ความคิดเห็นทั้งหมด : 15

Debate LXVII: Evidence-based Medicine สำคัญหรือไม่อย่างไร?


   "การแพทย์เชิงประจักษ์" หรือ Evidence-based Medicine เป็นคำที่เราได้ยินมากขึ้นเรื่อยๆ บ้างก็คิดว่าเป็นของใหม่ บ้างก็คิดว่ามีอยู่แต่ในห้องเรียนหรือภาคทฤษฎี ลองช่วยกันวิเคราะหฺดูดีไหมครับว่าในความเห็นของแต่ละท่าน มันคืออะไร เป็นอย่างไร สำคัญหรือไม่แค่ไหนอย่างไร และตอนนี้มันเกิดขึ้นแล้วรึยัง อะไรเป็นอุปสรรคหรือจุดอ่อนจุดแข็งของเราในเรื่องนี้ หรือเป็นแค่ fashion hotair เป็นพักๆแค่นั้นเอง?

กติกาเดิม Be mautre, Be positive, and Be civilized



Posted by : Phoenix , Date : 2004-06-20 , Time : 23:59:09 , From IP : l227ppp008.ksc.net.t

ความคิดเห็นที่ : 1


   
ผมก็ยังไม่แน่ใจเลยครับ ว่ามันคืออะไรกันแน่
และผมสามารถมีส่วนร่วมกับสิ่งๆนี้แค่ไหน
มารอฟังครับ


Posted by : ArLim , Date : 2004-06-21 , Time : 02:15:04 , From IP : ppp-210.86.223.221.r

ความคิดเห็นที่ : 2


   น่าจะดีทั้งต่อผู้ป่วยและตัวเราเองนะคะ



Posted by : ... , Date : 2004-06-21 , Time : 10:32:14 , From IP : 172.29.2.160

ความคิดเห็นที่ : 3


   เพิ่งขึ้นปี 4 ค่ะ ยังไม่เคยนำไปใช้เลย แต่จากที่ได้เรียนก็คิดว่ามีประโยชน์มากๆ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับตัวแพทย์เองด้วยนะคะทีจะต้องมี clinืical appraisal แต่ถ้าการวิจัยในเรื่องนั้นๆ ยังมีน้อย ก็คงจะยังเกิดปัญหาในขั้นตอนนี้เหมือนกัน

Posted by : setsuna , Date : 2004-06-21 , Time : 15:07:49 , From IP : 172.29.2.173

ความคิดเห็นที่ : 4


   ลืมบอกไป พวกเราลองให้ "เหตุผล" ประกอบข้อสรุปต่างๆด้วยดีไหมครับ เราจะได้รู้ที่มาที่ไปของความคิดกัน

ขอบคุณครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-06-21 , Time : 22:21:26 , From IP : l227ppp208.ksc.net.t

ความคิดเห็นที่ : 5


   fashion hot air yes i suppose thats quite
the right word in my opinion. such thing as
EBM has long existed before its present
popular use only lately that i think it is more
focused and emphasized by medical communities.
such scheme is the proper logical way to think
the scientific way to think and rationalization
of what we perceive and utilizing it in everyday
practical use. i think its something that differentiate
us scientific people from hogwarts witches.
should any physician lack such principles of
evidence-base stuffs he be fit to practice in the
old days before modern science.


Posted by : vaio , E-mail : (fidicen@hotmail.com) ,
Date : 2004-06-22 , Time : 00:06:05 , From IP : 172.29.3.206


