กติกาแชร์บอล
โดย..
สมาคมแชร์บอลแห่งประเทศไทย
(คัดเอาที่สำคัญๆควรรู้)
ในระหว่างเวลาแข่งขัน สมาชิกของทีมมีสถานะ ดังนี้ :
*ผู้เล่น เมื่อเขาอยู่ใสนาม และมีสิทธิ์แข่งขัน
*ผู้เล่นสำรอง เมื่อเขาไม่ได้อยู่ในสนามแข่งขัน แต่เขามีสิทธิ์ลงแข่งขัน
*เป็นผู้เล่นที่ถูกให้ออก เมื่อเขาทำฟาล์วครั้งที่ 5 และไม่มีสิทธิ์ลงแข่งขัน
*ในระหว่างช่วงพักการแข่งขัน สมาชิกทุกคนของทีมที่มีสิทธิ์ลงแข่งขัน มีสถานะเป็นผู้เล่น
**เสื้อของผู้ป้องกันตะกร้าต้องมีสีแตกต่างจากผู้เล่นคนอื่น
ผู้ป้องกันตะกร้า
*ผู้ป้องกันตะกร้าเพียงคนเดียวเท่านั้น ที่มีสิทธิ์เข้าไปในเขตป้องกันตะกร้าได้
*ผู้ป้องกันตะกร้าสามารถเคลื่อนที่ไปในเขตป้องกันตะกร้าพร้อมกับลูกบอลได้ โดยปราศจากข้อจำกัดใด ๆ ภายในเวลา 3 วินาที
*ผู้ป้องกันตะกร้าสามารถออกมาร่วมเล่นในสนามแข่งขันได้แต่ต้องปฏิบัติตนเหมือนกับผู้เล่นในสนาม
*หลังจากลูกบอลลงตะกร้าจาการยิงประตูธรรมดา หรือหลังจากการยิงโทษครั้งสุดท้ายหรือครั้งเดียวได้ผล ผู้ป้องกันตะกร้าต้องนำลูกบอลส่งเข้าเล่นที่จุดใด ๆ จากแนวเส้นหลัง
การทำผิดกติกาของผู้ป้องกันตะกร้า
*ทำการป้องกันในลักษณะถูกต้องตัว และ/หรือ อุปกรณ์ ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้อื่นได้ (บันทึกฟาล์ว)
*ทำให้ลูกบอลออกเส้นหลัง (ส่งเข้าเล่นที่มุมสนาม)
*นำลูกบอลจากสนามนอกเขตป้องกันตะกร้า เข้าไปในเขตป้องกันตะกร้า (ส่งที่มุมสนาม)
*กระทำฟาล์วนอกพื้นที่ป้องกันตะกร้า เหมือนผู้เล่นทั่วไป (บันทึกฟาล์ว)
*ขณะที่ลูกบอลกำลังลอยอยู่ในทิศทางของการยิงประตูเหนือตะกร้า
-ผู้ป้องกันตะกร้า ปัดโดนตะกร้า ซึ่งผู้ตัดสินพิจารณาว่า การกระทำนั้นทำให้ บอลไม่ลงตะกร้า ผู้ตัดสินจะ ให้คะแนน เป็นของผู้ยิงประตู
-และถ้าถูกตัวผู้ถือตะกร้า/เก้าอี้ ซึ่งผู้ตัดสินพิจารณาว่า การกระทำนั้นก่อให้เกิดอันตราย คะแนนจะนับ และบันทึกการฟาล์ว ผู้ป้องกันตะกร้า
ผู้ถือตะกร้า
*ห้ามใช้ตะกร้าหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย กีดกันการป้องกันของผู้ป้องกันตะกร้า (บันทึกฟาล์ว)
*สามารถช้อนลูกบอล ขณะกลิ้งอยู่ในสนาม โดยต้องไม่ตกจากเก้าอี้ หรือมีส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย สัมผัสพื้นสนาม
*ผู้ถือตะกร้าต้องเทลูกบอลออกจากตะกร้าใกล้เก้าอี้ที่ยืนอยู่ หรือส่งบอลให้กับผู้ป้องกันตะกร้าโดยเร็ว
ผู้เล่นบาดเจ็บ
*ในเหตุการณ์ที่ผู้เล่นเกิดบาดเจ็บ กรรมการสามารถหยุดการแข่งขันได้
