ความคิดเห็นทั้งหมด : 7

Debate LXVI: การสอบคัดเลือกนักศึกษาแพทย์ ควรทดสอบอะไรบ้าง?


   อาทิตย์ที่แล้วมีประชุมแพทยศาสตร์ศึกษา ได้รับฟังเกี่ยวกับคุณสมบัติแพทย์ที่พึงประสงค์ของ WHO (จริงๆได้ยินเรื่องนี้มาหลายครั้ง) และมีการอภิปรายเรื่องการคัดเลือกนักศึกษาระดับอุดมศึกษารวมทั้งคณะแพทย์ด้วย จึงเกิดความสนใจใคร่รู้ความคิดเห็นของพวกเราในเรื่องนี้

ประเด็นคือ "อะไรบ้าง" ที่เป็นปัจจัยสำคัญที่เราคิดว่านักศึกษาควรจะพกพาเข้ามาตั้งแต่เริ่มการศึกษาเป็นแพทย์ ถ้าทราบตรงนี้ก้อาจจะหาวิธีในการที่จะคัดเลือกตามเกณฑ์ที่ว่านี้ เพื่อเราจะได้ผลผลิตที่พึงประสงค์ เราอาจจะต้องพิจารณาถึงปัจจัยบางประการที่เราสามารถจะพัฒนาเมื่อเข้ามาอยู่ในคณะฯแล้ว ซึ่งแปลว่าเราไม่ต้องคิดเรื่องนั้นมากเกินไป หรือพยายามจัดระบบการเรียนให้ส่งเสริมด้านที่ว่าให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

การสอบคัดเลือกปกติ (Entrance) เป็นการทดสอบ cognitive performance or knowledge เป็นหลัก คณะแพทยศาสตร์ศิริราช (ซึ่งรับตรง 100%) เพิ่มการทดสอบอื่นๆ เช่น บุคลิก สุขภาพจิต และความสามารถในการวิเคราะห์ การอ่าน การฟัง เข้าไปด้วย จุฬาฯ กำลังเจริญรอยตาม แต่มีการดัดแปลงรายละเอียดของ non-cognitive test ที่ว่าไปนิดหน่อย มีการพูดถึงคุณลักษณะที่สำคัญของบัณฑฺตแพทย์นอกเหนือจาก IQ (ซึ่งผลการวิเคราะห์เบื้องต้นไม่ค่อยสัมพันธ์กับความสำเร็จในการเรียนมากเท่าที่บางคนเคยคิด) ได้แก่ EQ (Emotional Quotient) และที่กำลังเพิ่มความสำคัญตามมาติดๆคือ MQ (Moral Quotient)

อีกหน่อยลูกเราหลายเรากำลังจะได้รับการดูแลรักษาจากหมอที่ผ่านการทดสอบคัดเลือกรุ่นแถวๆนี้เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใกล้ตัวพอสมควร มีคนเคยพูดถึงการใช้ GPA 100% ในการจัด ranking and selection เข้ามหาวิทยาลัยและผลการ observe พบว่าคะแนนเฉลี่ยของโรงเรียนเขยิบสูงขึ้นๆ (แต่ผลการศึกษา IQ โดยเฉลี่ยของประเทศกลับผกผัน มันยังไงกันแน่?)

กฏกติกาเดิมครับ Be Mature, Be positive, Be Civilized



Posted by : Phoenix , Date : 2004-06-20 , Time : 23:52:36 , From IP : l227ppp008.ksc.net.t

ความคิดเห็นที่ : 1


   ก็อย่างที่ได้ยินกันมานานว่า อยากให้หมอเพิ่ม EQ กับ MQ
แต่ผมก็ไม่เคยรู้ว่าจะมีวิธีไหนที่ใช้วัดได้
ข้อสอบเอ็นทรานซ์ยังใช้วัด IQ ไม่ได้เลย