ความคิดเห็นที่ : 6


   การอภิปรายในหัวข้อนี้น่าสนุกและนำมาซึ่งการเรียนรู้ร่วมกันได้ แต่อาจต้องมีผู้รู้สักคนสองคนทอยลูกออกมาก่อนว่า อะไร หรือ ความรู้สึกไหนล่ะคือ การแพทย์เชิงประจักษ์
.
บางคนพอพูดถึงการแพทย์เชิงประจักษ์ก็พรั่นคิดไปถึงการทำเวชปฏิบัติโดยอาศัยหลักฐานจากงานวิจัยในระดับ randomized control trial (RCT) แต่เพียงอย่างเดียว ทั้งที่ความจริงแล้ว แม้ข้อมูลจาก RCT จะเป็นข้อมูล "ชั้นดีที่สุด" แต่ก็มีข้อมูลในระดับอื่น ๆ อีกซึ่งยังอาจต้องอ้างต้องใช้
.
เช่น งานวิจัยแบบที่ไม่ได้จัดกลุ่มควบคุม งานวิจัยทางห้องปฏิบัติการซึ่งใช้แบบจำลองซึ่งไม่ใช่มนุษย์ หลักฐานจากรายงานผู้ป่วยที่รวบรวมเป็น series หลักฐานจากผู้ป่วยรายหนึ่ง คำพูดจากผู้เชี่ยวชาญ
.
ทั้งนี้เพราะเราจะต้องเข้าใจว่า แม้จะเป็นการแพทย์ยุคใหม่ ในบางสาขา RCT ไม่สามารถทำได้ เพราะข้อจำกัดเรื่องจำนวนผู้ป่วย ข้อจำกัดทางศีลธรรม และอื่น ๆ อีกมากมาย ความเข้าใจอันนี้อยากโยงอยากฝากไปถึงนักวิจารณ์งานวิจัยทั้งหลายด้วย ว่าหากตั้งแง่ไว้ก่อนว่าถ้าไม่ใช่ RCT ไม่เจ๋งซะแล้ว ก็ยากที่จะ push งานวิจัย(หรือการสังเคราะห์หลักฐานเพื่อการอ้างอิงสำหรับเวชปฏิบัติ) ให้เกิดในบางสาขาเช่นศัลยศาสตร์
.
มีวารสารสโมสร เดี๋ยวมาคุยต่อครับ


Posted by : Shonigega , Date : 2004-06-22 , Time : 05:52:29 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 7


   เมื่อเปิดทัศนะให้กว้างขึ้นว่า EBM มันไม่ใช่จะต้องเป็น practice based on data from RCT เสมอไป เราจะมีมุมมองที่ผ่อนคลายมากขึ้น และอาจเห็นได้ด้วยซ้ำว่า แม้แพทย์แผนโบราณที่เราเรียกหมอพระ หมอบ้าน ก็อิงการประกอบเวชปฏิบัติของเขาบนประสบการณ์ของพ่อครูของเขาหรือของตัวเขาเอง บางครั้งเป็นประสบการณ์ที่จดไว้ เทียบระดับความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางการแพทย์ที่ฝรั่งจัดไว้ นั่นเป็นได้แค่หลักฐานที่มีความเชื่อถือในระดับที่ ๑ หรือ ๒ ในหกระดับ
.
นั่นอาจเป็นประจักษ์ในระดับที่มี bias มากหน่อย และมีข้อด้อยตรงที่หากยึดหรือรู้สึกพอแค่ "ทำอย่างนั้นมาทำอย่างนั้นต่อไป" ไม่มีการพัฒนาต่อยอดรากความรู้ไม่นานก็จะล้าหลัง และถูกผลักตกขอบไป นั่นเป็นสิ่งที่เกิดกับการแพทย์แผนไทย
.

เคยย้อนคิดไหมครับว่า การตัดสินใจเลือกการรักษาที่ทำกันอยู่ทุกวัน หลายครั้งเราใช้ gut feeling อยู่เหมือนกัน
.
ในขณะเดียวกัน หากเราไปยึดไปเชื่อว่า ความรู้ที่ถูกมันจะต้องมาจากงานวิจัยที่เลิศเลอเท่านั้น เราจะขาดความเชื่อมั่นว่า การสังเคราะห์ความรู้บนรากความรู้ที่เรามี การจัดระเบียบความรู้จากคนไข้ของเราเอง เวชปฏิบัติของเราเองนั้น เป็นสิ่งที่ทำได้ แม้อาจไม่ใช่งานที่เลิศเอาไปจีบปากเล่าได้มันปากเหมือนตอนลอกงานฝรั่งมาพูด แต่ก็อาจเป็นความรู้ เป็นหลักฐานที่พอเพียงต่อเวชปฏิบัติของเราเอง ของท้องถิ่นเราเอง บนรากทรัพยากรที่เรามี เราสะดวก
.
ผมได้ให้ความเห็นว่า การแพทย์เชิงประจักษ์นั้นดีและน่าสนับสนุน แต่ต้องไม่หลงว่าประจักษ์หมายถึง what an American said เท่านั้น ต้องไม่หลงดึงเอาความรู้ที่ได้จากการศึกษาบนคนไข้ผมทองมาใช้กับคนไข้ของเรา โดยที่ไม่เบิกตาดูหน้าคนไข้ ดูข้าวของเครื่องใช้ที่เรามีซะก่อน มันคงทำให้เวชปฏิบัติของเราประดักประเดิด และโดนความจริงไล่แทะเอาตลอดเวลา