*ถ้าการบาดเจ็บเกิดขึ้นในขณะที่บอลกำลังเล่นอยู่ กรรมการต้องไม่เป่านกหวีดจนกว่าทีมที่ครอบครองบอลจะยิงประตู เสียการครอบครองบอล แต่ถ้าจำเป็นเพื่อป้องกันผู้เล่นที่บาดเจ็บ กรรมการสามารถหยุดเกมได้ทันที
เวลาการแข่งขัน
*การแข่งขันไม่สามารถเริ่มได้ ถ้าทีมใดทีมหนึ่งมีผู้เล่นไม่ครบ 7 คน
*การแข่งขันทุกครั้ง ให้ทีมที่มีชื่อแรกในโปรแกรม ได้ที่นั่งของทีม และ ป้องกันประตูอยู่ทางด้านซ้ายของโต๊ะผู้บันทึกคะแนน เมื่อหันหน้าเข้าหาสนาม
*เมื่อเริ่มแข่งขันครึ่งเวลาหลัง ให้ทั้งสองทีมเปลี่ยนแดนกัน
*เวลานอก ให้แต่ละทีมขอเวลานอกได้ครึ่งเวลาละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 นาที
*ทีมใดที่มาแข่งขันช้ากว่ากำหนดเวลาการแข่งขัน 15 นาทีให้ปรับเป็นแพ้ (โดยให้ชนะ 20 : 0)
เขตผู้ป้องกันตะกร้า
*เขตป้องกันตะกร้า และเส้นครึ่งวงกลมเป็นพื้นที่ของป้องกันตะกร้าเพียงคนเดียวเท่านั้น
*ฝ่ายป้องกัน เข้าไปในเขตผู้ป้องกันตะกร้า เพื่อป้องกันการยิงประตู ขณะที่มีการยิงประตู ถ้าลูกบอลลงตะกร้าให้ได้คะแนน ถ้าลูกบอลไม่ลงตะกร้าให้โยนโทษ 2 ครั้ง (โดยผู้เล่นที่ทำการยิงประตู)
*ฝ่ายป้องกันเข้าไปในขณะที่ไม่มีการยิงประตู (ส่งข้าง)
*ฝ่ายรุก เข้าไปในเขตป้องกันตะกร้าของฝ่ายตรงข้าม (ส่งข้าง)
*ลูกบอลที่วาง หรือกลิ้งอยู่ในเขตป้องกันตะกร้า ผู้ป้องกันตะกร้า จะต้องส่งบอลภายในเวลา 3 วินาที
การเล่นลูกบอล
*ลูกบอลลอยกลางอากาศยังไม่ถือว่าออกจนกว่าลูกบอลจะตกถึงพื้นนอกเส้นสนาม
*****อนุญาตให้ผู้เล่นกระทำ ดังนี้
*จับ ตี ปัด กลิ้ง ส่ง หรือขว้างลูกบอลด้วยมือ แขน ศีรษะ หรือลำตัวเหนือสะเอวขึ้นไป
*ครอบครองลูกบอลด้วยมือเดียวหรือสองมือ หรือกดลูกบอลที่อยู่บนพื้นสนาม หรือโยนลูกบอลขึ้นไปในอากาศได้ โดยใช้เวลาไม่เกิน 3 วินาที
*ในกรณีที่ผู้เล่นรับบอลแล้วล้มลงในสนาม ขณะยังถือบอลอยู่ในมือ ผู้เล่นคนนั้นจะต้องส่งบอลภายในเวลา 3 วินาที
*ในกรณีที่ผู้เล่นถูกป้องกันแบบประชิด ผู้เล่นคนนั้นจะต้องส่งบอลภายในเวลา 3 วินาทีเช่นกัน
*ถือลูกบอล และเคลื่อนไหวไปมาได้ด้วยการหมุนตัวโดยมีเท้าหลัก(สลับเท้าไม่ได้)
*กระโดดรับ หรือกระโดดส่ง(กระโดดยิงประตูไม่ได้)
*ใช้ลำตัวบังคู่ต่อสู้ ในขณะที่กำลังครอบครองลูกบอลอยู่ โดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย
*****ไม่อนุญาตให้ผู้เล่นกระทำ ดังนี้
*ห้ามผู้เล่นกระโดดยิงประตู หรือเปลี่ยนเท้าหลัก ขณะยิงประตู (ส่งข้าง)
*ห้ามเลี้ยงบอลหรือทุ่มบอลลงสนามแล้วรับอีก(ส่งข้าง)ยกเว้นกรณีรับลูกบอลหลุดมือหรือตัดบอลจากคู่ต่อสู้ สามารถจับบอลมาเล่นต่อได้