แล้วถ้าเปลี่ยนเป็นว่าให้เรียน 4 ปี แล้วมีทางเลือกให้นศ.ว่า จะเรียนต่อแพทย์หรือขอบายจากเส้นทางนี้
จะมีไหมครับ ?
ความต้องการที่จะเป็นแพทย์ก็น่าจะสำคัญนะครับ(โดยผ่านการคัด EQ และ MQ มาแล้ว)


Posted by : ArLim , Date : 2004-06-21 , Time : 02:14:21 , From IP : ppp-210.86.223.221.r

ความคิดเห็นที่ : 2


   ทุกคนคงเห็นเหมือนกันว่าIQไม่ใช่สิ่งเดียวที่เราต้องการ แต่อะไรคือสิ่งที่เราจะต้องวัดนอกเหนือจากนี้...... EQ?,MQ? ไม่แน่ใจนะว่าสองสิ่งนี้จะเป็นคำตอบ คงขึ้นกับว่าเราต้องการศิษย์แพทย์ที่จบจากสถาบันแห่งนี้แบบไหน ซึ่งความต้องการนี้อาจจะไม่เหมือนกับสถาบันอื่นเลยจะได้ไหม และที่สำคัญ เราแน่ใจแล้วหรือว่าเข้าใจคำว่า EQ ,MQ และมีตัววัดที่แม่นยำพอ โดยเฉพาะMQ

Posted by : pisces , Date : 2004-06-21 , Time : 20:44:00 , From IP : 172.29.3.248

ความคิดเห็นที่ : 3


   บางครั้งบางคราเราก็ใช้ "ศรัทธา" เป็นเข็มทิศนำร่อง

Globalization, free-trade, capitalism หรืออะไรที่ Kaplan & Norton เคยว่าไว้ "Only things that are measurable, they are managable and improvable". ผลลัพธ์คือทฤษฎีบริหารจัดการ co-operations บริษัทข้ามชาติ และทุกอย่างที่ยอดปิรามิดของ desire คือ profits แต่นั่นฟังดูไม่เหมือนคุณสมบัติของตุ๊กตาบัณฑิตแพทย์แถวๆนี้เท่าไหร่นัก

เราคงอยากจะวัดความดีหรือ "สัมฤทธิ์ผล" ของบัณฑิตแพทย์สักวิธีนะครับ IQ นั้นมีคนบอกว่าเป็นสิ่งที่มีเครื่องมือมากมาย validated เรียบร้อยแล้วมาวัด ไม่เถียงว่าถ้าเราต้องการวัด อันนี้คงเป็นสิ่งที่เรา "มั่นใจ" ระดับหนึ่งว่าจะมีความสัมพันธ์กับสิ่งที่เราอยากจะรู้จริงๆ แต่สิ่งนั้นผมค่อนข้างสงสัยว่ามันเกี่ยวพันสักกี่มากน้อยกับ "โจทย์" ของเรา

เคยมีคน Challenge Socrates ให้พิสูจน์ว่า morality is good in itself and not simply good as a means (Glaucon and Adeimantus in Republic, by Plato ) Ayer เคยบอกว่า ethics เป็นแค่ expression of feeling or emotion (ทฤษฎีนี้เรียกว่า Emotivism) โดยทฤษฎีต่างๆเป็น science of psychology และ หรือ sociology หรืออีกคำหนึ่งคือเป็นเพียงแค่ปรากฏการณ์ของ Experience เท่านั้น (James P. Sterba; Ethics, The Big Questions)

ปัญหาคือพวกเราคิดว่าคำถามหลัก (Key Quesion) น่าจะเป็น "Why ethics?" หรือ "Why not ethics?" ซึ่งผมว่าจะเป้นจุดเริ่มต้นที่พวกเราเริ่มเดินห่างออกจากกันในทิศทางตรงกันข้าม (และไม่ใช่บนผิวโลกทรงกลมด้วย เราจึงไม่มีทางพบปะกันอีกเลย)



Posted by : Phoenix , Date : 2004-06-21 , Time : 22:17:13 , From IP : l227ppp208.ksc.net.t