Posted by : Shonigega , Date : 2004-06-22 , Time : 09:39:17 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 8


   เรื่องของเรื่องคือพวกเราจะเชื่ออะไรซักอย่างนั้น มันเพราะอะไร That the whole idea of evidence-based medicine

ถ้าเคยได้ยินหรือศึกษาพุทธประวัติ เราก็อาจจะเคยได้ยินว่าอย่างไรที่เราไม่พึงยึดเป็นเหตุแห่งการเชื่อ (กาลามสูตร หรือ Kalamasutra) บางคนชอบทอยเรียก "หลักไม่เชื่อสิบอย่าง" แต่ผมว่านั่นเป็นการ oversimplification พระสูตรอันนี้ไปนิดนึง เรื่องของเรื่องคือหัวหน้าหมู่บ้านกาลามไปเข้าเฝ้าพระสมณโคดมและกราบเรียนถามท่านว่าจะทราบได้อย่างไรว่าที่เขาเชื่อ ที่เขาคิด ที่เขาทำนั้นถูกต้องแล้ง สมควรแล้ว ควรสรรเสริญแล้ว ท่านผู้ทรงตื่นแล้วก็วิสัชณาว่าควรใช้ปัญญามากกว่าอย่างอื่นใดทั้งสิ้น catch-phrase ที่เรานำมาท่องว่าไม่เชื่อเพราะครูบอก เพราะหนังสือว่า เพราะทำตามๆกันมา ฯลฯ นั้นสามารถจะ mislead ให้เข้าใจว่าไม่ควรเชื่อครู ไม่ควรเชื่อหนังสือ ไม่ควรเชื่อเพราะทำตามๆกันมา ฯลฯ ตรงนี้อันตราย

เราจะต้องกรองข้อมูลที่ผ่านผัสสะของเราก่อนที่จะให้ซึมลงไปเป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกโดยใช้ปัญญา ปัญญาตรงนี้แล้วแต่บริบท เพราะมีทั้งปัญญาทางโลก (IQ) และปัญญาทางธรรม (โลกุตระปัญญา หรือ EQ, MQ) ที่ที่ฝรั่งเขียนว่า paper นี้ๆเป็น RCT นะ เป็น Meta-analysis นะ เป็น Systematic Review นะ ก็ไม่ได้เป็นข้อยกเว้นที่เราจะไม่ใช้ปัญญาก่อนจะเชื่อเหมือนกัน และบางครั้งแม้แต่ observation เฉยๆก็สามารถ valid ได้ เช่น พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก ลูกแอปเปิ้ลต้องตกลงมาบนพื้น ไฟนั้นร้อนและเผาไหม้ น้ำนั้นเย็นและเป็นของไหล

บางทีมันคงจะมีอะไรมากกว่าใช้คำการแพทย์เชิงประจักษ์มาใช้ในการ secure insurance ของความคิดของเราว่าถูกต้องแล้ว สมควรแล้ว ควรสรรเสริญ มากกว่ารู้ว่ามันแปลมาจาก evidence-based medicine

รึเปล่าครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-06-22 , Time : 13:52:16 , From IP : 172.29.3.128

