30 , Time : 07:04:25 , From IP : 172.29.3.220

ความคิดเห็นที่ : 19


   เห็นด้วยว่าถ้าเริ่มจากมีความรู้สึกว่าความเป็น self ถูกกระทบกระเทือน reaction แรกคงจะเป็น defence mechanism ตรงนี้เป็นกำแพงที่ใหญ่แตกต่างกันออกไป ถ้าสิ่งที่ป้องกันภายในนั้นนิ่มมาก มีจุดอ่อนเยอะ (subconscious goodness หรือ conscience; ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี) กำแพงนี้อาจจะหนาหน่อย เจาะทะลุยาก เรื่องของเรื่องคือ superego เป็นแม่บ้านที่ค่อยดูแลของภายหลังกำแพงนี้ไม่ให้สะสมเยอะเกิน

ประการหนึ่งที่อาจจะช่วยได้คือ เราลดกิจกรรมประเภทโต้วาทีลงไป เปลี่ยนมาเป็นกิจกรรมประเภท "ยอวาที" แทน ดูซิว่าความพยายามมองหาสิ่งที่ตนเอง approve นั้น มันเป็น Dying art หรือยังเป็น revival art อยู่



Posted by : Phoenix , Date : 2004-06-30 , Time : 07:14:49 , From IP : 172.29.3.196

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.011 seconds. <<<<<