*ในกรณีที่ผู้เล่นเจตนาปัดบอล หลบคู่ต่อสู้ เพื่อไปรับบอลอีกครั้ง โดยที่บอลยังไม่ได้สัมผัสกับผู้เล่นคนอื่น ถือว่าเป็นการผิดระเบียบ (ส่งข้าง)
*เล่นลูกบอลด้วยส่วนหนึ่งส่วนใด ตั้งแต่สะเอวลงไป (ส่งข้าง)
*ในกรณีที่บอลไปโดนเท้า หรือส่วนที่ต่ำกว่าเอว โดยไม่เจตนา และผู้ตัดสินเห็นว่าไม่เป็นผลกับการ ได้เปรียบของทีมใดทีมหนึ่ง การเล่นจะดำเนินต่อไป
*ห้าม ยื่นลูกบอลให้เพื่อนร่วมทีมด้วยมือต่อมือ (ส่งข้าง)
*ทำให้คู่ต่อสู้ได้รับอันตรายโดยใช้ลูกบอล (บันทึกฟาล์ว)
*ห้าม ทุบ ตบ ตี ลูกบอลจากมือคู่ต่อสู้ (บันทึกฟาล์ว)
*กีดขวางคู่ต่อสู้ด้วยมือ แขน ขา หรือลำตัวในลักษณะที่เป็นอันตรายกับคู่ต่อสู้ (บันทึกฟาล์ว)
*ห้าม ดึง ดัน ผลัก ชก ชน เตะ คู่ต่อสู้ทุกลักษณะ (บันทึกฟาล์ว) ถ้าเป็นการฟาล์วที่รุนแรง ผู้ตัดสินอาจจะตัดสิทธิ์ให้ออกจากการแข่งขัน
การได้คะแนน
*คะแนนที่ได้จากการยิงประตู มีค่า 2 คะแนน คะแนนที่ได้จากการยิงโทษมีค่าครั้งละ 1 คะแนน
การเริ่มเล่นลูกกระโดด
*ผู้เล่นคนอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ผู้กระโดด จะต้องยืนในแดนหลังของตนเองนอกเส้นวงกลม(ยกเว้นผู้ถือตะกร้า)
วิธีดำเนินการส่งเข้าเล่นจากเส้นข้าง
*เมื่อเกิดการผิดระเบียบ ผู้ตัดสินจะชี้บอกทีมที่ได้ส่งบอลเข้าเล่น และจุดที่จะส่งบอลโดยผู้ตัดสินจะไม่จับบอล ผู้เล่นใด ๆ ของทีมสามารถส่งบอลเข้าเล่นได้ทันทีหากผู้ตัดสินเห็นว่าผู้ส่งบอลเข้าเล่นไม่ส่งในจุดที่ให้ส่ง หรือเคลื่อนที่ออกจากจุดที่ให้ส่งเกิน 1 เมตร อาจจะพิจารณาว่าเป็นการผิดระเบียบ และเปลี่ยนทีมส่งบอลเข้าเล่นได้
*เมื่อเกิดการฟาล์ว หลังจากผู้ตัดสินแจ้งฟาล์วต่อโต๊ะบันทึกแล้ว จะส่งบอลให้กับทีมที่ได้ส่งบอลเข้าเล่นที่เส้นข้างใกล้กับพื้นที่กระทาฟาล์ว
วิธีดำเนินการส่งเข้าเล่นจากเส้นหลัง
*ให้ผู้ป้องกันตะกร้า ของทีมที่เสียคะแนน เป็นผู้ส่งเข้าเล่นจากเส้นหลัง
*สามารถเคลื่อนที่ได้ตลอดแนวของเส้นหลัง แต่ต้องส่งบอลภายในเวลา 5 วินาที
ส่งบอลที่มุมสนาม เมื่อ
*ผู้ป้องกันตะกร้าทำบอลออกที่เส้นหลัง
*บอลสัมผัสโดนตะกร้าออกที่เส้นหลัง
*เกิดการผิดระเบียบส่งบอลเข้าเล่นของผู้ป้องกันตะกร้าที่เส้นหลัง
วิธีดำเนินการส่งเข้าเล่นจากมุมสนาม
*ผู้ตัดสินจะชี้บอกทีมที่ได้ส่งบอลเข้าเล่น และมุมสนามที่จะส่งบอลเข้าเล่นโดยผู้ตัดสินจะไม่จับบอล ผู้เล่นใด ๆ ของทีมสามารถส่งบอลเข้าเล่นได้ทันที
การผิดระเบียบส่งบอลเข้าเล่น
*ใช้เวลาในการส่งบอลเกิน 5 วินาที