ความคิดเห็นที่ : 9


   เห็นด้วยกับความคิดเห็นของทุกคนค่ะ การแพทย์เชิงประจักษ์ หรือ evidence-based medicine นั้นไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่เป็นสิ่งที่ควรคู่มากับวิชาการทางการแพทย์มานานแล้ว ซึ่งจริงเป็นหลักการเรียนรู้และการนำความรู้ที่ถูกต้องไปใช้ อันประกอบไปด้วย การพบปัญหาและตั้งคำถามสิ่งนั้นเกิดจากอะไรหรือเราควรจะให้การดูแลรักษาแบบไหนที่ดีและถูกต้องต่อผู้ป่วยของเรา แต่การหาคำตอบของเรานั้นจะได้มาจากการหาข้อมูลที่ตรงและถูกต้องมากที่สุดในสถานการณ์หนึ่งซึ่งต้องผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์ ตลอดจนนำความรู้นั้นไปใช้ แต่คงไม่จบแค่นี้คงต้องประเมินว่าความรู้ที่นำมาใช้นั้นเหมาะสมเพียงใด ต้องปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงอย่างไรหรือพัฒนาเป็นงานวิจัยต่อไป เนื่องจากความรู้ทางการแพทย์ของเรานั้นบางเรื่องค่อนข้าง dynamic ที่กล่าวมานี้เป็นหลักทางทฤษฏีที่ได้มาจากการค้นคว้าในเรื่องนี้ค่ะ

ที่มาว่าทำไมคำนี้ ถึงมีการพูดถึงกันมากในช่วงนี้ เนื่องจากว่าปัจจุบันมีงานวิจัยเกิดขึ้นมากมาย และบางครั้งทำเหมือนๆกัน และได้ข้อสรุปแบบเดียวกัน แต่จากการทบทวนการปฏิบัติจริงบางเรื่องนั้น จะต่างกับความรู้มาก หลักการนี้จึงกระตุ้นให้มีการค้นคว้าข้อมูลว่ามีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องนั้นๆ หรือไม่ และทำให้เราเปิดใจที่จะยอมรับการปฏิบัติที่ต่างไปจากที่เราเคยรู้ เคยทำ พยายามหาข้อมูลว่าจริงๆควรเป็นอย่างไร

ดิฉันเห็นด้วยที่ว่าการพูดด้านทฤษฏีนั้นง่าย แต่การทำจริงนั้นค่อนข้างยาก เนื่องจากการทำแบบนี้ต้องอาศัยเวลา ซึ่งจะยากในเวลาที่จำกัดของเรา คนเดียวคงทำไม่ได้ที่จะศึกษาและหาความรู้ที่ถูกต้องทุกเรื่อง ต้องอาศัยการเข้าใจร่วมกัน และช่วยกันในการค้นคว้าและร่วมมือกันว่าการหาความรู้ที่ถูกต้องที่เราควรนำมาเป็นแนวทางในการปฏิบัตินั้นควรจะเป็นอย่างไร

ส่วนในแง่ของงานวิจัยนั้น งานวิจัยทุกงานวิจัยดีและมีคุณค่าในตัวเองในการตอบคำถามของงานวิจัยที่ยังไม่สามารหาคำตอบได้แน่ชัด การจัดลำดับขั้นของความน่าเชื่อถือนั้นมาจากหลักการของอคติที่อาจเกิดขึ้นของงานวิจัย ซึ่งเป็นผลจากวีธีการวิจัยที่แตกต่างกัน ในบางเรื่อง ถ้าทำเป็น randomized control trial (RCT) ได้ก็จะดี เพราะอคติน้อย แต่บางเรื่องไม่สามารถทำได้การทำงานวิจัยที่เป็น case control, cohort หรือ cross sectional ก็ป็นสิ่งที่มีประโยชน์เช่นกัน คงต้องดูเป็นเรื่องๆ ไป

ดังนั้นหลักการการสร้างงานวิจัยใหม่ หรือ การแพทย์เชิงประจักษั คงไม่ได้แตกต่างกันมากนัก การสร้างงานวิจัยเป็นการหาคำตอบของสิ่งที่เรายังไม่ทราบ การแพทย์เชิงประจักษัเป็นการหาคำตอบว่าเราควรทำอย่างไรจากคำตอบของงานวิจัยที่มีอยู่อย่างมีเหตุมีผล

การที่จะทำให้ evidence-based medicine ไม่เป็นเหมือน fashion hot air เหมือนที่เรากังวล อย่างที่กล่าวมาการทำคนเดียวนั้นไม่ได้ คงต้องช่วยกันเสริมสร้างหลักการนี้ขึ้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนแพทย์ของเรา ไม่ทราบว่าพวกเรามีความคิดเห็นกันอย่างไรบ้างคะ