ความคิดเห็นที่ : 4


   อีกเรื่องที่น่าสนใจคงจะเป็นเรื่องบุคลิกภาพถ้าเป็นแบบที่ผิดปกติเห็นชัดเจนเป็นpersonality disorderก็ง่ายต่อการคิดว่าเราคงไม่เลือกแน่นอน แต่ถ้าเป็นแบบ personality trait ซึ่งพบเห็นได้บ่อย และไม่แน่ใจว่า เราจะนับว่ามีผลต่อสัมฤทธิผลทางการศึกษาหรือไม่ แต่ที่แน่ๆอาจมีผลต่อกระทบต่อผู้ที่เขามีปฏิสัมพันด้วยเช่น เพื่อนร่วมงาน ส่วนคนไข้นั้นอยากให้ช่วยลองคิดจากตัวอย่างข้างล่างดูกันนะ เพราะถ้าไม่กระทบกับผู้ป่วยเราอาจยอมรับได้ใช่หรือไม่
กลุ่มแรก พวกที่มีความคิด ความเชื่อแปลกกว่าคนอื่นในสังคม มี odd belief การแสดงออกก็แปลก และsocial skillไม่ดี ไม่ชอบมีปฏิสัมพันธ์กับคนมากนัก ชอบมีโลกส่วนตัว เก็บตัว ฟังดูอาจไม่น่าจะเป็นปัญหานะ ถ้าodd beliefนั้นไม่ทำร้ายผู้ป่วย แต่เราจะ predictไปข้างหน้าได้อย่างไรว่าความคิดที่แปลกๆแบบนี้จะประหลาดเพิ่มขึ้นกว่านี้ได้หรือไม่แต่ส่วนใหญ่คนกลุ่มนี้จะถูกdetectได้ง่าย จากความแปลก และมักจะไม่ได้รับการยอมรับ
กลุ่มที่สอง พวกที่มีความโดดเด่นเรื่อง อารมณ์ไม่ค่อยมั่นคง ก้าวร้าวง่าย เบี้ยวง่ายไม่เคารพกฏเกณฑ์ และอาจจะฉลาดพอ ทำให้ตรวจสอบไม่ได้ หลงตนเอง เอาเปรียบผู้อื่นเห็นผลประโยชน์ตนเองเป็นหลัก อันนี้ไม่แน่ใจว่าบางเรื่องเราจะdetect ได้จากการคัดเลือกหรือไม่ แต่เราคงเห็นพ้องต้องกันว่าไม่อยากได้
กลุ่มที่สาม ย้ำคิดย้ำทำ ไม่มั่นใจตนเอง depend onคนอื่น ซึ่งกลุ่มนี้จากการคัดเลือกเราอาจคัดออกไปแล้วก็ได้เป็นได้


Posted by : pisces , Date : 2004-06-22 , Time : 05:11:26 , From IP : 172.29.3.244

ความคิดเห็นที่ : 5


   มีสอง phases คือจัดระบบให้ดีเพื่อไม่มี systematic error หรือ bias กับอีกอย่างคือค้นหา randomized error หรือ noises เพื่อ early detection/intervention

Prevention of Biases
ตรงนี้ไม่แน่ใจว่าระบบเราดีพอหรือไม่ คงขึ้นอยู่กับ "วิธีการคัดเลือก" ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันนั้นมีอะไรที่การันตีไหมว่าเราไม่ได้ "ปล่อย" ให้แพทย์ไม่พึงประสงค์ flood เข้ามาในระบบ อันนี้แล้วแต่สถาบันว่าจะวาดภาพปั้นตุ๊กตาบัณฑิตแพทย์อันพึงประสงค์ไว้อย่างไร ต่างกันเหมือนกันขึ้นอยู่กับ philosophy ในการคิด ในการบริหาร หลังจากนั้นแม่พิมพ์เป็นอย่างไร ผลผลิตมันจะไม่ varied เยอะจากที่ตั้งไว้สักเท่าไหร่
ยกตัวอย่างที่ผ่านการ exaggerated เช่น ถ้าเราต้องการแพทย์ที่จะรวยแน่ๆ ก็อาจจะคัดเลือกและผลิตแพทย์ที่จบมาพร้อมกับความสามารถทาง marketing, advertisement, capitalism, และ materialism เป็นต้น