*มีส่วนใด ๆ ของร่างกาย เข้าไปในสนามก่อนปล่อยบอลออกจากมือ
*เคลื่อนที่เกิน 1 เมตร (โดยประมาณ) จากจุดที่ให้ส่งเข้าเล่น
*สัมผัสบอลในสนาม ก่อนที่บอลจะสัมผัสผู้เล่นใดๆในสนาม
*ยิงประตูโดยตรง ก่อนบอลสัมผัสผู้เล่นในสนาม (ยกเว้นสัมผัสโดนผู้ป้องกันตะกร้า ที่ป้องกันการยิงจากนอกสนาม)
*ส่งบอลออกนอกสนาม
*ส่งบอลมือต่อมือให้กับผู้เล่นในสนาม
การเปลี่ยนตัวผู้เล่น
*เปลี่ยนได้ตลอดเวลา ออกแล้วเข้าใหม่ได้
*จะทำการเปลี่ยนตัวได้เมื่อลูกตาย และฝ่ายขอเปลี่ยนตัวได้ครอบครองบอล หรือเมื่อมีการยิงลูกโทษเสร็จ
*การเปลี่ยนตัวผู้ป้องกันตะกร้า ต้องได้รับการรับรองจากผู้ตัดสินอย่างชัดเจน และผู้ที่เปลี่ยนเข้ามาเป็นผู้ป้องกันตะกร้าต้องมีสีของเสื้อแตกต่างจากผู้เล่นคนอื่น ๆ
*ถ้าผู้ตัดสินเห็นว่าทีมที่ขอเปลี่ยนตัว กระทำการล่าช้าหรือถ่วงเวลา ผู้ตัดสินอาจจะปรับเป็นเวลานอกให้กับทีมที่เปลี่ยนตัวล่าช้า
*ผู้เล่นที่ถูกให้ออกจากการแข่งขันสามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นคนอื่นเข้าแทนได้(ตัวผู้เล่นเท่าเดิม 7 คน)
การขอเวลานอก
*แต่ละทีมมีเวลานอกครึ่งละ 2 ครั้ง
*ไม่สามารถนำเวลานอกที่ไม่ได้ใช้มารวมในแต่ละช่วงแข่งขันได้
*ถ้าผู้ตัดสินเห็นว่าทีมที่ขอเวลานอก ลงสนามล่าช้าหรือถ่วงเวลา ผู้ตัดสินอาจจะปรับเป็นเวลานอกอีกครั้งให้กับทีมที่ลงสนามล่าช้า
การทำฟาล์ว
การฟาล์วบุคคล
*คือ การฟาล์วที่มีการถูกต้องตัวของผู้เล่นต่อฝ่ายตรงข้าม โดยการดึง,สกัดกั้น, ผลัก, ชน, ทำให้สะดุดล้ม หรือกีดขวางการเคลื่อนที่ของฝ่ายตรงข้ามด้วยการยื่นมือ, แขน, ศอก, ไหล่, สะโพก, ขา, เข่า หรือเท้า และการปัดบอลในมือของผู้เล่นที่ถือบอล
การฟาล์วผิดวิสัยนักกีฬา
*คือ การฟาล์วที่รุนแรง หรือผู้ตัดสินพิจารณาว่าเป็นการฟาล์วที่ไร้ซึ่งความมีน้าใจของนักกีฬา
การฟาล์วทางเทคนิค
*คือการฟาล์วที่ไม่มีการถูกต้องตัวผู้เล่น การฟาล์วนี้อาจจะเกิดจากการใช้วาจาไม่สุภาพ หรือผู้ตัดสินพิจารณาว่าเป็นการเล่นที่เอาเปรียบอย่างไม่เป็นธรรม
การฟาล์วเสียสิทธิ
*คือการฟาล์วผิดวิสัยของนักกีฬา และ/หรือ การผิดมารยาท อย่างร้ายแรง
ทีมฟาล์ว
*คือ ผลรวมการฟาล์วของผู้เล่นในการแข่งขัน ดังนี้
*เมื่อมีการขานฟาล์วของผู้เล่นทีมใด จะบันทึกทีมฟาล์วให้กับทีมนั้นด้วย
*ในแต่ละครึ่งของการแข่งขันทีมแข่งขันมีสิทธิกระทำฟาล์วร่วมได้ไม่เกิน 5 ครั้ง
วิธีการดำเนินการเกี่ยวกับการฟาล์ว
*ผู้เล่นสามารถฟาล์วได้ 5 ครั้ง ตลอดการแข่งขัน
*เมื่อผู้เล่นกระทำฟาล์วเป็นครั้งที่ 5 ผู้เล่นคนนั้นต้องออกจากการแข่งขัน