Posted by : globefish , Date : 2004-06-24 , Time : 19:17:03 , From IP : 172.29.3.215

ความคิดเห็นที่ : 10


   เห็นด้วยกับความคิดเห็นของทุกคนค่ะ การแพทย์เชิงประจักษ์ หรือ evidence-based medicine นั้นไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่เป็นสิ่งที่ควรคู่มากับวิชาการทางการแพทย์มานานแล้ว ซึ่งจริงเป็นหลักการเรียนรู้และการนำความรู้ที่ถูกต้องไปใช้ อันประกอบไปด้วย การพบปัญหาและตั้งคำถามสิ่งนั้นเกิดจากอะไรหรือเราควรจะให้การดูแลรักษาแบบไหนที่ดีและถูกต้องต่อผู้ป่วยของเรา แต่การหาคำตอบของเรานั้นจะได้มาจากการหาข้อมูลที่ตรงและถูกต้องมากที่สุดในสถานการณ์หนึ่งซึ่งต้องผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์ ตลอดจนนำความรู้นั้นไปใช้ แต่คงไม่จบแค่นี้คงต้องประเมินว่าความรู้ที่นำมาใช้นั้นเหมาะสมเพียงใด ต้องปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงอย่างไรหรือพัฒนาเป็นงานวิจัยต่อไป เนื่องจากความรู้ทางการแพทย์ของเรานั้นบางเรื่องค่อนข้าง dynamic ที่กล่าวมานี้เป็นหลักทางทฤษฏีที่ได้มาจากการค้นคว้าในเรื่องนี้ค่ะ

ที่มาว่าทำไมคำนี้ ถึงมีการพูดถึงกันมากในช่วงนี้ เนื่องจากว่าปัจจุบันมีงานวิจัยเกิดขึ้นมากมาย และบางครั้งทำเหมือนๆกัน และได้ข้อสรุปแบบเดียวกัน แต่จากการทบทวนการปฏิบัติจริงบางเรื่องนั้น จะต่างกับความรู้มาก หลักการนี้จึงกระตุ้นให้มีการค้นคว้าข้อมูลว่ามีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องนั้นๆ หรือไม่ และทำให้เราเปิดใจที่จะยอมรับการปฏิบัติที่ต่างไปจากที่เราเคยรู้ เคยทำ พยายามหาข้อมูลว่าจริงๆควรเป็นอย่างไร

ดิฉันเห็นด้วยที่ว่าการพูดด้านทฤษฏีนั้นง่าย แต่การทำจริงนั้นค่อนข้างยาก เนื่องจากการทำแบบนี้ต้องอาศัยเวลา ซึ่งจะยากในเวลาที่จำกัดของเรา คนเดียวคงทำไม่ได้ที่จะศึกษาและหาความรู้ที่ถูกต้องทุกเรื่อง ต้องอาศัยการเข้าใจร่วมกัน และช่วยกันในการค้นคว้าและร่วมมือกันว่าการหาความรู้ที่ถูกต้องที่เราควรนำมาเป็นแนวทางในการปฏิบัตินั้นควรจะเป็นอย่างไร

ส่วนในแง่ของงานวิจัยนั้น งานวิจัยทุกงานวิจัยดีและมีคุณค่าในตัวเองในการตอบคำถามของงานวิจัยที่ยังไม่สามารหาคำตอบได้แน่ชัด การจัดลำดับขั้นของความน่าเชื่อถือนั้นมาจากหลักการของอคติที่อาจเกิดขึ้นของงานวิจัย ซึ่งเป็นผลจากวีธีการวิจัยที่แตกต่างกัน ในบางเรื่อง ถ้าทำเป็น randomized control trial (RCT) ได้ก็จะดี เพราะอคติน้อย แต่บางเรื่องไม่สามารถทำได้การทำงานวิจัยที่เป็น case control, cohort หรือ cross sectional ก็ป็นสิ่งที่มีประโยชน์เช่นกัน คงต้องดูเป็นเรื่องๆ ไป

ดังนั้นหลักการการสร้างงานวิจัยใหม่ หรือ การแพทย์เชิงประจักษั คงไม่ได้แตกต่างกันมากนัก การสร้างงานวิจัยเป็นการหาคำตอบของสิ่งที่เรายังไม่ทราบ การแพทย์เชิงประจักษัเป็นการหาคำตอบว่าเราควรทำอย่างไรจากคำตอบของงานวิจัยที่มีอยู่อย่างมีเหตุมีผล