Early Detection of noises
สังเกตจะไม่ใช้คำว่า prevention เพราะ randomized error หรือ noises นั้น เราป้องกันไม่ได้ (ชื่อก็บอกแล้วว่า ramdom) แต่อาจจะเกิดผลเสียได้ อย่างที่คุณ pisces ยกมาหลาย traits นั้น เราสามารถจินตนาการต่อได้ว่าถ้ามันจะไปทางที่ไม่ดีก็ได้เยอะแยะ แต่เราไม่มีวันทราบว่าจะไปหรือไม่ไป ยังไงๆก้ intervene ไปเลยน่าจะ work กว่า

ปัญหา (ใหญ่) คือพอเราตัดสินใจว่าควรจะ intervene แล้วของเหล่านี้มัน randomized แล้วเราไม่มี tools สักกะอย่างนึง เราจะ ไม่มีวันรู้เลยว่า ผลที่ออกมาเป็นเพราะการ intervention ของเราหรือไม่ หรือจริงๆแล้วเราควรจะ intervene at all รึเปล่า?

"แปลก" นั้นเป็น interpretation ที่ใช้ emotion + experience เป็นเกณฑ์ น้ำหนักเกินระดับ "แตกต่าง" ไปอีกขั้นนึง แต่การที่คนหลายๆคนเห็นว่าแปลกนั้นจะต้องดูก่อนว่าคนหลายๆคนนั้นเผอิญมาจากหมู่บ้านเดียวกัน ภาคเดียวกัน trait เดียวกันรึเปล่า และที่ว่าแปลกนั้นถ้าให้คนกลุ่มอื่นๆดูก็อาจจะกลายเป็นไม่แปลกได้หรือไม่?

Genius กับ madman นั้นอาจจะต่างกันเพียงแค่เขาอยู่ในสังคมอะไรแค่นั้น ถ้าจับ mad man ไปอยู่ชมรม Alpha Kappa Lamda เขาก็อาจจะกลายเป็น norm ไปก้ได้ Thomas Edison ที่ไม่ยอมพูดยอมจาจนอายุหกขวบ ถูกครูคณิตศาสตร์ไล่กลับบ้านก็อาจจะไม่เคยได้คิดค้นหลอดไฟฟ้าถ้าเปลี่ยนที่อยู่อาศัย และถ้าย้อนกลับมาที่หัวข้อกระทู้คนบางคนที่เกิดมาเพื่อจะเป็นหมอสำหรับชุมชนก็อาจจะไม่เคยได้มีโอกาสได้ทำอย่างนั้น เพราะเรา "ไม่ได้เลือกเขามาเรียน"

What a waste



Posted by : Phoenix , Date : 2004-06-22 , Time : 14:14:25 , From IP : 172.29.3.128

ความคิดเห็นที่ : 6


   "ไม่ได้เลือกเขามาเรียน"
ทำให้เกิด ไอเดียหนึ่งที่แปลกดี
สมมติเราไม่จำเป็นจะต้องเลือกคนมาเรียน
แต่ให้เค้าเลือกมาเรียนกับเราแล้วระบบการเรียน
ของเราจะคัดกรองให้คนที่เหมาะสมจบออกไป

ทุกคนก็ไม่ต้องสอบเอ็นหรือสอบสัมภาษณ์ที่ใช่เวลาไม่กี่ชั่วโมงมาวัด
ผลไม่ทุกผลสุกตามเวลาของมัน ชาวสวนต้องเก็บทุกผล
เมื่อเก็บไปหมดแล้วค่อยใช้ตะแกรงคัดกรองผลใหญ่-เล็ก
ที่เหมาะจะนำไปทำเป็นอาหารต่างชนิดกัน


