ความคิดเห็นทั้งหมด : 3

ไอซีทีหนุนแพทย์ไทยรับงานเอาท์ซอร์สจากต่างประเทศ


   

สำนักข่าวไทย 2 มิ.ย.- ไอซีทีหนุนแพทย์ไทยรับงานเอาท์ซอร์สอ่านฟิล์มเอกซเรย์หรือภาพถ่ายในช่องท้องจากแค็ปซูลถ่ายภาพที่กำลังเป็นที่นิยมในสหรัฐอเมริกา โดยใช้วิธีส่งภาพผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ ชี้เป็นแนวโน้มสร้างรายได้ใหม่ให้ทั้งแพทย์ไทยและเครือข่ายสื่อสาร มั่นใจต่างชาติยอมรับฝีมือแพทย์ไทย ก่อนขยายไปสู่ธุรกิจเอาท์ซอร์สอื่น ๆ

นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยว่า กระทรวงไอซีทีมีนโยบายสนับสนุนกลุ่มแพทย์ไทยให้สามารถรับงานเอาท์ซอร์สในรูปแบบ Medical Process Outsourcing โดยเฉพาะประเภทงานรับจ้างอ่านฟิล์มหรือภาพถ่ายจากกล้องแคปซูลที่ผู้ป่วยในสหรัฐอเมริกานิยมใช้กลืนเพื่อถ่ายภาพกระเพาะอาหารและลำไส้แล้วถ่ายออกทางทวารหนัก จากนั้นแพทย์จะนำภาพที่ถ่ายได้จากกล้องแคปซูลมาอ่านเพื่อวินิจฉัยโรค ซึ่งจะต้องใช้เวลาถึง 2 ชั่วโมงครึ่ง ในการอ่าน แม้ว่าวิธีการดังกล่าวจะได้รับความนิยมอย่างมากในสหรัฐอเมริกา แต่พบว่าแพทย์อเมริกันกลับไม่มีเวลามากนัก ดังนั้น แพทย์ไทยน่าจะมีโอกาสรับงานเหล่านี้มาทำในไทย โดยขณะนี้แพทย์อเมริกันมีการสั่งแคปซูลเพื่อรักษาผู้ป่วยในรูปแบบนี้ปีละ 1,500 รายเท่านั้น แต่คาดว่าเพิ่มขึ้นอีก 200 เปอร์เซ็นต์ ในปี 3 เดือนข้างหน้า เพราะมีการเอาท์ซอร์สงานด้านนี้ออกต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะในแถบประเทศเอเชีย เช่น อินเดียและฟิลิปินส์

"คนอเมริกันมีอาการป่วยทางระบบอาหารทั้งกระเพาะและลำไส้มากขึ้น วิธีการนี้ค่าอ่านฟิล์มของหมอค่อนข้างแพง ประมาณ 8,000 บาทต่อครั้ง แต่เรื่องค่าใช้จ่ายไม่ใช่ปัญหา เพราะปัญหาคือแพทย์ไม่มีเวลา จึงสั่งแคปซูลให้คนไข้ในจำนวนน้อย แต่ถ้ามีการเอาท์ซอร์สคาดว่าจะทำให้แพทย์อเมริกันสั่งแคปซูลให้กับคนไข้ได้นับแสนรายต่อปี" นพ.สุรพงษ์ กล่าว

ทั้งนี้ ปัจจุบันมีแพทย์ไทยบางส่วนเริ่มรับงานด้านนี้แล้ว โดยมีการส่งไฟล์ภาพถ่ายขนาด 500 เมกะไบต์ผ่านโครงข่ายของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตบางราย และขณะนี้มีแพทย์ไทยที่รวมตัวกันเป็นเครือข่ายแล้วประมาณ 30 คน นำโดย นพ.โรม จุดาภา ซึ่งกระทรวงไอซีทีประกาศว่าจะสนับสนุนเต็มที่เนื่องจากเห็นจุดแข็งด้านความเชี่ยวชาญของแพทย์ไทย และเชื่อว่าจะทำให้ต่างประเทศยอมรับประเทศไทยมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม การพัฒนาด้านธุรกิจเอาท์ซอร์สในไทยจำเป็นต้องพัฒนาทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ ด้านเน็ตเวิร์ก กำลังคน แคมเปญการตลาด และการสนับสนุนด้านภาษี ซึ่งขณะนี้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตประเทศไทยสามารถรองรับและมีราคาที่สามารถแข่งขันได้ ล่าสุดได้ประสานกับบริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) ที่สนใจด้านนี้ ให้เข้ามาบริการด้านเครือข่าย ขณะที่ด้านภาษีได้รับการสนับสนุนจากบีโอไอแล้ว เหลือเพียงการพัฒนากำลังคน และทำแคมเปญการตลาดเท่านั้น

ทั้งนี้ กระทรวงไอซีทีจะจัดฟอรัมการสัมมนาเรื่องนี้อย่างจริงจัง ในงาน Bangkok International ICT EXPO ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 4-8 สิงหาคม 2547 โดยจะมีผู้เชี่ยวชาญด้านเอาท์ซอร์สมาร่วมสัมมนาจำนวนมาก

สำหรับธุรกิจเอาท์ซอร์สประเภทอื่น ๆ เช่น ซอฟต์แวร์และคอลเซ็นเตอร์นั้น นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า จะเป็นแผนงานในระดับต่อไป เนื่องจากธุรกิจเอาท์ซอร์สด้านซอฟต์แวร์นั้นจะต้องแข่งขันกับอินเดียที่แข็งแกร่งด้านนี้อยู่แล้ว ส่วนคอลเซ็นเตอร์ยังต้องใช้เวลาเทรนนิ่งด้านภาษาให้คนไทยอีกมาก และอาจจะเป็นรองประเทศฟิลิปปินส์อยู่มาก ดังนั้น จึงจำเป็นต้องสร้างชื่อจากด้านการแพทย์เป็นอันดับแรก.


Posted by : superman , Date : 2004-06-03 , Time : 14:21:19 , From IP : 172.29.1.93

ความคิดเห็นที่ : 1


   สงสัยจังว่าแพทย์ไทยว่างมากนักหรือไงถึงได้แนะนำให้เอาเวลาไปหารายได้พิเศษ

Posted by : แปลกดี , Date : 2004-06-03 , Time : 22:35:05 , From IP : 61.19.201.192

ความคิดเห็นที่ : 2


   คุณแปลกดีครับ,

คงจะหาแพทย์น้อยมากที่ทำงานวันละ 24 ชั่วโมง ผมคิดว่าทุกๆอาชีพคงจะมีเวลาเป็นส่วนตัวไม่มากก็น้อย ตรงนี้อาจจะมองได้ว่าเป็นการใช้เวลาว่างที่เหลืออยู่ทำอะไร ซึ่งเป็น autonomy ของแต่ละท่าน บางท่านอาจจะอ่านหนังสือ บางท่านเลี้ยงนกเขา บางท่านเล่นกับลูก ก็ไม่แปลกที่บางท่านจะ download radiographic images เหล่านี้มาอ่านตามความชำนาญเชี่ยวชาญและได้ค่าตอบแทน



Posted by : Phoenix , Date : 2004-06-04 , Time : 07:59:09 , From IP : 172.29.3.128

ความคิดเห็นที่ : 3


   gfhgfh

Posted by : hgfhf , Date : 2004-06-07 , Time : 22:53:38 , From IP : 203.155.94.157

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.004 seconds. <<<<<