การที่จะทำให้ evidence-based medicine ไม่เป็นเหมือน fashion hot air เหมือนที่เรากังวล อย่างที่กล่าวมาการทำคนเดียวนั้นไม่ได้ คงต้องช่วยกันเสริมสร้างหลักการนี้ขึ้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนแพทย์ของเรา ไม่ทราบว่าพวกเรามีความคิดเห็นกันอย่างไรบ้างคะ


Posted by : globefish , Date : 2004-06-24 , Time : 19:24:35 , From IP : 172.29.3.215

ความคิดเห็นที่ : 11


   เรื่องนี้เราอาจจะนำเอา behavioral science มาช่วยกันประกอบการพิจารณา

การวิจัยนั้นเป็น "เครื่องมือ" ในการตอบคำถามอย่างเป็นระบบ การศึกษาระเบียบวิธีวิจัยก็เพื่อที่เราจะตอบคำถามอะไรต่างๆได้ อย่างมีหลักการ ทำไม? เพราะว่าการตอบคำถามหนึ่งๆนั้น เราอาจจะมีความไม่แน่ใจว่าคำตอบนั้นจะยั่งยืนหรือที่สำคัญคือ "นำไปใช้" ได้รึเปล่า?

การนำเอา "ผลงานวิจัย" หรือ evidence มาอ้างอิงนั้น ก็ด้วยขบวนการเดียวกันคือ เรากำลังจะใช้การกระทำ การรักษา ในการศึกษานั้นๆที่มีสถาพแวดล้อมที่ใกล้เคียงกับที่เราต้องการจะทำ โดย "หวังผล" ว่าจะได้ผลใกล้เคียงหรือเหมือนกัน นักศึกษารุ่นใหม่ในปัจจุบันคงจะคุ้นเคยกับคำ "ตัวลวง" "ปัจจัยลวง" หรือ confounder ดีพอสมควร ตรงนี้ยิ่งทำให้เราต้องพิจารณาให้ดีว่า "องค็ความรู้" ที่เรากำลังจะขอยืมจาก evidence ต่างๆนั้น มันตอบคำถามเดียวกับของเราหรือไม่ ถ้าไม่เราจะต้องคำนึงถึงอะไรเพิ่มเติม

ตรงนี้คือสิ่งที่พวกเราในวงการการศึกษาน่าจะนำมาอภิปราย และเน้นในการอ่านวารสารวิชาการต่างๆ มากกว่าที่จะมุ่งไปที่ผลการศึกษา การตั้ง research questions และการออกแบบวิธีการตอบคำถามที่เขาเขียนกันลงมา มีความเกี่ยวข้อง สัมพันธ์ และตรงกับคำถามหรือไม่ ที่สุดแล้วก็จะบอกว่าผลลัพท์นั้นเป็นอย่างไร ซึ่งก็คือการทำ journal appraisal นั่นเอง

ถ้าการศึกษา evidence-based ของเรายังติดอยู่แค่ "ทำเหมือนกับว่า" ยังไม่ไปถึงการประเมินผลองค์ความรู้ knowledge translation ก็จะยังไม่เกิด เจตคติในเรื่องนี้ก็จะยังไม่ก่อตั้ง มีแต่วิธีการที่ทำตามๆกันมา พูดง่ายๆคือเราอาจจะยังแยกไม่ออกว่าที่ไทยรัฐสรุปออกมากับที่ลงใน Nature นั้นมันต่างกันหรือไม่อย่างไร

วัฒนธรรมการใช้นั้นต้องการมากกว่าทำตามๆกัน แต่คนใช้จะต้องสามารถ observe ผลแห่งการกระทำนั้นได้ attitude development จึงจะเกิด มีการ inetrnalization มีความชื่นชมอยากจะทำ มีความต้องการชักชวนให้คนอื่นมาร่วมทำ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-06-24 , Time : 20:57:46 , From IP : 203.155.172.114