*เมื่อมีการขานฟาล์วผิดวิสัยนักกีฬา ผู้เล่นที่ถูกกระทำฟาล์วได้โยนโทษ 2 ครั้ง และทีมของผู้เล่นที่ถูกกระทำฟาล์วได้ส่งบอลเข้าเล่นที่เส้นข้างกลางสนามตรงข้ามโต๊ะบันทึก
*เมื่อผู้เล่นกระทำฟาล์วผิดวิสัยนักกีฬา(รุนแรง)เป็นครั้งที่ 2 ต้องออกจากการแข่งขัน
*เมื่อมีการขานฟาล์วทางเทคนิคให้กับทีมใดทีมหนึ่ง ทีมตรงข้ามจะได้โยนโทษ 2 ครั้ง โดยผู้ฝึกสอน เป็นคนระบุผู้โยนโทษ และทีมนั้นจะได้ส่งบอลเข้าเล่นที่เส้นข้างกลางสนามตรงข้ามโต๊ะบันทึก
*เมื่อมีการขานฟาล์วเสียสิทธิ ผู้เล่นที่ถูกกระทาฟาล์วได้โยนโทษ 2 ครั้ง และทีมของผู้เล่นที่ถูกกระทำฟาล์วได้ส่งบอลเข้าเล่นที่เส้นข้างกลางสนามตรงข้ามโต๊ะบันทึก
*เมื่อผู้เล่นคนใดกระทำฟาล์วเสียสิทธิ(ผิดมารยาท อย่างร้ายแรง)เขาต้องออกจากการแข่งขัน
*เมื่อทีมใดถูกบันทึกว่ากระทำฟาล์วมาแล้ว 5 ครั้งในช่วงการแข่งขันนั้น ถ้ามีการกระทำฟาล์วครั้งต่อไปของทีมนั้น ให้ผู้เล่นที่ถูกกระทำฟาล์วได้โยนโทษ 2 ครั้ง
การโยนโทษ
จะให้โยนโทษเมื่อ
*ผู้เล่นฝ่ายป้องกัน (ไม่ใช่ผู้ป้องกันตะกร้า) เข้าไปในเขตผู้ป้องกันตะกร้า เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการยิงประตู โดยผู้ตัดสินพิจารณาว่าเป็นการทำให้บอลไม่เข้าตะกร้า (โยนโทษ 2 ครั้ง)
*มีการกระทำฟาล์วผู้เล่นที่พยายามยิงประตู (โยนโทษ 2 ครั้ง)
*มีการกระทำฟาล์วทางเทคนิค (โยนโทษ 2 ครั้ง และได้ส่งบอลเข้าเล่นที่เส้นกลางสนาม)
*มีการกระทำฟาล์วผิดวิสัยนักกีฬาหรือฟาล์วรุนแรง (โยนโทษ 2 ครั้งและได้ส่งบอลเข้าเล่นที่เส้นกลางสนาม)
*มีการกระทำฟาล์วเสียสิทธิ (โยนโทษ 2 ครั้ง และได้ส่งบอลเข้าเล่นที่เส้นกลางสนาม)
*ผู้เล่นฝ่ายเดียวกับผู้ป้องกันตะกร้าเจตนาส่งบอลให้ผู้ป้องกันตะกร้า ในเขตป้องกันตะกร้า (โยนโทษ 1 ครั้ง โดยผู้ฝึกสอนทีมตรงข้ามเป็นคนกำหนดผู้โยนโทษ )
*จากบทลงโทษของการฟาล์วทีม (โยนโทษ 2 ครั้ง โดยผู้ที่ถูกกระทำฟาล์ว)
วิธีดำเนินการโยนโทษ
*เมื่อผู้เล่นที่ได้โยนโทษ จัดวางเท้าเรียบร้อยแล้ว ต้องไม่ทำให้เท้าทั้งสองข้างขยับ ระหว่างการโยนโทษ (อาจเปิดส้นเท้าได้บ้าง แต่เพียงเล็กน้อย)
ผู้ตัดสิน
*การแข่งขันครั้งหนึ่งประกอบด้วยผู้ตัดสิน 2 คน
*ผู้บันทึกคะแนน/และบันทึกการฟาล์ว 1คน
*ดูแลการเปลี่ยนตัวและจับเวลา 1 คน
*มีอำนาจตัดสินใจปรับให้ทีมแพ้การแข่งขัน
*มีอำนาจ ในการตัดสินปัญหาใด ๆ ก็ตามที่ไม่ได้ระบุไว้ในกติกา
Posted by : oldman , Date : 2016-01-20 , Time : 14:59:09 , From IP : 172.29.14.159
|