Posted by : . , Date : 2004-06-29 , Time : 23:31:10 , From IP : 172.29.3.216

ความคิดเห็นที่ : 7


   ไม่แปลกหรอกครับ มีบางประเทศที่กำลังทำอย่างที่ว่าอยู่ มีสองสามปัจจัยที่เป็นรากฐาน

๑) ถ้าประชาชนในประเทศหนึ่งๆเข้าใจว่าไม่จำเป็นต้องเป็นบัณฑิตปริญญาตรี โท เอกขึ้นไป ก็สามารถเป็นสมาชิกที่มี dignity มีศักดิ์ฐานะเท่าเทียมคนอื่นๆได้ สายอาชีวะก็จะรุ่งเรืองขึ้น งานฝีมือและคุณภาพของ product ในส่วนนี้ก็จะมีมาตรฐานสูงขึ้น

๒) รัฐบาลประเมินว่าประเทศต้องการบัณฑิตระดับปริญญาที่ว่านี้เท่าไหร่แน่ จากนั้นก็ลงทุนทำให้มี "พอสำหรับทุกคน" จะเป็นมหาวิทยาลัยรัฐ หรือโดยการสนับสนุน subsidize มหาวิทยาลัยเอกชนยังไงก็ได้ เพื่อเป็นการการันตีที่เรียน ตรงนี้ต้องมีรายละเอียดและข้อมูลพอสมควร เพราะจะต้อง break down ลงเป็นคณะต่างๆ หรืออย่างน้อยก็ themes ต่างๆเช่น วิทย์ ศิลป์ คำนวณ social sciences เป็นต้น อุตสาหกรรมโรงเรียนเป็นการลงทุนสร้าง human resource ผมว่า payback มันจะดีและยิ่งใหญ่ ตราบใดที่เราไม่ได้เน้นเรื่องปริมาณแต่เน้นเรื่องคุณภาพจริงๆ

๓) ตลาดแรงงานก็ต้อง reflect นโยบายข้างต้น ว่ากันตั้งแต่โรงเรียนผลิตนายธนาคารก็ไม่ต้องเฟ้อมาก ผลิตมาหลายพันให้ไปขายเต้าฮวย โรงเรียนผลิตวิศว แพทย์ ครู ส่วนนึง โรงเรียนอบรมงานฝีมือประเภทต่างๆส่วนนึง โรงเรียนอบรมงานสุนทรียศาสตร์วัฒนธรรมประเพณีส่วนนึง (บางประเทศลืมอันนี้ โง่ขนาดลด หรือตัด class ภาษาประจำชาติ ประวิติศาสตร์ หน้าที่ศีลธรรม art ออกไป เหบือแต่ business oriented เช่น วิชาการโรงแรม วิชาเลขานุการ ศีลธรรมมันถึงเรียวลง ผลิตคนหน้าเงินมาเยอะขึ้น เพื่อที่มาบริหารประเทสต่อไป)

ข้อสำคัญคือเจตคติของ potential บัณฑิตหรือประชาชนนี่แหละครับ ตราบใดที่ยังคิดว่าต้องปริญญาตรีเท่านั้นจึงจะสบาย ก็เท่ากับเราต้องหาที่เรียนระดับปริญญาตรีเท่ากับจำนวนประชากรอายุ 17-25 ปี ซึ่งยังไงๆก็ไม่พอ แถมจบมาแล้วก็ไม่มีงานทำ (สถิติคนว่างงานเมืองไทยน่าจะวัดยาก เพราะเราไม่มี jobless benefit คือเงินช่วยเหลือรายอาทิตย์สำหรับคนว่างงาน ซึ่งจะแห่มาลงทะเบียนและประเทศก็จะสามารถ register และนับหัวได้ว่าคนว่างงานเรากี่คนกันแน่ และ job ตลาดไหนที่ยังขาด job ตลาดไหนที่คนเฟ้อ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-06-30 , Time : 09:29:04 , From IP : 172.29.3.128

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.01 seconds. <<<<<