ความคิดเห็นที่ : 12


   ในขณะที่เรากำลังพินิจเลือกเอาความรู้และข้อมูลจากการศึกษาในกลุ่มประชากรอื่นเพื่อมาใช้กับผู้ป่วยของเรา ควรหรือไม่ที่เราจะต้องสร้างความเข้มแข็งในการเรียบเรียงข้อมูลในส่วนของเราเอง เพื่อการเปรียบเทียบ และการตัดสินใจอย่างประจักษ์ตนด้วย
.
กล่าวอีกนัยหนึ่ง ในขณะที่เรากำลังรู้สึกนิยมที่จะวางหรืออิงเวชปฏิบัติของเราลงบนหลักฐานไกลมือ เราต้องรู้จักเรียบเรียงหลักฐานใกล้มือไว้ใช้ด้วย
.
มันจะแปลกไหมที่เวลาเราดูแลรักษาคนไข้ เวลาเราแสดงสไลด์ของเราเมื่อเราบรรยาย เราแสดงข้อมูลจากผลการศึกษาล่าสุดระดับโลก พูดเรื่องที่เราเชื่อเรานิยมว่านั่นเป็นหลักฐานที่ดี ทันสมัย แต่เมื่อถามถึงข้อมูลท้องถิ่น เรากลับจะต้องตอบด้วยหลักฐานระดับสอง (ลงมา) เนื่องจากไม่เคยใส่ใจที่จะเรียบเรียงศึกษา
.
หากจะนิยม บริหารการรักษา หรือทำเวชปฏิบัติของเราโดยอิงข้อมูลหลักฐานที่ดี ก็ต้องให้ความสำคัญกับ in hands Data ไม่น้อยไปกว่าการติดตามข้อมูลจากวารสาร
.
หรือเปล่าครับ


Posted by : Shonigega , Date : 2004-06-25 , Time : 10:07:15 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 13


   ฐานข้อมูลนั้นเป็น "ฐาน" จริงๆอย่างที่เขียน ถ้าฐานไม่แข็ง อะไรๆที่ก่อตั้งขึ้นไปจากฐานหลวมๆนั้นก็จะพังครืนลงมาเมื่อไหร่ก็ได้ หรืออาจจะไม่มีโอกาสตั้งขึ้นไปเลย

คณะแพทย์ของเรามี "ฐาน" ที่ใช้ได้อยู่กระจัดกระจาย แต่ก็ได้มีสิ่งก่อสร้าง ก่อร่างขึ้นจากฐานเหล่านี้ให้เห็นแล้ว อีกหน่อยสักวันหนึ่งก็คงจะกลายเป็นตึกระฟ้าได้ ถ้าไม่มีใครบินเครื่องบินมาชน หรือมีคนเอาน้ำมาเซาะฐานไปเสียก่อน ข้อสำคัญคือ ตอนแรกๆฐานไม่กว้างมากเท่าไหร่ก็จะควบคุมดูแลรดน้ำง่าย แต่เมื่อเติบโตขึ้น สร้างสูงขึ้น ฐานก็ต้องมีการปรับให้กว้างมากขึ้น ไปถึงบริเวณดินทรายที่อาจจะต้องถมใหม่เสียก่อน

ประมาณปีที่แล้ว National Institute of Cancer ของประเทศไทยมีการคิดถึงเรื่องแนวทางชี้นำการควบคุมโรคที่สำคัญๆ เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่ มีการอภิปรายกันกว้างขวาง มีการ quote references ต่างๆมากมายอย่างที่คุณ Shoni ว่าไว้ แต่พอ มอ.เราได้ queue เสนอความเห็น เราก็ "ควัก" อะไรบางอย่างที่เป็น local-made ออกมาเปรียบเทียบให้ดู ออกมาอภิปราย บางคนว่า "ต้องทำกันขนาดนั้นเชียวหรือ" เพราะตัวเลขบางอย่างพอถอดสมการแทนที่ด้วย "ค่าไทยๆ" แต่ขอยืมสูตรฝรั่ง มันไม่ยักจะน่าชื่นชมเท่าไหร่ แต่เรื่องของเรื่องคือ เราได้เสนอความจำเป็นและความสำคัญของ "ข้อมูลในพื้นที่" ที่ควรจะเป็นตัวกำหนด "นโยบายในพื้นที่" มากกว่าการใช้ของสำเร็จรูปจากต่างแดนทั้งหมด

การสร้างฐานข้อมูลที่ดี ไม่ได้งอกมาจาก magic wand ของ Dumbledore แต่มาจากการปลูกฝังเจตคติการบันทึกข้อมูลให้เกิดแก่สังคม ซึ่งผมคิดว่าเราได้มองเห็นและมีการตื่นตัวกันพอสมควรแล้ว ตอนนี้ถึงเวลาที่เรียก "ร่วมแรงร่วมใจ" ทำให้มันเป็นวัฒนธรรม

สังคมที่ดีมันต้องช่วยกันสร้าง

ใช่ไหมเอ่ย?


ยากไหมล่ะครับ?



Posted by : Phoenix , Date : 2004-06-25 , Time : 20:42:20 , From IP : 203.155.183.204

ความคิดเห็นที่ : 14


   ยากครับพี่ แต่ไม่ทำไม่ได้ ไม่เริ่มไม่ได้ครับ พี่เชื่อผมอย่างไหมครับ ว่าต่อไป นักวิชาการประเภท copy and paste จะมีเวทีน้อยลงทุกที เพราะใครก็จะทำได้ครับ นักเรียนแพทย์ของเราวิ่งเข้าหา internet และเข้าไปสืบค้นข้อมูลมาพูดในชั้นได้ดีตั้งแต่ปีสองปีสาม
.
จะยืนอยู่ได้ ต้องมีเนื้องานของตัวเองครับ จะสร้างความแตกต่างและแหวกออกไปยืนในแถวหน้าทางวิชาการได้ ต้องรู้จักฐานข้อมูลที่ดี การบริหารฐานข้อมูลเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ให้ได้
.
ไม่ได้พูดถึงการเอาชนะในเชิงการแข่งขันทางวิชาการอย่างเดียวนะครับ
.
เพราะสุดท้ายเมื่อวัฒนธรรมของสังคมความรู้ (knowledge based society) กระจายไปในบรรยากาศ ประโยชน์ก็ตกกับนักเรียนและคนไข้ของเราอยู่วันยังค่ำ
.
กับคำถามที่ว่าต้องทำขนาดนั้นหรือ ถ้ามีใครมาถามผม ผมจะตอบว่า ต้องทำมากกว่านี้อีกสิบเท่า ร้อยเท่า ครับ


Posted by : Shonigega , Date : 2004-06-25 , Time : 21:36:49 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 15


   ถ้าสิ่งที่ผมได้ยินเกี่ยวกับ reaction หลังจากการใช้ "ข้อมูล" ของเรานำเสนอไปเป็นจริงแค่สัก 20% คุณ Shoni จะหนาว (that s almost to say you are chilling, arent you?)

แต่ยังมีสิ่งที่ทำให้เรา Optimisitic ได้อยู่นะครับ หลังจาก free sessions ที่เราลอง pilot ลงแรงไปโดย "กลุ่ม evidence-based PSU" ข่าวดีคือเราเริ่ม "ได้ยินแว่วๆ" นักเรียนของเราเข้าห้องสมุดค้นหาเทอมอย่างเช่น number-needed to treat (NNT) capital unit for an extended life ในชั่วโมงอภิปรายอย่างเช่น Health promotion ถึงแม้ว่าจะเก็บอะไรตรงนี้มาเป็นอะไร serious ไปกว่าการ์ตูน the justice league แต่การ์ตูนนั้นก็เป็นเครื่องมือสอน Moral ว่าความดีชนะความชุ่วมาเกือบศตวรรษนึงแล้ว not too bad at all

ดีไปกว่านั้นคือเมื่อผมถามเด็กว่าทำไมมะเร็งเต้านมเมืองไทยมันตายเยอะกว่าฝรั่ง เขาตอบมาสามคำ มาช้า โรคมันรุนแรง และการรักษามันไม่ได้ผล อืม...ถ้านั่น "ไม่ใช่" คำตอบ แต่เป็น "คำถาม" หรือ research question ผมว่าสิ่งที่เราอยากจะเห็น อยากจะได้ อาจจะไม่ไกลขนาดเกินฝัน



Posted by : Phoenix , Date : 2004-06-25 , Time : 21:49:10 , From IP : 203.155.183.204

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.008 seconds. <<<<<